หน้าตาเราก็ได้เพียงเท่านี้...จิตใจสิ--แย่กว่าหน้าตาอีก...
 
มาต่อกันถึงหนังสือของดร.เฮม จีนอตต์


ยิ่งอ่านก็ดูเหมือนโจทย์ของดร.ยิ่งยาก ท้าทายคำตอบจากคนอ่านเข้าไปทุกที ทั้งๆที่เป็นเรื่องสามัญ อย่างเช่นการปลูกฝังพฤติกรรมให้กับเด็ก ซึ่งในหนังสือไม่ได้พูดชุ่ยๆแค่ “ทำให้ลูกดู” แต่พูดถึงการใช้เวลาและการบ่มเพาะความรู้สึกรับผิดชอบมากกว่าที่จะทำให้ความรับผิดชอบกลายเป็นรูทีนของชีวิต อย่างเช่นการมอบหมายงานบ้าน อันนี้ต้องลองไปอ่านกันเอาเอง เพราะฝนฯยังรู้สึกว่าถ้าเขียนมาในนี้คงถ่ายทอดออกมาได้ไม่ดี และไม่ค่อยเข้าใจ

อันหนึ่งที่เล่าข้ามไปคือ เรื่องการยอมรับความรู้สึกและการจัดการอารมณ์โกรธของตัวเอง ฝนฯว่าดร.จีนอตต์ ได้ให้ความเห็นได้ตรงกับการแก้ปัญหาอย่างจริงใจ ว่า
“ในวัยเด็ก ไม่มีใครสอนเราว่าจะจัดการกับความโกรธที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราอย่างไร เราถูกปลูกฝังให้รู้สึกผิดเมื่อมีความโกรธและไม่สมควรแสดงมันออกมา
...พ่อแม่ที่มีสุขภาพจิตดีและมีความมั่นคงทางอารมณ์ก็ไม่ได้เป็นพระอิฐพระปูน พวกเขารู้ว่าตัวเองมีอารมณ์โกรธและยอมรับความจริงข้อนี้ พวกเขาใช้ความโกรธเป็นแหล่งข้อมูลเป็นเครื่องชี้ถึงความรักและความห่วงใยที่ตนมีต่อลูกและพวกเขาไม่ซ่อนความรู้สึก
...เด็กๆควรจะเรียนรู้ถึงความโกรธของพ่อแม่ด้วย...ไม่ได้หมายความ่าเด็กๆต้องทนกับพายุอารมณ์ของผู้ใหญ่ พวกเขาเพียงแต่ต้องรับรู้และเข้าใจว่า”ความอดทนของพ่อแม่ก็มีขีดจำกัด””

น่าสนใจตรงที่ดร.แนะให้เรารู้จักอารมณ์ด้านลบของตัวเอง เพื่อที่ยอมรับและไม่ต้องเสแสร้งแกล้งปิดบัง ข้อคิดเก๋ๆในเล่มที่ฝนฯอ่านก็คือ เราไม่ต้องทำตัวเป็นนักสืบถามนั่นถามนี่ คาดคั้นให้เด็กสารภาพผิดทั้งๆที่เราก็รู้ดีแก่ใจอยู่แล้ว (ถามทำไมให้หัวเสียหนักกว่าเดิม ยิ่งถามก็เหมือนยิ่งยุให้เด็กโกหก ยิ่งโกหก เรายิ่งโมโห) และบางเรื่องที่ลูกพูดความจริงที่ไม่น่าฟัง เช่นเกลียดคุณย่า ด่าคุณยาย เราก็ต้องทนฟัง ไม่ใช่ตีเด็กจนกว่าเด็กจะพูดเปลี่ยนว่า “รักคุณย่าและคุณยาย” เด็กเรียนรู้ได้ว่าการโกหก หรือเสแสร้งตามที่พ่อแม่อยากเห็นอยากฟัง เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ชอบและสนับสนุน เด็กจะไม่โดนทำโทษ สุดท้ายพ่อแม่จะไม่ได้อะไรเลยในการทำความเข้าใจลูก เพราะลูกไม่ยอมแม้แต่จะพูดความจริง ฝนฯว่า เคสนี้ต้องยกเรื่องบาปบุญคุณโทษออกไปก่อน ถ้ามัวแต่ตบปากลูก พร่ำพรรณนาถึงบาปกรรม เราจะไม่ได้ฝึกเด็กเลย ตัวอย่างเห็นกันบ่อยๆ เช่นเด็กบางคนเป็นนักขอโทษมือโปร รีบขอโทษก่อนผู้ใหญ่จะโกรธจะด่า แต่ความเป็นจริง สำนึกหรือเปล่านั้น เราไม่มีวันรู้ได้ เรื่องนี้เกี่ยวพันกับความซื่อสัตย์โดยตรง ดร.จีนอตต์กล่าวว่า
“หากต้องการจะสอนลูกเรื่องความซื่อสัตย์เราจะต้องเตรียมใจที่จะได้ยินความจริงที่ไม่อยากฟัง เช่นเดียวกับความจริงที่อยากฟัง” และ
“เราไม่ควรยั่วยุให้เด็กโกหกเพื่อป้องกันตัวเองหรือสร้างโอกาสให้เด็กต้องหาทางออกด้วยการโกหก และเมื่อลูกพูดโกหกกับเรา เราก็ไม่ควรตีโพยตีพายมุ่งแต่จะสอนศีลธรรมเพียงอย่างเดียว แต่ควรตอบสนองเด็กด้วยความเป็นจริง เราต้องการให้ลูกเรียนรู้ว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องโกหกพ่อแม่”

--ช่ายๆๆศีลธรรมสอนกันตอนมีวิกฤติได้ยากลำบาก และพ่อแม่เองนั่นแหละที่ขุดหลุมล่อให้ลูกทำผิด อันนี้ไม่ได้เขียนในหนังสือหรอกค่ะ ฝนฯเองแหละที่เขียน



Create Date : 06 สิงหาคม 2551
Last Update : 6 สิงหาคม 2551 21:39:54 น. 1 comments
Counter : 281 Pageviews.  
 
 
 
 
"เด็กเรียนรู้ได้ว่าการโกหก หรือเสแสร้งตามที่พ่อแม่อยากเห็นอยากฟัง เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ชอบและสนับสนุน "

เคยเห็นจริงๆ ทั้งๆ ที่เด็กไม่อยากจะโกหก
 
 

โดย: rainfull วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:23:11:03 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ฝนเดือนเจ็ด
 
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เป็นครูมหาวิทยาลัย สอนวิชาการพูด สนใจงานด้านจิตวิทยาการดูแลเด็ก ไม่ชอบเล่นกีฬา ชอบกินแมงกะพรุน,ปลิงทะเล และอาหารเวียดนาม ความหวังในชีวิตคือ อยากรวย
[Add ฝนเดือนเจ็ด's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com