รวบรวมเนื้อหาธรรมะดีๆ รูปภาพสวยๆ

รวมข่าวหนังสือพิมพ์ขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย หลังจากตกเป็นข่าวครึกโครม สื่อมวลชนทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ลงข่าวโจมตีผิดๆอย่างหนักหน่วง....

รวมข่าวหนังสือพิมพ์ขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย หลังจากตกเป็นข่าวครึกโครม สื่อมวลชนทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ลงข่าวโจมตีผิดๆอย่างหนักหน่วงต่อเนื่องกว่า 2 ปี


คำขอขมา ต่อวัดพระธรรมกาย, ในสื่อหนังสือพิมพ์



รวมสื่อขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

วัดพระธรรมกาย

วัดพระธรรมกาย


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ปีที่ 14 ฉบับที่ 4655 วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2544


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่รายการสาระขันได้ทำการแพร่ภาพ เกี่ยวกับพระราชภาวนาวิสุทธิ์และวัดพระธรรมกาย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2542, 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 และวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2542 อันภาพที่ปรากฏต่อสาธารณชนใน 3 วันดังกล่าว ทำให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และวัดพระธรรมกายได้รับความเสียหาย

   ซึ่งรายการดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ทางคณะผู้บริหาร บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด และนายกฤษณะ ไชยรัตน์ ผู้จัดทำรายการ รู้สึกเสียใจและขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในสิ่งที่เกิดขึ้น และขอขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่ไม่ได้ติดใจดำเนินคดีใดๆ กับ
บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด คณะผู้บริหารบริษัท นายกฤษณะ ไชยรัตน์ ทั้งทางอาญาและทางแพ่งอีกต่อไป


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ปีที่ 14 วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2544 หน้า 11

สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่รายการสาระขันได้ทำการแพร่ภาพ เกี่ยวกับพระราชภาวนาวิสุทธิ์และวัดพระธรรมกาย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2542, 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 และวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2542 อันภาพที่ปรากฏต่อสาธารณชนใน 3 วันดังกล่าว ทำให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และวัดพระธรรมกายได้รับความเสียหาย

   ซึ่งรายการดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ทางคณะผู้บริหาร บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด และนายกฤษณะ ไชยรัตน์ ผู้จัดทำรายการ รู้สึกเสียใจและขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในสิ่งที่เกิดขึ้น และขอขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่ไม่ได้ติดใจดำเนินคดีใดๆ กับ
บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด คณะผู้บริหารบริษัท นายกฤษณะ ไชยรัตน์ ทั้งทางอาญาและทางแพ่งอีกต่อไป


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ.2544

สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐได้ลงข่าวเกี่ยวกับกรณีของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) และนายถาวร พรหมถาวร กรณีที่ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาที่ศาลอาญา ระหว่าง พนักงานอัยการ โจทก์ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ กับพวกรวม 2 คน จำเลย โดยได้ลงข่าว เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2543 แสดงเหตุการณ์ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอาญา เป็นเหตุให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 32(2) และมาตรา 33 นั้น

     หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขออภัยต่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ต่อการกระทำดังกล่าว และยอมรับว่าข้อความที่ลงตีพิมพ์มีข้อความส่วนไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ฟังการพิจารณาของศาลอาจเข้าใจผิดได้ หนังสือพิมพ์สยามรัฐจึงขออภัยมายัง ณ ที่นี้ และขอประกาศว่าข้อความที่ลงพิมพ์ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2543 เป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง

     และหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอบพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทาน ให้มา ณ ที่นี่ จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน



ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ



สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์สายมรัฐได้ลงข่าวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องการถือครองที่ดินที่ได้รับบริจาค เรื่องราวนิคหกรรม เรื่องราวคำสอนว่าบิดเบือนลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า การอวดอุตริมนุสธรรม ทำความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง หลอกลวงประชาชน กระทำการในตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานที่ไม่เหมาะสม ต้องอาบัติปาราชิก เรียกวัดพระธรรมกายว่าวัดฉาว นำเงินบริจาคไปดำเนินการนอกวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค หลอกขายพระดูดทรัพย์ หลอกขายบุญ เป็นวัดที่มีอิทธิพลเหนือองค์กรและเจ้าพนักงานของรัฐ เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่าเป็นอลัชชี เดียรถีย์ พระปลอมจอมมาร นายไชยบูลย์ พระฉาว ศาสดาลูกแก้ว พระนอกรีด ภิกษุมหาโจร เจ้าอาวาสวัดฉาว มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับหญิงสาว โดยลงข้อความและข่าวในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2543 โดยการดังกล่าวไม่เป็นความจริงและเป็นความเห็นของหนังสือพิมพ์สยามรัฐเอง เป็นเหตุให้วัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 84, 91, 326, 328, และ332

     บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ต่อการกระทำดังกล่าว และยอมรับว่าข้อความที่ลงตีพิมพ์ไม่ตรงกับความจริง ทำให้ประชาชนทั่วไป ที่ไม่ทราบความจริงอาจเข้าใจผิดได้ ข้อความที่ลงตีพิมพ์ในช่วงเดือน สิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พงศ.2543 เป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง

     และหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน



ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ปีที่ 52 ฉบับที่ 17691 วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2544 หน้า 13

สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่นิตยสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับปีที่ 46 ฉบับที่ 13 ประจำวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม ถึงวันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2542 ในภาพหน้าปกได้นำภาพใบหน้าของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ มาตัดต่อกับภาพบุรุษเปลือยกายนั่งขัดสมาธิ(Meditation)บนตะปู อยู่ในอาการของการทรมานตน และมีข้อความว่า "ทณฑํ สรณํ คจฉามิ" เพื่อให้ผู้พบเห็นเชื่อว่าเป็นภาพพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ซึ่งไม่เป็นความจริง พระราชภาวนาวิสุทธิ์ไม่เคยถ่ายภาพหรือกระทำลักษณะอาการดังกล่าว เป็นเหตุให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้รับความเสียหาย

    บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของนิตยสารสยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ และนายศักดา นพเกตุ ขอกราบขอขมาต่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในการกระทำดังกล่าว และขอกราบขอบพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

     และในบทนำของนิตยสารฉบับดังกล่าวในคอลัมน์ เปิดขบวนที่เขียนโดยนายศักดา นพเกตุ ได้ตีพิมพ์ข้อความจาบจ้วงล่วงเกินพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า "ชาวธรรมกายและเหล่าพระปลอมจอมมาร คงลิงโลดลำพองหัวใจเป็นอย่างยิ่งที่พระปลอมจอมมารได้รับประกันตัว" ซึ่งความจริงแล้วพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นพระที่แท้จริง ปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมวินัย ด้วยดี และได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ปีที่ 52 ฉบับที่ 17691 วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2544

สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตาม ที่นิตยสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับปีที่ 46 ฉบับที่ 13 ประจำวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม ถึงวันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2542 ในภาพหน้าปกได้นำภาพใบหน้าของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ มาตัดต่อกับภาพบุรุษเปลือยกายนั่งขัดสมาธิบนตะปู อยู่ในอาการของการทรมานตน และมีข้อความว่า "ทณฑํ สรณํ คจฉามิ" เพื่อให้ผู้พบเห็นเชื่อว่าเป็นภาพพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ซึ่งไม่เป็นความจริง พระราชภาวนาวิสุทธิ์ไม่เคยถ่ายภาพหรือกระทำลักษณะอาการดังกล่าว เป็นเหตุให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้รับความเสียหาย

    บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของนิตยสารสยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ และนายศักดา นพเกตุ ขอกราบขอขมาต่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในการกระทำดังกล่าว และขอกราบขอบพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

     และในบทนำของนิตยสารฉบับดังกล่าวในคอลัมน์ เปิดขบวนที่เขียนโดยนายศักดา นพเกตุ ได้ตีพิมพ์ข้อความจาบจ้วงล่วงเกินพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า "ชาวธรรมกายและเหล่าพระปลอมจอมมาร คงลิงโลดลำพองหัวใจเป็นอย่างยิ่งที่พระปลอมจอมมารได้รับประกันตัว" ซึ่งความจริงแล้วพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นพระที่แท้จริง ปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมวินัย ด้วยดี และได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก



ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ปีที่ 52 ฉบับที่ 17710 วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2544 หน้า 13


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์สายมรัฐได้ลงข่าวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนา วิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องการถือครองที่ดินที่ได้รับบริจาค เรื่องราวนิคหกรรม เรื่องราวคำสอนว่าบิดเบือนลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า การอวดอุตริมนุสธรรม ทำความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง หลอกลวงประชาชน กระทำการในตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานที่ไม่เหมาะสม ต้องอาบัติปาราชิก เรียกวัดพระธรรมกายว่าวัดฉาว นำเงินบริจาคไปดำเนินการนอกวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค หลอกขายพระดูดทรัพย์ หลอกขายบุญ เป็นวัดที่มีอิทธิพลเหนือองค์กรและเจ้าพนักงานของรัฐ เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่าเป็นอลัชชี เดียรถีย์ พระปลอมจอมมาร นายไชยบูลย์ พระฉาว ศาสดาลูกแก้ว พระนอกรีด ภิกษุมหาโจร เจ้าอาวาสวัดฉาว มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับหญิงสาว โดยลงข้อความและข่าวในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2543 โดยการดังกล่าวไม่เป็นความจริงและเป็นความเห็นของหนังสือพิมพ์สยามรัฐเอง เป็นเหตุให้วัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 83, 84, 91, 326, 328, และ332

     บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ต่อการกระทำดังกล่าว และยอมรับว่าข้อความที่ลงตีพิมพ์ไม่ตรงกับความจริง ทำให้ประชาชนทั่วไป ที่ไม่ทราบความจริงอาจเข้าใจผิดได้ ข้อความที่ลงตีพิมพ์ในช่วงเดือน สิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พงศ.2543 เป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง

     และหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน



ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์มติชน
ปีที่ 25 ฉบับที่ 8888 วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2545


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2542 ได้ลงข่าวว่า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา ได้รู้เห็นเป็นใจกับวัดธรรมกายในการกว้านซื้อที่ดินในเขตป่าสงวนจำนวน 700 ไร่ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติควนจุก มีการออกเอกสารสิทธิ น.ส.3ก. อย่างไม่โปร่งใสให้แก่วัดธรรมกาย ข่มขู่ให้ชาวบ้านขายที่ดินแก่วัดธรรมกายเพื่อสร้างรีสอร์ทใกล้มัสยิด ขุดดินปะการังโดยใช้แมคโครนำมาตกแต่งรีสอร์ท ทำเขื่อนกั้นน้ำทะเลและขุดสระกักเก็บน้ำ ทำให้ชาวบ้านขาดแคลนน้ำนั้น ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เป็นการเข้าใจผิดของนายโชติ ทองย้อย ที่ให้ข่าวผิดพลาดกับหนังสือพิมพ์ดังกล่าว

     บัดนี้้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความเข้าใจกันได้ หนังสือพิมพ์มติชนขอแก้ข่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบว่า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 และวัดธรรมกาย ไม่ได้กระทำการดังกล่าวแต่อย่างใด


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์มติชน
ปีที่ 26 ฉบับที่ 9262 วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2546


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์มติชนได้ตีพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับวัพระธรรมกายฯ และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องราวใช้ถ้อยคำล่วงเกินโดยเรียกวัดพระธรรมกายว่า วัดฉาว สำนักฉาว เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า นายไชยบูลย์ เจ้าสำนักฉาว กล่าวหาว่าเล่นหุ้น โอนเงินของวัดให้สีกา โดยตีพิมพ์ข้อความในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2542 ทั้งๆที่โจทย์ยังอยู่ในสมณศักดิ์

     หนังสือพิมพ์มติชน และนายสุชาติ ศรีสุวรรณ ในฐานะบรรณาธิการ ขอยอมรับว่าข้อความที่ตีพิมพ์คลาดเคลื่อน ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ จนได้รับความเสียหาย จึงขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และขอขอบพระคุณที่อภัยทานมา ณ โอกาสนี้


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์มติชน
ปีที่ 26 ฉบับที่ 9263 วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2546


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์มติชนได้ตีพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับวัพระธรรมกายฯ และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องราวใช้ถ้อยคำล่วงเกินโดยเรียกวัดพระธรรมกายว่า วัดฉาว สำนักฉาว เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า นายไชยบูลย์ เจ้าสำนักฉาว กล่าวหาว่าเล่นหุ้น โอนเงินของวัดให้สีกา โดยตีพิมพ์ข้อความในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2542 ทั้งๆที่โจทย์ยังอยู่ในสมณศักดิ์

     หนังสือพิมพ์มติชน และนายสุชาติ ศรีสุวรรณ ในฐานะบรรณาธิการ ขอยอมรับว่าข้อความที่ตีพิมพ์คลาดเคลื่อน ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ จนได้รับความเสียหาย จึงขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และขอขอบพระคุณที่อภัยทานมา ณ โอกาสนี้


บทความน่าอ่านเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย
Pre Report วัดพระธรรมกาย, ในทรรศนะที่เป็น วัดยุคใหม่ ในพุทธศตวรรษที่ 25




 

Create Date : 09 ตุลาคม 2555   
Last Update : 9 ตุลาคม 2555 11:17:41 น.   
Counter : 1121 Pageviews.  

รวมข่าวหนังสือพิมพ์ขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย หลังจากตกเป็นข่าวครึกโครม สื่อมวลชนทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ลงข่าวโจมตีผิดๆอย่างหนักหน่วง....

รวมข่าวหนังสือพิมพ์ขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย หลังจากตกเป็นข่าวครึกโครม สื่อมวลชนทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ลงข่าวโจมตีผิดๆอย่างหนักหน่วงต่อเนื่องกว่า 2 ปี


คำขอขมา ต่อวัดพระธรรมกาย, ในสื่อหนังสือพิมพ์



รวมสื่อขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

วัดพระธรรมกาย

วัดพระธรรมกาย


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ปีที่ 14 ฉบับที่ 4655 วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2544


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่รายการสาระขันได้ทำการแพร่ภาพ เกี่ยวกับพระราชภาวนาวิสุทธิ์และวัดพระธรรมกาย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2542, 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 และวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2542 อันภาพที่ปรากฏต่อสาธารณชนใน 3 วันดังกล่าว ทำให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และวัดพระธรรมกายได้รับความเสียหาย

   ซึ่งรายการดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ทางคณะผู้บริหาร บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด และนายกฤษณะ ไชยรัตน์ ผู้จัดทำรายการ รู้สึกเสียใจและขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในสิ่งที่เกิดขึ้น และขอขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่ไม่ได้ติดใจดำเนินคดีใดๆ กับ
บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด คณะผู้บริหารบริษัท นายกฤษณะ ไชยรัตน์ ทั้งทางอาญาและทางแพ่งอีกต่อไป


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ปีที่ 14 วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2544 หน้า 11

สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่รายการสาระขันได้ทำการแพร่ภาพ เกี่ยวกับพระราชภาวนาวิสุทธิ์และวัดพระธรรมกาย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2542, 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 และวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2542 อันภาพที่ปรากฏต่อสาธารณชนใน 3 วันดังกล่าว ทำให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และวัดพระธรรมกายได้รับความเสียหาย

   ซึ่งรายการดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ทางคณะผู้บริหาร บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด และนายกฤษณะ ไชยรัตน์ ผู้จัดทำรายการ รู้สึกเสียใจและขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในสิ่งที่เกิดขึ้น และขอขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่ไม่ได้ติดใจดำเนินคดีใดๆ กับ
บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด คณะผู้บริหารบริษัท นายกฤษณะ ไชยรัตน์ ทั้งทางอาญาและทางแพ่งอีกต่อไป


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ.2544

สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐได้ลงข่าวเกี่ยวกับกรณีของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) และนายถาวร พรหมถาวร กรณีที่ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาที่ศาลอาญา ระหว่าง พนักงานอัยการ โจทก์ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ กับพวกรวม 2 คน จำเลย โดยได้ลงข่าว เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2543 แสดงเหตุการณ์ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอาญา เป็นเหตุให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 32(2) และมาตรา 33 นั้น

     หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขออภัยต่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ต่อการกระทำดังกล่าว และยอมรับว่าข้อความที่ลงตีพิมพ์มีข้อความส่วนไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ฟังการพิจารณาของศาลอาจเข้าใจผิดได้ หนังสือพิมพ์สยามรัฐจึงขออภัยมายัง ณ ที่นี้ และขอประกาศว่าข้อความที่ลงพิมพ์ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2543 เป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง

     และหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอบพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทาน ให้มา ณ ที่นี่ จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน



ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ



สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์สายมรัฐได้ลงข่าวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องการถือครองที่ดินที่ได้รับบริจาค เรื่องราวนิคหกรรม เรื่องราวคำสอนว่าบิดเบือนลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า การอวดอุตริมนุสธรรม ทำความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง หลอกลวงประชาชน กระทำการในตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานที่ไม่เหมาะสม ต้องอาบัติปาราชิก เรียกวัดพระธรรมกายว่าวัดฉาว นำเงินบริจาคไปดำเนินการนอกวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค หลอกขายพระดูดทรัพย์ หลอกขายบุญ เป็นวัดที่มีอิทธิพลเหนือองค์กรและเจ้าพนักงานของรัฐ เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่าเป็นอลัชชี เดียรถีย์ พระปลอมจอมมาร นายไชยบูลย์ พระฉาว ศาสดาลูกแก้ว พระนอกรีด ภิกษุมหาโจร เจ้าอาวาสวัดฉาว มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับหญิงสาว โดยลงข้อความและข่าวในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2543 โดยการดังกล่าวไม่เป็นความจริงและเป็นความเห็นของหนังสือพิมพ์สยามรัฐเอง เป็นเหตุให้วัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 84, 91, 326, 328, และ332

     บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ต่อการกระทำดังกล่าว และยอมรับว่าข้อความที่ลงตีพิมพ์ไม่ตรงกับความจริง ทำให้ประชาชนทั่วไป ที่ไม่ทราบความจริงอาจเข้าใจผิดได้ ข้อความที่ลงตีพิมพ์ในช่วงเดือน สิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พงศ.2543 เป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง

     และหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน



ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ปีที่ 52 ฉบับที่ 17691 วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2544 หน้า 13

สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่นิตยสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับปีที่ 46 ฉบับที่ 13 ประจำวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม ถึงวันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2542 ในภาพหน้าปกได้นำภาพใบหน้าของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ มาตัดต่อกับภาพบุรุษเปลือยกายนั่งขัดสมาธิ(Meditation)บนตะปู อยู่ในอาการของการทรมานตน และมีข้อความว่า "ทณฑํ สรณํ คจฉามิ" เพื่อให้ผู้พบเห็นเชื่อว่าเป็นภาพพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ซึ่งไม่เป็นความจริง พระราชภาวนาวิสุทธิ์ไม่เคยถ่ายภาพหรือกระทำลักษณะอาการดังกล่าว เป็นเหตุให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้รับความเสียหาย

    บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของนิตยสารสยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ และนายศักดา นพเกตุ ขอกราบขอขมาต่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในการกระทำดังกล่าว และขอกราบขอบพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

     และในบทนำของนิตยสารฉบับดังกล่าวในคอลัมน์ เปิดขบวนที่เขียนโดยนายศักดา นพเกตุ ได้ตีพิมพ์ข้อความจาบจ้วงล่วงเกินพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า "ชาวธรรมกายและเหล่าพระปลอมจอมมาร คงลิงโลดลำพองหัวใจเป็นอย่างยิ่งที่พระปลอมจอมมารได้รับประกันตัว" ซึ่งความจริงแล้วพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นพระที่แท้จริง ปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมวินัย ด้วยดี และได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ปีที่ 52 ฉบับที่ 17691 วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2544

สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตาม ที่นิตยสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับปีที่ 46 ฉบับที่ 13 ประจำวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม ถึงวันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2542 ในภาพหน้าปกได้นำภาพใบหน้าของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ มาตัดต่อกับภาพบุรุษเปลือยกายนั่งขัดสมาธิบนตะปู อยู่ในอาการของการทรมานตน และมีข้อความว่า "ทณฑํ สรณํ คจฉามิ" เพื่อให้ผู้พบเห็นเชื่อว่าเป็นภาพพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ซึ่งไม่เป็นความจริง พระราชภาวนาวิสุทธิ์ไม่เคยถ่ายภาพหรือกระทำลักษณะอาการดังกล่าว เป็นเหตุให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้รับความเสียหาย

    บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของนิตยสารสยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ และนายศักดา นพเกตุ ขอกราบขอขมาต่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในการกระทำดังกล่าว และขอกราบขอบพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

     และในบทนำของนิตยสารฉบับดังกล่าวในคอลัมน์ เปิดขบวนที่เขียนโดยนายศักดา นพเกตุ ได้ตีพิมพ์ข้อความจาบจ้วงล่วงเกินพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า "ชาวธรรมกายและเหล่าพระปลอมจอมมาร คงลิงโลดลำพองหัวใจเป็นอย่างยิ่งที่พระปลอมจอมมารได้รับประกันตัว" ซึ่งความจริงแล้วพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นพระที่แท้จริง ปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมวินัย ด้วยดี และได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก



ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ปีที่ 52 ฉบับที่ 17710 วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2544 หน้า 13


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์สายมรัฐได้ลงข่าวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนา วิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องการถือครองที่ดินที่ได้รับบริจาค เรื่องราวนิคหกรรม เรื่องราวคำสอนว่าบิดเบือนลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า การอวดอุตริมนุสธรรม ทำความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง หลอกลวงประชาชน กระทำการในตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานที่ไม่เหมาะสม ต้องอาบัติปาราชิก เรียกวัดพระธรรมกายว่าวัดฉาว นำเงินบริจาคไปดำเนินการนอกวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค หลอกขายพระดูดทรัพย์ หลอกขายบุญ เป็นวัดที่มีอิทธิพลเหนือองค์กรและเจ้าพนักงานของรัฐ เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่าเป็นอลัชชี เดียรถีย์ พระปลอมจอมมาร นายไชยบูลย์ พระฉาว ศาสดาลูกแก้ว พระนอกรีด ภิกษุมหาโจร เจ้าอาวาสวัดฉาว มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับหญิงสาว โดยลงข้อความและข่าวในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2543 โดยการดังกล่าวไม่เป็นความจริงและเป็นความเห็นของหนังสือพิมพ์สยามรัฐเอง เป็นเหตุให้วัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 83, 84, 91, 326, 328, และ332

     บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ต่อการกระทำดังกล่าว และยอมรับว่าข้อความที่ลงตีพิมพ์ไม่ตรงกับความจริง ทำให้ประชาชนทั่วไป ที่ไม่ทราบความจริงอาจเข้าใจผิดได้ ข้อความที่ลงตีพิมพ์ในช่วงเดือน สิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พงศ.2543 เป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง

     และหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน



ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์มติชน
ปีที่ 25 ฉบับที่ 8888 วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2545


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2542 ได้ลงข่าวว่า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา ได้รู้เห็นเป็นใจกับวัดธรรมกายในการกว้านซื้อที่ดินในเขตป่าสงวนจำนวน 700 ไร่ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติควนจุก มีการออกเอกสารสิทธิ น.ส.3ก. อย่างไม่โปร่งใสให้แก่วัดธรรมกาย ข่มขู่ให้ชาวบ้านขายที่ดินแก่วัดธรรมกายเพื่อสร้างรีสอร์ทใกล้มัสยิด ขุดดินปะการังโดยใช้แมคโครนำมาตกแต่งรีสอร์ท ทำเขื่อนกั้นน้ำทะเลและขุดสระกักเก็บน้ำ ทำให้ชาวบ้านขาดแคลนน้ำนั้น ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เป็นการเข้าใจผิดของนายโชติ ทองย้อย ที่ให้ข่าวผิดพลาดกับหนังสือพิมพ์ดังกล่าว

     บัดนี้้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความเข้าใจกันได้ หนังสือพิมพ์มติชนขอแก้ข่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบว่า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 และวัดธรรมกาย ไม่ได้กระทำการดังกล่าวแต่อย่างใด


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์มติชน
ปีที่ 26 ฉบับที่ 9262 วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2546


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์มติชนได้ตีพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับวัพระธรรมกายฯ และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องราวใช้ถ้อยคำล่วงเกินโดยเรียกวัดพระธรรมกายว่า วัดฉาว สำนักฉาว เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า นายไชยบูลย์ เจ้าสำนักฉาว กล่าวหาว่าเล่นหุ้น โอนเงินของวัดให้สีกา โดยตีพิมพ์ข้อความในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2542 ทั้งๆที่โจทย์ยังอยู่ในสมณศักดิ์

     หนังสือพิมพ์มติชน และนายสุชาติ ศรีสุวรรณ ในฐานะบรรณาธิการ ขอยอมรับว่าข้อความที่ตีพิมพ์คลาดเคลื่อน ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ จนได้รับความเสียหาย จึงขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และขอขอบพระคุณที่อภัยทานมา ณ โอกาสนี้


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์มติชน
ปีที่ 26 ฉบับที่ 9263 วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2546


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์มติชนได้ตีพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับวัพระธรรมกายฯ และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องราวใช้ถ้อยคำล่วงเกินโดยเรียกวัดพระธรรมกายว่า วัดฉาว สำนักฉาว เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า นายไชยบูลย์ เจ้าสำนักฉาว กล่าวหาว่าเล่นหุ้น โอนเงินของวัดให้สีกา โดยตีพิมพ์ข้อความในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2542 ทั้งๆที่โจทย์ยังอยู่ในสมณศักดิ์

     หนังสือพิมพ์มติชน และนายสุชาติ ศรีสุวรรณ ในฐานะบรรณาธิการ ขอยอมรับว่าข้อความที่ตีพิมพ์คลาดเคลื่อน ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ จนได้รับความเสียหาย จึงขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และขอขอบพระคุณที่อภัยทานมา ณ โอกาสนี้


บทความน่าอ่านเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย
Pre Report วัดพระธรรมกาย, ในทรรศนะที่เป็น วัดยุคใหม่ ในพุทธศตวรรษที่ 25




 

Create Date : 08 ตุลาคม 2555   
Last Update : 8 ตุลาคม 2555 11:04:16 น.   
Counter : 1169 Pageviews.  

ผมเชื่ออยู่ 11 ปี ว่าวัดนี้...รวยแล้ว.................................อะไรที่ทำให้ต้องเปลี่ยนใจ เล่ม 1 เรื่องที่ 3....เรื่องจริงน่าศึกษา

จากหนังสืออะไรที่ทำให้ต้องเปลี่ยนใจ
อะไรที่ทำให้ต้องเปลี่ยนใจ เล่ม 1 เรื่องที่ 3

ผมเชื่ออยู่ 11 ปี  ว่าวัดนี้...รวยแล้ว
คุณ สมชาย  ศิริกุรุรัตน์
เจ้าของกิจการ  ส . ศิริการสร้าง



"ผมเชื่ออยู่ 11 ปี  ว่าวัดนี้...รวยแล้ว
ใครมาวัดนี้  ต้องทำบุญจนหมดตัว....
"

อะไรที่ทำให้ต้องเปลี่ยนใจ
ปกติแล้วผมเป็นคนใจบุญ  วัดไหนมาบอกผมก็ทำบุญทั้งนั้น  แม้แต่บริจาคโลหิตผมก็บริจาคไปแล้วถึง 70 กว่าครั้ง  แต่พอมาทราบว่า  พี่ชายคนที่ 3  ของผมมาวัดพระธรรมกาย  ทำบุญทีเป็นล้าน  ผมตกใจและรู้สึกว่า  ทำไมมาวัดนี้ต้องทำบุญเป็นล้านด้วยหรือทุกครั้งที่มีการทำบุญ  พี่ชายก็จะชวนผมทำบุญด้วยเสมอ  เดี๋ยวบุญโน้น  บุญนี้  ถี่ยิบไปหมด  ชวนให้ตั้งกองทีเป็นหมื่น  ครั้นจะปฎิเสธ  ก็กลัวเสียน้ำใจ  จึงได้ร่วมทำไปบ้างสัก 400-500 บาท

        ตอนนั้นทำให้ผมปักใจเลยว่า.. วัดนี้เป็นพุทธพาณิชย์  ยังพูดกับเพื่อนๆ  ในวงเหล้าเลยว่าวัดนี้ไม่ไหว..อะไรๆ ก็เป็นเงินไปหมด  คนมาต้องหมดเนื้อหมดตัว  ต้องขายบ้าน  ขายโน่น ขายนี่มาทำบุญ   ซึ่งระยะเวลาที่ผมไม่ชอบวัด 44 ปี  พี่ชายก็ยังไม่ละความพยายาม  ยังคงตื๊อชวนให้มาวัดท่าเดียว  ผมก็มาบ้างไม่กี่ครั้ง  เพราะขัดไม่ได้  จนสุดท้ายผมต้องเอ่ยปากไปว่า  จะไม่มาอีกแล้ว  เพราะมาแล้วเจอเหตุการณ์ที่ไม่ประทับใจบางอย่าง  จนกระทั่งมีอยู่วันหนึ่ง  ด้วยคำพูดของคุณหมอท่านหนึ่งที่มาวัดพระธรรมกาย  พอฟังแล้วต้องหยุดคิดว่า... แท้จริงแล้วการทำบุญ  หากเรามีเงินมากเหลือเฟือ  ก็ต้องทำบุญทุกบุญอยู่แล้ว  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงเรียน  โรงพยาบาล  เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า  และที่สำคัญอย่างขาดไม่ได้ก็คือ  การทำบุญกับวัด  กับพระพุทธศาสนา

         แต่ถ้าหากเรามีเงินน้อยก็ต้องฉลาดทำ  คือหาที่ที่บริจาคเงินไปแล้วเอาเงินของเราไปทำให้เกิดประโยชน์ได้มากๆ  และต้องหาที่ๆ  นำเงินเราไปใช้แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้  ก็คือที่จิตใจ   ทำให้คนในสังคมเป็นคนดี  เป็นคนมีคุณภาพ  ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ครอบครัว  และสังคม  ขยัน  ไม่ฆ่า ไม่ขโมย  ไม่ดื่มเหล้าจนเมาแล้วขับรถไปชนลูกใครตายซึ่งสิ่งเหล่านี้เขาจะเข้าใจได้ก็ต้องอาศัยหลักธรรม  เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ  คือแก้ที่จิตใจอย่างการเอาอาหารไปเลี้ยงเด็กกำพร้า 4 มื้อ   ก็ช่วยเขาได้แค่อิ่มหนึ่ง  เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ  แต่ไม่ได้ทำให้เขามีศีลธรรมขึ้น  หรือสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย  ซึ่งนอกจากจะไปให้เงิน ให้อาหาร  ให้เสื้อผ้า เขาแล้ว  สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ  การให้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง  ที่จะทำให้เขาสามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง  โดยไม่ก่อความเดือดร้อนต่อไป หรือเป็นภาระให้กับสังคม สิ่งนี้เป็นหน้าที่ของวัด  และวัดหลายๆ วัดก็ได้ทำหน้าที่นี้   และทำได้ดี  เพียงแต่ไม่ได้มาบอกให้สาธารณชนรับรู้  เพราะเป็นหน้าที่โดยตรงของพระอยู่แล้ว  ที่ต้องสอนญาติโยมให้ทำความดี  และวัดๆ หนึ่งที่กำลังทำหน้าที่ตรงนี้อย่างเข้มแข็ง  ท่ามกลางกระแสความไม่เข้าใจของสังคมคือ วัดพระธรรมกาย
à¸<!-- WP_SPACEHOLDER -->าพเด็กดี V-Star
ภาพเด็กดี V-Star ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ.2555


พอฟังตรงนี้ทำให้ผมเริ่มคิด  เริ่มลองมาวัดมากขึ้นตั้งแต่บัดนั้น  มานั่งสมาธิ(Meditation)ที่วัดนี้บ่อยๆ  เปิดใจศึกษาคำสอนของที่นี่ดู  แล้วผมก็พบจริงๆ ว่า  วัดพระธรรมกาย  มีโครงการที่จัดอบรมและปลูกฝังศีลธรรมให้แก่เด็กนักเรียนทั่วประเทศปีหนึ่งตั้ง 4 ล้านคน   มีโครงการอบรมธรรมทายาทตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงเด็กโตปีหนึ่งๆ  เป็นพันคน  โดยคนมาบวชไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย  วัดให้การสนับสนุนงานสาธารณกุศลต่างๆ   ทั้งนี้ยังไม่นับโครงการอะไรต่อมิอะไรของวัดอีกมากมายสารพัด  แล้วยังมีโรงเรียนปริยัติธรรมให้พระเณรได้เรียนบาลีอีก  พอมาคำนวณแล้ว ผมว่าวัดต้องใช้เงินมหาศาลทีเดียว  เท่าที่สังเกตดูผมเห็นพวกที่อบรมกลับไปก็ได้ผลดี  พ่อแม่ไม่ต้องกังวลเป็นทุกข์เพราะลูก   มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจนเห็นชัด  ผมว่านี่แหละ คือการแก้ปัญหาที่แท้จริงที่ชาติกำลังต้องการอยู่   ตอนนี้ผมจึงเข้าใจแล้วว่า  ทำไมพี่ชายผมถึงได้ทุ่มทำบุญขนาดนี้ พี่ชายของผมทำด้วยความสมัครใจ  ไม่มีใครบังคับ  แม้แต่วัดก็ไม่ได้บังคับ  ทุกวันนี้ผมก็บริจาคทำบุญและรู้สึกคุ้มมากที่เงินของผมทุกบาททุกสตางค์  ถูกใช้ไปเพื่อการแก้ปัญหาของชาติที่แท้จริง  คือการแก้ไขที่ต้นเหตุ

          จากการที่ผมเข้าใจเอาเองมาโดยตลอดว่า  วัดนี้รวยแล้ว  พอมาเข้าวัดแล้ว เห็นทีต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ว่า   วัดนี้จนเหลือเกิน  เพราะอะไรครับ  ก็เพราะวัดยังต้องใช้เงินอีกมากในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ  ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจจะไม่เห็นผลเป็นรูปเป็นร่างที่ชัดเจน  จนดูเหมือนกับไม่ได้ผลอะไร  แต่ความจริงแล้วส่งผลกระทบอย่างมาก  โดยเฉพาะสังคมในครอบครัว เหมือนเรามีเงินเก็บส่วนตัว 10 ล้าน  โดยไม่ต้องรับภาระอะไรเลย  อย่างนี้เขาอาจเรียกว่ารวยได้เพราะมีเหลือเฟือเพียงพอ  แต่หากมีมูลนิธิหนึ่งต้องรับภาระและแก้ไขปัญหา  ต้องช่วยเหลือฟื้นฟูอะไรตั้งมากมาย  แต่มีงบประมาณ 10 ล้าน  เทียบกับอัตราปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด  เงินแค่นี้ไม่นับว่ามากเลยแท้จริงยังขาดเงินอีกจำนวนมากต่างหาก  ถ้าเราทราบการทำงานของเขา  เราจะยังว่าเขารวยอีกไหม....??

         ซึ่งโดยส่วนตัวของผม  หากวัดพระธรรมกายเป็นพุทธพาณิชย์  สามารถทำให้คนมาบริจาคเงินได้มากๆ แล้วเอาเงินนั้นมาแก้ไขปัญหาของสังคมได้ถึงขนาดนี้  ผมว่าน่าจะมีวัดที่เป็นพุทธพาณิชย์มากๆ นะปัญหาของประเทศจะได้หมดไปซะที

คุณว่าดีกว่าไหม....  หากพ่อแม่ทุกคน  จะไม่ต้องกังวลว่าลูกตัวเองจะไปติดยาอีกต่อไป  ไม่ต้องคอยระวังว่าลูกสาววัยรุ่นจะต้องตกเป็นกิ๊กของเพื่อนชายหลายๆ คน  จนต้องพาลูกสาวชั้น  ม.ต้น  ไปทำแท้งและไม่ต้องกลัวว่าสามีจะเจ้าชู้  ไม่ต้องกลัวว่าพ่อบ้านจะติดเหล้า  เล่นการพนัน  เพราะทุกคนต่างมีศีลมีคุณธรรม  เพราะเข้าวัดปฎิบัติธรรมกันทั้งครอบครัว

บทความที่เกี่ยวข้องกับหนังสืออะไรที่ทำให้ต้องเปลี่ยนใจ




 

Create Date : 06 ตุลาคม 2555   
Last Update : 6 ตุลาคม 2555 23:58:30 น.   
Counter : 1112 Pageviews.  

" ผม...เคยคิดจะมาเผาวัด เคยพูดกับนายพลระดับบิ๊กๆ ว่าทำไมพี่ปล่อยวัดพระธรรมกายให้โตมาถึงขนาดนี้ "

จากหนังสืออะไรที่ทำให้ต้องเปลี่ยนใจ
อะไรที่ทำให้ต้องเปลี่ยนใจ เล่ม 1 เรื่องที่ 1

ผม...เคยคิดจะมาเผาวัด
พ.อ.  ณัฐสรณ์   สาริมาน
ประจำ  ศบบ.รรก.หน.รร.การบินทหารบก


" ผม...เคยคิดจะมาเผาวัด
เคยพูดกับนายพลระดับบิ๊กๆ  ว่า
ทำไมพี่ปล่อยวัดพระธรรมกายให้โตมาถึงขนาดนี้ "


ผม...เคยคิดจะมาเผาวัด

       ผมเป็นคนหนึ่ง ที่เคยเกลียดวัด ไม่ชอบวัดพระธรรมกายอย่างรุนแรงถึงขั้นที่จะมาเผาวัด  และในฐานะที่ผมมีตำแหน่งหน้าที่ทางการโดยตรง  ถูกปลูกฝังเรื่องการรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  มาอย่างดื่มด่ำเข้าไปในสายเลือด  ผมยังเคยคิดเลยว่า  วัดพระธรรมกายทำให้ศาสนาแตกแยก  เป็นองค์กรที่โตขึ้นๆ  จนปัจจุบัน คนมาวัดนี้เป็นแสนๆ  โตอย่างหยุดยั้งไม่ได้  สร้างโน่นสร้างนี่อะไรกันนักหนา  ผมถึงขนาดที่ว่าไปหานายพลระดับบิ๊กๆ  บอกว่า  " พี่ๆ  ทำไมพี่ปล่อยวัดพระธรรมกายให้โตมาถึงขนาดนี้ "

       " ทำไมถึงปล่อยให้วัดลอยนวล " นายพลท่านนั้นตอบว่า " เรื่องนี้มันพูดยาก เพราะมีผู้ใหญ่หลายท่านมาวัดนี้" ตอนนั้นผมหัวรุนแรงมาก  ขนาดเข้าสอนชั้นผู้บังคับกองร้อย  และชั้นผู้บังคับกองพันทั้ง 16 เหล่าของกองทัพบก ผมสั่งนักเรียนของผมเลยว่า ห้ามมาวัดนี้

        แต่แล้วคนใกล้ตัวที่ผมรักที่สุด คือภรรยาของผมเอง กลับมาเข้าวัดนี้อย่างไม่ลืมหูลืมตา ผมจึงตัดข่าวหนังสือพิมพ์ทั้งหมดเอาไปให้เธออ่านและต่อว่าอย่างหนัก ถึงขนาดขู่เธอว่า " ระหว่างวัดกับผมเธอเลือกใคร? "ภรรยาผมกลับตอบว่า เธอเลือกวัด ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร เธอก็เลือกวัด ผมและเธอจึงนัดกันไปหย่า แต่ในที่สุดภรรยาของผมก็บอกว่า เธอเชื่อว่าวัดจะสอนให้ลูกเป็นคนดีได้  ขอให้ทำเพื่อลูก ให้ขึ้นไปนั่งสมาธิ(Meditation)กับลูกสักครั้ง ผมจึงยอมและคิดในใจว่า

       ถ้าวัดสอนไม่ดียังไง ผมก็จะไม่ทำ ผมไม่ยอมถูกล้างสมองอยู่แล้ว เพราะไม่อยากทะเลาะกันรุนแรงอีกและที่สำคัญผมต้องยอมทำเพื่อลูก ซึ่งผลก็คือ แปลกมากเลย หลังจากที่ลูกชายวัยรุ่นทั้งสองคนไปนั่งสมาธิและเริ่มไปวัดพระธรรมกาย เขาเปลี่ยนไปมาก เขาเป็นคนดีเหมือนเป็นคนใหม่จนผมปลื้มใจ จากนั้นผมก็เริ่มใจเปิด แต่ก็ยังคิดว่า ต้องมาหาข้อแท้จริงกับทางวัดให้ได้

       ช่วงแรกที่ผมมา ผมจ้องจับผิดในทุกเรื่อง จนกระทั่งมาเจาะลึกถึงที่มาที่ไปของวัด หลังจากมาศึกษามานั่งสมาธิที่วัด มาฟังคำสอนของหลวงพ่อเจ้าอาวาสบ่อยๆ  ประกอบกับภรรยาคอยอธิบายข้อสงสัยต่างๆ ให้ฟัง  และเปิดรายการธรรมะของทางวัดให้ผมดู  ตัวผมเลยได้ฟังคำสอนของวัดนี้ ในที่สุดก็พบว่า ไม่เห็นพระวัดนี้สอนอะไรที่ไม่ดีอย่างที่เขาว่ากันเลย ตั้งแต่นั้นเลยเริ่มเข้าใจ  รู้แล้วว่าทำไมวัดต้องสร้างใหญ่โต จากเดิมที่เป็นวัดเล็กๆ แถวปทุมธานี ซึ่งสมัยนั้นกันดารสุดๆ มีศาลาปฎิบัติธรรมจุคนได้มากที่สุดก็แค่ 400 กว่าคน แต่หลังจากนั้นคนก็เริ่มแห่กันเข้าวัดนี้มากขึ้นเรื่อยๆ จนพื้นที่ของวัดจุคนไม่พอคนมาวัดต้องมานั่งตากแดดเปรี้ยงๆ บางทีหน้าฝนก็เปียกปอนกันหมด วัดจึงต้องขยายพื้นที่และสร้างศาลาเพิ่มขึ้นตามปริมาณคนที่มา

        เพราะเขามาแล้ว จะไปไล่เขาไม่ให้มาก็ไม่ได้  ปัจจุบันคนยังแห่กันมาอีกเป็นแสน พอมีงานบุญใหญ่ๆ ทีไร  พื้นที่ 2,000 ไร่ของวัด รู้สึกเล็กลงไปแล้ว ที่จอดรถก็ไม่ค่อยพอ ผมว่าถ้าคุณมาดูกันจริงๆ ก็จะต้องคิดตรงกันว่า 2,000 ไร่  ยังเล็กเกินไป หลังจากที่ผมศึกษาพุทธศาสนามากขึ้น ทำให้ผมพบว่า
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดพระเชตวันมหาวิหารถวาย พระพุทธเจ้า
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

        วัดพระเชตวันมหาวิหาร ที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย พระพุทธเจ้า มีราคาถึง 540 ล้านกหาปณะ ถ้าเทียบเป็นเงินในปัจจุบันก็เกือบแสนล้านบาท  พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่นี่ถึง 20๐ กว่าพรรษา  ซึ่งหากมาศึกษาถึงคำสอนจริงๆ แล้ว จะพบว่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้พระภิกษุมีความสมถะ  สันโดษทำอะไรให้เรียบง่ายนั้น พระองค์ทรงสอนในแง่ของการฝึกตน ในเรื่องของการเป็นผู้อยู่ง่ายเลี้ยงง่าย มีอาหารที่เขาตักบาตรมาอย่างไรก็ทำตนให้ง่ายต่อการขบฉัน อีกทั้งยังมีพุทธบัญญัติห้ามพระภิกษุสร้างกุฎิที่พักอาศัยใหญ่จนเกินควร

        แต่ในแง่ของการสร้างศาสนสถาน เพื่อให้คนมาฟังธรรมให้ได้มากที่สุด พระองค์กลับทรงชื่มชมอนุโมทนา เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการสร้างวัดใหญ่ๆ  ซึ่งนอกจากวัดพระเชตวันแล้ว ก็ยังมีอีกหลายวัดเช่นวัดปุพพาราม ที่นางวิสาขาสร้างถวายเป็นโลหปราสาท  ค่าก่อสร้างตั้งหลายหมื่นล้านเช่นกัน เพราะท่านหวังเพื่อให้เป็นประโยชน์ด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

        หากพระองค์ไม่ทรงทำอย่างนี้เมื่อ 2,548 ปีที่แล้ว ก็คงไม่มีพระพุทธศาสนาตกทอดมาจนถึงปัจจุบันไม่มีหลักฐานทางศาสนาใดหลงเหลือ ซึ่งผมคิดว่า หากจะพูดว่าวัดพระธรรมกายใหญ่โตแล้ว ผมว่าวัดนี้ยังคงเล็กมากด้วยซ้ำ เมื่อเทียบกับสมัยพุทธกาลเมื่อผมมองแล้วผมก็เพิ่งเข้าใจ

        ที่วัดสร้างเจดีย์ให้มีองค์พระ 1 ล้านองค์ ก็เพื่ออยากให้ทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของ เมื่อรู้สึกเป็นเจ้าของมีใจผูกพันอยู่กับพระพุทธเจ้าและคำสอนของพระองค์แล้ว ก็จะมาช่วยกันดูแลรักษา มาพร้อมเพรียงกันปฎิบัติธรรม  ซึ่งเมื่อเจดีย์สร้างเสร็จแล้ว ก็จะกลายเป็นเจดีย์ของชาวพุทธทั่วโลก ทุกคนจะเป็นเจ้าของร่วมกัน  เป็นสมบัติของแผ่นดินที่ต่างชาติจะต้องอัศจรรย์ใจ ซึ่งวัดเองก็ใช่ว่าจะเอาไปขายได้เมื่อไร หากขายจริงๆ ..ใครจะซื้อเจดีย์หรือ ?

          ทุกวันนี้หากถามว่าพุทธศาสนามีอะไรเป็นศูนย์รวมบ้าง อิสลามเขายังมีเมกกะ เขายังห้ามกินเหล้า ต้องละหมาดวันละ 5 ครั้ง คริสต์เขาก็มีวาติกัน ไปโบสถ์กันทุกวันอาทิตย์ ต้องมีหน้าที่แบ่งเงินเดือนของตัวเองมาบริหารงานศาสนาของเขา  ส่วนคนพุทธไม่มีกฎอะไรมาบังคับเลย มีอะไรที่น่าภาคภูมิใจในการนับถือศาสนาประจำชาติบ้างซึ่งคนพุทธสมัยนี้นอกจาก  ศีลยังไม่ถือแล้ว เขาจะขยายวัดขยายวา เขาจะทำบุญยังไปห้าม ยังไปโจมตีอีก

  ผมว่ามันแปลกๆ  เราคงต้องมาทบทวนอะไรกันบางอย่างนะครับ

          *กระผมขอกราบขอขมาต่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อ และคณะสงฆ์ ที่เคยคิดอกุศล พูดอกุศล ขอได้โปรดอดโทษ ให้เป็นอโหสิกรรมต่อกระผมด้วยเถิด





 

Create Date : 05 ตุลาคม 2555   
Last Update : 5 ตุลาคม 2555 12:18:26 น.   
Counter : 1509 Pageviews.  

128 ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หล่อรูปเหมือนทองคำองค์ใหม่

128 ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

128 ปี หลวงปู่วัดปากน้ำ หล่อรูปเหมือนทองคำองค์ใหม่
128 ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

128 ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)


  "วันนี้เป็นไงเป็นกัน หากเราไม่บรรลุธรรมที่พระบรมไตรโลกนาถได้ทรงบรรลุล่ะก็ เราจะถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา หากเราจะต้องตายไปในครั้งนี้ ก็จะได้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้ที่จะตามมาภายหลัง จะได้ยึดถือเป็นแบบปฏิบัติต่อไป ก็จะได้อานิสงส์อีกโสดหนึ่ง"

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)


พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ฉายา จนฺทสโร หมายถึง ผู้นำแสงสว่างมาสู่โลก ประดุจพระจันทร์ส่องสว่างยามราตรี เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ว่า พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนปฏิบัติ สมาธิ(Meditation)วัตรสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี  ศิษยานุศิษย์ได้กล่าวนามด้วยความเคารพว่า หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ

       เดิมชื่อ สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ฉศก จุลศักราช 1246 ในสมัยรัชการที่ 5 ณ ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน

ตั้งใจบวชตลอดชีวิต


      เมื่อบิดาได้ถึงแก่กรรม จึงรับภาระดูแลการค้าแทน วันหนึ่งนำเรือกลับจากการขายข้าวผ่าน คลองบางอีแท่น ซึ่งได้ชื่อว่ามีโจรผู้ร้ายชุกชุม ท่านนึกถึงความตายขึ้นมา และได้อธิษฐานจิตในขณะนั้นว่า "ขอเราอย่าได้ตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต"

       การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ 19 ปี จึงเร่งทำงานสะสมทรัพย์ เพื่อให้มารดาเอาไว้ใช้เลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

บวชแล้วรุ่งขึ้นลงมือปฏิบัติทันที


       เดือนกรกฎาคม 2449 ท่านได้อุปสมบท เวลานั้นอายุย่างเข้า 22 ปี ณ วัดสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีฉายาว่า จนฺทสโร พระอาจารย์ดี วัดประตูศาล อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

      เมื่ออุปสมบทแล้วพอรุ่งขึ้นอีกวัน ท่านก็เริ่มลงมือปฏิบัติพระกรรมฐานต่อกับพระอาจารย์เนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ในขณะเดียวกันได้เริ่มเรียนคันถธุระไปด้วย ท่านมีข้อสงสัยอยากรู้ความหมายคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา ซึ่งไม่มีใครทราบ เมื่อออกพรรษาจึงเดินทางมาที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อศึกษาด้านคันถธุระ

      เมื่อถึงวันพระขึ้น 8 ค่ำ และขึ้น 15 ค่ำ ท่านก็มักไปหาพระอาจารย์สอนฝ่ายปฏิบัติสมถะวิปัสสนาผู้ทรงคุณวุฒิในสำนักต่างๆ อาทิ ท่านเจ้าคุณสังวรานุวงษ์ (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ), ท่านพระครูญาณวิรัติ (โป๊) วัดพระเชตุพน, สำนักของพระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ รวมทั้งศึกษาจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ มีมูลกัจจายน์ ธรรมบททีปนี และสารสังคหะ เป็นต้น ต่อมาในพรรษาที่ 11 จึงได้กราบลาท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ เพื่อไปจำพรรษา ณ วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เพื่อหลีกเร้นปฏิบัติธรรม

เข้าถึงปฐมมรรค

กลางพรรษาที่ 12 ณ วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ท่านได้มีความคิดที่จะกระทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ตั้งแต่เช้าตรู่ เพราะหวนระลึกขึ้นว่า “ในเมื่อเราตั้งใจจริงๆ ในการบวช จำเดิมอายุ 19 เราได้ปฏิญาณตนบวชจนตาย ขออย่าให้ได้ตายในระหว่างทางก่อนบวช บัดนี้ของจริง (ธรรมะ) ที่พระพุทธเจ้าท่านรู้ ท่านเห็น เราก็ยังไม่ได้บรรลุ ยังไม่รู้ไม่เห็น สมควรแล้วที่จะต้องกระทำอย่างจริงจัง”

      เมื่อกลับจากบิณฑบาตเสร็จแล้วก็ได้เข้าเจริญภาวนาในอุโบสถ โดยตั้งใจว่า หากไม่ได้ยินเสียงกลองเพลจะไม่ยอมลุกจากที่ ขณะนั้นเวลาประมาณ 8 โมงเช้าเศษๆ ท่านเริ่มทำความเพียรทางใจหลับตาภาวนา “สัมมา อะระหัง” เรื่อยไป ในที่สุดจิตก็ค่อยๆ สงบลงทีละน้อยๆ แล้วรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์ (ดวงปฐมมรรค/ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ติดอยู่ที่ "ศูนย์กลางกาย" เป็นเหตุให้ใจชุ่มชื่นเบิกบานอย่างบอกไม่ถูก

       วันนั้นท่านมีความสุขทั้งวัน ดวงธรรมขั้นต้นซึ่งเป็นดวงใสสว่างก็ยังเห็นติดอยู่ที่ศูนย์กลางกายไม่ขาด ท่านได้รำพึงว่า “ความสว่างเช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนเลยในชีวิตของการบำเพ็ญธรรม เราไม่เคยเห็นความสว่างใดจะเทียบเท่าได้ ความสว่างแห่งดวงอาทิตย์ก็ยังห่างไกล เท่าที่เห็นอุปมาเหมือนแสงหิ่งห้อยกับโคมไฟ" ทำให้ท่านหวนระลึกถึงพระพุทธวจนะบทหนึ่งที่ว่า "นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ" แปลว่า สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี เมื่อใจหยุดก็เกิดความสงบ เมื่อสงบจิตย่อมเป็นสุข และได้ตั้งใจว่า

      "วันนี้เป็นไงเป็นกัน หากเราไม่บรรลุธรรมที่พระบรมไตรโลกนาถได้ทรงบรรลุล่ะก็ เราจะถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา หากเราจะต้องตายไปในครั้งนี้ ก็จะได้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้ที่จะตามมาภายหลัง จะได้ยึดถือเป็นแบบปฏิบัติต่อไป ก็จะได้อานิสงส์อีกโสดหนึ่ง"

เข้าถึงพระธรรมกายภายในตัว

เข้าถึงพระธรรมกายภายในตัว


      เย็นวันนั้น ภายหลังจากที่ท่านลงพระปาฏิโมกข์แล้ว ท่านจึงรีบทำภารกิจส่วนตัว จากนั้น จึงเข้าไปในพระอุโบสถแต่เพียงรูปเดียว เมื่อกราบพระประธานแล้ว จึงได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า

     “ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้า ทรงประทานธรรมที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้อย่างน้อยที่สุดแลง่ายที่สุด ที่พระองค์ได้ทรงบรรลุแล้วแด่ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมของพระองค์แล้ว จักเกิดโทษแก่พระศาสนาของพระองค์ ขอพระองค์อย่าได้ทรงพระราชทานเลย ถ้าจะเป็นคุณแก่พระศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานแด่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะขอรับเป็นทนายในพระศาสนาของพระองค์ไปจนตลอดชีวิต”

       เมื่อได้ตั้งสัตยาธิษฐานแล้วท่านก็เริ่มนั่งหลับตาเจริญกัมมัฏฐานต่อไป ประมาณครึ่งหรือค่อนคืน ก็เห็นผังของจริงของพระพุทธเจ้า (ธรรมกายโคตรภู) ในระหว่าง มัชฌิมยามกับปัจฉิมยามติดต่อกัน ท่านได้รำพึงขึ้นในใจว่า

      "คมฺภีร์ โรจายํ ธรรมเป็นของลึกซึ้งถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัย ของความตรึก นึก คิด ถ้ายังตรึก นึก คิด อยู่ก็เข้าไม่ถึง ที่จะเข้าให้ถึงต้องทำให้รู้ตรึก รู้นึก รู้คิด นั้นหยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด นี้เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้ก็ไม่มี ไม่เป็นเด็ดขาด"

     รำพึงอย่างนี้สักครู่ใหญ่ เกรงว่าความมีความเป็นนั้นจะเลือนไปเสียจึงเข้าที่ ดำรงสมาธิมั่น ต่อไปตลอดปัจฉิมยาม ในขณะดำรงสมาธิมั่น อยู่อย่างนั้น เห็นวัดบางปลา ปรากฏขึ้นในนิมิต จึงเกิดญาณทัสสนะขึ้นอยู่ว่า ธรรมที่รู้ว่าได้ยากนั้น ในวัดบางปลานี้จะต้องมีผู้รู้เห็นได้อย่าง แน่นอน ออกพรรษาแล้วได้ไปสอนที่วัดบางปลาราว 4 เดือน มีพระทำเป็น (ได้เข้าถึงธรรมกาย) 3 รูป คือ พระสังวาลย์ พระแบน และพระอ่วม กับคฤหัสถ์ 4 คน นับแต่นั้นมาหลวงพ่อฯ ก็เป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่คนเคารพรู้จักและยกย่องบูชากันทั่วไป


สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 นิพนธ์ “ธรรมกายนั้นให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติ”

     คำว่า "ธรรมกาย" นี้ มีพระบาลีรับรองมากมาย ปรากฏเช่นใน อัคคัญญสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก ว่า

      “ตถาคตสฺส วาเสฏฺฐ เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ … ดูกร! วาเสฏฐะ ธรรมกายนี้เป็นชื่อของพระตถาคต”

      “ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ …. ดูกร! วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่าธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ว่าธรรมภูตก็ดี ว่าพรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของพระตถาคต”

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงพระนิพนธ์ประวัติของหลวงปู่วัดปากน้ำและคำว่า “ธรรมกาย” ไว้ ยกมาพอสังเขป ดังนี้

            “หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทษเช่นนี้ (โลภ โกรธ หลง) มีปฏิปทาเดินสายกลาง ไม่ห่วงในลาภสักการะเพื่อตน แต่ขวนขวายเพื่อส่วนรวม กิจการนิมนต์ทางไกลถึงกับค้างคืนแล้วท่านรับนิมนต์น้อยนัก โดยท่านเคยแจ้งว่าเสียเวลาอบรมผู้ปฏิบัติ ท่านมีความมุ่งหมายใช้ความเพียรติดต่อกันทุกวัน ชีวิตไม่พอแก่การปฏิบัติ ... การปฏิบัติของคณะกัมมัฏฐานวัดปากน้ำ ย่อมเป็นไปตามระเบียบที่หลวงพ่อได้วางไว้ ...ธรรมกายของวัดปากน้ำแพร่ปรากฏไปแทบทุกจังหวัด ยิ่งกว่านั้นยังไปแสดงธรรมานุภาพยังภาคพื้นยุโรปด้วย     …ธรรมกายนั้นให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติเป็นมหัศจรรย์ จะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ภิกษุหรือสามเณร เมื่อได้ปฏิบัติถึงขั้นก็ได้ธรรมกายเหมือนกัน หลวงพ่อชอบพูดแก่ใคร ๆ ว่า เด็กคนนั้นได้ธรรมกายและชอบยกเด็ก ๆ ขึ้นอ้าง ลักษณะนี้เป็นอุบายวิธีให้ผู้ใหญ่สนใจด้วย ... อาจเกิดอุตสาหะในการปฏิบัติธรรม...”

หล่อรูปเหมือนทองคำพระมงคลเทพมุนี


128 ปี หลวงปู่วัดปากน้ำ หล่อรูปเหมือนทองคำองค์ใหม่

      ในวาระ 128 ปี หลวงปู่วัดปากน้ำ นับเป็นโอกาสบุญพิเศษสำหรับชาวพุทธทั่วโลก เนื่องจากในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2555 วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี ได้จัดงานวันคุ้มครองโลก  โดยภาคเช้า พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) นำสาธุชนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและเจริญสมาธิภาวนา จากนั้นเป็นพิธีมอบมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครู 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพิธีถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน

     ภาคบ่าย เป็นพิธีเจริญพระพุทธมนต์และพิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 20,000 กว่าวัดทั่วประเทศ รวมถึงพุทธบุตร 286 วัด ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กว่า 100,000 รูป  และในภาคค่ำ 18.00 น. ประกอบพิธีหล่อรูปเหมือนทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ณ ลานธรรม มหาธรรมกายเจดีย์

      จึงขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนและผู้มีบุญทั่วโลก ร่วมงานบุญใหญ่ในวันคุ้มครองโลก 22 เมษายน ณ วัดพระธรรมกาย ระหว่างเวลา 09.30 - 19.00 น.   สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 02-831-1000, 02-831-1234 หรือ //www.dhammakaya.net, //www.dmc.tv 



พระสนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส
วัดพระธรรมกาย

บทความที่เกี่ยวข้องกับ 128 ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

ตามรอยมหาปูชนียาจารย์ ตอนที่2 วัดโบสถ์บนสถานที่บรรลุธรรม
ตามรอยมหาปูชนียาจารย์ ตอนที่ 1 วัดสองพี่น้องสถานที่เกิดในเพศสมณะ
10 ตุลาคม วันคล้ายวันเกิด 127 ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร
อานุภาพพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
หนังสือที่เกี่ยวข้อง กับพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2555   
Last Update : 4 ตุลาคม 2555 11:48:12 น.   
Counter : 1948 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  

เจ้าหญิงใจดี
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add เจ้าหญิงใจดี's blog to your web]