ประโยชน์ของ อัลฟัลฟา (Alfalfa)

 

อัลฟัลฟา (Alfalfa) กับประโยชน์ต่อร่างกาย
ประโยชน์หลักของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือใช้เพื่อสุขภาพสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนสตรีวัย ใกล้หมดประจำเดือน ควรรับประทาน อัลฟัลฟา (Alfalfa) เป็นประจำ

อัลฟัลฟา ถูกจัดเป็นเอสโตรเจนธรรมชาติ (phytooestrogen) สตรีในวัยใกล้หมดประจำเดือน เอสโตรเจนจะลดต่ำลงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายและภาวะกระดูก เสื่อม ไฟโต-เอสโตรเจนในอัลฟัลฟา จะเข้าไปชดเชยเอสโตรเจนที่ต่ำลงนี้ รวมทั้ง ไวตามินดี แร่ธาตุ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ในอัลฟัลฟาซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำให้กระดูกฟันแข็งแรง จึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกเสื่อม นอกจากนี้ ไวตามินและแร่ธาตุในอัลฟัลฟา จะช่วยให้ร่างกายปรับสภาพได้อย่างเหมาะสม ลดอาการผิดปกติในช่วงนี้ เช่น ร้อนวูบวาบตามตัว หงุดหงิดง่ายลงด้วย

ภา วะคลอเรสเตอรอลสูง
คลอโรฟิลล์ ปริมาณสูง, ไวตามินและแร่ธาตุที่มีอยู่ในอัลฟัลฟาด้วยปริมาณที่เหมาะสม จะทำหน้าที่ขจัดของเสียสารพิษออกจากเลือดและอวัยวะภายใน (Blood and Bowel cleanser) อย่างไรก็ตาม กรดอะมิโน ที่จำเป็นที่อยู่ในใบของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะช่วยให้การทำงานของระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดี อีกทั้งยังเป็นยาระบายและยาขับปัสสาวะทางธรรมชาติที่ดี มักใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เพื่อการบำบัดอาการติดเชื้อทางปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ และอาการเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก และยังช่วยขจัดพิษในร่างกายโดยเฉพาะในตับได้อีกด้วย

วิตามิน K ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะช่วยป้องกันอาการคลื่นเหียน อยากอาเจียนได้

อัล ฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีสาร Fluoride และแคลเซียม ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงในกระดูก และป้องกันฟันผุ

ส่วนสาร Betacareotene ยังเป็นประโยชน์ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันโรคผิวหนังและเยื่อบุผิวให้มีสุขภาพ ที่ดี

อัลฟัลฟา (Alfalfa) อุดมไปด้วย แคลเซียม วิตามิน C, B12 และ Bioflavinoid ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติเป็น อย่างมาก

สาร Saponin ที่พบใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีลักษณะเดียวกันที่พบในราก โสม ซึ่งอาจช่วยหรือส่งเสริมให้การทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อหัวใจทำงาน ได้อย่างเหมาะสม

สาร Chlorophyll จะช่วยในการดับกลิ่นปากและกลิ่นตัว ต่อต้านความเป็นกรดเปรี้ยวของร่างกายและช่วยดูแลแบคทีเรียชนิดดีที่ช่วยใน การย่อยภายในลำไส้อีกด้วย

ไฟเบอร์ตามธรรมชาติที่มีอยู่มากใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะช่วยฟื้นฟูภาวะลำไส้อ่อนแอ นอกจากนี้ ไฟเบอร์ ยังช่วยในการลำเลียงของเสียที่อยู่ภายในลำไส้ออกจากระบบได้เป็นอย่างดี ทำให้หลอดลำไส้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีส่วนช่วยฟื้นฟู บรรเทาคนไข้ที่อยู่ในภาวะติดสารเสพติดหรือแอลกอฮอล์ได้

อัล ฟัลฟา (Alfalfa) มีสาร Carotene ที่ช่วยสร้างหรือซ่อมแซมเซลล์ภายในร่างกายใหม่ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง ที่ต้องการฟื้นฟูเซลล์ที่ถูกทำลายไป

อัลฟัลฟา (Alfalfa) ทำความสะอาดผิวจากภายใน

อัลฟัลฟา ยังช่วยลดการตกค้างของเสียตามผิวหนัง เนื่องจากในอัลฟัลฟายังมีสาร ไฟโต-เอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งพบว่าในคนที่มีสิวง่าย เมื่อรับประทานอัลฟัลฟาปริมาณการเกิดสิวจะลดลงและผิวจะแลดูสะอาดขึ้น

อัล ฟัลฟา (Alfalfa) กับ โรคกระเพาะอาหาร
เมื่อหมอจำนวนมากที่ใช้อัลฟัลฟา รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารต่าง ๆ เช่นมีแก๊สมากในกระเพาะอาหารเกิดอาการแน่น จุกเสียเป็นประจำ โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) และโรคเบื่ออาหาร โดยพบว่าอัลฟัลฟา มีไวตามิน ยู ซึ่ง ดร.กาเนทท์ ประจำมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด กล่าวว่า ไวตามิน ยู นี้มีศักยภาพสูงในการรักษาโรคกระเพาะ  (Peptic ulcer) ทำให้การสมานแผลในกระเพาะดีขึ้น และการหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติ

อัล ฟัลฟา มีเอ็นไซม์ เบต้าอีน (Betaine Enzyme) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์สำหรับย่อยและเอ็นไซม์อื่น ๆ อีก 7 ชนิดที่ส่งเสริมปฏิกิริยาเคมี ที่สามารถทำให้การดูดซึมสารอาหารภายในร่างกายเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการมีเบต้า-แคโรทีนเป็นปริมาณสูง ของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะทำให้ ผิวที่เคลือบกระเพาะอาหารมีความแข็งแรง ซึ่งพบว่า อัลฟัลฟาสามารถช่วยโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องเพราะมีแก๊สมา รักษาแผลในกระเพาะ-ลำไส้ ได้เป็นอย่างดี การรักษาโรคของหญ้าอัลฟัลฟานี้ อาจจะเป็นลักษณะเดียวกันกับวิธีธรรมชาติ เช่นเดียวกับที่สุนัขและแมว จะกินหญ้าเพื่อรักษาโรคกระเพาะของมันได้

ปวดข้อ ข้อแข็ง รูมาดอยด์ แก้ไขได้ด้วยอัลฟัลฟา
สารอาหารในอัลฟัลฟา จะช่วยปรับสมดุล กรด-ด่าง ในร่างกาย ป้องกันการสะสมของกรดยูริคและกรดอื่น ๆ ตามข้อต่าง ๆ ในหนังสือของ แคทเทอรีน เอลวูล ชื่อ “Feel Like a Million” ได้กล่าวว่า  ความมหัศจรรย์ของ อัลฟัลฟา เห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เมื่อให้คนไข้รูมาดอยด์ ใช้อัลฟัลฟา เพื่อรักษาความปวดตามข้อ ก็ได้รับรายงานจากคนไข้ว่าเขาสามารถงอมือได้สะดวกยิ่งขึ้น และความเจ็บปวดก็หายไป

ฉะนั้น เราจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมนักโภชนาการจึงได้ให้สมญานาม “อัลฟัลฟา” ว่าเป็น “หญ้ามหัศจรรย์” ที่ใช้เป็นยารักษาโรคต่าง ๆ อย่างได้ผล

อัลฟัลฟา ตรากรามิเน็กซ์ เป็นสารอาหารสกัดจากพืชตระกูลถั่วที่ชื่อ อัลฟัลฟา อันเป็นพืชที่ให้กรดอะมิโนธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ 8 ชนิด คือ ไอโซลิวซีน, ลิวซีน, เมไธโอนีน, พินิลอะอานีน, เทรโอนีน,ทริฟโตฟาน, ไลซีนและวาลีนกรดอะมิโนทั้ง 8 ชนิดนี้ สร้างเซลล์ชนิดที่ร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถสร้างเองได้

คุณประโยชน์ที่อัลฟัลฟาให้กับมนุษย์ คือ ช่วยอาการปวดและอักเสบต่าง ๆ รวมทั้งช่วยอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและสร้างเซลล์ตับที่ถูกทำลาย ด้วยพิษจากสุรายาเมา และสามารถช่วยฟอกเลือดให้สะอาดจากไขมันปนเปื้อนเข้าไปในเส้นเลือดอีกด้วย เพราะอัลฟัลฟ่ามีสารซาโปนีน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดไขมันในเลือด ยิ่งไปกว่านั้นยังมีสารไอโซฟลาโวน, สารฟลาโว, สารสเตอโรล ซึ่งสารทั้ง 3 ชนิดนี้ ช่วยกระตุ้นเซลล์ที่สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยชะลอความแก่ได้อย่างน้อย 10 ปี

คุณสมบัติของสารอาหารในอัลฟัลฟ่า มีดังนี้
1. แก้ปัญหาท้องผูก ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร
2. ขับสารพิษออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานดีขึ้น
3. ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
4. ช่วยลดแผลอักเสบ ยั้บยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
5. ช่วยอาการชา บวม และเส้นเลือดขอดบรรเทาลง
6. ขับกรดจากข้อต่าง ๆ ทำให้อาการปวดข้อทุเลาลง
7. ปรับระดับน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
8. ลดความดันโลหิต ลดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ
9. ทำให้คนที่เป็นภูมิแพ้มีอาการดีขึ้น
10. เพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดแดงทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดีขึ้น
11. มีสารอาหารที่บำรุงเส้นผม ทำให้ผมหงอกกลับดำขึ้น ช่วยลดอาการผมร่วง
12. ช่วยให้ผู้ที่เป็นต้อกระจกมองเห็นดีขึ้น
13. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล
14. ช่วยปรับสภาพของผู้หญิงวัยทอง

สารที่ประกอบอยู่ในอัลฟาฟ่า
————————————————–
อัลฟัลฟา อัลฟัลฟา (Alfalfa)(Lucenc) จัดเป็นพืชจำพวกตระกูลถั่วที่มีฝัก เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันตก และแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เป็นพืชชนิดแรก ๆ ที่ใช้เพื่อการเพาะปลูก เติบโตได้ในแถบทุกอากาศทั่วโลก อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีระบบรากที่มหัศจรรย์มาก ในบางพื้นที่รากของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) สามารถชอนไชลงไปได้ลึกกว่า 130 ฟุต จึงมีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารได้มากกว่าและบริสุทธิ์กว่า อีกทั้งตัวของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เองก็จะไม่สะสมสารพิษ ชาวอาหรับโบราณรู้จักใช้ประโยชน์จาก “อัลฟัลฟา (Alfalfa)” มากว่า 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้เป็นพืชเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มความเร็วและแข็งแรงให้กับม้า อีกทั้งยังใช้ใบมาตากแห้งชงเป็นชาดื่ม ด้วยคุณค่าทางอาหารที่มากมายชาวอาหรับจึงขนานนาม อัลฟัลฟา (Alfalfa) ให้เป็น AL-FAS-FAH-SHA หรือ “ราชาแห่งอาหารทั้งมวล” หรือบิดาของอาหารทุกชนิด (Father of All Foods)

อัลฟัลฟา (Alfalfa) ได้ถูกใช้เพื่อการรักษาทางการแพทย์มาตั้งแต่โบราณ โดยแพทย์ชาวจีนได้ใช้ใบ อัลฟัลฟา (Alfalfa) อ่อนในการรักษาอาการย่อยไม่ปกติ เช่นเดียวกันกับแพทย์ชาวอินเดียที่ใช้ใบ และดอกสำหรับการรักษากระบวนการย่อยทำงานที่ทำงานได้น้อย นอกจากนี้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังใช้เพื่อการบำบัดโรคข้อต่ออักเสบ ชาวอินเดียในอเมริกาเหนือได้แนะนำให้ใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ในการรักษาโรคดีซ่าน และช่วยสนับสนุนการจับตัวของเลือด แพทย์ที่ใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดในอเมริกาได้แนะนำให้ใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เป็นยาสำหรับอาการย่อยไม่เป็นปกติ ภาวะโลหิตจาง เบื่ออาหารและอาการดูดซึมอาหารไม่ดี นอกจากนี้ยังแนะนำว่า อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีส่วนกระตุ้นให้การหลั่งน้ำนมในแม่ดีขึ้นอีกด้วย
ดร.แฟรงค์ โบเออร์ นักชีววิทยา ผู้เขียนตำราเกี่ยวกับโภชนาการที่มีชื่อของสหรัฐถึงกับให้ฉายาของ “หญ้าอัลฟัลฟา” นี้ว่า “ยารักษาโรคที่มหัศจรรย์”

สารที่ประกอบอยู่ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa)
“อัลฟัลฟา” ประกอบด้วย ไวตามินที่มีประโยชน์มากมายหลายชนิดใน “อัลฟัลฟา” 100 กรัม มีไวตามินเอ 8,000 ยูนิต และยังมีไวตามินเค ตามธรรมชาติ เป็นปริมษนสูงอีกด้วย ซึ่งช่วยในการแข็งตัวของเลือด “อัลฟัลฟา” มีไวตามีเค สูงถึง 20,000 – 40,000 ยูนิต ในอัลฟัลฟา 100 กรัม

ด้วยระบบรากที่มีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารมากกว่าพืชชนิดใด ๆ เป็นผลให้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เป็นพืชที่มีส่วนประกอบของสารต่าง  ๆ มากมาย มี กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างการถึง 8 ชนิด เช่น Isoleucine, Leucine, Lysine, Methionine เป็นต้น ซึ่งเป็น กรดอะมิโน ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่จำเป็นต้องมีไว้เพื่อประโยชน์ในการสร้างเซลล์ใหม่ อีกทั้ง อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีวิตามินอีกมากมาย รวมถึงวิตามิน A, B1, B6, B8, B12, C, D, E, K, P และ U รวมทั้งยังประกอบไปด้วยเกลือแร่อีกหลากชนิด เช่น ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม แคลเซียม สังกะสี เซเลเนียม และแมกนีเซียม เป็นต้น และยังมีเอนไซม์หลักอีกถึง 8 ชนิด คือ ไลเปส อาเมเลล โคกุเลส อีมูลซิน อินเวอร์เคส เปอร์อ๊อกซีเตส เพคติเนส โปรตีส นอกจากนี้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีส่วนประกอบของสารอื่น ๆ อีกเช่น Betacarotene, Bioflavinoids, Carotene,Chlorine Chlorophyll, Flavone, Isoflavone, Sterol และ Saponin เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่ให้คุณต่อร่างกายด้วยกันทั้งนั้น

 

ที่มา//www.deedeejang.com




Create Date : 09 ตุลาคม 2556
Last Update : 9 ตุลาคม 2556 11:55:27 น.
Counter : 2303 Pageviews.

0 comment
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเครื่องปั่นผักและผลไม้ โดยคุณเชษฐา ใจใส่มติชน

  ใกล้เทศกาลกินเจแล้ว เรามาดูแลสุขภาพด้วยการทานผักและผลไม้กันดีว่า  เริ่มต้นจากการเลือกเครื่องปั่นน้ำผักและผลไม้กันก่อนนะคะ

เครดิตข้อมูล คุณเชษฐา ใจใส่มติชน

ด้วยความที่ประเทศของเราเป็นเมืองร้อน เครื่องดื่มปั่นเย็นๆ ชื่นใจ จึงเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมตลอดกาล ไม่ว่าจะเป็นน้ำปั่นผลไม้แบบดั้งเดิมที่เราคุ้นเคยดี เช่น มะนาวปั่น แตงโมปั่น หรือนมปั่น ไปจนถึงเครื่องดื่มปั่นสมัยใหม่ เช่น เฟรปเป้ หรือสมูธตี้ ที่เป็นที่รู้จักกันในไม่กี่ปีที่ผ่านมาและกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

ความแตกต่างของน้ำปั่นแบบดั้งเดิมกับสมูธตี้ที่เห็นได้ชัดคือ ความข้นหนืดและเนื้อสัมผัสของสมูธตี้ที่มากกว่าน้ำปั่น ซึ่งเกิดจากการใส่ส่วนผสมที่เป็นเนื้อผลไม้ทั้งสดหรือแช่แข็งลงไปด้วย และต้องปั่นในเครื่องปั่นระดับมืออาชีพ ที่มีกำลังและความเร็วสูง ส่วนน้ำปั่นแบบดั้งเดิมมีแต่ของเหลว ได้แก่ น้ำผลไม้กับน้ำเชื่อมและน้ำแข็ง หรือมีผลไม้เนื้ออ่อนอย่างแตงโม แคนตาลูป สามารถใช้เครื่องปั่นแบบใช้ในบ้านที่มีวางขายทั่วไป ซึ่งมอเตอร์มีขนาดเล็กประมาณ 1/2-3/4 แรงม้า ก็พอได้ หากต้องการปั่นสมูธตี้หรือเฟรปเป้ ควรมีกำลังเครื่องมากกว่า 1 แรงม้าขึ้นไป (1 แรงม้าเทียบเท่า 746 วัตต์) แต่กระนั้นก็ตามยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกำลังวัตต์ของเครื่อง ซึ่งหลายๆ คนยังสับสน และคิดว่าเป็นคำตอบสุดท้ายที่จะบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเครื่องปั่น

 

การเลือกซื้อเครื่องปั่น

 

ในการเลือกซื้อเครื่องปั่นเราควรต้องพิจารณาจากหลายๆ ปัจจัย ไม่ใช่แค่กำลังวัตต์เท่านั้น เครื่องปั่นคุณภาพต่ำหลายยี่ห้อ ผลิตจากจีนแดง ระบุกำลังวัตต์สูงถึง 1,500 วัตต์ แต่ราคาถูกแสนถูกอย่างเหลือเชื่อ แต่เมื่อนำมาปั่นเครื่องดื่มกลับไม่ละเอียด สู้เครื่องปั่นต้นตำรับจากอเมริกา ซึ่งมีกำลังวัตต์เพียงแค่ 850 วัตต์ ไม่ได้ จากตัวอย่างนี้ เห็นได้อย่างชัดเจนว่ากำลังวัตต์ที่แสดงในป้ายเครื่อง (เนมเพลท) เป็นเสมือนภาพลวงตาทำให้เราเข้าใจผิดได้

 

ผู้เขียนจะอธิบายประเด็นนี้ให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการเปรียบเทียบกับหลอดตะเกียบประหยัดไฟกับหลอดไส้แบบดั้งเดิม หลอดตะเกียบประหยัดไฟกินไฟแค่ 15-18 วัตต์เท่านั้น แต่กลับให้ความสว่างเทียบเท่าหรือมากกว่าหลอดไส้แบบดั้งเดิมที่กินไฟสูงถึง 60-80 วัตต์ เห็นได้ชัดเลยว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่มีการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพได้ โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากหรือกินไฟเหมือนแต่ก่อน ซึ่งเทคโนโลยีของเครื่องปั่นก็เช่นเดียวกัน

 

ข้อควรพิจารณา

 

ก่อนซื้อเครื่องปั่นสมูธตี้

 

ในการจะเลือกซื้อหาเครื่องปั่นเบลนเดอร์ดีๆ สักตัว ให้ใช้งานได้ตรงกับความต้องการและอยู่เป็นเครื่องมือทำมาหากินได้นานๆ ไม่จุกจิกให้ปวดหัว เราจำเป็นต้องพิจารณาให้รอบคอบมากๆ ด้วยความที่เครื่องปั่นที่มีให้เลือกในท้องตลาดมีมากมายเหลือเกิน ซึ่งผู้เขียน แบ่งกลุ่มประเภทเครื่องปั่นออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

 

1. เครื่องปั่นแบบไลท์ดิวตี้หรือแบบใช้ในบ้าน เหมาะกับการใช้งานไม่หนัก ปั่นเครื่องดื่มที่มีความข้นหนืดสูงๆ หรือมีเนื้อของแข็งผสมมากไม่ได้ เพราะมอเตอร์มีขนาดเล็ก ประมาณ 1/2-3/4 แรงม้า (ประมาณ 400-600 วัตต์) ราคาไม่แพง หลักร้อยถึงหลักพันต้นๆ เท่านั้น ควรใช้ในครัวเรือนเป็นหลัก หากนำมาใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากิน อาจจะพังได้ง่าย เพราะมอเตอร์จะร้อนเร็วและไหม้ได้ง่าย ชิ้นส่วนอื่นๆ ก็ไม่ค่อยแข็งแรงทนทาน ออกแบบมาให้ใช้งานในบ้านเป็นหลักซึ่งใช้ไม่เกิน 2-3 ครั้ง ต่อวัน อีกทั้งอาจจะพ้นจากการรับประกันสินค้า หากนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ดังนั้น ควรอ่านเงื่อนไขการรับประกันให้ดีว่ามีระบุไว้หรือไม่

 

 

2. เครื่องปั่นประสิทธิภาพสูงแบบเฮฟวีดิวตี้ เป็นเครื่องที่ออกแบบมาให้มีความแข็งแรงทนทาน เหมาะกับงานหนัก หรือต้องใช้บ่อยๆ มากกว่า 20 ครั้ง ต่อวัน เครื่องมักจะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะมอเตอร์มีขนาดใหญ่ สามารถใช้งานเชิงพาณิชย์ เป็นเครื่องมือทำมาหากินได้อย่างสบาย เครื่องปั่นแบบนี้ยังมีแยกย่อยออกเป็น

 

- แบบแมนวลปรับความเร็ว 2 ระดับ (2 speed) เหมาะกับปั่นเครื่องดื่มเป็นหลัก

 

- แบบปรับความเร็วได้หลายระดับ สามารถใช้งานอเนกประสงค์ ปั่นอาหาร ของแห้ง เครื่องแกง ได้

 

- แบบโปรแกรมตั้งเวลาอัตโนมัติ

 

เครื่องแต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสียในตัวเอง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน พอสรุปข้อดีข้อเสียได้ดังนี้

 

เครื่องปั่นแบบ 2 สปีด

 

เครื่องปั่นแบบปรับความเร็วได้

 

เครื่องปั่นแบบโปรแกรมอัตโนมัติ

 

ข้อดี

 

ใช้ง่าย ไม่หยุมหยิม ราคาย่อมเยากว่า

 

ใช้งานได้อเนกประสงค์

 

ง่าย สะดวก ไม่ต้องมีความชำนาญ กดเพียงปุ่มเดียว

 

ข้อเสีย

 

อาจต้องอาศัยผีมือหรือความเชี่ยวชาญในการปั่นเพื่อให้ได้เครื่องดื่มคุณภาพดี หากเปลี่ยนผู้ใช้งานต้องมีการฝึกฝน จึงจะปั่นได้ดี

 

ราคาสูงกว่า ความทนทานอาจจะน้อยกว่าแบบแมนวล เพราะมีระบบอิเล็กทรอนิกส์

 

หลักคิด

 

ในการเลือกซื้อหาเครื่องปั่น

 

ด้วยความหลากหลายเช่นนี้ ผู้เขียนจึงขอมอบหลักคิดในการเลือกซื้อหาดังต่อไปนี้

 

ลักษณะการใช้งาน เราต้องรู้ให้แน่ชัดเสียก่อนว่าเราจะเอาเครื่องปั่นไปทำอะไร เช่น ใช้งานในครัวเรือน หรือเอาไปเป็นเครื่องมือทำมาหากิน ปั่นเครื่องดื่มอย่างเดียวหรือใช้ปั่นอเนกประสงค์ เผื่อว่าไปปั่นอย่างอื่น เช่น อาหาร เครื่องแกง หากปั่นเครื่องดื่มอย่างเดียว ใช้เครื่องแบบ 2 สปีดก็เพียงพอ ใช้ง่าย จ่ายเงินน้อยกว่า หรือหากเปิดร้านแต่ไม่ได้ยืนขายเอง เปลี่ยนลูกน้องบ่อย ควรใช้แบบโปรแกรมอัตโนมัติ กดปุ่มเดียวเสร็จ ไม่ว่าจะใครปั่นก็ได้เครื่องดื่มคุณภาพเดียวกัน

 

แรงม้าและความเร็วรอบของมอเตอร์ ถือได้ว่าเป็นหัวใจของเครื่องปั่นเลยทีเดียว หากไปทำมาค้าขายควรใช้เครื่องที่มีกำลังสูงกว่า 1 แรงม้าขึ้นไป ยิ่งแรงม้ายิ่งสูงยิ่งดี เพราะสามารถปั่นบดละเอียดได้อย่างรวดเร็ว เครื่องดื่มจะมีความข้นหนืด ไม่เหลวไม่แยกชั้น ดูดีมีราคากว่าน้ำปั่นทั่วไป ส่วนกำลังวัตต์ที่ระบุอยู่ที่เครื่องอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นตัวบ่งบอกความแรงของเครื่อง แท้ที่จริงแล้ว หมายถึงอัตราการใช้พลังงานหรือการกินไฟฟ้า ส่วนด้านขาออก หรือผลผลิตที่มอเตอร์จะให้กำลังออกมาจะวัดเป็นหน่วยแรงม้า (HP) ยกตัวอย่างเช่น เครื่องปั่นระดับมืออาชีพราคาแพงๆ ตัวละหลายหมื่นบาท นำเข้าจากอเมริกาแบบที่ร้านกาแฟใหญ่เขาใช้กัน ระบุในป้ายติดเครื่องว่า 850 วัตต์ แต่ให้กำลังสูงถึง 2 แรงม้า หรือระบุว่า 1,500 วัตต์ แต่ให้กำลังสูงถึง 3.5 แรงม้า เป็นต้น ด้วยเทคโนโลยีมอเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมากทำให้กินไฟน้อยลงแต่ให้แรงม้ามากขึ้น อย่างที่ได้ยกตัวอย่างหลอดประหยัดไฟ ยิ่งวัตต์สูงขึ้นก็กินไฟมากขึ้น เครื่องก็ร้อนเร็ว หากไม่มีระบบระบายความร้อนที่ดีพอ มอเตอร์อาจไหม้ได้ง่าย ยิ่งมอเตอร์ร้อนบ่อยๆ จะทำให้อายุการใช้งานหดสั้นลง ส่วนเรื่องความเร็วรอบ ยิ่งเร็วยิ่งดี ซึ่งเครื่องระดับมืออาชีพส่วนใหญ่จะมีความเร็วรอบมากกว่า 30,000 รอบ ต่อนาที

 

ขนาดของโถปั่นและวัสดุ โถปั่นแบบเก่าๆ มักทำจากแก้ว เพราะราคาถูก แต่ค่อนข้างหนักและแตกง่าย แต่มีข้อดีคือไม่ดูดซับกลิ่นอาหาร ส่วนโถปั่นสมัยใหม่โดยเฉพาะประเภทมืออาชีพ ล้วนทำจากพลาสติคชนิดโพลีคาร์บอเนต ที่มีความทนทานสูงไม่แตกง่าย ด้วยความเร็วของมอเตอร์ที่สูงมาก หากมีส่วนผสมที่เป็นของแข็งมาก ถ้าเป็นโถแก้วอาจแตกได้ อย่างไรก็ตาม โถพลาสติคโพลีคาร์บอเนตบางเกรด อาจมีสารปนเปื้อนที่เรียกว่า ไบฟีนอล เอ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งเคยพบในอาหารที่ผ่านการปรุงด้วยไมโครเวฟในภาชนะพลาสติคเป็นเวลานาน ดังนั้น ควรเลือกใช้ยี่ห้อที่ผ่านการรับรองความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนจะดีที่สุด หากใช้โถปั่นโพลีคาร์บอเนตควรแยกโถปั่นระหว่างเครื่องดื่มกับอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น เครื่องเทศ เครื่องแกง เพราะกลิ่นจะติดโถได้ง่าย

 

ในการปั่นแต่ละครั้งควรใส่ส่วนผสมไม่เกิน 1/2 ของความจุโถปั่น ยิ่งเครื่องมีกำลังต่ำๆ ยิ่งต้องใส่ส่วนผสมให้น้อยลงไปอีก มิฉะนั้น จะไม่มีแรงดูดเข้าหาใบมีด เครื่องปั่นระดับมืออาชีพมักมีความจุ ประมาณ 1.5-2 ลิตร สามารถปั่นได้ครั้งละ 1 ลิตร หรือ 1 กิโลกรัม ส่วนเครื่องปั่นแบบไลต์ดิวตี้มักมีความจุไม่เกิน 1 ลิตร หรือ 32 ออนซ์

 

อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ มีผู้อ่านและลูกศิษย์ผู้เขียนมักถามบ่อยๆ ว่า อุปกรณ์เสริมที่ได้มากับเครื่องปั่นบางอย่างใช้ทำอะไร ยกตัวอย่างเช่น แท่งกวนพลาสติคที่มากับเครื่องปั่นบางรุ่น ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่า จะใช้หรือไม่ใช้ก็ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก หากเราใส่ส่วนผสมที่เหมาะสม คือเวลาปั่นแล้วส่วนผสมมีการไหลเวียนได้จากแรงดูดที่เรียกว่า วอร์เท็กซ์ (Vortex) จากการหมุนของใบมีด การใช้แท่งกวนพลาสติคก็ไม่มีความจำเป็น แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นก็จะใช้กวนกันยกใหญ่ อาจจะเป็นความรู้สึกตามหลักจิตวิทยาว่าใช้แล้วจะปั่นได้ละเอียดยิ่งขึ้น ก็ไม่ผิดอะไรหรอกครับได้ออกกำลังแขนไปด้วย อีกอย่างที่เคยเห็นคือโถปั่นแบบมีไส้กรองแบบทำน้ำเต้าหู้ได้ อันนี้ก็ไม่มีความจำเป็นเลยถ้าเราไม่ได้ขายน้ำเต้าหู้ ก็คงไม่ได้ใช้

 

ความน่าเชื่อถือของผู้ขายและการบริการหลังการขาย ผู้เขียนจะให้ความสำคัญกับปัจจัยนี้มากที่สุด เพราะว่าเครื่องปั่นไม่ว่าจะยี่ห้อไหน แพงแค่ไหน มีโอกาสชำรุดได้ตลอด ด้วยการหมุนที่ความเร็วรอบสูง หรือเกิดจากความพลั้งเผลอของผู้ใช้งาน เช่น ลืมช้อนเหล็กในโถทำให้ต้องปั่นเหล็กไปด้วย หรือมีน้ำเข้าเครื่องเป็นต้น ดังนั้น การบริการหลังการขายต้องมีความเชื่อถือได้ ขายแล้วไม่ทอดทิ้งกัน

 

อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วราคาของเครื่องก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด แต่ไม่จำเป็นต้องราคาต่ำที่สุด แต่ต้องมีความเหมาะสมคุ้มค่าเงิน และเหมาะสมกับการใช้งาน มีความทนทานและมีการรับประกันสินค้าบริการหลังการขายที่น่าเชื่อถือ ประหยัดพลังงานลดโลกร้อน ราคาไม่จำเป็นต้องแพงเป็นหลักหมื่นหลักแสน ก็สามารถหาเครื่องปั่นดีๆ ได้

 

 




Create Date : 01 ตุลาคม 2556
Last Update : 1 ตุลาคม 2556 11:39:02 น.
Counter : 30574 Pageviews.

4 comment

SOYU_K
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



New Comments