หน้าตาเราก็ได้เพียงเท่านี้...จิตใจสิ--แย่กว่าหน้าตาอีก...
 
หน้าที่ ความรับผิดชอบของเด็ก (ต่อจากหนังสือของ ดร.จีนอตต์)


ดังที่ตอนที่แล้วบอกไปว่า การมอบหมายงานบ้านเป็นความรับผิดชอบนั้น เขียนยากจัง อยากให้อ่านกันเอาเอง พออ่านไปอ่านมาอีกทีก็พอจะเขียนออกมาได้ ในหนังสือบอกว่า งานนี้กลายเป็นสงครามในครอบครัวเลยทีเดียว จริงค่ะ การบังคับให้ลูกทำงานบ้านตามหน้าที่นั้น น่าเบื่อหน่าย(ตอนเด็กๆเราก็เบื่อกันใช่ไหมคะ) แถมไร้ประโยชน์และไม่มีวันที่จะชนะด้วย

“เด็กมีเวลาและพลังงานเหลือเฟือที่จะต่อต้านผู้ใหญ่มากกว่าเวลาและพลังงานที่เราจะใช้ในการบังคับขู่เข็ญพวกเขา”

ลูกๆเนี่ย ถึงจะลูกเราจะเป็นเด็กก็มีความคิดแก้แค้นเอาคืนนะคะ ฝนฯเลิกเป็นเด็กมานานแล้ว แต่ก็จำได้ถึงความแค้นแบบเด็กๆที่เคยเป็นและเคยทำ การวางภาพอุดมคติว่าวันหยุดต้องไปทำกิจกรรมพร้อมเพรียงกันของพ่อแม่ แต่ลูกเกิดไม่อยากไป ก็ต้องบังคับฝืนใจกัน สุดท้ายก็ลงเอยด้วยความกร่อย เห็นกันทุกครอบครัว ความหวังที่จะเฮฮามีความสุขกลายเป็นด่าลูกว่าทำงานกร่อย ครอบครัวใครเป็นกันบ้างคะ ฝนฯตอนเด็กๆล่ะคนหนึ่งที่ไม่เคยชอบออกไปไหนกับครอบครัวเลย โดยเฉพาะไปวัด ทำบุญ น่าเบื่ออย่างที่สุด (โตขึ้นมากลับชอบไปวัดกับเพื่อนสนิท เริ่มสวดมนต์จากการอ่านหนังสือสวดมนต์แจก แรกๆก็สวดเพราะเชื่ออานิสงฆ์ตามที่เพื่อนอ่านด้วยกัน) เรื่องนี้สัมพันธ์กับการลงโทษลูกโดยใช้การตั้งสมญาที่แสดงด้านลบ เหมือนกระจกเงาที่บิดเบี้ยวส่องรูปร่างที่ผิดจากความเป็นจริง อย่างพ่อแม่ด่าว่าลูกแรงๆ (แถมบริบทบ้านเรานี่คือ คำพูดพ่อแม่ศักดิ์สิทธิ์อีกตะหาก เพื่อนฝนฯคนหนึ่งเคยพูดว่า นี่ถ้าพ่อแม่พูดแล้วเป็นจริงหมดนะ ป่านนี้มันคงโดนธรณีสูบไปนานแล้ว เพราะแม่เค้าเล่นด่าได้หมดโกรธๆก้แช่งชักหักกระดูกลูกเล่นซะงั้น)

“พ่อแม่หลายคนตราหน้าลูกว่าโง่เง่า ขี้เกียจและขี้โกง แล้งยังหวังว่าสมญาเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้เด็กเปลี่ยนแปลงเป็นคนที่ฉลาด ขยันขันแข็ง และซื่อตรงได้”

ตัวอย่างหนึ่งที่ถูกยกขึ้นมาลบคำพูดของพ่อแม่ได่น่าฟังคือ เด็กคนหนึ่งถูกพ่อว่าๆขี้เกียจ ป่าเถื่อน งี่เง่า ดร.จีนอตต์เลยถามกลับว่า ถ้าพ่อบอกว่าหนูเป็นหมาเศรษฐีหนูจะเชื่อพ่อไหม เด็กตอบว่าไม่เชื่อ
หรอก เพราะเค้ามีเงิรแค่สิบเจ็ดเหรียญในธนาคารจะเป็นเศรษฐีได้ยังไง---นั่นน่ะสิ งั้นแปลว่าพ่อแม่ก็ไม่ได้พุดแล้วถูกทุกอย่างสินะ

เอ...เขียนๆไปจะโดนด่าไหมเนี่ย เรื่องที่ว่าพ่อแม่ชอบพูดอะไรเว่อร์กะลูกนี่มันเป็นกันหมดเลยไหมคะ เค้าบอกกันว่าถ้าใครบอกว่าพูดจาเหมือนพ่อแม่คนเนี่ย ไม่ใช่คำชม เพราะ พ่อแม่มักพูดยืดยาว เกินความจริง ยิ่งบ้านเราโดนไฟล์ทบังคับว่าพ่อแม่เป็นของศักดิ์สิทธิ์แล้วด้วย เรายิ่งไม่กล้าหนักเข้าไปอีก เถียงไม่ได้ เป็นบาป (ฝนว่าก็บาปอยู่นะ แต่น่าจะบาปที่ตรงทำให้พ่อแม่เสียใจ มากกว่าบาปที่ไม่เชื่อคำพูดพ่อแม่นะคะ อย่างที่บอก ถ้าพ่อแม่บอกว่าพรุ่งนี้ลูกจะได้เป็นนายก เราจะคิดว่ามันจริงไหมล่ะ)

อันหนึ่งที่เป็นตัวถ่วงการพัฒนาของเด็กคือ การเข้าไปแก้ปัญหาให้ลูกๆ ในทุกครอบครัวพ่อแม่จะวางภาพไว้ว่าลูกคือตัวปัญหา แล้วพ่อแม่ก็แสดงภาพพระนางเข้าแก้ปัญหา เหมือนฉากละคร ลูกกลายเป็นผู้ร้ายด้วยความหวังดีและการแสดงน้ำใจของพ่อแม่ไปโดยปริยาย พ่อแม่ก็ไม่ตั้งใจ ลูกเองก็ไม่เข้าใจ ทางออกคือการให้ลูกได้แสดงความเห็นและแสดงความต้องการ โดยพ่อแม่ต้องคิดด้วยว่าเรื่องไหนให้ลูกแสดงความเห็นได้ (ทำตามลูกหรือไม่นั่นเป็นเรื่องที่ต้องมาคิดต่อ) และบางเรื่องลูกสามารถแสดงความต้องการได้ อันหลังนี้ เมื่อเปิดให้ลูกแสดงความต้องการ แปลว่า เราสามารถให้ตามความต้องการได้ด้วยนะคะ ถ้าให้ไม่ได้ก็ต้องปล่อยให้เป็นการแสดงความเห็นต่อไป เช่น การสั่งอาหารทานนอกบ้าน การให้เงินค่าขนม เราไม่จำเป็นต้องให้เงินลูกใช้จ่ายเว่อร์ๆถ้ารายได้ของครอบครัวไม่เอื้ออำนวย เพียงแต่ต้องรับรู้รับฟังแสดงความเข้าอกเข้าใจความต้องการของลูกว่า อยากได้เกินกว่าที่เราจะจัดหาให้ อย่าดุด่าลูกด้วยเหตุผลที่ว่าเราหาให้ลูกไม่ได้ และบางครอบครัวอาจเลยเถิดถึงการกล่าวหาว่าลูกเป็นตัวล้างตัวผลาญ อย่าลืมว่าการใช้เงินเปลือง การบเร้าขอเงินของเด็กเพียงไม่กี่ครั้ง ไม่ได้ทำให้เด็กกลายเป็นหายนะของครอบครัวไปได้ คุณพ่อคุณแม่ที่ว่าลูกแรงๆคงคิดออกแล้วนะคะ ว่าที่พูดน่ะ ลูกเจ็บเพราะคำเว่อร์ของเราเอง

เรื่องการเลี้ยงสัตว์ เรียนดนตรี และทำการบ้านนั้น เป็นอันนึงที่เราส่งเสริมเพื่อให้เด็กเกิดความรับผิดชอบ สำหรับสัตว์เลี้ยง พ่อแม่คงเข้าใจดีว่าการที่ลูกสัญญาว่าจะเลี้ยงสัตว์ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะทำได้จริงๆ อย่าโยนชีวิตสัตว์ในมือเด็ก สำหรับเรื่องดนตรีนั้น เวลาส่งลูกไปเรียนดนตรี พ่อแม่มักเลือกเครื่องเล่นไว้ให้ลูก หรือมีในใจก่อนทีลูกจะเกิดซะ อีก แล้วพอลูกเรียนเข้าจริงๆ ก็คาดหวังว่าลูกจะต้องเล่นเป็น เล่นดี อย่างน้อยๆก็ไม่ผิดคีย์อ่ะฯลฯ
พอไม่เป็นอย่างนั้นก็บ่นโวยวาย ทวงบุญคุณ พูดเรื่องเงินที่พ่อหามายากลำบากเพื่อส่งลูกเรียน การเรียนดนตรีกลายเป็นการประเมินผลเด็กไปอีก เพราะถ้าเล่นได้ไม่ดี ก็กลายเป็นพ่อแม่ผิดหวัง ดูถูก ถ้าไม่อยากทำพ่อผิดหวังเด็กจะเรียนรู้ว่าก็ไม่ต้องพยายามมาก เป็นเด็กที่พ่อแม่ว่าโง่ เฉื่อย ซื่อบื้อต่อไป พ่อแม่ก็จะไม่ผิดหวัง เพราะเค้าเองโง่อยู่แล้ว ไม่สมควรตั้งความหวังกับคนโง่

จริงๆแล้วการเรียนดนตรีหรือวาดรูปนั้น เป็นการผ่อนคลายความเครียดให้เด็ก ให้ได้ระบายออกมา จึงไม่จำเป็นต้องไปฟังว่าเด็กเล่นได้ดีแค่ไหนอย่างไร แค่หาทางออกให้ลูกได้ผ่อนคลายโดยไม่ต้องพูดนะคะ (เด็กมีความเครียดได้เหมือนผู้ใหญ่ และบางครั้งก็เรียบเรียงคำพูดไม่ได้ หรือไม่รู้จะบอกอย่างไร วิธีง่ายๆที่เด็กระบายความเครียดคือการกิน อยากให้ลูกกินๆๆๆ เพราะเครียดหรือเปล่าคะ อันนี้ไม่ได้อยู่ในหนังสือเล่มนี้หรอกค่ะ)

ฝนฯคิดถึงตัวเองตอนเรียนพละและดนตรีตอนเด็กๆ ฝนว่าสองอย่างนี้ไม่เห็นต้องให้เกรดเลย น่าจะให้เลือกเรียนตามชอบ ไม่ใช่ว่า ป. สี่เรียนขิม ป.ห้าเรียนระนาด อะไรแบบนี้ ฝนเรียนดนตรีแบบเครียดมาตลอด เลยเล่นไม่ได้สักเพลง ตอนป.หนึ่งพ่อสอนเปียโน แต่ก็เคี่ยวเข็ญมาก ต้องหลับตาดีด ฝนเลิกเข้าใกล้เครื่องดนตรีไปเลย ส่วนวิชาพละนี่ ครูก็ให้เกรด แบบว่า เดาะปิงปอง ร้อยที ได้ ยี่สิบถือว่าตก (ฝนฯเอง) ห้าสิบผ่าน หกสิบเกรดสอง แปดสิบเกรดสี่ มาคิดดูดีๆนะคะ ว่าเราสอนให้เด็กสนุกกับการเล่นกีฬาหรือสอนให้เครียดกับการเรียนกีฬากันแน่ ทุกอย่างที่เราทำให้เด็กกลายเป็นภาระ แทนที่จะเปิดกว้างและสนุกสนาน กลับเอาระบบประเมินค่ามาครอบ แต่ก่อนฝนฯชอบเล่นแบดมินตันมากๆ เป็นกีฬาที่ฝนรู้แต่ว่ามีไม้กับลูกขนไก่ ตีไปเรื่อยๆหน้าบ้าน สามลูกออก เล่นสนุกมากๆ แต่พอม.ปลาย เรียนแบดฯ ฝนเลิกเล่นแบดฯไปเกือบสิบปี เพิ่งกลับมาลเนเมื่อสองสามปีมานี้

อันนี้ขอคุยในแง่ที่ทำอาชีพครู ฝนฯสอนเด็กมหาวิทยาลัย เห็นครูบางคนประเมินค่าเด็กด้วยเกณฑ์ที่สูงเว่อร์ เหมือนจะหาความเป็นมืออาชีพ ก็ดีค่ะ แต่ฝนฯเองมองว่า การจะให้เด็กทำดีแบบมืออาชีพนั้น มันทำลายขั้นตอนของพัฒนาการเด็ก ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นจีเนียส ฝนฯเลยมีเกณฑ์ที่ความพยายามและพัฒนาการของเด็กไม่ใช่ผลสำเร็จรวบยอด ไม่รู้ว่าดีไหม แต่ก็ให้แบบนี้มาโดยตลอด แต่คะแนนส่วนนี้กลายเป็นหมวดคะแนนจิตพิสัยแค่หนึ่งในสิบของคะแนนรวมของระบบการเรียน อย่างเรียนการพูดเนี่ย หวังเหรอคะ ว่าเด็กจบออกจากคลาสแล้วจะกลายเป็นเดล คาร์เนกี้ หรือบารัค จูเนียร์ไปได้น่ะค่ะ

ย้อนกลับมาเรื่องการบ้าน เป็นเรื่องที่ฝนฯเองคิดไม่ถึงเช่นกัน ขอโควตคำพูดในหนังสือแล้วกันนะคะ

“ เมื่อเด็กอยู่ชั้นประถมหนึ่งเป็นต้นไป พ่อแม่ควรสื่อให้เขารู้ว่า การทำการบ้านเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างเขากับคุณครู พ่อแม่ไม่ควรเคี่ยวเข็ญให้ลูกทำการบ้าน และไม่ควรสอนหรือตรวจการบ้านให้ลูก เว้นแต่ว่าเขาจะร้องขอ”

งงกันไหมคะ เราเคยคิดกันว่าช่วยดูลูกทำการบ้านน่ะดี อบอุ่น

“ข้อแนะนำดังกล่าวนี้อาจแตกต่างจากความคิดเห็นของคุณครู”
ค่ะ ฝนฯก็คิดว่าแตกต่างจากความคิดเดิมของตัวเอง

“หากพ่อแม่นำการบ้านของลูกมาเป็นความรับผิดชอบของนเอง เขาจะยอมแต่โดยดี และพ่อแม่ก็จะดิ้นไม่หลุดจากพันธะนี้อีกเลย ลูกอาจจะเอาการบ้านนี้มาใช้เป็นอาวุธในการทำโทษ หักหลัง หรือหลอกใช้พ่อแม่
ครอบครัวจะมีความสุขมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการทะเลาะเบาะแว้งกันได้ ถ้าหากพ่อแม่แสดงความสนใจในการบ้านลูกให้น้อยลง และสื่อให้ลูกรู้เป็นนัยๆว่า การบ้านเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของลูก ลูกต้องทำการบ้านเหมือนกับที่พ่อแม่ต้องทำงาน”

ย่อหน้าที่ยกมานี้ ฝนตั้งใจลอกมาหมด เป็นคำตอบแยงเข้ามาในใจดังจี๊ด ว่า เพราะพ่อแม่ชอบยุ่งเรื่องการบ้านของลูก เลยทะเลาะกันได้ตลอด บ้านกลายเป็นที่น่าเบื่อ เวลาทำการบ้านเป็นเวลาที่น่าเบื่อ และ เราไม่ได้ค่อยเห้นเด็กรับผิดชอบมากขึ้นหรือฉลาดขึ้นจากการที่ผู้ใหญ่ช่วยเด็กทำการบ้าน นอกเสียจากผู้ใหญ่กลายเป็นทาสการบ้าน กลับไปเรียนซ้ำชั้นอีกครั้ง

“มีโรงเรียนที่ดีๆหลายโรงเรียนที่ไม่มีการบ้านให้กับเด็กเล็กๆ เด็กๆก็ดูจะได้ความรู้มากเท่าๆกับเด็กคนอื่นๆที่ต้องมีการบ้านเยอะแยะตั้งแต่อายุได้เพียงหกเจ็ดขวบ
คุณค่าหลักของการทำการบ้าน คือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำงานด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม การบ้านก็ควรเหมาะสมกับความสามารถของเด็กด้วย เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้ทำการบ้านได้ด้วยตนเองโดยไม่มีใครคอยช่วยเหลือ การช่วยเด้กทำการบ้านโดยตรงในเวลาที่เขาทำการบ้าน สื่อให้เด็กเห็นว่าเขาไม่มีความสารมารถพอ ถ้าไม่มีพ่อแม่คอยช่วยเหลือ”

อันนี้หนังสืออธิบายไว้ชัดเจนมากๆ ฝนเลยไม่ขออนุมานความไว้เองนะคะ ฝนฯเองก็ติดบ่วงเรื่องการบ้านนี้เหมือนกัน เพราะได้ยินได้เห็นแต่การช่วยเด็กทำการบ้าน กำกับและใกล้ชิด รวมทั้งคิดว่าการบ้านคือการเพิ่มเติมความรู้ ยากๆก็ไม่เป็นไร จริงๆแล้วการบ้านในทางจิตวิทยาปรับปรุงพฤติกรรมก็หมายถึง การให้โอกาสคนทำงานเอง รับผิดชอบด้วยตัวเองต่างหาก เรามัวแต่มุ่งมั่นในคุณค่าเชิงผลสำฤทิ์ทางการเรียนรู้กันเพียงอย่างเดียว ถ้าให้การบ้านเพื่อพัฒนาศักยภาพเชิงความรู้ ฝนฯว่า น่าจะเป็นเด็กโตๆ อย่างที่ฝนฯสอนมากกว่าค่ะ ที่ผ่านมา เราอาจใช้วิธีการกับเด็กผิดช่วงวัยกับไป วิธีไม่ได้ผิด เด็กก็ไม่ได้ผิด ที่มันไม่ได้ผล เพราะเด็กกับวิธีไม่แมทช์กันต่างหากล่ะคะ

อีกเรื่องที่เป็นข้อเตือนใจ คืออย่าไปวุ่ยวายกับลูกเวลาทำการบ้าน เช่น มารยาทการทำการบ้าน เด้กบางคนอาจนอนทำการบ้านแล้วทำได้นาน มีสมาธิ ออกมาดี ดีกว่าไปบังคับความมีกริยางามในเขตรั้วบ้านเราเอง แล้วเด็กไม่ชิน ทำการบ้านไม่ได้นะคะ รวมทั้งการบ้านอาจจะยากง่าย อย่าไปด่าว่า ตำหนิครูให้เด็กฟัง ไม่มีผลดีอะไรในการด่าว่าคนที่เด็กควรให้ความเคารพ นับถือ เหมือนกรณีที่พ่อแม่เลิกกันแล้วแม่ด่าพ่อเด็กแหละค่ะ ความไม่พอใจของผู้ใหญ่อย่าต้องให้เด็กเป็นถังรับขยะทางอารมณืไปเลยนะคะ




Create Date : 07 สิงหาคม 2551
Last Update : 7 สิงหาคม 2551 14:12:32 น. 0 comments
Counter : 450 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ฝนเดือนเจ็ด
 
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เป็นครูมหาวิทยาลัย สอนวิชาการพูด สนใจงานด้านจิตวิทยาการดูแลเด็ก ไม่ชอบเล่นกีฬา ชอบกินแมงกะพรุน,ปลิงทะเล และอาหารเวียดนาม ความหวังในชีวิตคือ อยากรวย
[Add ฝนเดือนเจ็ด's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com