100 ปี นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล
หลายครั้งที่เรามักดื้อดึงยืนยันจะทำในสิ่งเดิมๆ แล้วอ้างว่า “ก็ฉันเป็นของฉันแบบนี้” โดยไม่คิดปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง จนกว่าจะได้พบสิ่งกระทบใจบางอย่าง...
สิ่งนั้นย่อมเป็น ‘จุดเปลี่ยน’ ให้เราตัดสินใจกระทำสิ่งใหม่ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งในทางร้ายและในทางดี

1.
จากนักล่าสัตว์เปลี่ยนมาเป็นนักอนุรักษ์...
นพ.บุญส่ง เลขะกุล จบการศึกษาจากแพทย์ศิริราช เป็นหมอรักษาโรคทั่วไป แต่กลับนิยมการล่าสัตว์เป็นเกมกีฬา โดยจะเก็บเขาสัตว์และตัวอย่างสัตว์ชนิดต่างๆ มาสตัฟฟ์ เพื่อการศึกษาและสะสม
‘จุดเปลี่ยน’ ของหมอบุญส่งเกิดขึ้นระหว่างเข้าป่าปากช่อง
ขณะกำลังจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ ได้มีชาวบ้านมาอ้อนวอนให้ช่วยล้มช้างเกเรเชือกหนึ่ง
คุณหมอปฏิเสธเพราะต้องกลับไปรักษาคนไข้ ชาวบ้านคนนั้นก้มกราบขอร้องว่าช้างเชือกนี้เหยียบคนตายไปหลายคนแล้ว หมอจึงอยู่ต่อ เพื่อจะดูว่าช้างนั้นเกเรจริงหรือไม่ ซึ่งก็พบว่ามันดุร้ายอาละวาด เพิ่งพังกระท่อมและฆ่าผู้หญิงคนหนึ่งตามที่ชาวบ้านพูดจริงๆ
ระหว่างใช้เวลาติดตามช้างเชือกนั้นอยู่นาน 19 วัน คุณหมอสังเกตเห็นว่ามันเป็นช้างที่ฉลาดมาก มีความคิดอ่านคล้ายคน และเข้าใจหลอกล่อคนที่ติดตาม
กระทั่งวันสุดท้าย หมอบุญส่งสามารถยิงมันได้ 1 นัด เมื่อมันล้ม คุณหมอจึงเห็นว่าตามตัวของมันมีรอยถูกยิงมาหลายนัดแล้ว ...นั่นต่างหากที่เป็นเหตุทำให้มันมีนิสัยดุร้าย
หลังจากนั้น คุณหมอก็ตั้งสัจจะกับตัวเองว่าจะไม่ล่าสัตว์และจะเลิกยิงปืนตลอดชีวิต
แล้วหมอบุญส่งก็เปลี่ยนมาจับปากกาเป็นนักอนุรักษ์สัตว์ป่าตั้งแต่นั้น

2.
ครั้งแรกในชั่วโมงเรียน “การพัฒนาการเขียน” (ภาคสารคดี) ของ รศ.ดร.อัมพร สุขเกษม
อาจารย์ไล่ถามนิสิตแต่ละคนว่า “ชอบงานเขียนสารคดีของใคร”
แน่นอน คำตอบของฉันในตอนนั้น คือ “หมอบุญส่ง เลขะกุล”
...ฉันหลงรักลูกกระทิงน้อย ในหนังสือ “ชีวิตของฉันลูกกระทิง”
...ฉันสนุกที่ได้อ่านและขอหนังสือ “ธรรมชาตินานาสัตว์” เล่ม 1 กับ 3 (พิมพ์ปี 2504) มาจากลุง
แล้วตามหาเล่ม 2 ที่ขาดหายมาได้เมื่อถูกพิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 2537
...ฉันเพลิดเพลินและหัดวาดรูปสัตว์จากหนังสือ “เที่ยวป่า”
และฉันก็เสียดายแทบบ้า เมื่อหนังสือ “A guide to the Birds of Thailand” ถูกยืมหายไปไม่กลับคืน

งานเขียนของคุณหมอบุญส่งให้ความรู้มากมายเกี่ยวกับป่าและเพื่อนร่วมโลกนานาพันธุ์
ทั้งยังเล่าผ่านประสบการณ์ชีวิตในพงไพรที่มีครบทุกรสชาติ สนุก ตื่นเต้น ตลก เพลิดเพลิน ไปจนกระทั่งหดหู่ สะเทือนใจ ซึ่งเสน่ห์อย่างหนึ่งในงานเขียนของท่านก็คือ การถ่ายแทรกซาวน์แทร็กเสียงสัตว์เข้าไปอย่างสมจริง

3.
จากนักล่าสัตว์ เปลี่ยนมาเป็นนักอนุรักษ์
และจากนักอนุรักษ์ กลายมาเป็น ‘บิดาแห่งการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่าเมืองไทย’

“คนในสมัยปัจจุบัน ที่มีจิตใจอย่างคนป่าเถื่อนสมัยยุคหินก็ยังมีอยู่บ้าง...เธอก็คงเห็นบ่อยๆ เช่น นกกินปลา นกกระยาง นกตะขาบ ซึ่งเป็นนกที่สวยงามน่าดู เขาไม่สนใจที่จะดูหรือชมความงามของมัน กลับเอาหนังยางยิงให้มันเจ็บเล่น หรือเอาปืนยิงให้มันตายไปเสียเลย โดยมากยิงแล้วก็โยนทิ้ง เพราะนกเหล่านั้นกินไม่ได้ แล้วก็ไปเที่ยวหายิงตัวอื่นๆ เล่นต่อไปใหม่...” (เที่ยวป่า หน้า 13)

อย่ารอให้สิ่งกระทบใจต้องกระเทือนถึงตัวเองหรือคนที่เรารักเลยค่ะ
เพียงแค่เอาใจเขามาใส่ใจเรา แล้วหยุดมือที่กำลังจะทำลายไว้เท่านั้น
คุณก็จะเปลี่ยนเป็นผู้อนุรักษ์ได้ทันที


* ขอยกย่องและระลึกถึงคุณความดีของ นพ.บุญส่ง เลขะกุล
* ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากนิตยสารสารคดี ฉบับ 273 พ.ย. 50




Create Date : 25 ธันวาคม 2550
Last Update : 25 ธันวาคม 2550 8:04:43 น.
Counter : 1616 Pageviews.

8 comments
  
ยังไม่เคยอ่านงานของท่านเลยค่ะ

แต่ได้ยินชื่อมานานแล้ว
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 25 ธันวาคม 2550 เวลา:9:38:26 น.
  
ได้ยินชื่อท่านมานานไม่คิดว่าจะอายุมากขนาดนี้ นึกว่าสักหกสิบกว่าๆ
โดย: ตาพรานบุญ วันที่: 25 ธันวาคม 2550 เวลา:11:47:48 น.
  



ส่งความสุขรับปีใหม่ครับ
โดย: zunzero วันที่: 26 ธันวาคม 2550 เวลา:21:04:10 น.
  
ตอนแรกไม่ค่อยรู้จักคุณหมอเลยค่ะ
พอได้อ่านสารคดีเล่มนี้แล้่วชื่นชมคุณหมอมาก
จะเป็นคนหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติค่ะ
โดย: BoOKend วันที่: 27 ธันวาคม 2550 เวลา:22:07:33 น.
  
ซื้อสารคดีเล่มนี้เก็บด้วยค่ะ
ชื่นชมคุณหมอบุญส่งมาก ยิ่งสารคดีเล่มนี้ อ่านแล้วเป็นคนที่น่านับถืออย่างยิ่ง
หนังสือท่านนี่ชอบเรื่องธรรมชาตินานาสัตว์มากๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: January Friend วันที่: 2 มกราคม 2551 เวลา:23:29:52 น.
  
ยกให้เป็นเบอร์ 1 เลยครับเรื่อง สมาคมนิยมไพร น่าเสียดายรุ่นหลังไม่ค่อยได้สัมผัสผลงานเขียนของท่าน
ลองหาอ่านดูซิครับ ให้เครดิทเท่าเฮมมิ่งเวย์เลย คนหนึ่งป่า
คนหนึ่งทะเล ลองหาดูซิครับยิ่งอ่านหลาย ๆ เรื่องยิ่งสนุกยิ่งเข้าใจ
โดย: ศุภชัย IP: 125.24.13.74 วันที่: 1 ตุลาคม 2552 เวลา:15:30:26 น.
  
งานเขียนของท่าน คือแรงบันดาลใจให้เกิดเพชรพระอุมาครับ
ทำให้มีวนอุทธยานแห่งชาติ ทำให้เกิดงานอนุรักษ์ ทำให้เข้าใจพืชสัตว์อย่างวิทยาศาสตร์ไม่ใช่แบบงมงาย
ใครจะอ่านเพชรพระอุมาให้สนุกให้อ่านงานของนายแพทย์บุญส่งก่อนครับ(ปกติเป็นญาติกัน)
ด้วยจิตคาระวะ
โดย: นายวิศาล สมหวัง IP: 202.32.86.31 วันที่: 11 มีนาคม 2556 เวลา:9:55:26 น.
  
ผมมี หนังสือชีวิตสัตว์ ทั้งสามเล่มครับ
โดย: นายวิศาล สมหวัง IP: 157.7.52.183 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา:16:38:10 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

skywriter
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ผู้หญิงธรรมดาๆ ที่ขี้เล่า ^^
New Comments