";..;'' ReBirTH ";..;''
Group Blog
 
All blogs
 
คุณสมบัติของไวรัส

บทนำ
โครงสร้างของ ไวรัส
- Genome

- Capsid

- envelope

รูปร่างและขนาดของ ไวรัส
ความทนทานของ ไวรัส
...........................................................

บทนำ

ไวรัส เป็นจุลชีพขนาดเล็ก มี genome เป็น DNA หรือ RNA (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ที่ถูกห่อหุ้มด้วย capsid
บางชนิดมี envelope หุ้มอีกชั้นหนึ่ง ไม่มี organelles อื่นใด จัดเป็น obligatory intracellular parasites



โครงสร้างของ ไวรัส
ประกอบด้วย

1. Genome

2. Capsid

3. Envelope (ไวรัสบางชนิดไม่มี envelope)

1. Genome

- Single stranded DNA

a. Circular เช่น Bacteriophage

b. Linear พบในพวก Parvoviridae

- Double stranded DNA

a. Linear พบใน Herpesvirus, Poxvirus
b. Circular พบได้ใน Papovavirus

- Single stranded RNA

a. Non-fragmented พบได้ใน Picornavirus และ Paramyxovirus
b. Fragmented ได้แก่ genome ของ Orthomyxovirus

- Double stranded RNA พบในกลุ่ม Reovirus มีลักษณะเป็นท่อน 10-11 ท่อน ตัวอย่างเช่น Rotavirus มี 11 ท่อน



Polarity ของ genome



+ RNA หมายถึง RNA ที่สามารถทำหน้าที่เป็น mRNA ในการสร้างโปรตีนได้

- RNA หมายถึง RNA ไม่มีคุณสมบัติเป็น mRNA ต้องผ่านการ replication สร้าง RNA สายใหม่ที่มีลำดับ
เบสคู่สมทำหน้าที่เป็น mRNA จึงมักพบ transcriptase enzyme ในอนุภาคไวรัสชนิดนี้

2. Capsid

ประกอบขึ้นจาก capsomer แต่ละ capsomer ประกอบด้วย protomer (polypeptide) ที่เหมือนกันจัดเรียง
กันเป็น capsomer 2 ชนิด ได้แก่ pentamer (penton) ประกอบด้วย 5 protomers และ hexamer (hexon) ประกอบ
ด้วย 6 protomers



รูปที่ 2 แสดงลักษณะของ Capsomer 2 ชนิด ก. Hexamer ข. Pentamer

ที่มา หนังสือประกอบวิชาไวรัสวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยาคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์



ประเภทของโครงสร้าง

1. Icosahedral structure เป็นรูปหลายเหลี่ยม 12 มุม ประกอบด้วยรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่เหมือนกัน
จำนวน 20 รูป แต่ละรูปประกอบด้วย capsomer จำนวนเท่ากันใน virus ชนิดเดียวกัน (จะต่างกันในแต่ละชนิด
ของ virus) hexon จะพบอยู่ที่บริเวณรูปสามเหลี่ยม ส่วน penton จะพบเฉพาะที่ยอดของ capsid เท่านั้น

2. Helical symmetry เป็นรูปทรงกระบอก ซึ่งเกิดจากการเรียงตัวของ protomer หมุนเป็นเกลียว
ในทิศทางเดียวกันเป็นรูปทรงกระบอก (protomer จับกับ genome แล้วหมุนไปพร้อมกัน)

3. Complex structure เป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนไม่แน่นอน เช่น Poxvirus (brick shape)


รูปที่ 3 แสดงรูปโครงสร้างไวรัสชนิด Complex structure (1) Poxvirus (2) Rhabdovirus

ที่มา //fachberatung-biologie.de/Themen/molgenetik/bildviren/rhabdovirus2.jpg

//anne.decoster.free

3. Envelobe

เป็นชั้นไขมัน ที่หุ้ม nucleocapsid มีลักษณะเป็น lipid bilayer ที่แทรกด้วย viral protein หรือ
glycoprotein ซึ่งด้านในของ glycoprotein จะยึดกับ M-protein อยู่ด้านในของชั้น envelope


รูปร่างและขนาดของไวรัส

แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ DNA virus และ RNA virus





รูปที่ 4 แสดงขนาดและรูปร่างของไวรัส

ที่มา //www.vetmed.ucdavis.edu/viruses/ VirusDiagram.html

ความทนทานของ ไวรัส
1. อุณหภูมิ

ไวรัสที่ไม่มี envelope มีความทนทานต่อความร้อนได้ดีกว่า ไวรัสที่มี envelope โดยทนความร้อนที่ 370Cได้นานหลายชั่วโมง ส่วนไวรัสที่มี envelop จะถูกทำลายอย่างรวดเร็วและไม่ทนต่อ Freeze-thaw บ่อยครั้ง อย่างไรก็ตาม ไวรัส ส่วนใหญ่จะถูกทำลายที่ 50-600C ในเวลา 30 นาที

2. สารละลายเกลือแร่

ไวรัสจะมีความทนทานมากขึ้นในสารละลายเกลือแร่ 1 M โดยที่ virus ต่างชนิดกันจะมีความทนทาน
ต่อเกลือแร่ที่ต่างกัน คุณสมบัตินี้ช่วยในการเก็บรักษาวัคซีนได้นานขึ้น

3. ความเป็นกรด-ด่าง

โดยทั่วไปจะสามารถทนสภาพความเป็นกรดด่างที่ pH 5.0-9.0 และไม่ทนต่อสภาพความเป็นด่างมาก

*ข้อยกเว้น Enterovirus มีความทนทานต่อ pH 2.0

4. Radiation

virus ถูก inactivate โดย UV, X-ray และ high-energy particle (ทำลาย nucleic acid โดยตรง)

6. Ether

ทำลาย virus ที่มี envelope

7. Detergents

a. Non-ionic detergent

ละลายชั้น lipid และแยก protein ออกจาก envelope

b. Anionic detergent

ทำลายทั้ง envelope และ capsid

8. Formaldehyde

จะไปทำลาย nucleic acid โดยเฉพาะ single stranded genome โดยไม่ทำลาย protein และความเป็น antigen
(จึงใช้ฆ่าเพื่อเตรียมวัคซีน)

Subviral particle

Defective virus หมายถึง virus ที่ไม่สามารถติดเชื้อและเพิ่มจำนวนได้เองต้องอาศัย Helper virus เช่น
Hepatitis D virus ต้องอาศัย envelope จาก Hepatitis B virus จึงจะสามารถเพิ่มจำนวนได้

Viroid มีเพียง RNA ขนาดเล็กประมาณ 200-400 bp ไม่มีรหัสสำหรับสร้าง protein แต่เพิ่มจำนวน
ได้เอง พบก่อโรคในพืช

Satellite RNA (virusoid) เป็น RNA ขนาดเล็กคล้าย viroid อาจมีรหัสสร้าง protein ได้ แต่ไม่สามารถ
เพิ่มจำนวนเองได้ต้องการ Helper virus (ใช้ capsid จาก Helper virus)


ไปยังหน้าถัดไป



Create Date : 21 กันยายน 2550
Last Update : 22 กันยายน 2550 18:16:46 น. 9 comments
Counter : 10164 Pageviews.

 
เนื้อหาน้อยไปหรือปล่าว


โดย: นักวิทยาศาสตร์จิ๋ว IP: 58.137.23.2 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2550 เวลา:9:13:21 น.  

 
เนื้อหาโอเคนะ กระทัดรัดเข้าใจง่ายดี


โดย: scientists IP: 124.120.152.119 วันที่: 14 ธันวาคม 2550 เวลา:2:05:04 น.  

 
ขอเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ดีกว่า และให้มากกว่านี้นะครับ
ขอเป็นการโจมตีแบบเพชรฆาต อมตะนิรันดร์กาลด้วยทีเถอะ จอนร์


โดย: ขอใหม่หน่อยนะครับ IP: 125.24.128.24 วันที่: 19 มีนาคม 2551 เวลา:18:59:42 น.  

 
เขียนว่าผู้หลงครับท่าน เว็บก็น่าจะ.....นะ


โดย: ทำไมจึง.... IP: 125.24.128.24 วันที่: 19 มีนาคม 2551 เวลา:19:01:06 น.  

 


โดย: คนหลงรักเฟิร์น IP: 61.19.154.74 วันที่: 9 เมษายน 2551 เวลา:8:53:42 น.  

 
ทำไรกัน


โดย: คนหลงรักเฟิร์น IP: 61.19.154.74 วันที่: 9 เมษายน 2551 เวลา:8:54:45 น.  

 
ชอบwebนี้จังเลยค่ะถ้ามีข่าวอะไรช่วยเมล์มาบอกด้วยนะค่ะ kate_tuta@hotmail.com ถ้าเป็นไปได้ก็เข้ามาในhi5บ้างยินดีนะค่ะ ขอบคุณมาก ๆค่ะ


โดย: กัลปังหา IP: 58.137.137.10 วันที่: 31 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:40:47 น.  

 
อย่าdรู้ว่าไวรัสทำงานยังงัย รู้ส่งเมล์มาตอบด้วยจาสอบแล้ว ก่อน 9 พ.ย. นี้นะ


โดย: p_pompom.ctu@hotmail.com IP: 203.148.186.198 วันที่: 31 ตุลาคม 2551 เวลา:21:08:58 น.  

 
เจ๋งโคตรร


โดย: hanui IP: 161.200.255.162 วันที่: 27 มกราคม 2552 เวลา:18:49:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sunakotum
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]







Friends' blogs
[Add sunakotum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.