+++ ความล้มเหลว เป็นก้าวแรกของชัยชนะ+++ศรีกรม
 

ประชุมคณะทำงานยกร่างตัวชี้วัด

เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานกำหนดตัวชี้วัดฯประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ 

ที่ประชุมได้พิจารณาหลักการกำหนดกรอบการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการฯประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ โดยฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯได้นำเสนอหลักการกำหนดกรอบการประเมินฯเปรียบเทียบระหว่างสำนักงาน กพร. สำนักงานศาลยุติธรรม และอส. เพื่อให้เป็นข้อมูลแก่คณะทำงานฯ

ฝ่ายเลขานุการฯให้รายละเอียดแกี่ยวกับที่มาของกรอบการประเมินฯ กรอบการประเมิน ประเด็นการประเมิน จำนวนตัวชี้วัด เกณฑ์การประเมิน การประเมิน วิธีการประเมิน หน่วยรับการประเมิน รอบการประเมิน และการอุทธรณ์ตัวชี้วัด


นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบผลการประเมินตนเอง(SAR) ในรอบ ๑๒ เดือนของปีงบประมาณ ๒๕๖๒ และมีการเสนอให้มีการยกเลิกตัวชี้วัดบางส่วน ที่มีผลการประเมินฯดีกว่าเป้าหมายและมีการวัดต่อเนื่องมาหลายปี ตัวชี้วัดบางตัวที่มีผลกระทบและเกิดประโยชน์น้อย และเป็นภารกิจประจำ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้ว


ที่ประชุมได้มีมติให้ความเห็นชอบให้ยกเลิกตัวชี้วัดบางตัว  บางตัวชี้วัดให้ชลอการพิจารณาไว้ก่อน และนำไปพิจารณาในกลุ่มย่อย เพื่อความรอบคอบ เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล แผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ และแผนยุทธศาสตร์ ๔ ปี ของสำนักงานฯ

การประชุมดังกล่าว ที่ประชุมได้พิจารณาและเปิดโอกาสให้คณะทำงานฯได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง มีความสร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์ต่อองค์กร และะประชาชนครับ  เกิดแนวคิดในการที่จะนำไปประกอลในการยกร่างตัวชี้วัดฯประจำปีนี้ได้ดียิ่ง




 

Create Date : 15 พฤศจิกายน 2562    
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2562 11:47:49 น.
Counter : 1646 Pageviews.  

ความเพียร



ความเพียร เป็นคุณธรรมอันหนึ่ง ที่ผู้ต้องการความสำเร็จในชีวิตจะต้องมี


ในทางพระพุทธศาสนา ได้กำหนดหลักธรรม ที่จะทำให้คนเราประสบผลสำเร็จได้ คือ อิทธิบาท ๔ ประการ

ในหลักอิทธิบาท ๔ ก็มีความเพียรอยู่ด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความเพียรอย่างเดียวก็ยังจะต้องมีหลักธรรมอื่น ๆ มาประกอบด้วย เพราะมีความเพียรอข่างเดียวอาจะไปทำในสิ่งที่ดี หรือ เลวก็ได้


 รูปภาพของ สิริปาโล ภิกขุ ถ่ายภาพที่หมู่บ้านของนางสุชาดา พุทธคยา อินเดีย

คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น 4 คือ

  1. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
  2. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
  3. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
  4. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม 4 อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

  1. ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ตนถือว่าดีที่สุด ที่มนุษย์เราควรจะได้ข้อนี้เป็นกำลังใจอันแรก ที่ทำให้เกิดคุณธรรมข้อต่อไปทุกข้อ
  2. วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อไม่ขาดตอน เป็นระยะยาวจนประสบความสำเร็จ คำนี้มีความหมายของความกล้าหาญเจืออยู่ด้วย
  3. จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้งสิ่งนั้นไปจากความรู้สึกของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็นวัตถุประสงค์นั้นให้เด่นชัดอยู่ในใจเสมอ คำนี้รวมความหมายของคำว่าสมาธิอยู่ด้วยอย่างเต็มที่
       4.วิมังสา หมายถึงความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความสำเร็จเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้รวมความหมายของคำว่า ปัญญาไวด้วย                                                                                             ส่วนคำที่ว่าความเพียร นี้หมายถึงความพยามยามอุดหนุนให้กิจที่ตนเองประกอบให้สำเร็จไปจึงเรียกว่า ความเพียร  พูดถึงอำนาจของความเพียร ความเพียรย่อมเป็นกำลังใหญ่ สามารถผลักดันความขี้เกียจขี้คร้านความมักง่าย ไม่ให้ปรากฏขึ้นมา เพราะเมื่อกำลังทั้งสองนั้นปรากฏขึ้นก็จะนำพาจิตใจให้มีความรู้สึกโน้มเอียงไปในทางกำลังของมัน จะเป็นเหตุให้งานที่ตัวเองประกอบนั้นไม่สำเร็จไปหรือล้มเลิกไปเสีย

ความเพียนใน ๔ สถาน คือ

๑. เพียรละบาปที่มีอยู่แล้วให้หมดไป ท่านเรียกว่า “ประหารประทาน”

๒. เพียรป้องกันบาปที่ยังไม่เกิดอย่าให้เกิดขึ้น เรียกว่า “สังวรประทาน”

๓. เพียรสงวนรักษาบุญกุศลที่มีอยู่อย่าให้ตกไป เรียกว่า “อนุรักขนาประทาน”

๔. เพียรประกอบในบุญกุศลที่ยังไม่ให้เกิดให้เกิดขึ้น เรียกว่า “ภาวนาประทาน”



ถ่ายที่วัดไทยกุฉินารา  อินเดีย

    อย่างไรก็ตาม หากเราอ่านแล้ว อาจจะเห็นว่า มีแต่เรื่องความเพียรให้ทำความดี ละความชั่ว เท่านั้น แต่เรื่องการงาน การดำเนินชีวิต ไม่เห็นมี

      ความจริงแล้ว การขยันหมั่นเพียรในการทำคาามดี การขยันการทำงาน หาเลี้ยงชีพด้วยความสุจริต การรู้จักประหยัดทั้งหลายแล ล้วยแต่เป็นการทำความเพียร เพื่อประกอบให้คุณความดี ที่เรายังไม่มีให้เกิดมีนั่นเอง ถือว่า
ได้ว่า เป็นการทำความเพียรในข้อ ๔.

    ดังนั้น การทำความเพียรไปในทางที่ไม่ดี เพียรในการทำความชั่ว ล้วนแต่เป็นการกระทำความเพียรที่ผิด ไม่ตรงตามคำสอนในทางพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด

   เราจะความเพียรทั้งที ดูให้ดีว่า...เพียรถูกที่ ถูกทาง ถูกต้องตามคำสอนในทางพุทธศาสนา หรือไม่ !!!





 

Create Date : 28 สิงหาคม 2561    
Last Update : 28 สิงหาคม 2561 11:57:39 น.
Counter : 599 Pageviews.  

อาหารญี่ปุ่น




ในช่วงเช้าของวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ได้มีโอกาสไปทัศนศึกษาที่เมืองยามานาซิ และ ได้พาไปเรับประทานอาหารกลางวันณ ภัตตาคาร Yokan Onsen ซึ่งบริการด้วยอาหารญี่ปุ่นแบบเซ็ตเมนูย่างหินภูเขาไฟ หมูอย่างดี เสิร์ฟเป็นเซ็ตขนาดใหญ่ พร้อมด้วยกุ้ง ผักสดนานาชนิดอาทิฟักทอง ถั่วงอก กระหล่ำปลี ให้ทุกคนได้ทดลองย่างด้วยตนเองบนเตาที่ผลิตมากจากหินภูเขาไฟพร้อมน้ำจิ้มรสเด็ด ข้าวสวยร้อน ๆ และซุปมิโซะอีกด้วย


จะเป็นเนื้อ กุ้ง และผักสด แล้วนำมาปิ้งบนเตาย่างเป็นหินจากภูเขาไฟ เจ้าหน้าที่แนะนำว่าจะต้องย่างตรงกลาง โดยนำเนื้อหมูที่มีไขนำมาทาบนเต่าก่อน แ้วค่อนนำเนื้อ กุ้ง หรือผัก ไปปื้งบนเต่า

มีอุปกรณ์ได้แก่ ตะเกียบ มีน้ำจิ้มไว้ให้คนละชุด นอกจากนั้นเป็นข้าวสวยของญี่ปุ่น 

สำหรับข้าวสวยของญี่ปุ่น จะมียาง จับกันเป็นก้อน มีความนุ่ม มีรสชาตอร่อยกว่าข้าวสวยไทย สามารถใช้ตะเกียบคีมรับประทานได้ 



ส่วนผู้เขียนไม่สามารถรับประทานได้ เนื่องจากทานอาหารเจ ทางร้านจึงได้นำเตาฮู้ ผักสด และถั่วงอกมาให้ย่างกับเต่าดังกล่าว ทำให้ทานอาหารไม่อิ่มท้อง ต้องหันไปทานข้าวที่ห่อด้วยสาหร่ายทะเล ที่ไกด์ได้ซื้อมาให้หลังจากลงจากเครื่องแล้ว

บางท่านบอกว่าถ้าทานอาหารเจ มาญี่ปุ่นสบาย มีอาหารทานได้เยอะแยะ ก็มองหาอาหารดังกล่าวเช่นกัน ...ไม่เห็นมีน่ะ

แต่อย่างไรก็ตาม ไปมาหลายร้าน บางท่านก็ชอบทานอาหารญี่ปุ่นมาก แต่ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า...สูอาหารไทยไม่ได้ครับ !!!






 

Create Date : 27 สิงหาคม 2561    
Last Update : 27 สิงหาคม 2561 16:44:00 น.
Counter : 314 Pageviews.  

วิชาชีวิต

พุทธภาษิตที่ว่า ..จิตตัง ทันตัง สุขาวหัง

จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้

ตามปกติแล้ว จิตของคนเรา จะมีสภาพดิ้นรน กวัดแกว่ง สอดส่ายไปทั่ว ไม่อยู่นิ่ง และจิตจะชอบวิ่งไปอารมณ์ที่ชอบใจ และในทางต่ำ

ชอบเสพติดในความสุข ความสบาย ชอบความเพลิดเพลินเป็นอาหาร จะไม่ชอบความลำบาก ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน

การที่ชอบความสุข ความสบาย เกิดเพราะเรามีความคุ้นเคยกับความสุขดังกล่าว ทำให้กายไม่ลำบาก ใจไม่ลำบาก



พอจิตไปกระทบกับสิ่งที่ตรงกันข้าม ก็จะทำให้สภาพจิตมีอาการทุกข์ ไม่สะบายกายไม่สบายใจ โหยหาความสุข ความสบายที่เคยได้าัมผัสมา

ความจริงแล้ว ตามความจริงชีวิตมีแต่ความทุกข์เท่านั้น ความสุข ความสบาย เป็นสภาพที่จิตใจทนอยู่ได้ในสภาวะหนึ่ง พอสบายมากไป ก็กิดความทุกข์ขึ้นมาอีก

การที่จะให้มีความทุกข์น้อยลง จึงจำเป็นต้องหางานให้จิตทำ ด้วยการปฏิบัติสมถ หรือวิปัสสนา

ไม่ว่า จะนำบท พุทโธ หรือ สัมมาอรหัง หรือ ยุบหนอ พองหนอ ล้วนเป็นวิธีการที่นำมาเพื่อหาหลักให้จิตได้มีที่ทำงาน

การฝึกจิตบ่อย ๆ ก็จะทำให้จิตมีสภาพเข้มแข็ง มีความอดทนต่อความลำบากต่าง ๆ และจะถือเอาความทุกข์นั่นเองมาเป็นครู เพื่อจะหาทางแก้ไข

การฝึกจิตบ่อย ๆ เป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เราได้มองเห็นความทุข์ของชีวตที่แท้จริง จะทำให้เราลดการเสพติดความสุข ความสบาย ต่าง ๆ และถือเอาความทุกข์ทั้งหลายที่ผ่านมาในชีวิต เป็นครูของเราในการศึกษา..วิชาชีวิต




 

Create Date : 27 สิงหาคม 2561    
Last Update : 27 สิงหาคม 2561 13:02:11 น.
Counter : 1545 Pageviews.  

เรือนหอ







 ตามประเพณีของไทย จะมีประเพณีอย่างหนึ่งที่เคยปฏิบัติสืบ ๆ กันมา เมื่อชายอายุย่างเข้าวัยพอสมควรแล้ว ก็จะบวชในบวรพุทธศาสนา เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ หลังจากนั้นก็จะหาคู่ครอง เพื่อเริ่มต้นชีวิตครอบครัวใหม่

ในการแต่งงาน ตามกฎหมายของไทย ก็จะมีบัญญัติไว้เกี่ยวกับเรื่องการหมั้น มีสินสอดทองหมั้นในการไปสู่ขอก่อน แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องมีการหมั้นเสมอไป บางรายอาจจะไปสู่ขออยู่กินด้วยกันเลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีการหมั้นหมาย

มีทรัพย์สินอีกประเภทหนึ่งที่ไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมายคือ " เรือนหอ" และไม่มีการบังคับว่า การหมั้นแล้วจะต้องมีเรือนหออีกด้วย

กรณีที่คู่บ่าวสาวเมื่อมีการหมั้นแล้ว บางรายอาจจะมีการสร้างเรือนหอไว้ก่อนแต่งงานตามประเพณี เพื่อไว้เป็นเรือนรักหลักจากมีการแต่งงานแล้ว

เรือนหอ คือ เคหสถานซึ่งคู่สมรสจะใช้เป็นที่อยู่กินด้วยเมื่อทำการสใรสแล้ว ซึ่งตามธรรมเนียมเรือนหอนี้ต้องทำให้แล้วเสร็จก่อนวันทำการมงคล จึงเป็นสถานที่ที่คู่บ่าวสาวจะอยู่ร่วมกันหลังจากมีการแต่งงงานกันตามประเพณีแล้ว ตามปกติแล้วเรือนหอจะเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายจะต้องเป็นฝ่ายดำเนินการ และจะต้องมีก่อนการแต่งงานตามประเพณี หากมีการก่อสร้างในภายหลังจะไม่เรียกว่า "เรือนหอ"

มีปัญหาว่า...หากคู่บ่าวสาวหลังจากแต่งงานกันตามประเพณีและมีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ต่อมาเกิดเหตุการณ์...เตียงหัก...เกิดขึ้น ชีวิตครอบครัวล้มสลาย มีอันจะต้องแยกทางกัน...เรือนหอจะเป็นทรัพย์สินของฝ่ายใด

ตามประเพณีไทย เรือนหอจะเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายจะสร้างขึ้น เพื่อไว้เป็นสถานทที่อยู่ของคู่บ่าวสาวหลังจากมีการแต่งงานกันแล้ว จึงถือว่า เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายที่มีก่อนการสมรส จึงเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของฝ่ายชาย จึงต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายชาย

ถ้าเป็นกรณีที่ฝ่ายชายไปสร้างในที่ดินของฝ่ายหญิงโดยญาติฝ่ายหญิงอนุญาตให้สร้าง เรือนหอดังกล่าวก็ไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน ฝ่ายชายก็สามารถรื้อออกจากที่ดินได้

อย่างไรก็ดี ถ้าเรือนที่สามีภริยาใช้อยู่กินด้วยกันนี้ สร้างขึ้นโดยชายและหญิงเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายร่วมกันเรือนนี้ไม่ใช่ " เรือนหอ " เช่น โจทก์จำเลยร่วมกนนำสัมภาระและลงทุนปลูกสร้าเรือนขึ้น ๑ หลังในระหว่างหมั้น แต่ไม่ได้ความพอที่จะชี้ได้ว่าสัมภาระใดเป็นของฝ่ายใด ทั้งไม่ได้ความว่าแต่ละฝ่ายได้มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่กินเกินกว่าครึ่ง ดังนี้ ต้องถือว่า โจทก์ จำเลย มีส่วนเป็นเจ้าของเรือนรายนี้เท่า ๆ กัน(ฎีกาที่ ๖๔๐/๒๔๙๔)

นอกจากนี้มีตัวอย่างเช่น..มารดาหญิงรับเงินจากชายเป็นค่าเรือนหอ โดยมารดาหญิงพูดยกเรือนให้เป็นเรือนหอ คู่สมรสอยู่ด้วยกันในเรือนนี้ เรือนนี้ตกเป็นสินเดิมของชาย แม้จะไม่มีหนังสือยกให้ (ฏีกาที่ ๑๖๙๓/๒๕๐๐)

แต่ในปัจจุบัน เหตุการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไป เพราะหนุ่มสาวปัจจุบัน ต่างร่วมแรงร่วมใจกันซื้อบ้านด้วยกันก่อนล่วงหน้าที่จะแต่งงานกันเสียอีก การที่หนุ่มสาวร่วมกันซื้อบ้านไว้ล่วงหน้าโดยไม่ได้มีการหมั้นหมาย หรือสู่ขอกันก่อนตามประเพณี การที่บุคคลทั้งสองร่วมกันซื้อบ้านไว้ก่อนแต่งงานกันตามประเพณี  บ้านหลังดังกล่าว จึงไม่ใช่ "เรือนหอ" แต่อย่างใด




 

Create Date : 13 ตุลาคม 2559    
Last Update : 13 ตุลาคม 2559 13:18:55 น.
Counter : 1266 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  
 
 

สมาชิกหมายเลข 3206122
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 3206122's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com