ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง
วิกิลีคส์: มายาคติดิจิทัลสามประการ

แปลจาก “Wikileaks: Three Digital Myths” โดย Christian Christensen
//chrchristensen.wordpress.com/2010/08/10/27/
แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล, 22 กันยายน 2553
เผยแพร่ครั้งแรก: //www.fringer.org/wp-content/writings/threemyths.pdf


การที่วิกิลีคส์ (Wikileaks, //www.wikileaks.org) นำเอกสารลับเกี่ยวกับสงครามอัฟกานิสถานมาตีพิมพ์ใน เดอะ การ์เดียน [1] เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส์ [2] และ เดอ สปีเกล [3] ภายใต้ข้อตกลงกับวิกิลีคส์ ได้กลายเป็นข่าวใหญ่ทั่วโลก นอกจากนี้ เลอ มอนด์ ดิพโลมาธิก ร่วมกับ โอวนิ และเว็บสเลทฝรั่งเศส (Slate.fr) ยังได้เผยแพร่เอกสารออนไลน์บนเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ [4] นัยด้านความมั่นคงของเอกสารที่รั่วออกมาจะเป็นที่ถกเถียงไปอีกนานหลายปี ในขณะเดียวกัน การปล่อยเอกสารกว่า 900,000 ชิ้นก็ได้ก่อให้เกิดวิวาทะเกี่ยวกับพลังที่เพิ่มขึ้นของสื่อดิจิทัลและโซเชียลมีเดีย วิวาทะหลายครั้งมีรากอยู่ในสิ่งที่ผมเรียกว่า มายาคติอินเทอร์เน็ตหรือมายาคติดิจิทัล กล่าวคือ มายาคติที่มีรากอยู่ในแนวคิดที่มองเทคโนโลยีอย่างโรแมนติกและมองว่าเราเปลี่ยนมันไม่ได้

มายาคติ #1: พลังของโซเชียลมีเดีย

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์ด้านสื่อถูกถามอยู่เนืองๆ ว่ากรณีของวิกิลีคส์บอกอะไรเราได้บ้างเกี่ยวกับพลังของโซเชียลมีเดียในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะในแง่ของการรายงานข่าวสงคราม [5] คำถามนี้ไม่มีอะไรผิด แต่มันก็สะท้อนแนวโน้มที่น่ากังวล ที่จะอุปโลกน์ว่าโซเชียลมีเดียทุกรูปแบบ (บล็อก ทวิตเตอร์ เฟซบุค วิกิลีคส์) เป็นสิ่งเดียวกัน มายาคติคือความคิดที่ว่าโซเชียลมีเดียเหล่านี้เหมือนกันหมดเพราะใช้เทคโนโลยีเดียวกัน แต่วิกิลีคส์ไม่มีอะไรเหมือนกับทวิตเตอร์หรือยูทูบเลย สิ่งที่ทำให้มันแตกต่างจากโซเชียลมีเดียรูปแบบอื่น คือกระบวนการกลั่นกรองที่ใช้สำหรับเนื้อหาก่อนที่จะนำมาโพสบนเว็บไซต์ [6] กระบวนการนี้อาจดูเหมือนรายละเอียด แต่มันก็พุ่งตรงเข้าที่หัวใจของแนวคิดแบบ “ยูโทเปียเทคโนโลยี” ที่เชื่อใน “พื้นที่เปิดสาธารณะ” ที่ทุกคนสามารถโพส(แทบจะ)ทุกอย่างให้คนอื่นได้อ่าน ฟัง และดู

พลังที่แท้จริงของวิกิลีคส์ไม่ใช่เทคโนโลยี (ซึ่งก็ช่วย แต่อย่าลืมว่าโลกมีเว็บไซต์หลายล้านเว็บ) แต่อยู่ที่ความไว้วางใจของผู้อ่านว่าสิ่งที่พวกเขาอ่านนั้นเป็นของแท้ ผู้อ่านเชื่อว่าทีมงานวิกิลีคส์รับรองความถูกต้องของเนื้อหา ยูทูบมีวีดีโอหลายร้อยคลิปจากอิรักและอัฟกานิสถานที่แสดงทหารจากกองกำลังผสมกระทำการไม่เหมาะสมและบางกรณีก็ผิดกฎหมายอย่างชัดเจน [7] แต่แล้วก็ไม่มีคลิปวีดีโอบนยูทูบคลิปไหนที่สร้างผลกระทบสูงเท่ากับคลิปวีดีโอคลิปเดียวบนวิกิลีคส์ที่แสดงภาพพลเรือนหลายสิบคน (รวมนักข่าวรอยเตอร์สองคน) ถูกกราดยิงด้วยปืนแรงสูงจากเครื่องบินรบแถบชานเมืองของกรุงแบกแดด [8] ทำไม? เพราะถึงแม้ว่าการเปิดสมบูรณ์แบบอาจน่าดึงดูดใจในทฤษฎี ข้อมูลก็มีค่าเท่ากับความน่าเชื่อถือของมันเท่านั้น วิกิลีคส์มีโครงสร้างการกลั่นกรองแบบองค์กรที่ทวิตเตอร์ เฟซบุค ยูทูบ และบล็อกอื่นๆ ไม่มี (ด้วยเหตุผลที่ชัดเจน) ในเมื่อโซเชียลมีเดียไม่เท่าเทียมกัน พลังของมันจึงไม่เท่าเทียมกันด้วย

มายาคติ #2: รัฐชาติกำลังจะตาย

ถ้ากรณีของวิกิลีคส์ให้บทเรียนอะไรกับเรา บทเรียนนั้นก็คือ รัฐชาติไม่ได้กำลังเสื่อมถอยลงแม้แต่น้อย วาทกรรมมากมายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียบอกว่าเรากำลังอยู่ในสังคมดิจิทัลที่ไร้พรมแดน

แนวคิดที่ว่ารัฐชาติกำลังเสื่อมถอยลงนั้นเป็นสิ่งที่นักวิชาการบางสำนักยืนกรานมานานหลายปีแล้ว แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาควรทำให้เราหยุดทบทวนใหม่ ชัดเจนว่าคนที่ทำวิกิลีคส์เข้าใจบทบาทที่ขาดไม่ได้ของรัฐชาติในแง่ของกฎหมาย ถึงแม้ว่า เจย์ โรเซน (Jay Rosen) นักวิชาการด้านสื่อจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กจะอ้างว่าวิกิลีคส์เป็น “องค์กรสื่อแห่งแรกของโลกที่ไร้รัฐ” [9] ที่จริงวิกิลีคส์ก็อยู่ติดพื้นที่ทางกายภาพอย่างมาก

วิกิลีคส์ตั้งอยู่ในสวีเดนอย่างไม่เป็นทางการ ใช้ประโยชน์จากกฎหมายสวีเดนที่มีบทบัญญัติคุ้มครองผู้ให้เบาะแสคอร์รัปชั่นและพิทักษ์ตัวตนที่แท้จริงของแหล่งข่าว [10] ดังที่ เดอะ นิวยอร์กเกอร์ รายงานในเดือนมิถุนายน 2010 ว่า [11] ผู้ให้บริการของวิกิลีคส์คือไอเอสพีสวีเดนชื่อ พีอาร์คิว [12] เนื้อหาที่คนส่งมาให้วิกิลีคส์ ก่อนอื่นจะต้องผ่านพีอาร์คิว แล้วค่อยส่งต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ในเบลเยียม ทำไมต้องเบลเยียม? เพราะเบลเยียมมีกฎหมายที่เข้มเป็นอันดับสองในแง่ของการปกป้องแหล่งข่าว และ จูเลียน อัสซานจ์ (Julian Assange) ผู้ก่อตั้งวิกิลีคส์ ก็เลือกไอซ์แลนด์เป็นสถานที่ถอดรหัสคลิปวีดีโอการสังหารหมู่ในแบกแดด เพราะเมื่อไม่นานมานี้ไอซ์แลนด์เพิ่งดำเนินนโยบาย “Icelandic Modern Media Initiative” [13] ซึ่งถูกออกแบบมาให้ประเทศนี้เป็นแหล่งหลบภัยสำหรับผู้ให้เบาะแสคอร์รัปชั่น การทำข่าวเจาะ และเสรีภาพในการแสดงออก

นอกจากวิกิลีคส์ เราก็มีกรณีอื่นที่เตือนให้เห็นความสำคัญของรัฐและกฎหมายในโลกดิจิทัลที่ลื่นไหล เช่น กรณีที่รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดิอาระเบียประกาศแบนฟังก์ชั่นแชทของเครื่องแบล็กเบอรี [14] หรือกรณีที่รัฐบาลตุรกีสั่งแบนยูทูบอย่างดูไม่มีที่สิ้นสุด [15] ถึงแม้ว่าโครงสร้างของวิกิลีคส์จะถูกออกแบบมาเพื่อข้ามพ้นกฎหมายในบางประเทศ (ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลเอื้อให้ทำอย่างนั้นได้) มันก็ฉวยใช้ประโยชน์จากกฎหมายของประเทศอื่นเช่นกัน วิกิลีคส์ไม่ใช่ไม่ทำตามกฎหมาย มันเพียงแต่ย้ายเกมทั้งเกมไปอยู่ในที่ที่กฎกติกาแตกต่างออกไป

มายาคติ #3: สื่อมวลชนไม่ได้ตายแล้ว (หรือเกือบตาย)

ข่าวที่ว่าสื่อมวลชนตายแล้วนั้นเกินจริงไปมาก (ถ้าจะเลียนแบบคำพูดของ มาร์ค ทเวน) กรณีของวิกิลีคส์สะท้อนพลังของเทคโนโลยีที่ทำให้เราทบทวนว่า “สื่อมวลชน” หมายความว่าอะไรในยุคต้นศตวรรษที่ 21 แต่มันก็ช่วยตอกตรึงตำแหน่งแห่งที่ของสื่อกระแสหลักในวัฒนธรรมร่วมสมัยด้วย วิกิลีคส์ตัดสินใจปล่อยเอกสารจากอัฟกานิสถานให้กับ เดอะ การ์เดียน, เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส์ และ เดอ สปีเกล ก่อนที่จะปล่อยมันออนไลน์ ซึ่งทั้งสามฉบับนี้ล้วนเป็นสื่อกระแสหลัก ไม่ใช่ “สื่อทางเลือก” (ที่น่าจะสนับสนุนวิกิลีคส์) อย่างเช่น เนชั่น, แซด แมกกาซีน หรือ อินดีมีเดีย เหตุผลก็น่าจะชัดเจนว่าเป็นเพราะสื่อกระแสหลักทั้งสามนั้นเป็นผู้กำหนดวาระข่าวระดับนานาชาติ มีสื่อไม่กี่องค์กร (ถ้าไม่นับสื่อโทรทัศน์อย่างเช่นบีบีซีหรือซีเอ็นเอ็น) ที่มีอิทธิพลเท่ากับ เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส์ และ เดอะ การ์เดียน – และการตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษก็ช่วยให้คนเข้าถึงเช่นกัน ทีมงานของวิกิลีคส์ช่ำชองพอที่จะตระหนักว่าการปล่อยเอกสารออนไลน์ไปเลยโดยไม่ติดต่อสื่อกระแสหลักที่เลือกแล้วบางแห่งรังแต่จะทำให้เกิดกระแสแห่กันโพสบทความที่สับสนวุ่นวายไปทั่วโลก

วิธีของวิกิลีคส์ทำให้ความสนใจทั้งหมดพุ่งไปสู่เนื้อหาในหนังสือพิมพ์สามฉบับ ซึ่งได้วิเคราะห์และสรุปเอกสารจำนวนมากเรียบร้อยแล้ว และบทบาทของวิกิลีคส์ก็ไม่ได้หลุดหายไปในวังวนข้อมูลด้วย แนวคิดเรื่องความตายของสื่อมวลชนสับสนระหว่างการเปลี่ยนแปลงกับการกำจัดทิ้ง (เหมือนกับแนวคิดเรื่องความตายของรัฐชาติ) การปล่อยเอกสารอัฟกานิสถานชี้ให้เห็นว่า สื่อมวลชนกระแสหลักยังมีอิทธิพลสูงมาก แต่ลักษณะของอิทธิพลนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป (เทียบกับเมื่อ 20-30 ปีก่อน) ยกตัวอย่างเช่น บิล เคลเลอร์ (Bill Keller) บรรณาธิการบริหาร เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส์ อธิบายการติดต่อระหว่างกองบรรณาธิการกับทำเนียบขาว [16] หลังจากที่เอกสารได้รับการตีพิมพ์ว่า –

“ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะประณามวิกิลีคส์ที่เผยแพร่เอกสารสู่สาธารณะ รัฐบาลก็ไม่ได้บอกว่าหนังสือพิมพ์เราไม่ควรเขียนข่าวเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวท้าทายข้อสรุปบางข้อที่เราสรุปจากเนื้อหา ขอบคุณเราที่เราจัดการกับเอกสารเหล่านี้อย่างระมัดระวัง และขอให้เราไปกระตุ้นเตือนวิกิลีคส์ให้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลที่อาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตคน และเราก็ได้ส่งต่อสารนั้นแล้ว”

นั่นคือคำยอมรับที่น่าทึ่งโดยบรรณาธิการบริหารของหนังสือพิมพ์ที่ได้รับความเชื่อถือสูงสุดในสหรัฐอเมริกา น่าทึ่งด้วยเหตุผลสองข้อด้วยกัน ข้อแรก คำอธิบายการแลกเปลี่ยนกับทำเนียบขาวสะท้อนถึงความภาคภูมิใจในคำชมที่ได้รับจากทำเนียบขาว ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดดั้งเดิมที่ว่า สื่อเป็น “หมาเฝ้าบ้าน” ที่คอยตรวจสอบผู้มีอำนาจ ข้อสอง บทบาทของ เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส์ ในการเป็นตัวกลางระหว่างรัฐบาลอเมริกันกับวิกิลีคส์นั้น สะท้อนพลวัตอำนาจใหม่ที่น่าสนใจในโลกของข่าวสารและข้อมูลในอเมริกา

หัวใจของมายาคติเกี่ยวกับความตายของสื่อมวลชน (และบทบาทของโซเชียลมีเดีย) คือสมมุติฐานที่ว่า การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเป็นเหตุปัจจัยที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอันเป็นประชาธิปไตย ความคิดที่ว่าลำพังการเข้าถึงข้อมูลดิบจะสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติ (ไม่ว่าจะเปลี่ยนอย่างสุดขั้วหรือไม่) นั้นเป็นความคิดที่โรแมนติกพอๆ กับความคิดที่ว่าลำพังการเข้าถึงเทคโนโลยีจะทำอย่างนั้นเหมือนกัน ข้อมูลก็เหมือนกับเทคโนโลยีตรงที่มันเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อคนมีความรู้และทักษะที่จะใช้ข้อมูลนั้นๆ วิกิลีคส์เลือกหนังสือพิมพ์สามฉบับนี้ไม่ใช่เพราะว่าพวกเขาเป็นตัวแทนอุดมการณ์เดียวกันกับ จูเลียน อัสซานจ์ กับเพื่อนร่วมงานของเขา แต่เพราะหนังสือพิมพ์สามฉบับนี้มีความพร้อมทางวิชาชีพ ทางองค์กร และทางเศรษฐกิจที่จะลงมือถอดรหัสและกระจายเนื้อหาที่วิกิลีคส์ส่งให้

ในโลกดิจิทัลที่กำลังถูกตั้งนิยามอยู่เนืองๆ ว่าไร้ลำดับชั้น ไร้พรมแดน และลื่นไหล วิกิลีคส์ได้ย้ำเตือนเราว่าโครงสร้าง พรมแดน กฎหมาย และชื่อเสียงล้วนยังเป็นสิ่งสำคัญ.

…………………………………………………………………….

[1] //www.guardian.co.uk/world/the-war-logs

[2] //www.nytimes.com/interactive/world/war-logs.html

[3] //www.spiegel.de/international/world/0,1518,708314,00.html

[4] //app.owni.fr/warlogs/

[5] //www.huffingtonpost.com/phil-bronstein/the-wikileaks-incident-ho_b_527788.html

[6] //www.thelocal.de/society/20100730-28855.html

[7] https://www.youtube.com/verify_age?next_url=https://www.youtube.com/watch%3Fv%3DLoFq9jYB2wo

[8] https://www.youtube.com/verify_age?next_url=https://www.youtube.com/watch%3Fv%3D5rXPrfnU3G0

[9] //archive.pressthink.org/2010/07/26/wikileaks_afghan.html

[10] //www.euractiv.com/en/infosociety/sweden-gives-legal-shelter-controversial-wikileaks-site-news-426138

[11] //www.newyorker.com/reporting/2010/06/07/100607fa_fact_khatchadourian

[12] //prq.se/?intl=1

[13] //www.immi.is/?l=en

[14] //www.bbc.co.uk/news/technology-10866417

[15] //www.csmonitor.com/From-the-news-wires/2010/0627/Internet-censorship-alive-and-well-in-Turkey-YouTube-some-Google-sites-blocked

[16] //www.nytimes.com/2010/07/26/world/26askthetimes.html?ex=1295755200&en=f5e76af6999f3d76&ei=5087&WT.mc_id=NYT-E-I-NYT-E-AT-0728-L5



Create Date : 23 กันยายน 2553
Last Update : 23 กันยายน 2553 3:53:58 น. 0 comments
Counter : 549 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.