นกน้อย พลัดถิ่น
Group Blog
 
All Blogs
 
มะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งหลอดอาหาร

เป็นมะเร็งของผู้ใหญ่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอายุอยู่ในช่วง 55-65 ปี โรคเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง


 อายุ ยิ่งมีอายุมากกว่า 60ปีขึ้นไป ก็มักจะเป็นความเสี่ยง
 เพศ มะเร็งหลอดอาหารมักเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
 การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมากที่จะเกิดมะเร็งหลอดอาหาร
 การดื่มเหล้า เป็นระยะเวลาที่นาน ก็เป็นความเสี่ยงต่อมะเร็งหลอดอาหารเช่นกัน
 กรดไหลย้อน เกิดขึ้นจากหลอดอาหารส่วนล่างมีการระคายเคืองต่อกรดในกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดความเสียหายเป็นระยะเวลานานๆ เรื้อรังจนทำให้เกิดกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารขึ้น
 คนที่เคยเป็นมะเร็งในส่วนศีรษะและลำคอ ก็จะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งหลอดอาหารเช่นกัน


ไม่มีอาการเฉพาะของมะเร็งหลอดอาหารแต่จะเป็นอาการคล้ายคลึงกับโรคทั่วๆไปของหลอดอาหารที่พบบ่อย ได้แก่
 กลืนอาหารไม่สะดวก รู้สึกติด หรือสำลัก
 อาจมีเสลดปนเลือด
 ไอ สำลัก ขณะรับประทาน
 อาจคลำต่อมน้ำเหลืองที่คอได้
 ผอมลงเพราะรับประทานไม่ได้หรือได้น้อย ดังนั้น ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ

ระยะที่ 1  ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กยังอยู่เฉพาะในตัวหลอดอาหารยังไม่ลุกลาม
ระยะที่ 2  ก้อนมะเร็งลุกลามมากขึ้นลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
ระยะที่ 3  มะเร็งลุกลามทะลุเนื้อเยื่อต่างๆ ของหลอดอาหารและมีการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
ระยะที่ 4  มะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไปหรือกระจายไปอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ หรือกระดูก เป็นต้น


ความรุนแรงของโรคขึ้นกับปัจจัยต่างๆ หลายอย่างที่สำคัญได้แก่
 ระยะของโรคระยะที่สูงขึ้น โรคจะรุนแรงมากขึ้น
 สภาพร่างกายของผู้ป่วย ถ้าแข็งแรงผลการรักษาจะดีกว่า
 โรคร่วมอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย เช่น เบาหวาน ความดัน เป็นต้น ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการรักษาได้
 อายุ ในคนสูงอายุ มักจะทนการรักษาได้ไม่ดี


การรักษามะเร็งหลอดอาหารมีวิธีการหลัก 3 วิธีคือ การผ่าตัด การฉายรังสี และเคมีบำบัด
 การผ่าตัด จะเป็นวิธีการรักษาในมะเร็งระยะต้นๆ และเป็นมะเร็งหลอดอาหารในตำแหน่งที่สามารถผ่าตัดได้ โดยผ่าตัดเอาหลอดอาหารส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป แต่ในโรคระยะลุกลามจนผู้ป่วยรับประทานทางปากไม่ได้
 รังสีรักษา โดยทั่วไปมักเป็นการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว หรือฉายรังสีร่วมกับเคมี การฉายรังสีก็เช่นเดียวกันกับการผ่าตัด จะมีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือใช้รักษาเพื่อควบคุมโรค ซึ่งจะใช้รักษาผู้ป่วยระยะลุกลามไม่มากและมี สุขภาพแข็งแรงและการรักษาแบบประคับประคองที่จะใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็น มากแล้วหรือสุขภาพไม่แข็งแรง
 เคมีบำบัด จะเช่นเดียวกัน มักใช้รักษาร่วมกับรังสีหรือร่วมกับรังสีและการผ่าตัด


ภายหลังให้การรักษาครบแล้ว แพทย์มักนัดตรวจรักษาเพื่อติดตาม ผลการรักษาโดยใน 1-2 ปีหลังการรักษา อาจนัดตรวจทุก 1-2 เดือน ปีที่ 3-5 หลังการรักษา อาจนัดตรวจทุก 2-3 เดือน ในปีที่ 5 ไปแล้วอาจนัดตรวจ ทุก 6-12 เดือน ในการมาตรวจรักษาแต่ละครั้ง ควรพาญาติสายตรงหรือผู้ดูแลมาด้วย เพื่อร่วมพูดคุยปรึกษากับแพทย์โดยตรง และควรนำยาและผลการตรวจต่างๆ ถ้ามีการตรวจรักษาจากแพทย์ท่านอื่นมาให้แพทย์ดูด้วย ทั้งนี้เพื่อจะได้มีการรักษาได้อย่างเหมาะสม

สำหรับ : ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอัตราเสี่ยง



Create Date : 21 มิถุนายน 2552
Last Update : 21 มิถุนายน 2552 13:12:06 น. 2 comments
Counter : 558 Pageviews.

 
สวัสดีคะ มาทักทายนะคะ แวะไปให้กำลังใจแม่มุกลดอ้วนหน่อยคะ


โดย: Mooky Miracle Mom วันที่: 21 มิถุนายน 2552 เวลา:13:19:50 น.  

 
ได้ความรู้ดีค่ะ สงสัยตัวเองเหมือนกันแต่กินเอากินเอา คงไม่ใช่นะ


โดย: hellojaae (hellojaae ) วันที่: 21 มิถุนายน 2552 เวลา:23:56:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

snow2531
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีค่ะ...........

ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนนะค่ะ...........

อยากให้ปรับปรุงส่วนไหนก็สามารถเม้นได้นะค่ะ........

ขอบคุณนะค่ะที่พี่ๆเพื่อนๆน้องๆที่สะระเวลาเข้ามาทักทายกันนะค่ะ..........
ยังไงก็อย่าลืมกันไปนะค่ะ...........
Friends' blogs
[Add snow2531's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.