Group Blog
 
All Blogs
 

โรคของกล้วยไม้ จ้า

ประมวลภาพโรคกล้วยไม้ต่างๆ สาเหตุและวิธีการักษา!!!

โรคราดำ


เป็นโรคที่พบเสมอกับกล้วยไม้ที่เลี้ยงไว้กับต้นไม้ใหญ่ ซึ่งตัวเชื้อรานั้นไม่ทำอันตรายต่อต้นและดอกเพียงแต่มันไปเกาะบนผิวเท่านั้น แต่อาจส่งผลมากถ้ามีการเกาะมากขึ้น ทำให้สังเคราะห์แสงได้น้อยลง
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Meliola sp
อาการของโรค: บริเวณใบและลำลูกล้วยไม้จะถูกปกคลุมด้วยผงดำๆ ของใยและสเปอร์ของเชื้อรา
มองดูคล้ายผงเขม่า ทำให้กล้วยไม้สกปรก
การแพร่ระบาด: เชื้อราแพร่มาจากไม้ต้นใหญ่ เช่น มะม่วง ส้ม โดยสเปอร์ปลิวมากับลม
หรือติดมากับแมลงแล้วยังอาจแพร่ไปยังกล้วยไม้ต้นอื่นๆได้
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเป้นโรค: เชื้อรานี้มักขึ้นตามหยดน้ำหวาน หรือมูลที่เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง ถ่ายออกมา และมักพบในบริเวณใกล้หรือใต้ต้นไม้ใหญ่
การป้องกัน: แยกหรือทำลายต้นที่เป้นโรค ใช้ยาฆ่าแมง ฉีดป้องกัน เช่น คาร์บาริล
ใช้ยาฆ่าเชื้อรา เช่น เบนโนมิล หรือ แมนโคเซบร่วมด้วยสารฟอสเฟต อัตรา 30-40 กรัม/ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบโรค
7-10 วัน

โรคเน่าดำหรือโรคเน่าเข้าไส้
เป็นโรคที่สำคัญและมักพบเห้นบ่อยๆ เพราะสามารถเป็นได้กับกล้วยไม้หลายชนิดและถ้าเกิดกับลูกกล้วยไม้จะทำให้ตายทั้งกระถางในเวลาอันรวดเร็ว
อาการของโรค:
เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ตั้งแต่ ราก ใบ ยอด และดอก ถ้าเชื้อราเข้าทำลายรากจะทำให้รากเน่าแห้ง
ซึ่งจะทำให้ใบเหลืองร่วง และถ้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป้นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมามือมาได้ง่าย
ในระยะรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เวลาผ่าต้นจะเห้นสีดำหรือน้ำตาลตามแนวยาว ในบางครั้งจะเเสดงอาการที่ใบ โดยเป้นจุดกลมชุ่มน้ำ สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้มแล้วลุกลามเข้าไปในซอกใบ

รูปในระยะรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เวลาผ่าต้นจะเห้นสีดำหรือน้ำตาลตามแนวยาว

ในบางครั้งจะเเสดงอาการที่ใบ โดยเป้นจุดกลมชุ่มน้ำ สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้ม
สำหรับการสังเกตแบ่งได้เป้นข้อ ๆ ดังนี้นะ
1 อาการที่ใบ เริ่มแรกจะเป้นจุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาเป้นสีน้ำตาลและดำในที่สุด
แผลจะขยายใหญ่ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว ในสภาพที่มีความชื้นสูง
2 อาการที่ต้น เชื้อราเข้าทางยอดหรือลำต้น ใบจะเหลืองหรือเน่าดำหลุดร่วงจากต้นได้ง่าย
กรณีเข้าทางยอดก้อจะหลุดติดมือขึ้นมา กรณีที่เชื้อราเข้าทางโคนต้น ใบจะเหลืองจากโครต้นขึ้นไปหาส่วนยอดเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่เรียกว่า "โรคแก้ผ้า"
3 อาการที่ราก เป้นแผลสีดำ เน่า แห้ง ยุบตัวลง ต่อมาจะลามไปในต้น
4 อาการที่ดอก บนกลีบดอกเป้นแผลจุดสีน้ำตาล อาจมีสีเหลืองล้อมรอบแผลเหล่านั้น
5 อาการที่ก้านช่อดอก เมื่อเชื้อราทำลายตรงก้านช่อ จะเห้นแผลเน่าลุกลาม ก้านช่อจะล้มพับในเวลาต่อมา

การแพร่ระบาด
เป้นโรคที่แพร่จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งได้ง่าย โดยเฉพาะในฤดูฝน อากาศที่มีความชื้นสูง สปอร์ของเชื้อราจะกระเด็นไปกับน้ำฝนหรือระหว่างการรดน้ำต้นไม้
การป้องกัน

1 ปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง อย่าปลูกก้วยไม้แน่นเกินไป
2 ถ้าพบกระถางไหนที่เป้นโรค ต้องทำลายเสีย (แต่บางสวนมักนำมาขายต่อในราคาถูก)
3ถ้าเป้นกับต้นกล้วยไม้ที่ดตแล้ว ควรตัดส่วนที่เป้นโรคออกจนถึงเนื้อดีแล้วใช้สารเคมีป้องกันป้ายบริเวณแผล
4 ไม่ควรให้น้ำกล้วยไม้ตอนเย็นหรือใกล้ค่ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว เพราะจะทำให้เกิดสภาพอากาศเย็น ความชื้นสูง ซึ่งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา
5 สารเคมีที่ใช้ป้องกันโรคตัวนี้มีหลายชนิดคือ
- ฟอสฟอรัส แอซิด อัตรา 30 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นในช่วงแดดไม่จัด สารตัวนี้ดีในแง่เป้นสารป้องกัน
- อีทริไดอะโซล ใช้ได้ดีแต่ไม่ควรใช้สารนี้ผสมกับปุ๋ยหรือสารเคมีอื่นๆทุกชนิด
- เมธาแลคซิน 35% wp อัตรา 7 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ได้ดีในกรณีกำจัดเชื้อ สารเคมีนี้เป้นสารเจาะจงไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 3 ครั้ง และเพื่อไม่ให้เชื้อดื้อยาเร็วต้องพ่นสลับกับสารตัวอื่น เช่น แคปเทน หรือ แมนโคแซบ เป้นต้น

โรคเน่า

เป็นโรคที่สำคัญ ระบาดได้กับกล้วยไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ตระกูล หวาย แคทลียา ฟาและนอปซิส เป้นต้น
ลักษณะอาการ
เริ่มแรกเป้นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่ออ่อน จากนั้นแผลจะเริ่มขยายขนาดขึ้น และเนื้อเยื่อเหมือนจะถูกน้ำร้อนลวก คือ ใบจะพองเป็นสีน้ำตาล และอาการเป้นจุดฉ่ำน้ำบนใบจะมีขอบสีเหลืองเห้นชัดเจน ภายใน 2-3 วันเนื้อเยื่อใบกล้วยไม้จะโปร่งแสงเห้นร่างแหของเส้นใบถ้ารุนแรงต้นอาจตายได้

การแพร่ระบาด
โรคจะเเพร่ระบาดรุนแรง รวดเร็ว ในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง เช่น ช่วงอากาศอบอ้าวก่อนที่ฝนจะตก
การป้องกัน
1 เผาทำลายต้นเป้นโรค
2 ลูกกล้วยไม้ควรปลูกในโรงเรือน และถ้าเกิดมีโรคนี้เข้าแทรกซึม ควรงดให้น้ำสักระยะ อาการเน่าจะหยุดชะงักไม่ลุกลาม ระวังการให้น้ำมากเกินไปจนแฉะ
3 ไม่ควรปลูกก้วยไม้แน่นเกินไป เพราะเครื่องปลูก จะอุ้มน้ำหรือชื้นแฉะตลอดเวลา เมื่ออากาศภายนอกร้าวอบอ้าว อากาศในเรืองเรือน จะทำให้เกิดเป็นโรคง่าย การให้ปุ๋ยไนรโตรเจนสูงมากเกินไปและมีโปแตสเซียมน้อย ทำให้ใบอวบหนา และการให้ปุ๋ยไม่ถูกสัดส่วน
เร่งการเจริญเติบโต รวดเร็วต่อเนื่องเป็นเวลานานในช่วงฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจะเกิดปัญหาโรคนี้ระบาด ทำใหต้นอวบ
เหมาะแก่การเกิดโรค
4 การใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ใช้สารปฏิชีวะนะ เช่น แอกกริมัยซิน ไฟโตมัยซิน แอกกริสสเตรป อัตรา 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แต่สารประเภทนี้มีข้อจำกัด ควรพ่นในช่วงเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดด ซึ่งอาจทำให้สารเสื่อมฤทธิ์และไม่ควรผสมกับสารอื่นๆ ทุกชนิด

โรคต้นเน่าแห้งหรือโรคราเมล็ดผักผกาด

เป็นโรคที่พบตามตามปลูกกล้วยไม้ทั่วๆไป โดยเฉพาะในเขตอากาศร้อนชื้น
ลักษณะอาการ
เชื้อราจะเข้าทำลายกล้วยไม้บริเวณรากหรือโคนต้น แล้วลุกลามไปยังส่วนโคนต้นขึ้นไป บริเวณที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนสีเหลืองและนำตาลตามลำดับ เนื้อเยื่อจะผุเปื่อยถ้าอากาศชื้นมากๆจะมีเส้นใยสีขาวแผ่คลุมบริเวณโคนต้นพร้อมกับมีเมล็ดกลมๆ ขนาดเล็กสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดผักผกาดเกาะอยู่บริเวณโคนต้น บางครั้งจะแสดงอาการที่ใบทำให้ใบเน่าเป้นสีน้ำตาล เมื่อกาศแห้งจะแห่ยวและตายในที่สุด

การแพร่ระบาด
เชื้อราแพร่ระบาดไปทางดิน โดยการเคลื่อนย้ายดินหรือเครื่องปลูกที่มีเชื้อ อาศัยอยูไปตามที่ต่างๆ ในเรือนกล้วยไม้ การวางกระถางติดกันมาก การให้ความชื้นสูง การฉีดพ่นน้ำที่มีกำลังแรงเกินไปเหล่านี้จะทำให้โรคระบาดไปได้รวดเร็ว
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
เชื้อสาเหตุเจริญไดดีในสภาพอุณหภูมิและความชื้นสูง ปกติอยู่ในช่วงระหว่าง 46 F - 99F แต่ที่เหมาะสมที่สุด 85 F ที่อุณหภูมิประมาณ 55 f เชื้อไม่ค่อยเจริญเติบดตเท่าใด

การป้องกันกำจัด
1 ใช้เครื่องปลูกที่สะอาดปราศจากโรค
2 ใช้น้ำสะอาดในการรดน้ำ
3 ไม่ควรปลูกหรือย้ายต้นไม้ขณะอากาศแปปรวน
4 ถ้าเริ่มเป้นโรค ควรตัดส่วนเป้นโรคออกมาให้มากพอสมควร แล้วนำต้นกล้วยไม้ไปแช่ในสารละลายน้ำยาตรฟิน(Natriphene) อัตรา 1:2000 แช่นาน 1 ชั่วดมง
5ในเรือนกล้วยไม้ ก่อนมีการปลูก ควรฉีดพ่น คลอร๊อกซ์ chlorox 10% ตามผนังและพื้น จะช่วยระงับยับยั้งการทำลายของเชื้อได้
6 สารเคมีซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า ไวตาแวกซ์ (Vitavax)จัดว่าเป้นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคนี้

โรคเน่าเละ

เป็นโรคที่เกิดเสมอในกล้วยไม้หลายสกุล ซึ่งจากรายงานพบว่า กล้วยไม้จำพวก แคทลียา ออซิเดียม ฟาแลนนอป
ซิมบิเดียม แวนด้าลูกผสมและเข็ม มักเป็นโรคนี้ โดยอาการเริ่มแรกจะเป้นจุดฉ่ำน้ำก่อน ต่อมาจะลุกลามเป้นแผลขนาดใหญ่สีน้ำตาล และยุบตัวลง
ลักษณะอาการ
จะเกิดได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ตั้งแต่ลำลูกกล้วย ลำต้นและใบ โดยระยะแรกจะเป้นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่อ ต่อมาจะเปลี่ยนเป้นสาน้ำตาลอ่อนและเนื้อเยื่อบวม
คล้ายน้ำร้อนลวก ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม ความชื้นสูง อาการจะขยายรุกรามเร้วขึ้น ทำให้เกิดอาการเน่าเละ
มีกลิ่นบูดเหม้นจัด ใบจะหลุดภายใน 2-3 วัน อาจทำให้กล้วยไม้ตายทั้งต้น

การแพร่ระบาด
โรคนี้จะระบาดรวดเร็วในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง โดยเฉพาะในช่วงปลายฤดูร้อนต่อฤดูฝน เชื้อแบคทีเรียสามารถติดไปกับน้ำฝน และเชื้อจะเข้าทำลายพืชทางช่องเปิดธรรมชาติและบาดแผล
การป้องกันกำจัด
1 สามารถปฎิบัติได้เช่นเดียวกันกับการป้องกันโรคเน่าเละ
2 สารเคมีปฎิชีวนะ เช่น อะกริมัยซิน(Agrimycin) สเตรปโตมัยซิน(Streptomycin)
ซึ่งใช้สำหรับการป้องกันกำจัดโรคพืชได้ โดยผสมอัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร (ข้อพึงระวังว่าอย่าใช้ในอัตราที่เข้มข้นเกินไปและพ่นบ่อยๆ จะทำใหใบกล้วยไม้กลายเป็นสีเหลืองซีดขาวเห็นได้ชัดกับประเภทแวนด้า แอสโคแซนด้า) การกำจัดเพลี้ยหอย ส่วนใหญ่ที่สวนจะใช้ แลนเนต น่ะฮะ ซึ่งสารเคมีตัวนี้ค่อนข้างส่งผลข้างเคียงกับผู้ใช้น้อยกว่า โพลีดอน มากๆฮะ โดยเราจะฉีดสารตัวนี้ 5 วันครั้ง ฉีดต่อเนื่อง 3 ครั้ง (ประมาณวันที่ 15 นับจากฉีดครั้งแรก)
เนื่องจากเพลี้ยมักจัทิ้งไข่ไว้อีกดังนั้น เราจึงต้องซ้ำอีก 2 ครั้งที่เหลือนั่นเองฮะ ที่สำคัญในช่วงนี้ต้องห้ามให้ปุ๋ยเลยนะฮะ อัตราส่วนการใช้ก้อใช้ตามฉลากที่ระบุได้เลยฮะ
เผอิญพี่ตอบเมลล์น้องไม่ได้เลย ส่งไปตั้งแต่หลายสัปดาห์ก่อน แต่เมลล์ตีกลับเสมอเลยฮะ ก้อเลยหวังว่าน้องจะมาอ่านเจอในบอร์ดนี้นะฮะ




 

Create Date : 03 ธันวาคม 2548    
Last Update : 3 ธันวาคม 2548 23:41:12 น.
Counter : 1940 Pageviews.  


SKY_ORCHID
Location :
กาญจนบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add SKY_ORCHID's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.