Group Blog
 
All blogs
 

สายพันธุ์กระรอกน่ารู้ (4) : ยักษ์ใหญ่..ไซส์จัมโบ้

 นอกจากกระรอกใหญ่ในบล๊อกที่แล้ว...เหนือฟ้า ยังมีฟ้า
บล๊อกนี้เราจะมาพูดถึงกระรอกใหญ่กว่า หรือที่เรียกว่า พญากระรอกนั่นเอง

** กระรอกทุกสายพันธุ์ที่จะกล่าวถึง ติด CITES (เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง) นะจ๊ะ ใครมีอยู่ในครอบครองก็ระวังตัวล่วย **

เริ่มต้นที่หาง่ายที่สุด(ซึ่งก็ยังยากอยู่) คือ กระรอกสามสี หรือพญากระรอกสามสี แล้วแต่คนจะเรียกละกัน
ลักษณะคือมีสามสีในตัวเดียว (เทาสามสี แดงสามสี ที่พ่อค้าแม่ขายเรียกกันนั่นสามสีหลอกลวงนะครับ มันมีแค่สองสี -*-) คือ หัว-หลัง-หาง เป็นสีดำ ข้างลำตัวเป็นสีขาว ท้อง-แขน เป็นสีแดง

นึกภาพออกป่ะ...ดูรูปง่ายกว่า

กระรอกสามสีไทย

ที่มา: animaldiversity

กระรอกสามสีมาเลเซีย

ที่มา: ปิงปอง birdslover

ที่จริงมีกระรอกสามสีอินโดนีเซียด้วย แต่หารูปไม่ได้ครับ
ใครหาได้ส่งมาให้หน่อยน๊า


ต่อจากกระรอกสามสีก็มาถึงพญาของจริง ตัวใหญ่พอๆกับแมวเลยทีเดียว

แต่พญาประเทศไหนต่างกันเช่นไร...ไม่ทราบครับ

พญากระรอกเหลือง

ที่มา: Ma-tang

พญากระรอกดำ

ที่มา: กระรอกไทย


สำหรับจัมโบ้ไซส์ที่ผมทราบมีอยู่แค่นี้เองครับ ขอบอกว่าใหญ่สะใจมากจริงๆ ฉลาดและเชื่องง่ายด้วย แต่ราคาไม่สะใจเลย รวมถึงพาไปไหนมาไหนก็ลำบากด้วย >.<

แต่ก็อยากได้เนอะ




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2556 19:18:46 น.
Counter : 16816 Pageviews.  

สายพันธุ์กระรอกน่ารู้ (3) : มัน..ใหญ่..มากกกก

 ต่อจากกระรอกขนาดเล็กและกลางอย่างกระรอกสวนหรือหลากสีเรามาต่อกันที่ไซส์ใหญ่ๆ เต็มไม้เต็มมือกันดีกว่า
กระรอกใหญ่ เป็นที่นิยมเลี้ยงเพราะสีสันสวยงาม(อีกละ) ถึงแม้จะราคาแพงแต่จับถนัดเต็มไม้เต็มมือและยังเชื่อว่ามันฉลาดและเชื่องง่ายกว่าพวกตัวเล็กๆอีกด้วย

เรามาเริ่มต้นกันที่กระรอกใหญ่สายพันธุ์ไทยยอดนิยม คือกระรอกดง (กระรอกปลายหางดำ)
โดยมากกระรอกดงจะมีสีเทา เหลือบเขียวหรือเหลืองแล้วแต่สายพันธุ์ของเค้า ซึ่งผมเองก็แยกไม่ค่อยจะออก รู้แต่หางดำๆมาก็คือดงไว้ก่อน และหางจะไม่ฟูเท่าสายพันธุ์อื่น

สามารถแบ่งใหญ่ๆได้สองชนิด คือ กระรอกดงธรรมดา พบได้แถวกาญจนบุรี และเพชรบุรี

กระรอกดงเพชร

ที่มา: น้องไข่ตุ๋น ของพี่ใหม่ MooMai

กระรอกดงกาญจ์

ที่มา: คุณตาล thaibigplaza

และอีกชนิดก็คือ กระรอกดงเกราะทอง ซึ่งจะมีขนสีเหลืองทองหรือส้มทองบนหลัง (จริงๆดงธรรมดาก็มีบ้างแต่ไม่ชัดเท่า) แต่กระรอกดงเกราะทองอาจจะถอดเกราะออกได้ตามฤดูกาล ไม่ได้ใส่เกราะทั้งปีนะครับ

กระรอกดงเกราะทองอุทัยธานี (สายเหนือ อุทัยธานี นครสวรรค์)

ที่มา: Watanyu คนบางสะพาน

กระรอกดงเกราะทองปราจีนบุรี

ที่มา: คุณน้ำอิง thaipetonline

กระรอกดงเกราะทองห้วยขาแข้ง

ที่มา: kingnaja thaipetonline

หารูปมาได้แค่นี้ แต่ถ้าให้อธิบายว่าสายไหนต่างกันยังไง ไม่สามารถจ้าาาาา
ไว้เก่งกว่านี้จะมาเขียนบล๊อกเพิ่มเติม
หรือใครเก่งๆ แอดมาแนะนำกันได้ที่ koi pawakranond ครับผม (หลังไมค์มาก็ได้)
ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ


ต่อจากกระรอกดง เรามาดูกันต่อที่กระรอกชล(บุรี) มี 3 สีสวยงาม (สวยงามไปหมดเลยตรู)

เริ่มที่สีขาววววว สะอาด คือกระรอกขาวสีชัง พบได้ที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
แต่เนื่องจากเหลือน้อย และเป็นสายพันธุ์ที่พบได้บนเกาะสีชังเท่านั้น ทางเกาะต้องการอนุรักษ์ จึงไม่อนุญาตให้นำออกนอกเกาะนะจ๊ะ นะจ๊ะ
สวยมากกก สีขาว ตาสีดำ แต่เด็กๆจะออกครีม เค้าจะขาวขึ้นตอนโตครับ
ถ้าจำไม่ผิด น่าจะติดไซเตส1 เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ไม่อนุญาตให้ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย


ที่มา: Nuntapob

สีขาวเค้าไม่ให้เลี้ยง ไม่ต้องไปง้อ เราเอาสีดำก็ได้ สวยไปคนละแบบ

กระรอกดำชล เป็นกระรอกชนิดเดียวในประเทศไทยที่มีสีดำสนิททั้งตัว ตาก็ดำ ดำไปโม้ดดดด


ที่มา: kingnaja thaipetonline

ต่อจากขาวๆดำๆ เรามาที่สีแดงกันบ้างดีกว่า
กระรอกแดงชลจะมีหลายโทนสีมากกก มากจนมีบางตัวเป็นสีเทา(แล้วทำไมเรียกแดงชลล่ะเนี่ย) 55+
แต่กระรอกแดงชลเป็นกระรอกที่ไม่เปลี่ยนสี เช่นเดียวกับดำชล ที่ดำยังไงก็ดำอย่างนั้น ดำเมี่ยมแต่เกิดจนแก่ ถ้าเราได้กระรอกแดงชลสีไหนมา ก็คาดเดาได้เลยว่าโตขึ้นมาก็เป็นสีนั้นแหละ ไม่ต้องลุ้น
ส่วนมากจะมีวงแหวนสีดำที่โคนหาง แต่ก็มีบางตัวที่ไม่มี


ที่มา: bodyslamp thaipetonline

ตัวนี้สีสวยมาก

ที่มา: pschamp69 thaipetonline

สีนี้เห็นบ่อย

ที่มา: คุณจ๋า thaipetonline

กระรอกใหญ่ในประเทศไทยน่าจะมีแค่นี้

เรามาต่อกันที่ของนอกแบบแถวๆบ้านเรานี่แหละ
เริ่มจากสีแดงต่อจากแดงชล ก็มาดูที่ กระรอกแดงลาว สีจะคล้ายๆแดงชลที่สีสว่างๆ แต่แดงลาวจะมีสีแดงอมส้ม หัวและหางจะสีอ่อนกว่าช่วงสะโพก โครงสร้างที่ต่างกันคือลักษณะตัวป้อมกว่า หัวโตและกะโหลกกว้างกว่า
โดยทั่วไปยิ่งสีสว่างมาก ยิ่งมีราคาแพง








นอกจากแดงลาวสีส้มด้านบนแล้ว ยังมีสายใหม่มา คือกระรอกแดงลาวสายเหนือ
ซึ่งจะมีสีแดงเท่ากันทั้งตัว


ที่มา: nana1234 thaipetonline

กระรอกลาวที่เรานำเข้ามาเลี้ยง ไม่ได้มีแต่สีแดง!
เรายังเอากระรอกดงเค้าเข้ามาด้วย

กระรอกดงลาวมีสองแบบ (อีกละ)

คือสีน้ำตาลออกเหลืองคล้ายๆกระรอกสวน แต่โครงสร้างใหญ่และสวยกว่า


ที่มา: pschamp69 thaipetonline

อีกสีจะออกส้มๆ ทองๆ (สวยอีกแล้ว อยากได้ >.<)


ที่มา: pschamp69 thaipetonline


จากกระรอกลาว มาสู่กระรอกเวียดนามกันบ้าง กระรอกเวียดนามก็แบ่งง่ายๆเป็นสองสี
คือกระรอกแดงเวียดนาม เป็นสีแดงเข้มๆเหมือนเม็ดมะขาม อาจมีสีดำแซมๆบ้างไม่ว่ากัน


ที่มา: คุณโลม thaipetonline

อีกสีที่เห็นบ่อยกว่า เรียกว่ากระรอกเวียดนาม จะมีสีดำ-แดง เท่ห์ฝุดๆ


ที่มา: วรรณวนัช thaipetonline

หมดยังนิ เยอะละนะ
ยังดีกว่า ยังเหลือที่เพิ่งเข้ามาในระยะเวลาอันใกล้ๆนี้
คือกระรอกหูยาวจากเมืองจีน (อันนี้มาไกลเชียว) จริงๆหูมันก็ไม่ยาวหรอก แต่ขนหูมันชี้ตั้งขึ้นมา เลยเหมือนยาวกว่าชาวบ้าน

มีสองสี

ที่มา: Siamsugarfarm


ที่มา: littlesquirrel

มีพันธุ์อื่นอีกรึเปล่า เราไม่รู้ เรารู้แค่นี้ งั้นก็พอแค่นี้ละกันเนอะๆๆ
ป๋าปวดหลังละ





 

Create Date : 18 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2556 16:10:47 น.
Counter : 53128 Pageviews.  

สายพันธุ์กระรอกน่ารู้ (2) : แตกต่างแต่เหมือนกัน

  ต่อจากกระรอกเก๊ในบล๊อกที่แล้ว คราวนี้มาต่อที่กระรอกของจริงกันดีกว่า

ขนาดเล็กที่สุดของกระรอกแท้ๆ ก็ต้องยกให้กระรอกสวน
โดยทั่วไป กระรอกสวนจะมีสีน้ำตาลแกมเขียว หางเป็นพวงฟู พบเจอได้ทั่วไปในประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง
นิยมเลี้ยงมากเพราะหาง่ายและราคาถูก ขนาดเล็กกระทัดรัดพกพาสะดวก


ที่มา: Wikipedia

จริงๆกระรอกสวนสามารถจำแนกได้ถึง 20 ชนิด (ตามข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
แต่มันเยอะไป เราแบ่งคร่าวๆตามที่แยกง่ายๆก็พอ


พบเจอง่ายที่สุด บ่อยที่สุด เยอะที่สุด ขอเรียกว่า กระรอกสวนธรรมดา...ง่ายไปมั้ย
หน้าตาก็เหมือนกระรอกสวนปกติ ท้องเป็นสีครีมออกเหลือง นึกออกมั้ย ดูรูปเอาละกัน


ที่มา: IAMGARDIAN (2554)


อีกชนิดที่เห็นบ่อยพอๆกันเลย คือ กระรอกสวนท้องแดง มันต่างกันแค่สีที่พุง
สวนท้องแดง ท้องจะแดงแป๊ดดดด เหมือนเอาสีย้อมเลยทีเดียว


ที่มา: กระรอกไทย


อีกชนิดที่ยังพบเห็นได้ตามท้องตลาดโดยทั่วไป แต่ไม่บ่อยเท่าสองชนิดแรก คือ กระรอกสวนหลังดำ
แบบไรขนดำๆที่หลังไม่เอานะ อันนั้นปกติ อยากเป็นสวนหลังดำ ต้องดำแบบเอาหมึกป้าย อย่างน้อยก็ตั้งแต่กลางหลังถึงโคนหาง ท้องจะเป็นสีแดงหรือปกติก็ได้

ตัวนี้สวย

ที่มา: กระรอกไทย

สุดท้ายที่หายากสุด (จริงๆคือดูยาก) คือ กระรอกสวนท้องขาว ท้องจะขาวจั๊วะ บางทีจะมีแก้มขาวกับคิ้วขาวแถมมาให้ด้วย น่ารักฝุดๆ
ปัญหาคือ เด็กๆมันเหมือนกับสวนท้องแดงหรือสวนหลังดำเลย พอผลัดขนแล้วพุงเปลี่ยนสี
แบบนี้จะรู้ได้ไงว่ามันเป็นสวนท้องขาว....แล้วแต่ดวงละกัน

สวนท้องขาววัยเด็ก

รายนี้ตกลงมาจากต้นไทร

สวนท้องขาวโตเต็มวัย

ที่มา: Pum Bkk


สวยน่ารักกันอีกแล้ว

ต่อไปถึงคิวกระรอกหลากสี อีกสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง ราคาไม่แพงมาก สีสันสวยงามสมชื่อ ตัวใหญ่กว่ากระรอกสวนเล็กน้อย แถมแอบมีลุ้นตอนผลัดขนให้ตื่นเต้นเล็กๆด้วย เพราะกระรอกหลากสีมักจะสีเปลี่ยนในช่วงผลัดขนครั้งแรก
บางสีพอจะเดาได้ แต่บางทีเปลี่ยนไปเป็นคนละตัว อย่างเช่นเด็กๆเป็นแดงท้องขาว แต่ผลัดขนออกมาเป็นสีครีมทั้งตัว เป็นต้น
ปกติจะแบ่งเป็นหลากสีธรรมดา และหลากสีภูเขา ซึ่งหลากสีภูเขาสีจะสดกว่า(มั้ง) ตัวใหญ่กว่า ขนหนากว่า

ส่วนมาจะแบ่งออกมาได้ 3 ชนิด

เริ่มจาก กระรอกเทาท้องขาว ซึ่งในวัยเด็กๆจะเป็นสีเทา เทาเข้ม เทาอ่อน เทาออกเขียว ก็ว่ากันไป แต่ที่เหมือนกันคือส่วนท้องและหางเป็นสีครีม
แล้วพอโตมาสีมะจะชัดขึ้น เข้มขึ้น

เด็กน้อย


วัยรุ่น



ต่อมาที่ขนาดพอๆกันและนิยมพอๆกัน คือกระรอกแดงท้องขาว รายนี้จะมีการแปลงร่างเล็กน้อย
เด็กๆจะเป็นสีน้ำตาลแดง จะแดงมากแดงน้อยก็แล้วแต่ตัว ท้องและหางเป็นสีแดง
แต่พอผลัดขน ขนจะค่อยขาวครีม ไล่จากปลายจมูกและปลายหู ลงมาที่พุง จรดปลายหาง

แดงท้องขาวตัวน้อย เริ่มผลัดขนหน่อยๆแล้ว


ระหว่างผลัดขน


ผลัดขนเสร็จ หล่อแล้วจ้า


นอกจากสองสีที่ว่า ยังมีกระรอกหลากสี สีครีม หรือที่นิยมเรียกกันว่า กระรอกเผือก ทั้งๆที่มันเป็นสีครีมทั้งตัว และตาสีดำ
ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลกลใด สีครีม มักจะมีขนาดใหญ่กว่าสีแดงและเทาเล็กน้อย
ในวัยเด็ก กระรอกเผือกอาจมีไรขนสีดำหรือเทาแซมบนหลัง ซึ่งพอโตก็หายไปเอง แต่ก็ควรระวังแม่ค้าหัวใสบางคน เอากระรอกเทาสีอ่อนๆมาหลอกขายได้

เผือกน้อย

ที่มา: fay2233

เผือกใหญ่

ที่มา: พี่ธง ชมรมกระรอกหลากสี


นึกว่าจบแล้ว??
เสียใจด้วย เรามีต่อเวลาครับ

นอกจากสามสีด้านบนที่พบเห็นได้บ่อย ยังมีกระรอกอีกชนิดที่จัดอยู่ในกลุ่มกระรอกหลากสี
นั่นก็คือ กระรอกสมิง นั่นเอง
กระรอกสมิง คือกระรอกแดงที่มีโคนหางเป็นสีขาว เทห์โพดๆ

การเลือกซื้อกระรอกสมิงควรระวัง กระรอกหลากสีมันไว้ใจไม่ได้ หลายตัวพอผลัดขนแล้วสีสมิงมันหายไป (ผมโดนมาแล้ว T^T)

เริ่มต้นที่ กระรอกแดงสมิง
ลักษณะเป็นกระรอกสีแดงเข้มทั้งตัว มีเฉพาะโคนหางที่เป็นสีขาว


ที่มา: คุณ Noknoi รังกระรอกน้อย BY Squirrel Mama

และยังมีกระรอกสมิงหลังเงิน และกระรอกสมิงหลังทอง ซึ่งเป็นสีแดงเข้มเช่นกัน แต่หลังจะเป็นสีเงินหรือทองสว่าง สวยมากๆ
สมิงหลังเงินที่หลุดมาขายกันมักจะมีแต่ไซส์โต ส่วนหลังทองเห็นมีเด็กๆขายกันประปราย


ที่มา: คุณหนึ่ง thaipetonline


ที่มา: Siamsugarfarm


สำหรับพวกหลากสีก็คงหมดแค่นี้นะครับ
ส่วนที่ว่าพันธุ์ไหน สายไหน จังหวัดไหนต่างกันอย่างไร ขออนุญาตไม่เจาะลึกไปกว่านี้
เนื่องจาก...ผมก็แยกไม่ออกครับ 555+
ถ้ามีความรู้เพิ่มมากกว่านี้จะมาแจกแจงให้ทราบโดยทั่วกันจ้า




 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2556 16:11:04 น.
Counter : 99899 Pageviews.  

สายพันธุ์กระรอกน่ารู้ (1) : คล้ายนะ แต่ไม่ใช่

สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการหาซื้อกระรอกซักตัว...แล้วตัวไหนล่ะ ที่ตรงใจ
จะหากระรอกที่หน้าตาถูกใจ สีสรรต้องตา...แล้วมันเรียกว่าอะไรกันล่ะ
ลองมาดูกระรอกที่เป็นที่รู้จักกันในประเทศไทยกันหน่อยดีกว่า
(ข้อมูลรวบรวมมาจากหลายแหล่ง ผิดพลาดทักท้วงกันได้จ้า
)


เริ่มต้นที่พวกตัวเล็กๆก่อนดีกว่า พวกนี้จะคล้ายๆกระรอก...แต่มันไม่ใช่ง่ะ


เล็กที่สุด หรือที่เรียกกันว่า กระรอกจิ๋ว...ดอร์เมาส์นั่นเอง 
จริงๆแล้ว ดอร์เมาส์ไม่ใช่กระรอกนะครับ เป็นสัตว์ตระกูลหนู แต่ก็หยวนๆละกัน หน้าตาคล้ายๆกัน
ถ้าหากันในกูเกิล (Keyword: Dormouse) จะเห็นว่าเป็นหนูสีน้ำตาล
อ๊ะ..แต่ในเมืองไทย ทำไมเป็นสีเทา??
เพราะที่เราเอามาเลี้ยงกัน คือ Pygmy dormouse ครับผม โตเต็มที่ขนาดตัว 3-4 นิ้ว หางฟูยาวเท่าลำตัว
ที่เห็นมีขายกันจะมีสองแบบ คือแบบหางสีเดียวกับตัว และปลายหางสีขาว (หางขาวราคาสูงกว่าหลายตังอยู่)


ที่มา: siamreptile


ที่มา: Zooya (2556)

มันน่ารักไปนะ >.<

ที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อยก็เป็น กระเล็น
ซึ่งแบ่งเป็น กระเล็นขนปลายหูสั้น และ กระเล็นขนปลายหูยาว (ซึ่งเอาเข้าจริงๆ ผมไม่เคยแยกออกเลย)
ความยาวหัวถึงหาง 20 เซ็นติเมตร ว่องไว ปราดเปรียว จุดเด่นอยู่ที่ลายบนหลังเหมือนชิพมังค์เมืองนอก และปลายหูที่มีขนสีขาวชี้ออกมา


ที่มา: Wikipedia


ที่มา: bicycle2011 (2554)

Tip: ไม่ต้องไปวัดขนหูเค้านะครับ จุดต่างอยู่ที่ลาย ขนปลายหูยาว แถบดำตรงกลางจะใหญ่กว่าแถบอื่นครับ

ต่อไป..
รายนี้ขนาดตัวพอๆกับกระรอกสวนตัวเล็กๆ พบเห็นได้มากมายตามสวนผลไม้
สีน้ำตาลหน้าแหลมๆเหมือนหนู แต่มีลายข้างตัว ปราดเปรียวมาก
ใช่แล้ว มันก็คือ กระจ้อน หรือ กระถิก นั่นเอง

อันนี้ไม่ต้องให้เครดิตใคร ลูกชายเก๊าเอง





สุดท้ายสำหรับกลุ่มนี้
คือตัวที่ชอบเข้าใจผิดกันเยอะ หน้าตารูปร่างคล้ายๆกระรอก แต่มันไม่ช๊ายยย ไม่ใช่
กระแต รูปร่างคล้ายกระรอก แต่ไม่ใช่สัตว์ฟันแทะ กินแมลงและสัตว์เล็กๆเป็นอาหาร
หน้ายาววววว ฟันเรียงกันเป็นแพ
(ขอเตือนว่าอย่าเซิร์ชภาพในกูเกิลว่ากระแต เพราะจะเห็นแต่นม)


ที่มา: snakeeater (2552)


ที่มา: Ma-tang (2550)

พอแค่นี้ก่อน เห็นแล้วน่ารักกันหมด
แล้วจะมาต่อเรื่องของกระรอกกันวันหลังจ้า
^ ^




 

Create Date : 13 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2556 1:36:04 น.
Counter : 13119 Pageviews.  

1  2  

killerboy
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]




Friends' blogs
[Add killerboy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.