ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง
ค่าการกลั่นคืออะไร

ระยะนี้มีการพูดถึงค่าการกลั่นกันเยอะมาก ทำให้ผมถูกถามบ่อยๆ ว่า "ค่าการกลั่น" คืออะไร กล่าวโดยสรุปและเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ไม่ต้องเอาเรื่องเทคนิคการกลั่นหรือวิชาเศรษฐศาสตร์การกลั่นน้ำมันมาคิดให้ ยุ่งยาก

ค่าการกลั่น (Gross Refining Margin-GRM) ก็คือส่วนต่าง (Spread) ระหว่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น (Ex.Refinery Price) กับราคาน้ำมันดิบที่โรงกลั่นซื้อมาเป็นวัตถุดิบในการกลั่นนั่นเอง

ถ้า เปรียบโรงกลั่นน้ำมันเป็นเหมือนกับโรงงานผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง ค่าการกลั่นก็เหมือนกับกำไรของสินค้าชนิดนั้นก่อนหักค่าใช้จ่ายในการผลิต นั่นเอง เปรียบเป็นสมการได้ดังนี้

โรงงาน A ผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายของสินค้าชนิดนั้นก็คือราคาขายส่งสินค้าหน้าโรงงาน -ต้นทุนวัตถุดิบ = กำไรก่อนหักค่าใช้จ่าย

ถ้าเป็นโรงกลั่นน้ำมัน ค่าการกลั่นก็คือ ราคาขายส่งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น - ราคาน้ำมันดิบ = กำไรก่อนหักค่าใช้จ่าย

ค่า การกลั่นนี้เป็นกำไรเบื้องต้น ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายต่างๆในการกลั่น เช่น ค่าพลังงานที่ใช้ในการกลั่นน้ำมัน ค่าเงินเดือนพนักงาน/ลูกจ้าง ค่าเสื่อมราคาของโรงงานที่ลงทุนไปเป็นแสนล้าน ค่าดอกเบี้ย ค่าวัสดุที่ใช้ในการกลั่น ค่าบำรุงรักษาโรงกลั่น ค่าสารเคมีและสารเพิ่มคุณภาพต่างๆที่ใช้ในกระบวนการกลั่น ดังนี้เป็นต้น

ฟัง ดูก็ง่ายๆใช่ไหมครับ ไม่น่าจะซับซ้อนอะไร แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆก็คือ มีความเข้าใจผิด หรือ จงใจจะทำให้เข้าใจผิด ว่าค่าการกลั่นน้ำมันของโรงกลั่นในประเทศไทยสูงเกินจริง

เข้าใจผิดอย่างไรต้องอธิบายถึงกระบวนการกลั่นน้ำมันของโรงกลั่นดังนี้ครับ

เวลา เราซื้อน้ำมันดิบมาป้อนเข้ากระบวนการกลั่นของโรงกลั่น น้ำมันดิบ 1 บาร์เรล (ประมาณ 159 ลิตร) จะกลั่นเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้หลายชนิด ไล่มาตั้งแต่ก๊าซหุงต้ม (LPG) น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และยางมะตอย (Asphalt)

ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีราคาแตกต่าง กัน เช่น เบนซิน ราคา 130-150 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ดีเซล ราคา 150-170 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเตาราคา 70-110 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ดังนี้เป็นต้น

ดังนั้นเวลาคำนวณค่าการกลั่นเราต้องเอาราคาน้ำมัน สำเร็จรูปแต่ละชนิดมาหาส่วนต่างกับน้ำมันดิบ จึงจะรู้ว่าน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละชนิดมีกำไร/ขาดทุนเท่าไร

สมมติว่า เราเอาราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เป็นมาตรฐานในการคิด (ซึ่งจริงๆโรงกลั่นในประเทศไทยอาจไม่ได้ใช้น้ำมันชนิดนี้ก็ได้) แต่เป็นน้ำมันดิบที่ใช้อ้างอิงในตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเราถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด

ถ้า เราใช้ราคาน้ำมันดิบ Dubai และราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์มาคิดค่าการกลั่น เราจะได้ส่วนต่าง (Spread) ของน้ำมันแต่ละชนิดดังนี้ครับ (อ้างอิงราคาวันที่ 6 มิ.ย. 51)

1. ราคาน้ำมันเบนซิน = 137 $/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ Dubai = 123 $/บาร์เรล
ส่วนต่าง (Spread) = 14 $/บาร์เรล

2. ราคาน้ำมันดีเซล = 163 $/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ Dubai = 123 $/บาร์เรล
ส่วนต่าง (Spread) = 40 $/บาร์เรล

3. ราคาน้ำมันเตา = 95 $/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ Dubai = 123 $/บาร์เรล
ส่วนต่าง (Spread) = -28 $/บาร์เรล

โรง กลั่นน้ำมันแต่ละแห่งกลั่นน้ำมันชนิดต่างๆได้ไม่เท่ากัน บางแห่งกลั่นน้ำมันเบนซิน/ดีเซลได้มาก กลั่นน้ำมันเตาได้น้อย (Complex Refinery) แต่บางโรงกลั่นน้ำมันเบนซิน/ดีเซลได้น้อย กลั่นน้ำมันเตาได้มาก (Simple Refinery) ดังนั้นเวลาคิดค่าการกลั่นของโรงกลั่นแต่ละโรง ต้องเอาสัดส่วนน้ำมันที่ผลิตได้มาคิดด้วย เพราะถ้าโรงกลั่นไหนกลั่นน้ำมันเตาซึ่งมีส่วนต่างติดลบได้มาก ค่าการกลั่นจะต่ำกว่าโรงกลั่นที่กลั่นน้ำมันเตาได้น้อย ดังนี้เป็นต้น

ความ สับสนอยู่ตรงนี้ครับ มีความเข้าใจผิด (จริงๆ) เพราะไม่รู้และมีความพยายามจะทำให้เข้าใจผิด โดยเอาส่วนต่างระหว่างน้ำมันดีเซลและราคาน้ำมันดิบซึ่งในระยะนี้สูงถึง 40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (เป็นบางช่วงเท่านั้นนะครับ โดยทั่วไปจะอยู่ที่เฉลี่ย 25-35 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลเท่านั้น) มาบอกว่าเป็นค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทยและบอกว่าโรงกลั่นมีกำไรมาก เกินไป

จริงๆแล้วเราต้องเอาส่วนต่าง (Spread) ของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดมาคิดค่าการกลั่น โดยคิดตามสัดส่วนผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่โรงกลั่นนั้นๆกลั่นได้

ยกตัวอย่างเช่น โรงกลั่นแห่งหนึ่งกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปได้ตามสัดส่วนดังนี้
• น้ำมันเบนซิน 30% ส่วนต่างน้ำมันดิบ 14 $/บาร์เรล
• น้ำมันดีเซล 40% ส่วนต่างน้ำมันดิบ 40 $/บาร์เรล
• น้ำมันเตา 30% ส่วนต่างน้ำมันดิบ -28 $/บาร์เรล

เวลาคำนวณค่าการกลั่นต้องคำนวณดังนี้
• น้ำมันเบนซิน 14 x 0.30 = 4.2 $/บาร์เรล
• น้ำมันดีเซล 40 x 0.40 = 16.0 $/บาร์เรล
• น้ำมันเตา -28 x 0.30 = -8.4 $/บาร์เรล

ฉะนั้นค่าการกลั่นของโรงกลั่นโดยเฉลี่ย = 11.8 $/บาร์เรล = 2.41 บาทต่อลิตร (อัตราแลกเปลี่ยน1$=32.50บาท)

ขอ ย้ำว่านี่เป็นค่าการกลั่นของวันที่ 6 มิถุนายน วันเดียวเท่านั้นนะครับ ค่าเฉลี่ยทั้งเดือน ทั้งปีอาจสูงหรือต่ำกว่านี้ก็ได้ และการคำนวณนี้เป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆ เท่านั้นนะครับ จริงๆแล้วเราต้องเอาราคา LPG ซึ่งขายต่ำกว่าต้นทุน หรือราคายางมะตอยซึ่งราคาต่ำกว่าน้ำมันเตามาคำนวณด้วย ซึ่งจะทำให้ค่าการกลั่นต่ำลงไปอีก

เห็นอย่างนี้แล้วหากยังจะบอกว่า ค่าการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันในบ้านเราสูงเกินไปผมก็จนใจ พูดมากไปเดี๋ยวจะหาว่าผมเข้าข้างบริษัทน้ำมันอีก เอาเป็นว่าถ้าไม่เชื่อลองเปิดประมูลให้มีการสร้างโรงกลั่นใหม่ในบ้านเราดูก็ ได้ครับ ดูสิจะมีใครสนใจมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ได้ BOI หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ เพราะโรงกลั่นใหม่เดี๋ยวนี้ลงทุนอย่างต่ำ 120,000 ล้านบาทครับ!

ที่มา ฐานเศรษฐกิจ

ค่าการกลั่น อัพเดททุกวัน

สนพ. : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

Reported by Petroleum Division, EPPO
รายงานโดยส่วนปิโตรเลียม สนพ.
Tel 0-2612-1555 ext 562 - 568

หากอยากได้ข้อมูลค่าการกลั่นย้อนหลัง ก็ตามนี้ครับ ย้อนหลังเป็นรายวัน จะเอาไปลองทำกราฟด้วยก็ดีครับ แต่ค่าการกลั่นนี้เป็นข้อมูลของอุตสาหกรรมนะครับ โดยค่าการกลั่นของแต่ละโรงกลั่นก็คงต้องขึ้นอยู่กับโครงสร้างการกลั่นเหมือน ที่คุณต๋อยให้ข้อมูลไว้ครับ อย่างไรก็ตามค่าการกลั่นของอุตสาหกรรมก็สะท้อนถึงแนวโน้มค่าการกลั่นของโรง กลั่นได้ระดับหนึ่งครับ
ค่าการกลั่นของอุตสาหกรรมย้อนหลัง


ตัวอย่างปัจจัยที่มีผลกระทบกับค่าการกลั่นค่ะ

เทคโนโลยีสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ ได้ลงทุนในโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (Product Quality Improvement: PQI) เพื่อให้โรงกลั่นมีระบบการกลั่นแบบ Complex Refinery ซึ่งใช้เทคโนโลยี Hydrocracking ที่ทันสมัยล่าสุดของ UOP ประเทศสหรัฐอเมริกาทำให้สามารถผลิต น้ำมันดีเซลและเบนซิน ได้ในสัดส่วนที่สูงขึ้นสอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น ตามสภาวะเศรษฐกิจที่ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเทียบเคียงกับ โรงกลั่นชั้นนำอื่น ส่งผลให้บริษัทฯ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

ประโยชน์ของโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน
การ ดำเนินโครงการฯ จะช่วยลดปริมาณการผลิตน้ำมัน เตาลงจากร้อยละ 31ให้เหลือร้อยละ 9 ซึ่งจะทำให้โรงกลั่น บางจากมีประสิทธิภาพสูงเทียบเคียงกับโรงกลั่นอื่น

สร้างผลตอบแทน การลงทุนที่สูง ทำให้ค่าการกลั่นเพิ่มขึ้น จากประมาณ 2-3 ดอลลาร์ สรอ./บาเรล เป็นประมาณ 6-8 ดอลลาร์ สรอ./บาเรล ส่งผลให้รายได้ก่อนหัก ดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) เพิ่มขึ้น จากประมาณ 2,000 - 3,000 ล้านบาท/ปี เป็นประมาณ 6,000 - 8,000 ล้านบาท/ปี ด้วยเงินลงทุนประมาณ 348 ล้านดอลลาร์ สรอ.

ช่วยเพิ่มปริมาณการผลิต น้ำมันแก๊สโซฮอล์และ น้ำมันดีเซลที่มีคุณภาพสูงดีต่อสิ่งแวดล้อมตาม ข้อกำหนดคุณภาพใหม่ของรัฐบาล ลดปริมาณกำมะถัน ซึ่งทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ อันเป็นสาเหตุของฝนกรด

ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI)

บริษัทฯ ได้ลงทุนในโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน เพื่อพัฒนาโรงกลั่นให้เป็นแบบ Complex Refinery โดยการติดตั้งหน่วยแตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) หน่วยกลั่นสูญญากาศ (Vacuum Unit) หน่วยผลิตไฮโดรเจน (Hydrogen Plant) และหน่วยสนับสนุนอื่น ๆ สามารถผลิตน้ำมันดีเซลและเบนซินได้ในสัดส่วนที่สูงขึ้น สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น และลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาที่มีราคาต่ำและมีแนวโน้มความต้องการใช้ลดลงใน อนาคต ซึ่งจะเพิ่มรายได้และความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับโรงกลั่นประเภท Complex โดยใช้เงินลงทุนมูลค่าประมาณ 348 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 14,000 ล้านบาท) และจะทดลองเดินเครื่องในปลายปี 2551

ณ เดือนเมษายน 2551 โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) มีความคืบหน้าประมาณร้อยละ 85 โดยมีการก่อสร้าง ติดตั้งอุปกรณ์ส่งต่อ ทั้งกังหันไอน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และหอกลั่น เตา อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน เครื่องอัดก๊าซ เป็นต้น ในหน่วยผลิตหลัก เช่น หน่วยกลั่น สุญญากาศ หน่วยผลิตไฮโดรเจน หน่วยแตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracker) แล้วซึ่งในส่วนที่เหลือส่วนใหญ่จะเป็นการประกอบและการติดตั้งโครงสร้างท่อ ทางน้ำมัน รวมถึงระบบไฟฟ้า และระบบควบคุม ซึ่งคาดว่าจะเสร็จพร้อมทดลองเดินเครื่องได้ในปลายปีนี้

ที่มา น้ำมันบางจาก





ค่าการกลั่นน้ำมัน - เรื่องที่ควรรู้

--------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจมติชน 10 พ.ค. 2548 และหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2047 25 ก.ย. 2548

กระบวนการกลั่น (ภาพประกอบจากเว็บไซด์ บมจ. บางจากปิโตรเลียม)



การดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันต้องใช้เงินลงทุนนับแสนล้านบาทและมีความเสี่ยง ที่สูง เนื่องจากอุตสาหกรรมน้ำมันมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างจากธุรกิจทั่ว ไป กล่าวคือ ณ วันที่ตัดสินใจสั่งซื้อน้ำมันดิบมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปเพื่อจำหน่าย นั้น ก็เกิดความเสี่ยงเกิดขึ้นแล้ว เพราะไม่ทราบว่าจะมีกำไรหรือขาดทุน เนื่องจากการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศมากลั่น ต้องสั่งซื้อล่วงหน้าประมาณ 1 - 2 เดือนก่อนการส่งมอบ โดยการตกลงซื้อขายจะระบุเพียงปริมาณเท่านั้น ส่วนราคาจะอ้างอิงกับราคาน้ำมันตลาดโลกในเดือนส่งมอบ ขณะเดียวกันในด้านการจำหน่าย โรงกลั่นมีการตกลงกับผู้ค้าน้ำมันล่วงหน้าว่าจะมีการซื้อขายในปริมาณเท่า ไหร่ในเดือนข้างหน้าโดยมีสูตรราคาที่อิงกับตลาดซื้อขายที่สิงคโปร์ในช่วงวัน ส่งมอบ

อีกทั้งวงจรของธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันมีความผันผวนสูง ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงขาลงของธุรกิจ โรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ในประเทศไทยแทบทุกแห่งต่างประสบกับการขาดทุนเป็น จำนวนมากจนไม่สามารถชำระหนี้สินได้ ต้องปรับโครงสร้างหนี้ และเพิ่มทุนเป็นจำนวนมากเพื่อให้มีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เพิ่งจะเริ่มมีกำไรเมื่อ 2- 3 ปี ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ถือว่าอยู่ในช่วงขาขึ้น เนื่องจากมีค่าการกลั่นสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยปกติ ผลกำไรที่เกิดขึ้นบริษัทนำไปลดขาดทุนสะสมในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่าภาวะเช่นนี้จะอยู่ได้นานเพียงใด

ค่าการกลั่นเกิดจากราคา ณ โรงกลั่น ของน้ำมันสำเร็จรูปที่โรงกลั่นผลิตได้เฉลี่ยตามสัดส่วนปริมาณการผลิตของ น้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ที่กลั่นได้ หักด้วยต้นทุนวัตถุดิบ คือ ราคาน้ำมันดิบรวมกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการนำเข้า เช่น ค่าขนส่ง แต่รายได้จากค่าการกลั่นนี้ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า สารเคมี ค่าซ่อมบำรุง และค่าแรงต่างๆ เป็นต้น ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันแต่ละแห่งจะมีค่าการกลั่นที่ไม่เท่ากัน เนื่องจากมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันทำให้ได้ผลผลิตน้ำมันสำเร็จรูปชนิด ต่างๆ ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน แม้จะใช้น้ำมันดิบประเภทเดียวกันก็ตาม

สำหรับราคา ณ โรงกลั่น ของประเทศไทยนั้น เป็นสูตรราคาที่กำหนดขึ้นเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับราคาน้ำมันสำเร็จรูป ที่นำเข้าจากตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเป็นต้นทุนการนำเข้าที่ต่ำสุด เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศผู้ส่งออกที่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด ถ้าหากโรงกลั่นน้ำมันในประเทศกำหนดราคาแพงกว่า ผู้ค้าน้ำมันก็จะหันไปนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์แทน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกำลังการกลั่นในประเทศไทยมีเกินปริมาณความต้องการใช้ ทำให้ต้องส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งราคาส่งออกนั้นถูกกว่าราคานำเข้า ดังนั้นโรงกลั่นต่างๆ จึงให้ส่วนลดแก่ผู้ค้าน้ำมันเพื่อจูงใจให้ซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นในประเทศ ซึ่งการกำหนดราคาดังกล่าว ใช้มานานนับสิบปีแล้ว

ปัจจุบันค่าการกลั่นของโรงกลั่นต่างๆ ในประเทศอยู่ระหว่าง 2 - 7 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาเรล โดยโรงกลั่นที่มีการกลั่นหลายขั้นตอน (Complex Refinery) จะมีค่าการกลั่นในระดับสูง ในขณะที่โรงกลั่นที่มีการกลั่นแบบง่ายๆ (Simple Refinery) จะมีค่าการกลั่นที่ต่ำกว่าเนื่องจากมีผลผลิตของน้ำมันใส คือ น้ำมันเบนซิน และดีเซล ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีราคาแพง อยู่ในสัดส่วนที่ต่ำกว่า

การดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ไม่แตกต่างจากวัฏจักรเศรษฐกิจ ที่มีทั้งขาขึ้นและขาลง บางช่วงขาดทุนมาก บางช่วงก็มีกำไรสูง ผู้ลงทุนในธุรกิจนี้นอกจากจะต้องใช้เงินลงทุนที่สูงแล้ว ยังต้องสามารถรับความเสี่ยงในช่วงธุรกิจขาลงได้ด้วย ซึ่งต้องมีสายป่านของเงินทุนที่ยาวพอ และปัจจัยที่มีความสำคัญอีกประการหนึ่งในการตัดสินใจสร้างโรงกลั่นแห่งใหม่ คือ นักลงทุนต้องการความมั่นใจในนโยบายของรัฐที่จะปล่อยให้มีการแข่งขันเสรี อย่างแท้จริง



ค่าการกลั่นน้ำมัน: เรื่องที่ควรรู้ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยจัดให้ วิธีคำนวณโปร่งใส..ไม่ซ่อนเร้น

เมื่อ วันที่ 9 พฤษภาคม คุณหญิง ทองทิพ รัตนะรัต ที่ปรึกษาสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย บรรยายพิเศษเรื่อง "ค่าการกลั่นน้ำมัน: เรื่องที่ควรรู้" เพื่อให้ความรู้เรื่องค่าการกลั่นให้กับกลุ่มคนที่สนใจ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่จัดบรรยายให้ความรู้เรื่องดังกล่าวนับจากที่นายโสภณ สุภาพงษ์ สว.กทม. ผู้คร่ำหวอดในวงการน้ำมันจากที่เคยนั่งบริหารที่บริษัทบางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ออกมาเปิดเผยว่าโครงสร้างการคิดค่าการกลั่นในประเทศไม่เป็นธรรม มีการตั้งราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ประชาชนต้องใช้ในราคาแพง "มติชน" จึงได้สรุปเรียบเรียงคำบรรยายมานำเสนอ

หลักที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ เรื่องราคาน้ำมัน ต้องเข้าใจว่ารัฐบาลมีนโยบายที่สร้างราคาน้ำมันด้วยปัจจัยสำคัญคือ ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ส่วนเรื่องค่าการกลั่นน้ำมันนั้นจะต้องทำความเข้าใจกับโครงสร้างราคาน้ำมัน สำเร็จรูปก่อน ซึ่งประกอบด้วย โครงสร้างราคาหน้าปั๊ม และโครงสร้างราคาหน้าโรงกลั่น เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่เข้าใจยากแต่มีตัวแปรมาก เวลาคนพูดก็พูดถึงไม่หมด และต้องเข้าใจด้วยว่าราคาน้ำมันดิบกับราคาน้ำมันสำเร็จรูปไม่จำเป็นต้องไปใน ทิศทางเดียวกันเสมอเพราะ

ปัจจัยที่เป็นตัวผลักดันเป็นคนละตัว

หากราคา น้ำมันดิบปรับราคา ไม่จำเป็นต้องปรับราคาน้ำมันสำเร็จรูปในสัดส่วนที่เท่ากัน เพราะทั้ง 2 ชนิด ไม่ได้อยู่ในตลาดเดียวกัน แต่สำหรับธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันเป็นธุรกิจที่อยู่ตรงกลางระหว่างน้ำมันดิบกับ น้ำมันสำเร็จรูป เป็นธุรกิจที่ถูกบีบมากที่สุด เพราะรับทั้งปัจจัยของทั้ง 2 ตลาด

เราต้องมีการนำเข้าน้ำมันดิบกว่า 99% ซึ่งเป็นการนำเข้าน้ำมันจากหลายประเทศ ไม่ใช่ประเทศเดียว เพราะน้ำมันแต่ละแหล่งที่นำเข้ามาสามารถกลั่นน้ำมันชนิดต่างๆ ได้ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน ในขณะที่เราต้องการใช้น้ำมันในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน เราต้องการใช้น้ำมันดีเซลมากกว่าน้ำมันเบนซิน นอกจากนี้แต่ละโรงกลั่นน้ำมันก็ได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น แต่ละแห่งจึงต้องซื้อมาจากหลายประเทศมาผสมกัน เพื่อให้สามารถกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปได้ตามที่ต้องการ หรือได้ในส่วนที่ผู้บริโภคต้องการใช้มากที่สุด ซึ่งจะได้ในสัดส่วนเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยคือ น้ำมันดิบที่นำเข้ามา และชนิดของโรงกลั่นน้ำมัน

โครงสร้างราคาน้ำมันหน้าปั๊ม

เพื่อให้เห็นความแตกต่างจะแบ่งเป็น 3 ยุค

1. ช่วงที่รัฐควบคุมราคาก่อนเปิดเสรี ปี 2534 สภาวะตลาดในช่วงนี้ ต้องมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปทุกชนิด และมีเพียงโรงกลั่นน้ำมันในประเทศเพียง 3 แห่ง คือ ไทยออยล์, เอสโซ่, บางจาก ส่วนการตั้งราคานั้นรัฐบาลเป็นผู้ตั้งราคาหน้าปั๊มและกำหนดค่าการตลาด โดยอยู่บนหลักการให้ราคาอยู่ในระดับที่ประชาชนกินดีอยู่ดีและพัฒนาประเทศได้ สูตรราคาหน้าปั๊ม คือ = (P) ราคา ณ โรงกลั่น +ภาษีต่างๆ + กองทุนต่างๆ + ค่าการตลาด โดยการปรับราคาหน้าปั๊มในระยะแรก รัฐปรับทุก 15 วัน ต่อมาปรับทุก 7 วัน

2. ช่วงเปิดเสรีตั้งแต่ปลายปี 2534 สภาวะตลาดต้องนำเข้าน้ำมันในช่วงแรก และต้องส่งออกตั้งแต่ปี 2538 เพราะกำลังการผลิตในประเทศเกินความต้องการ มีโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 7 แห่ง ประกอบด้วย ไทยออยล์, เอสโซ่, บางจาก, SPRC, RRC, TPI, RPC โดยการตั้งราคานั้นผู้ค้าปลีกเป็นผู้กำหนดราคาให้เป็นไปตามกลไกของการแข่ง ขันในธุรกิจขายปลีก โดยหลักในการตั้งราคานั้นผู้ค้าปลีกใช้การที่โรงกลั่นต้องส่งออกเป็นข้อต่อ รองราคาซื้อจากโรงกลั่น แสดงให้เห็นถึงการเป็นตลาดเสรี มีสูตรราคาหน้าปั๊ม คือ = (P) ราคา ณ โรงกลั่น + ภาษีต่างๆ + กองทุนต่างๆ + ค่าการตลาด สำหรับการปรับราคาหน้าปั๊ม ผู้ค้าปลีกปรับตามสภาวะตลาด

3. ช่วงที่รัฐแทรกแซงชั่วคราวครั้งล่าสุด ตั้งแต่ 10 มกราคม 2547 สภาวะตลาดภายในปี 2549 คาดว่าตลาดจะสมดุล ดังนั้น ช่วงนี้เมื่อมีบางโรงกลั่นปิดซ่อมแซมก็จะต้องมีการนำเข้า เช่นเริ่มมีการนำเข้าดีเซลเดือนมกราคม และ กุมภาพันธ์ 2547 การตั้งราคา ณ วันนี้รัฐบาลตรึงราคาดีเซลไว้ที่ 18.19 บาท/ลิตร ผลิตภัณฑ์อื่นลอยตัว นอกจาก LPG เป็นกึ่งลอยตัว โดยใช้หลักการรัฐตั้งให้ราคาดีเซลอยู่ในระดับที่ประชาชนกินดีอยู่ดีและพัฒนา ประเทศได้ ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นเป็นไปตามกลไกตลาด สูตรราคาหน้าปั๊ม คือ = (P) ราคา ณ โรงกลั่น + ภาษีต่างๆ + กองทุนต่างๆ + ค่าการตลาด การปรับราคา ผู้ค้าปลีกปรับตามสภาวะตลาด นอกจากดีเซลซึ่งรัฐบาลปรับเมื่อเห็นเหมาะสม

โครง สร้างราคาหน้าโรงกลั่น ถ้าเป็นแบบตลาดเสรี แต่ละแห่งก็ต้องสู้เพื่อให้ลูกค้ามาซื้อของตน ซึ่งตามปกติก็จะต้องสู้กับโรงกลั่นแห่งอื่นเพื่อขายในประเทศให้ได้มาก ที่เหลือจึงจะส่งออกและสู้กับการนำเข้า แต่ถ้าโรงกลั่นไม่พอแล้วต้องมีการนำเข้าทุกชนิด โรงกลั่นก็ต้องสู้โดยตั้งราคาแข่งกับราคานำเข้า ส่วนธุรกิจค้าปลีกนั้นก็ต้องมาดูกันว่ามีคู่แข่งหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องสู้กับคู่แข่ง แต่ในกรณีที่รัฐบาลเข้าไปควบคุมราคารัฐบาลก็จะดูแลกำไรให้ ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาหน้าโรงกลั่นบวกกับภาษีกองทุน ภาษีสรรพสามิตกับราคาขาย ที่เหลือก็เป็นค่าการตลาด ซึ่งค่าการตลาดนี้ก็ต้องไปหักค่าดำเนินการปั๊ม ทั้งค่าน้ำ ไฟฟ้า และค่าจ้างเด็กปั๊ม

สรุปในการกำหนดราคาหน้าโรงกลั่นจะใช้ราคาน้ำมันนำเข้าเป็นตัวตั้งแล้วใช้กองทุนน้ำมันเป็นตัวปรับราคาให้สมน้ำสมเนื้อกับราคานำเข้า

" มีคนชอบถามว่าทำไมเราต้องอิงราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ ความจริงเราไม่ได้อิงราคาสิงค์โปร์ แต่เราอิงราคาตลาดโลกที่อยู่ในสิงคโปร์ เพราะที่สิงคโปร์มีการซื้อขายน้ำมันกันมาก แต่ถ้าเมื่อใดที่เรามีการซื้อขายน้ำมันในประเทศมาก เราก็สามารถกำหนดราคาเป็นไทยแลนด์ไพรซ์ได้ ซึ่งเราก็พยายามให้มีการซื้อขายกัน"

ค่าการกลั่น ความจริงแล้วค่าการกลั่นมีทั้งค่าการกลั่นรวม และค่าการกลั่นสุทธิ ซึ่งเวลามีการพูดถึงค่าการกลั่น ไม่มีใครพูดว่าเป็นตัวไหนแต่เข้าใจว่าจะเป็นค่าการกลั่นรวม หรือที่เรียกว่า GRM เพราะค่าการกลั่นสุทธิซึ่งเป็นกำไรสุทธิของโรงกลั่นจริงๆ ไม่มีใครรู้ ซึ่งโครงสร้างค่าการกลั่นรวมนี้จะขึ้นอยู่กับส่วนต่างมูลค่าของทุกผลิตภัณฑ์ รวมกัน และมูลค่าน้ำมันดิบผสมที่ใช้การกลั่นรวม ไม่ใช่การนำน้ำมันสำเร็จรูปมาลบออกจากน้ำมันดิบดูไบเลย เพราะในการกลั่นน้ำมันของแต่ละโรงกลั่นจะได้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย นอกจากน้ำมันเบนซินและดีเซล เช่นน้ำมันเตาซึ่งมีราคาถูก และแต่ละโรงกลั่นก็ได้ผลิตภัณฑ์ไม่เท่ากัน

"ในการกลั่นไม่ได้ใช้ น้ำมันดิบดูไบเพียงอย่างเดียว แต่ที่ต้องอ้างอิงราคาดูไบเพื่อให้ง่ายขึ้น เช่นถ้ามีการซื้อน้ำมันที่มีคุณภาพดีกว่าน้ำมันดูไบราคาที่นำเข้าก็แพงกว่า ดูไบ แต่ถ้าคุณภาพแย่กว่าราคาก็ต้องถูกลง ซึ่งก็ต้องมีต้นทุนในการจัดหา ก็มีคำถามมาอีกว่าทำไมค่ากลั่นในช่วงนี้มันสูงนัก ความจริงสูงแล้วก็น่าจะดี เพราะประเทศจะได้เก็บภาษีได้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งค่าการกลั่นจะสูงหรือต่ำนั้นขึ้นอยู่กับราคาของผลิตภัณฑ์ แต่ก็มีตัวแปรหลายตัวที่จะทำให้เปลี่ยน เช่นสเปคของน้ำมัน ถ้าสเปคสูงมากราคาก็จะสูงมากตามไปด้วย"

นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับ ดีมานด์และซัพพลายของน้ำมัน ซึ่งขณะนี้ดีมานด์ในภูมิภาคมีสูง โดยเฉพาะจากจีนและอินเดียที่มีความต้องการใช้น้ำมันมาก ขณะที่ปริมาณการกลั่นของโรงกลั่นใกล้จะเต็ม ภายใน 2-3 ปีข้างหน้านี้ หรือแม้แต่ไทยดีมานด์ก็สูงโดยเฉพาะน้ำมันดีเซล จะเดินเต็มที่ในปี 2548-2549 แต่ยังไม่มีใครกล้าที่จะลงทุนสร้างโรงกลั่นแห่งใหม่ เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงเป็นแสนล้านบาท จึงยังไม่มีใครกล้าเสี่ยง กลัวว่าจะประสบปัญหากำลังการกลั่นเกินความต้องการเหมือนที่ผ่านมา จึงคาดการณ์ได้ว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปแพงแน่

สรุปได้ว่า ราคาน้ำมันหน้าปั๊มขึ้นอยู่กับราคาหน้าโรงกลั่น และถ้าเป็นตลาดเสรีก็ต้องขึ้นอยู่กับการแข่งขันด้วย ส่วนราคาหน้าโรงกลั่นก็ต้องขึ้นอยู่กับภาวการณ์แข่งขันและราคานำเข้าน้ำมัน ซึ่งสูตรในการคิดไม่มีอะไรพิสดาร อิงราคาตลาดโลกที่อยู่ในตลาดจรสิงคโปร์ ส่วนค่าการกลั่นนั้นเป็นรายได้รวมจากหลายผลิตภัณฑ์ ทั้งน้ำมันเบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา เป็นต้น มาลบออกจากต้นทุนในการกลั่นทั้งของโรงกลั่นและจากราคาน้ำมันดิบผสมที่ซื้อ มากลั่น ซึ่งจะสูงหรือต่ำก็ขึ้นอยู่กับตลาด ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์และดีมานด์ของผู้ซื้อรายใหญ่อย่างจีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา แต่พอมีการพูดถึงเรื่องนี้ก็พูดกันคนละที 2 ที จึงสร้างความสับสนให้กับสังคม

อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน

หลักพื้นฐานของการกลั่นน้ำมัน - ภาพรวมของกระบวนการกลั่นน้ำมัน

กระบวน การกลั่นน้ำมัน คือกระบวนการการแยกโมเลกุลสารไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในน้ำมันดิบ และแปรสภาพสสารดังกล่าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปที่มีมูลค่าสูงก ว่า

โรงกลั่นน้ำมันได้รับการออกแบบให้สามารถกลั่นน้ำมันดิบหลาย ประเภทรวมถึงวัตถุดิบอื่น ๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ตามความต้องการของตลาด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กำไรในการกลั่นน้ำมัน (Refinery Margin) สูงสุด โดยทั่วไปแล้ว หน่วยผลิตแต่ละหน่วยภายในโรงกลั่นน้ำมันจะทำหน้าที่ได้อย่างน้อยอย่างหนึ่ง อย่างใดดังต่อไปนี้

* กลั่นแยกสารไฮโดรคาร์บอนหลาย ๆ ประเภทที่อยู่ในน้ำมันดิบตามจุดเดือดที่ต่างกัน
* แปรสภาพไฮโดรคาร์บอนให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่ามากขึ้น
* ปรับปรุงผลิตภัณฑ์โดยการแยกสารปนเปื้อนออก
* ผสมผลิตภัณฑ์ชั้นกลาง (Intermediate Streams) เป็นน้ำมันสำเร็จรูป

น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการกลั่นน้ำมัน คุณภาพของน้ำมันดิบและชนิดหน่วยกลั่นต่าง ๆ ในโรงกลั่นน้ำมันจะกำหนดวิธีการกลั่นน้ำมัน และระดับความสามารถในการเปลี่ยนน้ำมันดิบ เป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสม โดยทั่วไป การแบ่งประเภทของน้ำมันดิบจะแบ่งตามความหนาแน่น (Density) จากต่ำไปสูง (Light to Heavy) และปริมาณกำมะถัน จากต่ำไปสูง (Sweet to Sour) น้ำมันดิบประเภทที่มีความหนาแน่นและกำมะถันต่ำ (Light Sweet Crude Oil) จะมีราคาสูงกว่าน้ำมันดิบประเภทที่มีความหนาแน่นและกำมะถันสูง (Heavy Sour Crude Oil) ทั้งนี้ เพราะกระบวนการกลั่นและกระบวนการกำจัดสารปนเปื้อนที่มีขั้นตอนน้อยกว่า และให้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีราคาสูงในปริมาณมากกว่า เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าดและ น้ำมันดีเซล

โดยปกติน้ำมันดิบประเภทที่มีความหนา แน่นสูงและกำมะถันสูงจะขายในราคาถูกกว่าน้ำมันดิบประเภทที่มีความหนาแน่นต่ำ หรือมีกำมะถันต่ำเพราะจะให้ผลิตภัณฑ์มูลค่าต่ำและต้องใช้กระบวนการผลิตเพิ่ม เติมเพื่อให้ได้น้ำมันชนิดเบาที่มีมูลค่าสูง ผลที่ตามมาคือ โรงกลั่นน้ำมันพยายามที่จะมีการกลั่นน้ำมันดิบและวัตถุดิบอื่น ๆ เพื่อให้ผลประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงหน่วยเปลี่ยนแปลงสภาพโมเลกุล (Conversion Unit) และหน่วยกำจัดสารปนเปื้อน (Treating Unit) ของแต่ละโรงกลั่นราคาของสินค้าในปัจจุบันและที่คาดการณ์ในอนาคต ชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ และราคาน้ำมันดิบและวัตถุดิบอื่น

กระบวนการกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์เป็นกระบวนการที่สามารถแปลงสภาพวัตถุดิบที่มี ราคาต่ำ เช่น น้ำมันดิบที่มีความหนาแน่นสูงและกำมะถันสูงให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่ามาก ขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ระดับความซับซ้อน(Complex) ของโรงกลั่นน้ำมันขึ้นอยู่กับจำนวน และชนิดหน่วยเปลี่ยนแปลงสภาพโมเลกุล (Conversion Unit) ที่มี และความยืดหยุ่นและความสามารถในการเลือกใช้วัตถุดิบต่าง ๆ ที่มี จะทำให้โรงกลั่นน้ำมันอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบที่จะใช้ประโยชน์จากน้ำมันดิบ ที่ราคาถูก ซึ่งจะทำให้บริษัทได้รับกำไรขั้นต้นที่สูงขึ้น

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปที่สำคัญ
ผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปหลักที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน

* ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
* น้ำมันเบนซิน
* สารทำละลาย (Solvent)
* ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
* น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน/น้ำมันก๊าด
* น้ำมันดีเซล
* น้ำมันเตา
* ยางมะตอย
* ถ่านโค้ก

เศรษฐศาสตร์การกลั่นน้ำมัน (Economics of Refining)

โดย หลักแล้วการกลั่นน้ำมันเป็นธุรกิจที่อยู่บนฐานกำไร (Margin) โดยเป้าหมายของผู้กลั่นน้ำมันคือ การทำให้กระบวนการกลั่นน้ำมันมีประสิทธิภาพสูงสุดและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีผลตอบ แทนดีที่สุดจากวัตถุดิบที่ใช้ ในโรงกลั่นน้ำมันแบบพื้นฐาน (Simple Refinery) ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปส่วนใหญ่ จะเป็นน้ำมันชนิดหนัก (Heavy Products) และมีมูลค่าน้อย เช่น น้ำมันเตาและผลผลิตส่วนน้อยอันได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด และน้ำมันดีเซล ทั้งนี้ ปริมาณผลิตภัณฑ์จะขึ้นอยู่กับชนิดน้ำมันดิบ และวัตถุดิบที่ใช้ กำไรจากการกลั่นน้ำมัน (Refinery Margin) คำนวณโดยการนำมูลค่าทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้หักด้วยต้นทุนราคาน้ำมัน ดิบและวัตถุดิบอื่น และสาธารณูปโภคที่ซื้อจากภายนอก

กำไรการกลั่นของ โรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refining Margin) ต่างจากกำไรของโรงกลั่นน้ำมันแบบพื้นฐาน (Simple Refining Margin) ตรงที่การกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ จะได้น้ำมันชนิดหนัก (Heavy Products) เป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าเพราะโรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refinery) จะมีหน่วยกลั่นที่สามารถแปรสภาพน้ำมันชนิดหนักที่มีมูลค่าต่ำให้เป็นน้ำมัน ชนิดเบา (Light Products) ที่มีมูลค่าสูงกว่าได้

โรงกลั่นน้ำมัน ที่มีระบบที่คอมเพล็กซ์กว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนการผลิตที่สูงกว่าเนื่องด้วย ความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง โดยใช้น้ำมันดิบหรือวัตถุดิบอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่า ผลที่ตามมาก็คือกำไรการกลั่นแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Margin) จะสูงกว่ากำไรการกลั่นแบบพื้นฐาน โรงกลั่นน้ำมันที่มีหน่วยเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ (Upgrading Unit) จะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าดและน้ำมันดีเซล น้ำมันเหล่านี้ จะมีมูลค่ามากกว่าน้ำมันเตา

รายได้ของผู้ค้าน้ำมัน

รายได้ของผู้ค้าน้ำมันประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนของการผลิตหรือการกลั่น และส่วนของการจำหน่ายหลังจากออกจากโรงกลั่นแล้ว รายได้ของผู้ผลิตหรือโรงกลั่น หมายถึง ค่าการกลั่น (Refining Margin) ส่วนรายได้จากการจำหน่ายน้ำมันหลังจากออกจากโรงกลั่นแล้วหมายถึง ค่าการตลาด (Marketing Margin)

(1) ค่าการกลั่น (Refining Margin)

ค่า การกลั่นเป็นรายได้ของผู้ผลิตหรือโรงกลั่น โดยพิจารณาจากผลต่างระหว่างราคา ณ โรงกลั่นเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์ตามปริมาณการผลิต กับต้นทุนราคาน้ำมันดิบ (ราคา ณ โรงกลั่น หมายถึง ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นที่หักภาษี และกองทุนต่างๆ แล้ว) ค่าการกลั่นดังกล่าวเป็นค่าการกลั่นโดยรวม ส่วนค่าการกลั่นแยกตามผลิตภัณฑ์น้ำมัน จะพิจารณาจากค่าการกลั่นรวมที่แจงออกมาเป็นค่าการกลั่นของแต่ละผลิตภัณฑ์ ตามสัดส่วนของปริมาณการผลิตและราคา ณ โรงกลั่นของผลิตภัณฑ์น้ำมันในช่วงนั้น ๆ

(2) ค่าการตลาด (Marketing Margin)

ค่า การตลาด คือ ส่วนต่างระหว่างราคาขายปลีก ณ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นในเวลาเดียวกัน ซึ่งแสดงถึงรายได้ของผู้ค้าน้ำมันและสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง แต่โดยที่ค่าการตลาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นกราฟรูปฟันเลื่อย กล่าวคือ ในช่วงเวลาที่ราคากำลังลดลง ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นจะลดลงก่อนราคาขายปลีก ณ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ค่าการตลาดสูงขึ้น ในทางกลับกันในช่วงเวลาที่ราคากำลังสูงขึ้น ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นจะสูงขึ้นก่อนราคาขายปลีก ณ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้ค่าการตลาดลดลง ค่าการตลาดนอกจากจะแสดงถึงรายได้ของผู้ค้าน้ำมันและสถานีบริการน้ำมันเชื้อ เพลิงแล้ว ยังรวมต้นทุนอื่นๆ ของผู้ค้าน้ำมันไว้ด้วย เช่น การเติมสารเติมแต่ง (Additive) เพื่อลดมลพิษไอเสียในรถยนต์ รวมทั้ง ค่าบริหารจัดการอื่นๆ ของผู้ค้าน้ำมันด้วย ค่าการตลาดจึงไม่ใช่กำไรของผู้ค้าน้ำมัน แต่เป็นรายได้ที่ยังไม่ได้หักต้นทุนอื่นๆ นอกจากต้นทุนน้ำมันเท่านั้น

ดังนั้น ธุรกิจการกลั่นน้ำมันจะมีกำไรมากหรือน้อย จะมีความเสี่ยงจาก

1.ต้นทุนราคาน้ำมันดิบ และโครงสร้างการจำหน่าย ว่าจะมี สเปรดมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นไปตามภาวะการแข่งขันของตลาดที่อ้างอิงกับตลาดโลก

2.นอกจากสเปรดที่กำหนดจากราคาตลาดแล้ว ยังต้องดูว่าลักษณะการกลั่นน้ำมันเป็นโรงงานแบบใด เป็นแบบง่าย หรือแบบซับซ้อน ถ้าแบบง่ายก็จะได้สเปรดน้อยกว่าแบบซับซ้อนที่สามารถผลิตน้ำมันคุณภาพสูง โดยใช้ต้นทุนน้ำมันดิบที่ต่ำกว่า

3.โครงสร้างของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ ก็จะมีผลกระทบกับเสปรดในภาพรวม กล่าวคือ ถ้าสามารถผลิตน้ำมันที่มีเสปรดสูงได้มาก ก็จะได้กำไรมาก แต่ถ้าผลิตนำมันสำเร็จรูปที่มีคุณภาพต่ำ เช่น น้ำมันเตาจำนวนมาก ก็จะทำให้ขาดทุนได้ จึงต้องดูโครงสร้างการผลิตเป็นโรงกลั่นไปประกอบด้วย และคุณภาพของการกลั่นน้ำมันดิบตรงนี้ จะทำให้มีผลกรทบกับกำลังการผลิตของโรงกลั่นด้วย เพราะโรงกลั่นจะต้องพยายามผลิตน้ำมันสำเร็จรูปคุณภาพสูงที่ได้ราคาดีกว่า น้ำมันเตา จึงมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้ของโรงกลั่น แบบง่าย ซึ่งอาจต้องแลกกับการลงทุนปรับปรุงการผลิต และการใช้กำลังการผลิตที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะหากผลิตเต็มการผลิต อาจจะได้รับผลกระทบจากน้ำมันสำเร็จรูปที่ได้จากน้ำมันเตาสูง หรือผลิตภัณฑ์มีกำมะถันสูง ทำให้ได้คุณภาพน้ำมันที่กลั่นได้ไม่ดีพอ

4.ผลกระทบจากการแทรกแซงราคาน้ำมันในแต่ละช่วงเวลาก็มีผลกระทบกับการจำหน่าย น้ำมันดิบ เช่น ปัจจุบันมีการบริโภคกาซแอลพีจีที่สูง เนื่องจากมีการสนับสนุนราคาให้ต่ำกว่าราคาตลาดมาก ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม การบริโภคในประเทศ มีการใช้ก๊าซแอลพีจีที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องมีภาระในการใช้เงินอุดหนุนที่สูง และทำให้โครงสร้างการบริโภคพลังงานในประเทศเพี้ยนไปจากกลไกตลาด เพราะทุกคนต้องการใช้ของถูกกว่า

5.ค่าการกลั่นรวมของโรงงานที่กลั่นน้ำมันนั้น แต่ละโรงจะมีประสิทธิภาพการทำกำไรที่แตกต่างกันที่นอกจากผลผลิตของน้ำมัน สำเร็จรูปแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถนำผลิตภัณฑ์ขั้นต้นที่ผลิตได้เช่น น้าฟตา ไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่ใช้ในปิโตรเคมีขั้นต่าง ๆ ได้มากน้อยเพียงใด บางแห่งสามารถผลิตไปจนถึงขั้นปลายหรือเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง พลาสติก หรือ ฟิลม์ ซึ่งในช่วงนี้มีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก ก็จะทำให้ค่าการกลั่นรวมทั้งหมดมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นจากผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย ดังกล่าวด้วย

ลองดูในเว็ปนี้เพิ่มเติม จะมีข้อมูลของกำลังการผลิตของแต่ละโรงกลั่น และที่กลั่นจริง จะเห็นโครงสร้างของกำลังการผลิตโรงกลั่นทั่วประเทศ และขนาดของแต่ละโรงกลั่น และประสิทธิภาพของการกลั่นน้ำมันของแต่ละโรงในช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
ดูในส่วนของ 2.2 Refinery จะเห็นกำลังการผลิตของแต่ละโรงกลั่นที่ชัดเจนครับ
สำหรับโครงสร้างสถิติน้ำมันนำเข้าและส่งออก และอื่น ๆ ที่น่าสนใจก็ดูได้จาก เวปนี้ครับ
//www.eppo.go.th/info/index.html


Create Date : 12 มีนาคม 2552
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:29:14 น. 0 comments
Counter : 889 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.