Dr.naras
Group Blog
 
All blogs
 

พยาธิภายใน....สุนัข

ป้องกันลูกสุนัขจากพยาธิภายในอย่างไร?


พยาธิหัวใจติดต่อโดยยุง ทำให้สุนัขถึงแก่ชีวิต และยังมีพยาธิตัวกลมซึ่งลูกสุนัขมักติดมาตั้งแต่เกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาธิปากขอซึ่งอันตรายต่อลูกสุนัขมาก พยาธิเหล่านี้ลูกสุนัขได้รับผ่านทางน้ำนมแม่

ลูกสุนัขที่ติดพยาธิจะมีอาการขนแห้ง อาเจียน ท้องเสีย ท้องป่อง น้ำหนักตัวลดอย่างเห็นได้ชัด ถ้าติดพยาธิจำนวนมากจะทำให้มีโรคแทรกซ้อนหรืออาจถึงตาย และที่สำคัญพยาธิในระบบทางเดินอาหารหลายตัวติดต่อสู่คน

สามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับ Heartgard Plus รสเนื้อ ชนิดเคี้ยวได้ที่คลินิกสัตวแพทย์ Heartgard Plus รักษาและ้ควบคุมพยาธิปากขอและพยาธิตัวกลมพร้อมไปกับการป้องกันพยาธิหัวใจ เริ่มป้อน Heartgard Plus ให้แก่ลูกสุนัขของคุณ ได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์


Heartgard Plus


พยาธิตัวกลม


พยาธิปากขอ


พยาธิหนอนหัวใจ




 

Create Date : 01 กันยายน 2550    
Last Update : 1 กันยายน 2550 22:45:25 น.
Counter : 2604 Pageviews.  

โรคนิ่วในสุนัข

โรคนิ่ว
โรคนิ่ว จะเรียกภาวะรวมถึงการมีก้อนนิ่ว หรือมีปริมาณของ Crystal ในระบบทางเดินปัสสาวะ
ซึ่งโรคนิ่วมักจะสัมพันธ์กับโรค หรืออาการในระบบทางเดินปัสสาวะต่างๆเช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
( Cystitis ) ท่อปัสสาวะอักเสบ ( Urethritis) นิ่วในไต ( Kidney Stone ) นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
( Bladder Stone ) เช่นเดียวกับในคน
นิ่วสามารถเกิดได้ในทุกส่วนของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยนิ่วที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะ ดังกล่าวจะระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดความเจ็บปวด ในบางกรณีก้อนนิ่วอาจขวางทางเดินปัสสาวะ ให้เกิดปัสสาวะขัด
หรือปัสสาวะด้วยความเจ็บปวด และปัสสาวะไม่ออก จนทำให้กระเพาะปัสสาวะแตกซึ่งเป็น
อันตรายถึงตายได้นิ่วชนิดต่างๆที่พบได้มากในสุนัข


Magnesium Ammonium Phosphate (struvite)
เป็นนิ่วชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในสุนัข โดยมากมักเกิดสัมพันธ์กับการเกิดการติดเชื้อในทางเดิน
ปัสสาวะ โดยแบคทีเรียชนิดที่เปลี่ยนยูเรียในปัสสาวะให้กลายเป็น Ammonia และอยู่ภายใต้สภาวะ
แวดล้อมที่เป็น “ด่าง” มีความอิ่มตัวของสารที่เป็นองค์ประกอบอื่นๆ และการมีโภชนาการที่ไม่เหมาะสม
ซึ่งสภาพเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดนิ่วที่มี Struvite และกลุ่มของ Calcium Phosphate
(Carbonate และ Hydroxyl Form) ได้



Calcium Phosphate
เป็นนิ่วที่มักเกิดกับสุนัขที่มีอาการเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของเมตาโบลิซึม หรือเกิดร่วมกับภาวะ
เช่นเดียวกับนิ่วชนิด Struvite



Calcium Oxalate
เป็นนิ่วที่พบได้น้อยในสุนัข (แต่พบมากในคน) การเกิดนิ่วชนิดนี้เป็นผลตามมาจากความผิดปกติที่
ทำให้เกิดการตกตะกอนของ Calcium Oxalate ในปัสสาวะที่มักอยู่ในสภาวะที่เป็น “กรด” ซึ่งมีกลไก
ในการเกิดที่ยังไม่ชัดเจน



Urate
เป็นนิ่วที่พบได้มากที่สุดในสุนัขพันธุ์ดัลเมเชี่ยน นอกจากนั้นยังพบในพันธุ์อื่นๆในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยกว่า
มาก การเกิดนิ่วชนิดนี้ในสุนัขพันธุ์ดัลเมเชี่ยน เนื่องมาจากความผิดปกติของสุนัขพันธุ์นี้ที่ไม่สามารถกำจัด
Uric Acid ไปเป็น Allantoin ซึ่งเป็นสารที่ละลายได้ในปัสสาวะ โดยนิ่วชนิด Urate นี้มักเกิดในสภาวะของ
ปัสสาวะที่เป็น “กรด” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกินอาหารที่มีปริมาณของโปรตีนสูง หรืออาหารที่มีปริมาณ
ของ Urate มาก เช่น เครื่องในไก่ ก็จะยิ่งโน้มนำให้เกิดนิ่วชนิดนี้มากขึ้นนิ่วชนิดอื่นๆ (มีอุบัติการณ์เกิดที่ต่ำมาก)


- Silica
- Cystine
- ตะกอนของยาบางชนิด
- ฯลฯ


สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคนิ่วในสุนัข- ปัสสาวะ เป็นสารละลายของสารหลายชนิด ประกอบด้วยสารที่สามารถยับยั้ง และสารที่โน้มนำให้เกิด
นิ่วได้
- การสืบประวัติของการให้อาหารสุนัข ในการวินิจฉัยสุนัขที่เป็นโรคนิ่วจะช่วยสามารถระบุสาเหตุ
ชนิดของนิ่ว ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกันการเกิดนิ่วใหม่ได้
- การตรวจ Crystal ของสารต่างๆในปัสสาวะจากการส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมีส่วนช่วยในการ
วินิจฉัยถึงชนิดของนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนั้น ยังช่วยในการประเมินภาวะในระหว่างการรักษา
และหลังการรักษาได้เช่นกัน
- แม้ว่าความสัมพันธ์ของการพบ Crystal ในปัสสาวะ และการเกิดนิ่ว ยังไม่เฉพาะเจาะจงนักก็ตาม
อย่างไรก็ตามการพบ Crystal ของสารประกอบชนิดต่างๆในปัสสาวะก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าเกิดการตกผลึก
(ความเข้มข้นของสารมากเกินการละลายได้) ในปัสสาวะขึ้นแล้ว
- นิ่วชนิด Urate มักมองไม่เห็นจากภาพ x-ray แม้จะพบว่ามีนิ่วจำนวนมากอุดตันอยู่ตลอดท่อทางเดิน
ปัสสาวะก็ตาม

- ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดนิ่วชนิด Urate ประกอบด้วย
a. การมีความเข้มข้นของ Uric Acid ในปัสสาวะมาก
b. การเพิ่มการผลิต หรือขับสารพวก Uric Acid ออกมาจากไตมาก หรือเกิดการการมีแบคทีเรียที่
ผลิต Urease จาก Ammonium Ions
c. การมีสภาวะในกระเพาะปัสสาวะที่เป็นกรด (เช่นอาจเกิดจากการบริโภคโปรตีนในปริมาณที่มาก)
d. มีการส่งเสริมการเกิด หรือการขาดสารยับยั้งการเกิดของ นิ่วชนิด Urate
e. ปัญหาทางพันธุกรรม เนื่องจากพบว่านิ่วชนิด Urate มักเกิดในสุนัขพันธุ์ดัลเมเชี่ยน และ อิงลิช
บูลดอก มากเป็นพิเศษ

- การจัดการภาวะนิ่วชนิด Urate ในสุนัขคือ
a. การจำกัดปริมาณโปรตีน และสารอาหารที่ให้พลังงานในอาหาร
b. ให้สารที่ช่วยยับยั้งการเกิด Uric Acid (Xanthine Oxidase Inhibitor ;Allopurinol)
c. การเปลี่ยนสภาวะในทางเดินปัสสาวะให้มีสภาพเป็นด่าง
d. ควบคุมการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นในทางเดินปัสสาวะ
e. ลดความเข้มข้นของปัสสาวะลง เพิ่มการบริโภคน้ำสะอาด

- สุนัขที่พบว่าเป็นนิ่วชนิด Calcium Oxalate วิธีเดียวที่จะรักษาได้คือการผ่าตัดเอาก้อนนิ่วออก
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดมักไม่สามารถกำจัดนิ่วชนิดนี้ออกจากทางเดินปัสสาวะออกไปได้หมด เนื่องจากพบว่ามีนิ่วขนาดเล็กที่แทรกอยู่ในท่อทางเดินปัสสาวะซึ่งจะเป็นตัวโน้มนำให้เกิดนิ่วขึ้นมา
ใหม่ได้ถ้าไม่สามารถควบคุมภาวะเสี่ยงต่างๆภายหลังจากการผ่าตัดลงไปได้
- ส่วนมากสุนัขที่พบว่าเป็นนิ่วชนิด Calcium Oxalate มักมีประวัติว่าได้กินอาหารเหมือนกับคน
หรือการได้กินขนมขบเคี้ยวที่ไม่ได้คุณภาพ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนมกรอบที่มีความเค็ม)
มาเป็นเวลานาน เนื่องจากปริมาณเกลือในร่างกายที่มากเกินความต้องการจะไปกระตุ้นให้เกิดการ
สะสมของ Calcium ในกระแสเลือด (ซึ่งเป็นปัจจัยโน้มนำให้เกิดนิ่ว) ด้วยเช่นกัน
- การผ่าตัดยังเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการรักษานิ่วชนิด Calcium Phosphate แต่การควบคุมอาหาร
ประเภท โปรตีน โซเดียม แคลเชี่ยม และวิตามิน ดี ก็จะช่วยลดการเกิดนิ่วชนิดนี้เช่นกัน
- นิ่วชนิด Magnesium Ammonium Phosphate หรือเรียกอีกชื่อว่า Struvite นี้เป็นนิ่วชนิดที่พบ
ได้บ่อยมากที่สุดในสุนัข ซึ่งนิ่วชนิดนี้สัมพันธ์กับการเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดผลิต Urease
ได้ ในทางเดินปัสสาวะ
- นิ่วชนิด Struvite เพียงชนิดเดียวที่สามารถละลายโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ซึ่งมีหลักดังนี้
a. ลดความเข้มข้นของสารต่างๆในปัสสาวะเช่น Urea (สารที่แบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะใช้เป็น
อาหาร) Phosphorus และ Magnesium ในอาหาร
b. ปรับภาวะภายในทางเดินปัสสาวะให้เป็นกรดเพื่อให้นิ่วไม่สามารถคงตัวอยู่ได้
c. การวัดระดับของ ยูเรีย ในเลือด (Blood urea Nitrogen;BUN) ว่าลดลงอยู่ในระดับเท่าใด จะเป็นการพิจารณาอย่างง่ายๆที่ช่วยบอกสภาะวะของสุนัขในช่วงการรักษาได้
d. การถ่ายภาพรังสี x-ray หรือ Ultrasound เป็นระยะๆ จะช่วยให้ทราบถึงขนาดของก้อนนิ่วที่
ลดลงในระหว่างการรักษาได้
e. หากไม่พบนิ่วจากภาพรังสี x-ray แล้ว ควรให้อาหารเพื่อการสลายนิ่วต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย
1 เดือน เนื่องจากนิ่วที่มีขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นจากภาพ x-ray นี้สามารถโน้มนำให้เกิดการก่อ
ตัวของก้อนนิ่วขนาดใหญ่ภายหลังได้หากไม่ให้อาหารเพื่อสลายนิ่วต่อ



f. นอกจากนี้การควบคุมการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างที่จะป้องกัน
ไม่ให้เกิดนิ่วชนิด Struvite ขึ้นมาได้ใหม่
“ การให้อาหารที่ครบถ้วนและสมดุล ไม่มาก ไม่น้อยจนเกินไป รวมถึงการดูแล เอาใจใส่เป็นอย่างดี
เท่านี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับสุขภาพที่ดีของคุณ และเจ้าสุนัขแสนรัก ”

อาหารสำหรับสุนัขที่เป็นโรคไต




 

Create Date : 13 สิงหาคม 2550    
Last Update : 16 สิงหาคม 2550 0:49:58 น.
Counter : 17227 Pageviews.  

โรคเบาหวานในสุนัข

โรคเบาหวานในสุนัข

เป็นโรคซึ่งเกิดจากความผิดปรกติของต่อมไร้ท่อ เจ้าต่อมที่ว่าก็คือ กลุ่มเซลล์ในตับอ่อนที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่จะนำพาน้ำตาลกลูโคสหลังจากที่สัตว์ได้จากการกินอาหารเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ เพราะน้ำตาลกลูโคสเป็นสารให้พลังงานในการทำงานแก่เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ถ้าขาดอินซูลินแล้วระบบการสันดาปกลูโคสก็จะไม่เกิดขึ้น ทำให้น้ำตาลมีมากเกินในกระแสเลือดจนเกิดปัญหาไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย และที่สำคัญเมื่อมันมีมากจนไตไม่สามารถกรองไว้ได้ตามปรกติแล้ว จะทำให้เกิดน้ำตาลเล็ดลอดออกมาในน้ำปัสสาวะจนทำให้เกิดความหวานขึ้น


สาเหตุของการเกิดเบาหวาน โดยส่วนใหญ่การเกิดเบาหวานในสุนัขมีสาเหตุจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินเป็นสำคัญ เหตุที่ร่างกายของสุนัขขาดฮอร์โมนดังกล่าวมีมากมายครับ และอาจมาจากหลายๆ ปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าเกิดจากตัวสัตว์เองที่มีความผิดปรกติในร่างกายซึ่งสร้างเซลล์ทำลายกลุ่มเซลล์ตับอ่อนของตนเอง สัตว์ป่วยเป็นตับอ่อนอักเสบ หรือเป็นเนื้องอกที่ตับอ่อน นอกจากนี้ในสุนัขตัวที่อ้วนนั้นทำประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงจนเกิดปัญหาของการใช้กลูโคส ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดสูงและเกิดเป็นเบาหวานได้เช่นกัน ยังมีสาเหตุจากการใช้ยาชนิดที่มีผลทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูงต่อเนื่องนานๆ ก็ทำให้เกิดเบาหวานได้ เช่นว่า การใช้ยาเพื่อควบคุมการเป็นสัดของสุนัขเพศเมีย อย่างเช่นยากลุ่ม โปรเจสติน หรือแม้แต่ยากลุ่มสเตียรอยด์อย่างต่อเนื่องนานๆ

สุนัขป่วยเป็นโรคเบาหวานมีอาการอย่างไร ? ข้อนี้ยากนะครับก็เพราะสุนัขไม่สามารถบอกหรือสื่อให้เจ้าของรู้ถึงความผิดปรกติของร่างกายได้ และถ้าเราเลี้ยงสุนัขแบบไม่ได้ใกล้ชิด เราอาจไม่ทันสังเกตุดูว่าเค้ามีอาการผิดปรกติไป ดังนั้นท่านใดเลี้ยงสุนัข แล้วสัตว์แสดงอาการออกมาให้เห็นคือ กินน้ำเยอะและปัสสาวะอยู่บ่อยๆ กินอาหารเก่งแต่น้ำหนักตัวกลับลด แล้วก็ผอมลงๆ อันนี้เข้าข่ายน่าสงสัยแล้วครับ และถ้ามีอาการผิดปรกติของระบบอื่นร่วม เช่น เกิดต้อกระจกที่แก้วตาของสุนัข เนื้อตัวกล้ามเนื้อเหยี่ยวๆ ขนและผิวหนังเริ่มสากแข็ง หรือบางตัวมีสะเก็ดมีแผลเรื้อรัง ยิ่งเข้าข่ายน่าสงสัยใหญ่


เมื่อตรวจแล้วและได้ข้อสรุปว่า สุนัขของท่านเป็นโรคเบาหวานแน่ๆ เสียแล้ว นาทีนี้ขอบอกเลยครับว่าเจ้าของนั้นถือเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญมากสำหรับการดูแลสุขภาพของสุนัขของท่าน เพราะเบาหวานรักษาได้
ถึงแม้ไม่หายขาด การให้ยาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต้องให้ทุกวันและต้องให้อย่างมีทักษะที่ดี ไม่เช่นนั้นแล้วสุนัขของท่านจะมีปัญหาในการดำรงชีวิตแน่ทีเดียว
การดูแลสุนัขที่ป่วยเป็นเบาหวานในระยะแรก ในระยะแรกสุดนั้นเป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์ที่ต้องทำการตรวจรักษาแก้ไขภาวะต่างๆ ที่ผิดปรกติไปในร่างกายของสุนัข ทั้งเรื่องความสมดุลของสารน้ำในร่างกายสัตว์ ความสมดุลของกรดด่างในกระแสเลือด และเมื่อได้แก้ไข และเริ่มให้อินซูลินรักษา และปรับระดับการให้อินซูลินจนเข้าที่ดีแล้ว ต่อจากนั้นล่ะครับเป็นหน้าที่ของเจ้าของผู้ต้องพาสุนัขกลับมาดูแลเองที่บ้าน




 

Create Date : 10 สิงหาคม 2550    
Last Update : 16 สิงหาคม 2550 0:49:27 น.
Counter : 16282 Pageviews.  

โรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข

โรคลำไส้อักเสบติดต่อ หรือการติดเชื้อพาโวไวรัสในสุนัขคืออะไร
ตั้งแต่ปี 2521 หรือปี ค.ศ. 1978 มีรายงานพบว่าสุนัขทุกอายุ ทุกเพศและทุกพันธุ์สามารถเป็นไวรัสที่สามารถติดต่อที่รุนแรงที่ทำลายระบบทางเดินอาหาร เม็ดเลือดขาว และในสุนัขบางตัวจะมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากการติดเชื้อพาโวไวรัส (parvovirus: CPV)ปัจจุบันเรียกโรคนี้ว่า โรคติดเชื้อพาโวไวรัสในสุนัข หรือโรคลำไส้อักเสบติดต่อ (canine parvoviral infection) ซึ่งมีการระบาดทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย


การติดเชื้อพาโวไวรัสสามารถแพร่กระจายจากสุนัขตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง การติดต่อมีโอกาสมากขึ้นเมื่อสุนัขไปอยู่รวมกันมาก เช่น ในงานประกวดสุนัข โรงเรียนฝึกสุนัข คอกผสม หรือร้านขายผลิตภัณฑ์ของสุนัข สนามเด็กเล่น หรือบริเวณอื่นๆ ที่เป์นที่อยู่ที่เล่น หรือแหล่งรวมสุนัขก็จะเป็นแหล่งที่ทำให้สุนัขปกติไปรับเชื้อมาจากการสัมผัสได้

สุนัขที่เลี้ยงไว้ในบ้าน หรือไว้ในคอก ในสวนมีโอกาสที่จะสัมผัส หรือเล่นกับสุนัขตัวอื่นได้ยาก จะมีโอกาสที่จะสัมผัสติดเชื้อไวรัสได้ยาก การติดเชื้อพาโวไวรัสสามารถติดต่อได้กับสุนัขด้วยกัน หรือสัตว์ในตระกูลสุนัข โรคลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อพาโวไวรัสจะเกิดขึ้นเฉพาะแต่สุนัข หรือสัตว์ในตระกูลสุนัขเท่านั้น จะไม่ก่อให้เกิดโรคลำไส้ใน สัตว์ชนิดอื่นๆ หรือคน แต่สัตว์ชนิดอื่นๆ หรือคนสามารถที่จะเป็นพาหะนำเชื้อพาโวไวรัสมาติดกับสุนัขของตนเองได้

สุนัขสามารถติดเชื้อได้จากอุจจาระของสุนัขที่ป่วยเป็นโรค หรือของเหลวที่สุนัขป่วยอาเจียนออกมา ในอุจจาระของสัตว์ป่วยจะพบมีเชื้ออยู่จำนวนมาก พาโวไวรัสเป็นไวรัสที่มีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมมาก ไวรัสสามารถ มีชีวิตอยู่นอกตัวสัตว์ หรือในสิ่งแวดล้อมได้เป็นระยะเวลานาน ไวรัสสามารถแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้ด้วย การติดไปกับขน ผม หรือเท้าของสุนัขที่ป่วย หรือติดเชื้อ หรือเชื้อไวรัสอาจจะปนเปื้อนไปกับกรง รองเท้า หรือวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ


เราจะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขติดเชื้อพาโวไวรัส

อาการเริ่มแรก สุนัขที่ติดเชื้อพาโวไวรัสคือ ซึม เบื่ออาหาร อาเจียนและท้องเสีย อย่างรุนแรง อุณหภูมิของร่างกายอาจจะสูงขึ้น อุณหภูมิของร่างกายที่วัดจากทวารหนักของสุนัข มีค่าประมาณ 101º - 102ºF อาการป่วยดังกล่าวมักจะปรากฎขึ้นภายหลังจากที่สุนัขได้รับเชื้อ ไวรัสได้ประมาณ 5-7 วัน ในระยะแรกของการติดเชื้อ(แสดงอาการแล้ว) อุจจาระของสุนัขจะมีลักษณะเหลวมีสีออกเทา หรือเหลืองเทา (yellow-gray) ในบางครั้งอาการแรกเริ่มสุนัขอาจจะถ่ายเหลวโดยมีเลือดปนออกมาได้

เมื่อสุนัขมีการถ่ายเหลว หรืออาเจียนอย่างรุนแรง ทำให้สุนัขสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว สุนัขป่วยบางตัวจะมีอาการอาเจียนอย่างรุนแรงและถ่ายอุจจาระเป็นน้ำสีน้ำตาลจนถึงสีแดง(มีเลือดปน)พุ่งจนตายได้ ในสุนัขบางตัวอุจจาระอาจจะมีลักษณะเหลวเท่านั้นและสามารถฟื้นตัวจากการป่วยได้ อาการป่วยมักพบว่า ลูกสุนัขจะแสดงอาการป่วยรุนแรงกว่าสุนัขโต


สุนัขมักจะตายภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังจากที่เริ่มแสดงอาการ ลูกสุนัขมักจะตายด้วยภาวะช๊อค โดยมักจะเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อประมาณ 1-2 วัน ในอดีตพบว่าลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 5 เดือนมีอัตราการป่วยค่อนข้างสูงและประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์จะตายจากการติดเชื้อนี้ ปัจจุบันเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนกันอย่างแพร่หลาย อัตราการป่วยและอัตราการตายจากการติดเชื้อจึงลดลง เว้นแต่เจ้าของ สุนัขไม่ค่อยสนใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับสุนัขเป็นประจำ โอกาสป่วยเป็นโรคจึงมีมากขึ้น

ลูกสุนัขช่วงระหว่างหย่านม (1 เดือน)ถึงอายุ 6 เดือนเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรค มีรายงานการศึกษาพบว่า สุนัขบางพันธุ์จะแสดงอาการป่วยที่มีความรุนแรงในบางสายพันธุ์ เช่น ร๊อตไวเลอร์ และโดเบอร์แมนพิ้นเชอร์

อาการป่วยของสุนัขที่ติดเชื้อพาโวไวรัสอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือไปจากการแสดงอาการของลำไส้อักเสบ คือ การเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocarditis) ในลูกสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 3 เดือน ลูกสุนัขที่ป่วยในรูปแบบนี้มักจะไม่ แสดงอาการท้องเสีย เนื่องจากเชื้อไวรัสจะมีการเจริญ หรือแบ่งตัวอย่างรวดเร็วในกล้ามเนื้อหัวใจของลูกสุนัข

ลูกสุนัขที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจอันเนื่องมาจากการติดเชื้อพาโวไวรัสจะมีอาการซึม ไม่ดูดนมเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะเสียชีวิต ยังไม่มีการรักษาใดที่จำเพาะต่อการติดเชื้อในรูปแบบนี้ ลูกสุนัขที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อจะพบว่ามีความเสียหายของหัวใจ แต่ลูกสุนัขอาจจะจะตาย ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวหลังรอดจากการติดเชื้อในเวลาต่อมา(เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน)

โรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัขสามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างไร
การวินิจฉัยจะอาศัยอาการทางคลินิก แต่ทั้งนี้ต้องแยกโรคให้ได้จากภาวะที่ทำให้สุนัข ท้องเสียและอาเจียนอื่นๆ แต่สิ่งที่อาจจะแสดงให้เห็นว่าสุนัขติดเชื้อพาโวไวรัสคือ การแพร่กระจายของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว การตรวจวินิจฉัยยีนยันสามารถทำได้ด้วยการแยกเชื้อไวรัสจากอุจจาระ อย่างไรก็ตามยังไม่ยาชนิดใดที่จำเพาะที่ใช้ในการฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้

การรักษาการโรคติดเชื้อพาโวไวรัสควรเริ่มทันทีเมื่อวินิจฉัยว่าสัตว์แสดงอาการป่วย โดยเริ่มจากการให้สารน้ำเพื่อทดแทนภาวะการสูญเสียของเหลวและเกลือแร่ของร่างกาย ควบคุมอาการอาเจียนและท้องเสียของสุนัขป่วยและป้องการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ

ควรให้ความอบอุ่นกับร่างกายของสุนัขป่วยและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด.


การป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข
การป้องกันโรคลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อพาโวไวรัสสามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกัน โดยปกติในลูกสุนัขมักจะเริ่มต้นฉีดเมื่ออายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะฉีดวัคซีนกระตุ้นอีกครั้งที่อายุประมาร 10-12 สัปดาห์(ห่างจากครั้งแรกประมาณ 1 เดือน) เพื่อให้มีระดับภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอสำหรับการป้องกันโรค วัคซีนป้องกันโรคนี้มีทั้งแบบที่แยกเป็นวัคซีนชนิดนี้เพียงอย่างเดียว หรือรวมอยู่กับวัคซีนชนิดอื่น เช่น ไข้หัด ตับอักเสบ เลปโตสไปโรซิส หวัด เป็นต้น ซึ่งเรียกวัคซีนประเภทนี้ว่า วัคซีนรวม หลังจากนั้นจึงฉีดวัคซีนประจำทุกปี ซึ่งควรสอบถามสัตวแพทย์ถึงโปรแกรมการฉีดในลำดับต่อไปด้วย


กรณีที่สุนัขที่เลี้ยงเกิดป่วยติดเชื้อพาโวไวรัส ต้องทำความสะอาดบริเวณกรง หรือคอก หรือที่อยู่ของสุนัขป่วย เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ด้วยยาฆ่าเชื้อ พวกสารละลายโซเดียมไฮโดรคลอไรต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของยาฆ่าเชื้อที่มีใช้อยู่ในบ้าน อยู่แล้ว(ยาทำความห้องน้ำ ครัว) อย่าลืมว่าเชื้อพาโวไวรัสนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมได้เวลานานเป็นเดือนๆ

เจ้าของสุนัขควรป้องกันไม่ให้สุนัขไปสัมผัสกับสิ่งขับถ่ายของสุนัขอื่นๆ เมื่อนำมันออกไปนอกบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัขที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือนควรระมัดระวังอย่างยิ่ง สิ่งปฏิกูล หรือสิ่งขับถ่ายของสุนัขควรกำจัดทิ้งให้เร็วที่สุดไม่ควรกัก หมักหมมไว้ ถ้าเป็นไปได้ควรตรวจสอบดูสิ่งขับถ่ายของสุนัขข้างบ้านด้วย และควรแนะนำให้ปฏิบัติตาม สุนัขจะได้ปลอดภัยไม่นำเชื้อมาให้กันและกัน

ถ้าไม่แน่ใจว่าสุนัขของเรากำลังจะป่วยด้วยการติดเชื้อพาโวไวรัส หรือโรคลำไส้อักเสบหรือไม่ ควร ปรึกษาสัตวแพทย์ การลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพาโวไวรัสที่ดีที่สุดคือป้องกันสุนัขไม่ให้ไปสัมผัสกับสุนัขอื่นๆ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรคนี้

คำแนะนำสำหรับการเลี้ยงดูให้สุนัขมีสุขภาพดี
สัตว์เลี้ยงที่มีสุขภาพดีจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นเพื่อนที่มีความสุข เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีชีวิตที่ดี เจ้าของสัตว์จะต้องให้ความใส่ใจในการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิดและควรทำเป็นประจำ เพื่อลดโอกาสการป่วยชองสัตว์ ดังนั้นเจ้าของสุนัขควรปรึกษา หรือนำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์ เมื่อพบว่า สุนัขมีอาการต่างๆ เหล่านี้

พบมีสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติออกจากจมูก ตา หรือช่องเปิดอื่นๆของร่างกาย
สัตว์เลี้ยงไม่กินอาหาร มีน้ำหนักลดลง หรือกินน้ำมากขึ้นกว่าปกติ
ขับถ่ายลำบาก หรือผิดปกติ หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
พบมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ หรือพบมีความดุร้ายขึ้นอย่างกระทันหัน หรืออ่อนเพลีย
พบมีก้อนผิดปกติ เดินกระโผลกกระเผลก ลุกหรือนอนลำบาก
มีการสั่นหัวมากผิดปกติ เกา หรือเลีย หรือกัดแทะตามลำตัวมากผิดปกติ
ลูกสุนัขที่ติดเชื้อพาโวไวรัสที่ทำให้มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจมักจะมีอาการซึมและไม่ยอมดูดนมและตายอย่างรวดเร็ว ลูกสุนัขบางตัวอาจตายในอีกหลายวันต่อมา การติดเชื้อในลักษณะนี้ ยังไม่มีวิธีการรักษาที่จำเพาะ ลูกสุนัขที่รอดชีวิตจะพบมีความเสียหายของหัวใจบางส่วน(ถาวร) ลูกสุนัขบางตัวอาจจะ ตายด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวในอีกหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนต่อมา หลังจากที่หายป่วยแล้ว




 

Create Date : 09 สิงหาคม 2550    
Last Update : 16 สิงหาคม 2550 0:49:05 น.
Counter : 1185 Pageviews.  


Art_osk121
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




graphical counter
Google
"Inter arma Silent leges" เมื่อเสียงปืนดังขึ้น กฏหมายก็ย่อมเงียบเสียงลง
Friends' blogs
[Add Art_osk121's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.