ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง
งานวิจัย"สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับการลงทุนทางธุรกิจ"

โครงการวิจัยอาวุโส สกว. ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร จัดเสวนาเรื่อง ‘โครงสร้างและพลวัตรทุนไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ’ ณ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 29 มิ.ย. 2549 มีการนำเสนองานวิจัยในหัวข้อ ‘สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับการลงทุนทางธุรกิจ’ โดย รศ.ดร พอพันธ์ อุยยานนท์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รศ. ดร.พอพันธุ์ นำเสนองานวิจัยว่า บทบาทสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย การเมือง และประวัติศาสตร์ จึงมีความเป็นสถาบันด้วย

จุด เปลี่ยนที่ทำให้เข้าสู่ช่วงที่ 3 คือ 2491-ปัจจุบัน รัฐบาลโดยนายควง อภัยวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มนิยมเจ้า แก้ไขเปลี่ยนแปลง พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2479 และพ.ศ. 2484 เป็น พ.ร.บ. จัดระเบียบฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2491

พ.ร.บ.ดังกล่าวมี ผลให้สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นนิติบุคคลที่คล่องตัวในการทำนิติกรรมสัญญา และแปลงสภาพจากราชวงศ์สู่มหาชนได้ อีกทั้งยังคุ้มครองทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ให้เป็นของบุคคลอื่น เว้นโดยพระบรมราชานุญาต แม้แพ้คดีก็ตามก็โอนให้อีกฝ่ายไม่ได้ อาวุธสำคัญในเวลาต่อมาคือที่ดินซึ่งมีจำนวนมากมาแต่เดิม

ส่วนผู้ บริหารสำนักงานทรัพย์สินก็คือเทคโนแครตชั้นเยี่ยมตั้งแต่สมัยนั้นถึง ปัจจุบัน ทั้งข้าราชการและข้าราชบริพารอย่างองคมนตรี แต่ก็มีคำถามถึงความคลุมเครือในการตีความสถานะขององค์กรเช่นกัน ซึ่งความคลุมเครือนี้เองกลายเป็นข้อดีของสำนักงานทรัพย์สินฯ คือเป็นหน่วยงานของรัฐก็ได้ หรือทำธุรกิจแบบเอกชนก็ได้

สำนักงาน ทรัพย์สินฯเข้มแข็งขึ้น ภายใต้เงื่อนไขที่สถาบันพระมหากษัตริย์มีความความเข้มแข็งจากมรดกการเมือง ของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ปลุกเรื่องอุดมการณ์ชาตินิยมบวกชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เรื่องพระราชอำนาจที่มีจริง และโครงการพระราชดำริโดยเงินของรัฐที่มีมากกว่า3,000โครงการ มีราษฎรได้รับประโยชน์กว่า 7,000,000 คน ส่วนการตรวจสอบสามารถทำได้ยากเพราะต้องระวังอย่าให้มีการระคายเบื้องพระ ยุคลบาท

หลังสงครามโลก หรือตั้งแต่ พ.ศ. 2503 เริ่มมีการลงทุนและพัฒนาที่ดินที่เป็นต้นทุนเดิมโดยให้กลุ่มธุรกิจต่างๆเช่า มีการเข้าไปถือหุ้นของธุรกิจโรงแรม อาทิ ดุสิตธานี ราชดำริ รอยัล ออคิด บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตัล เมื่อเข้าสู่ช่วง พ.ศ. 2530 มีการขยายตัวขนานใหญ่ของสำนักงานทรัพย์สินฯไม่ต่างจากธุรกิจอื่น พ.ศ.2535 – 2539 สินทรัพย์ในธุรกิจทุกอย่างของสำนักงานทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว แต่ก็ตามมาด้วยวิกฤตเศรษฐกิจ

ในวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 สำนักงานทรัพย์สินเสียหายกว่า 80,000 ล้านบาท จึงมีการปรับตัวหลังวิกฤติโดยเน้นธุรกิจหลักและดั้งเดิม อย่างเครือซีเมนต์ไทย เทเวศประกันภัย และธนาคารไทยพาณิชย์ ส่วนบทบาทในการลงทุนได้เปลี่ยนจากการถือหุ้นระยะยาวมาสู่ระสั้น และตั้งบริษัททุนลดาวัลย์เป็นผู้ดูแลหุ้นแทน ส่วนการลงทุนด้านที่ดินและอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ได้ตั้งบริษัทวังสินทรัพย์ ดูแล

สิ่งที่น่าสนใจคือ การฟื้นตัวหลังวิกฤตเศรษฐกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯเป็นไปอย่างรวดเร็ว เมื่อผ่าน พ.ศ. 2544 ธนาคารไทยพาณิชย์มีกำไรสูงกว่าธนาคารอื่นจนกลายเป็นทุนชั้นนำ วิกฤตกลับกลายเป็นโอกาสที่ดี ใน พ.ศ.2546 - 2548 สำนักงานทรัพย์สินได้รับเงินปันผลจากกองทุนลดาวัลย์และที่ดิน 30,000 กว่าล้านบาท โดยไม่มีทุนไหนมีกำไรเทียบเท่าในช่วงเดียวกัน

ปัจจัยที่ ทำให้สำเร็จนอกจากการปรับบทบาทมาสนเรื่องการพัฒนาที่ดินแล้ว อีกกรณีหนึ่งคือบทบาทพลังเหนือรัฐ หลังวิกฤติเศรษฐกิจทุกธนาคารถูกบังคับให้เพิ่มทุนรวมทั้งธนาคารไทยพาณิชย์ โดยต้องเอาเงิน 30,000 กว่าล้านบาทเข้าโครงการ แต่สำนักงานทรัพย์สินฯขณะนั้นมีเงินไม่พอจึงเสียความเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ทว่าภายหลังสำนักงานทรัพย์สินฯได้เอาที่ดินไปแลกหุ้นคืนจนกลับมาเป็นผู้ถือ หุ้นรายใหญ่ได้ บทบาทนี้จึงน่าสงสัยว่าถ้าเป็นธนาคารอื่นเอาที่ดินไปแลกหุ้นสามารถทำได้หรือ ไม่

หรืออีกกรณีคือที่ดินที่เอามาแลกนั้นสามารถสร้างประโยชน์ได้จริง แค่ไหน มีกฎหมายไหนระบุบ้างว่าสามารถทำได้ เหมือนกับการเอาที่ดินที่มิสกวันไปแลกหุ้น ปตท. ที่ดินแบบนี้จึงเป็นคำถามว่าสามารถทำประโยชน์ได้จริงแค่ไหน

ศ.ดร. เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นต่องานวิจัยของ รศ.ดร.พอพันธุ์ว่า การทำเรื่องนี้ทำให้มีการศึกษาเรื่องสำคัญต่อสังคมเศรษฐกิจไทย ถือเป็นความกล้าหาญทางวิชาการที่วิเคราะห์สถาบันที่สำคัญทางเศรษฐกิจ

เพราะ ถ้าศึกษากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่แต่ไม่แตะสำนักงานทรัพย์สินเลยจะไม่เห็นภาพ สิ่งที่ต้องแยกคือทรัพย์สินส่วนพระองค์ส่วนหนึ่ง กับทรัพย์สินส่วนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ย์อีกส่วนหนึ่ง แต่การอธิบายว่ามีอิทธิพลเหนือรัฐดูจะแรงไป ถ้าพูดว่ามีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐน่าจะเหมาะกว่า

ข้อสังเกตคือถ้า มองบทบาทหน้าที่ขององค์กรธุรกิจจะแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มทำหน้าที่เป็นกองทุนหาประโยชน์ กับทำหน้าที่เป็นกลุ่มลงทุนอุตสาหกรรมและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ บทบาทสำนักทรัพย์สินฯ ดูจะเป็นแบบแรก

ธุรกิจไทยที่ร่ำรวยเพราะ ที่ดินนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกและมีมากมาย เช่น ตระกูล ‘กาญจนพาส’ หรือธุรกิจเมืองทองทั้งหลาย เป็นการซื้อที่ดินราคาถูกมาลงทุนธุรกิจ ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินเป็นเจ้าที่ดินมาก่อนและมีบทบาทในสาธารณูปโภคต่างๆ ในเชิงธุรกิจมาก่อนก็เป็นลักษณะนั้น
แต่ในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศนั้น เห็นไม่ชัด ถ้าเปรียบเทียบกับกลุ่มทุนหลังสงครามโลกเหมือนกัน ในบางประเทศที่กลุ่มทุนมีอำนาจการเมืองหนุน เช่น เกาหลีใต้ นอกจากการแสวงผลประโยชน์แล้วจะมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศด้วย เช่น กลุ่มฮุนได ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินไม่ได้ทำตรงนี้

อย่างไรก็ตาม สำนักงานทรัพย์สินฯ ดูจะเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี เพราะถ้าเล่นการเมืองแต่ใช้อำนาจไม่ถูกระบบก็ยุ่งได้ ดังกรณีของกัมพูชา ที่สมเด็จพระเจ้านโรดมสีหนุเคยเล่นการเมือง แม้จะได้รับคะแนนเสียงมากมายแต่ก็ทำให้เกิดความขัดแย้งตามมา ดังนั้นการรักษาอำนาจที่เหมาะมีผลต่อประเทศ แต่ประเด็นนี้ค่อนข้างระเอียดอ่อน

ในประเด็นที่ระบุว่ามีอำนาจเหนือ รัฐ หรือมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐ อย่างกรณีธนาคารไทยพาณิชย์ ต้องทำตามโครงการ14 สิงหา ที่ต้องเพิ่มทุนและ หลังจากนั้นทำให้สำนักงานทรัพย์สินไม่ได้ถือหุ้นรายใหญ่ การรักษาสถานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ต้องมองว่านโยบายออกมาอย่างไร การเอาที่ดินไปแลกหุ้นที่กระทรวงการคลังถือนั้นในสถานะของสำนักงาน ทรัพย์สินฯสามารถทำได้หรือไม่ ถ้ามองว่า สำนักงานทรัพย์สินฯเป็นสถาบันหลักที่สำคัญก็ทำได้ อย่างไรก็ตามคงต้องศึกษาวิเคราะห์ให้ชัดเจนออกมาด้วย เรื่องนี้ละเอียดอ่อนมาก

ส่วนการเก็บค่าเช่าที่ดินของสำนักงาน ทรัพย์สินฯในสมัยใหม่ที่เอาหลักธุรกิจมาใช้มากขึ้นมองว่าถูกต้อง คือเมตตาที่คนอ่อนแอ แต่ใช้หลักธุรกิจมาจับกับคนที่เข้มแข้ง เช่น การเช่าที่วังเพชรบูรณ์ หรือเวิร์ลเทรดเดิมที่มีการเปลี่ยนมือให้อีกกลุ่มทุนหนึ่ง

รศ. วิทยากร เชียงกูล กล่าวเกี่ยวกับงานวิจัยเป็นคนที่สองว่า ข้อมูลตัวเลขในงานวิจัยควรต้องวิเคราะห์แหล่งต่างๆ ด้วยเพราะมีที่มาต่างกัน หรืออาจมีการปกปิด ส่วนสิ่งที่ต้องวิเคราะห์ต่อคือ กลุ่มทุนลดาวัลย์ หรือโฮลดิ้งคอมพานีของสำนักงานทรัพย์สินฯ คือทุนใหญ่กลุ่มหรือตระกูลหนึ่งที่เหมือนเป็นของรัฐแต่เงินไม่ได้เข้ารัฐ เหมือนมีอภิสิทธิ์บางอย่างคล้ายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ไม่ต้องเสียภาษี อย่างในประเทศอังกฤษต้องเสียภาษี ลักษณะแตกต่างนี้น่าสนใจ

นอกจากนี้ ต้องมองต่อว่า การลงทุนของกลุ่มนี้ทำให้เกิดประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และมีประโยชน์ต่อส่วนรวมเพียงไร แต่ดังที่กล่าวมาก่อนว่ากลุ่มทุนนี้ทำเรื่องดังกล่าวน้อยไปถ้าเทียบกับกลุ่ม ทุนฮุนได ในประเทศเกาหลี

บางอย่างก็ล้าหลังไปหน่อย เช่น การเก็บภาษีหรือปฏิรูปที่ดินควรมีลักษณะก้าวหน้า แต่ตอนนี้ยังผ่านไปไม่ได้ นอกจากนี้ยังไม่มีการแข่งขัน เพราะกลุ่มทุนที่มีลักษณะอภิสิทธิ์ ไม่ว่าชินวิตรหรือโสภณพาณิช ก็เหมือนกันถ้าผูกขาดแล้วจะไม่ทำให้เกิดการแข่งขันและเพิ่มประสิทธิภาพ ตอนนี้เป็นการแข่งในกลุ่มธนาคารด้วยกันเท่านั้น

ต่างจากประเทศ ญี่ปุ่นที่มีเงินต้นทุนกับดอกเบี้ยเงินไม่ต่างกันมาก ทำให้มีการลงทุนสูง เมื่อมองแล้วเครือซีเมนต์ไทย และธนาคารไทยพาณิชย์มีก็มีกำไรและฟื้นตัวเร็ว แต่มีการพัฒนาอย่างอื่นนอกจากหากำไรอย่างเดียวหรือไม่ ควรศึกษาวิจารณ์ความเชื่อมโยงต่อระบบเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ต้องทำให้ส่วนที่เป็นของรัฐกับความเป็นเอกชนมีความชัดเจน อย่างในยุโรปประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ วังเก่าจะถือว่าเป็นของรัฐ แต่ไทยตอนนี้ยังไม่มีการแบ่งเกณฑ์ดังกล่าว หรือของขวัญที่ประเทศต่างๆ ให้แก่ประมุขจะถือเป็นของรัฐ เรื่องพวกนี้วันหนึ่งต้องมีการคิด จะปล่อยคลุมเครือไปเรื่อยๆไม่ได้ เพราะถ้าประเทศมีวิกฤตปัญหาจะตามมา เนื่องจากจะเกิดการตั้งคำถามว่าทำไมบางกลุ่มเลี่ยงภาษีแล้วโดนด่า จึงควรจะต้องเสียภาษีในฐานะสร้างการพัฒนาร่วมกัน และในฐานะที่ได้ประโยชน์จากแผ่นดิน

สุภาภรณ์ ตรีเสน หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมธุรกิจ สำนักงานทรัพย์สินฯ กล่าวว่า ผู้สนใจภารกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯด้านข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงยินดีให้ ส่วนเรื่องบทบาทเหนือรัฐเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนที่ดินกับหุ้นธนาคารไทย พาณิชย์ ขอเรียนว่า ทำอย่างถูกตามกฎหมาย มีการใช้เวลานานกับหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อกลั่นกรองโดยคำนึงถึงความโปร่งใส ยุติธรรม และจดทะเบียนชำระค่าธรรมเนียมอย่างถูกต้อง

ภารกิจ สำนักงานทรัพย์สินฯมีการบริหารทุนหลายประเภท แต่มีเจตนารมณ์ที่ความเป็นธรรม มั่นคง อนุรักษ์ผลประโยชน์ส่วนรวมตามรอยพระยุคลบาท หากผู้ใดสนใจมีเอกสารเผยแพร่

//www.prachatai.com/05web/upload/HilightNews/document/Porphant%20.pdf


เครือปูนซิเมนต์ไงครับ ยิ่งใหญ่ตระการตา พัฒนาประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้า พัฒนาผลิตภัฒฑ์ต่างๆออกมามากมาย ไม่เอาเปรียบคู้ค้า และมีโครงการเพื่อประชาชนในท้องถิ่นมากมาย

*** เพิ่มเติม หลังจากเข้าไปอ่านเอกสารแนบ ***

ผมยังคิดว่าสำรักงานฯเค้าก็หากำไรแบบพอเพียงนะครับ ไม่ได้ขูดรีดประชาชน
แต่เป็นการเข้าไปครอบครองเพื่อพัฒนามากกว่า ถ้าไม่เข้าไปครอบครองเพื่อพัฒนา ป่านนี้ตรงพื้นที่เหล่านั้นก็ไม่ได้เจริญเติบโตหรอกครับ

ถ้าไม่มีหน่วยงานนี้ จะให้ทรัพย์สินของจ้าวของนายเสื่อมไปเรื่อยๆตามเงินเฟ้อเหรอครับ
ที่สำคัญหน่วยงานนี้มีโครงการเพื่อ ปชช. เยอะมากๆ ทั้งผ่านทางหน่วยงานเอง และผ่านบริษัทที่หน่วยงานมีหุ้นส่วนอยู่

ผมมองว่าเป็นหน่วยงานที่น่าภูมิใจ และมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนคือเพื่อรับใช้พระมหากษัตริย์ของเรา
สิ่ง ที่เราควรจะทำก็คือให้ความสนใจกับความซื่อสัตย์สุจริตของผู้บริหารภายใน มากกว่า อย่าให้ใครมาโกงทรัพย์ของแผ่นดินของเราไป โดยเฉพาะทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์

จากคุณ : Shopzguy - [ 17 ต.ค. 51 10:59:19 A:192.168.50.20 X:119.42.69.178 ]

ทรัพย์ของสำนักงานทรัพย์สินฯเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน
อย่างน้อยก็มั่นใจได้ว่าจะไม่มีการนำไปขายให้กับสิงคโปร์หรอกครับ
น่าจะทำให้คุณเห็นความแตกต่างระหว่างสำนักงานทรัพย์สินกับองค์กรเอกชนอื่นๆเช่นชินคอร์ปได้นะ

จากคุณ : อาจารย์ไฉไล - [ 17 ต.ค. 51 11:25:25 A:118.173.115.131 X: ]

ตอบคุณอาจาร์ยไฉไล

จากที่อ่านดู ประเด็นคือ ต้องการสร้างความชัดเจนในสถานภาพขององค์กรว่าเป็นองค์กรภาครัฐ หรือองค์กรเอกชน และประเด็นการเสียภาษี เพื่อมิให้เกิดการกล่าวอ้างการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในอนาคต

การ แสวงหาพันธมิตรจากกลุ่มทุนข้ามชาติจึงเป็นเรื่องปกติทางการค้า และการขายกิจการให้กับกลุ่มทุนข้ามชาติ เช่น ช่วงวิกฤตปี 2540 บ.ซีเมนต์ไทยขายหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทลูกให้กับทุนต่างชาติ

(อ้างอิงจากงานวิจัย) สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีความสัมพันธ์กับ
กลุ่ม “ทุน” ชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก็คือ กลุ่มทุนเทมาเซค (Temasek Holding) ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั่นเอง นายชุมพล ณ ลำเลียง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่เครือซีเมนต์ไทยได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ บริษัทสิงคโปร์เทเลคอมมู
นิเคชั่น จำกัด หรือที่เรียกว่า Singtel (ตั้งแต่ปี 2547) ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ในฐานะบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ปล่อยเงินกู้ร่วมกับธนาคารกรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้น 30,000 ล้านบาท (โดยแบ่งกันในสัดส่วนร้อยละ 50) เพื่อปล่อยเงินกู้ให้กับ ซีอาร์ โฮสดิงส์ ที่มาธนาคารจากสิงคโปร์ค้ำประกันอยู่ ทั้งนี้เพื่อซื้อหุ้นของชิน คอร์ป ซึ่งมีผลให้กลุ่มทุนเทมาเซคถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของชินคอร์ปในต้นปี 2549 (โปรดดูรายละเอียดใน 25 คำถาม Shin เบื้องหลังดีลเทคโอเวอร์ชินคอร์ป 2549) นอกจากนี้ในคณะกรรมการของธนาคารไทยพาณิชย์ก็มีตัวแทนจากกลุ่มเทมาเซคอยู่ ด้วย คือ ปีเตอร์ เซียะ ลิม ฮวด (ซึ่งในปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่ง Temasek Advisory Paned Capital Land Limited, และ Government of Singapore Investment Corporation และเคยดำรงตำแหน่ง Singapore Technology
etc ซึ่งบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทในเครือของกลุ่มเทมาเซคทั้งหมด (รายงานประจำปี ธนาคารไทยพาณิชย์ 2548) นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ โดยธนาคารไทยพาณิชย์และทุนลดาวัลย์ได้ร่วมทุนกับบริษัทในเครือของ Capital Land (อันเป็นบริษัทของกลุ่มทุนเทมาเซค) กลุ่มอิตัลไทย และอิสระว่องกุศลกิจ (กลุ่มน้ำตาลมิตรผล) ตั้งบริษัทพรีมัส (ประเทศไทย) เข้ามาจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือทรัพย์สินด้วย

จากคุณ : silkroad - [ 17 ต.ค. 51 11:56:44 A:211.122.116.169 X: ]


Create Date : 17 ตุลาคม 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:26:38 น. 1 comments
Counter : 2033 Pageviews.

 
เหนือรัฐ-ใต้ราษฎร
วิถีทุน : จุมพฏ สายหยุด กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2549

เมื่อสัปดาห์ก่อนมีสื่อมวลชนหลายฉบับ รวมถึง "กรุงเทพธุรกิจ" ลงตีพิมพ์บทสรุปย่อ "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ" โดยนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่ง ในบทสรุปย่อตอนหนึ่งระบุว่า การขยายตัวด้านรายได้และผลกำไรของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในช่วงปี 2546-2548 มีปัจจัยมาจาก 1.บทบาทและพลังเหนือรัฐของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 2.สถานการณ์เศรษฐกิจปี 2540 และ 3.นโยบายค่าเช่าและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ผมเป็นคนข่าว ที่ติดตามทำข่าวเรื่องราวของสำนักงานทรัพย์สินมาไม่น้อย ได้มีโอกาสเข้าสัมภาษณ์ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 2 หน และสัมภาษณ์ ฯพณฯ พลเรือตรีหม่อมหลวงอัศนี ปราโมช องคมนตรี ในฐานะผู้จัดการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ 1 หน ยังจำคำของท่านองคมนตรีที่บอกว่า

"ทุกอย่างเหมือนไพรเวทเซคเตอร์หมด แต่ขอบ่นว่ายากกว่าไพรเวทเซคเตอร์ธรรมดา เพราะจะทำธุรกิจอะไรก็ต้องระวัง ด้วยเหตุที่ว่ามีพระองค์ท่านเกี่ยวข้อง มรดกที่ท่านทรงรับมา ก็มีห้องแถวอะไรต่ออะไร ผู้เช่าได้ประโยชน์มาเยอะ แต่จะขึ้นค่าเช่าเอกชนจะยอมรับไม่ค่อยได้ เขาจะอ้างว่าอยู่มาหลายสิบปี หรือค้าขายไม่ได้กำไร ฟังดูก็แปลกดีนะ พระเจ้าอยู่หัวทรงไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่คือข้อเท็จจริง" เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมก็จึงคิดว่าตัวเองก็คงมีข้อมูลมาแชร์ ในเรื่องนี้พอสมควร จึงขออนุญาตแสดงความเห็นแย้ง งานวิจัยชิ้นนี้ในสองประเด็นหลักดังต่อไปนี้

ประเด็นที่หนึ่ง ผมรู้สึกประหลาดใจที่ผู้วิจัย ได้ละเลยปัจจัยด้านกลยุทธ์การปรับตัวทางด้านธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สิน โดยมิได้ระบุไว้เป็นหนึ่งในสามปัจจัยของการขยายตัวแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่เป็นปัจจัยที่ถือว่ามีความสำคัญที่สุด ในสายตาของผู้ที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงของบริษัทลูกของสำนักงานทรัพย์สิน ซึ่งก็คือ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ดังคำสัมภาษณ์ของ ดร.จิรายุ ที่เคยตีพิมพ์ลงในนิตยสารเล่มหนึ่งเมื่อปี 2546 ที่ท่านกล่าวถึงปูนใหญ่ว่า

"ถ้ากลับไปดูความสามารถของฝ่ายจัดการ เดิมการส่งออกปูนเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ เวลาค่าเงินตกทำให้เอกซ์ปอร์ตได้มากขึ้น แต่ตลาดเราไม่รู้จัก เพราะเคยส่งแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ ฝ่ายจัดการเขาบอกผู้จัดการทั้งหลายไม่ต้องยุ่งกับเมืองไทย ตอนนั้นทำอะไรไม่ได้มากแล้ว คุณออกไปขายให้ได้มากที่สุดเพียง 6 เดือนส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 35 เปอร์เซ็นต์ พอส่งออก 35 เปอร์เซ็นต์ ที่เคยเป็นหนี้ 2,500 ล้านบาท นี่มันเกิดเฮจด์ (Hedge) วันรุ่งขึ้น ลดบาทหนึ่งเราไม่สนใจแล้ว เราส่งออกได้เพิ่มขึ้น นี่คือจุดสำคัญที่ผ่านวิกฤติไปได้"

อีกท่านที่พูดถึงเรื่องนี้คือ เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ท่านกล่าวในงานสัมมนา "แนวโน้มเศรษฐกิจไทย มุ่งสู่ธุรกิจแบบพอเพียง" ที่จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี่เองความว่า เมื่อก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เครือซิเมนต์ไทย ก็เหมือนกับบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ ที่ใช้การบริหารเศรษฐกิจแบบฝรั่ง ที่เน้นการโตขึ้นเรื่อยๆ อ้วนขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อเกิดวิกฤติขึ้น และ ดร.สุเมธ ได้เข้ามาเป็นกรรมการก็พบว่าบริษัทขาดทุน 2 หมื่นล้านบาท

เมื่อสติเริ่มกลับมา เครือซิเมนต์ไทยก็เริ่มมาประมาณตนให้อยู่ในธุรกิจหลักที่สำคัญเท่านั้น หรือที่เรียกว่า คอร์ บิซิเนส คือดูที่ศักยภาพธุรกิจที่ตนถนัดเพื่อรักษาเอาไว้ เช่น ธุรกิจก่อสร้างที่เครือซิเมนต์ไทยคุมตั้งแต่ภูเขาจนถึงตลาด ธุรกิจปิโตรเคมีที่มีอนาคตและคนของเราก็เก่ง ธุรกิจกระดาษก็มีตลาดที่ใหญ่ แม้วัตถุดิบมีปัญหา แต่ก็คิดว่าคุมได้ ส่วนอย่างอื่นให้ขายหมด สลัดภาระและไขมัน

ผมเห็นว่า การละเลยที่จะไม่กล่าวถึงวิสัยทัศน์ ความสามารถและฝีมือของกรรมการ และคณะจัดการของบริษัทในเครือ ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทำให้ความเข้าใจเรื่อง "โครงสร้าง และพลวัตทุนไทยหลังวิกฤติเศรษฐกิจ" (ตามหัวข้อสัมมนา) ดูขาดวิ่นชอบกล หรือนี่จะเป็นพรมแดนความรู้ที่นักเศรษฐศาสตร์บางกลุ่มไม่สนใจที่จะไปให้ถึง ในขณะที่ผู้วิจัยกลับไปวางน้ำหนักเรื่อง บทบาทเหนือรัฐ เรื่องภาวะเศรษฐกิจ และจบด้วยเรื่องนโยบายค่าเช่า

และเมื่อกล่าวถึงบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สิน ก็กล่าวราวกับว่าเป็นแต่เรื่องการโยกย้ายพอร์ตธรรมดา แต่จากคำให้สัมภาษณ์ของผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สิน และปาฐกถาของเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาก็จะเห็นว่า มีการเปลี่ยนแปลงในระดับกลยุทธ์และปัจจัยพื้นฐานที่มากกว่านั้น เขียนมาถึงตรงนี้ก็เลยได้แค่ข้อแย้งประเด็นเดียว ยังขาดอีกประเด็นคือเรื่อง "พลังเหนือรัฐ" ซึ่งขอยกยอดในโอกาสหน้า ว่าในความเห็นของผมนั้น สำนักงานทรัพย์สินนั้นมีพลังเหนือรัฐ จริงหรือ

อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่างานวิจัยนี้จะไม่สร้างความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ ที่มีต่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เท่าใดนัก เนื่องจากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ก็มีสื่อมวลชนจำนวนไม่น้อย ที่ได้ติดตามเรื่องราวของสำนักงานทรัพย์สินมาโดยตลอดทุกๆ ไตรมาส บริษัทปูนซิเมนต์ไทยจะเปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ส่วนผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ ก็ให้ข่าวสื่อมวลชนเป็นประจำอยู่แล้ว

เช่นเดียวกับท่านผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และผู้จัดการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ ก็รับนัดสัมภาษณ์สื่อมวลชนอยู่เสมอ องค์ความรู้ และความเข้าใจของพวกเราสื่อมวลชนที่มีต่อเรื่องเหล่านี้จึงมีพอตัว


--------------------------------------------------------------------------------

เหนือรัฐ-ใต้ราษฎร (2)

คอลัมน์วิถีทุน : จุมพฏ สายหยุด กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

เมื่อสัปดาห์ก่อนผมเขียนวิจารณ์ ผลงานวิจัย "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ" โดยนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งที่ไปนำเสนอในงานสัมมนาโครงสร้างและพลวัตทุนไทยหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นงานใหญ่ของเหล่านักเศรษฐศาสตร์ ระดับ โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ซึ่งบทคัดย่อนี้ทาง "กรุงเทพธุรกิจ" ได้นำลงมาตีพิมพ์

คำวิจารณ์ของผมมุ่งไปในสองประเด็น ประเด็นแรก คือเห็นว่าผู้วิจัยได้ละเลยปัจจัยด้านกลยุทธ์การปรับตัวทางด้านธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สิน ส่วนประเด็นที่สอง ผมไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปเชิงกล่าวหาที่ว่า สำนักงานทรัพย์สินมีพลังเหนือรัฐ โดยหยิบเอากรณีที่สำนักงานทรัพย์สินเอาที่ดินทุ่งพญาไท ไปแลกหุ้นแบงก์ไทยพาณิชย์ ซึ่ง "กรุงเทพธุรกิจ" ตีพิมพ์ว่า "งานวิจัย อ้างว่ากฎหมายระบุชัดเจนว่า การแลกเปลี่ยนที่ดินต้องเป็นการแลกเปลี่ยนที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่งในราคาที่เท่าเทียมกันด้วย" ประเด็นนี้ผมตั้งใจจะให้ความเห็นในวันนี้

ผมหวาดเสียวอยู่เล็กๆ เมื่อตอนก่อนเนื่องจากไปเขียนวิจารณ์โดยอ่านจากรายงานที่ตีพิมพ์ในกรุงเทพธุรกิจเท่านั้น ยังไม่ได้อ่านฉบับจริง ดังนั้น ความคลาดเคลื่อนและไม่เป็นธรรมก็มีโอกาสเกิดขึ้น แต่ไม่กี่วันมานี้เองได้มีโอกาสอ่านงานวิจัยฉบับเต็มที่ดาวน์โหลดจากเวบไซต์ประชาไท(www.prachathai.com) อ่านแล้วต้องบอกว่าอาการหวาดเสียวเป็นหนักกว่าเดิม แต่เป็นการหวาดเสียวแทนผู้วิจัย เนื่องจากว่าข้อมูลเรื่องทุ่งพญาไทนั้น เป็นเพียงการถ่ายทอดมาจาก "สื่อ" รายหนึ่ง

ผมไม่แน่ใจว่าในวงวิจัยนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำเขาให้น้ำหนัก "ความน่าเชื่อถือ" ของการอ้างอิงงานเอกสารแต่ไหน แต่ในวงสื่อมวลชน เรารู้กันอยู่ว่าสื่อแต่ละสื่อมีระดับความน่าเชื่อถือเพื่อการอ้างอิง ที่แตกต่างกัน เจ้าของสื่อบางรายเชื่อว่าสื่อของตนมีหน้าที่คล้อยตาม "จุดยืน" หรือแม้กระทั่ง "ผลประโยชน์" ของตน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น เราก็ต้องรู้ว่าเราอ่านสื่อฉบับนั้นเพื่อให้รู้ว่าเขาคิดกับสถานการณ์นั้นอย่างไร แต่จะไปถือเอามาอ้างอิงเป็นความเชื่อถือในตัวข้อมูลนั้นคงไม่ได้

"สื่อ" ที่ท่านผู้วิจัยนำมาอ้างอิงเรื่อง ทุ่งพญาไท นั้นก็เป็นสื่อในแบบที่ผมว่า คือเจ้าตัวเขาก็ไม่ได้ตั้งใจเอาสิ่งที่เขาเขียนไปอ้างอิง เหมือนบทความฉบับนี้ที่เขียนโดยคนทำงานสื่อ ไม่ใช่นักวิชาการเขียนดังนั้นก็ไม่ต้องการให้ใครเอาไปอ้างอิงเช่นกัน แต่ในกรณีนี้กลายเป็นว่าสื่อมวลชนไปเขียนวิจารณ์ แล้วนักวิชาการเอามาอ้างอิง แล้วสื่อมวลชนก็เอามาอ้างอิงกันต่อ เป็นงูกินหางกันไป

ผู้วิจัยควรที่จะได้มีการสอบทาน กับแหล่งข้อมูลบ้างเพื่อความน่าเชื่อถือ และความเป็นธรรมสำหรับผู้ถูกกล่าวหา อย่างสำนักงานทรัพย์สิน ผมเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่างานวิจัยในระดับนี้ ควรจะมีมาตรฐานที่สูงกว่างานของสื่อมวลชน ซึ่งในระดับมาตรฐานของสื่อมวลชนในกรณีนี้ เราจะมีการสอบทานกับตัวสำนักงานทรัพย์สินเอง ซึ่งในงานสัมมนาก็มีคนของสำนักงานทรัพย์สินมาร่วมด้วย ดังรายงานจากเวบประชาไทดังนี้

"สุภาภรณ์ ตรีเสน หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมธุรกิจ สำนักงานทรัพย์สิน กล่าวว่า ผู้สนใจภารกิจของสำนักงานทรัพย์สิน ด้านข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ยินดีให้ ส่วนบทบาทเหนือรัฐเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนที่ดินกับหุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ขอเรียนว่า ทำอย่างถูกตามกฎหมาย มีการใช้เวลานาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกลั่นกรอง โดยคำนึงถึงความโปร่งใส ยุติธรรม และจดทะเบียน ชำระค่าธรรมเนียมอย่างถูกต้อง ภารกิจสำนักงานทรัพย์สิน มีการบริหารทุนหลายประเภท แต่มีเจตนารมณ์ที่ความเป็นธรรม มั่นคง อนุรักษ์ผลประโยชน์ส่วนรวมตามรอยพระยุคลบาท หากผู้ใดสนใจมีเอกสารเผยแพร่"

ผมเข้าใจว่าคุณสุภาภรณ์ คงพูดยาวกว่านี้ แต่เอาแค่ที่รายงานมา ก็คงเห็นว่าผู้พูดคงอึดอัดกับ "ตัวข้อมูล" ที่มีการอ้างอิงในงานวิจัย แล้วผมขอยืนยันสิ่งที่คุณสุภาภรณ์ กล่าวถึงเรื่องข้อเท็จจริงจากต้นทาง (Original) ที่ทางสำนักงานทรัพย์สินยินดีเผยแพร่ เพราะผมเคยมีประสบการณ์กับตนเองในการขอนัดสัมภาษณ์ ทั้งท่านผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สิน และผู้จัดการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์

(ซึ่งในงานวิจัย เรียกตำแหน่งว่าผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งคลาดเคลื่อน เช่นเดียวกับ "ยศ" และ "ชื่อ" ของ ฯพณฯ องคมนตรี ในงานวิจัยเขียนว่า "พลตรีหม่อมหลวงอัสนี ปราโมช" ทั้งๆ ที่ท่านเป็น "พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช" มีการเขียนชื่อ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งที่ถูกต้องๆ เขียนว่า "ปูนซิเมนต์ไทย") ก็ปรากฏว่าทั้งสองท่านก็รับนัดทั้งที่เราเป็นนิตยสารฉบับเล็กๆ แถมยังมีเอกสารข้อมูลพื้นฐานอีกเพียบ

ทุกวันนี้ ผู้เช่าที่ดินที่เอารัดเอาเปรียบสำนักงานทรัพย์สินมากที่สุด ไม่ใช่ชาวบ้าน หรือผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อย แต่ได้แก่หน่วยราชการ อย่างเช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จ่ายค่าเช่าไร่ละพันบาทเศษๆ ต่อปี หากสำนักงานทรัพย์สินมีพลังเหนือรัฐจริง ก็คงใช้พลังขับหน่วยงานเหล่านี้ ออกไปอยู่ศูนย์ราชการแถวเมืองนนท์ไปหลายแห่งแล้ว

ครั้งหนึ่งโรงเรียนเตรียมทหารก็เคยเช่าที่สำนักงานทรัพย์สินถูกๆ อยู่ใจกลางเมือง มีอยู่วันหนึ่งก็เลยเดินไปบอกสำนักงานทรัพย์สินว่ายินดีจะย้ายออกให้ เพราะว่าไม่อยากอยู่แล้ว แต่ขอให้สำนักงานทรัพย์สินช่วยออกค่าเคลื่อนย้ายและสร้างที่แห่งใหม่ให้ เพราะรองบประมาณไม่ไหว สำนักงานทรัพย์สินก็ยอม แต่ขอให้ทางรัฐบาลช่วยสมทบด้วย พอดีในช่วงดำเนินการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ สำนักงานทรัพย์สินขาดสภาพคล่อง

ดร.จิรายุ เล่าให้ผมฟังว่า "ท่าน (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) รับสั่งวันที่สมเด็จพระเทพฯ เสด็จไปวางศิลาฤกษ์ ทรงโปรดฯ ให้สมเด็จพระเทพฯ รับสั่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดว่าให้ลดปัญหานี้ให้แก่ทรัพย์สินเถอะ อย่าสร้างเต็มรูปแบบเลยเอาเท่าที่จำเป็นก่อน ตึกหอประชุมอย่าพึ่งสร้างเลย เอาห้องเรียนที่สำคัญๆ ก่อน ที่โก้ๆ เอาไว้ทีหลัง ท่านทรงรับทราบปัญหา กำลังแก้ไขอยู่

ในวงสัมมนา ยังมีนักเศรษฐศาสตร์อายุมากแล้วท่านหนึ่ง กล่าวถึงงานวิจัยครั้งนี้ว่า "ถือเป็นความกล้าหาญทางวิชาการ ที่วิเคราะห์สถาบันสำคัญทางเศรษฐกิจ" ซึ่งก็คงต้องให้พวกท่านสรรเสริญกันไป แต่สำหรับแวดวงพวกเราสื่อมวลชนแล้ว การวิเคราะห์รายงานเรื่องราวของสำนักงานทรัพย์สิน ไม่ใช่เรื่องที่ต้องใช้ความกล้าหาญแต่อย่างใด แต่ต้องมีข้อมูลรองรับที่น่าเชื่อถือ เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายชี้แจง และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็เท่านั้นเอง



โดย: นายโจ้ IP: 113.53.74.49 วันที่: 5 พฤษภาคม 2552 เวลา:23:07:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.