ประโยชน์ของ อัลฟัลฟา (Alfalfa)

 

อัลฟัลฟา (Alfalfa) กับประโยชน์ต่อร่างกาย
ประโยชน์หลักของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือใช้เพื่อสุขภาพสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนสตรีวัย ใกล้หมดประจำเดือน ควรรับประทาน อัลฟัลฟา (Alfalfa) เป็นประจำ

อัลฟัลฟา ถูกจัดเป็นเอสโตรเจนธรรมชาติ (phytooestrogen) สตรีในวัยใกล้หมดประจำเดือน เอสโตรเจนจะลดต่ำลงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายและภาวะกระดูก เสื่อม ไฟโต-เอสโตรเจนในอัลฟัลฟา จะเข้าไปชดเชยเอสโตรเจนที่ต่ำลงนี้ รวมทั้ง ไวตามินดี แร่ธาตุ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ในอัลฟัลฟาซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำให้กระดูกฟันแข็งแรง จึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกเสื่อม นอกจากนี้ ไวตามินและแร่ธาตุในอัลฟัลฟา จะช่วยให้ร่างกายปรับสภาพได้อย่างเหมาะสม ลดอาการผิดปกติในช่วงนี้ เช่น ร้อนวูบวาบตามตัว หงุดหงิดง่ายลงด้วย

ภา วะคลอเรสเตอรอลสูง
คลอโรฟิลล์ ปริมาณสูง, ไวตามินและแร่ธาตุที่มีอยู่ในอัลฟัลฟาด้วยปริมาณที่เหมาะสม จะทำหน้าที่ขจัดของเสียสารพิษออกจากเลือดและอวัยวะภายใน (Blood and Bowel cleanser) อย่างไรก็ตาม กรดอะมิโน ที่จำเป็นที่อยู่ในใบของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะช่วยให้การทำงานของระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดี อีกทั้งยังเป็นยาระบายและยาขับปัสสาวะทางธรรมชาติที่ดี มักใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เพื่อการบำบัดอาการติดเชื้อทางปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ และอาการเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก และยังช่วยขจัดพิษในร่างกายโดยเฉพาะในตับได้อีกด้วย

วิตามิน K ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะช่วยป้องกันอาการคลื่นเหียน อยากอาเจียนได้

อัล ฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีสาร Fluoride และแคลเซียม ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงในกระดูก และป้องกันฟันผุ

ส่วนสาร Betacareotene ยังเป็นประโยชน์ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันโรคผิวหนังและเยื่อบุผิวให้มีสุขภาพ ที่ดี

อัลฟัลฟา (Alfalfa) อุดมไปด้วย แคลเซียม วิตามิน C, B12 และ Bioflavinoid ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติเป็น อย่างมาก

สาร Saponin ที่พบใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีลักษณะเดียวกันที่พบในราก โสม ซึ่งอาจช่วยหรือส่งเสริมให้การทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อหัวใจทำงาน ได้อย่างเหมาะสม

สาร Chlorophyll จะช่วยในการดับกลิ่นปากและกลิ่นตัว ต่อต้านความเป็นกรดเปรี้ยวของร่างกายและช่วยดูแลแบคทีเรียชนิดดีที่ช่วยใน การย่อยภายในลำไส้อีกด้วย

ไฟเบอร์ตามธรรมชาติที่มีอยู่มากใน อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะช่วยฟื้นฟูภาวะลำไส้อ่อนแอ นอกจากนี้ ไฟเบอร์ ยังช่วยในการลำเลียงของเสียที่อยู่ภายในลำไส้ออกจากระบบได้เป็นอย่างดี ทำให้หลอดลำไส้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีส่วนช่วยฟื้นฟู บรรเทาคนไข้ที่อยู่ในภาวะติดสารเสพติดหรือแอลกอฮอล์ได้

อัล ฟัลฟา (Alfalfa) มีสาร Carotene ที่ช่วยสร้างหรือซ่อมแซมเซลล์ภายในร่างกายใหม่ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง ที่ต้องการฟื้นฟูเซลล์ที่ถูกทำลายไป

อัลฟัลฟา (Alfalfa) ทำความสะอาดผิวจากภายใน

อัลฟัลฟา ยังช่วยลดการตกค้างของเสียตามผิวหนัง เนื่องจากในอัลฟัลฟายังมีสาร ไฟโต-เอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งพบว่าในคนที่มีสิวง่าย เมื่อรับประทานอัลฟัลฟาปริมาณการเกิดสิวจะลดลงและผิวจะแลดูสะอาดขึ้น

อัล ฟัลฟา (Alfalfa) กับ โรคกระเพาะอาหาร
เมื่อหมอจำนวนมากที่ใช้อัลฟัลฟา รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารต่าง ๆ เช่นมีแก๊สมากในกระเพาะอาหารเกิดอาการแน่น จุกเสียเป็นประจำ โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) และโรคเบื่ออาหาร โดยพบว่าอัลฟัลฟา มีไวตามิน ยู ซึ่ง ดร.กาเนทท์ ประจำมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด กล่าวว่า ไวตามิน ยู นี้มีศักยภาพสูงในการรักษาโรคกระเพาะ  (Peptic ulcer) ทำให้การสมานแผลในกระเพาะดีขึ้น และการหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติ

อัล ฟัลฟา มีเอ็นไซม์ เบต้าอีน (Betaine Enzyme) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์สำหรับย่อยและเอ็นไซม์อื่น ๆ อีก 7 ชนิดที่ส่งเสริมปฏิกิริยาเคมี ที่สามารถทำให้การดูดซึมสารอาหารภายในร่างกายเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการมีเบต้า-แคโรทีนเป็นปริมาณสูง ของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) จะทำให้ ผิวที่เคลือบกระเพาะอาหารมีความแข็งแรง ซึ่งพบว่า อัลฟัลฟาสามารถช่วยโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องเพราะมีแก๊สมา รักษาแผลในกระเพาะ-ลำไส้ ได้เป็นอย่างดี การรักษาโรคของหญ้าอัลฟัลฟานี้ อาจจะเป็นลักษณะเดียวกันกับวิธีธรรมชาติ เช่นเดียวกับที่สุนัขและแมว จะกินหญ้าเพื่อรักษาโรคกระเพาะของมันได้

ปวดข้อ ข้อแข็ง รูมาดอยด์ แก้ไขได้ด้วยอัลฟัลฟา
สารอาหารในอัลฟัลฟา จะช่วยปรับสมดุล กรด-ด่าง ในร่างกาย ป้องกันการสะสมของกรดยูริคและกรดอื่น ๆ ตามข้อต่าง ๆ ในหนังสือของ แคทเทอรีน เอลวูล ชื่อ “Feel Like a Million” ได้กล่าวว่า  ความมหัศจรรย์ของ อัลฟัลฟา เห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เมื่อให้คนไข้รูมาดอยด์ ใช้อัลฟัลฟา เพื่อรักษาความปวดตามข้อ ก็ได้รับรายงานจากคนไข้ว่าเขาสามารถงอมือได้สะดวกยิ่งขึ้น และความเจ็บปวดก็หายไป

ฉะนั้น เราจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมนักโภชนาการจึงได้ให้สมญานาม “อัลฟัลฟา” ว่าเป็น “หญ้ามหัศจรรย์” ที่ใช้เป็นยารักษาโรคต่าง ๆ อย่างได้ผล

อัลฟัลฟา ตรากรามิเน็กซ์ เป็นสารอาหารสกัดจากพืชตระกูลถั่วที่ชื่อ อัลฟัลฟา อันเป็นพืชที่ให้กรดอะมิโนธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ 8 ชนิด คือ ไอโซลิวซีน, ลิวซีน, เมไธโอนีน, พินิลอะอานีน, เทรโอนีน,ทริฟโตฟาน, ไลซีนและวาลีนกรดอะมิโนทั้ง 8 ชนิดนี้ สร้างเซลล์ชนิดที่ร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถสร้างเองได้

คุณประโยชน์ที่อัลฟัลฟาให้กับมนุษย์ คือ ช่วยอาการปวดและอักเสบต่าง ๆ รวมทั้งช่วยอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและสร้างเซลล์ตับที่ถูกทำลาย ด้วยพิษจากสุรายาเมา และสามารถช่วยฟอกเลือดให้สะอาดจากไขมันปนเปื้อนเข้าไปในเส้นเลือดอีกด้วย เพราะอัลฟัลฟ่ามีสารซาโปนีน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดไขมันในเลือด ยิ่งไปกว่านั้นยังมีสารไอโซฟลาโวน, สารฟลาโว, สารสเตอโรล ซึ่งสารทั้ง 3 ชนิดนี้ ช่วยกระตุ้นเซลล์ที่สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยชะลอความแก่ได้อย่างน้อย 10 ปี

คุณสมบัติของสารอาหารในอัลฟัลฟ่า มีดังนี้
1. แก้ปัญหาท้องผูก ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร
2. ขับสารพิษออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานดีขึ้น
3. ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
4. ช่วยลดแผลอักเสบ ยั้บยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
5. ช่วยอาการชา บวม และเส้นเลือดขอดบรรเทาลง
6. ขับกรดจากข้อต่าง ๆ ทำให้อาการปวดข้อทุเลาลง
7. ปรับระดับน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
8. ลดความดันโลหิต ลดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ
9. ทำให้คนที่เป็นภูมิแพ้มีอาการดีขึ้น
10. เพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดแดงทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดีขึ้น
11. มีสารอาหารที่บำรุงเส้นผม ทำให้ผมหงอกกลับดำขึ้น ช่วยลดอาการผมร่วง
12. ช่วยให้ผู้ที่เป็นต้อกระจกมองเห็นดีขึ้น
13. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล
14. ช่วยปรับสภาพของผู้หญิงวัยทอง

สารที่ประกอบอยู่ในอัลฟาฟ่า
————————————————–
อัลฟัลฟา อัลฟัลฟา (Alfalfa)(Lucenc) จัดเป็นพืชจำพวกตระกูลถั่วที่มีฝัก เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันตก และแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เป็นพืชชนิดแรก ๆ ที่ใช้เพื่อการเพาะปลูก เติบโตได้ในแถบทุกอากาศทั่วโลก อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีระบบรากที่มหัศจรรย์มาก ในบางพื้นที่รากของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) สามารถชอนไชลงไปได้ลึกกว่า 130 ฟุต จึงมีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารได้มากกว่าและบริสุทธิ์กว่า อีกทั้งตัวของ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เองก็จะไม่สะสมสารพิษ ชาวอาหรับโบราณรู้จักใช้ประโยชน์จาก “อัลฟัลฟา (Alfalfa)” มากว่า 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้เป็นพืชเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มความเร็วและแข็งแรงให้กับม้า อีกทั้งยังใช้ใบมาตากแห้งชงเป็นชาดื่ม ด้วยคุณค่าทางอาหารที่มากมายชาวอาหรับจึงขนานนาม อัลฟัลฟา (Alfalfa) ให้เป็น AL-FAS-FAH-SHA หรือ “ราชาแห่งอาหารทั้งมวล” หรือบิดาของอาหารทุกชนิด (Father of All Foods)

อัลฟัลฟา (Alfalfa) ได้ถูกใช้เพื่อการรักษาทางการแพทย์มาตั้งแต่โบราณ โดยแพทย์ชาวจีนได้ใช้ใบ อัลฟัลฟา (Alfalfa) อ่อนในการรักษาอาการย่อยไม่ปกติ เช่นเดียวกันกับแพทย์ชาวอินเดียที่ใช้ใบ และดอกสำหรับการรักษากระบวนการย่อยทำงานที่ทำงานได้น้อย นอกจากนี้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังใช้เพื่อการบำบัดโรคข้อต่ออักเสบ ชาวอินเดียในอเมริกาเหนือได้แนะนำให้ใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ในการรักษาโรคดีซ่าน และช่วยสนับสนุนการจับตัวของเลือด แพทย์ที่ใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดในอเมริกาได้แนะนำให้ใช้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เป็นยาสำหรับอาการย่อยไม่เป็นปกติ ภาวะโลหิตจาง เบื่ออาหารและอาการดูดซึมอาหารไม่ดี นอกจากนี้ยังแนะนำว่า อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีส่วนกระตุ้นให้การหลั่งน้ำนมในแม่ดีขึ้นอีกด้วย
ดร.แฟรงค์ โบเออร์ นักชีววิทยา ผู้เขียนตำราเกี่ยวกับโภชนาการที่มีชื่อของสหรัฐถึงกับให้ฉายาของ “หญ้าอัลฟัลฟา” นี้ว่า “ยารักษาโรคที่มหัศจรรย์”

สารที่ประกอบอยู่ใน อัลฟัลฟา (Alfalfa)
“อัลฟัลฟา” ประกอบด้วย ไวตามินที่มีประโยชน์มากมายหลายชนิดใน “อัลฟัลฟา” 100 กรัม มีไวตามินเอ 8,000 ยูนิต และยังมีไวตามินเค ตามธรรมชาติ เป็นปริมษนสูงอีกด้วย ซึ่งช่วยในการแข็งตัวของเลือด “อัลฟัลฟา” มีไวตามีเค สูงถึง 20,000 – 40,000 ยูนิต ในอัลฟัลฟา 100 กรัม

ด้วยระบบรากที่มีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารมากกว่าพืชชนิดใด ๆ เป็นผลให้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) เป็นพืชที่มีส่วนประกอบของสารต่าง  ๆ มากมาย มี กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างการถึง 8 ชนิด เช่น Isoleucine, Leucine, Lysine, Methionine เป็นต้น ซึ่งเป็น กรดอะมิโน ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่จำเป็นต้องมีไว้เพื่อประโยชน์ในการสร้างเซลล์ใหม่ อีกทั้ง อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีวิตามินอีกมากมาย รวมถึงวิตามิน A, B1, B6, B8, B12, C, D, E, K, P และ U รวมทั้งยังประกอบไปด้วยเกลือแร่อีกหลากชนิด เช่น ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม แคลเซียม สังกะสี เซเลเนียม และแมกนีเซียม เป็นต้น และยังมีเอนไซม์หลักอีกถึง 8 ชนิด คือ ไลเปส อาเมเลล โคกุเลส อีมูลซิน อินเวอร์เคส เปอร์อ๊อกซีเตส เพคติเนส โปรตีส นอกจากนี้ อัลฟัลฟา (Alfalfa) ยังมีส่วนประกอบของสารอื่น ๆ อีกเช่น Betacarotene, Bioflavinoids, Carotene,Chlorine Chlorophyll, Flavone, Isoflavone, Sterol และ Saponin เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่ให้คุณต่อร่างกายด้วยกันทั้งนั้น

 

ที่มา//www.deedeejang.com




Create Date : 09 ตุลาคม 2556
Last Update : 9 ตุลาคม 2556 11:55:27 น.
Counter : 2308 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

SOYU_K
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



New Comments