Group Blog
 
All Blogs
 
ช่องสัญญาณโทรศัพท์ 100 ช่องสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้กี่คน (จากกระทู้ห้องมาบุญครอง)

*** ตัดมาแปะเก็บไว้ จากกระทู้ที่เคยเขียนไว้ในห้องมาบุญครองครับ กลัวมันหาย ขึ้เกียจเขียนใหม่ ***

ช่องสัญญาณโทรศัพท์ 100 ช่องสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้กี่คน

คืนนี้เผอิญผมมีเวลาว่างๆ เลยเข้ามาเขียนอะไรเล่นๆซักหน่อยครับ

เรื่องที่จะเขียนก็หยิบเอามาจากคำถามง่ายๆแต่เป็นปัญหาโลกแตกครับ

คุณว่า ช่องสัญญาณโทรศัพท์ 1 ช่องนี่ มันจะรองรับผู้ใช้บริการได้กี่คน?

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 19:45:51 ]

ความคิดเห็นที่ 1

บ๊ะ...ถามโง่ๆ มีช่องเดียวก็รับได้คนเดียวสิ

...แม่นแล้ว มีช่องเดียวก็รับได้คนเดียว หรือถ้าจะให้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ต้องบอกว่า รับได้ครั้งละคน

อ้าวแล้วถ้ามี 100 ช่องล่ะ ได้กี่คน?





ถามโง่ๆอีกแล้ว ร้อยช่องก็ได้ทีละร้อยคนอะดิ

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 19:48:38 ]




ความคิดเห็นที่ 2

อะ...งั้นเอางี้

ร้อยช่องนี่ สามารถรองรับได้กี่คนต่อชั่วโมง?



เอ...ชักตอบยากซะแล้ว ถ้ามีร้อยช่อง คนใช้ร้อยคน โทรไปคนละชั่วโมงเต็มๆ มันก็ได้ทีละร้อยคนอยู่ดี

แต่ เอ...ถ้าโทรฯกันคนละสามนาที มันก็น่าจะได้เยอะกว่านั้นอยู่นา...
สมมุติว่าโทรกันคนละสามนาที ช่องนึงมันก็น่าจะรับได้ซัก 20 คนต่อชั่วโมง มีร้อยช่องก็จะน่าจะได้ซัก 2000 คนเห็นจะได้

อืม...ไม่เลว ไม่เลว

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 19:56:08 ]



ความคิดเห็นที่ 3

อะ...ถามต่อ ถ้ามี 1000 ช่องล่ะ ได้กี่คนต่อชั่วโมง


ถามแบบนี้ดูถูกกันนี่หว่า... 100 ช่องได้ 2000 คน/ชั่วโมง มี 1000 ช่องก็ได้ 20,000 คนอะดิ ถามแบบนี้หาว่าเทียบบัญญัติไตรยางค์ไม่เป็นเหรอ

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 19:59:46 ]



ความคิดเห็นที่ 4

ความจริงเรื่องพวกนี้ มีการคิดคำนวณกันมาร้อยกว่าปีแล้วครับ มีสูตรของหลายสำนัก หลายขนานเลยทีเดียว

เรื่องของเรื่องก็คือ เจ้าสำนักเหล่านี้เค้าพยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการใช้งานโทรศัพท์ (หรือที่เรียกกันว่า การจราจรในเครือข่าย หรือทับศัพท์ว่า ทราฟฟิค--traffic) กับจำนวนช่องสัญญาณ (หรือที่เรียกกันว่า คู่สาย นั่นแหละ)

หรือพูดง่ายๆก็คือ พยายามจะคำนวณว่า ถ้ามีจำนวนผู้ใช้เท่านั้นเท่านี้ ควรจะต้องมีจำนวนคู่สายโทรศัพท์เท่าไหร่ถึงจะพอใช้งาน

จากหลายๆสำนักเหล่านี้ ผลงานที่เหลือรอดมาใช้งานจนถึงปัจจุบันก็มีอยู่ไม่กี่สูตร ที่ใช้งานกันกว้างขวางที่สุดก็เห็นจะเป็นสูตรของ Agner Krarup Erlang ครับ คุณ Erlang นี่แกเป็นชาวเดนิช เป็นนักคณิตศาสตร์หรือยังไงนี่แหละครับ ผมก็ไม่ได้สนิทกับแกมากมาย เพราะแกตายไปตั้งกะปี 1929 โน่นแล้ว

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 20:14:58 ]



ความคิดเห็นที่ 5

เกริ่นมานานแล้ว ผมเข้าเรื่องดีกว่า

คุณเออร์แลงแกมีวิธีวัดปริมาณการใช้โทรศัพท์แบบง่ายๆครับ คือวัดเป็นปริมาณการใช้ต่อหนึ่งชั่วโมง หรือพูดให้ยากขึ้นก็คือ เอาผลรวมของระยะเวลาที่แต่ละคนใช้โทรศัพท์ มาหารด้วยระยะเวลา 1 ชั่วโมง ตัวอย่างเช่น มีผู้ใช้โทรศัพท์ในช่วงเวลา 8:00 - 9:00 น. อยู่สามคน คือ นาย ก. นาย ข. และนาย ค.

นาย ก. โทรไปสามนาที นาย ข. สิบนาที นาย ค. ห้านาที รวมกันได้ (3 + 10 + 5) = 18 นาที

เพราะฉะนั้น ปริมาณการใช้โทรศัพท์ตามนิยามของคุณทวดเออร์แลงก็เท่ากับ 18 นาที หารด้วย 60 นาที = 0.3

0.3 อะไรดีล่ะ ไม่มีหน่วยนิ คุณทวดเออร์แลงก็เลยเอานามสกุลแกนั่นแหละมาเป็นหน่วยซะเลย แกว่า เนี่ย ถ้าอย่างงี้เรียกว่า 0.3 เออร์แลง

แก้ไขเมื่อ 13 มิ.ย. 48 20:28:28

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 20:27:54 ]



ความคิดเห็นที่ 6

เออร์แลง

จากคุณ : nameyoungjet - [ 13 มิ.ย. 48 20:37:14 ]



ความคิดเห็นที่ 7

คุณทวดเออร์แลงนี่ แกเป็นคนเก่งวิชาสถิติมาก ผมว่านะ แกไปนั่งคิดสมการคำนวณอะไรต่อมิอะไรเกี่ยวกับปริมาณการใช้โทรศัพท์นี่แหละ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นจำนวนช่องสัญญาณ (หรือคู่สาย) ที่เหมาะสมสำหรับปริมาณการใช้ 0.3 เออร์แลงนี่นะ (ผมเคยพยายามเขียนโปรแกรมตามสมการของแก แต่ติดลูป ก็เลยเลิก ฮ่ะ ฮ่ะ)

ความจริงแล้ว นอกเหนือจากค่าปริมาณการใช้ (ที่มีหน่วยเป็นเออร์แลงที่ว่านั่น) ยังมีตัวแปรสำคัญอีกตัวนึงที่ผมแปลเอาเองว่า อัตราการบล็อค (แปลได้ห่วยมาก) หรือ blocking rate ครับ ไม่รู้จะอธิบายยังไง เอาเป็นว่า ถ้า blocking rate = 2% ก็แปลง่ายๆว่า ถ้ามีคน 100 คนเกิดโทรศัพท์ขึ้นมาพร้อมๆกัน ก็จะมีอยู่ 2 คนที่ซวย ไม่ได้ช่องสัญญาณ

กล่าวโดยสรุปก็คือ ความพยายามของคุณทวดเออร์แลง และสำนักอื่นๆ ก็คือการหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณการใช้โทรศัพท์ กับจำนวนช่องสัญญาณ และก็อัตราการบล็อค นี่เอง

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 20:40:32 ]



ความคิดเห็นที่ 8

เวงกำ

จากคุณ : dodoman - [ 13 มิ.ย. 48 20:50:59 ]



ความคิดเห็นที่ 9

เวลาใครต่อใครเค้าวางแผนตั้งเครือข่ายโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายโทรศัพท์บ้านอย่างของ TOT หรือ TT&T หรือ True หรือจะเป็นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่าง AIS, DTAC, Orange, Hutch หรืออะไรก็ตาม เค้าก็มักจะเอาสูตรของเออร์แลงนี่ล่ะครับมาใช้

แต่ก่อนจะเอามาใช้ได้นี่ ต้องมีการนั่งเทียน เอ๊ย ประเมินปริมาณการใช้งานโทรศัพท์กันซะก่อน ปัจจัยที่เค้าจะเอามาประเมินก็หลายเรื่องครับ อย่างเช่น ต้องประเมินว่าสิ้นเดือนนั้นปีนี้จะมีลูกค้ากี่คน ลูกค้ากลุ่มไหนบ้าง แต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ยังไง (เช่นถ้าเป็นกลุ่มวัยรุ่นก็อาจจะโทรคุยกับแฟนนานหน่อย กลุ่มพ่อบ้านก็จะใช้เวลาคุยสั้นหน่อย--จ้ะ จะกลับเดี๋ยวนี้ล่ะจ้ะ...กริ๊ก--อะไรเทือกนั้น) ฯลฯ

นั่งเทียนเสร็จแล้วก็จะได้ค่าเฉลี่ยออกมาว่า ลูกค้า (ภาษาสมัยก่อนเรียกว่า ผู้เช่า) แต่ละคนจะใช้เวลาโทรต่อครั้งนานเท่าไหร่ ผมสมมุติว่าเป็นคนละ 90 วินาที (หนึ่งนาทีครึ่ง) ก็แล้วกัน ถ้าจะคิดเป็นหน่วยเออร์แลงก็คือ 1.5/60 = 0.025 เออร์แลง

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 20:53:23 ]



ความคิดเห็นที่ 10

เอาล่ะ สมมุติว่าจากการวิจัย candle sitting research ได้ผลออกมาว่า น่าจะมีลูกค้าซัก 100,000 คน ก็เอาจำนวนแสนคนนี่มาคูณกับ 0.025 ก็จะได้เป็นปริมาณการใช้โทรศัพท์ 2,500 เออร์แลง...ชักเยอะ

ทีนี้ก็มาถึงเรื่องอัตราการบล็อค ...เท่าที่ทราบในหลายๆประเทศนี่ เค้าจะมีองค์กรกลางที่เป็นคนกำหนดว่าต้องใช้อัตราการบล็อคเท่านั้นเท่านี้ในการคำนวณ โดยทั่วไปก็จะใช้ค่า 2% ครับ

เอาล่ะ ได้ค่าตัวแปรมาสองค่าแล้ว คือ 2,500 กะ 2% เราก็เอาไปใส่ในสมการ (ที่ผมไม่เคยเข้าใจ...ผมเกลียดวิชาสถิติและความน่าจะเป็น น่าจะเรียกว่าความน่าจะตายมากกว่า) ของเออร์แลง ได้คำตอบออกมาว่า น่าจะมีจำนวนช่องสัญญาณ (หรือคู่สาย) ซัก 2,485 ช่อง จึงจะพอรองรับปริมาณการใช้ 2,500 เออร์แลงได้ โดยมี blocking rate ที่ 2% (ผมใช้โปรแกรมชื่อว่า XCELL ในการคำนวณครับ เป็น freeware สามารถดาวน์โหลดได้จาก //www.xoconsulting.co.uk )


จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 21:02:50 ]



ความคิดเห็นที่ 11

ทีนี้ลองมาดูกันว่า ถ้าสมมุติเกิดมีปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นเท่าตัว แต่จำนวนช่องสัญญาณเท่าเดิม อะไรจะเกิดขึ้น

สมมุติปริมาณการใช้โทรศัพท์เพิ่มเป็น 5,000 เออร์แลง และยังมี 2,485 ช่องสัญญาณเท่าเดิม เอาตัวเลขสองตัวนี้ไปคำนวณ ก็จะพบว่า blocking rate เพิ่มขึ้นเป็น 50.3%

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 21:10:43 ]



ความคิดเห็นที่ 12

ฮ่าฮ่าฮ่า

จากคุณ : shah_vip - [ 13 มิ.ย. 48 21:16:36 ]



ความคิดเห็นที่ 13

เอาล่ะ กลับมาที่คำถามที่ผมตั้งไว้ในหัวข้อกระทู้

ช่องสัญญาณ 100 ช่อง สามารถรองรับได้ 87.972 เออร์แลง ถ้าเรายังใช้ค่านั่งเทียนเดิม คือ 0.025 เออร์แลงต่อผู้ใช้หนึ่งคน คำตอบก็คือ 87.972/0.025 = 3,518.88 คนต่อชั่วโมง (โดยมีเงื่อนไขว่า อัตราการบล็อค = 2%)

จบดีกว่า ง่วงนอนแล้ว


จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 21:16:48 ]



ความคิดเห็นที่ 14

วันนี้ในรายการสรยุทธ์บอกว่า aisเพิ่มวงจรเชื่อมกันtotได้ไม่ถึง100เลย ทำให้การติดต่อระหว่างเครือข่ายทำได้ยาก

จากคุณ : ฟะฟ - [ 13 มิ.ย. 48 21:26:01 A:203.113.50.15 X:203.151.140.117 TicketID:101612 ]



ความคิดเห็นที่ 15

man ... เข้ามาดู

จากคุณ : Mr. Fusion - [ 13 มิ.ย. 48 21:41:33 ]



ความคิดเห็นที่ 16

ได้อ่านคห1 แล้วอยากยกย่องจริงๆ เกือบไปแล้วนี่ถ้าไม่มีคำตอบล่างๆมาช่วยอาจทีเฮ จากท่านอื่นๆ

จากคุณ : อาเจ็ก - [ 13 มิ.ย. 48 21:42:33 ]



ความคิดเห็นที่ 17

สุดยอด

ความรู้แน่น มาก เยี่ยมไปเลยครับ

จากคุณ : kicub2 - [ 13 มิ.ย. 48 21:46:38 ]



ความคิดเห็นที่ 18

...เวรกรรม ผมยังนอนไม่หลับเลย เข้ามาเขียนต่อดีกว่า

สมการของเออร์แลงนี่ เท่าที่เคยเห็นเค้ามีอยู่สองสมการครับ เรียกว่า Erlang B กะ Erlang C

Erlang B นี่เค้าว่าเอาไว้ใช้กับ blocking system ครับ ส่วน Erlang C นี่ใช้กับ queuing system

แล้วมันเป็นยังไงล่ะ blocking กับ queuing system นี่?

blocking system คือระบบที่จะเขี่ยเอา call request ที่ไม่ได้รับการตอบสนองออกจากระบบไปเลย (พูดเป็นภาษาคนก็คือ ถ้าใครขอเข้ามาแต่ไม่มีช่องสัญญาณให้ ก็เขี่ยออกไป ให้ไปขอใหม่) แบบนี้จะเหมาะกับการคำนวณสำหรับเครือข่ายสาธารณะ เช่นเครือข่ายโทรศัพท์บ้านหรือมือถือครับ

ส่วน queuing system ก็คือ ใครขอมาแต่ไม่มีช่องสัญญาณให้ ระบบก็จะจับเอาไปเข้าแถวรอไว้ เดี๋ยวมีช่องสัญญาณจะมาเรียกไปทีละคน อะไรประมาณนั้นครับ แบบนี้จะเหมาะกับระบบโทรศัพท์สำหรับพวก call center หรืออะไรทำนองนั้น

มีอย่างนึงเกี่ยวกับ Erlang B ที่นักนั่งเทียนเครือข่าย (ภาษาเทคนิคเรียกว่า เน็ตเวิร์คแปลนเน่อร์) หลายๆคนอาจจะมองข้ามไปก็คือ เค้าตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่า ผู้ใช้แต่ละคนจะโทรแค่ครั้งเดียวในแต่ละชั่วโมง และหากการโทรนั้นถูกบล็อค ก็จะไม่ทำการโทรซ้ำอีก (ผมเข้าใจเอาเองว่า คนสมัยก่อนเค้าใจเย็น ไม่โทรแบบจิกๆ และเมื่อก่อนโน้นยังไม่มีปุ่ม redial) เพราะฉะนั้นค่าสมมุติ 0.025 เออร์แลงที่ผมยกตัวอย่างข้างบนนั้น อาจจะต้องมีการปรับขึ้นอีกเล็กน้อย (หรืออาจจะไม่มีการปรับเลย เพราะถ้าเพิ่มค่านี้เมื่อไหร่ก็หมายถึงจำนวน circuit ที่ต้องติดตั้งมากขึ้น ซึ่งคิดว่าคงไม่ได้รับอนุมัติจากผู้กุมบังเหียนการเงินของบริษัท)

เริ่มง่วงอีกแล้ว ไปละครับ

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 22:32:14 ]



ความคิดเห็นที่ 19

ตกลงมาบ่นให้ฟังใช่มั้ยคับเนี่ย หลอกให้อ่านตั้งยาวอ่ะ หาเรื่องให้เพื่อนๆ อดนอนนี่หน่า แถมทำเอาอารมณ์ค้างอีกตะหาก

จากคุณ : กลด - [ 13 มิ.ย. 48 23:59:13 ]



ความคิดเห็นที่ 20

ปล ตาเออร์แลงนี่ ถ้าเค้ายังอยู่ คงจะเสียใจกับเมืองไทยแหงๆ เพราะเล่นเอาสมการคุณตาแกเจ้งไปเลยอ่ะ capacity ของระบบพี่ไทย ทะลุไปถึงไหนแล้วไม่รู้ ตอน peak เนี่ย
เอาสมการของคุณตามานั่งคำนวนแล้วก็ดูคำตอบตาปริบๆ พร้อมๆ กับ sms ไปบอกคนรอโทสับว่า ไม่ต้องรอรับโทสับแล้วนะ ไปหาสาธารณะโทรกลับมาหาเองที่เบอร์บ้านแล้วกัน เฮ้อ
(ขอบ่นบ้างเหอะ ไม่รู้ว่า เรียนมาทำไม แล้วก็ไม่เอาไปใช้ ให้พวก marketing ปู้ยี่ปู้ยำอยู่ได้ทุกวี่วัน)

จากคุณ : กลด - [ 14 มิ.ย. 48 00:13:27 ]



ความคิดเห็นที่ 21

ปัญหาเรื่องขายดีเกินความจุของเครือข่ายไม่ได้เป็นแค่ที่บ้านเราหรอกครับ

อย่างในออสเตรเลียเค้าก็มีหน่วยงานกลางซึ่งคล้ายๆกทช. ทำหน้ากำหนดมาตรฐาน (เช่น drop call rate ต้องไม่เกินเท่านั้น call success rate ต้องไม่ต่ำกว่าเท่านี้) แต่ละปีเค้าก็จะให้ operator แต่ละเจ้ารายงานค่าเหล่านี้ และผู้ใช้บริการ ซึ่งก็คือลูกค้า มีสิทธิที่จะรับทราบได้ด้วย

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 14 มิ.ย. 48 03:07:58 ]



ความคิดเห็นที่ 22

อ่านแล้วงง แต่ที่แน่ๆโทรออกไม่ได้เลยถ้าพระอาทิตย์ตกดิน

จากคุณ : อู้กำเมืองมันแน่นอกแน่นใจ๋ดี - [ 14 มิ.ย. 48 07:34:10 ]



ความคิดเห็นที่ 23

งงงงงงงงง เหมือกาน อะ

จากคุณ : [t]_steps - [ 14 มิ.ย. 48 10:50:10 ]



ความคิดเห็นที่ 24

ตี 1 ก็ตอบ
ตี 3 ก็ตอบ
...
ไม่ง่วงแล้วหรือครับ
...
แต่ ดี ครับได้รู้อะไรเยอะขึ้น

จากคุณ : post office - [ 14 มิ.ย. 48 16:46:30 A:unknown X:202.44.136.50 TicketID:090591 ]



ความคิดเห็นที่ 25

ตีสามนั่นผมตื่นแล้วครับ :-)
(เวลาล่วงหน้าจากกรุงเทพฯสามชั่วโมง)

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 14 มิ.ย. 48 18:25:58 ]


ความคิดเห็นที่ 26

หาเรื่องอื่นมาเล่าให้ฟังอีกดิครับ ชอบ..
จะได้มีกระทู้สาระเยอะๆ

จากคุณ : อะธีลาส - [ 14 มิ.ย. 48 18:58:36 ]



ความคิดเห็นที่ 27

ชอบครับ กระทู้แบบนี้ ดีกว่ากระทู้ด่าสัญญาณรายวันมาก

แต่... เห็นตัวเลขเยอะ ๆ แล้วมึนแฮะ - -'

question

จากคุณ : cookiecompany - [ 15 มิ.ย. 48 01:49:07 ]



ความคิดเห็นที่ 28

แม่เจ้า!! เข้ามางง นกดื่มชา

แต่ขอบคุณนะคะ เดี๋ยวจะพยายามอ่านอีกหกรอบ

จากคุณ : .เชอร์รี่. - [ 15 มิ.ย. 48 13:57:24 ]



ความคิดเห็นที่ 29

พอดีไม่ได้เมืองไทยครับค่าโทมือถือที่นี่ตกนาทีละห้าบาท
โทยังไงก้อติดครับโทจนไม่อยากจะมีครัยโทหากันแพงชิบเลยไม่รู้ว่าตอนนี้ที่ใช้อยู่สรุบมันดีหรือไม่ดี....
ปล.ยังไงก้อติดจิงๆนะนาทีละห้าบาทเนี่ย

จากคุณ : ไร้ทรัพย์ (Rabby) - [ 15 มิ.ย. 48 20:57:07 ]



ความคิดเห็นที่ 30

ไม่อยากบอกว่าโปรที่ออส แบบถูกๆ เดือนละ 15$ นี่ นาทีแรกปาเข้าไป 30 กว่าบาท หุหุ กลับมาเจอนาที 25 ตังค์นี่ จะหัวใจวายตาย

จากคุณ : กลด - [ 17 มิ.ย. 48 01:13:36 ]


Create Date : 31 ธันวาคม 2548
Last Update : 31 ธันวาคม 2548 8:51:30 น. 3 comments
Counter : 722 Pageviews.

 
รบกวน แถลงให้จบหน่อยนะครับ คุณบูมเมอร์ อยากรู้จิงๆ
**** Thanks a lot ****


โดย: QuickClub IP: 202.28.51.61 วันที่: 15 มกราคม 2550 เวลา:22:57:19 น.  

 
การคำนวณ bandwidth บนโครงข่าย IP เป็น erlang ได้ที//www.geocities.com/sombutsuwan/network/erl.html


โดย: สมชัย IP: 203.113.0.222 วันที่: 30 สิงหาคม 2550 เวลา:15:32:48 น.  

 
-/\\-
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะค่ะ


โดย: Parakiss IP: 202.12.97.117 วันที่: 23 กันยายน 2551 เวลา:13:08:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

บูมเมอร์
Location :
บ้านดุง (Bandung) Indonesia

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add บูมเมอร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.