ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

ซีรีส์สื่อใหม่กับความขัดแย้งทางการเมืองตอนที่9:‘เสรีภาพออนไลน์’สื่อหลักต้องร่วมปกป้ิอง

สฤณี อาชวานันทกุล ปัจจุบัน เป็นอาจารย์พิเศษวิชา “ธุรกิจกับสังคม” ในหลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการแบบบูรณาการ) และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังเป็นคอลัมนิสต์ในสื่อสิ่งพิมพ์หลายฉบับ ในโลกอินเทอร์เน็ต หลายคนอาจเริ่มรู้จักเธอในฐานะบล็อกเกอร์ “คนชายขอบ” แห่งบล็อก //fringer.org ก่อนจะขยับมาเป็นคอลัมนิสต์ประจำโอเพ่นออนไลน์ (//www.onopen.com) และเป็นบรรณาธิการของเว็บในเวลาต่อมา นอกจากนั้น เธอยังสวมหมวกกรรมการก่อตั้งเครือข่ายพลเมืองเน็ตด้วย

ประชาไทพูดคุยกับเธอในฐานะผู้ที่คร่ำหวอดอยู่กับวงการอินเทอร์เน็ต หนึ่งในกรรมการก่อตั้งเครือข่ายพลเมืองเน็ต ซึ่งแทบจะเป็นองค์กรเดียวที่ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนกรณีมีผู้ถูกจับ ถูกดำเนินคดีด้วย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่แรกๆ ที่มีการบังคับใช้ เพื่อเรียกร้องให้ใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม

บทบาทสื่อหลักในพื้นที่ใหม่

ขณะที่จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีแต่จะมากขึ้นทุกวัน เทคโนโลยีราคาถูกลงเรื่อยๆ เธอมองว่า โดยธรรมชาติ สื่อหลักก็ต้องกระโจนเข้ามาในพื้นที่สื่อใหม่นี้ เพื่อให้คนอ่านของเขารู้สึกว่าได้เห็นเขาทุกแห่งที่ไป ทำให้เธอนึกถึงประเด็นที่่ว่า เมื่อทั้งหมดมาอยู่รวมในพื้นที่เดียวกันแล้ว สื่อหลักจะมีบทบาทช่วยเหลือประชาชนอย่างไร

สำหรับกรณีแบบนี้ สฤณีเล่าด้วยความผิดหวังว่า ประเด็นที่รู้สึกว่าประเทศไทยล้าหลังกว่าประเทศอื่นก็คือ เรื่องสิทธิเสรีภาพของพลเมือง

“เมื่อเอาเข้าจริงแล้วประชาชนเวลาเข้าไปอยู่บนเน็ตแล้วสื่อสารกัน นั่นก็คือเสรีภาพในการสื่อสาร ดังนั้นมันคือคำตอบว่า ทำไมพอบล็อกเกอร์ถูกจับ ถูกบล็อค ถูกเซ็นเซอร์ องค์กรวิชาชีพสื่อในต่างประเทศถึงได้ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ทำไมสื่อต่างชาติถึงได้ทำข่าวเรื่องบล็อกเกอร์เรื่องเฟซบุ๊กพวกนี้ว่าเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งๆ ที่คนที่โดนไม่ใช่นักข่าววิชาชีพ แล้วทำไมในเมืองไทย มันยังไม่มีเรื่องพวกนี้ องค์กรวิชาชีพยังมองว่าไม่ใช่เรื่องของเขา”

เธอเล่าถึงการแลกเปลี่ยนกับสื่อหลักบางสำนักจากประเด็นนี้ ซึ่งได้คำตอบที่น่าหดหู่ หลังตั้งคำถามว่า ทำไมพวกเขาไม่ปกป้องประชาชนเวลาที่ประชาชนโดนข้อหาหมิ่นประมาท หรือข้อหาอื่นๆ แล้วได้คำตอบว่า ขนาดสื่อเองยังปกป้องตัวเองไม่ได้เลย แทนการบอกว่ากลไกที่สื่อมีนั้นแย่และต้องไปซ่อมกลไกให้ครอบคลุมกับคนทุกคน

อย่างไรก็ตาม เธอมองว่ามันเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่หนีไม่พ้น อีกหน่อยสื่อกระแสหลักเองก็จะต้องเข้าใจว่าเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของพวกเขาด้วย เพราะพวกเขาเองก็มีสิทธิ์ที่จะโดนด้วยเหมือนกัน เพราะมันเป็นพื้นที่เดียวกัน

การจัดการข้อมูลของสื่อใหม่

ที่ผ่านมา ในช่วงที่มีปัญหาทางการเมืองมากๆ มีเสียงจากสื่อหลักพูดถึงปัญหาของข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาดหรือบิดเบือนในสื่อใหม่ อาทิ การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ที่ผู้นำเสนอไม่เป็นมืออาชีพ และทำให้ผู้รับสารได้รับข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาด ก่อให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น

สฤณีบอกว่า เรื่องนี้ปฏิเสธไม่ได้ แต่ตั้งคำถามต่อว่าจะจัดการอย่างไร พร้อมเสนอว่า วิธีการที่จะตั้งต้นมองตรงนี้ได้ดีก็คือ การเปรียบเทียบว่าในโลกของทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊กมันคล้ายๆ กับโลกที่เราคุยกันเอง เวลาที่เราซุบซิบนินทากับเพื่อน ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะให้เรากลั่นกรองตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์เวลาคุยกัน ไม่อย่างนั้นมันก็ไม่ใช่การสื่อสารแบบส่วนตัว

“คืออินเทอร์เน็ตมันน่าสนใจตรงที่ว่า เวลาเราสื่อสาร เราสื่อสารส่วนตัว เราคุยกันกับเพื่อน เพียงแต่ว่าผลกระทบมันเป็นสาธารณะ”

อย่างไรก็ตาม เธอไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องให้กลั่นกรองก่อน เหมือนที่สื่อกระแสหลักมีกองบรรณาธิการ เพราะมองว่าวิธีแก้่ปัญหาทำได้โดยการสร้างทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งถือว่าต้องเป็นทักษะพื้นฐานในโลกสมัยใหม่ อาจจะต้องมีการสอนกันในโรงเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เพื่อให้ทุกคนมีระดับการรู้เท่าทันสื่อ สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรควรเชื่อไม่เชื่อ ขณะที่ตัวของคนที่สื่อสารก็ควรคำนึงถึงเรื่องมารยาทหรือข้อควรระวังด้วย เธอมองว่า คนทั่วไปแม้ไม่ได้เป็นสื่อมืออาชีพแต่ก็คงไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้าใจผิด ซึ่งกรณีแบบนี้สามารถป้องกันได้โดยไม่ซับซ้อน เช่นเวลาเล่นทวิตเตอร์ เมื่อรีทวีตข่าวลือ ซึ่งเป็นข้อมูลที่อ่อนไหว ก็อาจจะใส่ข้อความเตือนว่าเป็น “ข่าวลือ” หรือทวีตอะไรไปแล้วต่อมามีการยืนยันข้อมูลใหม่ ก็ควรจะทวีตแก้ไขด้วย เธอมองว่า หากรณรงค์เรื่องพวกนี้ ก็จะช่วยป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้

แหล่งข้อมูลหลากหลายในภาวะสื่อหลักเซ็นเซอร์ตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง สฤณีมีข้อสังเกตว่า ด้านที่ดีของสื่อใหม่โดยธรรมชาติเลยคือ การเปิดให้ข้อมูลที่หลากหลายจริงๆ โดยเฉพาะภาวะที่สื่อกระแสหลักเซ็นเซอร์ตัวเอง รัฐบาลก็เซ็นเซอร์ สื่อรัฐก็พร็อพพากันดาอย่างชัดเจน ถือเป็นการถ่วงดุลกันโดยธรรมชาติ หากไม่มีสื่อเหล่านี้ ก็ไม่รู้ว่าข้อมูลที่ตรงข้ามกับรัฐจะออกมาอย่างไร คงจะยากมาก ประเด็นก็มีแค่ว่าข้อมูลพวกนี้มันจะทำยังไงให้คนที่เขาเกลียด ต่อต้าน หรือไม่เชื่อได้เห็น ซึ่งต้องใช้การคิด

“คือตอนนี้ประเด็นก็คือคนที่หมกมุ่นกับฝั่งใดฝั่งหนึ่งหรือความคิดของตัวเองก็แล้วแต่ บางทีเขาจะไม่เปิดหูเปิดตาเลย คือแค่คลิกไปที่อีกเว็บไซต์หนึ่งเขาก็ไม่คลิกแล้ว ทั้งๆ ที่ความจริงมันก็แค่คลิกไปอีกแค่คลิกเดียว แล้วบางทีถ้าเขาแค่ยอมคลิกไป ไม่ตั้งป้อม เขาก็จะได้เห็นข้อมูลของอีกฝั่งหนึ่งที่มีอยู่อย่างมหาศาลใช่ไหม อันนี้มันคือคุณูปการจริงๆ”

อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติของสื่อใหม่ที่ส่งผลในด้านลบก็คือ การที่ทำให้คนที่คิดอะไรที่คล้ายกัน มาเจอกันได้ง่ายมาก สฤณีบอกว่า ฟังดูเป็นเรื่องที่ดี แต่ปัญหาก็คือว่า เราจะไม่รู้ตัวเลยว่า มันไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้เราไปฟังเรื่องอื่น มันจะตอกย้ำเราในสิ่งที่เราสนใจ คือพอเราเข้ามาในสังคมนี้ เราก็จะรู้สึกว่า มีคนที่คิดเหมือนกับเราเป็นพันคน เกิดเป็นการตั้งป้อม อยู่กันแต่ในชุมชนของตัวเอง ตรงนี้ทำให้เกิดช่องว่างที่ใหญ่มาก ทั้งนี้ในที่สุดมองว่ามันเป็นเรื่องของคน ไม่ใช่เรื่องของเครื่องมือเท่าไร

ต่างกันกับสภากาแฟในชีวิตจริง สฤณีบอกว่า การจับกลุ่มตัวในอินเทอร์เน็ตนั้นสุดขั้วมากกว่า ขณะที่ในร้านกาแฟ อาจมีการรวมตัวกันได้อย่างมาก 10 หรือ 20 คน หากโต๊ะข้างๆ พูดอะไรมา ก็อาจจะต้องฟังเขาบ้าง แต่ในอินเทอร์เน็ตรวมตัวกันทีได้เป็นพัน และไม่จำเป็นต้องสนใจอะไรเลย เมื่อมีกลุ่มของตัวเอง เจอใครแหลมมาก็เตะเขาออกไป ทั้งนี้ การจะสร้างให้เกิดการเปิดรับข้อมูลใหม่หรือฟังกันมากขึ้น คงต้องเริ่มจากในกลุ่มกันเองที่ชักชวน

สฤณียกตัวอย่างการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นในโลกออนไลน์ ที่ส่งผลกระทบต่อโลกจริง อย่างการล่าแม่มด ที่มีการนำเอาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่คิดเห็นต่างกันกับกลุ่มของตนมาเผยแพร่ มีการโทรศัพท์ไปขู่คุกคาม ก้าวเข้าสู่การไล่ล่าในโลกจริง

การใช้สื่อใหม่ในทางสร้างสรรค์

สฤณีเปรียบเทียบว่า สื่อใหม่เป็นเหมือนกับเครื่องขยายเสียง เวลาเราพูดอะไรมันก็จะถูกขยายออกไปอีก เพราะฉะนั้น หากเป็นเรื่องสร้างสรรค์ ก็จะขยายผลในเรื่องที่สร้างสรรค์ หากเป็นเรื่องไม่สร้างสรรค์ มันก็จะขยายผลที่ไม่สร้างสรรค์ ตอนนี้จึงมีคำถามที่ว่า เราจะรณรงค์หรือมีวิธีการที่จะใช้อย่างไรให้สร้างสรรค์กว่าเดิม

ก่อนอื่นมีความเข้าใจผิด 2 เรื่องใหญ่ที่ต้องแก้ไข เรื่องแรกคือ การคิดว่าการมารวมตัวกันได้ก็เจ๋งพอแล้ว และคิดว่ามันคือการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ใช่ เธอเล่ากรณีที่รุ่นน้องของเธอที่ตั้งกลุ่มต่างๆ ในเฟซบุ๊กขึ้นมาในช่วงที่มีวิกฤติทางการเมือง ซึ่งก็มีคนเข้ามากด “ถูกใจ” จำนวนหลายพัน สร้างความตื่นเต้นดีใจให้พวกเขาอย่างมาก แต่เมื่อลองจัดกิจกรรมชวนคนไปบริจาคเลือด ปรากฏว่ามีคนไป 5 คน

“การที่คุณได้แฟนเยอะ มีคน follow (ติดตาม) เยอะบนทวิตเตอร์ อย่าไปคิดว่าการที่เป็นแบบนี้คุณได้สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขึ้น ซึ่งมันไม่ใช่ อย่างดีที่สุดเลย คุณได้สร้างพื้นที่ของข้อมูลมาพูด แต่มันก็อยู่ที่ตัวคุณเอง”

เธอเน้นว่า อยู่ที่การออกแบบเป้าหมายและการบริหารจัดการว่าต้องการอะไร ในขั้นนี้เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ

กรณีของสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ที่สื่อสารและนัดแนะการทำกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดงผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวจนเกิดเป็นกิจกรรมหลากหลายในทุกวันอาทิตย์ สฤณีมองว่าน่าสนใจ “คืออย่างน้อยเขาชัดเจน เขาเคลื่อนไหวทางการเมือง ไม่ได้จะปรองดองอยู่แล้ว ก็สามารถที่จะแปลง คือแกไม่ได้มีแค่เพื่อนเยอะ มีคน follow เยอะ แต่เขาสามารถดึงเอาผู้ที่ติดตาม follow ไปทำกิจกรรมในโลกจริงได้ มันคือความสามารถของการใช้โซเชียลมีเดีย ที่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำแบบนี้ได้ ไม่ใช่ว่าคุณมี follow เยอะเท่าคุณหนูหริ่ง แล้วคุณจะสามารถจัดกิจกรรม แล้วมีคนมาร่วมเยอะขนาดนี้ได้ นี่คือการจัดการการใช้”

เรื่องที่สองคือ การแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์นั้นเป็นเรื่องของอารมณ์ชั่ววูบที่ไม่ควรเก็บมาเป็นอารมณ์ เธอว่า “อารมณ์มันจะออกมาแหล่มๆ เบี้ยวๆ หรือแรงๆ กว่าโลกจริง” เพราะมันง่าย บางคนอาจจะใส่ชุดนอน สบถและแสดงความเห็นด้วยความสะใจ แต่พอเจอหน้ากันในโลกนอกอินเทอร์เน็ต อาจจะเป็นคนสุภาพเรียบร้อยไปเลยก็ได้

ในระดับที่รุนแรงหน่อย สฤณีมองว่า การไม่เข้าใจธรรมชาติตรงนี้ อาจนำไปสู่การฟ้องหมิ่นประมาท ซึ่งเธอมองว่าไม่เป็นสาระเท่าไร

“มันเป็นเรื่องวัฒนธรรมเน็ต ถามว่าคนที่ด่าๆ อยู่ ลองจับมานั่งโต๊ะอย่างนี้สิ ก็ถามว่าใครรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ นะ คืออย่าลืมว่าอินเทอร์เน็ตปัญหามันก็คือว่า บางทีมันก็ชั่วแล่นออกไปใช่ป่ะ เวลาคุณพิมพ์อะไรไป แล้วคุณก็ไปทำอย่างอื่นแล้ว แล้วมันก็อยู่ไปอย่างนี้”

รัฐกับการควบคุมโลกออนไลน์

ระหว่างทางที่อินเทอร์เน็ตกำลังเติบโต เธอมองว่า เกิดกระแสทั่วโลกที่รัฐบาลอยากจะเข้ามาควบคุม ไม่ว่าด้วยการกลั่นกรองเนื้อหาก่อนเผยแพร่สู่อินเทอร์เน็ต หรือปิดกั้นการเข้าถึงกันตั้งแต่ต้นทาง

เธอแสดงความไม่เห็นด้วยกับวิธีเหล่านี้ เพราะการกรองหรือปิดกั้นตั้งแต่ต้นทางเป็นการสอดส่องความเป็นส่วนตัว ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลตั้งแต่ต้น โดยเท่ากับได้ละเมิดสิทธิคนจำนวนมาำกและมีความเสี่ยงที่ข้อมูลส่วนบุคคลของใครก็ตามจะหลุดออกไปได้

สฤณีย้ำว่าสิ่งที่ควรจะทำคือ การตามไปจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น หากจะมีการอ้างว่าถ้าไม่ป้องกันก่อนก็อาจจะแก้ไขปัญหาที่อาจตามมาไม่ทันการ สฤณีตั้งคำถามกลับว่า หากไม่มีการปิดกั้นก่อน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจริงคืออะไร เธอบอกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เคยมีคำตอบ

“อย่างบล็อคเว็บไซต์ตั้งสี่หมื่นกว่าเว็บ ความเสียหายคืออะไร จริงๆ แล้ว ถ้าคุณไม่บล็อคสี่หมื่นกว่าเว็บมันจะเกิดอะไรขึ้น เราจะมีสงครามกลางเมืองพรุ่งนี้หรือ ตรงนี้มันเป็นประเด็นที่มันไม่เคยชัด”

บทบาทเครือข่ายพลเมืองเน็ต

แม้ว่าเครือข่ายพลเมืองเน็ตจะรวมตัวกัน โดยมีหนึ่งในเป้าประสงค์เพื่อปกป้องเสรีภาพของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต แต่ดูเหมือนว่า การรวมตัวเข้ามาเป็นเครือข่ายจะยังไม่เข้มแข็งเท่าใดนัก สฤณีบอกว่า มีปัญหาหลายรูปแบบ ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่นว่า มีเรื่องวิกฤตการเมืองที่เข้ามา โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นคู่กรณีกับรัฐบาล ทำให้จะรณรงค์ประเด็นอะไรก็ยากขึ้น หรือถูกจับไปอยู่ในขั้วสีด้วย

"ประเด็นใหญ่ของเราก็คือเสรีภาพเน็ต แต่เมื่อมีเรื่องมาตรา 112 (ป.วิอาญา) มาตรา 15 (พรบ.คอม) มันก็เลยทำให้พูดถึงเรื่องพวกนี้ยากมาก ประเด็นที่เราพยายามจะอธิบายก็คือ การที่คุณบล็อคเว็บ หนึ่ง มันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร สอง ถ้ามันมีปัญหาในเรื่องกฎหมายเช่น เรื่องละเมิดสิทธิหรืออะไรก็แล้วแต่ คุณก็ไปใช้กฎหมายอื่นจัดการ อย่างถ้ามีเนื้อหาละเมิดลิขลิทธิ์มันก็ถูกจับอยู่แล้ว หรือมีหลักการบางอย่าง เช่น คนที่โพสต์เนื้อหา ไม่ควรจะถือว่าเขาผิดอัตโนมัติ ทีนี้พอมันมีปัญหาเรื่องวิกฤติทางการเมือง มันก็เลยชัดเจนว่าเว็บที่รัฐบาลเล่นงานก็เพราะมีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมืองออกไป แต่ว่าพอปิดเว็บเหล่านั้น ด้วย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วมีการสร้างวาทกรรม "ผู้ก่อการร้าย" มันก็เลยทำให้พูดยาก คือทุกอย่างมันปนๆ กันไปหมด

"ถ้าเกิดจะบอกว่าไม่ควรปิดเว็บ ก็ต้องมาอธิบายก่อนว่า พวกนี้ไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายอย่างไร ก็กลายเป็นว่าก็ต้องต้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กลายเป็นว่าแทนที่จะต้องต่อต้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อย่างเดียว ก็ต้องมาต่อต้านว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ไม่ควรใช้ คนพวกนี้ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย แต่ถ้าทำอย่างนั้น ก็กลายเป็นถูกสรุปแล้วคุณไม่เห็นด้วยหรือที่ว่าเป็นผู้ก่อการร้าย กลายเป็นว่าเราเป็นพวกเสื้อแดง มันกลายเป็นว่ามันซ้อนทับไง มันก็น่าเสียดาย ที่ทำให้พูดอะไรไม่ได้

สฤณีย้ำว่า เครือข่ายพลเมืองเน็ตไม่ได้จะเลือกปฏิบัติ

"ถ้าเว็บเสื้อเหลืองถูกปิดเราก็จะบอกว่าไม่ควรปิด แต่เผอิญว่าเป็นเว็บเสื้อแดง นี่เป็นปัญหาของการที่รัฐบาลเป็นคู่กรณี ถ้ารัฐบาลไม่ใช่คู่กรณี แล้วสองฝ่ายตีกันมันก็อาจจะง่ายขึ้น สมมติว่าสองฝ่ายตีกันแล้วรัฐบาลเปิดอย่างเท่าเทียมกัน แต่พอเป็นแบบนี้ มันก็เลยหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกมองว่าเป็นกลุ่มทางการเมือง

"ปัญหาใหญ่ก็คือทั้งๆ ที่จุดยืนของเรามันไม่ใช่เรื่องการเมือง แล้วก็คิดว่ากลุ่มที่เคลื่อนแบบนี้ทั่วโลกมันก็ไม่ใช่กลุ่มที่จะไปเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่เนื่องจากว่าบริบทและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็จะบอกว่านี่คือการเคลื่อนไหวทางการเมือง นี่คือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น เพราะภาพก็จะออกมาอย่างนั้นซึ่งก็ทำให้ลำบากเหมือนกัน

และแม้ว่างานของเครือข่ายพลเมืองเน็ตจะมีทั้งงานร้อนและงานเย็น แต่ที่ผ่านมา สฤณีบอกว่า เครือข่ายฯ มักต้องเจอกับการแก้ปัญหาเรื่องร้อนๆ ที่เกิดขึ้นอย่างการบล็อกเว็บหรือการจับกุม ที่ทำให้ต้องคิดเรื่องทนายหรือการช่วยเหลือ แทนการรณรงค์ในประเด็นต่างๆ อย่างเช่นเรื่องการใช้สิทธิส่วนตัว ข้อมูลส่วนบุคคล อันตรายบนเน็ต หรือจรรยาบรรณของสื่อพลเมือง

อินเทอร์เน็ตกับประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม แม้ภายใต้บรรยากาศเช่นนี้ สฤณียังเชื่อว่า อินเทอร์เน็ตยังเป็นความหวังที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตย ในลักษณะที่เป็นไปเองโดยธรรมชาติ โดยยกตัวอย่างการเซ็นเซอร์ในจีนที่มี Great Firewall ที่ใหญ่มหาศาล และจับบล็อกเกอร์แบบเข้มข้น จนมีคนบอกว่าคนจีนเองในหลายๆ พื้นที่ก็เซ็นเซอร์ตัวเองแล้ว

“ในแง่หนึ่งถ้าคุณเซ็นเซอร์ตัวเอง คุณก็จะรู้สึกว่าคุณเซ็นเซอร์ตัวเองอยู่ แต่ถ้าถามว่าคุณมีจิตสำนึกเรื่องเสรีภาพไหม คุณก็มีอยู่แล้ว คุณรู้แล้วว่าคุณมีเรื่องอยากพูด อยากรู้แต่คุณรู้ไม่ได้

“เพราะฉะนั้นมันก็แค่น้ำเดือดๆ แล้วคุณก็ปิดฝาเท่านั้นเอง แต่ถ้าถามว่าน้ำมันหายเดือดไหม มันก็ไม่หายเดือด” สฤณีบอกก่อนจะย้ำว่าสุดท้าย รัฐบาลคงจะรู้แล้วว่า ด้วยความที่อินเทอร์เน็ตเป็นอย่างที่มันเป็น “มันเซ็นเซอร์ไม่ได้หรอก มันไม่ได้ช่วยคุณเลย ไม่ว่าคุณอยากจะทำอะไร มันก็ไม่ได้ช่วยคุณเลย”

ที่มา ประชาไท




 

Create Date : 16 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2553 1:02:53 น.
Counter : 409 Pageviews.  

ซีรีส์สื่อใหม่กับความขัดแย้งทางการเมืองตอนที่8:สื่อใหม่อนุญาตให้คนธรรมดาสะสมต้นทุนทางสังคม

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล หรือชื่อออนไลน์ "bact" เจ้าของบล็อก //bact.blogspot.com ในด้านหนึ่งเขาเป็นนักพัฒนาระบบจากบริษัทโอเพ่นดรีม (//opendream.co.th) ขณะเดียวกันก็เป็นนักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นกรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ตในเวลาเดียวกัน

อาทิตย์สนใจเรื่องการทำให้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ต้องการได้สะดวกที่สุด ก่อนหน้านี้เคยร่วมพัฒนาซอฟต์แวร์เสรีหลายตัว เช่น ปลาดาวออฟฟิศ/OpenOffice.org และ Mozilla Firefox เคยดูแลวิกิพีเดียไทยอยู่ช่วงหนึ่ง รวมถึงเคยเป็นพิธีกรร่วมใน duocore.tv รายการทีวีออนไลน์ว่าด้วยเรื่องไอทีด้วย

การเล่าเรื่องของคนธรรมดา กับปัญหาโครงเรื่องที่ถูกขโมย

ประเด็นหลักๆ ที่อาทิตย์สนใจเกี่ยวกับบทบาทของนิวมีเดีย ก็คือเครือขายสังคมออนไลน์ ซึ่งเขาเห็นว่า นี่คือพื้นที่ที่สร้างอำนาจการสื่อสารให้กับมนุษย์ธรรมดา และยังเป็นช่องทางให้คนธรรมดาๆ ได้สร้างเนื้อหาข่าวสารด้วยตัวเอง ไม่ขึ้นกับสื่อหลักแต่เพียงด้านเดียว

“ผมคิดเรื่องการที่คนทั่วไปสามารถสื่อสารได้ เวลาที่เราพูดถึง Media literacy คือการไม่ได้รับสารอย่างเดียว แต่คือการที่คนทั่วไปสามารถทำสื่อได้เองด้วย เมื่อก่อนอาจจะมีการสะท้อนความเห็น เช่น ส่งจดหมายหรือเอสเอ็มเอสไปยังรายการโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ แต่จากความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม เราจะสังเกตได้ว่ามีคลิปเยอะมาก ซึ่งเมื่อก่อนก็อาจจะมีบ้างแต่ช่องทางในการนำเสนอไม่เยอะ แต่ตอนนี้เยอะขึ้น คนเอาไปแปะในเฟซบุ๊ก ทีวีก็ได้เอาไปใช้”

อย่างไรก็ตาม อาทิตย์ กล่าวว่า การทำสื่อด้วยตัวเองได้ก็ไม่ได้นำมาซึ่งความเท่าทันสื่อเสมอไป และการพูดเรื่องการรู้เท่าทันแต่เพียงด้านของผู้รับสื่อ แต่ในความจริงแล้ว ในฐานะผู้ผลิตสื่อ ที่กำลังฮิตกันในนามนักข่าวพลเมือง ก็ต้องการความรู้เท่าทันในฐานะคนผลิตเช่นกัน

“อย่างคนเสื้อแดง ช่วงเมษา-พฤษภา ถ่ายคลิปเยอะมาก ถ่ายไว้เยอะไปหมด ขึ้นเฟซบุ๊ก ขึ้นยูทูปว์ แต่ ศอฉ. เลือกมาห้าคลิป แล้วอธิบายแบบ ศอฉ. คนที่ดูส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ดูคลิปต้นฉบับซึ่งอาจจะมีเป็นร้อยๆ คลิป แต่ศอฉ. ก็เลือกมาแค่ห้าอันเพื่อมาแก้ต่าง”

อาทิตย์อธิบายต่อไปว่า ปัญหาที่ทำให้เกิดการ “บิดเบือน” หรือการ “ใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด” จากคลิปต้นฉบับของบรรดานักข่าวพลเมืองเสื้อแดงทั้งหลายนั้น เป็นเพราะคลิปต่างๆ ที่ถูกอัพโหลดขาดโครงเรื่อง ขาดคำอธิบาย ซึ่งคือหัวใจสำคัญของการสื่อสารให้ได้ประสิทธิภาพ

“การพูดว่าคนทำสื่อเองได้มันอาจจะยังเป็นเรื่องระดับย่อย คือการอัดเสียง ถ่ายรูปได้ แต่คนที่แต่งเรื่องมีใครบ้าง เช่น ศอฉ. มีคนแต่งเรื่องให้ แต่คนทั่วไปไม่มีงบประมาณ ไม่มีคนทำ เหมือน ศอฉ.เป็นผู้กำกับ เขียนบท ไม่ต้องลงทุนถ่ายเอง ฉะนั้นการพูดว่าทำสื่อเองก็ได้ง่ายจัง บางทีก็อันตราย เราคิดว่าภาพคลิปหลายๆ อันของเสื้อแดงเป็นการจับเหตุการณ์ปัจจุบัน ไม่สามารถใส่เรื่องของตัวเองลงไปได้ พอเป็นภาพลอยๆ ก็ถูกเอาไปใส่ในเรื่องอะไรก็ได้ ฉะนั้นถ้ามีเรื่องมารองรับอย่างแข็งแรงพอก็จะไม่ถูกภาพนั้นเอาไปใช้นอกจุดประสงค์”

“โครงเรื่อง” คือประเด็นปัญหาใหญ่ในสายตาของอาทิตย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ “สื่อภาคพลเมือง” ออนไลน์ทั้งหลายพึงต้องตระหนักว่านอกเหนือจากการมีเทคโนโลยี มีเครื่องมือใหม่ มีอุปกรณ์ทำบล็อก อัดเสียง ถ่ายภาพ

ความน่าเชื่อถือของสื่อใหม่

แม้อาทิตย์จะชี้จุดอ่อนของการใช้สื่อใหม่ ในแง่ของการนำเสนออย่างไม่มีโครงสร้างของเรื่องราวทั้งหมด แต่อาทิตย์ไม่กังวลนักกับข้อวิตกเรื่องความน่าเชื่อถือของสื่อใหม่ โดยกล่าวว่าสื่อใหม่ก็มีเงื่อนไขที่ต้องยอมรับในข้อจำกัด นั่นคือสื่อชนิดนี้ตอบสนองต่อเวลาจริง มากกว่าเรื่องความถูกต้องครบถ้วน

“เราคิดว่ามันใช้ได้ คือถ้าเราคิดในกรอบเวลา ห้านาทีนั้น หรือหนึ่งนาทีนั้นมันอัพเดทที่สุด มันก็น่าจะพอใช้ได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปครึ่งชม. ครึ่งวัน ก็มีข้อมูลอันใหม่ขึ้นมา มันตอบในแง่เรียลไทม์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องพูดถึงแต่ทวิตเตอร์ก็ได้ เรื่องนี้ก็มีในสื่อหลัก เช่น เบรกกิงนิวส์ แต่ถ้าคุณจะให้ถูกต้องแบบสารคดี ก็เป็นคนละเรื่องแล้ว เหมือนกรณีสึนามิ การรายงานข่าวครั้งแรกอาจจะบอกว่ามีคนตายที่อินโดนีเซีย 4,000 คน แต่อีกห้านาทีต่อมา ข่าวรายงานว่าตายเป็นหมื่น จะบอกว่าอันแรกผิดพลาดหรือ ก็ไม่ใช่ แต่มันเป็นข้อมูลที่ยังไม่ครบ”

ข้อเสนอของเขาก็คือ การเปลี่ยนมุมมองและลักษณะนิสัยในการติดตามข่าวจากสื่อออนไลน์เสียใหม่ว่า คือการอัพเดทข้อมูลเป็นระยะๆ และไม่ได้จบในตัวเอง

“ข่าวคือเหตุการณ์ และบางอย่างกำลังดำรงอยู่ มันไม่ได้จบในตัวเอง ถ้าเรารู้ธรรมชาติของมันแล้วว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ได้จบในตัวเอง เราก็อย่าไปรับรู้มันเป็นท่อนๆ ต้องดูลำดับพัฒนาการของเรื่อง อย่าไปมองมันแบบชิ้นที่จบในตัว การไปเรียกร้องเรื่องความน่าเชื่อถือของมันก็เป็นคนละเรื่อง อาจจะไม่แฟร์ เหมือนเราบอกว่าคอมพิวเตอร์อันนี้เป็นเขียงที่ดีด้วยหรือเปล่า...ก็พอใช้หั่นได้ แต่มันไม่ใช่เรื่อง มันอาจจะผิดตั้งแต่คำถามแล้ว”

อย่ามั่นใจเกินไป

แม้อาทิตย์จะมองสื่อใหม่ในแง่ที่เปิดใจให้กับข้อจำกัดและพยายามทำความเข้าใจ แต่เมื่อเราถามว่า อะไรที่น่าเป็นห่วงกังวลเกี่ยวกับสื่อใหม่ซึ่งหลายๆ คนกำลังเห็นว่าเป็นอำนาจในการสื่อสารที่หลุดมาถึงมือคนธรรมดาๆ เขาตอบว่า

“สื่อใหม่ให้ความมั่นใจกับคนมากเกินไป ทุกคนอาจจะคิดว่านี่คือยุคอินเทอร์เน็ตแล้ว ปิดกั้นเราไม่ได้แล้ว ประชาชนต้องชนะแน่ๆ เราได้ถือความจริงส่วนหนึ่งไว้ในมือแล้ว สุดท้าย...ศอฉ. ก็เอาไปตัดต่ออีกอยู่ดี ถ้าคิดว่าได้ดาบวิเศษอันหนึ่งมา แล้ววิ่งเข้าไปกองทัพ ก็อาจจะตายออกมา อาจจะถูกเอาไปบิดเบือนโดยสื่อหลักหรือผู้มีอำนาจได้”

สื่อใหม่อนุญาตให้คนสะสมต้นทุนทางสังคมได้ง่ายขึ้น

“ด้วยเครื่องมือเดียวกัน คนที่ต้นทุนทางสังคมต่างกันก็สามารถใช้มันอย่างมีพลังต่างกัน ที่ผ่านมาก็ใช่ ทักษิณทวิตอะไรนักข่าวก็เอาไปเล่นแน่ๆ แต่ว่าในอีกด้านหนึ่ง ด้วยศักยภาพของนิวมีเดียมันอนุญาตให้คนสะสมต้นทุนทางสังคมตัวเองได้ง่ายขึ้น นิวมีเดียให้ความหวังในแง่ที่ว่ามันอนุญาตให้คุณสะสมทุนทางสังคมของคุณได้”

อาทิตย์กล่าวถึงแง่บวกที่สื่อใหม่สร้างพลังในการสื่อสารอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ในทางกลับกันก็ยอมรับว่า ถึงกระนั้น เมื่อเทียบต้นทุนทางสังคมกับพลังการสื่อสารอย่างจริงๆ จังๆ แล้ว ก็จะพบว่า คนที่มีต้นทุนทางสังคมอยู่แล้วมีโอกาสมากกว่า-เป็นเงื่อนไขความได้เปรียบที่ใช้ได้กับทุกๆ อย่างในโลก

“อย่างของไทย บล็อกอย่าง //biolawcom.de/หรือ //www.fringer.org/ เป็นคนธรรมดาเหรอ ไม่ใช่หรอก เขามีทุนทางสังคมอย่างอื่นอยู่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนผ่านต้นทุนเหล่านั้นมาสู่นิวมีเดียได้ แต่อย่างน้อยออนไลน์ก็เปิดได้กว้างกว่า ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็อาจจะมีวิธีขยันเขียนคอลัมน์ไปลงหนังสือพิมพ์เหรอ มันก็ทำได้ แต่พื้นที่ก็จำกัดมากกว่า”

คนชายขอบและกับดักของพื้นที่

เมื่อนิวมีเดียเปิดพื้นที่ให้คนธรรมดาได้สะสมต้นทุนทางสังคมแล้ว สำหรับคนที่โอกาสน้อยกว่าธรรมดาทั้งหลายล่ะ อาทิตย์มองว่าอย่างไร

“ผมคิดว่ามีการเปิดพื้นที่แบบแปลกๆ แน่นอน นิวมีเดียเปิดให้ทุกคนโดยธรรมชาติตัวสื่อเองไม่ได้ปิดกั้นอะไร ปรากฏว่าทุนทางสังคมของคนเหล่านี้คือการที่เขาเป็นคนชายขอบ ฉะนั้นสิ่งที่ทำให้เขาเข้ามาสู่แวดวงสื่อได้ ก็คือการบอกว่าเขาเป็นคนชายขอบ แต่ก็กลายเป็นว่าสุดท้ายคนเหล่านี้ไม่สามารถพูดประเด็นอื่นได้ เช่น คนตาบอดก็พูดแต่เรื่องคนตาบอด และถ้าบอกว่าเป็นเด็กและเยาวชน ก็จะต้องเป็นเด็กและเยาวชนต่อไปแม้จะอายุ 31 แล้ว ก็ต้องเป็นคนรุ่นใหม่ต่อไป เป็นผู้หญิงก็ต้องเป็นผู้หญิงตลอดไป”

อาทิตย์ตั้งข้อสังเกต พร้อมยกตัวอย่างที่เขาเพิ่งประสบพบเจอหมาดๆ จากการไป Internet Governance Forum ที่ประเทศลิธัวเนีย เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

“มีกลุ่มที่เป็นเยาวชนจากเอเชีย ส่วนใหญ่มาจากฮ่องกง อีกกลุ่มมาจากฝั่งยุโรป ฟินแลนด์ ไอส์แลนด์ สวีเดน เยอรมนี กลุ่มเยาวชนจากฮ่องกงก็จะพรีเซนส์ตัวเองเป็นเยาวชน จะต้องเปิดพื้นที่ให้เยาวชน แต่ไม่รู้ว่าเยาวชนจะพูดประเด็นอะไร ขณะที่เยาวชนจากเยอรมนีเขาจะพูดเลยว่าเขาต้องการพูดเรื่องอะไร มันต่างกันไง กลับไปที่คำถามเดิม ไม่ว่าสื่อไหนก็ตาม เช่น รายการสำหรับเด็ก ให้เด็กพูดว่าตัวเองเป็นเด็ก หรือการให้เขาได้พูดเรื่องตัวเอง มันไม่เหมือนกัน และสิ่งที่เราพบคือผู้ใหญ่เองก็เล่นการเมืองกับเด็ก ให้เด็กเป็นพร็อกซี เป็นร่างทรงของประเด็นนั้นๆ อย่างเดียวกันกับคนชายขอบ”

อย่างไรก็ตาม อาทิตย์บอกว่าข้อสังเกตของเขาในเรื่องนี้ แท้จริงแล้วก็ไม่ได้ขึ้นกับนิวมีเดียอย่างเดียว แต่มันเกิดกับสื่อหลักแต่ดั้งแต่เดิมด้วย

“เด็กบางคนออกมาพูดเรื่องอะไรบางอย่างอาจะถูกมองว่าแก่นแก้ว ถ้านิวมีเดียจะมีพลังสำหรับคนเหล่านี้ คือถ้าสังคมคาดหวังว่าคุณต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ สื่อกระแสหลักเขามีพื้นที่จำกัด นิวมีเดียอาจจะช่วยคุณในแง่ที่ว่าถ้าคุณอยากเสนอสิ่งที่สังคมไม่ได้คาดหวังคุณก็ทำได้นะ แต่คนจะดูหรือไม่ดูก็อีกเรื่อง”

สำหรับหลายๆ คน สิ่งที่เขาเห็นในเฟซบุ๊กก็เป็นสิ่งที่เขาพอใจเท่านั้น

อาทิตย์ไม่ได้เชื่อว่าการหลั่งไหลของข้อมูลที่มากขึ้น ผ่านช่องทางเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนหรือเปิดให้เกิดถกเถียงกันเชิงลึกได้ ในทางกลับกัน เขาคิดว่า โลกออฟไลน์ต่างหากที่เป็นตัวกำหนดการแสดงออกและการเลือกสรรข้อมูลข่าวสารในการนำเสนอ

สำหรับเขาซึ่งนิยามตัวเองเป็นชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ซึ่งเครือข่ายทางสังคมในโลกออฟไลน์หล่อหลอมมาจากสถาบันการศึกษา ทำให้เพื่อนๆ ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ของเขาเต็มไปด้วยเพื่อนที่หลากหลาย และนั่นเป็นสิ่งที่พึงระวังในการแสดงความเห็น

“จากประสบการณ์ของผม ผมก็มีรสนิยมในการเลือกข่าวของผม แม้ว่าข่าวจะเกือบเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์บนหน้าวอลล์เฟซบุ๊กของผมจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเสื้อแดง ซึ่งเพื่อนในเครือข่ายของผมที่ไม่สนับสนุนเสื้อแดงก็คงมีอาจจะไม่แอคทีฟ แต่ปัญหาก็อยู่ที่ว่า คนที่ลบชื่อเพื่อนออกจากลิสต์ ข่าวของเพื่อนที่ถูกลบออกไปจะไม่โชว์ให้เห็นแล้ว ซึ่งมันก็เป็นไปแล้วสำหรับหลายๆ คน สิ่งที่เขาเห็นในเฟซบุ๊กก็เป็นสิ่งที่เขาพอใจเท่านั้น แต่สำหรับผมมันยังไม่เกิด ผมได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนซึ่งเจอปัญหาเดียวกัน คือเรียนโรงเรียนชนขั้นกลาง อยู่ในแวดวงไอที ก็มีปัญหาประมาณเดียวกัน คือมีกลุ่มเพื่อนที่มีทัศนคติทางการเมืองที่หลากหลาย บางครั้งเขาก็เลือกที่จะไม่โพสต์ความเห็นเพราะเกรงใจเพื่อน การนำเสนอก็ถูกกรอง ไม่ว่าจะกรองเพื่อโพสต์หรือไม่โพสต์ แต่บางทีถ้าอยากจะโพสต์มากๆ ก็จะไปยืมปากชาวบ้าน ไปโคว้ทมา ว่าคนนั้นคนนี้กล่าวว่าอย่างนี้ ถ้าเป็นอย่างนั้นเพื่อนรับได้ แม้จะเป็นคำเดียวกันพูด การรับได้มันต่างกัน ซึ่งก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้คนหันมาอ่าน ก็อาจจะไม่ตรงไปตรงมา แต่ก็เป็นวิธีที่เราเล่นกับมัน เป็นการสร้างบทสนทนาแบบแนบเนียนและคัดกรองแล้ว”

ถึงจะต้องกลั่นกรอง หรือพูดง่ายๆ ว่ามีการเซ็นเซอร์ตัวเองด้วยเหตุผลเรื่องความสัมพันธ์ต่อเครือข่ายออฟไลน์ แต่อาทิตย์มองว่า นี่ไม่ใช่ข้อจำกัดของเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพราะในโลกออฟไลน์นั้น ทุกคนล้วนต้องกลั่นกรองและเซ็นเซอร์ตัวเองด้วยเหตุผลต่างๆ กันอยู่แล้ว

“สุดท้ายแล้วหน้าตาของเฟซบุ๊กเป็นยังไงขึ้นกับเพื่อนที่เราแอด ซึ่งมันก็สะท้อนตัวตนเราบางแบบ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ทำไปทำมาเฟซบุ๊กมันไม่ได้มีอะไรพิเศษเลยไง ซึ่งในโลกจริงก็เป็นอย่างนี้มีการคัดกรองเรื่องบางเรื่องพูดได้เรื่อง บางเรื่องพูดไม่ได้ แต่โอเคสิ่งที่เฟซบุ๊กต่างไปก็คือ บางครั้งเราสามารถรู้ได้ว่า คนบางคนสนใจในเรื่องเดียวกัน ก็สามารถเชื่อมโยงได้ กึ่งๆ สาธารณะกึ่งส่วนตัว เป็นการอยู่ในวงจรเพื่อน แต่ทำให้เกิดการผสมปนเปกันมากขึ้น เชื่อมโยงกันมากขึ้น”

อาทิตย์ย้ำว่า เมื่อพูดถึงเครือข่ายออนไลน์แล้ว ไม่สามารถแยกขาดจากเครือข่ายออฟไลน์ได้อย่างเด็ดขาด เพราะแท้จริงแล้ว เครือข่ายออนไลน์ก็พึ่งพิงปัจจัยของโลกออฟไลน์ ซึ่งไม่ได้หมายความเพียงแค่ “เพื่อน” เท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเด็นในการสนทนาด้วย ที่ต้องหยิบยกมาจากสื่อกระแสหลักนั่นเอง

“ในช่วงเหตุการณ์ทางการเมืองเราไม่สามารถพูดถึงเฟซบุ๊กที่แยกออกมาจากสื่อกระแสหลักได้หรอก เพราะสิ่งที่เอามาคุยกันในเฟซบุ๊กก็มาจากสื่อกระแสหลัก คือเราอาจจะพูดจากประสบการณ์จริงจากตาตัวเราเอง แต่อีกส่วนก็มาจากสื่อ หรือหากย้อนกลับไปที่ทวิตเตอร์กจะพบว่าช่วงที่ผ่านมา ประมาณสองทุ่มหรือห้าทุ่ม ก็จะมีแต่เรื่องที่บอกว่ากำลังดูวนิดา ดูเกมโชว์อยู่ แม้จะโต้ตอบกับทีวีไม่ได้แต่คุยกับคนอื่นที่ดูทีวีช่องเดียวกันได้ ซึ่งเมื่อก่อนมันทำไม่ได้ แต่บทสนทนาเหล่านี้อยู่ด้วยตัวทวิตเตอร์เองไหม ไม่ได้ มันต้องมีทีวี ซึ่งเป็นสื่อชักจูงบให้เกิดการสนทนาได้ และอีกส่วนคือ เราพูดตรงๆ ไม่ได้ต้องใช้บทความหรือคลิปเป็นตัวสื่อสาร”

อาทิตย์บอกว่าทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊กเข้ามาเติมเต็มสิ่งที่ประชากรออนไลน์ทั้งหลายต้องการนั่นคือ การพูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้ทันที ไม่ต้องผ่านระบบที่ยุ่งยาก เช่น ไม่ต้องล็อกอินเพื่อจะเข้าไปโพสต์ตามเว็บบอร์ด ตัวอย่างที่เขาเห็นชัดเจนก็คือ กรณีการรายงานสถานการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดงทั้งที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน-พฤษภาคม และที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน

อิสระกลายเป็นข้อจำกัด!?

อีกประเด็นที่อาทิตย์เห็นว่าเป็นจุดต่างของเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็คือ การไม่จำกัดประเด็นในการถกเถียง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต่างจากการใช้งานเว็บบอร์ด “ทวิตเตอร์มันไม่มีเจ้าของ คุณอาจจะเป็นคนจุดประเด็น แต่มันฟรีกว่า อย่างเว็บบอร์ดพันทิปจะมีการแตกประเด็น ในกรณีที่คนคุยเยอะๆ แล้วอยากลงรายละเอียดในเรื่องที่ถกเถียง ซึ่งก็อาจจะดูเป็นหลักเป็นฐาน แต่ทวิตเตอร์มันจะฟุ้งไป อาจจะมีอิสระ แต่สุดท้ายไม่รู้จบตรงไหน ซึ่งมันก็เป็นข้อจำกัด แต่ก็เพราะมันอาจจะไม่ได้ถูกออกแบบมาแบบนั้น มันอาจจะเป็นวาบความคิด แต่หากอยากทำอะไรให้เป็นจริงเป็นจัง ก็ต้องไปเขียนที่อื่นแล้วค่อยลิงก์กลับมา อย่างเฟซบุ๊กก็มีโน้ต มีสเตตัสธรรมดา คือตอนที่อยากขยายความคิดก็ใช้โน้ต ก่อนหน้านี้อาจจะมีบล็อก ก็ขยายความคิด แต่บางครั้งเราแว๊บคิดขึ้นมา จะเขียนบล็อกก็ดูอย่างไรอยู่”

ความง่ายก็มีโทษ

สำหรับอาทิตย์ ทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์นั้น นอกเหนือจากรายงานข่าวสถานการณ์อย่างทันท่วงทีแล้ว ในอีกด้านก็เป็นเวทีนำเสนอความคิดที่ยังไม่ตกผลึก ซึ่งเขาเรียกมันว่า เป็นการ “ทด” เอาไว้ก่อน

“มันเป็นการรายงานสิ่งที่เราคิดอยู่ แม้จะไม่เสร็จ ได้ทดเอาไว้ นั่นคือประโยชน์ของมัน แต่โทษของมันคือ คนบางคนอาจจะไม่รู้ว่านี่คือการทดของเรา แล้วเอาไปใช้ บางทีก็เป็นโทษกับตัวคนที่นำไปใช้ หรือเป็นโทษกับคนที่ทวีตเอง”

เขาบอกว่านี่คือสิ่งที่คนใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งผู้ใช้และผู้อ่านไม่ควรหลงลืมไป ไม่เช่นนั้นก็จะมีปัญหาในเรื่องการของปักใจเชื่อข้อมูลข่าวสารที่ไม่ครบถ้วน ไม่ผ่านการคัดกรองได้

“แต่ปัญหาคือเราไม่สามารถป้องกันให้คนอื่นคิด และมันก็เป็นปัญหาของทุกสื่ออยู่แล้วนะ”

มารยาทออนไลน์ จำเป็นไหม

แม้ว่าอาทิตย์จะเป็นกรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต ซึ่งผ่านมาก็มีการรณรงค์เรื่องของมารยาทหรือกฎกติกาออนไลน์ แต่ความเห็นส่วนตัวของเขาคือ ไม่มีความจำเป็น

“ผมไม่เชื่อว่าพื้นที่ออนไลน์มันเหมือนกันทั้งหมด เมื่อเราพูดถึงจริยธรรมหรือมารยาท เราก็ต้องคิดเรื่องกาลเทศะ มีเวลามีสถานที่ ดังนั้น เมื่อออนไลน์มันไม่เหมือนกันหมด มันก็ต้องมีมารยาทที่ต่างๆ กันไป เราโดยส่วนตัวเราก็ไม่เห็นด้วย เรารู้สึกว่ามันอันตรายเหมือนกันที่จะกำหนดมารยาทอะไรขึ้นมาเพราะมารยาทของสถานที่หนึ่งมันเอาไปใช้กับสถานที่หนึ่งไม่ได้ แล้วในอินเทอร์เน็ตมีสถานที่อีกไม่รู้ตั้งกี่ที่ และมีของใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอีกเยอะแยะเต็มไปหมด แล้วมันจะมีหรือมารยาทที่ใช้ได้เหมือนกันหมด”

อาทิตย์กล่าวว่า แม้แต่กรณีที่มักถูกหยิบยกเป็นตัวอย่าง เช่น Hate Speech หรือการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง สำหรับเขาก็ไม่ได้มีมาตรฐานเดียว

“เรื่องนาซี เยอรมนีห้ามพูด ไทยไม่ได้ห้ามพูดนะ และการพูดแบบนาซีกับพูดเรื่องนาซีก็ไม่เหมือนกัน และผมเชื่อว่าพูดถึงนาซีได้ แต่ถ้าพูดแบบนาซีมันก็เป็นเรื่องกฎหมายอื่นแล้ว ผมคิดว่าเราไม่ควรไปป้องกันไม่ให้คนพูด ก็น่าจะให้เขาพูดไปก่อน แต่ว่าคนพูดต้องรู้แล้วนะว่ามีกฎหมายเรื่องนี้อยู่แล้วเขาต้องรับผลตามกฎหมายนั้น”

โดยคำอธิบายแบบนี้ อาทิตย์บอกว่าเขายอมรับกฎหมาย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ แต่เขาจะไม่ยอมรับระบบป้องกันเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

“เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณไปตั้งฟิลเตอร์ นั่นเป็นเรื่องที่ยกเว้นมากๆ ซึ่งเราไม่คิดว่าเราควรต้องคิดเรื่องยกเว้นนั้นมากเสียจนกระทั่งการเอาเรื่องว่าเดี๋ยวจะเกิดนั่นนี่มาเป็นเหตุผลใช้ทั่วๆ ไป เพราะไม่อย่างนั้นเราก็อาจจะบอกว่า ถ้าเดินออกจากบ้านแล้วอาจจะมีสะเก็ดดาวหางตกใส่หัว ฉะนั้นประชาชนทุกคนต้องใส่หมวกกันน็อก คือเราคิดว่า หากคิดจากจุดที่เป็นข้อยกเว้นมากๆ มันอันตราย มันทำให้สิทธิเสรีภาพในการทำเรื่องอื่นๆ ถูกวางกรอบไปหมดเลย เพราะทุกอย่างมีข้อยกเว้นได้”

แต่แม้อาทิตย์จะเปิดใจให้กับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก แต่เมื่อพูดถึงมาตรา 14 ที่กำหนดขอบเขตเนื้อหาที่เข้าข่ายผิดกฎหมายแล้ว อาทิตย์บอกว่า นี่คือการเอาเรื่องที่เป็นข้อยกเว้นมากๆ ไปกำหนดป้องกันเอาไว้ก่อน

“ผมคิดว่าเป็นเรื่องเดียวกันนะเรื่องข้อยกเว้นมากๆ กับการกลัวไปเอง มันอยู่ด้วยกันคือความคิดไปเองมันก็จะสร้างข้อยกเว้นซึ่งมันมาด้วยกัน ในกรณีมาตรา 14 เรื่องความมั่นคง ในแง่กฎหมายก็อาจจะพูดได้ว่าต้องคงภาษานี้ไว้ แต่ว่าเวลาเราพูดถึงกฎหมายมันก็คงไม่ใช่แค่ตัวกฎหมาย แต่มันคือระบบกฎหมาย ตัวบทน่าจะแฟร์ที่เขียนแบบนี้ แต่ก็ต้องอยู่บนความเข้าใจร่วมกันนะว่าระบบการใช้ของเรา ระบบยุติธรรมของเราโอเค แต่ถ้าพูดถึงตอนนี้เราคิดว่าหลายคนพูดได้ว่าตัวบทไม่โอเค

“เรื่องที่บอกว่าความมั่นคงของชาติถ้าตีความแบบไม่ให้งี่เง่าก็คงไม่เป็นปัญหา แต่คำมันกว้าง และแปลว่ามันเป็นอะไรก็ได้ แล้วถ้าเราคิดบนพื้นฐานที่กลัวไปทุกอย่าง แตะต้องธงชาติก็ไม่ได้ เดี๋ยวคนจะกระด้างกระเดื่อง มันก็จะเป็นปัญหา เราคิดว่าตัวบทแบบนี้อยู่ในประเทศที่คนพารานอยด์ (ประสาท) น้อยกว่านี้ หรือระบบยุติธรรมดีกว่านี้ ก็ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าตัวบทแบบนี้มาอยู่บนระบบยุติธรรมปัจจุบันนี้และความคิดที่คนละเอียดอ่อนต่อประเด็นความมั่นคง ในบริบทที่มีประชาชนอยากให้ปิดเฟซบุ๊ก นี่ไม่ใช่แค่รัฐ แต่คนในสังคมพารานอยด์ กฎหมายนี้จึงไม่โอเค สุดท้ายเป็นแบบนี้แล้วจะทำอย่างไร จะแก้ที่สังคมก็ยาก แก้ที่ระบบยุติธรรมก็ยาก หลายคนจึงบอกว่าแก้กฎหมายก็ง่ายดี”

กฎหมายแบบนี้ ถ้าอยู่ในประเทศที่คนพารานอยด์น้อยกว่านี้ก็ไม่เป็นปัญหา

“มันก็เป็นปัญหาอยู่แล้วแหละ คือตอนเราโตมา ตอนเราเด็กๆ เราก็ไม่รู้ว่าคำไหนสำหรับใช้ตอนนี้ คำนี้สำหรับพระใช้ คำนี้สำหรับราชาศัพท์ มันก็ต้องเรียนรู้ คนจำนวนมากก็เพิ่งมาใช้อินเทอร์เน็ต มันเป็นปัญหา แต่เราไม่คิดว่าการที่ให้รัฐเข้ามาควบคุมมันไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา มันสามารถค่อยๆ เรียนรู้กันไป ถ้ามันเกิดความเสียหายขึ้นมาก็เป็นเรื่องที่...ตอนเด็กๆ เราถูกน้ำร้อนลวก เราก็จะระวังไปเอง ถ้าถามว่าพฤติกรรมคนใช้อินเทอร์เน็ตมีปัญหาไหม ผมคิดทุกที่มีปัญหา แต่ไม่ได้แปลว่ารัฐจะเข้าไปจัดการได้ทุกที่ โอเค จะบอกว่าอินเทอร์เน็ตเป็นแค่สื่อเหมือนทีวีไม่กี่ช่อง แล้วจะมีกรรมการเช่นศาลเกี่ยวกับสื่อ อย่างในประเทศเดนมาร์ก คือมีคนฟ้องเข้าไปก่อน แต่รัฐก็ไม่ได้เข้ามาจัดการนะ เขาใช้กระบวนการอื่น นี่ถ้าเราพูดในแง่ออนไลน์เป็นสื่อ แต่ถ้าพูดในแง่ที่ว่าเราใช้ชีวิตประจำวันหลายอย่างหลายด้าน มันก็ประหลาดๆ ที่จะใช้กลไกสื่อ แล้วปกติกลไกของรัฐจะมาจัดการมันต้องมีเหตุเกิดขึ้นแล้วค่อยมายุ่ง ไม่ใช่คิดเผื่อแล้วจัดการไว้ก่อน แน่นอนเราคงต้องมีรัฐเอาไว้ เพราะรัฐก็มีฟังก์ชั่นของมัน แต่ต้องให้มีเรื่องเดือดร้อนก่อน เช่นคดีหมิ่นประมาท ก็ให้คนที่เขาเดือดร้อนมาฟ้อง มาฟ้อง ไม่ใช่แค่คดีหมิ่นนะ แต่คืออีกหลายๆ อย่างคือการไปทำแทนเขาน่ะ”

ในมุมมองของอาทิตย์ ดูเหมือนว่าเขาจะยอมรับในเงื่อนไขข้อจำกัดของข้อกฎหมายได้พอสมควร แต่ที่สำคัญก็คือวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ ที่กำกับการแสดงออกของคนในสังคมได้อย่างแข็งแกร่งกว่ากฎหมาย ในขณะเดียวกันหากจะมองจุดอ่อนของการแสดงออกของประชาชนผ่านสื่อใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ชื่อว่าเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์แล้วล่ะก็ คำถามสำคัญของอาทิตย์อาจจะกลับไปอยู่ที่ว่า แล้วสื่อแต่ดั้งแต่เดิมที่มีอยู่นั้น ไม่ได้มีข้อจำกัดเป็นอย่างเดียวกัน ภายใต้วัฒนธรรมเดียวกันหรอกหรือ

ที่มา ประชาไท




 

Create Date : 16 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2553 0:59:37 น.
Counter : 496 Pageviews.  

ซีรีส์สื่อใหม่กับความขัดแย้งทางการเมืองตอนที่7:สื่อออนไลน์เปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองไทย

"ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์" นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มองสื่อออนไลน์จะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมือง และยากที่รัฐบาลจะต่อสู้เพราะไม่ว่าจะปิดอย่างไรก็เปิดใหม่ได้เสมอ ... มันไม่มี “เขตแดน” ไม่มี “สัญชาติ” ไม่มี “เชื้อชาติ” ไม่มี “อำนาจอธิปไตย”

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เป็นนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผ่านประสบการณ์การเป็นข้าราชการประจำกระทรวงการต่างประเทศ จากนั้นเบนความสนใจสู่การเป็นนักวิชาการ โดยปัจจุบันเป็นนักวิชาการประจำศูนย์อาเซียนศึกษา, สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งประเทศสิงคโปร์ (ASEAN Studies Centre, Institute of Southeast Asian Studies, Singapore)

ชื่อของปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ อาจจะไม่คุ้นหูนักสำหรับผู้อ่านสื่อภาคภาษาไทย แต่เขาคือนักวิชาการเจ้าของบทวิเคราะห์และบทความเกี่ยวกับการเมืองไทยที่น่าสนใจซึ่งถูกผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องในภาคภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนใหญ่แล้วเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยที่ขัดแย้งยืดเยื้อ และปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

ภาคหนึ่ง: ไทยในบริบทอาเซียน
ประชาไทพูดคุยกับเขาในฐานะนักวิชาการซึ่งนำเสนอมุมมองต่อความขัดแย้งทางการเมืองไทยในกรอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเขามองว่าหากกวาดตาไปทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน หรือแม้แต่ในอาณาบริเวณอื่นของโลก ปัญหาเสรีภาพในการสื่อสารและความขัดแย้งทางการเมืองไทย ก็มีเพื่อนร่วมทางอยู่จำนวนมาก เพราะทุกๆ ที่ย่อมมีประเด็น “ต้องห้าม”

“ที่นี่ (สิงคโปร์) ก็ลำบากเหมือนกัน ทุกที่ๆ มี Taboo (เรื่องต้องห้าม) พูดแบบสั้นๆ ก็คือมีขอบเขตและข้อจำกัดในการเสนอข่าว และรัฐบาลสิงคโปร์ก็ยอมรับว่าเสรีภาพของสื่อมวลชนในสิงคโปร์ไม่เทียบเท่าประเทศอื่น ทั้งนี้ก็เพราะว่า รัฐบาลเป็นเจ้าของสื่อ ก็เลยเข้ามามีบทบาทโดยตรง”

ดังนั้น ในกรณีประเทศไทย จึงไม่ได้ Unique (เป็นกรณีพิเศษ) มันเกิดในประเทศอื่นๆ เช่นกัน รวมถึงในประเทศที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย ในหลายๆ ประเทศก็มีปัญหาเสรีภาพในการแสดงความเห็น และก็เหมือนกันในภูมิภาคเอเชียด้วยกันเอง ไม่ต้องถึงขนาดไปเทียบกับพม่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเสรีภาพค่อนข้างจำกัด ซึ่งก็น่าเสียดายว่าก่อนหน้านี้ ประเทศไทยของเราเคยมีช่วงที่เสรีภาพเบ่งบานมาก”

เสรีภาพที่เคยคิดว่าเรามีนั้นเป็นแค่ภาพลวงตา
แม้ไทยจะไม่ใช่กรณีพิเศษ แต่สิ่งที่น่าเสียใจสำหรับสังคมไทยก็คือ เราเคยมีเสรีภาพมาก่อน

“เสรีภาพทางการเมืองและการแสดงความคิดเห็นของไทยเบ่งบานอย่างค่อนข้างชัดเจนในยุคทศวรรษ 1990 หลังพฤษภาทมิฬ และมีรัฐธรรมนูญ 2540 เอาเข้าจริงก็คือช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์ ช่วงนั้นเรามีเสรีภาพพอสมควร สื่อแสดงความคิดเห็นได้ตรงไปตรงมา ไม่ถูกครอบงำโดยรัฐเท่าไหร่ แต่จะมองเพียงปัจจัยภายในประเทศอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมองปัจจัยต่างประเทศด้วยว่าช่วงนั้นเป็นช่วงที่เพิ่งพ้นยุคสงครามเย็น ประชาธิปไตยเบ่งบานทั่วโลก ก็เป็นผลอันหนึ่งที่ทำให้เกิดการเบ่งบานของเสรีภาพ เป็นกระบวนการพัฒนาทางประชาธิปไตย เราถึงมีบุคคลอย่างคุณทักษิณที่เข้ามาพร้อมกับกระแสประชาธิปไตย คุณทักษิณเข้ามาในช่วงแรก ก็ดูเหมือนว่าประชาธิปไตยของไทยดำเนินไปด้วยดี แต่ต่อมา ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคาดหวัง ในบางด้าน คุณทักษิณทำได้ดีกว่ารัฐบาลชุดนี้ และก็มีที่แย่กว่ารัฐบาลชุดนี้ แต่ที่แน่ๆ คุณทักษิณก็ครอบงำสื่อเช่นกัน”

เพียงอีกหนึ่งทศวรรษให้หลัง ประเทศไทยก็หวนกลับมาเผชิญกับความเป็นจริงอีกด้านอย่างรวดเร็ว

“ก็น่าเศร้าตรงที่ว่าไทยเคยเป็นประเทศที่เป็นแม่แบบประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งสม่ำเสมอ อาจจะมีรัฐประหารบ้าง แต่วิถีโดยทั่วไปเป็นวีถีที่สะท้อนความเป็นประชาธิปไตย สื่อมวลชนก็มีเสรีภาพมากพอสมควร แต่สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นมันชี้ให้เราเห็นว่าที่เราคิดว่ามีนั้นเป็นแค่ภาพลวงตา ที่เราเชื่อว่ามันมีสิ่งที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยนั้น จริงๆ แล้วอาจจะไม่มี แล้วการแก้ไขคงทำไม่ได้เพียงข้ามคืน และผมก็คิดไม่ออกว่าทางออกของปัญหาอยู่ที่ใด ในเมื่อเราไม่รู้มันจะแก้ไขตรงไหน เราก็ไม่รู้ว่าสื่อจะมีทางออกยังไง อาจจะถูกบีบมากขึ้น พอถูกบีบมากขึ้นก็อาจจะเลยเถิดไปมากขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ในสายตาของนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผู้นี้ เขาเชื่อว่าประเทศไทยยังมีทางออก และสิ่งที่ยืนยันก็คือกระบวนการต่อสู้ทางการเมืองที่ดำรงอยู่ ซึ่งเปิดกว้างให้กับคนในทุกชนชั้นเข้ามามีส่วนร่วมและได้แสดงบทบาทมากขึ้น

“ผมไม่อยากมองในแง่ลบ ผมอยากมองในแง่บวกว่าการต่อสู้ที่ดำเนินอยู่นี้ นอกเหนือจากเป็นการต่อสู้เพื่ออำนาจทางการเมืองของคนบางกลุ่ม ผมคิดว่าก็เป็นสัญญาณของประชาธิปไตยอีกแบบหนึ่งซึ่งมีการพัฒนา เพราะว่าอย่างน้อยๆ คนที่มักถูกเรียกว่าเป็นคนชนบทได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ได้เข้ามาร่วมในขบวนการมากขึ้นในการสนับสนุนหรือต่อต้านรัฐบาลไม่ว่าจะเหลืองหรือแดงก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย และผมคิดว่าในที่สุดแล้วมันอาจจะนำพาเราไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น มันอาจจะลำบากทุลักทุเลบ้าง ดูอย่างกรณีอินโดนีเซีย ในปี 1997 ตอนที่ระบอบซูฮาร์โตล่มสลาย ประชาธิปไตยมาถึงทางตันจริงๆคอร์รัปชั่นสูง และทหารก็เข้ามาวุ่นวายทางการเมืองมาก แต่ใครจะเชื่อว่า 13 ปีต่อมา อินโดนีเซียตอนนี้เป็นประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ฉะนั้นปัญหาก็อยู่ที่ว่าจะหาทางออกได้ไหม และจะหาทางออกได้เร็วแค่ไหน จะมีอุปสรรคแค่ไหน ผมคิดว่าประเทศไทยยังมีทางออกแม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะปั่นป่วนมากมายแค่ไหนก็ตาม มองประเทศไทยก็อย่ามองแต่แง่ลบอย่างเดียว ผมคิดว่ายังมีแสงไฟที่จะทำให้เราออกจากอุโมงค์”


มองในแง่อาเซียน ไทยสูญเสียการเป็นผู้นำอย่างสิ้นเชิง
จากแม่แบบประชาธิปไตย และครั้งหนึ่งเคยมีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน แต่สภาพปัจจุบันของไทย เราสูญเสียความเป็นผู้นำ ด้วยปัญหาการเมืองภายในที่รุมเร้า

“เป็นเรื่องผลของการเมืองภายในและการเมืองระหว่างประเทศ เพราะว่ารัฐบาลนี้ให้ความสนใจแค่เพียงความอยู่รอดของตัวเอง จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการต่างประเทศ อันนี้ก็เป็นกฏธรรมชาติ จะสนใจการเมืองระหว่างประเทศก็ต่อเมื่อจะใช้การเมืองระหว่างประเทศมาเป็นเครื่องมือของการเมืองภายใน ยกตัวอย่างเช่น การใช้กรณีเขาพระวิหาร ซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องความขัดแย้งทวิภาคีโดยตรงเท่าไหร่ แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นการเมืองภายใน ซึ่งเป็นประโยชน์กับรัฐบาลชุดนี้

“แต่ถ้ามองในอาเซียน ไทยไม่ได้แสดงบทบาทนำ คุณอภิสิทธิ์เพิ่งเดินทางกลับจากพม่า ก็เหมือนเดิม คือไม่ได้พูดเรื่องเลือกตั้งเท่าไหร่ ก็เข้าใจว่าไม่มีสิทธิ์ที่จะพูด เพราะว่าตานฉ่วยก็คงจะบอกว่าแล้วประเทศคุณมีประชาธิปไตยจริงหรือเปล่า ถึงจะมาสอนเรา หากมองด้วย irony ประเทศพม่าจะมีเลือกตั้งก่อนประเทศไทยด้วยซ้ำ

“แล้วผมคิดว่าสิ่งที่น่าเสียใจก็คือคุณอภิสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์คุณทักษิณไว้เยอะ ที่ว่าใช้นโยบายต่างประเทศมากอบโกยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งทางส่วนตัวหรือของประเทศก็ตามโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงการส่งเสริมประชาธิปไตยหรือสิทธิมนุษยชน แต่ตอนนี้ประชาธิปัตย์ก็ทำเหมือนกัน หลังจากคุณอภิสิทธิ์เดินทางกลับจากพม่า ก็พูดเรื่องจะส่งเสริมการค้าชายแดนและการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ก็เป็นนโยบายที่มีความชอบธรรม และเป็นผลประโยชน์ระหว่างประเทศ แต่ก็น่าจะทำให้มีสัดส่วนสมดุลกับสิ่งที่เราเชื่อมั่นยึดถือ”

และเขาเชื่อว่าปัญหาทางการเมืองไทยอาจจะฉุดประเทศที่เคยมีเสรีภาพแห่งนี้ให้ดำดิ่งไปอีก

“ผมหวังว่า ช่วงตกต่ำของไทยคงจะไม่ตกต่ำตลอด เพราะถ้าตกตลอดก็จะกลายเป็นรัฐที่ล้มเหลว (Failed State) เรายังมีโครงสร้างที่แม้จะไม่สมบูรณ์แบบแต่ก็ยังสามารถพยุงไว้ได้อยู่ โครงสร้างเหล่านั้นได้แก่ การมีส่วนร่วมของประชาชน การที่ประชาชนเริ่มเข้าใจบทบาททางการเมืองของตนเองมากขึ้น การที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลมากขึ้น ความพยายามในการสร้างความโปร่งใสในขบวนการทางการเมืองมากขึ้นโดยเฉพาะผ่านทางสื่อออนไลน์ ผมว่าโครงสร้างเหล่านี้ยังพยุงไทยไว้อยู่ และนี่คือความจริง เพราะว่าหากเรามองในแง่ลบมันก็ไม่ส่งเสริมให้เราหาทางออก การเมืองนอกจากมีความจริงแล้วยังมีเรื่องทางจิตวิทยาด้วย”

ภาค 2: สื่อออนไลน์เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์การเมือง
ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ปวินมองว่ายังมีแสงสว่างนำทางสู่ปลายอุโมงค์ ก็คือสื่อออนไลน์ที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างหลากหลายและกว้างขวาง นำมาสู่การตรวจสอบถ่วงดุลกันทางการเมือง เป็นแผ่นฟ้าที่กว้างใหญ่ชนิดที่ผู้มีอำนาจไม่อาจปิดกั้นได้ด้วยฝ่ามือแม้จะทรงอำนาจเพียงใดก็ตาม

“สื่อออนไลน์เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทั้งหมด ก่อนหน้านี้ การแสดงความเห็นทางการเมืองต้องทำโดยการออกมาเดินบนท้องถนน ต้องใส่เสื้อสีนี้ คุณต้องถือธงชาติ เพื่อให้เห็นว่าเกิดการรวมตัวทางการเมือง ซึ่งแน่นอนว่าก็ยังมีอยู่ แต่สื่อออนไลน์ทำให้มันไม่จำกัดอยู่แค่นั้นแล้ว มันเป็นศูนย์รวมที่ไม่อยู่ในรูปกายภาพ แต่เป็นจิตภาพ (spiritual) และบางทีการรวมตัวแบบจิตภาพนี้มีพลังมากกว่าเพราะมันรวมเอาภาวะอารมณ์ของคน มันทำให้คนซึ่งอาจจะไม่กล้าที่จะแสดงความเห็นทางการเมืองในรูปกายภาพ ได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยผ่านสื่อออนไลน์ และมันก็ทำง่าย รวมตัวกันง่าย ไม่ต้องใช้งบประมาณเยอะ มันเคลื่อนไหวได้ง่าย และสะท้อนให้ความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เมื่อเรามีแล้วทำไมเราถึงจะไม่ใช้ประโยชน์จากมัน สื่อออนไลน์จึงมีผลในการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมือง และมันยากที่รัฐบาลจะต่อสู้ด้วย เพราะหากจะต่อสู้กันที่ราชประสงค์มันเห็นตัวบุคคล มีการลอบสังหารกันได้ เห็นว่ามีกี่หมื่นกี่พันคน รู้ว่าจะปิดทางออก ทางเหนือหรือใต้ แต่การต่อสู้ออนไลน์ ถ้าจะปิดเซิร์ฟเวอร์เขาก็เปิดใหม่ได้”

ปวินมองว่าสื่อออนไลน์เข้ามามีส่วนกำหนดวาระทางสังคมการเมืองสูงมากขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ และประเทศไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าอาจหลีกเลี่ยงได้บ้างในประเทศอื่น เช่น ประเทศที่มีการปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ หรือมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช หรือประเทศที่เป็นเผด็จการ

“ผมก็ยังเชื่อว่าประเทศไทยไม่ใช่เผด็จการ มันจึงอาจเป็นเรื่องยากที่สังคมไทยปัจจุบันจะปิดกั้นสื่อออนไลน์ หรืออินเทอร์เน็ต

“ผมคิดว่าสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้นมาก ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มันมีความขัดแย้งมากในสังคมไทย แต่ละฝ่ายพยายามควบคุมสื่อในทุกแขนง เพื่อให้สื่อแสดงข้อคิดเห็นให้ตรงกับแนวทางที่ตนต้องการ ผมไม่ได้พูดถึงแต่รัฐบาลอย่างเดียว ผมคิดว่าฝ่ายค้านก็ทำเช่นเดียวกัน มีความพยายามของตัวเล่นทางการเมืองที่พยายามมีอิทธิพลเหนือสื่อพวกนี้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้สื่อพวกนี้เข้ามามีอิทธิพล มีบทบาท”

ไม่มี “เขตแดน” ไม่มี “สัญชาติ” ไม่มี “เชื้อชาติ” ไม่มี “อำนาจอธิปไตย”
การส่งเสริมให้สื่อออนไลน์มีบทบาทไม่ว่าด้วยฝ่ายรัฐหรือฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามรัฐ ไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือ เมื่อตัวเล่นทางการเมืองเหล่านี้พยายามปิดกั้นสื่อออนไลน์ไม่ให้เข้ามามีบทบาทในบางเรื่อง ภายใต้อิทธิพลที่มีอยู่ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหลายที่มีอยู่ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ แต่สื่อออนไลน์กลับเป็นสื่อเดียวที่มีสื่อควบคุมลำบาก

“เพราะออนไลน์มันไปทุกแขนง ผมใช้คำว่า มันไม่มี “เขตแดน” ไม่มี “สัญชาติ” ไม่มี “เชื้อชาติ” ไม่มี “อำนาจอธิปไตย” คุณจะเป็นใครมาจากไหนก็สามารถมีบทบาท เข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ และคุณไม่จำเป็นต้องอยู่อาศัยอยู่ในเมืองไทย จะอยู่ที่ไหนก็ได้”

และแม้จะพยายามยื่นมือของกฎหมายภายในประเทศเข้าไปจับ และยึดเสรีภาพออนไลน์นั้นไว้ แต่ปวินมองว่า ข้อจำกัดของรัฐทำให้ก้าวไปจัดการไม่ได้ทั้งหมดอย่างที่ต้องการ

“ถ้าพูดในกรอบรัฐบาลก็ทำได้ แต่แค่ส่วนเดียวเท่านั้น ผมเคยเขียนบทความตั้งคำถามว่า รัฐบาลต้องปิดอีกกี่เว็บไซต์เพื่อจะให้แน่ใจว่าศัตรูของรัฐบาลได้หมดสิ้นไป...มันเป็นไปไม่ได้ ปิดเว็บหนึ่ง พรุ่งนี้มีอีกสิบเว็บไซต์เกิดขึ้นใหม่ และผมคิดว่าจำกัดบทบาทของสื่อออนไลน์โดยการปิดเว็บไซต์ไม่ใช่เป็นทางออก มันเหมือนกับที่ผมเคยตั้งคำถามเช่นกันว่า เอกสารที่วางอยู่บนโต๊ะโดยปกติแล้วไม่มีใครสนใจ แต่พอไปจัดประเภท ว่าเป็นเอกสารลับเฉพาะมันมีแต่คนอยากสนใจอยากอ่าน กรณีของเว็ปไซต์ก็เช่นกัน หากอยู่เฉยๆ อาจไม่ค่อยมีคนสนใจ แต่เมื่อไปจัดประเภทว่ามันเป็นอันตรายต่อ – อะไรก็ตาม- จะอ้างว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ เป็นภัยต่อบางสถาบันหรือองค์กรของสังคมไทย พอบล็อคเว็บไซต์ คนก็อยากรู้ขึ้นมาทันที อย่างเว็บ wikileaks ตอนยังไม่ปิดไม่ค่อยมีคนเข้า แต่พอไปปิด คนเข้าเยอะมากเพราะอยากรู้ว่าอะไรเป็นอะไร และอะไรที่มันรั่วออกมา และที่รัฐบาลคิดว่าปิดได้ มันก็ไม่จริง เพราะคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันนี้ ฝ่ายค้านทั้งหมด ที่ต่อต้านรัฐบาลก็ไม่ได้โง่ รู้เทคโนโลยี สามารถจะ unblock และเข้าถึงสื่อต่างๆ นั้นได้”

สื่อออนไลน์ช่วยสร้างความโปร่งใส ไม่ใช่แค่ในส่วนของรัฐบาลแต่ของสถาบันอื่นๆด้วย
และหากจะมองแบบโปรสื่อออนไลน์สักหน่อย ปวินก็เห็นด้วยว่า สื่อออนไลน์ทำให้กระบวนการของฝ่ายค้าน หรือขบวนการที่อ้างอิงตัวเองว่าเป็น “ประชาธิปไตย” สามารถมีช่องทาง หรือเปลี่ยนสมรภูมิรบ

“ข้อดีมีอยู่มาก ที่ผมเห็นเลยคือมันทำให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้นในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย จากการที่รัฐบาล ฝ่ายค้าน เคยเล่นการเมือง Behind the scene แต่พอมันกลายมาเป็นประเด็นออนไลน์ ทุกคนสามารถเข้าถึง ส่วนหนึ่งสื่อออนไลน์จึงช่วยสร้างความโปร่งใส ไม่ใช่แค่ในส่วนของรัฐบาลแต่ของสถาบันอื่นๆ แต่ก่อนเราไม่รู้เรื่องเลย แต่ในปัจจุบันเรารู้มากขึ้นและทำให้เกิดระบบตรวจสอบซึ่งกันและกัน ทำให้คนที่คิดว่าตัวเองกำลังถูกจับตาโดยสังคมออนไลน์ต้องทำตัวให้ดีขึ้น ทำให้ตัวให้เป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้น

“แต่มันก็เป็นดาบสองคม สื่อออนไลน์อาจกลายเป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงข้าม และเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมาก คนที่อ่านออนไลน์รับรู้ประเด็นใหม่เข้ามาทุกวันๆ ไม่ใช่ทุกคนที่อ่านแล้วคิดและวิเคราะห์ลึกซึ้ง ฉะนั้น ก็ยอมรับว่ามีบางคนที่มองแบบฉาบฉวย และเชื่อง่ายเกินไป

“แล้วคนก็มีรสนิยมที่ต่างกัน บางคนที่พร้อมจะเชื่อเรื่องนี้อยู่แล้ว พออ่านก็เชื่อเลย สมมติว่า หากใครก็ตามที่ไม่ชอบรัฐบาลชุดนี้ พอไปอ่านเจอว่ารัฐบาลชุดนี้ทำอะไรไม่ดี ไม่ชอบธรรม โดยธรรมชาติมนุษย์ก็จะเชื่อเลย โดยไม่มีการวิเคราะห์ก่อนว่าข้อมูลนี้จริงเท็จแค่ไหน ตรวจสอบได้ไหม แหล่งข้อมูลคืออะไร”

ข้อมูลที่ไม่ถูกคัดกรองนี้เองที่เขาเห็นว่าเป็นจุดอ่อนของสื่อออนไลน์ เมื่อเทียบกับสื่อกระแสหลัก แต่...ก็ไม่ได้อ่อนด้อยกว่ากันมากนัก

“ผมว่ามันอาจไม่แตกต่างกันมากเท่าไร เหตุผลหนึ่งคือ สื่อทั้งหมดที่มี สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อทีวี สื่อวิทยุ มันก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือเหมือนกัน เพียงแต่ว่ามันยังมีขอบเขต แต่เว็บไซต์มันไม่มีขอบเขต คนที่โพสต์ข้อมูลไม่รู้ว่าเป็นใครเลยด้วยซ้ำในบางกรณี แต่ในสื่ออื่นมันต้องมีความแน่ชัดมากกว่านั้น จึงทำให้โอกาสที่สื่ออื่นๆ จะถูก exploited (แสวงประโยชน์) อาจจะน้อยกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ถูก exploited เลยนะ เพราะผมคิดว่าสื่อโทรทัศน์ทั้งหมดตอนนี้มันเป็นเครื่องมือของภาครัฐ”

ประชาชนถูกเปิดตาแล้ว
เราถามย้ำเขาอีกครั้ง ที่เขาบอกว่าการที่สื่อออนไลน์เปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ เช่น สถาบันทหาร หรือสถาบันอื่นก็ตามแต่ ฯลฯ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง แล้วจะส่งผลให้เกิดการปรับตัวนั้น หากมองดูสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว เขาเห็นว่าผู้ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มีการปรับตัวไปในทิศทางนั้นหรือ

“เป็นคำถามที่ดีมาก ปรับตัวหรือเปล่าผมไม่รู้ แต่รู้แน่ๆ คือมันเปิดตาประชาชน มันช่วยสร้างความตระหนักรู้ (awareness) และจิตสำนึก (consciousness) ให้ประชาชนเข้ามามีบทบาท มาแสดงความเห็น ในประเด็นที่ตัวเองไม่เคยได้รับโอกาสให้แสดงความเห็น ส่วนจะแสดงความเห็นผิดหรือถูก จะส่งผลให้คนพวกนี้ปรับตัวหรือเปล่ามันเป็นขั้นต่อไป แต่ ณ จุดนี้มันเปิดตาประชาชน ซึ่งในที่สุดแล้วจะส่งผลต่อการปรับตัวของสังคมไทย เพราะสังคมไทยมันถูกปิดกั้นมาตลอด พูดเรื่องนี้ได้ พูดเรื่องนี้ไม่ได้ โดยไม่ได้อธิบายว่าทำไมพูดเรื่องนี้ไม่ได้ แต่สื่อออนไลน์เปิดทั้งหมดไม่ว่าหัวข้อไหนก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น สถาบันทหาร ในอดีตคนทั่วไปอาจจะไม่อยากพูดถึงสักเท่าไร พูดไป หรือไปวิจารณ์มากๆ ก็ไม่รู้จะเจ็บตัวหรือเปล่า หรืออาจมีผลกระทบกับตัวเองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่สื่อออนไลน์เปิดโอกาสให้เราวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสรีมากขึ้น ไม่รู้จะอธิบายมากกว่านั้นอย่างไร แต่จะตอบคำถามที่ว่ามันส่งผลให้รัฐบาลปิดบังมากขึ้นไหม มันก็จริง วิจารณ์มากก็ทำให้รัฐบาลปิดมากขึ้น เหมือนมันเป็นวัฏจักร”

ฝืนความเปลี่ยนแปลงไปได้อีกไม่นาน
ปวินวิเคราะห์ว่า ความเปลี่ยนแปลงของสื่อออนไลน์นั้นเป็นภาวะที่ดำเนินไปกับปัจจัยนอกประเทศ ดังนั้นแล้ว รัฐบาลจะฝืนไม่รับรู้คงเป็นไปได้ยาก

“ผมคิดว่าตราบใดก็ตามที่รัฐบาลยังขาดวุฒิภาวะ (immature) ไม่ยอมรับว่าสังคมไทยมันเกิดการเปลี่ยนแปลง –แล้วผมก็คิดว่าเขายังไม่ยอมรับว่ามันมีการเปลี่ยนแปลง- ผมก็ไม่แปลกใจที่มีรายงานหนึ่งที่บอกว่ารัฐบาลปิดไป 113,000 เว็บไซต์ อันนี้ไม่แปลกใจเลย และรัฐบาลก็จะปิดมากขึ้น ไอ้อันที่ปิดไปแล้วก็ตายไป ก็คงไม่มีใครจะพยายามไป unblock มัน หมายความว่าเขาทำเว็บใหม่ดีกว่า แล้วรัฐบาลก็ปิดกันต่อไป ก็ดูว่าเกมนี้ใครจะชนะ แต่ผมก็คิดว่าเขาจะทำอย่างนี้ไปได้ไม่นาน เพราะสังคมไทยมันเป็นสังคมที่มีการเติบโตไปกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งภายในประเทศและการเติบโตในภูมิภาค รัฐบาลก็ทำด้านหนึ่งที่รัฐบาลทำได้”

สภาวะการไล่ปิดสื่อออนไลน์นั้น ล้อไปกับการไล่บี้คุกคามสื่อต่างประเทศในประเทศไทยด้วย ซึ่งปวินเห็นว่านี่คือการคุกคามสื่อครั้งใหญ่ของรัฐไทย

“กรณีของประชาไทแตกต่างจากเว็บไซต์อื่น เพราะมันเป็น mainstream ไม่ได้เป็นเหมือนบล็อกไร้สาระ หรือบล็อกของปัจเจกบุคคล ที่ไม่ได้มีผู้ตามมาก ผมคิดว่าพอปิดไปแล้วน่าจะมีความพยายามจะเปิดขึ้นมาอีก และรัฐบาลตอนนี้ก็เผชิญกระแสต่อต้านเยอะ ไม่อย่างนั้นคงไม่ปล่อยตัวคุณจีรนุช (เปรมชัยพร) และหลังๆ รัฐบาลก็ทำเลยเถิด ไม่ใช่แค่สื่อออนไลน์ แต่ไปครอบงำสื่อต่างชาติ บังคับให้เขาต้องรายงานข่าวที่ไม่ทำให้รัฐเสียภาพลักษณ์ แล้วก็สื่อต่างชาติเองก็ถูกข่มขู่ ไม่ว่าจะเป็นการถูกจับกุม หรือถูกขับออกนอกประเทศ ถ้ารายงานอย่างนี้จริงๆ แล้วถูกหาว่าส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ มันก็กลายเป็นว่าสื่อต่างประเทศพวกนี้ก็ต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง ผลก็ตกอยู่กับผู้อ่าน ผู้ฟัง ว่าจะไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง เพราะเขาจะรายงานเฉพาะส่วนที่เขารายงานได้เท่านั้น เพราะถ้ารายงานเกินไปกว่านั้น ตัวเองก็ตกอยู่ในปัญหา ถ้าจะรายงานอย่างเต็มที่ก็ต้องออกไปรายงานในต่างประเทศ ซึ่งก็ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์จริง”

เขาเคยระบุว่าอำนาจรัฐที่เข้ามาจัดการกับสื่อออนไลน์รวมถึงสื่ออื่นๆ นั้น นอกจากจะไม่แก้ปัญหาแล้วยังทำให้ความขัดแย้งร้าวลึกขึ้น ทว่าหากมองในอีกด้านหนึ่งในแง่มุมของรัฐและสื่อกระแสหลักของไทย ผู้ที่ต้องร่วมรับผิดชอบอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นแหล่งแพร่ความขัดแย้งก็คือสื่อออนไลน์นั้นเอง เราถามประเด็นนี้กับเขา และเขาปฏิเสธสมมติฐานดังกล่าวอย่างแข็งขัน

“สมมติฐานที่เพิ่งพูดไปนี่ผมต่อต้านอย่างมาก หมายความว่าต้องปิดสื่อออนไลน์ใช่ไหม แล้วความขัดแย้งจะหมด ซึ่งผมคิดว่าไม่จริง ในประเทศที่สื่อมีเสรีอย่างค่อนข้างเต็มที่อย่างสหรัฐอเมริกา มันก็ไม่ได้หมายความว่าจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง ความขัดแย้งมันไม่ได้เกิดมาจากสื่อ มันอาจถูกขยายตัวโดยสื่อ แต่ถ้าคนไปบอกว่าสื่อทำให้เกิดความขัดแย้ง แสดงว่าเขาไปดูที่ปลายปัญหาไม่ได้ดูที่ต้นปัญหา แล้วผมคิดว่าคนที่พูดนี่นอกจากจะไม่เป็นธรรมแล้วยังไม่พอ เขาดูจะไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่แท้จริงด้วย จริงๆ แล้ว ต้นเหตุของปัญหาอยู่ตรงไหนต้องมองตรงนั้นก่อน บทบาทสื่อคืออะไร คือการแสดงข้อเท็จจริง แต่สื่อเดี๋ยวนี้มันไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงอย่างเดียว มันมาพร้อมกับความเห็น ทีนี้ความเห็นมันจะตรงกับที่คนอยากฟังหรือไม่อยากฟังมันก็อีกเรื่องหนึ่ง ถ้าไปตรงกับคนที่ไม่อยากฟัง เขาก็คิดว่าสื่อเป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง แต่พอฟังในสิ่งที่ตัวเองอยากฟัง ก็คิดว่าสื่อทำถูกต้อง มันมีส่วนในการขยายตัวของปัญหา แต่การไม่ใช้สื่อเลยขณะที่มีปัญหาอยู่ แล้วไม่มีการถกเถียงกันในที่สาธารณะ เราจะทำยังไงกับปัญหา จะให้มันแก้ด้วยตัวมันเองหรือ หรือจะให้ปัญหามันแก้โดยคนสองสามคนที่มีอำนาจ โดยที่ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิแสดงความเห็น เราจะปล่อยให้เป็นอย่างนั้นหรือ แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าถ้าทำอย่างนั้นปัญหาจะไม่บานปลาย”

สื่อออนไลน์ กลางเขาควายของวุฒิภาวะระหว่างผู้มีอำนาจและประชาชน
ปวินพูดตั้งแต่ช่วงต้นๆ ว่าหากผู้มีอำนาจ หรือรัฐบาลมีวุฒิภาวะเพียงพอก็ต้องยอมรับและปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แต่อีกปัญหาคือ แล้วเขาจะบอกได้อย่างไรว่าคนใช้สื่อซึ่งเป็นประชาชนทั่วๆ ไปจะมีวุฒิภาวะเพียงพอสำหรับพื้นที่เสรีภาพที่เปิดกว้าง

“ผมบอกตรงๆ ว่าผมไม่รู้ว่าสังคมไทยมีวุฒิภาวะมากน้อยเพียงใด แต่ผมไม่มีข้อสงสัยเลยนะครับว่าคนไทยพร้อมที่จะเปิดตัวเองและก็เรียนรู้ แต่ผมคิดว่ามันอาจจะต้องใช้เวลามากกว่านี้ คือการทำให้คนมีวุฒิภาวะนี่เป็นเรื่องระยะยาว (Long-term Process) ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ภายในสองเดือนสามเดือน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการให้การศึกษา การพัฒนาทางการเมือง แต่ที่ผมกังวลอย่างหนึ่งคือว่า พอคนใช้ประโยชน์ออนไลน์แล้วไม่มีวุฒิภาวะอาจจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้นได้ เพราะเวลาที่คนอ่านแล้วไม่ได้ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนได้ก็อาจจะตกเป็นเครื่องมือ แต่มันเป็นกระบวนการระยะยาว ต้องเริ่มที่จุดใดจุดหนึ่งก่อน มันอาจจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ต้องปล่อยให้มีความผิดพลาด มันต้องเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว มันไม่สามารถจะกดสวิตช์ได้ ที่ผมเห็นว่าเป็นการขาดวุฒิภาวะมากที่สุดก็คือ บางคนอาจจะไม่ชอบบางสถาบัน ก็คงไม่มีใครห้ามความคิดได้ แต่น่าจะแสดงความเห็นแบบมีเหตุผลว่าไม่ชอบเพราะอะไร ผมเห็นในหลายบล็อก ไม่ชอบแล้วใช้คำโจมตีที่รุนแรง แต่นี่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะไปห้ามได้เพราะสังคมไทยก็ไม่ใช่สังคมสิงคโปร์ที่มีคนแค่ห้าล้านคนที่สามารถจะควบคุมความเคลื่อนไหวของคนได้ง่ายกว่า ประเทศไทยหกสิบกว่าล้านคน ร้อยพ่อพันแม่ หลายเผ่าพันธุ์ การศึกษาต่างกัน การตอบสนองก็ต่างกัน”

การใช้กฎหมายเหวี่ยงแห -สัญญาณแห่งการสิ้นอำนาจควบคุม
ปวินกล่าวถึงกระบวนการปิดกั้นพื้นที่ออนไลน์ และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเขาเองก็ยอมรับว่ากังวลเป็นการส่วนตัวเช่นกัน แต่การที่รัฐบาลไม่สามารถหากลไกหรือกรอบอื่นๆ มาจัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง แต่หันไปหากฎหมายที่ถูกนำมาใช้อย่างตีขลุม ขาดความชัดเจน สำหรับเขาแล้ว นี่คือสัญญาณแห่งการสิ้นหวังของผู้ถืออำนาจ

“เมื่อผู้อยู่ในอำนาจไม่สามารถหากลไกหรือกรอบอื่นๆ มาจัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง รวมถึงการดึงบางสถาบันมาใช้เป็นเครื่องมือ ซึ่งกลายเป็นดาบสองคม ผู้มีอำนาจอาจจะอ้างว่าทำเพื่อปกป้องสถาบันหนึ่งๆ แต่การที่เอากฎหมายคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ทำให้กลายเป็นว่าสถาบันนั้นๆ เข้ามาอยู่ในกระบวนการทางการเมือง ถูกดึงมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง และก็อีกประการก็คือ เมื่อรัฐบาลใช้กฎหมาย ผู้ที่ใช้คิดว่าตัวเองมีอำนาจ (power) เพราะตัวเองสามารถใช้กฎหมายนี้จัดการกับฝ่ายตรงข้าม แต่จริงๆ แล้วส่อให้เห็นว่าไม่ใช่อำนาจหรอก แต่เป็นอาการที่เรียกว่า Desperation (กระเสือกกระสน) คือรู้ว่าต่อไปนี้จะควบคุมลำบากและเมื่อควบคุมลำบากก็เลยใช้กฎหมายนี้พยายามดึงไว้ แต่ก็คงดึงไว้ได้ไม่นาน แต่มันก็กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองไป น่าเสียดาย โดยเฉพาะผมคิดว่าการตีความว่าใครดูหมิ่นใคร มันตีความลำบาก แต่ข้อดีคือคนเริ่มพูดกันมากแล้ว แต่ประตูจะเปิดเลยเป็นไปไม่ได้ แต่มันก็กำลังเปิดทีละนิดๆ รัฐบาลมีกลไกทำอะไรได้ก็ทำไป แต่ถ้าจะปิดประตูคงไม่ได้”

ข้อเสนอรัฐบาล: ลดการใช้กฎหมาย ใช้วิธีการสื่อสารมากกว่า
พูดในแบบอดีตนักการทูต ซึ่งต้องมีประตูเปิดให้คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย ปวินยังมองว่ารัฐบาลมีทางออกที่จะเผชิญหน้ากับความขัดแย้งด้วยวิธีที่นุ่มนวลและแฟร์ นั่นก็คือ หันมาเล่นเกมแข่งขันสื่อสารกับประชาชนผ่านพื้นที่ออนไลน์ ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าเลือกกว่าการใช้เครื่องมือทางกฎหมายคุกคามผู้ที่เห็นต่าง

“ผมคิดว่าเกมที่ดีกว่านี้ก็คือรัฐบาลก็ปล่อยให้ฝ่ายค้านใช้สื่อออนไลน์เล่นไป ตัวเองก็ใช้สื่อของตัวเองไปฟาดฟันกันในไซเบอร์เสปซ เล่นกันแบบแฟร์ และฟรี ดีกว่าการไปปิด ทำไมรัฐบาลไม่ใช้สื่อของตัวเองให้เป็นประโยชน์ในการพยุงสถานะ และข้อกล่าวหาบางอย่างอย่าไปใส่ใจมาก ไม่งั้นกลายเป็นว่ารัฐบาลลงเล่นในทุกเรื่อง”
และสำหรับโครงการที่รัฐบาลเริ่มดำเนินไปบ้างแล้วเช่น ลูกเสือไซเบอร์ ปวินเห็นว่าเป็นทางเลือกที่ดี – ดีกว่าการใช้กฎหมายไล่จับกุม

“ก็ส่งเสริมประชาธิปไตย ถ้าใครต่อต้านรัฐบาลก็ให้เว็บไซต์รัฐบาลโจมตีกลับ แต่ก็ต้องทำได้ตราบเท่าที่ไม่ไปส่งเสริมให้มีการใช้ความรุนแรง ผมว่ามันก็เป็นสิ่งที่ดี ก็ทำให้เห็นว่าสังคมไทยมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และรัฐบาลก็ควรใช้แนวทางนี้มานานแล้ว เพราะว่าสื่อออนไลน์ก็เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลควรจะใช้สื่อออนไลน์ในแง่ที่สร้างสรรค์ บ่นแต่ว่าไม่สามารถเข้าถึงคนที่อยู่ภาคเหนือและภาคอิสาน ก็ทำไมไม่ใช้เว็บไซต์ในการเข้าถึงเขา และถ้าคนเหนือหรือคนอิสานขาดโครงสร้างพื้นฐานในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ คุณก็ต้องไปสร้างให้เขา เพราะโครงสร้างพื้นฐานไม่ใช่แค่รองรับผลประโยชน์ในการเข้าถึงของรัฐบาลเท่านั้นแต่เป็นการลงทุนระยะยาวด้วย แล้วปัจจุบันนี้การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทำได้ง่าย มันใช้แค่ระบบดาวเทียม ไม่ต้องวางสายใต้ดินอะไรให้วุ่นวาย”

แต่รัฐบาลจะทำก็ต้องก้าวข้ามความหวาดกลัวชาวบ้านก่อน

“ก็อย่างที่บอก หากรัฐบาลซึ่งเป็นคนที่กุมอำนาจรัฐไม่สามารถทำได้ หรือเข้าถึงประชาชนได้ ผมคิดว่ารัฐบาลขาดประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ มีการพูด joke ในแวดวงวิชาการว่า คุณอภิสิทธิ์จะไปภาคเหนือหรือภาคอิสานต้องใช้วีซ่า ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลชุดนี้กับประชาชนในภูมิภาคดังกล่าว โดยสรุป การต้องสร้างสาธารณูปโภคก็อาจจะต้องเป็นแผนระยะยาว รัฐบาลน่าจะเริ่มต้นด้วยการใช้สื่อออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐบาลกับคนที่อยู่ภาคเหนือภาคอิสาน จะสำเร็จหรือไม่ก็อีกเรื่อง แต่รัฐบาลต้องพยายาม”

ที่มา ประชาไท




 

Create Date : 16 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2553 0:34:04 น.
Counter : 576 Pageviews.  

ซีรีส์สื่อใหม่กับความขัดแย้งทางการเมืองตอนที่6:อินเทอร์เน็ตคือป่าออนไลน์ขนาดใหญ่

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ที่ใช้สื่อใหม่เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน พูดถึงการต่อสู้ทางการเมืองผ่านโลกออนไลน์ว่า คือเนื้อเดียวกันกับโลกออฟไลน์ และอินเทอร์เน็ตคือป่าออนไลน์ขนาดใหญ่ที่มีการต่อสู้ ซุ่มโจมตีทุกรูปแบบ

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ โดยวิชาชีพเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันพิชญ์ค่อยๆ ขยับความเข้าใจ และเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อออนไลน์ทั้งผ่านการศึกษาวิจัยและการใช้งานจริง

พิชญ์ใช้งานสื่อออนไลน์ในหลายๆ มิติ ทั้งการเอาไปประกอบการเรียนการสอนในบางวิชาเช่น การเมืองไทยสมัยใหม่ และแม้แต่การเล่นกับเครื่องมือใหม่ๆ ผ่านเว็บไซต์ประชาไทที่ผู้อ่านติดตามได้จากรายการ “บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา” ซึ่งแรกเริ่มเดิมที่เปิดตัวอย่างเกือบๆ จะเป็นมืออาชีพ มีตากล้อง เซ็ตไฟเซ็ตฉากกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง มาสู่การใช้กล้องวีดีโอแบบพกพาตัวกระจิ๋วหลิว ที่บังคับมุมมองผู้ชุมแคบลงแบบที่คนใช้งานอินเตอร์เน็ตคุ้นเคยจากเว็บแคม เหตุผลของพิชญ์ก็คือ รูปแบบเก่าๆ นั้น “เทอะทะ” และไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการนำเสนอที่ต้องการความเร็วเป็นส่วนประกอบ

ปัญญาชนบนเว็บ

การปรับตัวของพิชญ์ต่อวัฒนธรรมการสื่อสารออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เรา-ประชาไท พบว่าเขาขยายขอบเขตความอดทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์แบบสาดเสียเทเสียได้มากขึ้น นิ่งขึ้น แม้จะไม่สนุกกับสิ่งเหล่านั้นก็ตาม

"ผมไม่ได้เอ็นจอย แต่ผมรู้สึกผมปิดไม่ได้ ผมไม่ได้มีความสุขกับการถูกด่านะ แต่ผมรู้สึกว่า การเป็นปัญญาชนในเว็บมันมีลักษณะของการต้องการสาวก หรือเป็นแก๊งถล่มไปถล่มมา หรือตรรกะการโต้ในเว็บ บางครั้งมันเป็นตรรกะที่จะเผยแพร่ในงานทั่วไปก็ทำไม่ได้ เพราะบางครั้งมันเป็นการโต้วาที หยิบเรื่องเล็กเรื่องน้อยมา ถามว่ามีความเห็นกี่อันในเว็บ ที่มันเป็นเรื่องจริงจัง ส่วนใหญ่เป็นข้อสังเกตสั้นๆ แล้วถล่มคนเสร็จ มีคนเขียนเยอะๆ ก็นึกว่าถูก อาจไม่ถูกก็ได้ เพราะอาจจะมีพวกคุณเข้าไปเขียนอยู่พวกเดียว หรือเว็บนี้ก็ต้องอารมณ์นี้เท่านั้น อารมณ์อื่นไม่ได้”

แม้จะน่าขมขื่นสักเล็กน้อยแต่พิชญ์ยอมรับว่าเว็บส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนี้เอง ธรรมชาติของเว็บสำหรับพิชญ์ก็คือการรวมตัวของคนที่มีความเห็นตรงกัน ซึ่งก็ไม่ได้แปลว่าลักษณะแบบนี้แสดงถึงข้อด้อยของเว็บในฐานะพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพียงแต่สำหรับเขาแล้ว การเรียนรู้ก็มีอีกหลากหลายรูปแบบ และเว็บเป็นพื้นที่แบบหนึ่ง

“ไม่ได้เป็นรูปแบบเดียว ไม่งั้นจะมีมหาวิทยาลัยทำไม ต่อไปก็สอนตามเว็บสิ ใช่ไหม ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์สิ”

เราขอให้เขาอธิบายต่อถึงสภาพการณ์แบบพวกมากลากไปของสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะเว็บบอร์ด ซึ่งลักษณะที่เป็นพรรคเป็นพวก มีความเห็นไปในทางเดียวกันในเว็บหนึ่งๆ พวกเราอยู่เว็บนี้ พวกเขาอยู่เว็บนั้น เว็บนี้สีนี้อยากพูดภาษาสีอื่นไปอยู่เว็บอื่น แม้จะไม่ถูกเซ็นเซอร์โดยผู้มีอำนาจ แต่เสรีภาพในการแสดงความเห็นก็ถูกกดทับไว้โดยพวกมากในแต่ละเว็บอยู่แล้ว ยังไม่นับการสื่อสารผ่านความเกลียดชังและขาดความรับผิดชอบ การมีเว็บมาก มีสื่อมาก ถึงที่สุดจึงไม่ได้เท่ากับการมีเสรีภาพในการสื่อสารเสมอไป

พิชญ์เปรียบเทียบเสรีภาพกับตลาดเสรีว่าถึงที่สุดก็ต้องมีความเข้าใจว่าต้องมีการบริหารจัดการ เพื่อให้เสรีภาพดำรงอยู่ด้วย

“ดังนั้นจะมาพูดเรื่องเสรีภาพโดยเชื่อว่า การพูดมากๆ จะเป็นเสรีภาพไม่ได้ ก็เหมือนวิธีคิดเรื่องตลาด เราไปเชื่อว่ามีคนซื้อคนขายแล้วทุกคนจะลงตัว ไม่ใช่ จริงๆ มันก็ต้องมีสถาบันเรื่องตลาด เรื่องการแลกเปลี่ยนเงิน คือมันต้องมีกฎกติกาบางอย่าง เรากำลังพูดถึงว่า มันต้องเป็นกฎกติกาที่คนเขาตกลงกันได้ด้วย ไม่ใช่กฎกติกาที่กำหนดโดยคนนอกเข้าไปสั่งหรือตัดสินแทนเขา”

และบางที่ในบางโอกาส เผด็จการก็จัดการอะไรๆ ได้ดี

“การมีสื่อเยอะๆ มันจะต้องไปถึงขั้นที่การที่สื่อนำไปสู่แบบแผนความสัมพันธ์หรือกฎกติกาบางอย่าง ซึ่งคนรู้ว่านี่มันมากไป นี่มันน้อยไป จริงๆ มันมีอยู่ในบางที่ เช่น ผมเคยพูดอะไรที่มันขัดกับเรื่องนี้มากที่สุดถ้าคนที่เคยเล่นสื่อออนไลน์มาเป็นหลัก จะเข้าใจว่า ตัวแบบที่ทำให้คนอยู่ร่วมกันได้มากที่สุด คือตัวแบบที่เผด็จการที่สุด ในกรณีของเว็บหลุดโลกสมัยก่อน คือเว็บหลุดโลกมันจะมีระบบพิเศษของมันเลยก็คือมีตัวประธานอยู่หนึ่งตัว แล้วจะคอยแบ่งงานให้แต่ละคนควบคุมในแต่ละวัน ฉะนั้น คนที่เคยควบคุมในแต่ละวัน คนพวกนั้น วันนี้มีอำนาจก็สั่ง รู้สึกว่าใครพูดอะไรงี่เง่าแหลมมาก็เซ็นเซอร์เลย บล็อคเลย แต่คนที่โดนสามารถทำฎีกาหรือคำร้องไปถึงตัวใหญ่ให้พิจารณาได้ว่า คนที่ควบคุมในวันนั้นแรงเกินไปหรือไม่

“นี่มันเหมือนไม่ใช่เรื่องเดียวกัน แต่ผมกำลังพยายามจะบอกว่า ตัวอย่างในอดีตมันก็มี เรานับจำนวนเว็บไม่พอในเรื่องของเสรีภาพ การมีเว็บมากเว็บน้อยไม่เกี่ยว อาจจะมีเว็บที่ไม่ได้ทำให้เกิดการเรียนรู้เลยก็ได้ ต่างฝ่ายรู้ว่าอยู่ก๊วนไหน ก็ไปพูดกันอย่างนั้น แล้วมันก็มาด่าทอสร้างความรุนแรง สร้างความเสียหายกันก็ได้ ประเด็นของผมก็คือว่า การมีกติกาต้องเกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันเอง มันต้องกินเวลาและต้องมีความอดทน ไม่ใช่เชื่อว่าเราคือองค์ประธานที่เข้าไปทำเสร็จแล้วไม่มีใครตรวจสอบเราได้ แม้กระทั่งในหมู่เว็บใต้ดินที่ด่าทอกันหยาบคายที่สุด ก็ยังมีข้อห้ามเลย เยอะแยะ ถ้าใครละเมิดกติกาก็ถูกเตะออกจากชุมชนนั้น แต่ว่าในยุคนั้นมันก็มีคนๆ หนึ่งที่สามารถมาแก้ทุกเรื่อง ใช่ไหม”

ประเด็นสื่อออนไลน์ไม่ได้มีแค่เรื่องปะทะกับรัฐ

แน่นอนว่าทุกวันนี้ยังไม่มีการวิจัยเรื่องพฤติกรรมออนไลน์ที่หนักแน่นอ้างอิงได้ การสนทนากับผู้คนจำนวนมากอาจจะได้ข้อสังเกตบางระดับ พิชญ์ก็ตั้งข้อสังเกตเช่นกันว่า ทุกวันนี้เมื่อพูดถึงสื่อออนไลน์ ประเด็นที่แหลมออกมาตำตาผู้สนทนาก็มักอยู่กับเรื่องการต่อสู้กับอำนาจรัฐ แต่ในฐานะนักวิชาการที่สนใจบทบาทของสื่อออนไลน์กับการเคลื่อนไหวทางสังคม พิชญ์มองว่ายังมีประเด็นอื่นๆ ที่ต้องศึกษาวิจัยและพิสูจน์สมมติฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการสื่อสารในโลกออนไลน์

“ตอนนี้เราพูดได้แค่ข้อสังเกต ที่ผมต้องการจะบอกก็คือว่า เวลาเราพูดถึงสื่อออนไลน์ ประเด็นเรื่องเสรีภาพ เราอาจจะไปไกลและเร็วเกินที่เราจะบอกว่ามันต้องสู้ทางกฎหมายอย่างเดียว คือมันอาจต้องสู้ แต่ มันอาจจะต้องเข้าใจโครงสร้างภาษาและพฤติกรรมด้วย”

สิ่งที่ยังขาดคือการศึกษาวิจัย

“ผมกำลังคิดว่ามันยังไม่มีการวิจัยเรื่องโลกออนไลน์อย่างเป็นระบบ คือตอนนี้เวลาทำเรื่องโลกออนไลน์โดยเฉพาะกับเรื่องการเมือง ก็จะวนอยู่กับเรื่องเสรีภาพและกรอบกฎหมาย แต่ไม่ได้อธิบายพฤติกรรมของโลกออนไลน์อย่างเป็นระบบ คือในทางรัฐศาสตร์มันอธิบายได้ เหมือนกับยุคหนึ่งในเมืองไทยมันเริ่มมีการเลือกตั้งก็มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งเริ่มมาศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้ง ดังนั้น มันก็คงจะต้องมีคนสื่อสารพฤติกรรมของโลกออนไลน์ด้วย ไม่ใช่มีแต่คนที่ออกไปต่อสู้เพื่อสิทธิของโลกออนไลน์ คือพวกคุณก็ทำไป แต่ควรมีงานวิจัยที่รองรับว่าพฤติกรรมของโลกออนไลน์เป็นอย่างไร โครงสร้างทางภาษา โครงสร้างข้อถกเถียงของโลกออนไลน์เป็นอย่างไร ซึ่งข้อสังเกตบางอันมันจะเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ เช่น มันจะมีคนแบบหนึ่งที่ตอนนี้ถนัดแต่เขียนอะไรที่อยู่ในออนไลน์ ไม่สามารถเขียนอะไรในโลกออฟไลน์ได้แล้ว หมายความว่า การอ้างอิงก็อาจจะไม่ต้อง หรือตรรกะในการวิจารณ์ก็จะรุนแรงมาก และเขียนแล้วก็คาดว่าหวังว่าจะมีคนมาอ่าน มาชอบ ไม่ชอบ ด่ากัน แต่มันอาจจะเป็นคนละโลกกับการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ ซึ่งอาจจะมุ่งหวังว่าจะเรียนรู้ที่จะอยู่ในโลกแบบที่เข้าอกเข้าใจคนอีกฝ่ายหนึ่ง มันอาจจะเป็นโลกที่เปิดโอกาสให้เกิดการโต้เถียงอย่างรุนแรงแล้วก็มีคนมุง แต่อาจจะไม่ได้เป็นโลกซึ่งมีกระบวนการในการตรวจสอบอย่างจริงจัง ผมไม่ได้หมายความว่าดังนั้นไม่ควรจะมีเสรีภาพนี้ แต่ว่าเราควรจะเข้าใจรูปแบบ เหมือนกับวงการนิเทศศาสตร์ก็จะเข้าใจว่าโลกของทีวีก็จะมีโลกแบบนี้ โลกของหนังสือพิมพ์ ก็กลับไปสู่สิ่งที่เรียกว่า medium is a message (สื่อคือสาร) คือรูปแบบของสื่อมันก็กำหนดโครงสร้างเนื้อหาและโลกทัศน์ได้ด้วย

“ผมคิดว่าเราต้องไปถึงขั้นนู้น เราอย่าเพิ่งไปมองแค่ว่าสื่อออนไลน์คือสื่อที่เผชิญปัญหากับรัฐอย่างเดียว แต่เราต้องไปอธิบายพฤติกรรมของสื่อออนไลน์ด้วยว่ามันมีลักษณะยังไง มันจริงหรือเปล่าที่ตอนนี้คนพยายามอ้างว่าสื่อออนไลน์มีปัญหา เพราะไม่มีการตรวจสอบกรองให้ดี แล้วสื่อออฟไลน์ก็นำไปใช้ นั่นมันน่าจะเป็นความผิดที่สื่อออฟไลน์ ไม่ใช่สื่อออนไลน์ แล้วคำถามว่าสื่อออฟไลน์ต่างๆ มันไม่เต้าข่าวเหรอ มันก็ไม่ต่างกัน เพราะฉะนั้นนั่นอาจไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของสื่อออนไลน์ก็ได้ สื่อออนไลน์อาจเป็นสื่อซึ่งมีลักษณะที่เรายังไม่ได้อธิบายมันอย่างเป็นระบบ

“และการนำเสนอประเด็น บทสนทนาในสื่อออนไลน์เป็นบทสนทนาที่นำไปสู่ความรุนแรงได้ง่ายหรือเปล่า เราอาจจะพบแพทเทิร์นของการพูด เช่น มันจะมีคนกลุ่มหนึ่งพูดแบบหนึ่ง อีกกลุ่มพูดแบบหนึ่ง อีกคนก็พยายามมาอยู่ตรงกลางๆ หรือมันเริ่มมีแบบใหม่ เช่นในเฟซบุ๊ค เริ่มมีการกดไลค์ แต่ยังไม่สามารถคอมเม้นท์ต่อจากไลค์นั้นได้ มันก็จะมีการพยายามปรับตัวเหล่านั้นไปเรื่อยๆ”

อินเตอร์เน็ตคือป่าออนไลน์

พิชญ์อธิบายว่าการศึกษาวิจัยพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์จะช่วยนำไปสู่การสร้างสิ่งใหม่ๆ ด้วย เช่น ยุคแรก อาจจะไม่มีคนคิดว่าสื่อออนไลน์มันจะสื่อสารได้สองทาง (interactive) เพราะอาจจะถูกกำหนดโดยผู้นำเสนอเนื้อหาแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปแล้ว

“มันก็ต้องเกิดจากการศึกษาพฤติกรรมแล้วก็ปรับเปลี่ยนตัวสื่อในเชิงเทคโนโลยีให้มันครอบคลุมมากขึ้น เราก็ต้องมีการศึกษาด้านนี้ควบคู่ไปกับการพูดเรื่องกรอบกฎหมาย เพื่อจะได้เห็น แต่ไม่ได้พูดไปเพื่อควบคุม เราต้องเข้าใจพัฒนาการของสื่อออนไลน์อย่างจริงจังด้วย โอเค ตอนนี้เราก็เห็นชัดว่า ประเด็นใหญ่คือเรื่องเสรีภาพ แต่มันไม่ใช่ประเด็นเดียว ถ้าเราจะต่อสู้เพื่อเสรีภาพเราก็ต้องมีความเข้าใจตัวอย่างโครงสร้างเนื้อหาบทสนทนาหรือวิธีการใช้ภาษา เพื่อเราจะได้ proof อะไรบางอย่างได้ว่าตกลงมันจริงหรือเปล่า สื่อออนไลน์ในระยะสั้นมันอาจจะมีความรุนแรง แต่ภายใต้สังคมที่มีความอดทนเพียงพอ มีอดทน (toleration) ยอมรับความแตกต่างได้มากขึ้นจริงๆ ในระยะยาวนี้ก็อาจจะก่อให้เกิดเหตุผลร่วมกันได้ แต่เราต้องมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง งานเก่าผมเคยทำไว้บ้าง แต่ก็นานแล้ว ยังไม่ได้ทำในช่วงหลังรัฐประหาร”

พิชญ์ยกตัวอย่าง บ.ก.ลายจุดเป็นข้อยืนยันของการเปลี่ยนแปลง

“ยุคแรกๆ ที่น่าสนใจมาก ในข้อถกเถียงของ บก.ลายจุด - ลายด่าง เป็นยุคแรกๆ ที่มีข้อถกเถียงว่า ไม่ควรมีการพูดหยาบคาย สมัยนั้น พูดกันง่ายๆ ว่า บก.ลายจุด หรือสมบัติ บุญงามอนงค์ เป็นฝ่ายขวาในเว็บ คือมองว่าเว็บต้องมีไว้เพื่อวิชาการ เพื่อประชาชน จะเอาพื้นที่เว็บมาพูดจาลามกไม่ได้ มันเป็นข้อถกเถียงระหว่างพี่หนูหริ่งกับแก๊งหลุดโลก แล้วมีแก๊งค์หลุดโลกไปสู้กับกระปุก พันทิป พวกเทพ พวกมาร

“วันนี้กลายเป็นว่า บก.ลายจุด เป็นหนึ่งในแกนนำที่เป็นศัตรูของรัฐแล้วกลายเป็นว่า บ.ก.ลายจุดถูกมองว่ามีพฤติกรรม subversive (ต่อต้านรัฐ/ทำลายล้าง) ตอนนี้ข้อความของเขาถูกรัฐมองด้วยสายตาแบบนั้นมากกว่า”

สิ่งที่หนึ่งที่เขาเห็นว่าเปลี่ยนไปคือ ความหมายและรูปแบบของความรุนแรง

“ความรุนแรงในเว็บอาจจะไม่ใช่ความรุนแรงเชิงความหยาบคาย เหมือนยุคก่อนรัฐประหาร ความรุนแรงก่อนรัฐประหารอาจเป็นเรื่องความหยาบคายลามก หลังรัฐประหารเห็นเลย การปิดเว็บจำนวนมาก โอเค เราพูดถึงเสรีภาพ เราเห็นว่ามันเป็นเสรีภาพทางการเมือง แต่เมื่อดูโครงสร้างพฤติกรรม เรื่องใหญ่เป็นเรื่องของการต่อสู้ทางการเมืองแล้ว เราต้องอธิบายเงื่อนไขเหล่านี้”

และปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนแปลงความหมายของความรุนแรง ส่วนหนึ่งก็คือรัฐ

“รัฐก็กระโดดลงมาในยุคนั้น (ยุคแรกๆ ของการมีเว็บบอร์ด) แต่มันเป็นรัฐแบบศีลธรรม แต่หลังๆ มันไม่ใช่ พื้นที่นี้มันถูกเปลี่ยนจากพื้นที่ใต้ดินในแบบโบราณซึ่งเป็นแบบศีลธรรม มาสู่พื้นที่ที่ผมเรียกมันว่า เป็น digital jungle เหมือนยุค 6 ตุลา คนเข้าป่า แต่หลังรัฐประหารมา พื้นที่เว็บมันคือป่า ชูวัส (ฤกษ์ศิริสุข ) เคยบอกว่าเราไม่มีป่าให้เข้า แต่อินเทอร์เน็ตมันคือป่าออนไลน์ขนาดใหญ่ที่มีการต่อสู้ ซุ่มโจมตีทุกรูปแบบ ถ้าเรามองอย่างนี้มันก็คือการกลับไปสู่ยุคการต่อสู้ เหมือนยุค 6 ตุลา แต่มันคือป่าขนาดใหญ่”


การต่อสู้ของโลกออนไลน์ ก็คือการต่อสู้เรื่องเดียวกับโลกออฟไลน์ นั่นคือ อำนาจอธิปไตย

“คือของบางอย่างเรารู้สึกว่ามันใหม่ แต่โครงสร้างเดิม ตัวอย่างเช่น คำถามคลาสสิกของอินเทอร์เน็ตก็คือ เรื่อง sovereignty(อำนาจอธิปไตย) เหมือนเดิม คำถามเรื่องอำนาจอธิปไตย ในยุคเก่านักหนังสือพิมพ์ไทยเป็นคนในบังคับประเทศอื่น รัฐฟ้องลำบาก คือสมัย ร.6 นักหนังสือพิมพ์คือคนจีน คือคนในสังกัดอื่น ปัจจุบันก็เช่นกัน เว็บต่อต้านรัฐส่วนใหญ่อยู่นอกอำนาจของรัฐที่จะไปปิด คุณก็ทำได้แค่บล็อก นี่ก็เหมือนกัน เรามักจะบอกว่านี่คือเรื่องใหม่ๆ จริงๆ มันมีตรรกะเดิมๆ ของรัฐสมัยใหม่ ที่ดำรงอยู่ ค้างอยู่ ดังนั้นจึงไม่แปลก เมื่อพูดเรื่องนี้มันสามารถโยงไปที่คนที่อยู่ต่างประเทศ ก็อาจจะอยู่ต่างประเทศจริง หรือเมื่อคุณอยู่ในประเทศยิงสัญญาณออกไป เซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศก็เคลื่อนไหวได้เหมือนกัน มันก็เกี่ยวพันกับอำนาจรัฐ”

พื้นที่ออนไลน์มีพลังจริงหรือ

อย่างไรก็ตาม การกล่าวถึงพื้นที่ออนไลน์เป็นเสมือนสมรภูมิปฏิบัติทางการเมืองไม่ต่างกับ “ป่า” ในยุคทศวรรษ 1970 อาจจะเกินจริงไปหรือไม่ ในเมื่อปฏิบัติการออนไลน์จำนวนไม่น้อยเริ่มอ่อนกำลังลง เช่น การรณรงค์ล่ารายชื่อสารพัดสารเพ ที่รัฐเริ่มเฉยๆ เพราะรู้ว่าเป็นปฏิบัติทางไกลของกลุ่มคนที่จะไม่ออกมารวมตัวกันจริงๆ ในโลกทางกายภาพ ซึ่งพิชญ์มองว่าออนไลน์และออฟไลน์ต้องเดินไปด้วยกัน ไม่อาจแยกขาด

“ก็ใช่ไง ก็มันเป็นป่า รูปแบบการต่อสู้ที่นุ่มนวล สุภาพเรียบร้อย มันไม่มีพลัง เหมือนคุณยืนอยู่ตรงป่าแล้วเอาผ้ามายืนผืนหนึ่ง มันไม่มีอำนาจ แต่ถ้าคุณซุ่มโจมตีมัน ตู้มเดียวไงถูกไหม

“คืออย่าไปมองว่า petition online ไม่มีความหมาย ไม่จริง ยกตัวอย่างกรณีการเคลื่อนไหวให้ปล่อย อ.สุธาชัย ส่วนที่มีความสำคัญที่เคลื่อนไหวให้ปล่อยตัว อ.สุธาชัย ได้มันไม่ใช่การมี petition online ธรรมดา มันคือการใช้ออนไลน์เป็น petition เป็นพื้นที่ที่ดึงคนที่ต้องมีจุดร่วม ตัวอย่างเช่น ตอนที่เราเคลื่อนไหวให้ปล่อย อ.สุธาชัย โดยทำจดหมายถึงอธิการบดี และใช้พลังของศิษย์เก่าเพื่อทวงถามว่าคนในประชาคมเราอยู่ตรงไหน แล้วเราไม่ได้ต่อสู้ ต่อต้านใครโดยตรง แต่ให้อธิการบดีไปช่วยสอบถามให้ คุณต้องดูให้ดีว่า มันไม่ใช่ว่า petition online ไม่มีความหมาย ประเด็นมันอยู่ที่ว่ามันก็เหมือนการทำสื่อที่ต้องมีประเด็น ก็ต้องรู้จักการเคลื่อนไหว มันไม่ใช่สูตรสำเร็จว่าถ้าทำอะไรออนไลน์แล้วจะมีประโยชน์ไม่จริง ก็เหมือนการแข่งขันทั่วไปที่มีทั้งคนที่ประสบความเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ เหมือนกัน เพียงแต่ออนไลน์มันช่วยสร้างพลังได้บางอย่าง แต่ไม่ได้ช่วยทั้งหมด ถ้าไม่ได้มีการเคลื่อนไหวออฟไลน์หรือการเคลื่อนไหวเชื่อมโยงกัน มันต้องมีทั้งคู่”

พลังไม่ได้อยู่ที่ออนไลน์แต่อยู่ที่ประเด็น

การพูดถึงพื้นที่ออนไลน์ในฐานะที่เป็นตัวจักรในการทำให้เกิดกระบวนการทางสังคม เป็นการมองเพียงด้านเทคนิค สำหรับพิชญ์แล้ว สิ่งที่สำคัญ คือ พล็อตและการออกแบบการเคลื่อนไหว ซึ่งแน่นอนว่า หากพลังจะเกิดขึ้นกับฝ่ายต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแล้วไซร้ สิ่งเดียวกันนั้นก็เกิดกับพลังแห่งการคุกคามเสรีภาพ หรือความไม่เป็นประชาธิปไตยที่ปรากฏอยู่ในโลกออนไลน์พอๆ กัน

“พลังไม่ได้อยู่ที่เพราะมันออนไลน์ พลังมันอยู่ที่มันมีพล็อตอะไร แล้วมันใช้ได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ แต่ไม่ใช่เพราะอ๋อ ออนไลน์ นั่นเป็นวิธีคิดแบบเทคโนโลยีกำหนด เชื่อว่าใครเข้าถึงเทคโนโลยีคนนั้นมีอำนาจ ซึ่งมันไม่จริงเสมอไป การเคลื่อนไหวออนไลน์บางเรื่องถ้าเกิดคุณต้องการการสนับสนุนบางเรื่อง มันก็อาจจะไม่สำเร็จก็ได้ แต่มันอาจจะสำเร็จถ้ามันเป็นการต่อต้านใครบางคน ซึ่งตรรกะนี้มันก็ใช้กับออฟไลน์ได้ เพียงแค่ว่า เทคโนโลยีมันช่วยให้การเคลื่อนไหวบางอย่างง่ายขึ้น แต่ไม่เสมอไป คุณต้องไปดูว่าตรรกะนี้มันเป็นตรรกะเดิมที่ใช้กันมาตลอดใช่ไหม อย่างการล่าแม่มด ที่เขาใช้คำว่า "ล่าแม่มด" ไม่ใช่เพราะมันออนไลน์ แต่ตรรกะการล่าแม่มด มันมีมาตั้งแต่ยุคกลาง อย่าไปหลงประเด็นว่าเพราะเทคโนโลยี ต้องดูว่าคนที่คุมเทคโนโลยีได้เขามีพล็อตอะไร ความสำเร็จของผู้จัดการไม่ใช่เพราะว่าเขามีเทคโนโลยี เว็บไซต์ผู้จัดการกับเว็บอื่นๆ เหมือนกัน มีเทคโนโลยี แต่ผู้จัดการสำเร็จ เพราะมันมีพล็อตบางอย่างที่อยู่ในเทคโนโลยีนั้นด้วย”

interactive สำคัญ แต่เรื่องราวก็สำคัญ

พิชญ์วิเคราะห์ถึงตัวแบบแห่งความสำเร็จที่ปฏิเสธไม่ได้ นั่นคือ เว็บไซต์ผู้จัดการ ที่กลายมาเป็นพลังทางความคิดหนุนเสริมขบวนการเคลื่อนไหวของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างประสบความสำเร็จยิ่ง

“ออนไลน์ทั้งหมดมันมีขึ้นเพื่อรองรับการเคลื่อนไหวจริงบนท้องถนนด้วย และมีขึ้นเพื่อทำให้การเคลื่อนไหวออฟไลน์ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เรื่องความรวดเร็ว การสร้างชุมชน แต่มันไม่เสมอไป มันตอบไม่ได้หรอกว่าคนออนไลน์ทั้งหมดออกมาชุมนุม แต่มันอาจจะเป็นคนที่ช่วยให้ข้อมูลใหม่ๆ ให้คนที่ชุมนุมเอาไปใช้ก็ได้ และภาพที่เกิดจากที่ชุมนุมก็ทำให้คนที่อยู่ในโลกออนไลน์เข้ามาดูได้ ผมไม่ใช่คนแรกที่พูดว่าโลกออนไลน์กับออฟไลน์อย่าไปแบ่งแยกจากกัน มันเป็นโลกที่เชื่อมโยง ความสำคัญคือการหาความเชื่อมโยงเหล่านี้ เพราะมันคือพื้นที่ทางสังคมใหม่ แต่เมื่อคนๆ เดิมใช้ ก็ยังมีโครงสร้างของโลกออฟไลน์เข้าไปเกี่ยวพันอยู่ และในทางการเมือง กรอบใหญ่ก็คือกรอบของโลกออฟไลน์ทั้งนั้นที่เข้าไปอยู่ในนั้น”

พื้นที่ส่วนตัวกลายเป็นพื้นที่การเมือง

เราอาจจะพูดถึงเว็บที่ประสบความสำเร็จในการเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่พิชญ์บอกว่า ถึงที่สุดแล้ว เว็บในฐานะที่เป็นเครื่องมือก็สร้างข้อจำกัด และไม่ใช่ทุกเว็บจะประสบความสำเร็จ แต่สิ่งหนึ่งที่พื้นที่ออนไลน์ได้ทำหน้าที่ไปแล้วบางส่วนจากความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้ก็คือ การเปิดพื้นที่ส่วนตัวออกให้เห็นแง่มุมทางการเมืองของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต

“เว็บทุกเว็บไม่ได้ประสบความสำเร็จ มันประสบความสำเร็จอยู่ไม่กี่เว็บ ก็เหมือนกับคนมีตังค์ก็อาจไม่ได้สำเร็จเสมอไป มันมีหลายเรื่อง เราต้องตอบคำถามความสำคัญทางสังคม ถ้าเรามองว่า ออนไลน์ออฟไลน์คือ การสื่อสาร เราก็ต้องบอกว่ามันมีความสัมพันธ์เหล่านี้ ซึ่งมันเข้าไปเป็นเงื่อนไขในการกำหนดการสื่อสารอย่างไร โอเคในยุคแรก เฟซบุ๊ค หรือสื่อทางสังคมใหม่ๆ มันเกิดจากการหวนระลึก อยากมีชุมชนของตัวเอง เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงคนซึ่งห่างจากกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เชื่อมโยงมันเข้าด้วยกันคือมิตรภาพกับความเชื่อถือ ทีนี้เมื่อประเด็นทางการเมืองมันแทรกเข้ามา มันได้แบ่งสิ่งเหล่านี้ออกจากกัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ มันเป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์ คุณเริ่มตกใจว่า เพื่อนของคุณคิดไม่เหมือนกับคุณทางการเมือง มันก็ย้อนกลับไปสิ่งเดิมๆ ซึ่งสังคมเราพูดตลอดว่า อย่าพูดเรื่องการเมืองกันเลย ซึ่งเมื่อก่อนนี้ การพูดเรื่องการเมืองมันเป็นทางเลือก หมายถึงว่า คุณเลือกเข้าไปในเว็บบอร์ดการเมือง แต่ตอนนี้การเมืองมันวิ่งเข้ามาหาคุณในเฟซบุ๊ค ในเครือข่ายทางสังคม การเมืองมันทะลุทะลวงเข้ามาในสื่อทางสังคม มันชี้ให้เห็นว่ามันแยกความเป็นส่วนตัวกับสาธารณะยากแล้ว”

“ถ้าดัดจริตใช้คำแบบ gender มันก็คือ Personal is politics ด้วย คือพื้นที่ส่วนตัวคุณมันกลายเป็นพื้นที่สาธารณะไปด้วย บางคนก็อาจอยากเป็นสาธารณะ คือเราอยากบอกว่าเราคิดอะไร แต่ปัญหาคือเราอยากบอกทุกคนรึเปล่า มันมีคนอื่นที่เราไม่รู้จักบวกเข้ามาเรื่อยๆ เพื่อนของเพื่อนๆ ในยุคแรกๆ เมื่อมันไม่เป็นพื้นที่การเมือง มันก็ไม่มา แต่มันมาประจวบเหมาะกับเรื่องการเมืองของเรา
คือเฟซบุ๊คมันก็ออกมาเพื่อแก้ปัญหาโบราณคือคนสมัยแรกๆ ทำเว็บเองไม่เป็นเขียนเว็บเองไม่ได้ และบล็อกก็ไม่ได้เชื่อมโยงกันเร็วอย่างเฟซบุ๊ค ที่สร้างเครือข่ายในวันเดียว มีเพื่อนเป็นพันเป็นหมื่นคนได้ และกลายเป็นปัญหาคือยุคหนึ่งเราอาจจะอยากพูดเรื่องการเมือง แต่อีกยุคเราก็ไม่อยากพูดแล้ว”

กฎกติกาของการติดต่อสื่อสารจะเกิดออกมาจากพวกเราได้อย่างไร

นอกเหนือจากเรื่องการปิดกั้นโดยรัฐ ประเด็นที่อยู่ร่วมสมัยกันก็คงไม่พ้นเรื่องการกำหนดกฎกติกามารยาทของผู้ใช้สื่อออนไลน์ ทั้งในแง่ความหยาบคาย การหมิ่นประมาท และปล่อยข่าวลวง ข้อความที่ไม่ได้คัดกรองตรวจสอบ พิชญ์เห็นว่ามีความจำเป็นเช่นกันที่จะต้องออกแบบกติกาในการอยู่ร่วมกันในโลกออนไลน์ แต่สิ่งสำคัญสำหรับเขาคือ กติกาเหล่านั้นต้องมาจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเอง

“ถ้าเราพูดถึงการจัดการ เราจะมีประเด็นท้าทายว่า กฎกติกาของการติดต่อสื่อสารกันมันจะเกิดออกมาจากพวกเราได้อย่างไร ในเมื่อโลกออฟไลน์มีการทำอย่างเป็นระบบมาก เช่น มีสภา แต่ออนไลน์มันไม่มีคอนเซ็ปต์ความเป็นตัวแทนที่จะเข้าไปต่อรองกับรัฐอย่างจริงจัง

“มันก็จะมีกลุ่ม advocate อย่างเครือข่ายพลเมืองเน็ต ทะเลาะกันจริงๆ ก็เถียงกันอีกว่า ตกลงคุณเป็นตัวแทนใคร ใช่ไหม ไม่ได้เป็น เป็น advocacy group ซึ่งไม่สามารถอ้างได้ว่า เป็นตัวแทน”

กฎกติกามารยาทสำหรับพิชญ์จึงไม่ใช่การร่างขึ้นโดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หากแต่ต้องการ “เวลา” และความอดทนรอคอย กลับไปหาคำถามที่คลาสสิกที่สุดของการสื่อสาร อันหนึ่งก็คือความน่าเชื่อถือ (trust) กลับมาแสวงหา trust กลับไปหากลุ่มเล็กๆ คือชุมชนใครชุมชนมัน

“แล้วสักพัก ก็เริ่มอยากจะเรียนรู้คนอื่นอีก ก็ต้องหากติกา แต่เรายังไปไม่ถึงไงฮะ คือผมพยายามมองในมุม revolution มันค่อยๆ เปลี่ยนค่อยๆ ปรับ ส่วนหนึ่งเราก็เป็นคนซึ่งอยู่ในนั้น แต่ส่วนหนึ่งเราก็ต้องศึกษา พูดง่ายๆ กลับไปหาคำถามคลาสสิก ที่มีความเป็นจริงประกอบ คือ สังคมเกิดได้อย่างไร รัฐเกิดขึ้นได้อย่างไร คือมันกลับไปถามคำถามคลาสสิกแบบนั้นแหละ แต่ว่าเราอาจต้องอธิบายมันผ่านประวัติศาสตร์จริง แต่มันไม่ควรจะเป็นประวัติศาสตร์ง่ายๆ ที่เขียนกันมา โดยมองแค่ตัวแปรสองตัวเป็นหลัก ก็คือตัวแปรกฎหมาย กับตัวแปรประชากรเว็บ เราต้องไปศึกษาให้มันไกลขึ้นว่าเขามีพฤติกรรมอะไร และมันได้ก่อให้เกิดแบบแผนความสัมพันธ์แบบไหนบ้าง ในยุคนี้พื้นที่ในเว็บมันเชื่อมประสานกันได้มาก ในยุคนี้มันเกิดรอยร้าว เกิดการต่อสู้กันขึ้น คำถามมันไม่ใช่คำถามเดียวเรื่องกฎหมาย มันเป็นคำถามเชิงพฤติกรรม เชิงความหมาย ทำไมคนเล่นเว็บในแต่ละยุค ปัจจุบันคนเล่นเว็บมากขึ้นหรือน้อยลง หรือรูปแบบเว็บมันเปลี่ยน ทำไมทวิตเตอร์มีความสำคัญมากขึ้น ทำไมเฟซบุ๊คมีความสำคัญมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะต้องตอบว่ายุคหนึ่งคนเล่นเว็บ เพราะมีคอมพิวเตอร์ แล้วเราก็ไปมองแต่ว่าคอมพิวเตอร์คือทางออก ไม่ใช่ สุดท้ายแล้ว มันกลับมาที่โทรศัพท์มือถือ เอสเอ็มเอสกลับมาแรงอีก พอเอสเอ็มเอสกลับมาแรงอีก มันก็เกิดโทรศัพท์มือถือซึ่งใหญ่ขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง จากนั้น ทวิตเตอร์มันจะตอบโจทย์นั้น เพราะคุณไม่ต้องเข้าเว็บที่ทำงาน เพราะที่ทำงานบล็อคเว็บคุณ นี่ไม่ใช่เรื่องกฎหมายรัฐแล้ว คุณกำลังไปในระดับสังคม เมื่อที่ทำงานบล็อคเว็บ มีเว็บ filtering มากขึ้น ทางออกก็คือใช้โทรศัพท์ของคุณ คุณมี BB คุณจะแคร์หรือคุณก็นั่งทำงานไปเล่น BB เจ้านายจะมาเล่นอะไรคุณ มันก็เปลี่ยนโจทย์ text มันก็กลับมาอีก text มันไม่ไปไหน มันอยู่ที่ตัวเทคโนโลยี ทีนี้ เฟซบุ๊ค สั้นๆ เล็กๆ พอเห็นรูป อย่าเขียนเยอะ เพราะจะได้อ่านเร็ว ส่งเร็ว ทวิตเตอร์ ก็คือเอสเอ็มเอสแบบหนึ่ง medium ของการส่งก็กลับมา เป็นระยะเวียนไปเวียนมา มันไม่ใช่โลกที่เป็นคอมพิวเตอร์แล้วมันจะคอมพิวเตอร์ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ มันก้วนกลับมาไอแพด เน็ตบุ๊ค ใช่ไหม มันหนีไปไม่พ้นเรื่องเหล่านี้เท่าไหร่ในยุคนี้ ตอนนี้เวลาเราพูดถึงเว็บ การดีไซน์เว็บ จะพูดถึงความละเอียดหน้าจอเหมือนเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วหรือ มาตรฐานพันกว่า เข้าไอโฟนไม่ได้แล้ว มันเปลี่ยนแล้ว คุณจะดีไซน์เว็บแบบไหน เมื่อก่อนคิดว่าเว็บต้องละเอียดขึ้นเรื่อยๆ ต้องอัดข้อมูลเยอะๆ ไม่ใช่ สุดท้ายต้องโหลดเร็ว กูเกิ้ลมาพลิกหมดเห็นมั้ย มันเปลี่ยนไปตลอดเวลา เราต้องเข้าใจแพทเทิร์นแล้วไปดูว่าการเมืองมันสัมพันธ์กันอย่างไรมากขึ้น

“ผมพยายามบอกว่าเราพยายามศึกษาเว็บอย่างจริงจังและมันไม่มีสูตรสำเร็จ แต่โอเค การเคลื่อนไหวทางการเมืองสิทธิเสรีภาพกำลังไป แต่เราเข้าใจคนที่เราสู้ให้ด้วย อย่าไปคิดง่ายๆ ว่าโอเคเราสู้เพื่อกรอบกฎหมายอย่างเดียว คือมันก็เหมือนแก๊งเฟมมินิสต์นะ มีที่อยากเหมือนผู้ชาย หรือลึกขึ้นไปเรื่อยๆ ต่อไปเราก็ต้องศึกษาเว็บมากขึ้น แล้วไม่ใช่เราศึกษาเพื่อหนีจากโลกแห่งความเป็นจริง เพราะมันก็คือโลกแห่งความเป็นจริงอีกแบบหนึ่ง”

ข้อเสนอเพื่อการศึกษา หอจดหมายเหตุออนไลน์

พิชญ์เสนอว่า สิ่งที่ควรทำก็คือการเก็บเอกสาร ทำหอจดหมายเหตุออนไลน์ โดยต้องเปิดใจกว้าง ยอมรับให้มีการจัดเก็บข้อมูลทุกๆ อย่างเพื่ออ้างอิงได้ ไม่ใช่ไล่ลบ แม้กฎหมายห้ามเผยแพร่ก็ต้องทำการจัดเก็บ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นสิ่งที่เขากำลังคิดศึกษาเป็นงานวิจัย

“ผมกำลังจะทำวิจัย สองเรื่องคือ หนึ่ง ทำความเข้าใจพฤติกรรม และสอง เราจะจัดเก็บความเห็นแบบนี้ให้คนเข้ามาอ่านได้อย่างไร สื่อสิ่งพิมพ์เราตัดเก็บคลิปปิ้ง ทำอ้างอิงได้ โลกยังยอมรับการอ้างอิงในอินเทอร์เน็ต แต่คุณไม่เก็บ การเก็บไม่ได้แปลถึงเสรีภาพที่จะด่าพ่อล่อแม่ใคร ต้องแยก แต่เราต้องต่อสู้เพื่อให้เกิดการจัดเก็บ ทุกคนต้องส่ง โดยเชื่อถือคนที่เราส่งไป ตำรวจเก็บไว้หมดแล้ว ก็เก็บให้เป็นระบบ แต่อันนี้ไม่แน่การต่อสู้เพื่อให้เก็บทุกอย่าง วันหนึ่ง มันจะเป็นพื้นฐานการต่อสู้เรื่องเสรีภาพก่อน เราเก็บว่า เรายอมรับว่ามัน exist คนชอบเราไม่ชอบเรา มี เพราะมันไม่มีหลักฐานในการฟ้องไง แต่จะให้เข้าถึงได้อย่างไร เป็นผลต่อสังคมอย่างไร สังคมต้องเป็นคนกำหนด

โดยลักษณะการทำงานของหอจดหมายเหตุออนไลน์ที่เขาคิดไว้คร่าวๆ ก็คือเจ้าของเว็บต้องส่งเนื้อหามายังหอจดหมายเหตุนี้เพื่อทำการจัดเก็บเป็นระบบ

“มันต้องมีการเก็บหลักฐาน เพราะคำพิพากษายุคหนึ่ง มันเปลี่ยนแปลงได้ หลักฐานที่ถูกมองในแบบหนึ่ง ในวันรุ่งขึ้นก็อาจจะมีการมองย้อนกลับ เมื่อมองย้อนกลับในระยะยาวมันทำให้เราเข้าใจรูปแบบเชิงวรรณกรรมได้ไหม รูปแบบการสื่อสารได้ไหม ราชบัณฑิตยังมีการบัญญัติศัพท์ใหม่เลย ของพวกนี้เราต้องยอมรับก่อนว่า มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกต่อไป มันคือเรื่องจริง เมื่อมันเป็นเรื่องจริง ก็อย่าไปทำอะไรเล่นๆ อย่างเดียว มันไปกระทบคนอื่น ก็ต้องอยู่ในกรอบกฎหมาย แต่โอเค มันอาจจะต้องมีกฎหมายอีกชุดหนึ่งก็ว่ากันไป อย่างมาเลเซียที่พื้นที่เว็บมีเสรีภาพมากกว่าข้างนอก มันมีได้ แต่เราต้องมองอย่างเข้าใจก่อน ไม่ใช่มองใครเป็นมิตรเป็นศัตรูอย่างเดียว คือโอเค เวลาผมพูดมันก็ดูไม่แรง ก็ต้องเข้าใจทุกฝ่าย พยายามที่จะอยู่ด้วยกัน มันไม่แปลกเลย คือทำให้ทุกฝ่ายยอมรับในเสรีภาพ ยอมรับในหลักฐาน มันไม่แปลกเลยที่จะบอกว่า ผมไม่เห็นด้วยกับคุณ แต่เห็นด้วยให้จัดเก็บ เพราะจะได้ฟ้องคุณได้ อีกฝ่ายบอก ให้เก็บ เพราะต้องกล้ายอมรับสิ่งที่ผมสู้ ทีนี้กฎหมายเรื่องหมิ่นไม่หมิ่นก็ต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมากขึ้น แต่พื้นฐานคือ เราต้องยอมรับก่อนว่ามันมีพื้นที่และมันจริงจัง เมื่อมันกระทบ ทุกคนที่เข้ามาเล่นก็ต้องมีวิจารณญาณ ก็ต้องรู้”

สิ่งที่พิชญ์เสนอนั้นดูจะเป็นไปได้ยากยิ่ง ภายใต้บรรยากาศของการพยายาม ลบความเห็นต่างและคู่ต่อสู้ทางการเมือง แต่พิชญ์ยืนยันว่าสิ่งที่เขาเสนอนั้นเป็นเรื่องของ “ความศิวิไลซ์”

“จะด่าใครจะเกลียดใคร ไม่ใช่ไล่ลบ โอเค แม้บางอันกฎหมายห้าม แต่อย่าลบ ให้เก็บไว้ โอเคเข้าถึงไม่ได้ภายใน 20-30ปีก็ว่าเหมือนเอกสารแห่งชาติ อันนั้นผมไม่ว่า ก็ต้องต่อสู้ในเชิงเสรีภาพ แต่ให้ดูหรือไม่ คนละเรื่อง แต่ห้ามลบ แต่ต้องมี รัฐบาลและหอสมุดแห่งชาติต้องมีการจัดเก็บเว็บ เพื่อการศึกษาในอนาคตเมื่อย้อนกลับมา เพราะมันเป็น civilization”

“ผมไม่ได้ extreme เสรีภาพเลย เชื่อแบบอนาธิปไตยว่าทุกคนจะตกลงกันได้เอง ไม่ใช่ เราจะสู้เรื่องเสรีภาพทางหนึ่งสู้เรื่องกฎหมาย อีกทางต้องสู้เรื่องการเก็บเนื้อหาเว็บ จะปิดไม่ปิดต้องเก็บให้หมด มันต้องคิดวิธีเก็บ โดยหน่วยงานรัฐหรืออิสระก็ได้ ข้อมูลมันเข้าถึงได้ก็เก็บ จะฟ้องก็มาฟ้อง เว็บ คุณด่าคนอื่น คุณก็ต้องผิด คุณก็ต้องถูกฟ้องครับ ไม่เกี่ยว ผมไม่ได้บอกว่าเว็บคือด่าใครก็ได้ hate speech มีหลักฐานก็ฟ้อง แต่ไม่ใช่ใช้กฎหมายที่ฟ้องแบบครอบจักรวาลแบบนี้ หรือกระบวนการยุติธรรมมันไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ใช้เสรีภาพ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไม่ใช่เสรีภาพในการแสดงความเกลียดชัง มันคนละเรื่องกัน แต่ตรงนี้สังคมต้องช่วยกันกำหนด แต่อย่างน้อยเราต้องมีเสรีภาพกับมัน exist จะฟ้องไม่ฟ้องก็อยู่ที่ดุลพินิจของศาลแล้ว แล้วศาลก็ต้องตอบสนองต่อความต้องการของสังคม แต่มันต้องเริ่มยืนพื้นฐานนี้ก่อน ตรงนี้สำคัญ ไม่ใช่ห้ามหมดหรือลบหมด ถ้าสังคมต้องการจะฟ้องและทำให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ก็ต้องเก็บ เพราะมันจะได้เป็นบทเรียนว่าครั้งหนึ่งมันฟ้องได้ ครั้งนึงมันเปลี่ยน คำพิพากษาคุณเก็บ หลักฐานคุณก็ต้องเก็บ”

พื้นที่ออนไลน์เปิดบทบาทให้ผู้หญิงมากขึ้น

พิชญ์ทิ้งท้ายขอสังเกต อีกประการที่กระตุ้นให้เขาอยากศึกษานั่นคือ บทบาทของผู้หญิงต่อประเด็นการเมือง และศาสนา โดยยกตัวอย่าง คำ ผกา และภัควดี (ไม่มีนามสกุล) ซึ่งออกมาวิพากษ์วิจารณ์พระและองค์กรทางการเมืองอย่างเผ็ดร้อน โดยใช้พื้นที่ออนไลน์เป็นสนามหลัก ซึ่งเขาบอกว่า เป็นสิงกระทบถึงรากฐานจริงๆ ของสังคม

“เรากำลังเห็นบทบาทใหม่ๆ ที่ผู้หญิง เริ่มใช้สติปัญญาในการท้าทายรากฐานของสังคม สำหรับผมนะครับ นี่คือกระแสเฟมมินิสต์ที่ชัดเจนที่สุดของสังคมไทย ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยกับเขาหรือไม่ นี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่กระแสเฟมมินิสต์เป็นกระแสเฟมมินิสต์ของไทยจริงๆ ที่ไม่ใช่ต่อสู้แค่กรอบกฎหมาย หรือลอกตำราฝรั่ง แล้วมาสอนหนังสือ...ไม่ใช่ การต่อสู้ของคำ ผกาและภัควดี ไม่ได้บอกว่าเขาถูกนะ แต่มันกำลังปลุกกระแสผู้หญิงชนชั้นกลางที่ตั้งคำถามของการครอบงำของสังคมนี้ผ่านอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ในสังคม ที่ผูกกับเรื่องการเมืองและศาสนา มันเป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงวิจารณ์ศาสนาอย่างเป็นระบบ และการตอบโต้ของพระไพศาลก็น่าสนใจนะ ถ้าถามผู้หญิง แมนนะ หนีไม่พ้นภาพของผู้ชาย เพราะพระมีสไตล์การพูดของพระ และพระก็เป็นผู้ชาย”

พิชญ์บอกว่า เหตุหนึ่งที่ผลักให้เกิดปรากฏการณ์นี้เพราะผู้หญิงใช้อินเตอร์เน็ตเยอะ

“แล้วเขาพูดอะไรกัน มันไม่ใช่เรื่องปัญญาอ่อนอีกแล้ว มันมีข้อถกเถียงเหล่านี้ มันเกิดคำถามใหม่ๆ ผู้หญิงแสดงความเห็นเรื่องเสื้อแดงแรงมาก เริ่มถามถึงความชอบธรรม ใช้ปัญญามากกว่าอารมณ์แล้ว ไม่ใช่เรื่องสร้างวิชาการจากอารมณ์ผู้หญิงแบบทฤษฎีเฟมมินิสต์ฝรั่ง เฟมมินิสต์ไทย ผู้หญิงใช้ปัญญา เถียงกับพุทธศาสนาแล้ว โดยถามคำถามว่า ควบคุมไปทำไม หรือการควบคุมนี้มันเอื้อต่อรัฐหรือไม่ ถามมากขึ้นแล้ว ไม่ใช่เสรีภาพว่าผู้หญิงจะไปบวช แต่ผู้หญิงได้อะไรจากพุทธศาสนา”

ในสายตาของพิชญ์ ปรากฏการณ์ผู้หญิงวิพากษ์พระนี้จะไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ หากแต่มันจะขยายวงออกไปยังพื้นที่ออฟไลน์และกลับมาทรงพลังกว่าเดิมในโลกออนไลน์

“คุณสังเกตนะว่ามันกำลังจะนำไปสู่การต่อสู้ใหม่ ในเฟซบุ๊คก็จะเริ่มมากขึ้น นี่ต่างหากคือการเคลื่อนไหวใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในสังคม การเคลื่อนไหวในการต่อสู้เรื่องเพศ ที่ไม่เกี่ยวกันกับเรื่องเซ็กส์ มันท้าทายคำสอนทางศาสนา มันถามเรื่องความเป็นธรรม ขณะที่ในยุคที่แล้ว มันมีกระแสผู้หญิงที่ไปอยู่ในศาสนา "เข็มทิศชีวิต" "สปาอารมณ์" อะไรมากมาย มันเยอะไปหมด ที่ผู้หญิงมองว่าศาสนาพุทธช่วยเขา แต่นี่คุณกำลังเจอกระแส radical feminist แบบไทยๆ จริงๆ ที่หลุดจากทฤษฎีฝรั่งเพียวๆ มาถามคำถามที่ท้าทายสังคมไทยอย่างจริงจัง แล้วมันผูกกับการเมืองชาติด้วย เพราะมีพระเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการปฏิรูป และความคิดของพระบางคนถูกนำไปใช้สร้างความชอบธรรมให้กับระบบการเมืองใหม่ และนี่ไม่ใช่การต่อสู้กับพระสงฆ์แก่หรือ Establishment (กลุ่มอำนาจเก่า) ในความหมายของพระเถระ มันเป็นการต่อสู้ทางปัญญาระหว่างพระที่ถูกอ้างว่าเป็นพระของคนรุ่นใหม่กับนักวิชาการทางเฟมมินิสต์ ที่ท้าทายประเด็นการเมืองและผู้หญิง ฯลฯ ตรงนี้อินเทอร์เน็ตกำลังจะทำให้พื้นที่นี้ขยายตัว และน่าสนใจเพราะไม่ใช่พื้นที่ที่เป็นเรื่องของการต่อสู้เชิงความหยาบคายหรือเสรีภาพทางเพศ มันผูกโยงว่าโลกของการเมืองมันสัมผัสกับเรื่องหลายเรื่อง

ไม่ปะทะตรงๆ แต่สร้างสรรค์เพื่อทวงพื้นที่

ท้ายที่สุด การต่อสู้ในโลกออนไลน์สำหรับพิชญ์นั้นดำเนินไปได้หลากหลายรูปแบบ แม้การเข้าปะทะของผู้หญิงต่อการเมืองและศาสนาที่กล่าวมาข้างต้นจะน่าตื่นตาตื่นใจและต้องติดตามต่อไปด้วยใจระทึก แต่ในอีกด้านหนึ่ง การเลือกสร้างสรรค์วิธีการสื่อสารโดยไม่เข้าปะทะตรงๆ

“การมองเรื่องการมีอำนาจไม่ใช่เรื่องของการปะทะอย่างเดียว หรือว่าใครปิดใครได้ โลกออนไลน์มันอาจเป็นพื้นที่ของความสร้างสรรค์ได้ ความสร้างสรรค์มันถูกกำกับไม่ได้ มันมีคำบางคำที่แบบไม่เห็นรู้เรื่องเลย งง เช่น อยู่ๆ ก็ตั้งนามสกุล"รักใครก็ได้" ในเฟซบุ๊ก มันเป็นพื้นที่ที่เกิดความสร้างสรรค์ใหม่ๆ ได้ คุณคุมไม่ได้หมดหรอก คือความสร้างสรรค์ไม่ใช่การปะทะหรือแฮกอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างภาษาใหม่ในการสื่อสารขึ้นมา ซึ่งไม่มีใครรู้ หรืออยู่ดีๆ ก็มีเอารูปลงเว็บ เป็นรูปตู้เอทีเอ็ม แล้วมีคนกำลังถือบัตรอยู่ ผมเลยนึกว่าเป็นเรื่องต่อท่อน้ำเลี้ยง”

พิชญ์ยกตัวอย่าง และว่า รูปแบบสร้างสรรค์เหล่านี้ เป็นอีกรูปแบบที่ทำให้ทวงคืนพื้นที่บางส่วนที่ขาดหายไปได้เช่นกัน – แน่นอน เขาพูดไว้แต่ต้นแล้วว่า การเรียนรู้มีหลายรูปแบบ และการสื่อสารก็เฉกเช่นกัน

ที่มา ประชาไท




 

Create Date : 16 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2553 0:34:36 น.
Counter : 1408 Pageviews.  

ซีรีส์สื่อใหม่กับความขัดแย้งทางการเมืองตอนที่5:จะชอบหรือไม่ชอบ อนาคตสื่อกระแสหลักก็ต้องมุ่งสู่นิวมีเดีย

นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ บรรณาธิการอาวุโสฝ่ายบริหาร บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ตอบสิบคำถามว่าด้วยสื่อใหม่กับสื่อเก่า ซึ่งเธอบอกว่า “คนทำสื่อกระแสหลักหลายคนไม่เข้าใจธรรมชาติ นิว มีเดีย ไม่เข้าใจธรรมชาติมนุษย์ ไม่เข้าใจว่าถึงที่สุดแล้ว แม้แต่ตัวคุณเองก็ต้องการความจริง และ เสรีภาพ”

นิธินันท์ เป็นนักกิจกรรมมาตั้งแต่ครั้งเป็นนักศึกษา ในรุ่นที่มีชื่อเรียกว่า “คนเดือนตุลา” เป็นอดีตสมาชิกวงดนตรี “ต้นกล้า” และเคยเป็นสมาชิกสภาองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2517

เริ่มงานในฐานะผู้สื่อข่าวที่ค่ายมติชน จากนั้นย้ายมาสู่ชายคาเครือเนชั่น

ในโมงยามปัจจุบัน แม้โดยตำแหน่งหน้าที่การงานแล้ว เธอคือผู้บริหารในสื่อกระแสหลัก แต่ปลอดจากเวลาทำงาน เราพบเจอเธอได้ในเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ (บ่อยครั้งเล่นผ่านอุปกรณ์สื่อสารอินเทรนด์ที่เรียกกันเล่นๆ ว่า BB) และบทสนทนาที่เกิดขึ้นในหน้าวอลล์ของเธอนั้นหลากหลาย ทั้งประเด็นศิลปวัฒนธรรม สังคมการเมือง เรื่อยไปจนกระทั่งเกมออนไลน์ เพื่อนๆ ของเธอจึงมีวัยที่หลากหลายทั้งเด็กวัยรุ่นเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ถ้ามองด้วยสายตาของนักข่าว ก็ดูเหมือนเธอบริหารการสื่อสารกับแหล่งข่าวได้หลากหลายอย่างยิ่ง มองด้วยสายตาของผู้อ่อนวัยกว่า เธอคือผู้ใหญ่ที่ไม่ตกยุคและเปิดใจกว้าง

ประชาไทขอสัมภาษณ์เธอในฐานะที่เป็นคนทำงานในสื่อกระแสหลัก (เจ้าตัวเรียกว่า “โอลด์มีเดีย” ) ซึ่งกำลังเผชิญกับความท้าทายของกระแสนิวมีเดียอย่างรุนแรงในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้บรรยากาศการเมืองที่แบ่งขั้วแบ่งข้างที่ลุกลามไปถึงสื่อมวลชนผู้ทำหน้าที่เสนอข้อเท็จจริงด้วยแล้ว

มีบ่อยครั้งที่เธอเองวิพากษ์การทำหน้าที่สื่อด้วยกันอย่างรุนแรง ผ่านบทความของเธอ (หลายชิ้นหาอ่านได้ในประชาไท) และหลายครั้งที่เป้าหมายแห่งการวิพากษ์นั้นพุ่งตรงกลับไปที่สถาบันสื่อที่เธอสังกัดนั่นเอง

นิธินันท์ ขอตอบคำถามผ่านตัวหนังสือ ซึ่งเป็นวิธีที่เธอเชื่อว่าจะสื่อสารได้ดีกว่า การสัมภาษณ์และถอดเทป และด้านล่างคือ คำถามทั้ง 10 ข้อ พร้อมคำตอบของเธอ


1.คำจำกัดความของ นิวมีเดีย สำหรับคุณคืออะไร

อันที่จริงไม่เพียงคนทั่วไป แต่ดูเหมือนหลายคนในวงการสื่อเอง ก็ยังไม่แจ่มชัดว่าอะไรควรเป็นคำจำกัดความของ “นิว มีเดีย” หรือ “สื่อใหม่” ซึ่งมีความหมายมากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้สมาร์ท โฟน การสื่อสารออนไลน์ แต่มันยังรวมถึงเกมคอมพิวเตอร์ ซีดี ดีวีดี เทคโนโลยีทรีดี และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเกิดขึ้นจากระบบดิจิทัล และยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นิว มีเดีย ก็เลยยังคงความเป็น “นิว มีเดีย” เพราะยังไม่เก่า

ถ้าพิจารณาจากพัฒนาการของเครื่องมือสื่อสารในช่วงปลายศตวรรษที่ยี่สิบจนถึงยุคต้นสหัสวรรษใหม่ หรือยุคปัจจุบัน เราอาจบอกว่า นิวมีเดีย คือ สื่อดิจิทัล ที่ทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือสื่อสารสนองตอบความต้องการรับและส่งข้อมูลข่าวสารของตนได้ทันที สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันทีผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ในเวลา และ สถานที่ใดก็ได้ ตามที่ผู้รับสารและผู้ส่งสารต้องการ อีกทั้งยังสามารถสื่อสารไปมาพร้อมๆ กันระหว่างผู้คนจำนวนมากกับผู้คนจำนวนมากทั้งในแง่ปัจเจกต่อปัจเจก ปัจเจกต่อชุมชน และชุมชนต่อชุมชน

หัวใจสำคัญของนิวมีเดียคือความรวดเร็ว ความสดใหม่ และความเสมอภาคกันในการส่ง, รับและ เผยแพร่ข่าวสารของผู้คนร่วมชุมชนออนไลน์ ซึ่งนำความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างมาสู่สังคม โดยเฉพาะในด้านชีวิตวัฒนธรรม ทั้งการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมใหม่ และการเรียนรู้ใหม่จากวัฒนธรรมเก่า เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก โลกของผู้คนในชุมชนออนไลน์นั้น ด้านหนึ่งเหมือนโลกแคบ ไกลเหมือนใกล้ ติดต่อกันได้รวดเร็วชั่วลัดนิ้วมือเดียว แต่อีกด้านก็กว้างใหญ่ไพศาลมาก มีเรื่องราวและข้อมูลให้ติดตามค้นหามากมายไม่สิ้นสุด ซึ่งถ้าจัดระบบความคิดไม่ดี ไม่เข้าใจธรรมชาติการทำงานของสมอง ก็อาจเครียดกับกองข้อมูลข่าวสารที่มีขยะปะปนอยู่มากมายได้

2.การที่สื่อหลักหันมาใช้พื้นที่ออนไลน์ อยู่ภายใต้คำจำกัดความของ นิว มีเดีย หรือไม่

อยู่ภายใต้คำจำกัดความระดับหนึ่ง เวลานี้คนทำสื่อจำนวนมากเหมือนกำลังพยายามใช้นิวมีเดียในฐานะเครื่องมือใหม่ทางการสื่อสารที่จำเป็นต้องใช้ ไม่เช่นนั้นจะตามไม่ทันคนอื่น จะตกขบวนรถไฟ ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง แต่อย่างที่หลายคนว่าไว้ว่า สิ่งสำคัญกว่าเครื่องมือคือเนื้อหา

มีความเห็นว่าสื่อหลักและคนทำสื่อหลักหลายคน ยังคงเชื่อว่าฉันแต่ผู้เดียวคือผู้ควบคุมประตูข่าวสาร จึงมีแต่ฉันเท่านั้นคือ “สื่อแท้” ซึ่งนำความจริงและความถูกต้อง ไปบอกกับสังคม (อุดมคติดั้งเดิมของสื่อที่ฟังใหญ่โตอย่างนั้น ทำให้คนทำสื่อหลายคนตัวพองว่าฉันช่างดีเลิศประเสริฐศรี ทั่วปฐพีไม่มีใครเทียบ) ส่วนคนทั่วไปหรือสื่อเล็กๆ อย่าง “ประชาไท” ที่ใช้แต่ “ นิว มีเดีย” เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เป็น “สื่อเทียม” เพราะฉะนั้นประชาไทซึ่งเป็นสื่อเทียมจะถูกปิด ถูกบล็อกเว็บ ก็ไม่เป็นไร ผู้จัดการเว็บถูกจับแบบมีเงื่อนงำก็ไม่เป็นไร ไม่เกี่ยวกับเราชาวสื่อแท้

คล้ายกับคนทำสื่อหลักมองว่าแบรนด์ดั้งเดิมของสื่อและความใหญ่โตของธุรกิจสื่อคือตัวตัดสินความเป็นสื่อแท้และสื่อเทียม ยิ่งเป็นเรื่องการเมืองเหลืองแดงยิ่งไปกันใหญ่ ในช่วงที่สื่อบ้าคลั่งเลือกข้าง สื่อกระแสหลักยี่ห้อดังๆ เลือกข้างไม่เป็นไร ประกาศเสียงดังฟังชัดว่าพวกเราเลือกข้างความถูกต้องดีงาม แต่พอสื่อเล็กๆ ออนไลน์เลือกข้างบ้าง กลับถูกแปะป้ายโดยสื่อกระแสหลักว่าเป็นพวกสื่อเทียม หิวเงิน รับจ้างนักการเมืองมาทำกองเชียร์

สื่อกระแสหลักตามไม่ทันผู้บริโภคสื่อว่า เขาไม่ต้องการถูกยัดเยียดข่าวสารด้านเดียวที่เขาไม่เชื่อ เขาอยากฟังทุกด้าน แต่เมื่อสื่อกระแสหลักเลือกข้างไปแล้ว และไม่ให้พื้นที่อีกข้าง ถ้ามีให้ก็เป็นพื้นที่สำหรับการดูหมิ่นเหยียดหยาม จิกหัวกล่าวหา ด่าทอ แต่เมื่อประชาชนผู้บริโภคสื่อที่เป็นฝ่ายถูกกล่าวหา รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ใช่ สื่อพูดผิด ชี้นำผิด เขาก็หันไปทำสื่อของเขาเอง เสพสื่อของพวกเดียวกันเอง กลายเป็นข่าวเลือกข้างอีกข้าง แล้วใครจะทำไม

ตรงนี้จึงย้อนกลับมาว่า คนทำสื่อกระแสหลักหลายคนไม่เข้าใจธรรมชาติ นิว มีเดีย ไม่เข้าใจธรรมชาติมนุษย์ ไม่เข้าใจว่าถึงที่สุดแล้ว แม้แต่ตัวคุณเองก็ต้องการความจริง และ เสรีภาพ

สื่อหลายคนยังทำสื่อแบบเดิมๆ ชินกับการเป็นผู้ส่งสารทางเดียว คิดเองเออเองว่าฉันนี่แหละรู้เยอะกว่า เพราะมีแต่สื่อหลักอย่างฉันนะที่ได้สัมภาษณ์คนสำคัญๆ ของประเทศมา ข้อมูลจากฉันจึงถูกต้องกว่า ลึกกว่า จริงกว่าใครๆ ในโลก แต่สังคมโลกยุคใหม่ไม่ใช่สังคมแนวดิ่ง วัฒนธรรมออนไลน์สร้างสังคมแนวนอน ไม่จำเป็นว่าข่าวจากคนระดับผู้นำประเทศเท่านั้นจึงมีความหมาย ข่าวจากประชาชนทั่วไปก็มีความหมายไม่ต่างกัน จริงอยู่ว่าคนระดับนำกุมนโยบายประเทศ และนั่นเป็นเรื่องสำคัญ แต่เสียงประชาชนที่ร่วมเป็นเจ้าของประเทศ ที่ใช้หยาดเหงื่อแรงงานทำนุบำรุงประเทศไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่า และเมื่อวัฒนธรรมออนไลน์เกื้อหนุนให้สังคมหรือชุมชนแนวนอนแผ่ขยายไพศาลมากขึ้น เสียงประชาชนก็อาจจะกลายเป็นเสียงสำคัญที่สุดได้ในทางปฏิบัติ

ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ อนาคตสื่อกระแสหลักก็ต้องมุ่งสู่ นิว มีเดีย

เชื่อว่าแม้สื่อเก่าหรือ โอลด์ มีเดีย โดยเฉพาะบนแผ่นกระดาษจะไม่หมดไปโดยสิ้นเชิง เพราะยังมีพื้นที่ที่เข้าไม่ถึงนิว มีเดีย แต่ไม่เห็นแนวโน้มว่าสื่อเก่าจะเติบโตไปกว่านี้ งานศึกษาเรื่องสื่อทั่วโลกให้ข้อมูลตรงกันว่าผู้บริโภคสื่อออนไลน์เพิ่มขึ้นมาก ส่วนยอดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ตกอย่างรวดเร็วมาก แค่ปีที่แล้วกับปีนี้ก็ตกวูบ คือยังไม่ต้องเทียบกับนิว มีเดียก็ได้ แค่เทียบสื่อเก่าด้วยกัน คือทีวีกับหนังสือพิมพ์ คนก็ดูทีวีมากกว่าหนังสือพิมพ์ รู้ข่าวจากทีวีเร็วกว่าหนังสือพิมพ์

มองในแง่ธุรกิจ เวลานี้บริษัทสื่อใหญ่ๆ ทั่วโลกที่เคยทำแต่หนังสือพิมพ์อย่างเดียวอยู่ไม่ได้ ต้องหันไปหาสื่อใหม่ ต้องมีความเป็นมัลติมีเดีย นอกจากนั้น ก็ยังต้องหารายได้จากทางอื่น เช่น การจัดกิจกรรมต่างๆ หรือการจัดสัมนา โดยร่วมมือกับสปอนเซอร์ซึ่งก็ต้องการใช้สื่อเป็นเครื่องมือเผยแพร่งานในลักษณะ CSR หรือ Corporate Social Responsibility ขององค์กรของตน

กิจกรรมลักษณะนี้มีมากขึ้นทุกวัน จนคิดว่าในที่สุด สื่ออาจไม่ต้องทำเนียนแบบเก่า คือไม่ต้องโฆษณากิจกรรมนั้นๆ ในลักษณะข่าวซึ่งมีตัวอักษรเล็กๆ เขียนแอบไว้ด้านข้างหรือด้านล่างว่า “พื้นที่โฆษณา” หรือไม่ต้องขออาศัยพื้นที่ข่าวทำเป็นเขียนข่าวเนียนๆ ด้วยเหตุผลที่ฝ่ายโฆษณาอาจอ้างว่า ถ้าไม่เขียนข่าวให้ หนังสือพิมพ์จะไม่มีสปอนเซอร์แล้วจะอยู่ไม่ได้ เพราะต่อไป ทั้งคนทำสื่อและผู้บริโภคสื่อก็อาจเห็นตรงกันว่า ข้อมูลเหล่านี้ก็มีอะไรให้อ่านเหมือนกัน อ่านในเชิงโฆษณา คือรับรู้ว่ากำลังอ่าน ฟัง ดู โฆษณาด้านดีขององค์กรต่างๆ เหล่านั้น เป็นต้น ซึ่งสามารถอ่านได้จากหนังสือเฉพาะกิจ รูปเล่มสีสรรสวยงาม เป็นหนังสือแจก แถม ไปกับหนังสือพิมพ์ หรือตามสถานที่สาธารณะต่างๆ เป็นการ “ขายสินค้าเพื่อการบริโภค” อย่างตรงไปตรงมาในสังคมบริโภค

แต่ในกรณีนี้ ทั้งบริษัทสื่อที่เผยแพร่โฆษณาและองค์กรที่จ่ายเงินเพื่อโฆษณาตัวเอง จะต้องรับผิดชอบร่วมกันว่า ข้อมูลที่ให้ไปแม้จะมีการตกแต่งให้งดงาม ก็ต้องไม่ใช่หลอกลวงผู้บริโภค อย่าตกแต่งจนเกินจริง เหมือนคุณแสดงภาพคุณที่แต่งหน้าทำผมสวยงามให้เราดู และเราก็รู้ว่าคุณไม่ได้แต่งหน้าทำผมอย่างนี้ทุกวัน แต่มันจะเป็นเรื่องโกหก ถ้าในชีวิตปกติของคุณไม่ล้างหน้าแปรงฟัน ไม่ดูแลผมของคุณเลย ปล่อยหัวเน่าเหม็นเป็นเดือนไม่ยอมสระ ทำนองนั้น

หนังสือพิมพ์กระดาษ และสื่อเก่าอื่นๆ เช่นทีวี วิทยุ แบบเดิม คงยังไม่ตายในเวลาอันรวดเร็ว แต่มันจะค่อยๆเปลี่ยนไป เพราะถึงอย่างไรเทคโนโลยีใหม่ก็ต้องมาแทนที่เทคโนโลยีเก่า และจะผสานผสมกลมกลืนเข้ากันเองโดยธรรมชาติ

ในอนาคตอีกหลายๆ ปีมากข้างหน้า ถ้าทุกพื้นที่เข้าถึงเทคโนโลยีนิวมีเดีย บางทีหนังสือพิมพ์กระดาษยุคใหม่อาจเปลี่ยนรูปแบบเป็นขนาดแทบลอยด์เพื่อนำเสนอข่าวเฉพาะชุมชน หรือโฆษณากิจกรรมต่างๆ ในชุมชนก็ได้ แล้วคนก็หันไปดู-ฟังข่าวทั่วไปของประเทศและโลกทางมือถือ ทีวี คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสั้นทันสถานการณ์หรือข่าววิเคราะห์เจาะลึก ซึ่งถ้าอยาก “อ่าน” ตัวหนังสือ ก็สามารถตามไป “อ่าน” ข้อความที่ได้ฟังแล้วจากเว็บไซต์ หรือจากบล็อกเป็นต้น ในเวลาใดก็ได้ที่อยากอ่าน

แต่ทั้งหมดที่ว่ามานี้ ก็ยังเชื่อว่าสื่อเก่าในรูปแบบ “หนังสือ” ไม่มีวันตาย ผู้คนน่าจะยังอ่านหนังสือเล่มที่มีเรื่องราวเฉพาะเจาะจง หนังสือที่มีรูปสวยงาม หนังสือเชิงศิลปะ หรือหนังสือแนววิชาการ ซึ่งอาจถูกเครื่องมือสื่อสารอย่างไอแพดแย่งตลาดไปบ้าง แต่คงแย่งได้ไม่หมด คนเราใช้สายตา “อ่าน” บนเครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่นานๆ ก็มีปัญหาเหมือนกัน

ประเด็นสำคัญสำหรับคนทำสื่อในเวลานี้ก็คือ คนทำสื่อต้องทำความเข้าใจ นิว มีเดีย ให้มากขึ้น ต้องเข้าใจว่า นิว มีเดีย ไม่ใช่แค่เครื่องมือและช่องทางสื่อสารที่แสดงรสนิยมทันสมัยไม่ตกยุค คนทำสื่อมืออาชีพไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือสื่อสารใหม่ล่าสุดทุกชนิดที่วางจำหน่ายในตลาด ไม่จำเป็นว่าตลาดออก บีบี ไอโฟน ไอแพด กล้องใหม่ไฮเทค อะไรต่อมิอะไร คนทำสื่อจะต้องซื้อมาครอบครองก่อนคนอื่น และต้องครอบครองทุกสิ่งซึ่งเป็นของเล่นใหม่ของคนมีสตางค์ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนนิวมีเดีย แต่คนทำสื่อต้องมองให้ออกว่านิว มีเดีย มีส่วนเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์อย่างไร เปลี่ยนโลกอย่างไร แล้วเราจะสื่อสารอะไรและอย่างไรกับผู้คนในโลกที่เปลี่ยนไป ซึ่งสื่อสารกลับมาถึงสื่อตลอดเวลา

3. การรุกคืบของนิวมีเดียส่งผลอย่างไรต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและส่งผลอย่างไรต่อแนวทางของวารสารศาสตร์

ส่วนแรกของคำถาม สรุปสั้นๆ ว่าเปลี่ยนไป คือ หนึ่ง เปลี่ยนจากการส่งและรับทางเดียวเป็นปฏิสัมพันธ์สองทาง สอง มีข้อมูลข่าวสารให้รับรู้มากขึ้น ทั้งแบบเฉพาะทางตามความสนใจพิเศษ และแบบกว้างๆ ปนกันไปทุกเรื่อง ส่วนข้อที่น่าเป็นห่วง คือ ถ้ารับข้อมูลมากไปและเร็วไป สมองอาจสับสนว่าจะเลือกรับและรู้อะไร ซึ่งในที่สุดสมองอาจทิ้งหมดทุกอย่าง หรือถ้าเลือกรับแต่ข้อมูลที่สนใจ ไม่เปิดรับข้อมูลอื่นเลย สมองก็ทำงานได้ไม่เต็มความสามารถ

ส่วนหลังของคำถามเกี่ยวกับการรุกคืบของนิวมีเดียส่งผลอย่างไรต่อแนวทางของวารสารศาสตร์ อยากฟังข้อมูล ความเห็น และคำอธิบาย ของนักวิชาการสายวารสารศาสตร์ค่ะ สำหรับนักวิชาชีพที่เรียนศาสตร์อื่นมาเห็นว่า หลักการสื่อสารเบื้องต้น และหลักการเสนอข่าวเบื้องต้นประเภทใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไม อย่างใด คงไม่มีอะไรเปลี่ยน แต่ความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่เกิดจากรูปแบบการสื่อสารเปลี่ยน พฤติกรรมคนเปลี่ยน การรับรู้เปลี่ยน ก็คงต้องมีคำอธิบายชุดใหม่ หรือคำอธิบายเพิ่มเติม อย่างน้อยก็ในเรื่องความน่าเชื่อถือของสื่อ จริยธรรมสื่อ และเสรีภาพสื่อ เป็นต้น

มีความเห็นว่าหลักจริยธรรมสื่อขั้นพื้นฐานที่ว่าด้วย truthfulness, accuracy, objectivity, impartiality, fairness และ public accountability มีความสำคัญมากสำหรับผู้ที่เรียกตัวเองว่า “สื่อ” ไม่ว่าจะสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ นอกจากนั้น ทั้งสื่อเก่าสื่อใหม่ก็ต้องการ freedom of speech ซึ่งไม่ได้หมายถึงเสรีภาพในการใส่ความคนอื่นให้เสียหายเดือดร้อน แต่หมายถึงเสรีภาพในการพูด แสดงความเห็น ตั้งคำถาม ตั้งข้อสังเกตอย่างอิสระ โดยไม่ถูกบีบบังคับให้พูดตามใจผู้มีอำนาจหรือผู้ถือกฎหมาย

4. มีความวิตกกังวลในผู้ประกอบวิชาชีพสื่อว่า นิวมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บบอร์ด ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ค ทำให้พฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารแย่ลง รวมถึงผู้ใช้สื่อออนไลน์ปราศจากความรับผิดชอบ และขาดจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่สื่อ ส่งผลให้เกิดข่าวที่ไม่ได้รับการตรวจสอบก่อนการเผยแพร่ ขาดกระบวนการคัดกรองข้อมูล เกิดข่าวลือ และทำให้ความขัดแย้งขยายวงกว้างขึ้น มีความเห็นอย่างไร

1. ต่อให้ไม่มีการนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บบอร์ด ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค พฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้คนก็อาจแย่ลงเพราะข้อมูลข่าวสารที่ได้จากสื่อกระแสหลักเหมือนกัน

ปัญหาของสื่อกระแสหลักทุกวันนี้ก็คือ ขาดการทำข่าวเชิงวิเคราะห์เจาะลึก ไม่เกาะติดข่าว มีแต่ข่าวเขาพูดเธอพูดตามกระแสไปวันหนึ่งๆ ทั้งข่าวการเมือง เศรษฐกิจ สังคม บันเทิง โดยเฉพาะข่าวบันเทิงเลวร้ายที่สุด เน้นแต่ข่าวซุบซิบนินทา

2. ความรับผิดชอบของผู้ใช้สื่อออนไลน์เป็นประเด็นสำคัญ แต่อาจจะเข้าใจง่ายกว่า ถ้าพิจารณาว่า คนใช้สื่อออนไลน์ที่เป็นคนทั่วไปที่อยากแสดงความเห็น กับคนใช้สื่อออนไลน์ที่แสดงตัวว่าเป็นสื่อออนไลน์ หรือคนทำสื่อกระแสหลักที่ใช้สื่อออนไลน์เป็นสื่อเสริมสื่อกระแสหลัก ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกัน

ประเด็นมีอยู่ว่า ใครก็ตามที่ประกาศตัวว่าจะทำหน้าที่ “สื่อ” ไม่ว่าจะสื่อเก่าสื่อใหม่ ต้องยึดกุมหลักการของการสื่อสาร ยึดกุมหลักจริยธรรมสื่อขั้นพื้นฐาน ส่วนคนทั่วไปก็เป็นเรื่องของคนทั่วไป

3. ข่าวลือมีอยู่ทุกวัน ถ้าเราเชื่อทุกข่าวลือ คงไม่เป็นอันทำอะไร และมันก็ผิดหลักจริยธรรมสื่อชัดๆ ถ้าสื่อมักง่ายสร้างข่าวลือเป็นข่าวใหญ่โต ทำเสมือนเป็นข่าวจริง หรือไม่มักง่าย แต่สร้างข่าวเพื่อหวังผลบางอย่าง

5. แนวทางการนำเสนอของสื่อใหม่และวิธีบริโภคข้อมูลข่าวสารแบบใหม่ คือการเลือกเชื่อหรือเลือกรับข่าวสารเฉพาะเจาะจงตามความสนใจหรือตามสังกัดความเชื่อ เป็นปัญหาอย่างไรหรือไม่ สื่อใหม่ทำให้พฤติกรรมการเสพข่าวสารแบบนี้มีมากขึ้นหรือไม่

ถ้าเป็นเรื่องทั่วไป ไม่เห็นว่าเป็นปัญหา คนชอบถ่ายรูปก็บริโภคเว็บไซต์เกี่ยวกับภาพถ่าย คนชอบเพลงก็เข้าเว็บเพลง คนชอบการเมืองก็เข้าเว็บการเมือง วัยรุ่นก็เข้าเว็บวัยรุ่น เป็นเรื่องปกติมากๆ ถึงไม่มีสื่อใหม่ คนที่คิดเหมือนกัน ชอบเหมือนกันก็รวมกลุ่มกันอยู่แล้ว สื่อใหม่ออนไลน์ เพียงแต่ทำให้รวมง่ายกว่าเดิม ไม่ต้องออกจากบ้านมาเจอกันก็ได้ แต่ถ้าพูดเรื่องความขัดแย้งเหลืองแดงในประเทศ อาจเป็นปัญหาเพราะเรื่องยังไม่จบ ความรู้สึกขัดแย้งยังไม่จบ ยังคาใจกันอยู่หลายประเด็น จะปรองดองกันอย่างไรเมื่อคุณมองไม่เห็นคนตาย บ้างก็ว่า มาเผาห้างฉันแล้วจะให้เชื่อได้ไงว่าเธอมาดี แต่ไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปบอกว่า คุณจากฝั่งโน้นฝั่งนี้ออกมาจากฝั่งของคุณเถอะ มาปรองดองกันเถอะ ลืมไปเถอะ

สังคมไทยชอบพูดอะไรง่ายๆ แบบนี้ แต่ความจริงคือไม่ง่าย และอีกด้านหนึ่งการรวมกลุ่ม รวมสังกัด มันก็เป็นเสมือนกรุ๊ปเทอราปี เป็นกลุ่มบำบัดความทุกข์ ความเศร้าโศกของคนที่ประสบภัยพิบัติมาแบบเดียวกัน รวมถึงในบางกรณีก็เป็นกลุ่มบำบัดคนอ่อนไหวที่มีจริตแบบเดียวกัน

สรุปว่า สำหรับคนทั่วไป การเลือกเชื่อเป็นปกติ ไม่มีปัญหา ยกเว้นว่าถ้าคนเชื่อเหมือนกันรวมกลุ่มกันแล้วบอกว่าเราไปฆ่าพวกมันที่ไม่ใช่พวกเรา ที่ “เป็นคนไทยหรือเปล่า” กันเถอะ แต่ถ้าเป็นอย่างนั้น จะมีสัญญานบอก ก็ต้องต่อต้านแก้ไขกันไป

ส่วนสื่อนั้น ถ้าอยากจะเลือกข้างก็ไม่ผิด แต่ต้องบอกให้ชัดเจนว่าฉันเลือกข้างและเลือกเพราะอะไร แนวคิดอย่างไร ซึ่งก็ควรจะมีหลักการชัดเจนทางแนวนโยบายเศรษฐกิจสังคมอะไรก็ว่าไป ไม่ใช่เลือกข้างคนดืมีคุณธรรมแบบฉันขอผูกขาดความดีมีคุณธรรม เพราะใครๆ ก็อ้างตัวเป็นคนดีได้ และคนที่อ้างตัวว่าดีมีคุณธรรม มีศีลธรรมบางคน ก็บอกว่าฆ่าคนเห็นต่างได้ไม่ผิด ซึ่งเป็นคุณธรรมหรือศีลธรรมประเภทไหนก็ไม่ทราบ นอกจากนั้น สื่อเลือกข้าง ก็ต้องไม่ยุให้คนเกลียดกันจนถึงขั้นฆ่ากันเพราะความคิดต่างกัน ซึ่งน่ารังเกียจที่สุด

ถึงที่สุดแล้ว ถ้าสังคมมีแต่สื่อเลือกข้าง โดยเฉพาะประเภทเชียร์แต่พวกเดียวกันทุกเรื่องไป ก็เชื่อว่าจะมีผู้บริโภคสื่อถามหาสื่อที่เสนอข่าวตามหลักจริยธรรมสื่อดั้งเดิม คือทำหน้าที่สื่ออย่างเที่ยงธรรม ทำความจริงหรือสิ่งที่ใกล้เคียงความจริงที่สุดให้ปรากฎอยู่ดี แต่สื่อนั้นก็อาจกลายเป็นสื่อเลือกข้างในทัศนะของคนที่คิดไม่ตรงกันก็ได้

การไม่ตั้งใจเลือกข้าง แต่ตั้งใจทำหน้าที่สื่อตามหลักการสื่อจึงดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นสื่อเก่าหรือสื่อใหม่

6. ข้อจำกัดหรือสิ่งพึงระวังสำหรับการใช้สื่อใหม่คืออะไร ข้อจำกัดของสื่อกระแสหลักคืออะไร ทั้งสองสิ่งนี้สามารถไปด้วยกันหรือว่าสื่อกระแสหลักกำลังจะถูกลดบทบาท

ข้อจำกัดของสื่อกระแสหลักในโลกดิจิทัลคือทั้งทัศนคติและรูปแบบงุ่มง่าม เชื่องช้า

สื่อเก่าหรือสื่อกระแสหลักกับสื่อใหม่ไปด้วยกันอยู่แล้ว และแน่นอนว่าสื่อกระแสหลักแบบเดิมๆ กำลังจะถูกลดบทบาท

ข้อพึงระวังสำหรับการใช้สื่อใหม่ก็คือ คนทำสื่อต้องเข้าใจสื่อใหม่ให้มากกว่าแง่มุมของเครื่องมือสื่อสารใหม่ๆ และอย่าลืมตัวสนใจความเร็วมากกว่าความถูกต้องของข้อมูล

ทวิตเตอร์ที่ฮิตกันเวลานี้ ควรใช้เป็นช่องทางบอกประเด็นข่าว เหมือนการ”โฆษณา ตีฆ้องร้องป่าว” ให้คนติดตาม แต่ต้องระวังประเด็นข่าวลือ ระวังว่าต้องไม่ทวีตหรือรีทวีตข่าวลือ เช่นดียวกัน ความเร็วและเนื้อหาในเฟสบุ๊ค ที่พูดได้ยาวกว่าทวิตเตอร์ก็ควรมีไว้บอกเนื้อความข่าวเป็นการ “ประชาสัมพันธ์” ข่าวให้ไปอ่านต่อในเว็บไซต์ หรือ ทางมือถือ ทางทีวี ทางสื่อสิ่งพิมพ์ หรือใช้เป็นพื้นที่ถกเถียงสนทนาต่อเนื่องเพื่อแตกประเด็นความคิด

ที่สำคัญคือ คนทำสื่อต้องไม่หมกมุ่นกับการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์จนลืมความแข็งแรงของเนื้อหาข่าวสารที่ยังจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เจาะลึก จำเป็นต้องติดตามข่าวสารจากหลายแหล่งข้อมูล ทั้งระดับผู้นำประเทศและระดับประชาชน

7. พลเมืองผู้ใช้เน็ต นักข่าวพลเมือง นักข่าวอาชีพ เส้นแบ่งที่พร่าเลือนเหล่ามีผลต่อการนำเสนอข่าวาสารและการรับรู้ข่าวสารไหม?

โดยส่วนตัว ไม่คิดเรียกร้องจริยธรรมสื่อจากพลเมืองผู้ใช้เน็ตและนักข่าวพลเมืองที่รายงานข่าวของตัวเองโดยไม่อิงกับสื่อหลัก เพราะแต่ละคนต้องรับผิดชอบกฎหมายหมิ่นประมาทเอง แต่จำเป็นต้องเรียกร้องจริยธรรมสื่อ และคุณภาพการวิเคราะห์เจาะลึกที่เข้มข้นกว่าจาก “มืออาชีพ”

8. อินเทอร์เน็ต เป็นแค่ของเล่นของคนชั้นกลางหรือพื้นที่เปิดของคนด้อยสิทธิ

ดูภาพรวมเหมือนเป็นของเล่นคนชั้นกลางและชั้นสูง แต่เชื่อว่า ข้อมูลข่าวสารจากอินเทอร์เน็ตกระจายถึงคนด้อยสิทธิด้วย และคนชั้นกลางบางกลุ่มก็นำเรื่องคนด้อยสิทธิมาเปิดพื้นที่ใหม่ให้คนชั้นกลางอื่นๆ ได้รับรู้เพิ่มเติมด้วย

9. ประเด็นเรื่องการยึดกุมความจริงเป็นเรื่องที่เริ่มถูกนำมาอภิปรายเมื่อพูดถึงบทบาทของสื่อทั้งสื่อหลักและสื่อนิวมีเดีย ในอีกด้านหนึ่งในฐานะสื่อหลัก คุณคิดไหมว่า อำนาจในการยึดกุมความจริงของสื่อหลักกำลังสั่นคลอน

ในทางปรัชญา อาจมีคำถามว่า ความจริงมีหรือไม่ ความจริงของใคร หรือไม่มีความจริง มีแต่คำอธิบายถึงสิ่งที่ใกล้เคียงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมากที่สุด ความเห็นแตกต่างหลากหลายเป็นธรรมชาติ เป็นเรื่องปกติ และเป็นสิทธิอันชอบธรรมของคนที่คิดแตกต่างหลากหลาย สิ่งสำคัญคือ เสรีภาพที่เราแต่ละคนสามารถคิดอย่างแตกต่างหลากหลายและอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ฆ่ากัน

10. พลังของสื่อใหม่สามารถ set agenda ทางสังคมระดับมหภาคได้หรือไม่

มันเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียวจะเปลี่ยนแปลงสังคมในระดับมหภาค “สื่อใหม่” เป็นหนึ่งในเครื่องมือและช่องทางที่ผู้ใช้สามารถใช้เพื่อ set agenda ร่วมกับเครื่องมือและช่องทางอื่น การเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งมีมนุษย์เป็นผู้ขับเคลื่อนนั้น ไม่สามารถเกิดได้จากการ “สั่ง” ของใครคนใดคนหนึ่งให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ มนุษย์ที่จะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงต้องมีความรู้สึกร่วมเองว่าอยากจะเปลี่ยนแปลง และความรู้สึกนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นจาก “คำสั่ง” แต่เกิดขึ้นจากประสบการณ์สะสมของแต่ละคน ที่ทำให้สมองของแต่ละคนมีความรับรู้ ความจำ ความเชื่อ ความเข้าใจ จนถึงตัดสินใจกระทำการในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

ที่มา ประชาไท




 

Create Date : 15 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2553 23:57:30 น.
Counter : 471 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.