เรื่องราวผู้หญิงกับการเดินทางด้วยหัวใจ 2 ล้อ (มอเตอร์ไซด์) รวมถึงการท่องไปในโลกกว้างด้วยวิธีการอื่นๆ คลอเคล้าด้วยคนตรีไพเราะหลากหลายรูปแบบ เรามาผจญภัยด้วยกันนะคะ

ทำความรู้จักวิทยุสื่อสาร ชนิด 245 MHz (เครื่องแดง)

 ที่ยกเรื่องนี้มาฝากนักบิด เพราะว่าเวลาที่เราออกเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่างประเทศ ถือเป็นของสำคัญที่ขาดไม่ได้จำเป็นต้องใช้กันเลยทีเดียว

วิทยุสื่อสาร หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า ว. (วอ)
เป็นเครื่องรับ - ส่ง สัญญาณเสียง ผ่านทางคลื่นความถี่ ในย่านความถี่ต่างๆ เช่น

144.000 - 146.000 MHz ความถี่นักวิทยุสมัครเล่น (ต้องมีใบอนุญาตใช้งาน) วอดำ
146.010 - 173.000 MHz ความถี่ทางราชการ วอดำ
27 , 49 , 78 , 245 MHz เป็นคลื่นความถี่ประชาชน วอแดง

ที่เราจะทำความรู้จักคือ คลื่นความถี่ประชาชน 245 MHz หรือ (วอแดง)

วอแดง เป็น ชื่อเรียกลักษณะเด่งของตัวเครื่อง ที่ทำออกมาในโทนสีแดง เพื่อให้แยกได้เด่นชัดว่าเป็นเครื่องในกลุ่มประชาชนทั่วไป ระยะการรับส่ง ตั้งแต่ 1 - 10 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับกำลังส่งของเครื่อง และ อุปกรณ์เสาสัญญาณ
ข้อดี ของเครื่อง วอแดง คือ ประชาชนทั่วไป ลูกเด็กเล็กแดง สามารถใช้งานได้เลย ไม่ต้องสอบขอรับใบอนุญาตใช้งาน เพียงแต่มีใบอนุญาตมีและใช้เท่านั้น (ไม่สำคัญเท่าไหร่)

ประโยชน์ของวอแดงที่นำมาใช้ในการท่องเที่ยว ก็คือ สามารถสื่อสารกันได้ในลักษณะต่างๆ
เช่น ในการเดินทางเป็นขบวน รถยนต์จำนวนหลายคัน การเดินทางเป็นกลุ่ม

เมื่อเลือกยี่ห้อแล้ว ก็ลองมาดูกำลังส่งกัน เพราะกำลังส่งมีผลต่อระยะทาง ถ้าไม่ส่งทางไกลมาก ก็ใช้วัตต์ต่ำๆ ได้ เช่น การเดินทางเป็นหมู่คณะ ด้วยเท้า แนะนำ 1-5 วัตต์ ถ้าเดินทางเป็นขบวนรถ หรือต้องการส่งได้ไกล แนะนำ 5-10 วัตต์ หรือแบบติดรถยนต์ไปเลย

นอกจากกำลังส่งแล้ว ก็อยู่ที่ลักษณะเสาด้วย ที่จะทำให้การใช้งานได้กว้างขึ้น ถ้าเอามาใช้งานแบบหมู่คณะทั่วไป ก็ ใช้งานเสายาง หรือ เสาสไลด์แบบ 7 ท่อนก็สามารถเอาไปใช้งานได้ทันที ถ้าเอามาใช้งานแบบขบวนรถ ก็สามารถที่จะหาเสาภายนอก มาติดตั้งเพิ่ม เพื่อเพิ่มระยะการ รับ-ส่ง ให้ไกล และ สัญญาณชัดเจนยิ่งขึ้น

ส่วน วอดำ นั้น ถ้าคุณตำหนวดเจอเราพกโดยไม่มีใบอนุญาติ โดนจับได้นะคะ ^^

จริงๆ แล้ววิทยุรับส่งเหล่านี้สามารถรับความถี่ได้แค่ไหนขึ้นอยู่กับสเปคของเครื่องนะคะ บางคนอาจจะเคยได้ยินคำว่าเปิดแบนด์ หมายถึงวิทยุเหล่านั้นสามารถเปิดรับความถี่ได้มากกว่าที่สเปคแจ้งไว้ข้างกล่องนั้นเอง ส่วนใหญ่จะเอาไว้แอบฟังนั่นเอง


ช่องความถี่ที่ใช้ทั่วกัน

กรุงเทพมหานคร
ช่อง 02 ศูนย์ฉิมพลี
ช่อง 03 กู้ภัย สน.พลโยธิน
ช่อง 09 ศูนย์ VR จราจร
ช่อง 10 ศูนย์กู้ชีพบูรณะ
ช่อง 12 ศูนย์วิทยุมีนบุรี
ช่อง 16 ศูนย์กู้ชีพพิรุณ
ช่อง 36 ศูนย์ร่วมด้วยช่วยกัน
ช่อง 39 ศูนย์ชาลีกรุงเทพฯ
ช่อง 47 ศูนย์แจ้งข่าวดอนเมือง
ช่อง 49 ศูนย์พญาอินทรีย์ , ศูนย์กู้ชีพศรีวิชัย 3
ช่อง 50 ศูนย์กู้ชีพศรีวิชัย 1
ช่อง 51 ศูนย์กู้ชีพศรีวิชัย 2
ช่อง 52 ศูนย์กู้ชีพวิภาวดี
ช่อง 54 ศูนย์วิทยุพระราม 2
ช่อง 77 โทน 7 ศูนย์เหี่ยยวเวหา
ช่อง 79 ศูนย์วิทยุ R-Com
ช่อง 80 ศูนย์วิทยุพระราม 9

จ.สมุทรสาคร
ช่อง 69 ศูนย์กู้ชีพมหาชัย 2

จ.ปทุมธานี
ช่อง 57 นวนคร
ช่อง 65 นวนคร
ช่อง 73 มูลนิธิร่วมกตัญญู จ.ปทุมธานี
ช่อง 80 มูลนิธิ ป่อ เต็ก ตึ๊ง จุดโยธิน จ.ปทุมธานี


ขั้นตอนขอใบอนุญาต มีและใช้วิทยุสื่อสาร คลื่นความถี่ประชาชน (245 MHz)
1.เครื่องวิทยุ ความถี่ 245 MHz. ที่ได้รับอนุญาต (มีสติ๊กเกอร์ กทช.) และ ยังไม่มีการนำไปจดทะเบียน
2.สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ
3.ค่าธรรมเนียม 535 บาท

ในกรณีที่เครื่องที่ซื้อมา มีการนำไปจดทะเบียนแล้ว และ อยากจะจดใหม่
1.ใบอนุญาตฉบับเดิมพร้อมสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของเดิม
2.สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับโอน
3.ค่าธรรมเนียม 535 บาท

ส่วนเครื่องที่ไม่มีสติ๊กเกอร์ และ เครื่องที่มีสติ๊กเกอร์ แต่ไม่มีเอกสารเจ้าของเดิม ถือว่าเป็นเครื่องเถื่อน แต่ก็ใช้ได้ (อย่างไม่เปิดเผย)

ส่วนกรณีที่อยากติดตั้งเสาที่รถก็ต้องทำการขออนุญาติตั้งสถานีวิทยุ CB245MHz ในรถยนต์
1.สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ (กรณีเป็นเจ้าของรถยนต์)
2.สำเนาบัตรประชนชน 1 ฉบับ
3.สำเนาทะเบียนยานพาหนะ 1 ฉบับ
4.หนังสือยืนยอมให้ตั้งสถานี 1 ฉบับ
5.ค่าธรรมเนียม 1,070 บาท

โดยปกติ การใช้งาน วอแดง ก็สามารถใช้ภาษาพูดคุยได้ตามปกติ แต่ถ้าอยากจะใช้งานให้เป็นทางการ ก็สามารถใช้สัญญาณ ว. มาแทนคำพูดได้นะ (บางที เผื่อเปิดฟังช่องกู้ภัย จะได้เข้าใจว่าเค้าพูดอะไรกัน)

ว.00 คอยก่อน...ให้คอยก่อน
ว.01 ที่ทำงาน
ว.02 ที่พัก
ว.0 ขอทราบคำสั่ง...คำสั่ง
ว.1 อยู่ที่ไหน...อยู่ที่
ว.2 ได้ยินหรือไม่ตอบด้วย...ได้ยินแล้ว
ว.3 ทวนข้อความซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
ว.4 ปฏิบัติหน้าที่ / ดำเนินการ
ว.5 ราชการลับ / ความลับ
ว.6 ขอติดต่อ / โต้ตอบด้วย
ว.7 ขอความช่วยเหลือ
ว.8 ข่าวสาร / ข้อความ
ว.9 มีเหตุฉุกเฉิน
ว.10 อยู่ประจำที่ติดต่อทาง ว. ได้
ว.11 หยุดพักติดต่อทาง ว. ได้
ว.12 หยุดพักติดต่อทาง ว. ไม่ได้
ว.13 ติดต่อทางโทรศัพท์
ว.14 เลิกงาน / ปิดสถานี
ว.15 พบ / ให้ไปพบ
ว.16 ทดสอบสัญญาณวิทยุ
ว.16-1 จับใจความไม่ได้
ว.16-2 เสียงไม่ชัดเจน
ว.16-3 เสียงชัดพอใช้ได้
ว.16-4 เสียงชัดเจนดี
ว.16-5 เสียงชัดเจนดีมาก
ว.17 มีอันตรายห้ามผ่าน
ว.18 นำรถออกทดลองเครื่องยนต์หรือรถยนต์เสีย
ว.19 สถานีถูกยึด / ถูกโจมตี
ว.20 ตรวจค้น / จับกุม
ว.21 ออกเดินทางจาก...
ว.22 ถึง...สถานีที่
ว.23 ผ่าน (สถานีที่ใด)
ว.24 เวลา ขอทราบเวลา
ว.25 ไป...สถานีที่
ว.26 ให้ติดต่อทางวิทยุน้อยที่สุด
ว.27 ติดต่อทางโทรพิมพ์
ว.28 ประชุม
ว.29 มีราชการ / ธุระ
ว.30 ขอทราบจำนวน , จำนวน
ว.31 เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่องที่ 1
ว.32 เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่องที่ 2
ว.33 เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่องที่ 3
ว.34 เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่องที่ 4
ว.35 เตรียมพร้อมเพื่อปฏิบัติการ
ว.36 เตรียมพร้อมเต็มอัตรา
ว.37 เตรียมพร้อมครึ่งอัตรา
ว.38 เตรียมพร้อม 1/3 อัตรา
ว.39 สภาพการจราจรคับคั่ง
ว.40 อุบัติเหตุรถยนต์
ว.41 สัญญาณไฟจราจร
ว.42 ขบวนจัดพหนะนำขบวน
ว.43 จุดตรวจยานพาหนะ
ว.44 ติดต่อทางโทรสาร (FAX)
ว.50 รับประทานอาหาร
ว.55 ให้อำนวยความสะดวก
ว.60 ญาติ / พี่น้อง
ว.61 ขอบคุณ
ว.62 สิ่งของ
ว.63 บ้าน
ว.64 ธุระส่วนตัว
ว.601 เครื่องวิทยุรับ-ส่ง
ว.602 สายอากาศวิทยุ
ว.603 รถยนต์
ว.604 ดูโทรทัศน์
ว.605 รับประทานอาหาร
ว.606 พูดไม่เป็นความจริง
ว.607 กิจธุระส่วนตัว
ว.608 คนก่อกวน
ว.609 คลื่นรบกวน
ว.610 คิดถึง
ว.621 เงิน
ว.100 ขอโทษ
73 สวัสดี ด้วยความปรารถนาดี
88 สวัสดี ด้วยความปรารถนาดี(ใช้กับเพศตรงข้าม)



เหตุ 100 มีเหตุประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน
เหตุ 111 ลักทรัพย์
เหตุ 121 วิ่งราวทรัพย์
เหตุ 131 ชิงทรัพย์
เหตุ 141 ปล้นทรัพย์
เหตุ 200 มีเหตุประทุษร้ายต่อร่างกาย
เหตุ 211 ทำร้ายร่างกาย ไม่ได้รับบาดเจ็บ
เหตุ 221 ทำร้ายร่างกาย ได้รับบาดเจ็บ
เหตุ 231 ทำร้ายร่างกาย ได้รับบาดเจ็บสาหัส
เหตุ 241 ฆ่าคนตาย
เหตุ 300 การพนัน
เหตุ 510 วัตถุต้องสงสัยเกี่ยวกับระเบิด
เหตุ 511 ได้เกิดระเบิดขึ้นแล้ว
เหตุ 512 วัตถุระเบิดได้ตรวจสอบแล้วไม่ระเบิด
เหตุ 600 นักเรียนจะก่อเหตุทะเลาะวิวาท
เหตุ 601 นักเรียนรวมกลุ่มมีสิ่งบอกเหตุเชื่อว่าจะก่อเหตุ
เหตุ 602 นักเรียนก่อเหตุหลบหนีไปแล้ว
เหตุ 603 นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้ายกันและกัน
เหตุ 604 นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้ายกันและถึงตาย
เหตุ 605 นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้ายกันมีวัตถุระเบิด

ช่วงน้ำท่วมปี 54 ก็เตรียมมีไว้ เผื่อระบบสาธารณูปโภคล่ม เราก็ยังพอจะติดต่อคนอื่นๆ ได้จากวิธีนี้ค่ะ ส่วนทริปมอเตอร์ไซด์ของตัวเองนั้น ยังไม่มีโอกาสได้ใช้ เพราะยังไม่ได้ไปไกลและนานขนาดที่จำเป็นต้องใช้สักที ในชีวิตถ้ามีเป็นไปได้ก็อยากขี่รอบโลกเลยนะ




 

Create Date : 19 สิงหาคม 2556    
Last Update : 19 สิงหาคม 2556 4:02:49 น.
Counter : 37282 Pageviews.  

การขับขี่รถ...เวลาออกทริปเป็นกลุ่มใหญ่และสัญญาณมือ

ในการออกทริปที่มีผู้ร่วมทริปเป็นจำนวนหนึ่ง ก่อนออกเดินทางควรต้องมีการสรุปรายละเอียด (Safety Briefing)ต่อผู้ร่วมเดินทางทั้งหมด เพื่อให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย

รายละเอียดที่ควรสรุปมีดังนี้,

1 รายละเอียดการเดินทาง
- จุดหมาย อาจจะฟังดูตลก แต่หลายครั้งที่เมื่อร่วมเดินทางในขบวนใหญ่ จะไปไหนยังไม่รู้ด้วยซ้ำ
- เส้นทางทีใช้ในการเดินทาง เพราะหนึ่งจุดหมาย อาจะไปได้หลายเส้นทาง จึงควรแจ้งผู้ร่วมเดินทางให้ชัดเจน ว่าในการเดินทางครั้งนี้จะไปเส้นทางไหนแน่ ไม่งั้นก็หลงๆ เลยๆ รอๆ กันอยู่นั่นแหละ
- จุดแวะแวะเติมน้ำมัน เพราะรถแต่ละรุ่นมีความจุของถังน้ำมัน และอัตราการกินน้ำมันที่ไม่เท่ากัน จึงควรพิจารณาว่าจะต้องวิ่งในระยะทางเท่าไหร่ ถึงจะต้องแวะเติมน้ำมัน เพราะถ้าต่างตนต่างเติม ก็จะทำให้เสียเวลาในการเดินทาง รถทุกคันควรจะต้องเติมน้ำมันให้เต็มถังทุกครั้งที่มีการแวะปั๊มน้ำมัน ถึงแม้ว่ารถของคุณจะกินน้ำมันน้อยกว่าคนอื่นและน้ำมันยังเหลืออีกตั้งครึ่งถังก้อตาม แต่เมื่อขี่ต่อไป น้ำมันของคุณจะหมดก่อนเพื่อนคนอื่น และจะทำให้ขบวนต้องหยุดเมื่อยังไม่ถึงระยะที่กำหนด เมื่อเติมน้ำมันเรียบร้อยแล้ว ควรเลื่อนรถออกจากตำแหน่งหัวจ่ายไปรวมกับผู้ที่เติมเรียบร้อยแล้ว เพื่อรอสัญญาณออกเดินทางจากผู้นำกลุ่ม
- การแบ่งกลุ่ม ควรจะต้องมี โดยอาจร่วมกับการจัดลำดับการขี่ในกลุ่มด้วย เพราะความสามาถในการขี่ของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนขี่ช้า บางคนขี่เร็ว บางคนรู้ทาง บางคนไม่รู้ทาง

โดยจะแบ่งเป็น
- Ride Leader หรือ ผู้นำกลุ่ม ควรจะเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในการขับขี่เป็นอย่างดี รู้จักและจดจำเส้นทางได้อย่างแม่นยำ รู้ระยะที่ปลอดภัยของขบวนในการเข้า-ออกทางคู่ขนานต่างๆ เป็นผู้กำหนดความเร็วในการเดินทางที่เหมาะสม ผู้นำกลุ่มจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจใน ตำแหน่งที่พักระหว่างทาง ปั๊มน้ำมัน สัญญาณเตือนเส้นทางข้างหน้า รูปแบบการขี่ ระยะห่างระหว่างรถ ซึ่งจะต้องจัดลำดับของผู้ตามได้อย่างถูกต้อง โดยมือใหม่ของกลุ่มควรที่จะอยู่ท้ายขบวนให้ใกล้กับ Tail Gunner (คนคุมท้าย) ให้มากที่สุด


- Tail Gunner หรือ คนคุมท้าย
เปรียบเสมือนตาด้านหลังของผู้นำกลุ่ม สามารถขี่ได้อย่างอิสระ ซึ่งจะเป็นคนคอยควบคุมลำดับการขี่ แจ้งเตือนเมื่อมีรถพยายามจะแซง แจ้งปัญหาอื่นๆที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการขี่ให้ผู้นำกลุ่มและสมาชิกคนอื่นๆทราบ อย่างการพยายามเข้าแทรกระหว่างขบวนของรถยนต์ หรือลมดูดที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีรถใหญ่แซงขึ้นไป เป็นผู้คอยกันรถหลังเมื่อขบวนพยายามจะเปลี่ยนเลน ในบางขณะที่ คนคุมท้าย จะต้องออกจากขบวนไป ผู้นำกลุ่มจะต้องมอบหมายให้นักขี่ที่มีประสบการณ์เข้ ามาทำหน้าที่แทน

- New Rider หรือ มือใหม่
จะหมายถึงสมาชิกที่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์กับการขี่ออกทริป เป็นกลุ่ม ตำแหน่งที่เหมาะสมควรจะอยู่ท้ายขบวนให้มากที่สุด


รอเพื่อนที่ตามหลัง หลายครั้งที่ทั้งขบวนจะต้องหยุดรอสมาชิกที่หายไป ดังนั้นสมาชิกทุกคนควรหมั่นสังเกตุเพื่อนที่ขี่ตามหลังจากกระจกหลังอยู่เสมอ หากเพื่อนเราหายไปจากขบวน พยายามแจ้งให้เพื่อนคันหน้าทราบ ชะลอหรือหยุดรอ โดยไม่ขวางทางรถคันอื่นบนถนนซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายได้

ในระหว่างการเดินทาง ถึงแม้ว่าจะมีรถ Service ติดไปด้วยก็ตาม แต่ทุกคนควรจะต้องมีชุด Service ชุดเล็กติดกระเป๋าหลังไปด้วย พร้อมกับโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้ขอความช่วยเหลือ บางครั้งอาจจะให้วิธีการส่ง SMS ว่าจะนัดเจอกันที่ตำแหน่งไหนในกรณีที่ระหว่างขี่ไม่สามารถรับสายได้ หรือการให้เบอร์ติดต่อกลางของรถ Service หรือเพื่อนที่ไม่ได้ขี่เพื่อจะได้เป็นคนคอยประสานงาน ให้

ลำดับตำแหน่งการขี่ (Riding Formation) จะแบ่งเป็น 2 แบบคือ ขี่แบบ สลับฟันปลา 2 แถว และ ขี่เรียงหนึ่ง โดยผู้นำกลุ่มควรจะอยู่ชิดเส้นกลางเสมอ เพื่อที่จะมองเป็นเส้นทางข้างหน้าสำหรับการแซง และข้างหลังสำหรับรูปขบวน รวมไปถึงรถที่พยายามจะแซงได้อย่างชัดเจน ระยะห่างของรถคันที่สอง ควรจะทิ้งระยะที่ 1 วินาที และคันที่ 3 ซึ่งอยู่หลังผู้นำกลุ่มจะทิ้งระยะที่ 2 วินาทีจาก


สัญญาณมือในการขับขี่รถมอเตอร์ไซด์

จริงๆ มันก็มีระบบสากลอยู่ บ้านเราก็ใช้ใกล้เคียง แต่ก็อาจมีปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมได้

สตาร์ทเครื่อง

ยกมือขวาหรือซ้ายก็ได้ขึ้นเหนือศรีษะ ร่วมกับชูนิ้วชี้ขึ้น แล้วหมุนข้อมือเป็นวงกลม



เลี้ยวซ้าย กางแขนซ้ายออกทำมุม 90 องศากับร่างกาย แล้วโบกขึ้น-ลง

เลี้ยวขวาแบบไทย



เลี้ยวขวา กางแขนขวาออกทำมุม 90 องศากับร่างกาย แล้วโบกขึ้นลง หรือ ยกแขนซ้ายชี้ข้ามหมวกกันน็อคไป



การเร่งความเร็ว ยกมือซ้าย ชูนิ้วชี้ แล้วจิ้มพุ่งไปทิศทางด้านหน้ารถ



การละลอความเร็ว กางแขนกางแขนซ้ายออกทำมุม 45 องศากับร่างกาย แล้วโบกข้อมือขึ้น-ลง



การหยุดรถ ตั้งข้อศอกซ้าย 90 องศา พร้อมกับกำมือ
(แต่ในต่างประเทศ หมายถึงเลี้ยวขวานะจ๊ะ งั้นถ้าหยุดรถของต่างประเทศหล่ะ จะกางมือซ้าย 45 องศาแล้วเบมือมาทางด้านหลัง เหมือนในรูป)



สิ่งอันตรายทางซ้าย โดยชี้ไปที่วัตถุด้วยมือซ้ายของคุณที่มุม 45 องศา
หรือเป็นวิธีที่สากลมากยิ่งขึ้นและปลอดภัยในการทำเช่นนี้คือโดยการชี้ไปที่วัตถุที่กระทำผิดด้วยเท้าซ้าย



สิ่งอันตรายทางขวา ถ้าสิ่งอันตรายอยู่ด้านขวา ใช้เท้าขวากางออกชี้ไปที่วัตถุ จะเหมาะสมกว่ามือ
เพราะมือเราบิดคันเร่งอยู่ แต่ถ้าขี่ในความเร็วต่ำสะดวกจะใช้มือขวาชี้ก็ไม่ว่ากัน



ลืม...เปิดสัญญาณไฟกระพริบทิ้งไว้ กางแขนซ้ายออกมา แล้วกำมือสลับแบมือ



ตำรวจหรือตรวจจับความเร็วอยู่ข้างหน้า ยกมือขึ้นเหนือหมวกกันน็อค แล้วแตะหมวกกันน็อค



บอกให้คันหลังขี่ผ่านไป กางแขนออกข้างลำตัว แล้วโบกจากหลังไปหน้า



ให้ขี่เรียงหนึ่ง ยกมือซ้ายกำมือชูนิ้วชี้ขึ้น แล้ววางไว้บนหมวกกันน็อค



ให้ขี่สลับฟันปลา ยกมือซ้ายกำมือชูนิ้วขึ้น 2 นิ้ว เครื่องหมายสู้ตายค่ะ นั่นเอง หรือ ทำเครื่องหมาย I love you ก็ได้ แล้วแต่ถนัด



แวะเติมน้ำมัน ชี้มือไปที่ถึงน้ำมัน



แวะพัก ก็จะรวมกินอาหาร เข้าห้องน้ำ อื่นๆ อีกมากมายที่อยากจอดร ชี้มือไปที่ปาก

มาดูรูปภาพรวมๆ กันอีกครั้ง สัญญาณมือดังในภาพสามารถปรับใช้ได้ตามความถนัดและความเหมาะสม
เพียงแต่ต้องมีการแจ้งให้ผู้ร่วมทริปเข้าใจและรับรู้ทุกคนเสมอก่อนออกเดินทาง




ขอขอบคุณภาพประกอบจากหลายๆ แหล่งในเวปไซด์ต่างๆ นะคะ




 

Create Date : 12 กันยายน 2554    
Last Update : 20 กันยายน 2554 19:06:08 น.
Counter : 1888 Pageviews.  

การเลือกยางให้เหมาะกับรถมอร์เตอร์ไซด์ของคุณ ^^

คิดจะเอามะพร้ามห้าวมาขายสวนเสียหน่อย เรื่องบางเรื่องคุณผู้ชายทั้งหลายอาจจะทราบอยู่แล้ว แต่เพราะตัวเองไม่รู้ เคยอ่านแต่ก็ลืม เลยอยากรวบรวมเก็บไว้บล็อคของตัวเองค่ะ หมายความว่าจิ๊กมาจากตรงนั้นทีตรงนี้ทีนั่นเอง

มอเตอร์ไซด์ไม่เหมือนรถยนต์ เป็นพาหนะที่อันตรายกว่าหลายเท่าตัว ดังนั้นการเช็ครถให้อยู่ในสภาพพร้อมก่อนการขับขี่ทุกครั้งเป็นเรื่องทำสำคัญยิ่ง เพราะจะสามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้จริง พอดีวันนี้รถของตัวเองคิดว่าถึงเวลาที่ต้องน่าจะเปลี่ยนยางแล้ว จึงต้องหาข้อมูลกันซักหน่อย

การขาดความเข้าใจและการเอาใจใส่ จะนำไปสู่ปัญหา ต่างๆ เพราะยางเป็นตัวถ่ายทอดความต้องการของผู้ขับขี่และกำลังของเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการเหยียบคันเร่งเพื่อนให้รถเคลื่อนไปเร็วขึ้นหรือเหยียบเบรค เพื่อให้รถช้าลง หรือควบคุมการเลี้ยงให้เป็นไปอย่างราบรื่น ทุกๆ ความต้องการของผู้ขับขี่จะถูกถ่ายทอดได้อย่างถูกต้องขึ้นอยู่กับการสัมผัสกัน ระหว่างยางกับพื้นผิวถนน

ยางมีหน้าที่สำคัญๆ อยู่ 4 ประการ ที่จะช่วยให้ขับรถได้อย่างปลอดภัย
1. รับน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุก
2. ลดแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนจากพื้นถนน ลมในยางจะทำหน้าที่เป็นเหมือนสปริงช่วยลดแรงกระแทกในขณะขับขี่บนถนนขรุขระ
3. เป็นตัวกลางถ่ายทอดพลังงานการขับเคลื่อนและการหยุดรถลงสู่พื้นผิวถนน แรงเสียดทานระหว่างยางกับพื้นถนนทำให้รถสามารถเคลื่อนตัวหรือหยุดลงได้
4. ช่วยในการเปลี่ยนทิศทางในการขับขี่การหมุนพวงมาลัยทำให้ล้อหน้าหมุนและทำให้รถสามารถมุ่งไป ในทิศทางที่ต้องการ

เรามาดูวิธีการเลือกยางให้ถูกต้องเหมาะสมกับรถดีกว่า จริงๆ แล้วทั้งรถยนต์และมอต์เตอร์ไซด์ก็มีวิธีการดูที่เหมือนกัน

Q: ยางทำมาจากอะไร ?
A: ยางไม่ได้ประกอบไปด้วยเนื้อยางเพืยงอย่างเดียว แต่ประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลายอย่างของเหล็กกล้ากับผ้าใบ

Q: เมื่อไหร่จะถึงเวลาเปลี่ยนยาง ?
A: ยางรถยนต์ที่ได้รับการดูแลรับษาและใช้งานอย่างถูกต้อง จะสามารถใช้งานได้จนกระทั่งดอกยางสึกหรอเหลือต่ำสุด มีร่องลึกน้อยกว่า 1.5-2 มิลลิเมตร ซึ่งตัวเลข 1.5-2 มิลลิเมตรนี้ รวบรวมมาจากคำแนะนำของผู้ผลิตยางหลายยี่ห้อ จึงไม่สามารถสรุปเป็นตัวเลขตายตัวได้เป๊ะๆ

ในความเป็นจริง ก็ไม่ค่อยมีใครหยิบไม้บรรทัดมาวัดหรือหาอะไรมาแหย่เพื่อวัดความลึกของร่องยาง เพราะไม่สะดวก และจริงๆ แล้วก็ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการวัด ดังนั้นส่วนใหญ่จึงดูด้วยสายตา และประเมินเอาว่าดอกยางหมดหรือยัง สามารถสังเกตได้ง่ายๆ โดยมองขึ้นไปที่หน้ายาง จะพบสันนูนที่บริเวณร่องยาง เรียกว่า สะพานยาง

ดอกยาง ไม่ได้มีไว้ให้เกาะ แต่มีไว้รีดน้ำ ยางรถยนต์ทั่วไปจึงมีดอกหรือมีร่อง เพราะยางหน้าเรียบเกาะถนนดีบนถนนเรียบแห้งเท่านั้น แต่ถ้าถนนเปียกจะลื่นมาก เพราะหน้ายางที่แบนกว้าง จะไม่สามารถกดรีดน้ำออกจากหน้ายาง เพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับพื้นตามปกติได้ น้ำเลยกลายเป็นชั้นฟิล์มคั่นอยู่ระหว่างยางกับผิวถนน ก็เลยลื่นหรือมีอาการเหิรน้ำ ดอกหรือร่องยางจึงลดอาการลื่นของยาง เมื่อต้องขับรถยนต์ลุยฝนหรือบนถนนลื่น โดยต้องยอมเสียหน้าสัมผัสพื้นถนนบางส่วนให้เป็นร่องยางแทน

การขับขี่ในสายฝนเมื่อยางสึกมากแล้วเป็นสิ่งที่อันตรายมาก น้ำฝนจะมีลักษณะเหมือนแผ่นฟิลม์กั้นระหว่างยางกับพื้นถนนทำให้ยางลอยเหนือพื้นถนน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการบังคับรถและการหยุดรถ


หลายท่าน คงอยากทราบถึง ความหมายของ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร ที่อยู่บน ยาง นั้น มีความหมายอย่างไร ? แล้วจะมีผลต่อการนำไปใช้งานกับรถของเรา อย่างไร ?

สัญลักลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น ตัวเลข หรือ ตัวอักษร ที่แสดงอยู่ตรงด้านข้างของยาง ( Side Wall ) ล้วนมีความหมายด้วยกันทั้งนั้น ลองดูรายละเอียดได้ตามข้อมูลนี้

ยางรถยนต์


 


 รหัสหรือตัวอักษร ที่อยู่บนยาง


ตัวอักษรบนยางรถยนต์



- ด้านหลังของตัวเลขบอกขนาดหรือบอกชื่อรุ่นยางอาจจะมีตัวหนังสือ F หรือ R อยู่ด้วย บางทีก็บอกกันตรงๆเลยว่า Front หรือ Rear บอกให้รู้ว่ายางเส้นนี้ใช้กับล้อหน้าหรือล้อหลัง พร้อมกับลูกศรบอกทิศทางการหมุน เวลาใส่ต้องใส่ให้ถูกทิศทางด้วย
- สัญลักษณ์ M/C หมายถึงยางสำหรับมอเตอร์ไซด์



ตารางแสดง ดัชนี การรับน้ำหนัก ของ ยางรถยนต์ ( Load Index ) ตามตัวเลข ที่แสดงไว้

ดัชนี ที่แสดงไว้ตรงด้านข้างของยาง คือประสิทธิภาพสูงสุดในการรับน้ำหนัก ในขณะที่รถวิ่งที่ความเร็วสูงสุด  



ตารางแสดง สัญลักษณ์ ของ ความเร็ว Speed Symbol  





การดู เดือนปี ที่ยางวงนี้ถูกผลิตขึ้นเมื่อไร ?


ตัวอักษรบนยางรถยนต์



ชนิดของยางที่ควรเลือกใช้
เลือกชนิดให้เหมาะสมกับรถ รถสปอร์ตคงไม่มีใครเอายางวิบากมาใส่ แต่พวกรถ Dual Purpose นี่สิ ยากอยู่สักหน่อย ถ้าทริปไหนลุยทางฝุ่นมากกว่า ก็ใส่ยางหนาม แต่ถ้าวิ่งทางดำมากกว่า ก็ใส่ยางทางเรียบ

ขนาดของยางที่ควรเลือกใช้
ควรเลือกใช้ยางขนาดเดิมที่ได้รับการประกอบมาจากโรงานผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซด์ เพราะผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซด์ ได้ออกแบบขนาดยางให้เหมาะสมกับขนาดของรถมอเตอร์ไซด์แต่ละรุ่น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและสมรรถนะที่เหมาะสม

หากมีความต้องการจะเปลี่ยนขนาดยาง ก็อาจจะเปลี่ยนได้บ้าง แต่ควรจะต้องคงไว้ซึ่งขนาดหน้ากว้างของยาง และขนาดวงล้อ เช่น ยางที่ติดรถมาเป็นขนาด 70/90-17 เราอาจจะสามารถเปลี่ยนเป็น 70/80-17 หรือ 70/100-17 ได้ แต่ไม่ควรเปลี่ยนวงล้อจาก 17 เป็นวงล้อขนาดอื่น และไม่ควรเปลี่ยนขนาดหน้ากว้างของยางจาก 70 ไปเป็นขนาดอื่น

ในรถมอเตอร์ไซด์ควรใช่ขนาดเดิมมากที่สุด สำหรับตัวเองใช้ BMW F800GS ล้อหน้า 90/90 21 หลัง 150/70 17 เพราะเป็นรถ Dual Purpose จึงอยากหายางที่วิ่งทางดินพอได้ แต่กลับหายากมาก เพราะ ยาง Pirelli รุ่นที่อยากได้ ไม่มีตรงไซด์ มีแต่ 160/60 17 อยากลอง และทั้งๆ ที่ถามจากร้านยางแล้ว เขาก็ว่าน่าใช้จะได้ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ค้นในกุ๊กกู๋ก็ไม่มีใครเคยลอง แม้แต่ในต่างประเทศ อย่างที่บอกว่ามอเตอร์ไซด์ สภาพรถที่ดีจะทำให้เกิดความปลอดภัยมากกว่า จึงไม่กล้าลอง

รถที่มียางใน
ทุกครั้งที่เปลี่ยนยางนอกควรเปลี่ยนยางในไปพร้อมกันด้วย เพราะถ้ายางในยืดไปนานแล้ว เมื่อนำมาใส่กับยางนอกใหม่ อาจเกิดรอยพับที่ยางใน และจะทำให้เกิดการเสียดสีกันทำให้รั่วซึมได้

ระยะห่างของล้อ
เมื่อใส่ล้อ / ยางรถมอเตอร์ไซค์ ต้องดูระยะห่างของล้อรถกับบังโคลนและส่วนอื่น ๆ ของรถมอเตอร์ไซค์ด้วย เพราะยางขนาดเบอร์เดียวกันแต่ต่างยี่ห้อกันหือต่างรุ่นกัน อาจมีขนาดความกว้างของแก้มยางหรือดอกยางต่างกันจึงควรระวังเพราะยางอาจเสียดสีกับส่วนอื่นด้วย ถ้าจะใช้ยางขนาดใหญ่ขึ้นอาจจะต้องเปลี่ยนล้อให้มีขอบกว้างขึ้นด้วย และเมื่อใส่ยางหรือขอบล้อใหญ่ขึ้นต้องลองหมุนดูให้มีระยะห่างจากส่วนอื่น ๆ พอสมควร

การเปลี่ยนยางเก่า
อย่าลืมว่า ยางหน้าต้องเข้าคู่กับยางหลัง ตามข้อกำหนดของผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์ เพื่อให้ขับขี่ได้ปลอดภัยและควบคุมรถได้ดี เมื่อจะเปลี่ยนยางหน้าควรดูดอกของล้อหลังด้วย ดอกยางใหม่ ๆ ของล้อหน้าอาจทำให้ควบคุมรถยากเมื่อใช้ร่วมกับยางหลังที่สึกไปมากแล้ว

การถ่วงล้อ
วัตถุยืดหยุ่นได้ เช่น ยางของรถมอเตอร์ไซค์นั้น ไม่สามารถผลิตให้ออกมาได้กลมอย่างสมดุลย์ ดังนั้นต้องถ่วงล้อ (ควรถ่วงล้อแบบล้อหมุน) หลังจากใส่ยางใหม่ทุกครั้งมีวิธีถ่วงล้ออยู่ 2 วิธี คือ แบบล้อนิ่งและแบบล้อหมุน ถ้าใช้ยางขอบกว้างเกิน 2.5 นิ้ว ข้อควรระวัง เพื่อป้องกันลมรั่วตามขอบล้อควรใช้ตะกั่วถ่วงชนิดที่ผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์แนะนำ เช่น ใช้ถ่วงที่เส้นลวดซี่ล้อ ใช้ลวดตะกั่วหรือใช้ตุ้มน้ำหนักแบบแปะด้วยแถบกาว (ไม่ควรใช้น้ำยาถ่วงล้อชนิดที่ใช้ฉีดเข้าไปในล้อรถมอเตอร์ไซค์) แทนที่จะใช้แบบเสียบที่ขอบล้อ เช่น ที่ใช้ถ่วงล้อรถยนต์

การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
ควรตั้งศูนย์ถ่วงล้อทุกครั้งที่ถอดล้อหลังหรือเมื่อปรับความตึงโซ่ ถ้าตั้งศูนย์ล้อไม่ถูกต้อง เมื่อหมุนล้อไปแต่ละรอบยางสึกเร็วขึ้น ทำให้อายุการใช้งานลดลง และบังคับรถหรือทรงตัวเข้าโค้งยากขึ้น

การรัน-อิน
เมื่อใส่ยางใหม่ ๆ ควรถนอมยางสักพัก โดยไม่ขับขี่ให้เร็วมากหรือเข้าโค้งแคบด้วยความเร็วสูง เมื่อใช้ยางไปสัก 160-250 กม. ยางจะปรับเข้ากับขอบล้อได้ดี จึงค่อยขับขี่ได้เต็มที่

การสลับยาง
ในรถยนต์ควรมีการสลับยางกับรถที่เราใช้ทุกๆ 5,000 กม. สำหรับยางธรรมดา และทุก 10,000 กม. สำหรับยางเรเดียล เพื่อป้องกันการสึกผิดปกติและยืดอายุการ (ในมอเตอร์ไซด์ไม่มีนะจ๊ะ)

ความดันลมยาง

  • เติมลมตามสเปคของรถที่กำหนด โดยศึกษาได้จากคู่มือของรถนั้นๆ  
  •  เวลาเติม ลมยาง ควรเติมตอน ยาง ไม่ร้อนเกินไป 
  •  หากต้องการวิ่งทางไกล นานๆ ควรเพิ่มลมยางอีกประมาณ 3 - 5 ปอนด์/ตร.นิ้ว 
  • หมั่นเช็ค ลมยาง เป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง


ถ้าสูบลมแข็งเกินไปรถจะเด้งง่ายขับขี่ไม่สบายและยางสัมผัสกับถนนน้อยลง แต่ถ้าลมยางอ่อนเกินไปจะขับขี่ได้ลำบากและรถยังสะบัดได้ง่าย นอกจากนี้ลมยางอ่อนเกินไปจะทำให้ยางสึกเร็ว เปลืองน้ำมันความเร็วก็ต่ำกว่าที่ควรและยังควบคุมได้ยาก

คำแนะนำทั่วไปก็คือเพิ่มแรงดันลมยางหลังขึ้น 0.2 บาร์ (3 ปอนด์/ตารางนิ้ว) เมื่อขับขี่ซ้อนกันสองคน เพิ่มแรงดันลมทั้งยางหลังและยางหน้าขึ้น 0.2 บาร์ (3 ปอนด์/ตารางนิ้ว) เมื่อจะขับขี่ทางไกลด้วยความเร็วสูงติดต่อกัน เช่น บนถนนซูเปอร์ไฮเวย์ ควรตรวจสอบแรงดันลมยางรถมอเตอร์ไซค์ทุกสัปดาห์

การเติมก๊าซไนโตรเจน
ข้อดีของก๊าซไนโตรเจน
1. การลดลงของความดันลมยางจะน้อยกว่าการเติมลมธรรมดา
2. การลดลงของความดันลมยางที่น้อยกว่าจะช่วยลดการสึกหรอของดอกยางและช่วยประหยัดน้ำมัน

การซ่อมยางเมื่อเกิดรอยรั่ว
รอยรั่วเพียงเล็กน้อยสามารถซ่อมได้โดยร้านซ่อมปะยางทั่วไป ถ้าเป็นรถมียางใน ถ้ารูไม่ใหญ่ก็ปะซ่อมได้เหมือนยางในจักรบาน แต่ถ้าเป็นยางที่ไม่ใช้ยางใน (Tubeless) สามารถอุดได้หลายแบบ เช่น อุดตัวหนอน ยิงใส้ไก่ แต่วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ปะสตีม เหมือนกับยางรถยนต์ แต่ไม่สามารถนำอุดได้ถ้า
- มีรูรั่วที่แก้มยาง
- ส่วนประกอบต่าง ๆ แยกออกจากกัน เช่น หน้ายาง, ชั้นผ้าใบ เป็นต้น
- ขนาดของรูรั่วใหญ่เกินกว่า ¼ นิ้ว
- รั่วแบบเกิดเป็นรอยแตก







 

Create Date : 08 กันยายน 2554    
Last Update : 10 กันยายน 2554 17:29:30 น.
Counter : 1746 Pageviews.  

F800GS กับสิ่งที่ต้องใส่ใจในรถของตัวเอง

สวัสดีค่ะ...หวังว่าคงจะพอจะกันได้นะคะว่าใคร ปัจจุบันใช้ F800GS มาเกือบปีแล้ว ขี่ไปหมื่นโลนิดๆ ความเห็นส่วนตัวกับรถคันนี้ ยอมรับนะคะว่าขี่ดีมาก และก็รักมันไม่ใช่น้อย แต่ข้อเสียก็มีเหมือนกัน สิ่งที่จะเขียนบอกต่อไปนี้ เพราะต้องการให้ผู้ใช้เอาใจใส่รถให้มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการกินข้าวลิงและการเกิดอุบัติเหตุนะคะ

ตั้งแต่ซื้อรถมา ปัญหาที่เจอ
1 น๊อตคลายหลายจุด ขี่ไปไหนๆ กลับมาต้องมีชิ้นส่วนเล็กๆ น้อยๆ หลุดเสมอ
2 ปะเก็นเครื่องเสีือมสภาพ เมื่อขี่ไปประมาณ 9 พันโล ทำให้มีน้ำมันเครื่องรั่วออกมา เมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้นก็ได้นำรถไปเคลมที่ BKK ค่ะ แต่ครั้งนี้ประทับใจเพราะจัดการให้อย่างรวดเร็วในเวลาไม่ถึงสองอาทิตย์ก็เสร็จเรียบร้อยค่ะ
3 โซ่หย่อนเร็วมากกก ตอนแรกก็คิดว่าเป็นเพราะเราคุมคันเร่งไม่ดีหรือเปล่า ทำให้โซ่หย่อนเร็วมาก แต่เช็คไปเช็ดมากลายเป็นว่าเพราะโซ่ติดรถมาในรถช่วง 08-09 นั้นไม่ได้ตามมาตรฐานจนต้อง recall กันเลยทีเดียว ที่น่าผิดหวังก็คือ ทางบาเซโลน่า ไม่มีจดหมายแจ้งมาค่ะ ที่รู้เพราะหาข้อมูลจากในอินเเตอร์เน็ท



ดูเหมือนว่ารถโมเดลนี้ ยังมีเรื่องให้น่าปวดหัวรำคาญใจอีกหลายเรื่อง ใครอยากรู้มากกว่านี้ ก็ตามไปดูในลิงค์ที่แปะไว้ให้แล้วกันนะคะ

- Problem list และ recall ต่างๆ
www.advrider.com/forums/showthread.php?t=490550
www.advrider.com/forums/showthread.php?t=445446

- เรื่องโซ่และแบตเตอรี่
bmwmcmag.com/2010/06/recall-f650gs-and-f800gs-drive-chains
www.advrider.com/forums/showthread.php?t=500035

อยากให้พวกเรากล้าออกมาพูดถึงปัญหาที่แท้จริงของรถ BMW ในรุ่นต่างๆ อย่างตรงไปตรงมาค่ะ เพราะจะได้เป็นความรู้กับมือใหม่ที่กำลังจะซื้อรถ ให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่แท้จริงๆ รวมทั้งคนที่ซื้อไปแล้ว จะได้รู้ว่าจะมีปัญหาอะไรให้ระวังไว้ และกระตุ้นให้บริษัทขายรถปรับปรุงเรื่องบริการหลังการขายให้ดีขึ้น

ปัญหาที่เราเจอ ต่างประเทศเขาก็เจอเหมือนกัน แต่เขามีบริการหลังการขายที่ดีมาก ทำให้รถถึงสร้างชื่ออยู่ได้มายาวนานค่ะ ซึ่งอยากให้บ้านเราพัฒนาตรงนี้ให้ได้ดีเหมือนเมืองนอกเขา

รถ F800GS (08-09) ของแหวว Parts ที่ได้ recall ไปแล้ว เมื่อ กพ. 54
1.DRIVE CHAIN
2.SPROCKETS [หน้า-หลัง]
3.VENTILATION HOSE

อันนี้เช็คจากในเวป แต่ไม่รู้ว่าได้ทำหรือเปล่า
- FRONT WHEEL QUICK-RELEASE AXLE

ปัญหาที่เกิดจากการเสื่อมสภาพในระยะเวลา 1 ปีหลังจากออกรถและได้ Claim ไปแล้วโดยไม่ได้เสียค่าใช้จ่าย
- ปะเก็นน้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพทำให้มีน้ำมันเครื่องรั่วซึมออกมาจากตัวเครื่อง
- แบตเตอรี่เสี่อมสภาพ
- ถังน้ำมันรั่ว


Forum ใน ADVrider ที่รวบรวมปัญหาเกี่ยวกับ F800GS ทั้งทั่วๆ ไปและ recall //www.advrider.com/forums/showthread.php?t=415604

ลองค้นๆ ก็ไปเจอเว็บนี้ค่ะ //www-odi.nhtsa.dot.gov/recalls/4 เป็นเวปของ National Highway Traffic Safety Administration ของอเมริกา ใส่รุ่นใส่ปี เช็ดได้ค่ะ

อันนี้เอามาให้อ่านเพิ่มว่ามีรุ่นอะไรบ้าง l //www.bmwblog.com/2010/06/30/bmw-motorrad-recalls-over-15000-motorcycles/4




 

Create Date : 23 สิงหาคม 2553    
Last Update : 9 ตุลาคม 2554 5:21:50 น.
Counter : 4048 Pageviews.  

อุบัติเหตุ...เรื่องที่ไม่อยากได้ยิน (VDO clip)

เพิ่งเขียนเรื่องเกี่ยวกับประกันอุบัติเหตุไปหยกๆ แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็ต้องสูญเสียพี่ที่เคารพ เป็นผู้มีความสามารถและมีชื่อเสียงในวงการมอเตอร์ไซด์ใหญ่ไปอย่างน่าตกใจยิ่ง

อุบัติเหตุ...เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะมันจะมาควบคู่กับความสูญเสียเสมอๆ เบาะๆ ก็แค่เจ็บตัวเล็กๆ น้อย หรือสูญเสียทรัพย์สินหน่อยๆ พอขำๆ แต่ถ้าร้ายแรงที่สุดก็คือการเสียชีวิต และทรัพย์สินมหาศาล

สิ่งเดียวที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ ความประมาท


อุบัติเหตุหลายๆ ครั้งเกิดจากเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง เช่น ความเสียหายของยานพหะนะที่เกิดขึ้นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุนี้ก็ตาม เราก็ยังสามารถลดอัตราการเกิดได้ ด้วยการหมั่นตรวจเช็คสภาพรถให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เพราะการนำรถที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน ก็เป็นการเดิมพันต่อชีวิต อาจจะเกิดเหตุการณืไม่คาดฝันได้เสมอ ซึ่งก็จัดเป็นความประมาทต่อตนเองและผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนด้วยเช่นกัน

การขับขี่ในสภาพวะที่ร่างกายไม่เอื้ออำนวย เช่น ง่วงนอน ไม่สบาย หรือจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้กระทั่งสภาวะที่อารมณ์ผิดปรกติ เช่น โกรธ หรือ เศร้า จัดเป็นความประมาทในรูปแบบหนึ่งอีกเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เราสติสัมปชัญญะในการตัดสินใจลดลง แม้เพียงเสี้ยววินาทีเดียว...อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้

ที่เหลือ...ความคึกคะนอง มักง่าย มักเป็นสาเหตุตามมาที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ

นำ VDO Clip จำลองเหตุการณ์อุบัติเหตุในรูปแบบต่างๆ มาให้ได้ดูกัน ไว้เป็นอุทาหรณ์ค่ะ



รวมโฆษณารณรงค์การขับขี่ปลอดภัยหลายๆ ตัวอีกทีค่ะ



รวมโฆษณารณรงค์การขับขี่ปลอดภัยหลายๆ ตัว บางส่วนจากข้างบน บางอันก็ใหม่ค่ะ และภาพจากเหตุการณ์จริงๆ มาให้ดูด้วย เสียวกว่าข้างบนอีก



สำหรับผู้ขับรถโดยตรง เมื่อเห็นมอเตอร์ไซด์ อย่าชะล่าใจนะคะ
ว่าเป็นมอเตอร์ไซด์ ไงๆ ก็น่าจะช้า มันอาจไม่เป็นอย่างที่คุณคิด



ลองมาดูกันว่า ความเร็วที่ต่างกันเพียงน้อยนิดในสายตาเรา สร้างความเสียหายแตกต่างกันได้มากแค่ไหน



พรุ่งนี้อะไรๆ อาจไม่เหมือนเดิม



เรามาดูกันว่าถ้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เมื่อรถเกิดอบัติเหตุ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง



จริงๆ แล้ว แม้แต่คนนั่งหลังก็ควรคาดเข็มขัดนิรภัย



สำหรับคนใจร้อน ที่ค่อยสนใจสัญญาณกั้นเวลารถไฟมา ดูซะว่าถ้ารถไฟมาเต็มแรง จะลากไปไกลขนาดไหน ไงๆ ก็ไม่เหลือซาก



การใช้ความเร็วไม่ใช่เรื่องผิด แต่ควรใช้ให้ถูกที่ จุดที่จำกัดความเร็ว หรือ แหล่งชุมชน ควรทำตามที่กฏหมายกำหนด



เหมือนอันข้างบน เพลงเดียวกัน (เพราะดี ความหมายดีอีกด้วย) แต่ตัดต่อคนละแบบ ให้คนละรมณ์ ภาพชัดกว่า เลยเอามาแปะไว้อีก


Blog นี้ ขออุทิศแด่ คุณชุมพล วัฒนาหาญนุวัฒน์ หรือ อาจารย์ชุม ซึ่งเป็นผู้ที่พยายามรณรงค์และจัดการฝึกสอนเทคนิกการขับขี่มอเตอร์ไซด์ใหญ่ เพื่อการนำไปใช้ขับขี่มอเตอร์ไซด์ใหญ่ได้อย่างปลอดภัยอย่างปลอดให้แก่นักขับขี่มอเตอร์ไซด์มาเป็นเวลากว่าสิบปี ได้ประสบอุบัติเหตุมอเตอร์ไซด์ใหญ่ และเสียชีวิตในที่เกิดเหตุเมื่อวันศุกร์ที่ 2 กค. ที่ผ่านมาก R.I.P พี่จะอยู่ในใจพวกเราตลอดไปค่ะ




 

Create Date : 05 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2553 18:39:30 น.
Counter : 1087 Pageviews.  

1  2  

blue passion
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 47 คน [?]




มีหัวใจไว้เดินทาง ค้นหาความหมายของชีวิต เพื่อเติมเต็มให้กับคำถามที่เกิดขึ้นมากมายระหว่างการเติบโต วิธีการในการเดินทางมีมากมาย แต่ ณ วันนี้ ขอเลือกสองล้อเป็นพาหนะในการนำพาไปสู่จุดหมายปลายทาง

Site Meter

Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add blue passion's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.