รำไทย : นาฏศิลป์ไทย ใช่จะไร้ในคุณค่า โดย ธรรมจักร พรหมพ้วย
Group Blog
 
All Blogs
 
ทฤษฎีศิลปะ


นักปรัชญามีทรรศนะเกี่ยวกับศิลปะแตกต่างกันมากมาย ตามแต่จะให้ความสำคัญจากมุมมองใดเป็นสำคัญ บ้างก็พยายามที่จะอธิบายศิลปะอย่างรวบรัดที่สุดแต่สามารถกินความได้ถึงศิลปะทุกแขนง เช่น นิยามที่ว่า ศิลปะคือการแสดงออกอันไม่มีจำนวนเป็นเขตสุด นับตั้งแต่สิ่งที่ง่ายที่สุด เช่น ถ้วยแก้ว เป็นต้น ไปจนถึงสิ่งที่ยากที่สุด เช่น ภาพเขียน ดนตรี วรรณคดี เป็นต้น และบ้างก็พยายามที่จะกล่าวให้กระชับขึ้นอีกว่า ศิลปะคือการจัดสิ่งที่รับรู้ได้ทางเพทนาการเสียใหม่ให้เป็นระเบียบ (เพทนาการ เช่น สี เสียง แสง เป็นต้น) ดังนั้น จึงสามารถจำแนกศิลปะออกเป็นหลายประเภทหลายชนิด เช่น
1. ประยุกตศิลป์ (Applied Arts)
2. พาณิชยศิลป์ (Commercial Arts)
3. มัณฑนศิลป์ (Decorative Arts)
4. ปริสุทธิศิลป์ (Pure Arts)

และบางท่านได้แบ่งศิลปะออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ทัศนศิลป์ (Visual Arts) คือ ศิลปะที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา เช่น รูปปั้น ภาพเขียน เป็นต้น
2. โสตศิลป์ (Auditory Arts) คือ ศิลปะที่ฟังได้ด้วยหู คือ ดนตรี
3. สัญลักษณศิลป์ (Symbolic Arts) คือศิลปะที่เป็นสัญลักษณ์ คือ วรรณคดี บทกวี เป็นต้น
4. ศิลปะผสม (Mixed Arts) คือ ศิลปะที่เอาศิลปะอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมผสานกัน เช่น การเต้นรำ การละคร ภาพยนตร์ เป็นต้น เต้นรำ ประกอบด้วยทัศนศิลป์และโสตศิลป์ การละครประกอบด้วยทัศนศิลป์ โสตศิลป์ และสัญลักษณ์ศิลป์ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี นักศิลปะกับนักสุนทรียศาสตร์ต่างก็มีความพยายามที่จะทำความเข้าใจในเรื่องความมุ่งหมายของศิลปะ ดังเกิดคำถามที่ว่า ศิลปะนั้นทำขึ้นเพื่ออะไร บ้างก็ถือว่าความมุ่งหมายของศิลปะก็คือ เพื่อใช้เป็นสิ่งแทนหรือถ่ายแบบธรรมชาติ เหตุการณ์ และบุคคล บ้างก็ถือว่า เพื่อจัดวัตถุแห่งเพทนาการ (Sensous matter) เช่น สี แสง เสียง เป็นต้น ให้เป็นระเบียบอย่างน่าดูชม ชวนให้เพลิดเพลินเท่านั้น และบ้างก็อธิบายว่า เพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์หรือความรู้สึกของมนุษย์นั่นเอง จากทัศนะเหล่านี้ได้พัฒนากลายมาเป็นทฤษฎีทางศิลปะจำนวนมากมาย ดังจะได้กล่าวถึงสาระสำคัญของแต่ละแนวคิดทฤษฎีโดยสังเขป
1. ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ (Art as representaion)
2. ศิลปะคือรูปทรง (Art as pure form)
3. ศิลปะคือการแสดงออกซึ่งอารมณ์ (Art as expression)

ในทฤษฎีที่ว่าศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาตินั้น เป็นทฤษฎีที่เก่าแก่กว่าทฤษฎีอื่น ถือว่า ศิลปะนั้นถ้าไม่เป็นประเภท Representational ก็เป็นประเภท Non-representation ประเภทแรกได้แก่ภาพเขียนสิ่งธรรมชาติ ประเภทหลังก็ได้แก่ภาพเขียนที่แสดงความวิจิตรพิสดารของสีสันต่างๆ โดยไม่เป็นภาพเหมือนของสิ่งใดโดยเฉพาะเป็นตัวอย่าง ชาวกรีกโบราณถือว่า การลอกแบบธรรมชาติได้เหมือนมากที่สุด จัดว่าเป็นสิ่งที่สวยที่สุด ดังคำกล่าวของรอริสโตเติล ที่ว่า “มนุษย์เป็นนักเลียนแบบโดยสัญชาตญาณ ละการเลียนแบบนั้นจะปรากฏออกมาในศิลปวัตถุ ที่ถือว่าการลอกแบบธรรมชาติเป็นศิลปะและสวยงาม ก็เพราะการลอกแบบธรรมชาติเป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุด ศิลปินในทฤษฎีนี้ มีความเห็นว่า ภารกิจสำคัญ 2 ประการของศิลปะ ก็คือ 1) การเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสมที่สุดบรรดามีในโลกมารวมไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน และ 2) ใช้จินตนาการช่วยปลุกอารมณ์สุนทรียะให้เกิดแก่ผู้สนใจ นอกจกนี้ ศิลปะยังช่วยทำให้สิ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตามธรรมดา กลายเป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได้อีกด้วย
ทฤษฎีเรื่องศิลปะคือรูปทรงนั้น ตามทฤษฎีนี้ถือว่า รูปทรงเท่านั้นที่มีความสำคัญในเรื่องคุณค่าทางสุนทรียะ ส่วนการลอกแบบหรือความรู้สึก ไม่มีความสำคัญอะไรนัก คำว่ารูปทรง (Form) หมายถึงการจัดวัตถุแห่งเพทนาการ คือ แสง สี เสียง เป็นต้น ที่เกี่ยวข้องกันให้เป็นระเบียบเหมาะกับกาลเทศะที่มันควรจะอยู่ นักคิดกลุ่มฟอร์มัลลิสต์ (Formalist) ถือว่า ความสวยงามของศิลปะอยู่ที่รูปทรง รูปทรงทำให้เกิดความสนใจ รูปทรงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญในคุณค่าของสุนทรียะ สิ่งอื่นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย ความงามของศิลปะก็คือเอกภาพหรือความกลมกลืนของสิ่งที่ต่างกัน ส่วนประกอบของศิลปะจึงควรเป็นสิ่งที่ต่างๆ กัน แต่ถ้ามีสิ่งที่เหมือนๆ กันก็จะมีแต่ความซ้ำซาก ความรู้สึกทางสุนทรียะของศิลปินกลุ่มนี้ เป็นความรู้สึกที่มุ่งต่อรูปทางของงานศิลปะ มิใช่มุ่งแสวงหาอย่างอื่น ถ้าเป็นความรู้สึกหรือมุ่งแสวงหาอย่างอื่น อารมณ์ทางสุนทรียะก็จะหมดไปทันที งานศิลปะชิ้นเยี่ยมจะทำให้เกิดความรู้สึกแปลกใหม่ นำใจผู้ดูล่องลอยไปจากชีวิตจริงเข้าสู่โลกแห่งสุนทรียะ ศิลปะจึงเป็นเครื่องมือที่จะนำใจไปสู่ความตื่นเต้น คล้ายกับใช้กล้องยายช่วยอ่านหนังหนังสือที่ไม่ค่อยชัดเจนแจ่มกระจ่างขึ้นฉะนั้น รูปทรงที่จัดว่าเป็นศิลปะนั้น มิใช่เฉพาะภาพเขียน ภาพปั้นเท่านั้น ดนตรีก็เป็นศิลปะประเภทนี้ด้วย เพราะดนตรีก็ต้องมีการผสมผสานเสียงให้กลมกลืนกันอย่างมีระเบียบ จึงเกิดความไพเราะลึกซึ้งขึ้น ดังนั้น ความงามที่ได้จากรูปทรงจึงไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นสิ่งแทนอะไร หรือว่าจำลองแบบอะไรเลย
และสำหรับทฤษฎีที่ว่าด้วย ศิลปะคือการแสดงออกทางอารมณ์นั้น ถือว่าศิลปะเป็นการแสดงออกของอารมณ์ภายในของมนุษย์ออกมา บ้างครั้งจะเห็นว่า ศิลปินได้แสดงอารมณ์บางอย่างที่เกินความเป็นจริงหรือนอกเหนือไปจากประสบการณ์ตามธรรมดาของเราออกมา ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้เราเห็นว่า เขามีความความรู้สึกต่อสิ่งนั้นอย่างไร เมื่อศิลปะคือการแสดงอารมณ์ แต่การแสดงอารมณ์ทุกอย่างมิได้เป็นศิลปะไปเสียหมด ลักษณะของการแสดงอารมณ์ที่เป็นศิลปะ ได้แก่
- เป็นการแสดงออกที่เป็นไปด้วยเจตนา คือตั้งใจแสดงออกมา
- เป็นการอารมณ์ที่มุ่งให้เกิดความสวยงาม
- เป็นการแสดงอารมณ์ที่มีพลังจูงใจให้เกิดความรู้สึกว่างามหรือไม่งาม
- สื่ออารมณ์ที่ใช้ในการแสดงอารมณ์ออกมานั้น เป็นสิ่งที่มีความหมายในตัวเอง เช่น คำพูด สีสัน ทรวดทรง เป็นต้น
- เป็นการแสดงอารมณ์ที่มีเอกภาพทางอารมณ์
- อารมณ์ที่ศิลปินสดงออกมานั้นมิใช่เป็นความรู้สึกของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นอารมณ์ของมนุษย์ทั่วๆ ไป

ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงถือว่า ทั้งรูปทรงและความหมาย มีความสำคัญต่อศิลปะด้วยกันทั่งคู่ คุณค่าทางสุนทรียะเกิดจากการสังเคราะห์ของรูปทรงกับความนั่นเอง ศิลปินจะแสดงอารมณ์ใดๆ ออกมาได้ ตนเองจะต้องได้สัมผัสกับอารมณ์ชนิดนั้นมาเสียก่อน แต่บ้างก็ว่าไม่จำเป็น และเห็นว่าสิ่งที่สำคัญต่อการแสดงอารมณ์นั้นก็คือ จิตนาการ จินตนาการจะมีความรุนแรงเพียงใด ก็สามารถแสดงอารมณ์ที่ตนต้องการแสดงออกมาได้ดีเพียงนั้น ฉะนั้น ตาทฤษฎีนี้จึงสรุปว่า คุณค่าทางสุนทรียะขึ้นอยู่กับองค์ระกอบ 2 ประการ คือ ศิลปินสามารถแสดงสิ่งที่ตนต้องการจะแสดงออกมานั้นได้มากน้อยเพียงไร ตามทฤษฎีนี้เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนอดที่จะแสดงความรู้สึกของตนเองให้ปรากฏออกมาทางพฤติกรรมทางกายไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์เศร้าหมองหรืออารมณ์สุข
ศิลปะประเภท Expression จึงให้ประโยชน์แก่เรา คือ
- ทำให้เราได้รับความพอใจชนิดที่เราไม่อาจจะทำได้โดยอาศัยเครื่องมืออย่างอื่น
- ช่วยให้ชีวิตได้รับประสบการณ์ที่เบาสบาย ซึ่งไม่อาจหาได้ในชีวิตประจำวัน
- สนองความต้องการทางอารมณ์โดยให้อารมณ์สะเทือนใจบางอย่างแก่เรา
- ช่วยทำให้อารมณ์ที่สับสนคลุมเครือแจ่มแจ้ง โดยการดึงเอาอารมณ์ที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจออกมาให้ปรากฏและเข้าใจได้ด้วยความรู้สึกธรรมดาๆ

ศิลปะเป็นสะพานเชื่อต่อระหว่างโลกผัสสะและโลกเหนือผัสสะเข้าด้วยกัน




Create Date : 24 พฤษภาคม 2550
Last Update : 24 พฤษภาคม 2550 3:52:26 น. 7 comments
Counter : 9173 Pageviews.

 
เจ๋งดี


โดย: abc IP: 58.8.17.60 วันที่: 3 มิถุนายน 2551 เวลา:17:09:34 น.  

 
คำว่า Balance กะ UNITY หมายความว่าไงคะ
ขอบคุณล่วงหน้าคะ


โดย: แวมไพร IP: 58.8.15.63 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:11:58:13 น.  

 
สวนมากดีมีเนื้อหา




โดย: ผู้สนใจ IP: 125.26.151.172 วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:14:52:04 น.  

 
ดี


โดย: ทาทา IP: 202.149.24.129 วันที่: 14 กันยายน 2551 เวลา:19:56:09 น.  

 
ขอบคุณค้าบบบ


โดย: ฝ้าย IP: 58.9.113.249 วันที่: 28 มีนาคม 2552 เวลา:20:42:51 น.  

 
เราว่าดีนะ


โดย: งง IP: 114.128.130.230 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:18:17:27 น.  

 
อือ ก็ ดี อ่า

ขอบคุนนะที่เอามา ลง


โดย: นักอ่านทีดี(มั้ง) IP: 114.128.167.10 วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:19:35:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




สำนักละครอนุรักษ์นัจยากร
Friends' blogs
[Add จินตะหราวาตี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.