ลาวเสี่ยงเทียง

เพลงลาวเสี่ยงเทียนเดิมเป็นเพลงลูกบท เกิดขึ้นในระหว่างปลายรัชกาลที่ ๔ ถึงต้นรัชกาลที่ ๕ โดยมีครูเพลงซึ่งไม่ทราบชื่อเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น แล้วนำมาเล่นต่อท้ายเพลงใหญ่ เป็นเพลงสำเนียงลาว (สำเนียงภาคเหนือ) อัตราจังหวะ ๒ ชั้น มี ๒ ท่อน ต่อมามีผู้ประดิษฐ์ทางร้องและใช้บทร้องที่ว่า “ข้าเจ้าสาวโคมเวียนเสี่ยงเทียนถวาย ขอน้อมกายก้มเกล้าเข้ามาหา” ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ถึงกับนำไปเล่นกันอย่างแพร่หลาย และเรียกชื่อกันตามบทร้องว่า "ลาวเสี่ยงเทียน" เพลงนี้จึงมีชื่อ “ลาวเสี่ยงเทียน” มาตั้งแต่นั้น

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำทำนองเพลงลาวเสี่ยงเทียนของเก่าซึ่งเป็นอัตรา ๒ ชั้น มาแต่งขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น ทั้งทำนองร้องและทำนองดนตรี โดยประดิษฐ์ทำนองให้มีสำเนียงเป็นลาวตามสำเนียงเดิม รวมทั้งได้แต่ง “ทางเปลี่ยน” ต่อมาได้แต่งเพิ่มเป็นเถา โดยแต่งทางเปลี่ยนขึ้นทั้ง ๒ ชั้นและชั้นเดียวด้วย เพลงลาวเสี่ยงเทียนเถา ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นเพลงที่มีทำนองไพเราะน่าฟัง ได้รับความนิยมในวงการดนตรีไทยแพร่หลายมาก นอกจากเพลงลาวเสี่ยงเทียนทางของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) แล้ว ยังมีเพลงลาวเสี่ยงเทียนทางของครูวาดด้วยอีกทางหนึ่ง

บทร้องเพลงลาวเสี่ยงเทียนเถา ใช้บทจากเรื่อง “พระลอนรลักษณ์” พระราชนิพนธ์สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ (กรมพระราชวังบวรในสมัยรัชกาลที่ ๓)

มีผู้นำเอาทำนองเพลงลาวเสี่ยงเทียน ๒ ชั้น ไปดัดแปลงเป็นเพลงลูกกรุงลูกทุ่ง โดยเพลงส่วนใหญ่มาจากเพลงลาวเสี่ยงเทียน ๒ ชั้น เพลงที่ ๗ มาจากเพลงลาวเสี่ยงเทียน ๒ ชั้นทางเปลี่ยน ส่วนเพลงที่ ๘-๙ ทำนองลาวเสี่ยงเทียน ๓ ชั้น

ลูกทุ่งเสี่ยงเทียน

นิราชนุช

คาถามัดใจ

ดา ดา ดา -สุชาติ เทียนทอง

กลับมาทำไม





Create Date : 16 กันยายน 2556
Last Update : 16 กันยายน 2556 22:34:15 น.
Counter : 17362 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

star5
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]