เซียงเหมี่ยง หัวหน้าเด็กน้อย

หลากหลายเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารอีสาน



ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันตะออกเฉียงเหนือ มีสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างแห้งแล้ง สมัยก่อนค่อนข้างจะข้าวยากหมากแพง จนมีตำนานทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่ของภาคอีสาน

คำเรียก มื้ออาหารในภาษาอีสาน

อาหารพื้นบ้านของชาวอีสานนั้นหลักๆเลยเราจะนึกถึงข้าวเหนียวเป็นอันดับแรก อาหารอีสานมื้อเช้าเรียก "ข้าวงาย" มื้อเที่ยงเรียก "ข้าวสวย" หรือ "ข้าวเพล" ส่วนอาหารมื้อเย็น ภาษาอีสานเรียก "ข้าวแลง

รสชาติและเครื่องเทศ อาหารอีสาน
รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารอีสานคือ เผ็ด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่ถึงกับเปรี้ยวมาก และที่สำคัญอาหารอีสานจะไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ (น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง รวมทั้งน้ำตาลปี๊บ) แต่จะเห็นมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบบ้างตามวัฒนธรรมการกินในปัจจุบัน เครื่องเทศที่นำมาเป็นส่วนประกอบก็จะมีน้อยอย่าง หลักๆที่เป็นส่วนผสมของอาหารอีสานคือ ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า ผักชีลาว ผักไผ่ ผักอีตู่(แมงลัก) เป็นต้น เพราะด้วยที่เป็นพื้นที่แห้งแล้งมาก่อน จึงมีเครื่องเทศที่ไม่หลากหลายเหมือนอาหารจากภาคอื่นๆ

ลักษณะของอาหารอีสาน
อาหารอีสานที่ประกอบขึ้นส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารแห้งๆ เช่น ปิ้ง ย่าง อ่อม (เมนูที่ปรุงสุกโดยมีน้ำแบบขลุกขลิก) มีส่วนประกอบของน้ำมัน หรือไขมันน้อยมาก ถ้าลองสังเกตอาหารอีสานจะไม่มีส่วนประกอบของน้ำมันพืช น้ำมันหมู รวมทั้งกระทิ และนิยมเก็บผักต่างๆที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมาเป็นเครื่องเคียง เช่น ผักติ้ว ผักกระโดน ผักกระแยง และผักตามชายป่าอื่นๆ ที่มีหลากหลายชนิดมาก

ส้มตำ อาหารอีสาน




Create Date : 20 พฤษภาคม 2559
Last Update : 20 พฤษภาคม 2559 14:47:42 น. 0 comments
Counter : 1069 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ต้นแพร
Location :
นครราชสีมา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ต้นแพร's blog to your web]