ขอบคุณที่แวะมาอ่าน และคอมเม้นต์ให้กันนะค๊า http://summerhibiscus.bloggang.com
Group Blog
 
All blogs
 
The Winds of Change

The Winds of Change เป็นหนังสือที่มีการเปิดประเด็นและมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของระบบภูมิอากาศโลกที่ได้เคยทำลายอารยธรรมมนุษย์มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง อ่านเพื่อให้เกิดความตระหนักและช่วยกันดูแลเผ่าพันธุ์มนุษย์ก่อนที่จะสายเกินไป



Eugene Linden.  (2550).  คุณากร  วาณิชย์วิรุฬห์.  (ผู้แปล).  เพชฌฆาตอารยธรรม (The winds of Change).  กรุงเทพฯ: มติชน.  335 หน้า.


หนังสือ The winds of change เป็นอีกหนึ่งเสียงสะท้อนที่มีน้ำหนักว่าเรามนุษย์ทั้งหลายได้สร้างหลักฐานการทำลายโลกของเราไว้อย่างมหาศาลและหนักหนาเพียงใด เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในโลกและภัยธรรมชาติตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าเราจะมีศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยีมากเพียงใด แต่ในท้ายที่สุดเราก็ยังไม่สามารถที่จะเอาชนะภัยธรรมชาติได้เลยซักครั้ง
ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์มีการบันทึกถึงการล่มสลายของอารยธรรมต่างๆ มากมาย และหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดหายนะของมนุษยชาติก็คือ ความผันผวนของระบบภูมิอากาศ นักประวัติศาสตร์ส่วนมากยังคงมองปัจจัยที่ก่อให้เกิดความล่มสลายของอารยธรรมมนุษย์ว่ามาจากสาเหตุภายในสังคมมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โดยมองประเด็นเรื่องความผันผวนของระบบภูมิอากาศเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น แต่หนังสือเล่มนี้ได้ค้นพบหลักฐานเรื่องความผันผวนในประวัติศาสตร์ที่เป็นตัวการสำคัญทำให้อารยธรรมของมนุษย์ในอดีตหลายชุมชนต้องล่มสลายลงไป เช่น การล่มสลายของไวกิ้ง มายา และอัคคาเดีย เป็นต้น
ความเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศของโลก ยังคงเป็นอยู่และดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง และรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ คำถามคือ เราพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ จริงหรือ คำตอบสั้นๆ คือ อาจจะใช่ แต่ธรรมชาติกลับไม่พร้อมเช่นนั้น สุดท้ายแล้วเราก็ไม่ได้พร้อมไปกว่าคนรุ่นก่อนเลย ในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อนในยุโรปเมื่อปี ค.ศ. 2003 มีประชาชนเสียชีวิตไปกว่า 35,000 คน  ในทั่วทุกมุมโลกมนุษย์ได้ลดทอนศักยภาพของธรรมชาติในการจัดการกับสภาพอากาศรุนแรงหลายๆด้าน ป่าโกงกางที่หมดไปราวครึ่งหนึ่งของโลก คือ ปราการธรรมชาติที่ช่วยสกัดคลื่นลมและลดการกัดเซาะชายฝั่งในขณะเกิดเฮอร์ริเคน การตัดไม้ทำลายป่าในอัฟากานิสถานจรดแอฟริกาทำให้พื้นที่ต่างๆแห้งผาก สร้างเชื้อไฟที่จะทำให้ไฟป่ากลายเป็นภัยร้ายแรงยิ่งกว่าเคย สถิติแสดงว่าศักยภาพของธรรมชาติลดลงไปรวดเร็วจนน่าใจหาย ที่ดินที่เข้าถึงได้ในโลกราวร้อยละ 59 ได้เสื่อมสภาพไปแล้ว น้ำจืดครึ่งหนึ่งของโลกต่างเกี่ยวข้องกับการอุปโภคและบริโภคของมนุษย์ พื้นที่ชุ่มน้ำราวครึ่งหนึ่งของโลกถูกผันน้ำออกหรือไม่ก็ถูกเปลี่ยนสภาพ แนวปะการังหนึ่งในห้าของโลกถูกทำลาย ส่วนที่เหลืออยู่ก็เสียหายไปมาก ผลกระทบเชิงลบต่อระบบนิเวศถูกศึกษาไว้อย่างละเอียด และมันก็ส่งสัญญาณสำคัญที่ว่า นอกจากกิจกรรมของมนุษย์จะเพิ่มโอกาสการเกิดลมฟ้าอากาศวิปริตแล้ว พวกเรายังลดทอนศักยภาพของธรรมชาติที่จะช่วยบรรเทาความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นไปด้วย นั่นทำให้เราต้องรับเคราะห์ แต่พวกเราก็ยังลังเลที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมหรือปรับตัวใดๆ ทั้งสิ้น






Free TextEditor


Create Date : 07 มิถุนายน 2552
Last Update : 7 มิถุนายน 2552 15:29:23 น. 1 comments
Counter : 337 Pageviews.

 
อืมม์..น่าสนใจดีค่ะ


โดย: สาวไกด์ฯ IP: 202.28.9.72 วันที่: 8 มิถุนายน 2552 เวลา:15:02:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

*~น.ส.ชบา หน้าร้อน~*
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ไม่อนุญาติให้คัดลอกข้อความใดๆ จากบล็อคนี้โดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของบล็อคค่ะ
Friends' blogs
[Add *~น.ส.ชบา หน้าร้อน~*'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.