Update ทุกความเคลื่อนไหว ไปกับ SmartPower
Group Blog
 
All Blogs
 

กทช. ปัด ไอซีที บีบเปิด 3 จี ยืนยัน เห็นตรงกันต้องทำให้เร็ว

นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการ หรือ บอร์ด กทช. ครั้งที่ 18/2551 ว่า ที่ประชุมรับทราบผลการศึกษาของคณะผู้เชี่ยวชาญที่ได้ว่าจ้างทำการ ศึกษาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาต 3 จี ในประเด็นต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ แต่ให้นำกลับไปแก้ไขใหม่โดยใช้ถ้อยคำให้เข้าใจง่ายขึ้นและไม่เน้นศัพท์ เทคนิคจนเกินไป โดยให้นำมาเสนอที่ประชุมอีกครั้งในสัปดาห์หน้า

เลขาธิการ กทช. กล่าวต่อว่า ผลการศึกษาที่คณะผู้เชี่ยวชาญจัดทำครอบคลุมทุกเรื่อง เช่น กระบวนการได้ใบอนุญาต จำนวนใบอนุญาตที่เหมาะสม คุณสมบัติผู้ขอ รวมทั้งขั้นตอนและเงื่อนไขใบอนุญาต แต่จะไม่สรุปว่า ผลการศึกษารูปแบบไหน หรือ วิธีการใด ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม คาดว่า ประมาณต้นเดือนหน้าจะนำผลการศึกษาทั้งหมดขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์สำนักงาน กทช. ได้ และเปิดประชาพิจารณ์การออกหลักเกณฑ์ครั้งแรกประมาณปลายเดือน มิ.ย. 2551

นายสุรนันท์ กล่าวอีกว่า ประมาณเดือน ก.ค. 2551 สำนักงาน กทช. น่าจะนำข้อคิดเห็นทั้งหลายจากการเปิดประชาพิจารณ์มาสรุปผลและนำเสนอให้ที่ ประชุมบอร์ด กทช. พิจารณา โดยเดือน ก.ค. 2551 มีกำหนดการประชุมทั้งหมด 4 ครั้ง ก่อนประกาศออกมาเป็นหลักเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม การจัดทำหลักเกณฑ์ ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะมีแบบฟอร์มอยู่แล้ว แต่ในส่วนที่เป็นปัญหาและยุ่งยากมากที่สุด คือ ประเด็นปัญหาต่างๆ ที่จะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็น

เลขาธิการ กทช. กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้ โดยภาพรวมแล้วสามารถดำเนินการได้เร็วกว่ากำหนดที่เดิมคาดว่า จะสามารถเปิดประชาพิจารณ์ครั้งแรกได้ประมาณต้นเดือน ส.ค. 2551 โดยเรื่องระยะเวลาตรงนี้ เป็นส่วนที่สำนักงาน กทช. กำหนดขึ้นมาเองเพื่อเป็นกรอบในการทำงานไม่ใช่กำหนดการออกใบอนุญาต อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เร่งรัดมา แต่เป็นสิ่งที่มีความคิดเห็นตรงกันที่จะต้องดำเนินการให้รวดเร็ว


ข่าว : ไทยรัฐ




 

Create Date : 30 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 30 พฤษภาคม 2551 10:17:16 น.
Counter : 336 Pageviews.  

ไอซีที คาด 3 จี เกิดแน่ แต่ กทช.ค้าน ยังไม่มีความพร้อม

นายมั่น พันธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวในงาน ก้าวใหม่และก้าวใหญ่โทรคมนาคมไทย ว่า เป็นการจัดขึ้น เพื่อเชิญบุคคลสำคัญในสังคมธุรกิจโทรคมนาคม มาพูดและให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้ซักถามนักธุรกิจ ภาครัฐ นักกฎหมายและผู้ลงทุนร่วม เนื่องจากธุรกิจโทรคมนาคมเป็นสิ่งสำคัญในการผลักดันภาคธุรกิจให้ก้าวหน้า และการพัฒนาเทคโนโลยี มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึง ขณะนี้ โดยเฉพาะในส่วนของเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่เป็นตัวผลักดันในด้านเศรษฐกิจ การเมือง

รมต.ไอซีที กล่าวต่อว่า หากประเทศไทยไม่มีการพัฒนา จะไม่สามารถสู้ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศเวียดนามที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศไทยพัฒนาล่าช้าลง เนื่องจากเวียดนามเปิดรับผู้มีความรู้ความสามารถจากนานาประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาธุรกิจโทรคมนาคมภายในประเทศ ส่วนเป้าหมายการพัฒนาการลงทุนระบบโทรคมนาคมของไทย ส่วนตัวมองว่ามาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นประเทศที่สำคัญในการกำหนดนโยบาย โครงสร้าง และแก้ไขอุปสรรค์ต่างๆที่เกิดขึ้นภายในประเทศ เนื่องจากประเทศดังกล่าวมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว

นายมั่น กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาประเทศล่าช้า เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมือง สำหรับระบบ 3จี ที่จะเข้ามาในประเทศไทยทางภาครัฐต้องการให้ระบบ 3จี มีการพัฒนาพร้อมกันในทุกหน่วยงาน ในขณะนี้ ประเทศไทยมีคลื่นความถี่รองรับอยู่แล้ว ทั้งนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือของเอกชนและผู้ใช้บริการจึงจะทำให้ 3จี เกิดขึ้นในเมืองไทย

ด้าน นายเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.กล่าวว่า เหตุผลที่ทำให้ ระบบ 3จี ดำเนินการล่าช้า เนื่องมาจากรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 40 ได้กำหนดไว้ว่าคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่ชาติ หรือ กทช. ต้องทำหน้าที่ร่วมกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่ชาติ หรือ กสช. ที่เป็นองค์กรอิสระมีคณะกรรมการร่วมกัน ในการกำหนดนโยบาย โดยส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิทยุโทรทัศน์ กสช.จะเป็นผู้ทำหน้าที่ดูแล

กรรมการ กทช. กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ ยังไม่สามารถจัดตั้ง กสช.ได้ จึงทำให้เกิดความล่าช้า ในการออกกฎระเบียบ สำหรับงานในส่วนความรับผิดชอบของกทช.นั้นมีการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่ในส่วนของกสช.และกทช.ที่ต้องดำเนินการร่วมกัน ประกอบกับความเป็นหน่วยงานราชการที่ต้องขึ้นอยู่กับกฎระเบียบทางราชการที่ จะต้องดำเนินการเป็นระบบ ทำให้เกิดความล่าช้าไม่มีความรวดเร็วแบบภาคเอกชน


ข่าว : ไทยรัฐ




 

Create Date : 30 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 30 พฤษภาคม 2551 10:14:13 น.
Counter : 320 Pageviews.  

ทีโอทีจ่ายค่าธรรมเนียมเลขพิเศษ

ทีโอทีจ่าย 89 ล้านบาทค่าธรรมเนียมหมายเลขพิเศษจาก 300 ล. ที่เหลือเอกชนรับไป ใครใช้ใครจ่ายตัวใครตัวมัน

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : นายระเฑียร ศรีมงคล โฆษกกรรมการ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อ 16 พ.ค.ที่ผ่านมามีมติร่วมกันเจรจากับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ชำระค่าธรรมเนียมเลขหมายพิเศษ 3 หลัก 1 ล้านบาทต่อเดือนต่อเลขหมาย และเลขหมาย 4 หลัก 1 แสนบาทต่อเดือนต่อเลขหมาย ซึ่งค้างชำระมาตั้งแต่ปี 2548

ทั้งนี้ ทีโอทีจะชำระเฉพาะที่ทีโอทีใช้งานเท่านั้นเป็นเงิน 89 ล้านบาท จากทั้งหมดกว่า 300 ล้านบาท ขณะเลขหมายที่เอกชนอื่นๆ ใช้งาน เช่น บริการสั่งอาหารทางโทรศัพท์ ทีโอที ได้ขอความร่วมมือให้ กทช. ดำเนินการเรียกเก็บโดยตรงจากผู้ใช้บริการเอง

ส่วนเลขหมายปกติ ทีโอทีกำลังทยอยชำระค่าเลขหมายไปเรื่อยๆ จนครบ แต่ได้สงวนสิทธิ์จะขอคืน หากศาลปกครองตัดสินว่า ทีโอทีไม่จำเป็นต้องชำระค่าธรรมเนียมเลขหมาย เพราะเป็นเลขหมายที่ใช้งานมาก่อนตั้ง กทช. ขึ้น

อีกทั้ง บอร์ดได้แต่งตั้ง พล.ท.วิทวัส รชตะนันทน์ กรรมการทีโอที และนางอัญชลาภรณ์ ศิริวรรณ์ ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นกรรมการ ในคณะกรรมการสรรหา กรรมการผู้จัดการใหญ่แทนตำแหน่งที่ว่างลง ซึ่งคณะกรรมการสรรหาสามารถเริ่มกระบวนการได้ทันที

นอกจากนี้ บอร์ดได้สั่งการให้ฝ่ายบริหารปรับปรุงแผนฟื้นฟูธุรกิจสัปดาห์หน้าและนำเสนอบอร์ดวันศุกร์ (23 พ.ค.) เพื่อพิจารณาต่อไป

ส่วนข้อพิพาทคดีความต่างๆ ทีโอทีกำลังรวบรวมและจัดกลุ่ม เพื่อเปิดการเจรจา ซึ่งบอร์ดมีเป้าหมายชัดเจนที่จะให้ทุกข้อพิพาทจบด้วยการเจรจาเท่าที่จะทำได้ ซึ่งข้อพิพาทส่วนใหญ่ระหว่างทีโอทีกับบริษัทเอกชนร่วมการงาน สามารถหาทางออกได้ง่าย

ข่าว : กรุงเทพธุรกิจ




 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2551 11:14:03 น.
Counter : 382 Pageviews.  

ทีโอทียอมจ่าย2.4พันล้านซื้อไทยโมบาย ผ่อนจ่ายต้องจบใน 10 วัน












นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที



ทีโอทียอมจ่าย 2,400 ล้านซื้อไทยโมบาย ด้วยเงื่อนไขผ่อนจ่าย12 ปี
ปีละ 200 ล้านบาท ขณะที่ กสท ให้ผ่อนแค่ 5 ปี “มั่น”
ให้นโยบายถกรายละเอียดเรื่องระยะเวลาผ่อนจ่ายให้จบภายใน 10 วัน
ประธานบอร์ดทีโอทีคาดอีก 6 เดือนให้บริการได้ในบางพื้นที่ร่วมกับพันธมิตร


นายมั่น พัธโนทัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที
เปิดเผยว่า
การประชุมซูเปอร์บอร์ดเพื่อหาข้อสรุปเรื่องกิจการร่วมค้าไทยโมบาย
เมื่อวานนี้ ( 26 พ.ค. 51) บริษัท ทีโอที ซึ่งมีนายธรีวุฒิ บุณยโสภณ
ประธานบอร์ด ทีโอที เข้าร่วมประชุม ได้ยอมรับซื้อหุ้นไทยโมบาย ในสัดส่วน
42 % และสิทธิในการบริการความถี่ 1900 MHz พร้อมหนี้จำนวน 7,000
ล้านบาทจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม ในราคา 2,400 ล้านบาทตามที่กสท
เสนอมาตั้งแต่ต้น


ทั้งนี้ ทีโอที ได้ขอผ่อนชำระเป็นระยะเวลา 12 ปี ปีละ 200 ล้านบาท
แต่ กสท มีความเห็นว่า ทีโอทีควรจะผ่อนจ่ายเป็นระยะเวลาเพียง 5 ปี
เนื่องจากระยะเวลาที่ทีโอทีร้องขอเป็นระยะเวลานานเกินไป นอกจากนี้
ยังมีประเด็นเรื่องการโอนคลื่นที่จะต้องหารือร่วมกับ
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทช .
ว่าจะยินยอมหรือไม่แต่เบื้องต้นคาดว่า
กทช.จะให้ความร่วมมือเรื่องนี้เป็นอย่างดี


“รายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาการผ่อนชำระที่เหมาะสม
หรือการโอนคลื่นความถี่
ผมได้ให้นโยบายไว้แล้วว่าจะต้องเร่งดำเนินการให้ได้ข้อสรุปภายใน 10
วันหลังจากนี้ ทั้ง กสท และทีโอที จะนำเรื่องนี้เข้าขอความเห็นชอบจากทั้ง
2 บอร์ดก่อน”


นายธรีวุฒิ บุณยโสภณ ประธานบอร์ด ทีโอที กล่าวว่า
จะนำเรื่องมติที่ประชุมซุปเปอร์บอร์ดเรื่องข้อสรุปไทยโมบายเข้าที่ประชุม
บอร์ดในวันศุกร์ที่ 30 พ.ค. นี้
และมั่นใจว่าจะได้ความเห็นชอบจากบอร์ดเนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ
ที่เป็นผลดีกับทีโอที และประเทศ


“ตอนนี้ทีโอทีอยู่ในสภาวะหลังชนฝา เพราะราคาขายที่ 2,400
ล้านบาทที่กสท
เสนอมานั้นเราต่อรองไปแล้วแต่เค้ายืนยันไม่ลดให้แม้แต่บาทเดียว
โดยให้เหตุผลว่าเป็นมติบอร์ด ซึ่งเดิมทีโอทีต่อรองที่ราคา 1,900 ล้านบาท
ดังนั้นก็ควรจะอนุเคราะห์ให้เราผ่อนจ่าย 12 ปี
เพราะเงินก้อนนี้ไม่ได้ตกเป็นของใครจะเข้าคลังเป็นเงินบริหารประเทศทั้งหมด
และผมเชื่อว่า ประธาน กสท
ซึ่งเคยเป็นประธานทีโอทีและมีมติเดิมต้องการซื้อไทยโมบายจะไม่เปลี่ยนใจไม่
ขายหุ้นให้ทีโอที”


อย่างไรก็ดี คาดว่าหากการซื้อขายหุ้นไทยโมบายแล้วเสร็จ หลังจากนั้น 6
เดือนทีโอทีจะสามารถเปิดให้บริการ 3 จีได้ในบ้างพื้นที่
โดยหลักการทีโอทีจะไม่ดำเนินการให้บริการไทยโมบายเองทั้งหมดเนื่องจากจะ
ต้องเพิ่มกำลังคน ซึ่งทีโอทีมีนโยบายลดกำลังคนเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย
ดังนั้นทีโอทีจะร่วมดำเนินงาน 3
จีกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญและเข้มแข็ง ไม่เอาเปรียบทีโอที
และมีศักยภาพช่วยทีโอทีหาลูกค้าเข้าในระบบได้เป็นอย่างดี
และอาจจะมีพันธมิตรมากกว่า 1 รายในการให้บริการ


นายวรุธ วสุกร รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า
การตกลงซื้อหุ้นไทยโมบายครั้งนี้ไม่รวมมูลหนี้ก่อนปี 2547
โดยจะคิดเฉพาะหนี้ที่เกิดหลังปี 2547 รวมแล้วประมาณ 7,000 ล้านบาท
ซึ่งเป็นมูลค่าหนี้ที่ไทยโมบายติดค้าง ทีโอที กสท และพาร์ตเนอร์รายอื่นๆ


ข่าว : CyberBiz
_________________







 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2551 19:52:06 น.
Counter : 272 Pageviews.  

ลุ้นบอร์ดไฟเขียว"กสท"ผนึกฮัทชิสัน ลุยมือถือCDMAทั่วปท.หลังกฤษฎีกาเปิดทางโอนหุ้น







ลุ้นตัวโก่งวัดใจบอร์ดใหม่กสทฯ ไฟเขียวผนึกยักษ์ "ฮัทชิสันฯ" เดินหน้า
"ซีดีเอ็มเอ" ทั่วประเทศ หลังกฤษฎีกาตีความ "เอ็มโอยู"
ปรับปรุงรูปแบบธุรกิจไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯเปิดทาง
"โอนหุ้น-เปลี่ยนสถานะ" "ฮัทช์" เป็น "MVNO" รุกตลาดทั่วประเทศ
เชื่อหลังเจรจาสัดส่วนหุ้น และตกลงอัพเกรดโครงข่าย 25 จังหวัดเสร็จ
พร้อมชง ครม.เดินหน้าฉลุย ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ "ฮัทช์-แคทซีดีเอ็มเอ"
โกยลูกค้าแตะ 1 ล้านราย ปี 2555 ถึง 6 ล้านราย




แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ"
ว่า
ผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการปรับปรุงรูปแบบธุรกิจสำหรับ
บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซีดีเอ็มเอ ระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม
กับกลุ่มบริษัทฮัทชิสัน ฮ่องกง บริษัทแม่ของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที
ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด (ฮัทช์) ออกมาเรียบร้อยแล้วสรุปว่า
การเซ็นบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการเจรจาธุรกิจร่วมกันของทั้งคู่เมื่อ 31
ต.ค.2550 ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของ
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535


ทั้งนี้ ตามข้อตกลงดังกล่าว กสทฯต้องการให้บริษัทฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส
มัลติมีเดีย เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางการตลาดบริการซีดีเอ็มเอ
โดยไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง (Mobile Virtual Network Operator : MVNO)
แต่เช่าใช้โครงข่ายจาก กสทฯ ซึ่งเป็นเจ้าของโครงข่ายซีดีเอ็มเอ 76 จังหวัด
ให้บริการทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อทางการค้าเพียงชื่อเดียว ไม่ถือว่า
กสทฯเข้าร่วมการงานกับฮัทชิสันฯ แต่มีลักษณะเป็นการขายส่งบริการ
ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)


อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า
เนื่องจากเป็นการปรับปรุงรูปแบบธุรกิจภายใต้สัญญาทำการตลาดบริการซีดี
เอ็มเอเดิม ซึ่ง กสทฯยอมรับว่าอยู่ภายใต้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ
แต่ยังไม่เคยปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวจึงควรเสนอโครงการดังกล่าวให้คณะ
รัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาตามขั้นตอน พ.ร.บ.


โดยให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นตามมาตรา 13 เพื่อพิจารณาเงื่อนไขสำคัญในสัญญา
แต่ไม่ต้องประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมงาน เพราะมีคู่สัญญาเดิมอยู่แล้ว
จากนั้นจึงส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อนเสนอรัฐมนตรีว่า
การกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ส่งให้
ครม.พิจารณาต่อไป


สำหรับรูปแบบธุรกิจที่ กสทฯต้องการปรับปรุง
และทำบันทึกความเข้าใจกับกลุ่มบริษัทฮัทชิสัน ฮ่องกง บริษัทแม่ของฮัทชิสัน
ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้งส์ นั้น จะให้บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย)
จำกัด บริษัทร่วมลงทุนระหว่าง กสทฯกับบริษัท
ฮัทชิสันฯเพื่อให้ดำเนินการจัดหา
และติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายเพิ่มเติมสำหรับให้บริการใน 25 จังหวัดภาคกลาง
โอน โครงข่ายในพื้นที่ดังกล่าวให้ กสทฯ


โดยบีเอฟเคทีต้องชำระหนี้ และปลดภาระผูกพันทั้งหมดให้เสร็จก่อน เพื่อให้
กสทฯเป็นเจ้าของโครงข่าย
และบริหารจัดการโครงข่ายเพื่อให้บริการซีดีเอ็มเอได้ทั้ง 76 จังหวัด
รวมถึงเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส
มัลติมีเดีย จำกัด หลังจากฮัทชิสันฯชำระหนี้
และล้างผลขาดทุนสะสมทั้งหมดแล้วก่อนเช่าใช้โครงข่ายจาก กสทฯ
เพื่อให้บริการทั่วประเทศ และ
กสทฯจะมีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาโครงข่ายเท่านั้น


ด้านนายพิศาล จอโภชาอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม
ยอมรับกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้รับผลการตีความจากกฤษฎีกาแล้ว ซึ่ง
กสทฯจะต้องรายงานผลการตีความดังกล่าวให้บอร์ด กสทฯรับทราบต่อไป
ซึ่งตนเชื่อว่าบอร์ดพร้อมที่จะสนับสนุนให้โครงการนี้เดินหน้าต่อไปได้
โดยก่อนหน้านี้บอร์ดเคยสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการนี้มาแล้วครั้ง
หนึ่ง และได้ให้ไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมมารายงานด้วย


แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม แสดงความเห็นว่า
บอร์ดชุดใหม่ยังไม่เห็นแผนการปรับปรุงบริการ ซีดีเอ็มเอ
ซึ่งเป็นแผนตามมติของบอร์ดชุดเดิม
ดังนั้นจึงไม่รู้ว่าจะเห็นด้วยกับแผนดังกล่าวหรือไม่
ซึ่งหากไม่เห็นด้วยก็ต้องมีการปรับปรุงแผนกันใหม่อีกครั้ง ขณะเดียวกัน
บอร์ดใหม่ยังได้มอบหมายให้ น.ส.ดวงพร เติมวัฒนะ (อดีตซีเอฟโอ กสทฯ)
ในฐานะที่ปรึกษาการเงินของบอร์ด
เข้ามาดูรายละเอียดของแผนปรับปรุงรูปแบบการให้บริการดังกล่าวด้วย
จึงยิ่งไม่แน่ใจว่าบอร์ดชุดใหม่จะเห็นด้วยกับการปรับปรุงหรือไม่


"คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะกว่าจะได้ข้อสรุปว่าซีดีเอ็มเอจะเดินหน้าต่อไปยัง
ไง แม้การปรับปรุงแผนธุรกิจในครั้งนี้ กสทฯจะไม่ต้องลงเงินเพิ่มแต่อย่างใด
แต่จะลดค่าใช้จ่ายในหมวดค่าตอบแทนการทำตลาดที่ต้องจ่ายให้ฮัทชิสัน ซีเอทีฯ
ลงจากที่ประมาณการปีนี้ไว้ที่ 3,900 ล้านบาท
ค่าจ้างบริหารระบบโครงข่ายซีดีเอ็มอีก 3,500 ล้านบาท"


นอกจากนี้
ยังต้องเจรจากับฮัทชิสันฯในรายละเอียดเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้นระหว่าง
กสทฯกับฮัทชิสันฯด้วยว่า ยังเป็น 49 กับ 51 หรือไม่
หลังได้ข้อสรุปว่าจะไม่มีสถาบันการเงินเข้ามาถือหุ้นแล้ว
รวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับการโอนโครงข่ายซีดีเอ็มเอให้ กสทฯว่า
ฮัทชิสันฯต้องปรับปรุงโครงข่ายใน 25 จังหวัดให้เป็นซีดีเอ็มเอ 2000-1x
EVDO ทั้งหมดก่อนโอนให้ กสทฯด้วย


ซึ่งประเด็นดังกล่าวยังตกลงกันไม่ได้ โดย
กสทฯมองว่าควรต้องปรับปรุงให้เสร็จก่อนรับโอน แต่ฮัทชิสันฯมองว่า
เมื่อจะโอนให้อยู่แล้ว กสทฯควรเป็นผู้ลงทุนปรับปรุงโครงข่ายดังกล่าวเอง


"ทั้งหมดนี้ต้องคุยรายละเอียดกับฮัทชิสันฯอีกครั้ง
เพื่อให้ฮัทช์เสนอให้บอร์ดบริษัทของตนพิจารณาอีกครั้ง
หากตกลงกันได้ก็จะนำเสนอให้บอร์ด กสทฯพิจารณา และเสนอให้รัฐมนตรีไอซีที
และ ครม. พิจารณาเห็นชอบเพื่อเดินหน้าโครงการต่อ ในระหว่างนี้
กสทฯจึงต้องเดินหน้าให้บริการซีดีเอ็มเอส่วนภูมิภาค ภายใต้ชื่อ CAT CDMA
ต่อไปก่อน"


แหล่งข่าวคนเดิมกล่าวต่อว่า ต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์
เซอร์วิส หรือเอไอเอส ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนไปยัง กทช.ว่า บริษัท
ฮัทชิสัน ซีเอทีฯ ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่มีใบอนุญาต
ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่ผลการตีความของกฤษฎีกาออกมาพอดี
จึงเชื่อว่าเอไอเอสอาจกำลังพยายามใช้ประโยชน์จากการตีความที่ว่า
สัญญาระหว่างฮัทช์กับ กสทฯ ยังไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย
และยังไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมงานฯ
จึงอ้างว่าฮัทช์ไม่มีตัวตน ไม่มีอำนาจกล่าวหา และฟ้องเอไอเอสว่า
ปิดกั้นสัญญาณ


อย่างไรก็ตาม กสทฯมั่นใจว่าการตีความจะไม่บานปลาย เพราะถึงอย่างไร
กสทฯก็มีใบอนุญาตให้บริการ
และใบแจ้งหนี้หรือใบเสร็จที่ฮัทช์ออกให้ลูกค้าก็ระบุชื่อ กสทฯด้วยทุกครั้ง
เท่ากับ กสทฯเป็นผู้จ้างให้ฮัทช์บริการลูกค้าแทน


สำหรับรายได้จากค่าบริการวิทยุคมนาคม และโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2550
ก่อนคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินรับรอง
กสทฯมีรายได้จากการให้บริการซีดีเอ็มเอภายใต้แบรนด์ "ฮัทช์" จำนวน
1,899.18 ล้านบาท และแบรนด์ "CAT CDMA" 143.35 ล้านบาท ขณะที่แผนการลงทุน
ปี 2552 ของ กสทฯระบุว่า
จะมีแผนให้บริการซีดีเอ็มเอภายใต้แบรนด์เดียวทั่วประเทศ


โดยเริ่มดำเนินการในปี 2551 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2552
และตั้งเป้าหมายรายได้ซีดีเอ็มเอส่วนกลาง ปี 2551 ไว้ที่ 5,989.03 ล้านบาท
จากลูกค้า 946,749 ราย มีรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายเดือนละ 430 บาท
ส่วนเป้าหมายในส่วนภูมิภาค ปี 2551 มีรายได้ 595 ล้านบาท จากผู้ใช้
180,000 ราย รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย 430 บาทต่อเดือน และในปี 2555
ตั้งเป้าเพิ่มรายได้เป็น 3,094 ล้านบาท มีฐานลูกค้า 6 ล้านเลขหมาย
รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย 500 บาท รวมถึงมีแผนลงทุนโครงข่ายระหว่างปี
2552-2553 ใช้งบฯทั้งสิ้น 3,250 ล้านบาท



ข่าว : ประชาชาติธุรกิจ







 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2551 19:39:18 น.
Counter : 305 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

mrtech
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




อ่าน blog ไหนแล้วถูกใจ ขอทิปสักหน่อย ให้เด็กน้อยตาดำๆ ด้วยนะคร้าบบบ ^_^
Friends' blogs
[Add mrtech's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.