รำไทย : นาฏศิลป์ไทย ใช่จะไร้ในคุณค่า โดย ธรรมจักร พรหมพ้วย
Group Blog
 
All Blogs
 
วจนภาษากับการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

ธรรมจักร พรหมพ้วย

ภาษาของมนุษย์เป็นสัญชาตญาณหรือพฤติกรรมที่ใช้ระบบสัญญะเพื่อแทนค่าสิ่งต่างๆ ที่ตาเห็นให้สามารถเข้าใจซึ่งกันและกัน กลายเป็นภาษาพูด แล้วจึงพัฒนาต่อมาเป็นภาษาเขียน ซึ่งการกำหนดความหมายให้กับสัญญะ (Sign) ต่างๆ นั้น บางสิ่งก็สัญญะตามธรรมชาติ เรียกว่า สัญญาณ (Signal) ซึ่งต่อมา Cronkhite ใช้คำว่า Symtom แทนสัญญะตามธรรมชาตินี้ ส่วนสัญญะที่มนุษย์เป็นผู้กำหนดความหมายและขนานนามให้เป็นที่ยอมรับในวัฒนธรรมของตนโดยเฉพาะ เรียกว่า สัญลักษณ์ (Symbol) ดังนั้นความสามารถในการเข้าใจหมายรู้ในวจนภาษาที่เกิดขึ้นในแต่ละวัฒนธรรมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องศึกษาถึงการให้ความหมายสิ่งเดียวกันด้วยถ้อยคำที่แตกต่างกัน บางครั้งก็อาจก่อให้เกิดปัญหาในระดับการสื่อสารระหว่างบุคคล จนถึงระดับองค์กรและประเทศชาติ ซึ่งจะยังให้เกิดความเสียหายอันใหญ่หลวงหากปัญหาความไม่เข้าใจในวจนภาษาของกันและกันแล้ว
ดังจะขอยกตัวอย่างการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Communication) ที่ใกล้ตัวเรามากคือ ในกรณีของการใช้ภาษาถิ่น ซึ่งมิใช้ภาษาไทยกลาง ที่เรียกว่าได้ว่าเป็นปัญหาในการแย่งชิงพื้นที่ทางความคิด เพราะด้วยกำหนดให้ภาษาไทยกลางเป็นภาษาทางการที่ทุกคนต้องเรียนรู้ และพูดให้ได้ แม้ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใด ชุมชนใดของประเทศ คนกรุงเทพอาจคุ้นเคยหรือรู้สึกว่าเป็นเรื่องไม่ผิดปกติ เพราะใช้ภาษาเหล่านี้เป็นกิจวัตรไปแล้ว แต่สำหรับคนในพื้นถิ่นที่มีลักษณะเป็นชุมชนวัฒนธรรมชายขอบ เช่น ในภาคเหนือก็มีการ “อู้กำเมือง” ภาคอิสานก็ “เว้าลาว” ภาคใต้ก็ “แหล่งใต้” หรือพูดภาษามลายู จากตัวอย่างเหล่านี้พอที่จะอนุมานได้ว่าการบังคับให้เลือกใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งให้เป็นภาษาทางการที่มีบังคับเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับนั้น เป็นสัญญะทางการเมือง เพื่อที่จะปลูกจิตสำนึกให้คนที่อาศัยในผืนดินแห่งนี้เรียกตนเองว่า “คนไท” แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับชาวชายขอบที่พูดภาษาถิ่นมาแต่กำเนิด โดยที่เขาเองก็ไม่สนใจหรอกว่าทางการจะบังคับให้เขาต้องพูด หรือเขียนอ่านภาษาไทยกลางได้ เพราะภาษาถิ่นเหล่านั้นเป็นสายเลือดและจิตวิญญาณแสดงความเป็นตัวตนของพวกเขา การนำเสนอภาพคน “เว้าลาว” ในละครโทรทัศน์ ในเพลงของศิลปินระดับซุปเตอร์ จึงเป็นเพียงการสร้างจุดขายหรือเป็นการตอกย้ำความด้อยค่า น่าขบขันของวัฒนธรรมเหล่านี้ ทำให้เกิดการสร้างค่านิยมว่าคนที่พูดภาษาไทยกลางเท่านั้นจึงจะเป็นผู้เจริญ คนพูดภาษาถิ่นเป็นพวกด้อยการศึกษา เป็นประชากรชั้นสองของสังคม หนำซ้ำนักการเมืองที่จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้บริหารประเทศ ก็ยังใช้ภาษาถิ่นเป็นเครื่องมือทำมาหากินเมื่อหาเสียงเลือกตั้ง แต่เมื่อได้เป็นผู้แทนกลับเหยียดหยามคนพูดภาษาถิ่นเดียวกันแท้ๆ นี่คือช่องว่างระหว่างภาษาที่สะท้อนปัญหาค่านิยมของคนไทย
8 กรกฎาคม 2546



Create Date : 24 พฤษภาคม 2550
Last Update : 24 พฤษภาคม 2550 3:28:15 น. 2 comments
Counter : 5607 Pageviews.

 
การที่เราทุกคนได้รู้ได้เข้าเรื่องราวต่างๆ เพราะการสือสาร การสือสารจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ถูกแล้ว แต่การที่จะสื่อสารให้ผู้รับสารรู้และเข้าใจมันเป้นเรื่องยากที่เดียว แต่ถึงอย่างไรก็ตามการสื่อสาร เราสามารถทำได้หลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงหรือไม่ออกเสียงก็ตาม ก็สามารถสื่อสารให้ผู้รับสารรู้ได้ ก็เป็นอันถูกต้อง


โดย: มงคล IP: 61.19.65.93 วันที่: 18 กันยายน 2550 เวลา:23:07:22 น.  

 
ดีแต่มีความหมายไม่ลึก


โดย: คนวิจารณ์คน IP: 203.172.240.93 วันที่: 22 กรกฎาคม 2551 เวลา:13:33:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




สำนักละครอนุรักษ์นัจยากร
Friends' blogs
[Add จินตะหราวาตี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.