สูตรตามตำรายากลางบ้าน เพื่อดูแล รักษาหนังศรีษะ
 

สูตรตามตำรายากลางบ้าน เพื่อดูแล รักษาหนังศรีษะ

รวบรวมโดย สมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย

จากหนังสือตู้ยาแผนโบราณ


                     ยากำจัดรังแค


ขนานที่ 1 นำผลบวบอ่อนๆ 1 ลูก นำมาปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆใช้ขยี้บนศีรษะให้ทั่วทิ้งไว้สักพักหนึ่ง แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

มีสรรพคุณ กำจัดขี้รังแค และอาการคันศีรษะ ได้ผลดี


ขนานที่ 2 นำผลมะกรูด 1 ผล นำมาเผาไฟ นำมาคั้นเอาน้ำใช้ขยี้บนศีรษะให้ทั่วทิ้งไว้สัก 2-3 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

มีสรรพคุณ กำจัดรังแคให้หายไปสิ้น


                    ยาบำรุงผมให้ดก

นำผลมะกรูด 1 ผล นำมาบีบเอาน้ำ ผสมกับหัวกะทิ กวนให้เข้ากัน ใช้ขยี้ผมให้ทั่วศีรษะ แล้วใช้ผ้าโพกอบไว้สักครู่หนึ่ง แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด ให้ปรุงยานี้รักษาวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกันประมาณ 1 วัน จะทำให้ผมดกดำ


                   ยารักษาเส้นผมให้นุ่มสลวย

นำไข่เป็ดหรือไข่ไก่ 1 ฟอง นำมาทุบเอาเฉพาะไข่แดง ใช้ขยี้ผมให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ประมาณ 2/3 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด เพียง 2-3 ครั้ง

มีสรรพคุณ ทำให้ผมนุ่มสลวย


                    ยาผมแตกปลาย

นำต้นตะไคร้ 3-4 ต้นนำมาล้างให้สะอาด คั้นเอาน้ำใช้นวดผม(หลังจากสระผมเสร็จแล้ว) ทิ้งไว้สักครู่หนึ่ง จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด

มีสรรพคุณ

แก้ผมแตกปลาย กำจัดขี้รังแค และทำให้ผมดกดำได้ภายใน 2 เดือน


                     ยาแก้ผมหงอก

นำต้นบัวบก หนัก 4 ส่วน หัวแห้วหมูหนัก 2 ส่วน พริกไทยร่อน หนัก 1 ส่วน ตัวยาทั้ง 3 อย่างนี้ นำมาตากแดดให้แห้ง บดเป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งแท้ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเมล็ดพุทรา ใช้รับประทานเวลาก่อนอาหาร เช้า-เย็น มีสรรพคุณ ทำให้ผมดก



ตำรายาสมุนไพร หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า

               

                      ยาแก้ผมร่วง


ท่านให้เอา เถาบอระเพ็ด 1 เถา เถาหัวด้วน 1 เถาหัวด้วน ตัวยาทั้ง ๒ อย่างนี้เอาอย่างละเท่าๆกัน นำมาตำให้แหลก คั้นเอาน้ำ ใช้ทาให้ทั่วศีรษะ วันละ ๑ ครั้ง ประมาณ ๕-๗ วัน

มีสรรพคุณ แก้โรคผมร่วง เพราะเชื้อรา ได้ผลดีอย่างชะงัดนักแลฯ

 

คุณนงนาท สนธิสุวรรณ แนะนำเพิ่ม ขอบคุณมากนะคะ

 ว่านหางจระเข้  ช่วยหยุดผมร่วง เพราะมีสรรพคุณช่วยเสริมเซลล์รากผม

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย กานดาน้ำมันมะพร้าว




Create Date : 21 ตุลาคม 2556
Last Update : 21 ตุลาคม 2556 11:14:34 น.
Counter : 1388 Pageviews.

1 comment
สมุนไพรบำรุงผม รักษาโรคบนศีรษะ
 
สมุนไพรบำรุงผม

   บนศีรษะของเรานั้นมี หนังศีรษะกับเส้นผม มีโรคเกิดขึ้นได้เหมือนกับอวัยวะอื่นๆที่เป็นโรคหากเราไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพของอวัยวะนั้นบ้าง บนศีรษะของเราตั้งแต่เกิด บางคนโชคดีไม่พบโรคเลย เพียงแค่สระล้างให้สะอาดเท่านั้น คงเป็นเพราะภายในร่างกายสุขภาพดี แต่บางคนเกิดมาก็มีชันตุ น้ำเหลือง รังแคเป็นแผ่น คัน เป็นแล้วเป็นอีก ซึ่งผู้ใหญ่ก็เป็นได้หากมีการติดเชื้อมา หรือไม่ขยันสระผม ตอนอายุน้อยๆบนศีรษะเราไม่ค่อยเป็นอะไรแต่พอเลยวัย เข้าวัยกลางคนหรือสูงอายุ ก็เกิดปัญหาสภาพผมไม่เหมือนเดิม ซึ่งการแก้ไขให้เหมือนเดิมต้องใช้เวลานานมาก บันทึกนี้นำสมุนไพร ที่ช่วยทำให้หนังศรีษและเส้นผมดีขึ้นได้ หากเราทำสม่ำเสมอ เพียงแต่ขยันทำเท่านั้น

สมุนไพรเพื่อสุขภาพดีบนศีรษะ

1. ทองพันชั่ง  หญ้ามันไก่ใช้ส่วน ราก ต้มสระผม แก้ผมร่วง ผมหงอก แก้รังแค

2. ชบา  ชบาดอกแดง ,ชบาดอกขาว, Shoe Flowerใช้ส่วน ดอก ตำพอกหรือทาบำรุงเส้นผม

3. ซองแมว  ซ้องแมว , ควาย,  ยองขนุน (สุราษฏร์) , จิ้งจาย(ใต้) , ซ้องแมวใหญ่, ซองแมวน้ำ, จิงจ้อ , ซ้อแมว(เหนือ), ปะงางอ (ปัตตานี)ใช้ส่วน  ใบ  ตำพอก แก้ผมร่วง แก้ปวดศรีษะ

 4. มะกรูด  ส้มกรูด , ส้มมั่วผี(ใต้), มะหูด(หนองคาย), Leech Lime, Porcupine orange

ใช้ส่วน ลูก ปิ้งไฟให้สุก ผ่าครึ่งลูกเอาถูฟอกสระผม ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม นุ่มสลวย แก้คันศีรษะ แก้รังแค

5. เทียนกิ่ง  เทียนย้อมมือ ,เทียนย้อม , Hana Tree , Mignonette Tree Sinnamomo , Egyptian Privetใช้ส่วน ใบ  ให้สี ผมแดง

 6. ฟักข้าว  ผักข้าว(เหนือ), ขี้กาเครือ (ปัตตานี) ,พุเด๊ะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)ใช้ส่วน ราก แช่น้ำสระผม  แก้ผมร่วง ฆ่าเหา

7. ตีนเป็ดน้ำ  ตีนเป็ดทะเล ,ตุม(กาญจนบุรี ) ,สั่งลา (กระบี่) พะเนียงน้ำใช้ส่วน เมล็ด แก้ผมหงอก

 8. น้อยหน่า  มะนอแน่ (เหนือ) ,หมากเขียบ(อีสาน) ,ลาหนัง ( ปัตตานี) เตียบ (เขมร), Sugur Apple ,Sreet ,Sop custardใช้ส่วน เมล็ด  ฆ่าเหา

 9. ส้มป่อย  ส้มขอนใช้ส่วน ฝัก  ต้มเอาน้ำสระผม แก้รังแค

10. อัญชัน  ใช้ส่วน ดอก ผมดกดำ

 11. มะพร้าว   ใช้หัวกะทิ - น้ำมันมะพร้าว แก้ชันตุ แก้รังแค แก้หนังศีรษะคัน รักษาชื้อราบนหนังศีรษะ ผมดำดำ นิ่ม ลื่น เงางาม รักษาเหา ผมไม่แตกปลาย แก้ผมร่วง บำรุงรากผม
12. เหงือกปลาหมอ ใช้ทั้งต้น ตำคั้นเอาน้ำทาศีรษะ บำรุงรากผม13. ดีปลาหมอ    แก้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ


ขอบคุณ สรรพคุณ สมุนไพรบำรุงผม หนังศีรษะ จากหนังสือ เภสัชกรรมไทยฯโดย วุฒิ วุฒิธรรมเวช  และประสบการณ์ของผู้ใช้ได้ผลจริง


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย กานดาน้ำมันมะพร้าว




Create Date : 21 ตุลาคม 2556
Last Update : 21 ตุลาคม 2556 11:11:06 น.
Counter : 794 Pageviews.

0 comment
มะกรูดคู่ครัวไทย
 

หลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกันดีกับมะกรูด สมุนไพรที่อยู่คู่ครัวไทยมานาน ตั้งแต่สมัยปู่ย่า ตาทวด ทั้งยัง เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้ หรือแม้แต่ในการปรุงกับข้าวหากฉีกใบมะกรูดโรยลงไปก็จะช่วยให้กับข้าวนั้นหอมชวนกินมากขึ้น

นอกจากมะกรูดเครื่องประกอบในอาหารรสเลิศหลายๆ เมนูแล้ว เรายังใช้มะกรูดในเรื่องของความงามอีกด้วย โดยนำมะกรูดมาใช้ในการสระผม เพื่อขจัดรังแค ซึ่งมีรายงานวิจัยว่าผิวมะกรูดมีสารเรซอร์ซินอล ที่ช่วยขจัดรังแคได้ดี นอกจากนี้ ความเปรี้ยวของน้ำมะกรูดซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดยังช่วยขจัดคราบแชมพู หรือชะล้างสิ่งอุดตันตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ ทำให้ผมหวีง่าย ที่ผิวมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งช่วยว่า ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม ทำให้ผมเป็นเงางาม

ซึ่งการนำมะกรูดมาใช้ในการสระผมก็ทำได้ไม่ยาก นำมะกรูดที่แก่จัดมาเผาไฟจากนั้น นำมาปั่นหรือตำทั้งลูก  และเพื่อไม่ให้น้ำมะกรูดเข้มข้นเกินไป (หากใช้น้ำมะกรูดเข้มข้นอาจทำให้หนังศีรษะเป็นรอยดำเมื่อล้างไม่สะอาดและไปสัมผัสแสงแดดได้ เพราะพืชตระกูลส้มจะมีสารที่ไวต่อแสงทำให้ผิวหนังกลายเป็นสีดำ) ให้ใช้น้ำซาวข้าวผสมลงไปก่อนใช้ ซึ่งตัวน้ำซาวข้าวนี้ชาวบ้านในชนบทหลายๆ คน ที่ตอนนี้แม้จะอายุ 70 กว่าปีแล้วผมก็ยังไม่หงอก ยังคงผมดำสวย บอกว่าใช้ในการสระผมเป็นประจำตั้งแต่สาวยันแก่ หรือถ้าหากท่านใดไม่สะดวกที่จะนำผลมะกรูดทั้งลูกมาเผาไฟก็สามารถใช้มะกรูดสระผมได้โดยการนำผลมะกรูดมาหั่นเอาแต่ผิวมาตำ จากนั้นคั้นเอาน้ำใส่ลงไปคนให้เข้ากันผสมน้ำอุ่นหรือน้ำซาวข้าวลงไป นำมาสระผมแทนแชมพู หากต้องการให้ตัวยาจากมะกรูดคงอยู่กับผมนานขึ้น ก็อาจหมักทิ้งไว้ 5-10 นาที ระวังอย่าให้เข้าตาและควรล้างให้สะอาดจริงๆ

มะกรูดนอกจากใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร  และบำรุงผมแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาอื่นๆ อีก เช่นการใช้เป็นยาภายใน คือเป็นยากินเพื่อขับลมในลำไส้  ขับเสมหะ ขับพิษ ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ไอ แก้โรคลักปิดลักเปิด  หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากในมะกรูดมีวิตามินซี นอกจากนี้ยาฟอกเลือดสตรี ขับระดู แก้ผอมแห้งแรงน้อย  ยาบำรุงประจำเดือน ก็มักจะมีมะกรูดอยู่ในตำรับยาอยู่เสมอ

มะกรูดยังสามารถใช้ในสรรพคุณแก้ลม ดังปรากฏในตำรายาหลวงเป็นยาแทรกยานัตถุ์พิมเสนดม และถ้าหากจะทำยาแก้ลมวิงเวียนอย่างง่าย ๆ ก็สามารถทำได้โดย ใช้ผิวมะกรูด 1 ช้อนแกง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ  ชงน้ำเดือด 1 แก้ว แช่ทิ้งไว้ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1-2 ครั้ง  ถ้าไม่หายรับประทานต่อไปอีก 1-2 วันอาการจะดีขึ้น

ส่วนการใช้ภายนอก มักใช้เป็นส่วนประกอบในลูกประคบ ยาอบ ยาอาบ หลายต่อหลายสูตรเนื่องจากมะกรูดมีน้ำมัน หอมระเหยซึ่งมีฤทธิ์บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน นอกจากนี้ ความเป็นกรดของมะกรูด จะช่วยทำความสะอาดผิว และทำให้ตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้ดี น้ำมันหอมระเหยในมะกรูดยังมีสรรพคุณช่วยคลายเครียด คลายกังวล ทำให้สงบนิ่ง  ดังนั้นใครที่มีความกังวลมากๆ หรือเครียด สามารถสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันมะกรูดได้

อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำมันมะกรูดเพื่อคลายกังวล ไม่ควรใช้ความเข้มข้นมากกว่า 1% เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคือง และหลังจากทาน้ำมันมะกรูดภายใน 4 ชั่วโมง ไม่ควรให้ผิวหนังบริเวณที่ทาน้ำมันมะกรูดสัมผัสแสงแดด เพราะอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นไหม้ได้ น้ำมันมะกรูดยังมีฤทธิ์อ่อนๆ ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ทั้งยังช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ และช่วยไล่แมลงได้ด้วย

ความรู้เรื่องมะกรูด ก็เป็นอีกหนึ่งความรู้ที่บรรพบุรุษสั่งสมถ่ายทอดกันมา นับวันจะยิ่งเลือนราง อย่าปล่อยให้ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงอดีตที่ตายไปแล้วจากวิถีชีวิตในสังคมไทย

         

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

 




Create Date : 21 ตุลาคม 2556
Last Update : 21 ตุลาคม 2556 10:58:19 น.
Counter : 756 Pageviews.

0 comment
ดูแลหนังศีรษะด้วยสมุนไพรในครัวเรือน
 

 

          ช่วงหน้าหนาวจะมีปัญหาเรื่องเส้นผมและหนังศีรษะซึ่งมักจะมันและแห้งจนเป็นสะ เก็ด หรือมักเป็นรังแค ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาลุกลามไปทั้งบริเวณหนังศีรษะหรือเป็นสิว และเกลื้อนตามใบหน้าและลำคอได้ นอกจากนี้ยังพบโรคและปัญหาที่เกิดกับผมและหนังศีรษะ เช่น ชัน นะตุ ผมร่วง ผมแตกปลาย ผมหงอก สารพัดปัญหาเรื่องผมและหนังศีรษะ ซึ่งมีวิธีการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพของเส้นผมและหนังศีรษะมาฝากกัน

 

 

          ทองพันชั่ง นิยมใช้ส่วนของราก/ใบ ที่มีสรรพคุณรักษาโรคผิวหนังชนิดกลากเกลื้อน โรคผิวหนังชนิดผื่นคัน แก้ผมร่วง แก้อาการคันศีรษะ และรักษารังแค ให้เอาใบทองพันชั่งสัก 1 - 2 กำมือ โขลกให้ละเอียด แล้วชโลมให้ทั่วศีรษะ ใช้ผ้าโพกหัวทิ้งไว้สัก 10 ชั่วโมง ล้างออก ทำจนกว่าจะหาย

           มะกรูด เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ประโยชน์มากทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง ในส่วนเครื่องสำอางนั้นนำมาใช้ดูแลสุขภาพเส้นผมให้นุ่มสวย แก้ปัญหารังแค แก้คันศีรษะ แก้ผมแตกปลาย ป้องกันผมร่วง และทำให้ผมหงอกช้า นิยมใช้ผลมาปรุงยาและเครื่องสำอาง

            เอาผลมะกรูดสัก 2 - 3 ลูก ย่างไฟให้เกรียม แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เลือกเอาเมล็ดออก นำไปปั่นให้ละเอียด กรองเอาน้ำใช้เป็นแชมพูสระผม สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 1 เดือน หรือใช้มะกรูด 1 ลูก ผ่าครึ่งบีบเอาแต่นำและผสมกับหัวกะทิในจำนวนเท่าๆ กัน แล้วชโลมเส้นผมและหนังศีรษะให้ทั่ว วิธีนี้ใครที่ผมบางหรือผมร่วงจนแทบจะล้านใช้แล้วจะช่วยให้ผมหนาและดกดำ

 

          หรือสระผมเสร็จให้เอามะกรูดสัก 1 - 2 ลูก มาผ่าครึ่ง บีบเอาน้ำมะกรูดชโลมให้ทั่วเส้นผม หมักทิ้งไว้ 1 - 2 นาที จากนั้นจึงล้างเส้นผมให้สะอาด ช่วยให้เส้นผมที่นุ่มสลวย และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ของมะกรูด สำหรับคนที่เป็นชันนะตุ ให้เอามะกรูดไปเผาไฟก่อน แล้วผ่าครึ่งบีบเอาน้ำทั้งลูกใช้สระผม

            อีกวิธีหนึ่งเอามะกรูดสัก 3 ลูก เติมน้ำ 6 แก้วใส่หม้อต้มให้เดือดนาน 15 - 20 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วขยำลูกมะกรูดให้เละ กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้สระผม เก็บไว้ในตู้เย็นช่วยยืดอายุการใช้งานได้นาน สำหรับคนที่ใช้แล้วมีอาการคันยิ่งกว่าเดิม และศีรษะเป็นขุย นั่นหมายความคุณแพ้มะกรูด ใช้ไม่ได้ผล ก็ลองหาสมุนไพรตัวอื่นมาใช้แทน

           เกลือ สมุนไพรที่คลาสสิกแห่งยุค ถ้าไม่อยากใช้สมุนไพรตัวอื่นอย่ามองข้ามเกลือเด็ดขาด เอาเกลือละลายน้ำอุ่น หลังจากสระผมเสร็จใช้น้ำเกลือชโลมให้ทั่วศีรษะ และนวดเบาๆ จนรู้สึกร้อนที่หนังศีรษะค่อยล้างออก วิธีนี้เขาใช้เกลือแทนครีมนวดผม ช่วยแก้ผมร่วงและอาการคัน

            มะคำดีควาย ตามสรรพคุณยาไทยมีรสขม แก้กาฬภายใน แก้พิษไข้ ดับพิษร้อน ลูกต้มแล้วเกิดฟอง สุมหัวเด็กแก้หวัด แก้รังแค ใช้ซักผ้าและสระผมได้ ลูกมะคำดีควายมีสารสำคัญ คือ Saponin, Emarginatonede, Q - Methyl - Saponin เป็นต้น ส่วนสรรพคุณแก้ชันนะตุ คาดว่าเกิดจากสาร Saponin

           ปัจจุบันนิยมนำมาทำแชมพูสระผมกันมากเพราะประสิทธิภาพดี และมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ในสมัยก่อนใช้ผลประมาณ 5 ผล ทุบพอแตกต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ทาที่หนังศีรษะบริเวณที่เป็นชันนะตุ วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น ใช้รักษาชันนะตุ หรือใช้ผลมะคำดีควายทุบพอแหลก ต้มในน้ำให้เดือด นำน้ำที่ได้สระผมสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง จะทำให้หนังศีรษะสะอาด ป้องกันการเกิดรังแค

 

            ว่านหางจระเข้ ใช้วุ้นที่อยู่ในกาบใบที่มีสาร Aloeemodin, Aloesin, Aloin ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ วุ้นในใบมีสรรพคุณรักษาแผล ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย นำใบว่านหางจระเข้ที่แก่ปอกเปลือก เอาแต่ส่วนที่เป็นวุ้น นำวุ้นไปปั่นให้ละเอียด เอาน้ำวุ้นประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ เวลาสระผมหยดน้ำวุ้นจากว่านหางจระเข้ขยี้ผมให้ทั่วทิ้งไว้ประมาณ 3 - 5 นาทีแล้วล้างออกให้สะอาด ช่วยบำรุงหนังศีรษะ ช่วยลดอาการคัน

            ขิง ช่วยลดความมันของหนังศีรษะ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ไปเลี้ยงศีรษะ ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นให้เส้นผมงอกผมร่วงเริ่มหัวล้าน ให้ใช้เหง้าสด นำมาผิงไฟให้อุ่นตำพอกบริเวณที่ผมร่วงวันละ 2 ครั้ง ราวๆ 3 วัน ถ้าเห็นว่าดีขึ้น อาจใช้พอกต่อไปสักระยะจนผมขึ้น

            มะนาว แก้รังแคและลดความมันของเส้นผม ใช้น้ำมะนาวสัก 8 - 10 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำเปล่าสัก 1 แก้ว คนให้เข้ากันแล้วใช้นวดเส้นผมและหนังศีรษะให้ทั่ว ใช้ผ้าโพกหัวทิ้งไว้สัก 2 - 3 ชั่วโมง ค่อยล้างออก

         ตะไคร้ แก้ผมแตกปลาย ใช้ตะไคร้ 2 - 3 ต้น หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วโลกให้ละเอียดผสมน้ำสุกเล็กน้อย คั้นกรองเอาแต่น้ำใช้นวดผมหลังจากสระเสร็จแล้ว ทำติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ผมไม่แตกปลายโดยไม่ต้องตัดทิ้งและช่วยให้ผมเงางามยิ่งด้วย

 

           กล้วยน้ำว้า ชนิดที่สุกจนเปลือกดำไม่ทานกันแล้ว อย่าทิ้งเด็ดขาด นำมายีให้เละๆ แล้วใช้หมักผมเอาผ้าโพกหัวทิ้งไว้ 2 - 3 ชั่วโมง ทำอาทิตย์ละครั้ง จะช่วยให้เส้นผมแข็งแรงไม่ร่วงง่าย ที่สำคัญช่วยให้ผมไม่หงอก หรือหงอกช้า

            ยังมีสมุนไพรอีกหลายตัวที่มีประโยชน์หาง่ายใช้ง่าย เช่น ฟ้าทะลายโจร ช่วยรักษาผมร่วง ใบขี้เหล็ก ช่วยขจัดรังแคและทำให้ผมเงางาม ผักบุ้งไทย แก้ผมร่วงช่วยให้ผมนิ่ม เปลือกต้นขี้หนอน ขจัดรังแคแก้คันศีรษะ รักษาชันนะตุ ส้มป่อย ขจัดรังแค ผมนิ่มสลวย อัญชัน สระผมช่วยให้ผมดกดำ ชะอม แก้ผมแตกปลาย กะเบา ใช้เมล็ดหุงกับน้ำมันมะพร้าวกรองเอาน้ำมันใช้รักษาผมร่วง ชะคราม มีสรรพคุณรักษารากผม แก้ผมร่วง เทียนกิ่ง ใช้ย้อมผม น้ำส้มสายชู ใช้สระผมหรือเช็ดหนังศีรษะช่วยขจัดรังแค รักษาอาการคัน อย่าให้ปัญหาหนังศีรษะและเส้นผมกลายเป็นปัญหาเส้นผมบังภูเขาอีกต่อไป

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ โดย แพทย์แผนไทย

 

 

        

 ที่มา www.thaihealth.or.th/

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ช่วงหน้าหนาวจะมีปัญหาเรื่องเส้นผมและหนังศีรษะซึ่งมักจะมันและแห้งจนเป็นสะ เก็ด หรือมักเป็นรังแค ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาลุกลามไปทั้งบริเวณหนังศีรษะหรือเป็นสิว และเกลื้อนตามใบหน้าและลำคอได้ นอกจากนี้ยังพบโรคและปัญหาที่เกิดกับผมและหนังศีรษะ เช่น ชัน นะตุ ผมร่วง ผมแตกปลาย ผมหงอก สารพัดปัญหาเรื่องผมและหนังศีรษะ ซึ่งมีวิธีการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพของเส้นผมและหนังศีรษะมาฝากกัน

 

 

 




Create Date : 21 ตุลาคม 2556
Last Update : 21 ตุลาคม 2556 10:51:59 น.
Counter : 6266 Pageviews.

1 comment
อาหารและวิตามินเพื่อดูแลเส้นผม ผมแห้ง ผมร่วง
  อาหารที่แนะนำส่วนใหญ่เป็นอาหารที่มีโปรตีนและวิตามิน B3, B5, B6 และโฟลิคมากๆ ลองดูคำแนะนำเรื่องอาหารการกินด้านล่างนี้จะมีประโยชน์มากทำให้รากผมแข็งแรงถ้าบริโภคเป็นกิจวัตรต่อเนื่องกันเป็นแรมปี
  1. โปรตีนจากพืชหรือพืชตระกูลถั่วสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการสร้างเส้นผม กินนมถั่วเหลืองมากๆ แล้วคุณจะเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจมากว่าเส้นผมคุณมีความแข็งแรงมากขึ้น
  2. วิตามินเอ ในปริมาณที่พอเหมาะช่วยรักษาอาการผมร่วงได้ คนที่ขาดวิตามินเอเรื้อรัง จะมีผมร่วงและรังแคง่าย วิตามินเอมีมากในพืชผักสีเขียวและผลไม้สีเหลืองส้ม เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ฟักทอง แครอท เป็นต้น
  3. วิตามินบี6 โฟลิค และ B12 ช่วยในการคงสภาพเม็ดเลือดแดงให้นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์รากผมได้ดีขึ้น อาหารที่แนะนำคือ ผักใบใหญ่เขียว เช่น ผักคะน้า บ็อคเคอร์รี่ ตับหมู เป็นต้น
  4. ธาตุเหล็ก เป็นอีกตัวที่ช่วยเรื่องการนำออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ในผู้หญิงที่มีโลหิตจางมักจะขาดธาตุเหล็ก มีอาการอ่อนเพลียง่ายโดยเฉพาะช่วงมีรอบเดือน ร่างกายดูซีดเซียว ผมร่วง อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเช่น ตับอ่อนหมู ปอดหมู เลือดวัว ไข่กุ้ง หอยแมลงภู่ กะปิ หอยนางรม กุ้งฝอย หอยเสียบ หอยขม ถั่วแดงดิบ งาดำคั่ว เม็ดบัว ถั่วดำ เป็นต้น
  5. สังกะสี คนที่ขาดสังกะสีมากๆจะทำให้มีรังแคและผมร่วงผิวหนังแห้ง อาหารที่มีสังกะสีสูงเช่น หอยนางรม จมูกข้าว ตับลูกวัว แป้งงาและเนยงา เมล็ดฟักทอง-น้ำเต้าคั่ว เมล็ดแตงโม หรือเม็ดกวยจี๊ เป็นต้น
  6. ซิลิก้า ซิลิก้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพของผมผิวและเล็บ อาหารที่มีซิลิก้าสูงเช่น สาหร่ายทะเลหญ้าชนิตหนึ่ง, ผักใบเขียวเข้ม, หางม้า, ตำแย, flaxseed, ผลไม้จำนวนมากรวมทั้ง แอปเปิ้ล , องุ่น , ฯลฯ ถั่วเมล็ด, หัวหอม , ผลเบอร์รี่ (รวมทั้งสตรอเบอร์รี่), ผักกาดหอม, มะเดื่อ, ดอกแดนดิไลอัน, แตงกวา ถั่วแห้งและถั่วสุก, เมล็ดทานตะวัน , มะเขือเทศ เป็นต้น
  7. อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงเช่น กุ้ง ปลาหมึก มีความสัมพันธ์ทางอ้อมกับการสร้างฮอร์โมน DHT เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ไข่ปลา ตับไก่ สมองหมู ปลาหมึกสด เป็นต้น

 

ผมร่วงในผู้หญิงพบได้ไม่บ่อยเท่าในผู้ชาย พบได้ประมาณเกือบหนึ่งในสามของผู้หญิงทั้งหมด ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน แต่ก็พบได้บ้างในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทั่วไป ผมร่วงที่มากกว่าปกติ คือ ผมร่วงมากกว่า 100 เส้นขึ้นไป แล้วสังเกตพบว่าผมเริ่มบางลงกว่าที่เคย ส่วนใหญ่ผมร่วงในผู้หญิงวัยสาวมักเป็นชั่วคราวและมีสาเหตุที่แก้ไขได้ ดังนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ สาเหตุของผมร่วงในผู้หญิงที่พบทั่วๆไปได้แก่

  1. ความผิดปกติของฮอร์โมนใดๆ ก็ตามที่ทำให้การสร้างฮอร์โมน ดีเอชที (DHT - Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดผมร่วงศีรษะล้านแบบกรรมพันธุ์ ที่พบมากในผู้ชาย โดยปริมาณฮอร์โมน DHT มีมากขึ้น หรือมีการสร้างเอ็นไซม์ อโรมาเทส (enzyme aromatase) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่รับผิดชอบต่อการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง เอสโตรนและเอสตราไดออล (estrone and estradiol) ลดลงทำให้เสียสมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย (androgens and estrogens) เช่น ภาวะวัยทอง, วัยหมดประจำเดือน,หรือเป็นเนื้องอกที่รังไข่บางชนิดที่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศชายได้มากๆ
  2. ภาวะผมร่วงหลังคลอด อาจพบได้หลังคลอดตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และมักจะเป็นอยู่ประมาณ 6-12 เดือน สามารถดีขึ้นเองได้แม้ไม่ได้รับการรักษา
  3. การขาดสารอาหารบางอย่างที่จำเป็นต่อการสร้างเส้นผม เช่น ขาดวิตามินบี, ขาดธาตุสังกะสี, ขาดธาตุเหล็ก, ขาดโปรตีน หรือกรดไขมันจำเป็น (vitamin b, zinc, iron, protein, essential fatty acid deficiency) การอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก,โรคอนอเรกเซีย - บูลิเมีย (anorexia, bulimia) เป็นต้น
  4. โรคบางอย่าง เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ (ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ - Hypothyroid หรือ ไทรอยด์ฮอร์โมนสูง - Hyperthyroid), โลหิตจาง, โรคตับ, โรคไต, โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune diseases) เช่น เอสแอลอี (sle)
  5. ยาคุมกำเนิด สามารถพบได้ทั้งในผู้ที่เริ่มกินยาคุมกำเนิดหรือหยุดกินยาคุมกำเนิด เนื่องจากยาคุมกำเนิดเป็นฮอร์โมนเพศแบบหนึ่ง จึงทำให้สมดุลของฮอร์โมนเพศในร่างกายเปลี่ยนไป ทำให้เกิดผมร่วง ผมบางได้
  6. ภาวะผมร่วงหลังการเจ็บป่วย เช่นไข้สูง, หรือหลังการผ่าตัด, หลังการดมยาสลบ
  7. ผมร่วงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง, ยารักษาโรคเก๊าฑ์, วิตามินเอในขนาดสูง
  8. ภาวะอารมณ์เครียดสูงเรื้อรัง

ผมร่วงในผู้หญิงจะพบทั่วๆไป เป็นผมบางทั่วๆ ศีรษะ มีส่วนน้อยที่พบว่าทำให้เกิดศีรษะล้านเฉพาะที่เช่น บริเวณกลางกระหม่อมแบบในเพศชาย เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากฤทธิ์ของฮอร์โมน ดีเอชที ที่ทำให้เกิดศีรษะล้านแบบกรรมพันธุ์ (androgenetic alopecia) ซึ่งพบมากในเพศชาย ดังนั้นการรักษาโดย การใช้ยาที่ต้านการออกฤทธิ์หรือการสร้างฮอร์โมนดีเอชที เช่น ยาฟิแนสเตอไรด์หรือ โพรพีเชีย (finasteride or propecia) ที่ใช้ได้ผลดีในผู้ชาย จึงมักได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผลเลยในการรักษาผมร่วงในผู้หญิง ถึงแม้ว่ายากลุ่มนี้จะมีข้อห้ามในการใช้ในผู้หญิงแต่ปัจจุบันพบว่ามีผู้หญิงจำนวนหนึ่งที่มีผมร่วงผมบางจากกรรมพันธุ์นำมาใช้แล้วได้ผลแต่ไม่ปลอดภัยหากผู้หญิงที่ใช้ อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ถ้าตั้งครรภ์ระหว่างใช้ยาอาจจะทำให้ทารกพิการได้ วิธีการรักษาผมร่วงในผู้หญิงที่ถูกต้อง จึงต้องค้นหาสาเหตุ และแก้ไขที่สาเหตุเหล่านั้น การรักษาจึงจะได้ผมดีที่สุด
ผมร่วงเฉพาะที่ในผู้หญิงที่อาจพบได้ มีลักษณะเป็นวงกลมเฉพาะจุด อาจพบเป็นวงเดียวหรือหลายวงก็ได้เรียกว่า ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) เป็นโรคในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่อตนเอง (Autoimmune disease) และอาจพบได้เป็นกรรมพันธุ์ ส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองได้ การรักษาโดยทั่วไปมักใช้ยาสเตียรอยด์ (steroids)

 

ที่มา//xn--12cm6duahd2am4em9v.net/




Create Date : 10 ตุลาคม 2556
Last Update : 10 ตุลาคม 2556 17:44:33 น.
Counter : 817 Pageviews.

0 comment
1  2  

SOYU_K
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



New Comments