ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง
โครงสร้างประชากรไทยกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

 เคยสังเกตหรือไม่ว่าในปัจจุบันเรามักจะพบผู้สูงอายุตามสถานที่ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น  นั่นแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีอายุยืนเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต  ผู้สูงอายุเหล่านี้บางส่วนได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากสมาชิกในครอบครัว  บางส่วนยังคงต้องออกมาประกอบอาชีพเพื่อหาเลี้ยงตนเองเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดต่อไป  และพบว่าบางส่วนก็มีจำนวนไม่น้อยที่ถูกสมาชิกในครอบครัวทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรือนำไปทิ้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ เนื่องจากไม่มีเวลาในการเลี้ยงดูหรือคิดว่าเป็นภาระที่ไม่อยากรับผิดชอบ  ดังที่เราเคยได้รับทราบข่าวสารจากสื่อต่างๆ กันมาแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าแนวโน้มของการทอดทิ้งผู้สูงอายุนี้จะเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบทที่ลูกหลานต้องอพยพมาหางานทำในเมืองหลวงหรือในเมืองใหญ่ๆ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้บ่งชี้ถึงโครงสร้างประชากรของไทยที่มีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  โครงสร้างประชากรมีรูปแบบเป็นอย่างไร  และที่ว่ามีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงนั้น  เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง  เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่า

            โครงสร้างประชากรมนุษย์ (population structure) นิยมแสดงด้วยพีระมิดประชากร (population pyramid) ซึ่งเป็นแผนภาพประกอบด้วยกราฟแท่งแสดงอายุของประชากรในแต่ละช่วงวัยต่างๆ กัน  โดยสามารถแบ่งช่วงอายุประชากรออกได้เป็น 3 ช่วงด้วยกันคือ ช่วงวัยก่อนเจริญพันธุ์ มีอายุตั้งแต่แรกเกิด-14 ปี ช่วงวัยเจริญพันธุ์ มีอายุตั้งแต่ 15-44 ปี และช่วงวัยหลังเจริญพันธุ์ มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป  ซึ่งกราฟแต่ละแท่งจะแสดงจำนวนร้อยละของประชากรทั้งหมดในช่วง 5 ปี เช่น 0-4 ปี 5-9 ปี และ 10-14 ปี เป็นต้น นอกจากนี้ กราฟแท่งที่แสดงนี้จะแยกประชากรเพศชายและเพศหญิงออกจากกันคนละด้านในแผนภาพเดียวกัน 

            พีระมิดประชากรมนุษย์สามารถเขียนแสดงในรูปแบบต่างๆ ได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ พีระมิดแบบขยายตัว พีระมิดแบบคงที่  พีระมิดแบบเสถียร และพีระมิดแบบหดตัว  โดยแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันดังนี้

         1. พีระมิดแบบขยายตัว(expansive pyramid) เป็นพีระมิดประชากรที่มีรูปแบบของฐานพีระมิดกว้างและยอดแหลม ซึ่งแสดงถึงรูปแบบของอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรที่สูง มีอัตราการเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว พบโครงสร้างประชากรแบบนี้ได้ในประเทศกัวเตมาลา ซาอุดิอาระเบีย เคนยา เป็นต้น

          2. พีระมิดแบบคงที่ (stationary pyramid) เป็นพีระมิดประชากรที่มีรูปแบบคล้ายทรงกรวยปากแคบ หรือมีโครงสร้างประชากรในแต่ละช่วงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งแสดงถึงรูปแบบของอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรที่ต่ำ  พบโครงสร้างประชากรแบบนี้ได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ไทย  เป็นต้น

         3. พีระมิดแบบเสถียร (stable pyramid) เป็นพีระมิดประชากรที่มีรูปแบบคล้ายกับระฆังคว่ำ  หรือมีโครงสร้างประชากรที่คงที่  ซึ่งแสดงถึงรูปแบบของอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรที่ไม่เปลี่ยนแปลงพบโครงสร้างประชากรแบบนี้ได้ในประเทศสเปน เดนมาร์ก ออสเตรีย เป็นต้น

         4. พีระมิดแบบหดตัว (constrictive pyramid or declining pyramid) เป็นพีระมิดประชากรที่มีรูปแบบของฐานพีระมิดแคบ ตรงกลางพองออกและยอดค่อยๆ แคบเข้าคล้ายรูปดอกบัวตูม ซึ่งแสดงถึงรูปแบบของอัตราการเกิดและอัตราการตายที่ต่ำ หรือมีโครงสร้างประชากรลดลง พบโครงสร้างประชากรแบบนี้ได้ในประเทศสาธารณรัฐเยอรมนี สวีเดน สิงคโปร์  เป็นต้น

            ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรประมาณ 67.2 ล้านคน หากดูโครงสร้างอายุของประชากรพบว่า อายุ 0-14 ปี มีประมาณร้อยละ 20.3 อายุ 15-64 ปี  มีประมาณร้อยละ 70.7  และอายุ 65 ปีขึ้นไป มีประมาณร้อยละ 9 และเมื่อพิจารณาอายุขัยเฉลี่ยแล้วพบว่า  เพศชายมีอายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดประมาณ 71.02 ปี และเพศหญิงมีอายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดประมาณ 75.82 ปี (ที่มา: ข้อมูลประมาณการปี 2553 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และ CIA World Factbook) 

             ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลกรองจาก จีน  อินเดีย  สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย บราซิล รัสเซีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ไนจีเรีย ญี่ปุ่น เม็กซิโก เยอรมนี  ฟิลิปปินส์  เวียดนาม อียิปต์ เอธิโอเปีย ตุรกี และอิหร่าน  โดยมีประชากรคิดเป็นร้อยละ 1 ของประชากรโลก  และมีการเพิ่มของประชากรประมาณ 1 ใน 140 ส่วนของการเพิ่มประชากรโลก  ซึ่งการเพิ่มประชากรของไทยดังกล่าวนี้เป็นการเพิ่มในอัตราที่คงที่และมีแนวโน้มที่จะลดลงในอนาคต โดยพบว่าเมื่อปีพ.ศ. 2549 ประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มประชากรร้อยละ 0.6 ต่อปี และข้อมูลประมาณการในปีพ.ศ. 2553 ก็ยังพบว่ามีอัตราการเพิ่มประชากรอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มประชากรในวัยก่อนเจริญพันธุ์จะลดลงเรื่อยๆ และจากการคาดการณ์ของคณะทำงานฉายภาพประชากร ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่าในปีพ.ศ. 2565 หรืออีก 11 ปีข้างหน้าอัตราการเพิ่มประชากรจะใกล้เคียงกับศูนย์  คืออัตราการเกิดในแต่ละปีมีจำนวนที่ใกล้เคียงกับอัตราการตายในแต่ละปี

ประชากรไทยกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

                ดังที่ทราบแล้วว่าปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการการเกิดของประชากรที่ค่อนข้างคงที่  สาเหตุเนื่องมาจากประเทศไทยมีนโยบายในการคุมกำเนิดที่ได้ผลดีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ผู้หญิงไทยในวัยทำงานมีแนวโน้มที่จะแต่งงานช้าและเป็นโสดมากขึ้น ตลอดจนโครงสร้างของสังคมที่เปลี่ยนมาเป็นแบบครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นจึงมีภาระและต้นทุนของค่าใช้จ่ายต่างๆ ตลอดจนการเลี้ยงดูบุตรที่มากขึ้นตามไปด้วย เป็นต้น ทั้งนี้พบว่าประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุในอนาคต โดยประชากรในวัยเด็กจะลดลงในขณะเดียวกันประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จะเพิ่มมากขึ้น

แนวโน้มของจำนวนประชากรของประเทศไทยทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และลดลง  และจำนวนประชากรในวัยเด็กมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่อง  ในขณะที่ประชากรวัยผู้สูงอายุมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน  ถ้าหากจะเขียนพีระมิดโครงสร้างประชากรตั้งแต่อดีต  ปัจจุบัน  และอนาคตเพื่อดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงนั้น

รูปแบบพีระมิดประชากรจะเปลี่ยนจากพีระมิดแบบคงที่  มาเป็นพีระมิดแบบเสถียรหรือรูประฆังคว่ำ และพีระมิดแบบหดตัวหรือแบบดอกบัวตูมตามลำดับ  ทั้งนี้ประเทศไทยมีการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 จนถึงปีพ.ศ. 2553 ในอัตราส่วนเกือบเท่าตัว ซึ่งจากการสำรวจขององค์การสหประชาชาติพบว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยนี้มีระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้นหรือใช้เวลาเพียงประมาณ 20 ปีในการเพิ่มสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุเป็นเท่าตัว ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะใช้เวลานานประมาณ 70 ปีขึ้นไป  สาเหตุที่ประชากรผู้สูงอายุของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นเนื่องมาจาก ประเทศไทยมีระบบการแพทย์และสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชากรมีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น  ตลอดจนมีการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีและนิยมหันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมากขึ้น  เป็นต้น   

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรในอนาคตนี้จะส่งผลอย่างไรบ้าง

                จากการคาดการณ์ถึงโครงสร้างของประชากรไทยที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ มีการลดลงของประชากรในวัยก่อนเจริญพันธุ์และมีการเพิ่มขึ้นของประชากรของผู้สูงอายุนั้น จะส่งผลในด้านต่างๆ ดังนี้คือ

                1.  สังคมไทยเปลี่ยนจากสังคมที่มีวัยแรงงานมาก (อายุ 25-59 ปี) เป็นสังคมของผู้สูงอายุโดยจะพบผู้ที่มีอายุยืนมากขึ้น แต่จะขาดแคลนแรงงานที่จะป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆ ปัญหาที่จะพบตามมาคือ  อาจต้องมีการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ  ทั้งนี้รัฐต้องมีมาตรการในการควบคุมดูแลการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศให้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เนื่องจากจะส่งผลถึงความมั่นคงของประเทศได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่ผิดกฏหมายทั้งหลายเพราะอาจนำมาซึ่งปัญหาอาชกรรมต่างๆ ได้

                2.  การปรับนโยบายในการบริหารประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคม  เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุจะส่งผลต่อการลดลงของรายได้เฉลี่ยของประชากร และส่งผลต่อรายได้จากเงินภาษีอากรของรัฐลดลงด้วย  แต่รัฐจะต้องมีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในด้านที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ เช่น  การประกันสังคม  สุขภาพอนามัย  และสวัสดิการของผู้สูงอายุต่างๆ เป็นต้น  ทั้งนี้รัฐก็ได้มีการเตรียมความพร้อมของการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุไว้บ้างแล้ว  จะเห็นได้จากการจัดทำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น

                3.  รูปแบบของการพึ่งพิงกันระหว่างกลุ่มประชากรในช่วงอายุต่างๆ จะเปลี่ยนไป โดยพบว่าโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปนี้จะทำให้จำนวนประชากรในวัยเด็กที่ต้องพึ่งพิงวัยทำงานลดลง  แต่กลับมีวัยผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงวัยทำงานเพิ่มขึ้น  เมื่อวัยเด็กลดลงก็จะส่งผลต่อการลดลงของวัยผู้ใหญ่ที่เป็นวัยทำงานด้วย  ถ้าหากวัยผู้สูงอายุมากกว่าวัยทำงาน  ก็จะพบกับปัญหาของการขาดที่พึ่งพิงของกลุ่มคนสูงอายุ  ในแต่ละครอบครัวก็จะมีสมาชิกที่จะดูแลผู้สูงอายุน้อยลง ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งก็จะมีมากขึ้นตามลำดับ

                4.  ส่งเสริมการประกอบธุรกิจที่ใช้แรงงานจากผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น  ผู้สูงวัยในปัจจุบันพบว่ามีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนเพิ่มมากขึ้น และสุขภาพก็ยังคงแข็งแรงเฉกเช่นเดียวกับวัยทำงาน หากภาครัฐและเอกชนมีนโยบายในการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ให้ผู้สูงวัยเหล่านี้ได้เข้ามาทำงานมากขึ้นก็จะช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจได้  หรืออาจจะขยายระยะเวลาในการประกอบอาชีพจากเดิมที่กำหนดให้มีการเกษียณอายุในวัย 60 ปี  อาจเพิ่มเป็น 65 ปีดังเช่นหลายๆ ประเทศ  ทั้งนี้ควรดำเนินการในเชิงนโยบายให้เป็นรูปธรรม เป็นต้น

                ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างของแนวทางในการวางแผนเพื่อการก้าวไปสู่สังคมของผู้สูงอายุ  แต่ทั้งนี้ในส่วนของประชากรของประเทศเองก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย  กล่าวคือต้องมีการเตรียมความพร้อมของสมาชิกในครอบครัว  มีการวางแผนการใช้ชีวิตในทุกๆ ด้าน  ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ต่างๆ  เพื่อให้เกิดภาระที่น้อยที่สุดของสมาชิกในครอบครัวและต่อสังคมโดยรวม

                                                                *********************************

เอกสารอ้างอิง

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 6. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ สกสค. 2550. ปัทมา  ว่าพัฒนวงศ์ และปราโมทย์  ประสาทกุล.  ประชากรไทยในอนาคต. Online available://www.ipsr.mahidol.ac.th/JPSR/Annual ConferenceII/Article/Article02.htm Retrieved 06/12/2010

ประชากรโลก  ประชากรไทย.  Online available: //vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2006-2/Assignment-02/BPA_29_06_2/future.htm  Retrieved 06/12/2010

ประชากรมนุษย์. Online available: //human.uru.ac.th/Major_online/SOC/03Populatio/Life_3.htm Retrieved 06/12/2010

ฐานข้อมูลประชากร: ผู้สูงอายุ. Online available: //www.cps.chula.ac.th/research_division/article/ageing_001.htm Retrieved 16/12/2010

Population in Thailand. Online available: www.boi.go.th/thai/how/demographic.asp Retrieved 16/12/2010

Population Pyramid. Online available: //www.metagora.org/training/encyclopedia/agesex.html   Retrieved 16/12/2010

Thailand Population. Online available: //www.searo.who.int/LinkFiles/Family_Planing_Fact_Sheets+thailand.pdf Retrieved 16/12/2010

Thailand and Family Planning: An Overview. Online available: //w3.whosea.org/fch Retrieved 16/12/2010

ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สาขาชีววิทยา




Create Date : 27 กันยายน 2555
Last Update : 27 กันยายน 2555 14:48:00 น. 0 comments
Counter : 4828 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.