*~Another eBook Story~*
ด้วยความตั้งใจส่วนตัวว่าจะเขียนบล็อกเกี่ยวกับอีบุ๊ค (eBook) และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องเอาไว้ให้คนที่สนใจเรื่องนี้ได้เอาไปเป็นข้อมูลกันเลยเปิดห้องนี้ แต่ด้วยสาเหตุหลายๆอย่าง (หลักๆแล้วคือความขี้เกียจ) ทำให้ดองไว้นานถึงครึ่งปีนับตั้งแต่วันที่เปิดห้อง พอมาวันนี้ตัวขยันเข้าสิงเลยขยับมาเขียนแต่...ข้อมูลล้นจนลำดับไม่ถูกว่าจะเล่นเรื่องไหนก่อนดีโฮ่ว~ แต่ก็กลัวว่าถ้าขืนคิดมากแล้วจะลงถังดองแบบถาวรไปเลย งั้นก็ขอสรุปมันซึ่งทุกสิ่งลงไปในบล๊อกนี้เลยแล้วกันนะ! อันไหนว่าต่อได้จะมาขยายความต่อในวันหลังนะเจ้าคะ

เริ่มจากประเด็นหลักกับคำถามที่ได้ยินทีไรเป็นได้เกิดอาการหน้ามืดขึ้นมาทุกที

อีบุ๊ค (eBook) คืออะไร?

คำตอบที่บ้านที่สุดก็คือหนังสืออิเล็คทรอนิก อันเป็นคำตอบที่ฟังดูแล้วกำปั้นทุบดินมากๆและดูเหมือนจะไม่ได้บอกอะไรคนถามเลยยยย แต่ว่ามันก็เป็นคำตอบที่ชัดเจนที่สุดแล้วนะเออ แต่ถ้าถามเรา เราก็จะบอกว่าอีบุ๊คคือไฟล์เอกสาร “ทุกประเภท” โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง อีบุ๊คคือไฟล์เอกสารทุก.ประ.เภท ไล่กันไปตั้งแต่ที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีอย่าง MS Word, PDF, Power Point, MS Excel ไปจนถึงไฟล์ประหลาดมหัสจรรย์อย่าง ePub, Flip, awz, mobi, ADB และอื่นๆอีกมากมาย ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน จะเป็นแค่ตัวอักษรโล้นๆหรือว่าอนิเมชั่นสุดอลังการงานสร้าง ถ้าไฟล์นั้นสร้างมาเพื่อให้ข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว โดยพื้นฐานก็ถือว่าเป็นอีบุ๊คทั้งหมดเจ้าค่ะ

คนไทยส่วนใหญ่น่าจะคุ้นเคยกับไฟล์อีบุ๊คแบบอนิเมชั่นหรือ Flip Book มากกว่า ไฟล์แบบนี้จะเป็นไฟล์อีบุ๊คที่เป็นสีสวยๆ พลิกหน้าได้ บางเล่มก็เสริมออพชั่นด้วการใส่เพลงใส่วีดีโอเข้าไปด้วย เท่าที่เห็นมาไฟล์แบบนี้จะใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมเสียเป็นส่วนใหญ่(โรงเรียนประถมนี่ไม่ทราบจริงๆน่อ) นอกจากนั้นก็จะเป็นแค๊ตตาล๊อกออนไลน์ (eCatalog) ของบริษัทใหญ่ๆ (เห็นว่าค่าทำแพงนะเออ) กับแมกกาซีนออนไลน์ (eMagazine) ค่ะ อันสุดท้ายนี่ของต่างประเทศจะมีให้เลือกอ่านเยอะแยะกันเลยทีเดียวเชียว

อีบุ๊คอนิเมชั่นถึงจะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางกว่าอีบุ๊คแบบอื่นๆในประเทศไทย แต่สำหรับคนที่นิยมอ่านหนังสือหนักๆและอ่านอีบุ๊คแบบเอาเป็นเอาตายนั้น ไฟล์ประเภท PDF, ePub และ awz จะเป็นที่นิยมกว่าค่ะ เพราะส่วนใหญ่แล้วประชาชนนักอ่านกลุ่มนี้จะเอาไปอ่านบนเครื่องอ่านอีบุ๊คหรือว่า eReader ซึ่งหน้าจอของเครื่องนี้จะคุณสมบัติพิเศษที่ทำให้อ่านแล้วไม่ปวดตาเหมือนเวลาอ่านจากหน้าจอคอม

แล้วนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่พอได้ยินปุ๊บเป็นแทบยกมือไหว้ ว่าฟังหนูเล่าก่อนเถิดแล้วค่อยบอกว่า “ไม่อยากอ่านอีบุ๊คเพราะแก่แล้ว ปวดตา” ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้ว สำหรับท่านๆสว.(สูงวัย)กับผู้ที่มีปัญหาทางสายตากลับอยากแนะนำให้อ่านอีบุ๊คด้วยเครื่องพวกนี้ด้วยซ้ำไป

ก่อนที่จะหลุดประเด็นเรื่องอีบุ๊คไปมาดูกันก่อนดีกว่าว่าทำไมจขบ.ถึงได้เชียร์ให้อ่านอีบุ๊คนัก มันดีสักแค่ไหนเชียว ยังไงหนังสือเป็นเล่มๆก็ต้องดีกว่าอยู่แล้ว! แหมะ ณ จุดนี้ไม่เถียงนะจ๊ะ เพราะเราเองก็ยังชอบอ่านหนังสือเล่มอยู่มากเพียงแต่ว่าอีบุ๊คก็มีข้อดีในตัวของมันเอง แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีข้อเสียด้วย

ข้อดีของอีบุ๊คที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือประหยัดที่เก็บ ใครเป็นนักอ่านตัวยงน่าจะรู้ดีว่าเรื่องนี้มันเป็นปัญหาใหญ่แ่ค่ไหน หนังสือ 10 เล่มอาจจะอัดลงกล่องขนาดกลางๆได้ 1 กล่องแต่อีบุ๊ค 10 เล่มนี่ลง SD Card อันเดียวก็ยังเหลือที่อีกบานเบอะนะคะ ข้อดีอย่างต่อมาก็ขอเล่นกันที่เรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนิสนึงคือลดการตัดต้นไม้ที่นำเอามาทำกระดาษและขั้นตอนๆอื่นๆในการพิมพ์ ลดสารพิษจากหมึกพิมพ์เป็นต้น กว่าหนังสือแต่ละเล่มจะอกมาได้เนี่ยต้องใช้ทั้งน้ำร้อนทั้งสารเคมีไม่รู้เท่าไรต่อเท่าไร

จริงๆแล้วข้อดีของอีบุ๊คยังมีอีกหลายข้อแต่บางอันก็คิดว่ามันดูแถไปหน่อยเหมือนกัน เลยขอบอกต่อเฉพาะข้อดีที่ทำให้เราชอบเป็นการส่วนตัวดีกว่าค่ะ อันแรกเลยคือประหยัด ราคาอีบุ๊คจะถูกกว่าหนังสือเรื่องเดียวกันที่พิมพ์เป็นเล่มออกมากค่ะ แต่ด้วยความที่ตอนนี้อีบุ๊คที่เราซื้อส่วนใหญ่จะเป็นเว็บของต่างประเทศคูณค่าเงินเข้าไปแล้วออกมาเท่ากับราคาหนังสือในบ้านเราเลย เหอๆ แต่ก็ดีที่ไม่ต้องเสียค่าส่งให้เจ็บช้ำหัวใจ ยิ่งไปกว่านั้นในกรณีที่สั่งหนังสือจากต่างประเทศอย่างนี้เราจะได้เปรียบมากคือไม่ต้องรอให้ร้านที่เราไปซื้อส่งหนังสือมาให้เพราะว่าโหลดอ่านได้เดี๋ยวนั้นทันที สามารถอ่านจบก่อนชาวบ้านที่อ่านเป็นเล่มแล้วไปเล่ายั่วชาวบ้านได้ หุๆๆ แต่เหตุผลจริงๆที่ทำให้ชอบอ่านอีบุ๊คก็คือการคั่นหน้าให้อัตโนมัติ อ่านเรื่องไหนค้างไว้ ปิดเครื่องไปทำอย่างอื่น กลับมาเปิดใหม่ก็อยู่ที่เดิมเลย เป็นอะไรที่ประทับใจสิ่งมีชีวิตที่ชอบทำที่คั่นหนังสือหายอย่างเรามากๆ

ว่าข้อดีกันไปแล้วก็มาว่ากันถึงข้อเสียบ้าง ที่ชัดเจนที่สุดก็คือเรื่องของลิขสิทธิ์ที่สามารถละเมิดกันไปแบบชิวๆ~เพราะการส่งไฟล์ต่อๆกันไปมันง่ายกว่าการส่งหนังสือเป็นเล่มต่อๆกันไปอยู่แล้ว พอหนังสือถูกละเมิดง่ายๆก็อย่าได้คิดว่าทางสำนักพิมพ์ต่างๆเขาจะยอมอยู่กันเฉยๆนะเออ ทางสนพ.ต่างๆเขาก็แก้ปัญหาด้วยการใส่โปรแกรมล๊อกไฟล์เข้าไปในหนังสือแต่ละเล่ม ฟังเหมือนจะแก้ปัญหาได้และดูดีแต่จริงๆแล้วมันกลับสร้างความวุ่นวายให้กับคนที่อ่านอีบุ๊คเอาเรื่องเหมือนกันค่ะ เรื่องนี้ถ้าให้ว่ากันต่อแล้วจะยาว เอาไว้โอกาสหน้าค่อยมาเล่าให้ฟังดีกว่า

เอาล่ะ กลับมาว่าที่เรื่องของ eReader กันบ้าง อย่างที่บอกไปแล้วว่าหน้าจอของ eReader มีคุณสมบัติเศษที่ทำให้อ่านแล้วไม่ปวดตา คุณสมบัติที่ว่านี่เป็นที่รู้จักกันในนามของเทคโนโลยีอีอิงค์ (eInk) ซึ่งจะช่วยให้หน้าจอเครื่อง eReader ดูดซับแสง ไม่สะท้อนแสงเข้าตาคนอ่านและทำให้เกิดอาการตาล้าช้าลงค่ะ สรุปง่ายๆว่ามีคุณสมบัติแบบเดียวกันกับหนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตานั่นเอง แต่จากที่ใช้มาเนี่ย เราว่าจอ eReader อ่านแล้วสบายตากว่ากระดาษกรีนรี๊ดด้วยซ้ำไปนา แล้วด้วยความที่ต้องการให้หน้าจออ่านสบายตานี่เองทำให้หน้าจอของเครื่อง eReader ที่มีขายในตลาดตอนนี้มีแต่หน้าจอขาวคำค่ะ (เครื่องจอสีก็มีแต่...แพงลากไส้มั่กๆ )

ลักษณะเด่นของเครื่อง eReader นอกจากหน้าจออ่านสบายตาที่ว่าไปแล้วก็คือเรื่องน้ำหนักที่เบากว่าหนังสือพิมพ์เป็นเล่มๆ แต่ว่าไม่ใช่ไปเทียบกันเล่มต่อเล่มนะคะ เพราะเครื่องๆนึงนี่ก็หนักพอๆกับพ๊อคเก็ตบุ๊คเล่มโตๆเลยล่ะ แต่ด้วยความที่ eReader หนึ่งเครื่องสามารถบรรจุหนังสือได้หลายเล่มทำให้ชนะขาดกันไปได้ในจุดนี้ ส่วนจะจุได้มากน้อยแค่ไหนนั้นก็แล้วแต่ผู้ผลิตจะจัดมากับขนาดของไฟล์หนังสือแต่ละเล่มจะจัดไปค่ะ ส่วนใหญ่ขั้นต่ำที่ให้มาเดี๋ยวนี้คือ 2GB ซึ่งก็บรรจุหนังสือได้ถึงพันเล่มทีเดียว แน่นอนว่านี่ยังไม่นับเครื่องหลายรุ่นที่สามารถเพิ่มหน่วยความจำเข้าไปเองด้วยการเปลี่ยน SD Card อีกนะคะ ถ้าจะลองเทียบกันขำๆก็คงเรียกได้ว่าเรากำลังแบกชั้นหนังสือเป็นชั้นๆไปกับเราด้วย


PB360_main menu
Pocketbook 360 ขนาดหน้าจอ 5 นิ้ว เป็นขนาดจอที่เล็กที่สุดค่ะ

Photobucket
Nook ขนาดหน้าจอ 6 นิ้ว เท่ากับ Kindle ที่ใครหลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อมาบ้างแล้ว


จุดเด่นอีกเรื่องนึงก็คืออายุการใช้งานของแบ๊ตเตอร์รี่ แน่นอนว่าพอจอไม่มีสีก็เลยกินไฟไม่เยอะ ชาร์จทีเดียวอ่านได้นานสุดประมาณ 1 สัปดาห์ ตรงนี้ก็แล้วแต่บริษัทที่ผลิตเหมือนกัน เพราะอายุแบ๊ตเตอร์รี่ของแต่ละเจ้าจะอยู่ได้นานไม่เท่ากันค่ะ แล้วก็ขึ้นอยู่กับคนใช้ด้วยว่าใช้งานเครื่องหนักแค่ไหนด้วย ถ้าเปิดใช้บ้างปิดไปบ้างที่อยู่ได้นานที่สุดถึงเดือนนึงเลยก็มี อย่างเราเคยเปิดอ่านทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดดึกไม่ปิดเครื่อง อันนี้ก็หมดได้ภายในวันเดียวเหมือนกันนะเออ ส่วนที่ว่าของบริษัทไหนมีข้อดีข้อเสียยังไงบ้าง อันนี้คงต้องเก็บมาแฉ เอ๊ย เล่าสู่กันฟังเรียงตัวแบบละเอียดกันอีกที เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มันส์หยดในวงการอีบุ๊คกันเลยล่ะค่ะ


เขียนไปเขียนมาชักจะยาว เอาไว้ต่อโอกาสหน้าเมื่อตัวขยันกลับมาเยือนแล้วกันนะคะ



Create Date : 11 ตุลาคม 2553
Last Update : 12 ตุลาคม 2553 17:58:47 น.
Counter : 410 Pageviews.

3 comment

schwazen_wolf
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ใครชม ใครชอบ..ช่างเถิด
ใครเชิด ใครแช่ง...ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น...ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น...เป็นพอ
Photobucket
MY VIP Friend