รำไทย : นาฏศิลป์ไทย ใช่จะไร้ในคุณค่า โดย ธรรมจักร พรหมพ้วย
Group Blog
 
All Blogs
 
กระบวนการโน้มน้าว : การสร้างกระแสในสังคมไทย

ธรรมจักร พรหมพ้วย

การศึกษากระบวนการสร้างทฤษฎีการสื่อสารที่ต่อเนื่องจากการทำความเข้าใจถึงลักษณะเฉพาะคือ การทราบถึงวิธีการ “โน้มน้าว” ซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงหนึ่งโดยเฉพาะในกลุ่มของนักจิตวิทยาที่ทำการศึกษาการรับรู้ของจิตมนุษย์ที่อาจได้รับการจูงใจในลักษณะต่างๆ เพื่อให้เห็นคล้อยตามผู้ส่งสาร การศึกษาเกี่ยวกับการโน้มน้าวนี้มีที่มาสืบค้นได้ตั้งแต่สมัยกรีก โดยอริสโตเติลได้พยายามที่จะศึกษาการพูดของนักวาทศิลป์สมัยนั้นที่มีเจตนาจะโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้คล้อยตามทัศนคติทางการเมืองและการปกครอง
แนวคิดหลักของการโน้มน้าว ก็คือ การสื่อสารด้วยวิธีการโน้มน้าวนี้ อาจทำให้ผู้รับสารเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติ และอาจถึงขั้นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารได้ ทำให้มีการศึกษาโดยเฉพาะในกลุ่มนักจิตวิทยาเกิดเป็นแนวคิดและทฤษฎีมากมาย เพราะหากเราสามารถเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงความคิดหรือทัศนคติของมนุษย์ได้แล้ว ย่อมมีผลประโยชน์ในด้านบวกและผลกระทบในด้านลบตามมา กล่าวคือ หากผู้พูดโน้มน้าวให้ผู้ฟังเชื่อและปฏิบัติในสิ่งที่ชอบธรรมก็จะเกิดผลในทางบวก แต่หากเป็นโน้มน้าวเพื่อสร้างกระแสความคิด ความเชื่อไปทางลบ ขัดกับศีลธรรมจรรยาแล้ว เราจะมีวิธีการป้องกันหรือเรียนรู้ที่จะปฏิเสธการโน้มน้าวได้ดีพอหรือไม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่มีความอ่อนไหวสูง เพราะประชากรในประเทศโดยเฉลี่ยมีการศึกษาในระดับไม่สูงมากนัก ทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำระหว่างประชากรที่มีการศึกษา ได้มีโอกาสเรียนรู้ที่จะโน้มน้าวชักจูงจิตใจผู้ด้อยการศึกษาให้คล้อยตาม โดยเฉพาะในวงธุรกิจ การเมือง แม้กระทั่งพระพุทธศาสนา ซึ่งเรามักจะพบเห็นการโน้มน้าวเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจได้ง่ายในสังคมไทยที่กลายเป็นสังคมทุนนิยมไปแล้วในปัจจุบัน เช่น การโน้มน้าวใจเพื่อชักชวนให้ร่วมธุรกิจขายตรง ที่ผู้พูดใช้วาทศิลป์โน้มน้าว ชักจูง หาเหตุผลสนับสนุน เพื่อให้มีผู้มาร่วมระดมทุนในวงธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการขายเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ขายตรงจากบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ ที่มุ่งหวังให้ประชากรหัวอ่อนเช่น คนไทย ร่วมวงศ์ไพบูลย์กับธุรกิจประเภทนี้มากมาย มีการสอนทักษะการพูดโน้มน้าวตามหลักจิตวิทยา ที่เรียกกันว่า “กลยุทธ์การตลาด” ให้ถือปฏิบัติในทางเดียวกัน เกิดเป็นขบวนการ ลัทธิ ทั้งที่ขายของแบบถูกกฏหมาย เรื่อยไปจนถึงการสร้างเป็นระบบธุรกิจแบบ “แชร์ลูกโซ่”

ไม่เว้นแม้กระทั่งใต้ร่มกาสาวพัสตร์ ที่อาศัยพระธรรมเทศนาเป็นเครื่องมือจูงใจคนไทยหันหน้ามุ่งเข้าสู่ลัทธิบูชาแบบแปลกประหลาด บ้างก็หันกลับไปถือเจ้าเข้าทรง หรือนับถือนิกายพุทธศาสนาที่แปลกแยกออกไป ฯลฯ ซึ่งเบื้องหลังกรณีเหล่านี้ก็คือ “พระนักเทศน์ฝีปากเอก” ที่สามารถเอาพระธรรมบังหน้าเทศนาหว่านล้อมสาธุชนให้เห็นคล้อยตาม ซึ่งเบื้องหลังก็คือ “การระดมบุญแบบระดมทุน” มีเรื่องเงินๆ ทองๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ปรากฏเป็นความฉาวโฉ่ของพระศาสนาดังปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวันนี้
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นประเด็นปัญหาของสังคมไทยที่เกิดจากการไม่สามารถพินิจตรึกตรองได้ของคนไทย ว่าสิ่งใดเป็นการโน้มน้าวหรือสิ่งใดเป็นบุญ เป็นผลประโยชน์ที่แท้จริง โดยเฉพาะ
ผู้ได้รับการศึกษาเองที่ยังไม่ตระหนักรู้ในจรรยาบรรณแห่งมนุษย์ หวังเพียงเพื่อเอาทฤษฎีการโน้มน้าวนี้ไปใช้หลอกลวงเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ฉะนั้นแล้วจงอย่าปล่อยให้ตนเป็นผู้หลงไปตามกระแสโดยง่าย และจงอย่าเป็นผู้สร้างกระแสโน้มน้าวในทางลบ

ธรรมจักร พรหมพ้วย
1 กรกฎาคม 2545



Create Date : 24 พฤษภาคม 2550
Last Update : 24 พฤษภาคม 2550 3:27:41 น. 3 comments
Counter : 1512 Pageviews.

 
เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะอ่อนไหวในเรื่องของจิตใจ การถูกโน้มน้าวเข้าหาสิ่งต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ผมไม่เคยเห็นสิ่งที่ผู้คนเคารพกราบไหว้โดยไร้เหตุผล จะเจริญขึ้น นอกจากการแตกเป็นก๊ก เป็นเหล่า เกิดความบ้าคลั่งอย่างไร้เหตุผล ผิดแผกแตกต่างไปจากคำสอนของพระพุทธองค์อย่างสิ้นเชิง แม้ตัวผมเอง จะบวชศึกษาแค่นวกะ แต่หลักของพุทธศาสนาอยู่ที่หลักการและเหตุผล คือทำดี ได้ดี ทำชั่ว ก็ต้องได้รับผลชั่วที่ได้กระทำลงไป ความสูขอยู่ที่ใจที่บริสุทธิ์ อยู่ในความเป็นกลาง การสร้างความดีโดยเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ถูกต้อง สรุปสุดท้ายก็คือตกเป็นทาสของเงินตราทั้งสิ้น การสร้างสถานวัตถุ เป็นความเจริญทางพุทธศาสนา แต่การแสวงหาบารมีโดยใช้ศาสนามาเป็นข้ออ้าง เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องคำนึงว่า ควรหรือไม่กับการส่งเสริมในเรื่องผิดๆ


โดย: ไท IP: 125.27.121.224 วันที่: 11 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:38:38 น.  

 


โดย: รร IP: 125.24.155.231 วันที่: 19 กรกฎาคม 2550 เวลา:13:49:45 น.  

 
คนไทยก็เป็ฌนอย่างนี้


โดย: ช IP: 182.52.53.192 วันที่: 27 มิถุนายน 2555 เวลา:6:42:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




สำนักละครอนุรักษ์นัจยากร
Friends' blogs
[Add จินตะหราวาตี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.