เพลงเอกภพ
จริงอยู่ที่ใครเคยกล่าวว่า “ชีวิตเป็นของเรา”
เราสามารถกำหนดกฎเกณฑ์และเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ชีวิตตัวเองได้
แต่หลายครั้งชีวิตก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคาดหวังไว้เสมอ

"...บอกตรงๆ บางทีผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามือผมเป็นฝ่ายหมุนพวงมาลัยหรือมันเป็นฝ่ายพามือของผมหมุนตาม
...อีกนิดเดียวจะพ้นจากหล่ม ผมเหยียบคันเร่งลึกลงไปอีก เพื่อให้เจ้าแมงคู่ชีพหลุดพ้นจากแอ่งตมสุดท้าย ข้างหน้านั้นเป็นจุดหักโค้งของลำห้วย ซึ่งทำให้เส้นทางต้องหักโค้งไปตามกัน ถ้าผมเลี้ยวรถไม่ทัน ทั้งรถทั้งคนก็จะพุ่งลงไปอยู่ในห้วยทันที ปัญหาของผมคือถ้าไม่เร่งเครื่องเต็มที่ก็ไม่อาจหลุดจากหล่มได้ แต่ถ้าเร่งเครื่องเต็มที่ ผมก็อาจจะเลี้ยวโค้งได้ไม่ทัน" *


สถานการณ์บางอย่างอยู่เหนือการควบคุม

"เจ้าปิกอัพของผมหลุดออกมาจากคืบศอกสุดท้ายของแนวหล่มอย่างเชื่องช้า แต่ทันทีที่ล้อรถแตะกับดินเนื้อแข็งได้ครบสี่ข้าง พลันมันก็พุ่งกระโจนไปข้างหน้าเหมือนเสือหลุดกรง ผมพยายามอย่างยิ่งที่จะหักพวงมาลัยพามันเลี้ยวขวาไปตามโค้ง แต่แผ่นโคลนหนาเตอะที่ห่อหุ้มยางทั้งสี่ข้างเอาไว้ ทำให้รถของผมยังคงแฉลบไปทางซ้ายซึ่งเป็นทิศทางของลำห้วย ผมไม่กล้าแตะเบรก เพราะกลัวทั้งรถทั้งคนจะพลิกคว่ำ จึงได้แต่หมุนพวงมาลัยไปมาอย่างสิ้นหวัง ในจังหวะนั้นเอง ผมก็เหลือบไปเห็นพงหญ้าและพุ่มไม้เตี้ยๆ ที่เลื้อยจากริมห้วยขึ้นมาคลอเคลียกับขอบทางเข้าพอดี จึงอาศัยจังหวะที่รถแฉลบไปในทิศนั้นอยู่แล้ว พาล้อครูดไปบนพืชพันธุ์ดังกล่าว เพื่อปัดโคลนออกส่วนหนึ่ง จากนั้นก็ฝากความหวังลมๆ แล้งๆ ว่ามันจะช่วยให้รถหยุดได้”*
(*เราเรียกมันว่าชีวิตที่ดี หน้า 86-87)

‘สติ’ เท่านั้นที่จะช่วยทำให้เรามองเห็นหนทางแก้ไขและนำพาเราให้หลุดพ้นจากอุปสรรคไปได้

“เพลงเอกภพ” ของ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เล่า ‘ชีวิต’ ผ่านการเดินทางที่ทั้งต้องเดินเท้า ทั้งปีนป่าย บุกป่าฝ่าดง ล่องแก่ง และทแยงฝ่าคลื่น ด้วยความลำบากสาหัส ระหว่างทางธรรมชาติ การดำเนินที่เรียบง่าย และมิตรภาพ

“สำหรับพวกเราแล้ว...
’ชีวิตที่ดี’ อาจจะมีรูปธรรมรองรับได้สารพัดอย่าง แต่เมื่อกล่าวอย่างถึงที่สุด มันก็คือ ‘ชีวิต’ ที่ไม่เคยอยากได้อยากดีเหมือนคนอื่นเขานั่นเอง...”

(เราเรียกมันว่าชีวิตที่ดี หน้า 115)



** อ่านไปก็ทึ่งไปค่ะ
คุณเสกสรรค์เก็บรายละเอียดระหว่างการเดินทางได้ละเอียดลออสุดๆ
ทึ่งกับมุมมองความคิด การทำความเข้าใจกับชีวิตและธรรมชาติ
ทึ่งกับวิธีคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ภาษาก็สวย
...ต้องขอยกให้เป็นนักเขียนในดวงใจอีกคน **

(ช่างแตกต่างจากงานเขียนของคุณลูกชายจริงๆ
...แอบอยากอ่านเรื่องเล่าเกี่ยวกับครอบครัว ‘ประเสริฐกุล’
เพราะเท่าที่คุณเสกสรรค์เขียนถึงภรรยา แม้จะเล็กน้อยแต่ก็น่ารักมาก
ดูเป็นครอบครัวเรียบง่ายอบอุ่น
ก็ไม่รู้ว่า... ทำไมแทนไทถึงจิตแตกได้เพียงนี้ ฮ่า ฮ่า (แซวเล่นนะน้อง))



Create Date : 22 ธันวาคม 2550
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2551 12:42:31 น.
Counter : 538 Pageviews.

4 comment
100 ข้อคิดเพื่อชีวิตสุขสงบ
ผศ.ดร.ปริญญ์ ปราชญานุพร แปลและเรียบเรียงจาก Don’t sweat the small stuff and it’s all small stuff. ของ Richard Carlson, Ph.d



...ก็เราไม่ได้อยู่เฉยๆ กันนี่คะ
ชีวิตจะได้สุขสงบนิ่งว่างเปล่า
เราจึงเลี่ยงความวุ่นวายและสิ่งกระทบใจจากทุกทิศทางได้ยากนัก
วิธีเดียวที่พอทำได้คือตั้งรับและค่อยๆ แก้ไข
ซึ่งแต่ละคนคงมีวิธีที่ว่าแตกต่างกันไป

หนังสือเล่มนี้เป็นเพียง ‘100 ข้อคิด’ เท่านั้น
ไม่ใช่ “100 วิธี” แต่ประการใด
ฉะนั้นใครจะน้อมรับไปปรับใช้อย่างไร...
ลองอ่านซัก 10 ข้อคิดก่อนก็แล้วกันค่ะ


1. เตือนตนเองว่าแม้เราจะตายไปแล้ว “งานในตะกร้า” ก็ยังไม่มีวันหมดสิ้น
“โปรดจำไว้ว่าแม้เมื่อท่านสิ้นลมหายใจแล้วก็ยังจะมีธุรกิจการงานต่างๆ ที่ยังต้องมีคนทำต่อ และไม่ว่าอย่างไรก็จะต้องมีคนทำแทนท่านจนได้ ดังนั้นอย่ามัวเสียเวลาอันมีค่ายิ่งในชีวิต เพื่อนั่งเสียใจในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป” หน้า 33

2. ลองนึกภาพว่ากำลังยืนอยู่หน้าโลงศพตัวเอง
“...จะช่วยให้ท่านสามารถมองย้อนกลับไปในอดีตขณะมีชีวิตอยู่ และยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ที่สำคัญได้” หน้า 72

3. เลือกสนามยุทธอย่างชาญฉลาด
ถ้าต้องตกอยู่ในบรรยากาศของความขัดแย้ง
“...ตัดสินอย่างรอบคอบว่าสงครามใดที่ยิ่งใหญ่หรือสำคัญพอที่ท่านจะลงมือต่อสู้ด้วย ละสงครามใดที่ท่านควรปล่อยให้มันเป็นไปตามทิศทางของมันเอง” หน้า 93

4. ลองเป็นนักมานุษยวิทยาดู
“หากท่านรู้สึกสนใจวิธีแสดงปฏิกิริยาตอบโต้หรือวิธีที่บุคคลเกิดความรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ อย่างแท้จริงแล้ว ท่านจะไม่ค่อยรู้สึกรำคาญหรือขุ่นเคืองการกระทำของผู้อื่นมากนัก ด้วยกลวิธีที่ท่านทำตัวเป็นนักมานุษยวิทยานี้จะช่วยให้ท่านผิดหวังน้องลงจากการกระทำของคนอื่น” หน้า 128

5. จำไว้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีทางสร้างสรรค์
“...ทุกสิ่งทุกอย่างที่ธรรมชาติสร้างมาล้วนมีพลังสร้างสรรค์ซ่อนเร้นอยู่ทั้งสิ้น หน้าที่ของเราในฐานะมนุษย์ก็คือพยายามค้นหาพลังสร้างสรรค์นั้นจากสถานการณ์รอบข้างที่อาจจะดูไม่สร้างสรรค์ออกมาใช้ให้เป็น” หน้า 141

6. รับบุตรบุญธรรมทางจดหมาย
“ผมคิดว่าเหตุผลที่เรามีความสุขมากกับการให้แบบนี้ก็เพราะเป็นการช่วยแบบมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ให้และผู้รับ” หน้า 169

7. คิดถึงสิ่งที่มีอยู่แทนที่จะคิดถึงสิ่งที่ต้องการ
“เมื่อท่านใส่ใจในสิ่งที่มีอยู่แทนที่จะสนใจในสิ่งที่ต้องการ ท่านจะได้รับในสิ่งที่ต้องการมากขึ้นอยู่ดี” หน้า 186

8. จำไว้ว่าท่านจะเป็นในสิ่งที่ท่านฝึกทำมากที่สุด
“...ท่านสามารถทำให้ตัวเองมีคุณสมบัติของความเมตตา กรุณา อดทน อ่อนน้อม และสงบเยือกเย็นได้ด้วยการฝึกปฏิบัติบ่อยๆ ...” หน้า 196

9. ปลูกต้นไม้สักต้น
“...จะทำให้เรามีโอกาสได้ฝึกหัดความรักที่ปราศจากเงื่อนไขได้เป็นอย่างดี” หน้า 235

10. ให้คำจำกัดความวลีที่ว่า “ความสำเร็จที่มีความหมาย” เสียใหม่
“...ตัววัดความสำเร็จที่แท้จริงไม่ได้มาจากสิ่งที่เราทำ แต่มาจากการวัดว่าเราเป็นคนอย่างไรและมีความรักความเมตตามากน้อยเพียงใดในจิตใจของเรา” หน้า 244

** หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยกระดาษ Green Read Paper ซึ่งผลิตจากกระบวนการรีไซเคิลจากชานอ้อย เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมค่ะ



Create Date : 21 ธันวาคม 2550
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2551 12:42:00 น.
Counter : 1051 Pageviews.

2 comment
a day # 88


เล่มนี้น่าอ่านมากๆ น่าอ่านจริงๆ ขอคอนเฟิร์ม!

main course : ...ท่านเป็นเทวดาที่มีลมหายใจ...

somebody .....

day poets society : ข่าวคราวความเคลื่อนไหวในภาพนิ่ง
talking head : นิติพงษ์ ห่อนาค รูปที่มีทุกบ้าน
the outsiders : 3 คนกับภาคส่วนชีวิตที่เทิดทูนพระราชาอันเป็นที่รัก
ordinary people : ระหว่างทางรับเสด็จ
ordinary people special : ในหลวงของพวกเรา
a day with a view : บทพระราชทานสัมภาษณ์สุด exclusive ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
a pen interview : > ปากกากลางทุ่งหมาเมินของ ชัย ราชวัตร

columnist …

once upon sometimes : ทรงศีล ก็รักเธอ
going place : ต้องการกลางสะพานวันชาติ
a an the [article] : บิ๊กบุญ some เหมา
เรื่องไม่ต้องรู้ก็ได้ : amazon พันธุ์ทิพย์ FCUK และห้างทองแม่สมบุญ
oversee : รู้เรื่องโลกร้อนผ่านฝีแปรงอิมเพรสชันนิสม์
thought experiment : Mister Tompkins บอกปาฏิหาริย์นั้นมีจริง
away : เมื่อปกเดียวไม่พอสำหรับทรงพลัง
netware : FWD : เรารักในหลวง
เหงาทั่วปริมณฑล คนจับไม่ได้ : ม.ย.ร. มะลิ รับเสด็จ
team pladib : พระเจ้าอยู่ใน (ใจ) ของ เรียวตะ
วงศ์ทนงสอนน้อง : วงศ์ทนง หยอดหนังสือ
หันหน้ามาทางนี้พบ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ : ถลกศัพท์แสงแบบการถลอกดนตรีของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์
life in a day : วินทร์ เลียววาริณ กับต้นไม้ของอากง
blind line : ปฏิการ ผู้มองเห็นสายพระเนตรอันยาวไกล




Create Date : 19 ธันวาคม 2550
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2551 12:40:06 น.
Counter : 431 Pageviews.

3 comment
QUESTIONMARK
ในจำนวนชนิดงานเขียนของสื่อสารมวลชน
หลายคนคงไม่ปฏิเสธว่าการเขียนบทสัมภาษณ์ดูจะง่ายที่สุด
แค่ไปถาม รอให้เขาตอบ ตอบ ตอบ
...แต่อย่าลืมว่า เมื่อทำง่าย คนก็ทำเยอะ
ย่อมเลี่ยงคำถาม-คำตอบแบบเดิมๆ ไม่ได้
ความน่าสนใจจึงไม่เกิด

วิธีที่จะทำให้บทสัมภาษณ์น่าสนใจได้
คือการตั้งคำถามซึ่งไม่ซ้ำกับที่เคยมีคนถามไปแล้ว
สิ่งสำคัญ ผู้ถามต้องทำการบ้าน ต้องมีข้อมูลของผู้ให้สัมภาษณ์พอสมควร
จึงจะต่อยอดขยายประเด็นที่จะถามได้มีน้ำหนักพอ

- บทสัมภาษณ์โดย วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ -
ประโยคที่ปรากฏท้ายปกหน้าหนังสือ
ทำให้ฉันนึกถึงคำพูดของเขาเองในบ่ายวันหนึ่งที่ผ่านมาไม่ถึง 2 เดือนก่อนหนังสือจะวาง
“พี่อยากทำหนังสือที่เป็นบทสัมภาษณ์ทั้งเล่ม”

ถ้าไม่ได้หมายถึงหนังสือแบบ THE UNDERDOG TALK ซึ่งถอดเทปสัมภาษณ์ออกมาเป็นเล่มเล็กๆ
ฉันก็ไม่กล้านึกว่ามันจะออกมารูปแบบไหน ?
หนาเท่าไหร่ ?
ควรสัมภาษณ์ใคร ? จึงจะจุความน่าสนใจไว้ได้มากพอจะเป็นหนังสือ 1 เล่ม

“QUESTIONMARK”
บทสัมภาษณ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
คือบทพิสูจน์คำถามดังกล่าว

แวบแรกที่เห็น - ฉันแปลกใจ -
คนไม่ค่อยสนใจการเมืองสัมภาษณ์นักการเมือง
ซึ่งคนไม่สนใจการเมืองทั่วไปคงไม่อยากอ่าน
แต่คนไม่สนใจการเมืองอย่างฉัน อ่านสนุกจนไม่อยากวาง
ด้วยคำถามที่...บางข้อก็พื้นๆ ง่ายๆ , บางข้อถามแบบทื่อๆ ตรงๆ, บางข้อต้องคิดหนักก่อนตอบ
มีรูปแบบการสัมภาษณ์เชิงประวัติที่ไม่ได้เป็นไปตามสูตร หากแต่เป็นสัดส่วน
มีทั้งเรื่องเล่นการเมือง การเป็นผู้นำ เรื่องการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม เรื่องครอบครัว ไลฟ์สไตล์ ไปจนถึงเรื่องฟุตบอล
บรรยากาศและภาษาในบทสัมภาษณ์ง่ายๆ สบายๆ
ภาพประกอบเป็นรูปถ่ายเดียวที่ถูก ‘ตัดแต่ง’ ให้หลากหลายกระจายอยู่ในเล่ม
ที่เก๋มาก คือ ชื่อหนังสือ
และทัศนะที่คุณอภิสิทธิ์ได้แสดงออกมานั้น มีมุมมองแง่คิดที่น่าสนใจ-น่าชื่นชม...

“มีกี่วิชา ที่เรียกว่าพอจบแล้วมาทำงานเนี่ย เราก็ว่าตามตำรา ผมว่าน้อยมาก ที่จริงสิ่งที่ดีที่สุดที่เราควรจะได้จากการศึกษา คือระบบและหลักวิธีคิด ซึ่งไอ้นี่คือปัญหาที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับการศึกษาไทย เพราะว่าเด็กที่จบไปหลายคน ก็บ่นว่าเขาไม่เคยได้รับการฝึกฝนในเรื่องวิธีคิดเลย เพราะส่วนใหญ่เราจะสอนเรื่อง ‘ความรู้’ มากกว่า ‘ความคิด’ ” หน้า 24-25

“...สังคมมักปิดกั้นโอกาสคน เรามักคิดว่าคนที่จะมาทำงานกระทรวงสาธารณสุขต้องเป็นหมอ คนมาทำงานกระทรวงศึกษาต้องเป็นครู ... ถ้าเราไปดูประเทศประชาธิปไตยจริงๆ ไม่ใช่อย่างนั้นนะครับ เขาเลือกใครก็ได้ที่มีทักษะความสามารถทำงานได้ เลือกคนที่มีคุณภาพในการเรียนรู้ ...” หน้า 42

“...ผู้นำที่ดีมันขึ้นอยู่กับจังหวะของเวลา ยุคสมัย และสถานการณ์ บางคนอาจจะเป็นผู้นำที่ดีในภาวะหนึ่ง แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป ความต้องการของคนในสังคมเปลี่ยน เขาก็อาจไม่สามารถที่จะเป็นผู้นำที่ดีต่อไปได้”
หน้า 54

“ไม่เสียดายหรือที่ไม่ได้เป็นด็อกเตอร์
ไม่เสียดาย (ตอบทันที) ผมว่าคนจำนวนมากที่เรียนปริญญาโท ปริญญาเอกนี่เรียนเพื่อเอาวุฒิ อาจเอาไปเทียบเลื่อนตำแหน่งหรือเพิ่มเงินเดือนได้ มากกว่าใฝ่รู้อยากเรียนจริงๆ ...
คิดในทางเศรษฐศาสตร์แบบสุดโต่งจริงๆ มันมีทฤษฎีที่บอกว่าระบบการศึกษาจริงๆ มันไม่ได้อยู่ที่เรื่องความรู้หรอก มันเป็นแค่ระบบการกรองคนเท่านั้น มันเป็นแค่ตัวส่งสัญญาณให้รู้ ว่าคนนี้เก่งกว่าคนนี้ ถ้าคิดอย่างนี้ก็จบสิครับ ในที่สุดทุกอย่างมันก็จะเฟ้อ ถ้าคุณแค่คิดว่าอยากเรียนปริญญาเพื่อถีบตัวคุณให้สูงกว่าคนไม่จบปริญญา วันหนึ่งทุกคนก็จบปริญญาตรีหมด ต่อไปทุกคนก็ต้องถีบตัวไปเรียนปริญญาโท ปริญญาเอก ดันกันไปเรื่อยๆ สุดท้ายมันก็เฟ้อ การศึกษากลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายอะไร” หน้า 105-106

(ขอบคุณไฟล์ภาพจากจุฬค่ะ)

...คุณเห็นด้วยไหม ?
‘ผู้จัดการการเมือง’ คุณภาพ
มองโลกได้กว้างเพียงใด
หัวใจต้องกว้างตามเพียงนั้น



Create Date : 18 ธันวาคม 2550
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2551 12:38:38 น.
Counter : 451 Pageviews.

4 comment
1  2  3  

skywriter
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ผู้หญิงธรรมดาๆ ที่ขี้เล่า ^^
New Comments