รวบรวมเนื้อหาธรรมะดีๆ รูปภาพสวยๆ

อุบาสิกาแก้ววัดราชโอรสชวนบวชพระ

การทำหน้าที่ชวนบวชพระหนึ่งแสนรูป ภาคฤดูร้อน ของเหล่าอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน เพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้เฟื่องฟูเหมือนย้อนยุคพุทธกาล








//www.dmc.tv




 

Create Date : 10 มีนาคม 2554   
Last Update : 10 มีนาคม 2554 11:43:44 น.   
Counter : 622 Pageviews.  

รับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมอบรมในโครงการ "สมาธิแก้วรุ่นมาฆบูชา และสมาธิแก้วรุ่น 38"

สมาธิแก้ว...โครงการอบรมเพื่อ พัฒนาตนเองให้สมบูรณ์ทั้งกายและใจ เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมอบรมในโครงการ สมาธิแก้วรุ่นมาฆบูชา อบรมระหว่างวันที่ 13 – 26 กุมภาพันธ์ 2554 และสมาธิแก้วรุ่น 38 อบรมระหว่างวันที่ 3 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2554



สมาธิแก้ว
โครงการอบรม
เพื่อพัฒนาตนเองให้ สมบูรณ์ทั้งกายและใจ



ช่วงเวลาที่มีค่าของพวกเราทุกคน ได้เก็บบันทึกไว้แล้วในสมาธิแก้ว เราได้ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เราได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า ถูกต้องและดีงาม ได้รู้จักเพื่อนที่อยู่ในเส้นทางแห่งความดีมากมาย



อบรมระหว่างวันที่ 13 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ณ วัดพระธรรมกาย
สัมภาษณ์ วันที่ 6 ก.พ. 54 เวลา 13.00-17.00 น.
ณ ห้อง SPD13 สภาธรรมกายสากล






สมาธิแก้วรุ่นที่ 38
ต้อนรับปิดเทอม summer
อบรมระหว่างวันที่ 3 เม.ย. - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ณ ศูนย์กัลยาณมิตรจังหวัดพิจิตร
สัมภาษณ์ วันที่ 20 มีนาคมและวันที่ 27 มีนาคม 2554
สถานที่ ยังไม่มีกำหนด





คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
1. ชายหรือหญิงโสด อายุ 18-35 ปี
2. กำลังศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นไป
3. สุขภาพแข็งแรง
4. สามารถรักษาศีล 8 ได้ตลอดการอบรม
5. มีความรักและสนใจในการปฏิบัติธรรม




หลักฐานการสมัคร
1. ใบสมัครพร้อมรูปถ่าย
2. สำเนาบัตรประชาชน
3. สำเนาหลักฐานการศึกษา
4. ใบรับรองแพทย์
5. สำเนาทะเบียนบ้าน




กำหนดการอบรม
กิจกรรมของสมาธิแก้ว


เวลา กิจกรรม

04.30 น. ตื่นนอนยามเช้า
05.00 น. สวดมนต์ยามเช้า
06.00 น. ออกกำลังกาย
07.15 น. อิ่ม..อร่อย..มื้อเช้า
08.30 น. ชั่วโมงแห่งความสงบภายใน
11.15 น. เติมพลังมื้อกลางวัน
13.30 น. ชั่วโมงแห่งความสงบภายใน
16.30 น. โยคะเพื่อสุขภาพ
18.30 น. สวดมนต์เพิ่มความสงบภายใน
21.00 น. พักผ่อน

สอบถามรายละเอียดได้เพิ่มเติมและสมัครได้..

ทุกวันอาทิตย์ที่เสา M8 สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย
โทรศัพท์ 02-831-1820 ถึง 3 , (08)7502-6664 (08)7502-1313

“สมาธิแก้ว
เพิ่มพูนศักยภาพในตัวคุณ”

//www.dmc.tv




 

Create Date : 09 มีนาคม 2554   
Last Update : 9 มีนาคม 2554 0:24:51 น.   
Counter : 582 Pageviews.  

งานบวช ประเพณีบวชพระ ขั้นตอนการบวชพระทำอย่างไร........สาธุ!

ที่มา : DMC.TV

การบวชพระเป็นประเพณีที่มีความ สำคัญมากอย่างยิ่ง เพราะชายที่มีอายุครบ 20 ปี เป็นวัยที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบในชีวิตของตนมากขึ้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้ และเข้าใจความจริงของชีวิต

ประเพณีการบวชพระ เป็นการปฏิบัติที่สืบเนื่องมาจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน ตามประเพณีปฏิบัติในการบวชนั้น ชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องเข้าพิธีอุปสมบท (บวชพระ) การอุปสมบทเป็นประเพณีที่มีความสำคัญมากอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะชายที่มีอายุครบ 20 ปี เป็นวัยที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบในชีวิตของตนมากยิ่งขึ้น

ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจความจริงของชีวิต เพราะพระพุทธศาสนาเป็นหลักคำสอนแห่งความจริงในโลก ที่สอนให้มนุษย์รู้สาเหตุของการเกิด แก่ เจ็บ และตาย ช่วยให้มนุษย์มีสติสัมปชัญญะที่จะนำไปสู่ในทางที่ดีที่ชอบ การอุปสมบทจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะต่อผู้ที่จะเป็นหลักของครอบครัว อีกทั้งผู้บวชยังได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมครูของเรา ผู้บวชสามารถนำข้อปฏิบัติที่ได้จากการบวชพระมาใช้ในการดำรงชีวิตสืบต่อไปได้อย่างมีความสุข

ขั้นตอนการบวชพระทำอย่างไร

ก่อนที่เราจะไปศึกษาในเรื่องของขั้นตอนการบวชพระ จะขอกล่าวถึงพิธีการบวชพระที่ ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ แบบอุกาสะ และแบบเอสาหัง โดยคำว่า "อุกาสะ" แปลว่า ขอโอกาส ส่วนคำว่า "เอสาหัง" แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ในประเทศไทย การบวชพระแบบอุ กาสะนั้น จะใช้กันในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเป็นแบบเดิมที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล ส่วนการบวชพระแบบเอสาหัง จะใช้ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย โดยการประยุกต์มาจากแบบอุกาสะเพื่อย่อขั้นตอนให้สั้นขึ้น มีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยึดรูปแบบมาจากพระสงฆ์ประเทศพม่า

ขั้นตอนการบวชพระ ในที่นี้จึงจะขอกล่าวถึงเฉพาะพิธีการบวชพระแบบอุกาสะเท่านั้น เนื่องจากเป็นการบวชแบบเดิมที่มีมาแต่โบราณ แม้ว่าการบวชในประเทศไทยจะมี 2 แบบ แต่ก็ยึดหลักการบวชตามพุทธบัญญัติทุกประการ ต่างกันเพียงข้อปลีกย่อยบางข้อเท่านั้น ขั้นตอนการบวชพระแบบอุกาสะ มีดังนี้


1. โกนผมนาค เริ่มโดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มาร่วมบุญงานบวชพระในครั้งนี้ ทำการขลิบผมให้นาคเป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นพระสงฆ์จะทำการโกนผมให้นาค ตามประเพณีการบวชพระที่ ปฏิบัติโดยทั่วกันนั้น ผมนาคที่โกนแล้วจะห่อด้วยใบบัวแล้วนำไปลอยที่แม่น้ำหรือวางไว้ใต้ร่มโพธิ์ โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ในการปลงผมนั้นจะปลงที่บ้านหรือที่วัดก็ได้แล้วแต่ความสะดวก แต่โดยทั่วไปนิยมปลงผมที่วัดมากกว่า เนื่องจากญาติหรือแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานจะได้มีโอกาสร่วมพิธีตัดผมนาค อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาของเจ้าภาพและแขกที่มาร่วมงานอีกด้วย เพราะเมื่อปลงผมเสร็จจะได้ทำพิธีเวียนประทักษิณรอบสีมา และเข้าอุโบสถประกอบพิธีอุปสมบทต่อไป



2. แต่งตัวนาค การแต่งตัวนาคนั้นควรแต่งด้วยชุดขาวทั้งหมด ซึ่งจะบ่งบอกถึงความสะอาดบริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ ของผู้ที่จะบวช การแต่งตัวนาค ไม่ควรมีเครื่องประดับประดามากจนเกินไป โดยขอแนะนำเครื่องแต่งตัวนาคตามประเพณีนิยมดังนี้ 1. เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว 2. สบงขาว 3. อังสะขาว 4. เข็มขัด หรือสายรัดสำหรับรัดสบง ในส่วนเข็มขัดนี้ ใช้สำหรับรัดสบงขาว ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้เข็มขัดนาค ในกรณีที่ไม่มีเข็มขัดนาคจะใช้เข็มขัดอย่างอื่นหรือสายรัดแทนก็ได้ ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว แต่การใช้เข็มขัดนาคเป็นการปฏิบัติตามประเพณีการบวชพระที่นิยม เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า "นาค" ซึ่งเป็นชื่อเรียกผู้ที่จะบวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น 5. เสื้อคลุมนาค 6. สร้อยคอ หากมีสร้อยคอจะสวมให้นาคก็ได้ หรือไม่สวมก็ได้ แต่ไม่ควรคล้องพวงมาลัยให้นาค เพราะจากนาคจะกลายเป็นนักร้องแทน

3. การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา การเวียนประทักษิณในทางพระพุทธศาสนา คือ การกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การหมุนไปทางขวา คือการหมุนไปสู่ความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ตรงกันข้ามกับการหมุนไปด้านซ้ายเป็นการหมุนทวนความดี คือ การกระทำที่เป็นทุจริตทางกาย วา และใจ การทำประทักษิณเวียนขวารอบสีมาก่อนเข้าอุโบสถของผู้ที่จะบวชพระนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ยังเป็นอุบายที่คนโบราณสอนให้รู้ว่า สิ่งที่จะทำต่อไปนี้เป็นการกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ



นอกจากนั้นการทำประทักษิณก่อนเข้าสู่พิธีอุปสมบท ยังเป็นช่วงเวลาให้นาคได้มีโอกาสทำสมาธิ(Meditation)รวบ รวมจิตใจไม่ให้ตื่นเต้นจนเกินเหตุ ญาติของนาคจึงไม่ควรส่งเสียงหรือโห่ร้อง ร้องรำทำเพลง ประโคมดนตรีอันจะเป็นการรบกวนสมาธิของนาค อีกทั้งไม่ควรให้นาคขี่คอ ขึ้นคานหาม หรือแบกหามซึ่งจะดูไม่เรียบร้อย หากพลัดตกลงมาอาจเป็นอันตรายจนถึงชีวิตทำให้นาคไม่ได้บวช จึงควรให้นาคเดินตามปกติ โดยให้นาคประณมมือ มีดอกไม้ที่เตรียมไว้อยู่ในมือเดินทำประทักษิณเวียนขวารอบอุโบสถ 3 รอบ จะมีผู้กั้นสัปทนให้นาคก็ได้ การทำประทักษิณให้เริ่มต้นจากสีมาตรงกลางด้านหน้าอุโบสถ (เริ่มจากสีมาที่จะวันทา) ส่วนญาติๆ ถือบริขารพร้อมทั้งเครื่องไทยทานที่จัดเตรียมไว้ ตามความนิยมโดยทั่วไปบิดาจะสะพายบาตรถือตาลปัตร ส่วนมารดาถือพานแว่นฟ้าสำหรับใส่ผ้าไตรครองเดินตามหลังนาค แถวถัดมาเป็นธูปเทียนแพ เครื่องไทยทานสำหรับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวด และเครื่องบริขารอย่างอื่นโดยลำดับ ในขณะเดินให้นาคสวดบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ดังนี้ "อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯลฯ"



เมื่อเดินครบ 3 รอบแล้ว นาคต้องวันทาสีมาหน้าอุโบสถก่อนเข้าไปในเขตสีมา นาควางดอกไม้เครื่องสักการะไว้บนพานที่เตรียมไว้ บางแห่งให้จุดธูปเทียนด้วย แต่โดยมากนิยมให้ดอกไม้ธูปเทียนไว้บนพานหรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่จัดเตรียม ไว้ โดยมากไม่จุดธูปเทียน นาคกราบสีมา 3 หน แล้วยืนขึ้นกล่าวคำวันทาสีมา จากนั้นให้นาคนั่งคุกเข่ากราบ 3 หน แล้วเข้าไปภายในอุโบสถ ในขณะเข้าประตูโบสถ์ไม่ ควรยกนาคข้ามธรณีประตู หรือยกขึ้นเพื่อเอามือแตะคานประตู ตามที่นิยมปฏิบัติกันโดยขาดความเข้าใจ เพราะอาจพลัดตกลงมาแขนขาหักได้ ให้นาคเดินเข้าอุโบสถตามปกติ โดยบิดามารดาและญาติจะแตะที่ตัวนาคตามเข้าไปก็ได้

4. การบรรพชา (บวชสามเณร) เมื่อนาคได้เข้าไปในอุโบสถแล้ว นาคจะวันทาพระประธานอีกครั้งด้วยวิธีอย่างเดียวกันกับวันทาสีมา จากนั้นกลับไปนั่ง ณ สถานที่ที่จัดเตรียมไว้สำหรับนาค บิดา มารดา (หรือญาติผู้ใหญ่)มอบผ้าไตรให้นาค นาคคุกเข่ากราบ 3 หน ยื่นแขนประณมมือรับผ้าไตร จากนั้นประณมมือประคองผ้าไตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เมื่อถึงแนวพระสงฆ์ให้คุกเข่าลงแล้วคลานเข่าเข้าไปถวายผ้าไตรนั้นแก่ท่าน รับดอกไม้ ธูปเทียนแพเครื่องสักการะ (มีผู้ส่งให้ข้างหลัง) ถวายพระอุปัชฌาย์ กราบลง 3 หน พระอุปัชฌาย์มอบผ้าไตรคืนให้ ประณมมือประคองผ้าไตร กล่าวคำ ขอบรรพชา นาคโน้มตัวเข้าไปใกล้ๆ พระอุปัชฌาย์เพื่อคล้องผ้าอังสะให้ จากนั้นนั่งพับเพียบลงประณมมือ ตั้งใจฟังโอวาทของพระอุปัชฌาย์


5. การอุปสมบท (การบวชพระ) การอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจ คือ ถึงแม้จะบวชเป็นพระภิกษุ แต่ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการบวชเป็นสามเณรก่อนทุกครั้ง ผู้ที่จะบวชเป็นพระ ภิกษุต้องขอนิสัยจากพระอุปัชฌาย์ การจะอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ บริขารต้องครบทุกอย่างที่เรียกว่าบริขาร 8 จึงจะสามารถบวชได้ สามเณรรับบาตรจากบิดามารดาที่นำมาประเคนเดินด้วยเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ น้อมบาตรถวายท่าน กราบลง 3 หน แล้วยืนขึ้นกล่าวคำขออุปสมบท



6. การซักซ้อมอันตริยกธรรม อันตริยกธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบวช การซักซ้อมอันตริยกธรรม หมายถึง การซักซ้อมสอบถามสิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ เช่น ไม่เป็นโรคน่ารังเกียจ ไม่ทุพลภาพจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ไม่มีหนี้สินติด ตัว มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เป็นต้น การซักซ้อมอันตรายิกธรรมเป็นการทำความเข้าใจระหว่างพระคู่สวดกับผู้ที่ขอ บวชเป็นพระภิกษุว่า หากมีข้อห้ามเหล่านี้แล้วบวชเป็นภิกษุไม่ได้ ซึ่งผู้ขอบวชจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ตามความเป็นจริง ท่ามกลางสงฆ์ จากนั้น ฟังสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาเพื่อยกสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด เสร็จแล้วกราบ 3 หน ประณมมือคลานเข่าถอยหลังออกไป พอพ้นพระสงฆ์แล้วลุกขึ้นไปยืนอยู่ที่เดิม ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์ไม่บอกอนุศาสน์เอง ท่านจะมอบให้พระคู่สวดเป็นผู้บอกอนุศาสน์ พระคู่สวดเดินตามไปยืนบนอาสนะสวดบอกอนุศาสน์ การสวดบอกอนุสาสน์ท่านจะบอกเป็นภาษาบาลีไว้ก่อนพระใหม่ฟังสวดอนุศาสน์ไปจนจบ เมื่อกลับถึงที่พักแล้ว พระอาจารย์หรือพระพี่เลี้ยงจะแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับอนุศาสน์อีกครั้ง

อนุศาสน์ หมายถึง คำสอนหรือคำชี้แจงที่พระอุปัชฌาย์หรือพระกรรมวาจาจารย์บอกแก่พระภิกษุผู้บวชใหม่หลังจากบวชเสร็จ คล้ายเป็นบทปฐมนิเทศ ซึ่งมีข้อบังคับไว้ว่าจะต้องบอกอนุศาสน์แก่ภิกษุผู้บวชใหม่ จะไม่บอกไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่พระบวชใหม่ต้องรู้เป็นเบื้องต้นทั้งนี้ เพื่อมิให้ทำผิดพลาดด้วยไม่รู้มาก่อน อนุศาสน์มีเนื้อความกล่าวถึง นิสสัย (สิ่งที่พระภิกษุทำได้) และ อกรณียกิจ (สิ่งที่พระไม่ควรทำ) คือ


1. เที่ยวบิณฑบาต ชีวิตพระภิกษุในพระพุทธศาสนาไม่มีอาชีพอื่น เช่น ไม่มีอาชีพทำนา ทำไร่ ค้าขาย เป็นต้น แต่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการขออาหารจากชาวบ้าน ความหมายของคำว่า ภิกษุ นัยหนึ่งแปลว่าผู้เห็นภายในวัฏสงสาร อีกนัยหนึ่งแปลว่า ผู้ขอโดยกิริยามิใช่โดยการออกปาก การบิณฑบาตจึงเป็นการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์สำหรับภิกษุ ตามวิถีทางแห่งพระพุทธศาสนา

2. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ผ้าบังสุกุล คือ ผ้าที่ภิกษุเก็บเศษผ้าท่อนเล็กท่อนน้อยซึ่งตกอยู่ตามพื้นดิน เปื้อนผุ่นไม่สะอาด ไม่สวยไม่งาม โดยที่สุดแม้ผ้าที่เขาใช้ห่อศพ ตกอยู่ตามป่าช้า ภิกษุเก็บมาเย็บปะต่อกันเป็นผืน ซัก เย็บ ย้อมใช้เป็นจีวรสำหรับนุ่งห่ม ปัจจุบันภิกษุใช้ผ้าสำเร็จรูปที่ชาวบ้านถวายได้

3. อยู่โคนต้นไม้ ชีวิต พระภิกษุในพระพุทธ ศาสนาต้องสละบ้านเรือน ออกบวชเป็นผู้ไม่มีบ้านเรือน จึงต้องอาศัยอยู่ตามร่มไม้ ป่าเขา เงื้อมผา เถื่อนถ้ำ ภายหลังมีผู้เลื่อมใสสร้างวัดถวาย ปัจจุบันจึงมีวัดวาอารามเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับพระภิกษุ

4. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ธรรมดาสังขารร่างกายเต็มไป ด้วยโรคภัยไข้เจ็บ การจะไม่มีโรคนั้นเป็นไม่มี พระพุทธองค์จึงอนุญาตให้พระภิกษุฉันสมอและมะขามป้อมดองด้วยน้ำปัสสาวะเป็นยา ได้ตลอดเวลา เพื่อจะได้เป็นผู้มีโรคน้อย และมีกำลังในการบำเพ็ญกิจสงฆ์

ส่วนกิจที่พระภิกษุทำไม่ได้ เรียกว่า อกรณียกิจ มี 4 ข้อ ดังนี้

1. เสพเมถุน พระภิกษุมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่ากับคนหรือสัตว์ ทั้งที่มีชีวิตหรือตายแล้ว ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที

2. ลักขโมย ภิกษุลักทรัพย์มีราคาตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที

3. ฆ่ามนุษย์ ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์หรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า หรือทำอาวุธให้เขาด้วยเจตนาจะให้เขาฆ่าตัวตาย หรือบังคับให้เขากินยาพิษ หรือกล่าวพรรณนาคุณของความตายเพื่อให้เขาฆ่าตัวตาย ทำคาถาอาคมฆ่าด้วยคุณไสย โดยที่สุดแม้การทำแท้งและแนะนำวิธีการฆ่าด้วยอุบายต่าง ๆ ขาดจากความเป็นพระภิกษุ


4. พูดอวดคุณวิเศษที่ตนเองไม่มี การพูดอวดคุณวิเศษ หมายถึง คุณวิเศษที่เกิดจาการปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิวิปัสสนาจนได้บรรลุคุณวิเศษทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ฌาน 4 คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน วิชชา 3 คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติได้ จตูปปาตญาณ ญาณกำหนดการเกิดการตายของสรรพสัตว์ และอาสวักขยญาณ ญาณที่รู้การทำลายกิเลส เป็นต้น ที่ตนเองไม่มี ไม่ได้บรรลุ เพื่อต้องการให้คนอื่นนับถือศรัทธา โดยหวังลาภสักการะชื่อเสียงเกียรติยศ หรืออื่นใดก็ตาม ขาดจากความเป็นภิกษุ

การบอกอนุศาสน์ พระอุปัชฌาย์จะเป็นผู้บอกพระภิกษุใหม่ทันทีภายหลังจากบวชเสร็จสิ้นลงแล้ว เพื่อสอนให้รู้ถึงการดำเนินชีวิตอย่างพระภิกษุ และการป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการเป็นพุทธบุตร อนุศาสน์ทั้ง 8 ข้อนี้ท่านจะสวดเป็นภาษาบาลี สวดจบแต่ละข้อให้พระภิกษุใหม่รับ "อามะ ภันเต"



7. การกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
1. ควรเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะที่ง่ายแก่การหลั่งริน
2. มือขวาใช้จับ มือซ้ายประคองหลั่งน้ำ
3. เมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาบท “ยะถา วาริวหา ปูรา” ให้เริ่มกรวดน้ำ
4. น้ำที่กรวดควรให้ไหลติดต่อกันไม่ขาดสายไม่หลั่งน้ำลงบนฝ่ามือหรือใช้นิ้วรองน้ำ
5. ตั้งใจอุทิศส่วนบุญในใจไปจนจบหรือกล่าวคำอุทิศส่วนบุญว่า “อิทัง เม ญาตินัง โหตุ” ขอบุญกุศลนี้ จงสำเร็จประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายของ ข้าพเจ้าด้วยเถิด
6. เมื่อพระสวดถึงตอนที่ว่า “มะณิ โชติระโส ยะถา” ควรหลั่งน้ำที่มีอยู่ให้หมดแล้วประนมมือรับพรจากพระ

เมื่อเสร็จพิธีตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นอันจบพิธีบรรพชาและอุปสมบท พระพุทธศาสนาก็จักได้ศาสนทายาทเพิ่ม เพื่อมาช่วยกันทำนุบำรุงให้พุทธศาสนาเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป อีกทั้งการมีโอกาสได้บวชพระดำรง เพศสมณะเป็นผู้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเอง แม้อาจเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก็สามารถค้นหาแหล่งความสุขที่แท้จริง ศึกษาเรื่องราวความจริงของชีวิต เป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ว่าเกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน บาปบุญคุณโทษ นรกสวรรค์ ภพนี้ภพหน้าและสังสารวัฏ ซึ่งเป็นความรู้ที่มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาที่ทนทานต่อการพิสูจน์ แม้เวลาจะผ่านไปยาวนานแค่ไหน


ขอบคุณ DMC.tv
สาธุ




 

Create Date : 07 มีนาคม 2554   
Last Update : 7 มีนาคม 2554 19:42:29 น.   
Counter : 2140 Pageviews.  

การสร้างนิสัยดีตามพุทธวิธี

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้บทฝึกสำหรับการสร้างนิสัยดีไว้บทหนึ่ง คือ ให้พิจารณาโดยแยบคาย ก่อนบริโภคใช้สอยปัจจัย 4 9 ดังนี้

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยจีวร เพียงเพื่อป้องกันความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย รวมทั้งเพื่อปกปิดอวัยวะ ที่ก่อให้เกิดความละอาย

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงฉันบิณฑบาต ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ความเมามัน ตลอดจนเพื่อประดับ ตกแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบากทางกาย เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ อีกทั้งระงับเวทนาเก่า คือ ความหิว และไม่ทำให้ทุกขเวทนาใหม่เกิดขึ้น ย่อมทำให้ดำรงชีวิตด้วยความไม่มีโทษ และอยู่โดยผาสุก

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยเสนาสนะเพียงเพื่อป้องกันความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย รวมทั้งเพื่อบรรเทาอันตรายจาก ดิน ฟ้า อากาศ ตลอดจนเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคเภสัชบริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้ เพียงเพื่อ
บำบัดทุกขเวทนาอันเกิดจากการเจ็บป่วย และเพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน

จากบทพิจารณาปัจจัย 4 นี้ จะเห็นว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำเอาเรื่องที่เราทุกชีวิตต้องคิด พูด และทำ ในชีวิตประจำวันมาเป็นบทฝึกนิสัย ด้วยการสั่งสอนให้เป็นผู้รู้จักมีสติเตือนตนอยู่เสมอว่า ตนกำลังทำอะไร เหมาะสมหรือไม่อย่างไร รู้จักพิจารณาหาเหตุผล จนมองทะลุว่า วัตถุประสงค์หลักในการใช้สิ่งของต่างๆ เหล่านั้น เพื่ออะไร ทำไมจึงต้องใช้ แล้วจึงค่อยใช้สิ่งของเหล่านั้น

เมื่อได้พิจารณาเตือนตนอยู่ทุกๆ วัน นิสัยดื้อรั้น เอาแต่ใจตัว ตลอดจนความมักง่ายต่างๆ ก็จะค่อยๆ ลดลง ทำให้รู้สึกยินยอมใช้สอยปัจจัย 4 ตามมีตามได้ ทั้งไม่คิดแสวงหาในทางที่ผิดในทางที่ไม่สมควร คราใดที่เกิดความปรารถนาสิ่งใด เมื่อไม่ได้ก็ไม่กระวนกระวายใจ หรือได้แล้ว ก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพันและมองเห็นโทษของความรู้สึกนึกคิดเช่นนั้น พร้อมกันนั้นก็เกิดปัญญา คิดสลัดตนออกจากกองทุกข์ กิเลสในตัวจึงค่อยๆ ลดลง นิสัยดีๆ ก็บังเกิดขึ้นแทน และเป็นอุปการะต่อการประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อการบรรลุธรรม หมดกิเลสเข้าสู่พระนิพพาน
_____________________
9 สารีปุตตสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 66 หน้า 609 ,

จาก...หนังสือสุขภาพนักสร้างบารมี




 

Create Date : 06 มีนาคม 2554   
Last Update : 6 มีนาคม 2554 12:28:46 น.   
Counter : 568 Pageviews.  

สัมภาษณ์ พระปรเมษฐ ปรมสจฺโจ

สัมภาษณ์ พระปรเมษฐ ปรมสจฺโจ ผอ.สำนักเผยแผ่วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ในโครงการอบรมอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1 ล้านคน รุ่นที่ 4 ทุกอำเภอ ทุกจังหวัด ทั่วไทย









 

Create Date : 04 มีนาคม 2554   
Last Update : 4 มีนาคม 2554 18:32:21 น.   
Counter : 642 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  

เจ้าหญิงใจดี
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add เจ้าหญิงใจดี's blog to your web]