โลกนี้มีเรื่องราวดีๆ ไว้ให้แบ่งปันกันมากมาย

“ปลา” มีประโยชน์มากมาย เหมาะสำหรับผู้ป่วย “เบาหวาน”

สำนักอนามัย(สนอ.) เผยผลการสำรวจสถานะสุขภาพในปี 2556 พบคนกรุงเทพฯป่วยเป็น “โรคเบาหวานเรื้อรัง” เป็นอันดับสอง รองจาก “โรคความดันโลหิตสูง”

นอกจาก“กรรมพันธุ์” “น้ำหนัก” และ “การขาดการออกกำลังกาย” แล้ว “อาหารการกิน” ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด“โรคเบาหวาน”

ผู้ป่วย“โรคเบาหวาน” จึงควรหันมาใส่ใจในเรื่องของการรับประทานอาหารให้มากขึ้น




การเลือกทานอาหารประเภท“ปลา” ทั้งปลาน้ำจืดและปลาทะเล เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารมาก มีโปรตีนคุณภาพดีคลอเรสเตอรอลต่ำ ย่อยง่าย ทั้งในไขมันปลา ยังเป็นแหล่ง “โอเมก้า 3” ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด “โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน” ได้ด้วย

สำหรับวิธีการเลือกปลาต้องเลือกตัวใหญ่ๆ มีไขมันมาก เพราะเป็นไขมันที่มีคุณค่าต่อร่างกายปลาที่ให้ประโยชน์มากที่สุด คือ “ปลาสวาย” ที่มี “โอเมก้า 3” สูงถึง 2,570 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม ซึ่งมากกว่าทะเล

“ปลา” มีคุณประโยชน์มากมายอย่างนี้เรามากิน “ปลา” กันทุกวันเพื่อสุขภาพกันดีกว่านะคะ โดยเฉพาะ ครอบครัวที่ต้องดูแล ผู้ป่วย"โรคเบาหวาน" ค่ะ


//boonthis.wordpress.com

เรื่องราวดีๆ มีไว้แบ่งปันมากมาย ที่ 

https://www.facebook.com/boonthis?ref=hl

ขอบคุณสำหรับทุก Like ค่ะ :-)




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2557   
Last Update : 21 สิงหาคม 2557 18:58:12 น.   
Counter : 1447 Pageviews.  

ทำความรู้จัก กลุ่มโรค NCDs กันสักหน่อยค่ะ



"โรค NCDs จัดเป็นฆาตกรอันดับหนึ่ง ที่คร่าชีวิตประชากรโลกมากกว่าสาเหตุการตายอื่น ๆ ทุกสาเหตุรวมกัน มากถึง 36.2 ล้านคนต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 66% ของการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมดในปี 2554

ขณะที่ในประเทศไทย กลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึงประมาณ 3.1 แสนคน หรือ ร้อยละ 73 ของการเสียชีวิตของประชากรไทยทั้งหมดในปี 2552"


กลุ่มโรค NCDs ที่สำคัญประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
(รวมถึงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง)

2. กลุ่มโรคเบาหวาน

3. กลุ่มโรคมะเร็ง

4. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
(รวมถึงโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหอบหืด)

กลุ่มโรค NCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ทานอาหารหวานมันเค็มจัด และการออกกำลังกายไม่เพียงพอ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคอ้วนลงพุง และโรคความดันโลหิตสูง

โดยทั่วไปมักมีความเข้าใจกันว่าโรค NCDs เป็นโรคของผู้สูงอายุ แต่จากข้อมูลพบว่า ประมาณ 1 ใน 4 ของการตายด้วยโรค NCDs พบว่าเป็นการเสียชีวิต ก่อนอายุ 60 ปี อาการของโรคที่เกิดขึ้นตอนสูงอายุ "มักเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงสะสม ในช่วงวัยหนุ่มสาว เหมือนเราสะสมดินระเบิดเอาไว้เรื่อย ๆ ซักวันมันก็ต้องระเบิดออกมา"


จะเห็นได้ว่า โรค NCDs มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพต่างๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา กินอาหารหวาน มัน เค็ม และการขาดการออกกำลังกาย

เราจึงควรหันมาใส่ใจ และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ด้วยความปรารถนาดี จาก



#NCDs
#มะเร็ง
#หลอดเลือดสมอง
#หัวใจ
#ความดันสูง
#aimmura
#sesamin
#เอมมูร่า
#เซซามิน









 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2557   
Last Update : 30 มิถุนายน 2559 16:14:43 น.   
Counter : 1114 Pageviews.  

ทำความรู้จัก NCDs โรคร้ายข้างกายที่เราสร้างเองกันค่ะ




NCDs โรคร้ายข้างกายที่เราสร้างเอง


NCDs ชื่อนี้คือโรคไม่ติดต่อที่เป็นแล้วป่วยเรื้อรัง และเป็นโรคอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก ทั้งหมดทั้งมวลเกิดจากพฤติกรรมของเรานี่เอง

การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน เปรียบเหมือนทางด่วนที่ก่อให้เกิดโรคร้ายได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เพราะการดำเนินชีวิตประจำวันที่คุ้นเคยหลายอย่าง ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล ทั้งเรื่องการกิน การนอน การออกกำลังกาย และการทำงาน

นายแพทย์ทักษพล ธรรมรังสี ผู้จัดการแผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ กล่าวว่า "โรค NCDs" ย่อมาจากคำว่า Non-communicable diseases หมายถึง กลุ่มโรคไม่ติดต่อ ที่ไม่สามารถแพร่กระจายโรคจากคนสู่คนได้ โดยทั่วไปอาจเรียกว่า กลุ่มโรคเรื้อรัง ซึ่งหมายถึงโรคที่เกิดต่อเนื่องยาวนาน และมีการดำเนินของโรคเป็นไปอย่างช้า ๆ ซึ่งแตกต่างจากโรคติดเชื้อส่วนใหญ่ ที่มักมีการดำเนินโรคอย่างรวดเร็ว 

กลุ่มโรค NCDs ที่สำคัญประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่ 

1. กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด (รวมถึงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง) 
2. กลุ่มโรคเบาหวาน 
3. กลุ่มโรคมะเร็ง 
และ 4. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง (รวมถึงโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหอบหืด)

"โรค NCDs จัดเป็นฆาตกรอันดับหนึ่ง ที่คร่าชีวิตประชากรโลกมากกว่าสาเหตุการตายอื่น ๆ ทุกสาเหตุรวมกัน มากถึง 36.2 ล้านคนต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 66% ของการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมดในปี 2554 ขณะที่ในประเทศไทย กลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึงประมาณ 3.1 แสนคน หรือ ร้อยละ 73 ของการเสียชีวิตของประชากรไทยทั้งหมดในปี 2552"

ผู้จัดการแผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ กล่าวว่า นอกจากผลกระทบทางด้านสุขภาพแล้ว โรค NCDs ยังส่งผลกระทบต่อสังคม โดยมีข้อมูลยืนยันว่า เป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะด้านคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ 

โดยโรค NCDs ทำให้ประชากรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เกิดการสูญเสียศักยภาพในการประกอบอาชีพ และผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยและโรคแทรกซ้อน โดยนอกจากจะเพิ่มภาระแก่คนรอบข้างแล้ว ยังสร้างภาระแก่สังคมโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มูลค่าของค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพในแต่ละปีที่มีมูลค่ามหาศาล

ความเชื่อว่าเป็นโรคของคนแก่
นายแพทย์ทักษพล กล่าวต่อไปอีกว่า โดยทั่วไปมักมีความเข้าใจกันว่าโรค NCDs เป็นโรคของผู้สูงอายุ แต่จากข้อมูลพบว่า ประมาณ 1 ใน 4 ของการตายด้วยโรค NCDs พบว่าเป็นการเสียชีวิต ก่อนอายุ 60 ปี อาการของโรคที่เกิดขึ้นตอนสูงอายุ มักเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงสะสม ในช่วงวัยหนุ่มสาว เหมือนเราสะสมดินระเบิดเอาไว้เรื่อย ๆ ซักวันมันก็ต้องระเบิดออกมา

ความเชื่อว่าเป็นโรคของคนรวย
เนื่องจากสาเหตุของโรค NCDs มักเกี่ยวข้องกับการกินอยู่และวิถีชีวิต ส่วนใหญ่จึงเชื่อว่าโรคเหล่านี้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน มักเป็นโรคของความอยู่ดีกินดี และมักเกิดขึ้นเฉพาะกับคนในสังคมเมือง หรือคนรวยเท่านั้น ซึ่งในควมเป็นจริง คนยากจนเสี่ยงต่อการเป็นโรค NCDs มากกว่าคนรวย เพราะมีพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงมากกว่า เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เป็นต้น 

ที่สำคัญเมื่อเป็นโรคแล้ว คนยากจนจะมีความสามารถในการดูแลรักษาสุขภาพที่น้อยกว่า จึงมักควบคุมอาการไม่ได้และเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้มากกว่า

โรคที่มาจากการทำร้ายตัวเอง
ผู้จัดการแผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากโรค NCDs มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพต่าง ๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา กินอาหารหวาน มัน เค็ม และการขาดการออกกำลังกาย 

ดังนั้น การจัดการวิกฤต โรค NCDs และปัจจัยเสี่ยงหลัก จึงเป็นเรื่องที่ภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรมีหน้าที่จัดการสิ่งแวดล้อมในสังคม ทั้งทางกายภาพและทางวัฒนธรรม เอื้อต่อพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพง่ายขึ้น เช่น การควบคุมการขายและการทำการตลาดของสินค้าทำลายสุขภาพ หรือสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายมากขึ้น เป็นต้น

แม้ว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตที่เราเคยปฏิบัติกันมาจนเคยชิน จะสามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้มากมาย แต่วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงก็ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตให้มีความสมดุล และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น

เรื่องโดย : ฉัตร์ชัย นกดี 


We Care We Share :-)
https://www.facebook.com/boonthis?ref=hl





 

Create Date : 16 พฤษภาคม 2557   
Last Update : 21 สิงหาคม 2557 21:57:55 น.   
Counter : 1244 Pageviews.  

สุขภาพ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี

เราเป็นคน... ไม่ใช่หุ่นยนต์เหล็กไหล
ทำงานหนักหนาสาหัสเพียงไร
โปรดเตือนตนไว้ ว่า "เราเป็นคน“

อย่ามัวทำงานจนบานตะไท
พอเริ่มป่วยไข้วุ่นวายสับสน
มีเงินมากมายแต่กายพิกล
ชีวิตมืดมนเกือบเกินเยียวยา

สุขภาพ คือ คำศักดิ์สิทธิ์
จงอย่าเห็นผิดงกเงินเพลินบ้า
สุขภาพไม่ดีถึงมีเงินตรา
ทรัพย์สินประดาก็เปล่าประเดิม

เราเป็นคน... ไม่ใช่หุ่นยนต์เหล็กไหล
อย่าบ้าตามไป เพราะใจเห่อเหม
รักงาน รักตน จงสนใจเจิม
สมดุลเติมชีวิตพอดี

"รื่นรมย์ในงาน เบิกบานในชีวิต"
นี่คือเข็มทิศที่ควรส่งเสริม
ชีวิตคุ้มค่าต้องหาธรรมเจิม
"ทางสายกลาง" เติมแต่งให้พอดี

โดย...ท่าน ว.วชิรเมธี


เรื่องราวดีๆ มีไว้แบ่งปันมากมาย ที่ 

https://www.facebook.com/boonthis?ref=hl

ขอบคุณสำหรับทุก Like ค่ะ :-)




 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2557   
Last Update : 21 สิงหาคม 2557 22:02:37 น.   
Counter : 746 Pageviews.  

10 วิธีลดน้ำหนัก เปลี่ยนเป็น “บ้านคนผอม”

10วิธีลดน้ำหนักเปลี่ยนเป็น “บ้านคนผอม”

1.ไม่ควรมีโทรทัศน์อยู่ที่โต๊ะอาหาร

2.ใช้จานชามขนาดเล็ก

3.กินข้าวด้วยตะเกียบ

4.ไม่ตุนน้ำอัดลมน้ำชา

5.ไม่ตุนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

6.ตุนผลไม้แทนขนม

7.มีอุปกรณ์ออกกำลังกายง่ายๆติดบ้านไว้

8.ทำความสะอาดบ้านเป็นกิจกรรมเรียกเหงื่อ

9.จำกัดการดูโทรทัศน์

10.ติดข้อความสร้างแรงบันดาลใจ


เรื่องราวดีๆ มีไว้แบ่งปันมากมาย ที่ 

https://www.facebook.com/boonthis?ref=hl

ขอบคุณสำหรับทุก Like ค่ะ :-)




 

Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2557   
Last Update : 21 สิงหาคม 2557 22:03:12 น.   
Counter : 855 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

sriphat
Location :
ภูเก็ต Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




โลกนี้มีเรื่องราวดีๆ ไว้ให้แบ่งปันกันมากมาย
New Comments
[Add sriphat's blog to your web]