มะเร็งไม่ร้าย&สมุนไพรไทยช่วยได้
Group Blog
 
All Blogs
 

กล้วยไม้ดินใบหมาก(Spathoglottis )



กล้วยไม้ดินใบหมากมีชื่อสกุลว่า Spathoglottis กล้วยไม้สกุลนี้โดยปกติมักนิยมเรียกกันว่า “กล้วยไม้ดิน” สามารถจำแนกชนิดของกล้วยไม้ดินออกเป็น 2 ประเภท คือกล้วยไม้ดินประเภทผลัดใบตามฤดูกาล เป็นกล้วยไม่ที่มีการเจริญของหน่อและใบอ่อนหลังจากฤดูพักตัวได้ผ่านพ้นไปแล้ว ฤดูเริ่มการเจริญเติบโตคือฤดูแล้งหรือก่อนถึงต้นฤดูฝนจะสังเกตเห็นหน่ออ่อนเจริญออกมาจากส่วนใกล้โคนดินของหัวเดิม เมื่อเข้าฤดูฝนหน่อใหม่ที่เกิดขึ้นจะแตกใบมีการเจริญเติบโตเต็มที่และออกดอกเมื่อฤดูฝนผ่านไปแล้วกล้วยไม่ดินประเภทนี้จะทิ้งใบหมดเหลือแต่เพียงหัวซึ่งพักตัวอยู่บนพื้นดิน หัวมีลักษณะค่อนข้างแบนตามระดับพื้นดินชนิดที่พบเสมอๆ ในป่าได้แก่กล้วยไม้ดินใบหมาก Spathoglottis affine (ดอกสีเหลือง) และ Spathoglottis eburnean (ดอกสีขาว) พบในป่าแถบจังหวัดปราจีนบุรีและนครนายก และกล้วยไม้ดินประเภทไม่ผลัดใบตามฤดูกาล การเจริญของหน่อใหม่ออกจากตาที่อยู่ใกล้โคนของหัวเดิมมีการเจริญเติบโตคล้ายกับประเภทผลัดใบเมื่อผ่านฤดดูฝนไปแล้วหัวที่เกิดใหม่ก็เจริญเต็มที่แล้วแต่จะไม่ทิ้งใบแม้ว่าจะมีการออกดอกไปแล้วก็ตามใบและกาบใบจะติดอยู่กับหัวต่อไปเรื่อยๆ ถ้ามีสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์และมีการดูแลเอาใจใส่ที่ดี กล้วยไม้ดินประเภทที่พบคือ Spathoglottis plicata ซึ่งพบตามเนินเขาทางภาคใต้ของประเทศไทย
การจำแนกทางพฤกษศาสตร์
Dressler ได้จำแนกกล้วยไม้สกุล Spathoglottis ดังนี้
Family: Orchidaceae
Subfamily:Epidendroideae
Tribe: Arethuseae
Subtyibe:Bletiinae
กล้วยไม้สกุลนี้มีประมาณ 45 ชนิด
ถิ่นกำเนิดและพันธุกรรม
กล้วยไม้สกุล Spathoglottis กระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปินส์ นิวกินี ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิกบางเกาะ กล้วยไม้สกุลนี้พบขึ้นเกือบทั่วประเทศไทยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก เป็นพวกที่มีดดกสีเหลืองหรือขาวนวล ส่วนที่พบทางภาคใต้ดอกสีม่วง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
โดยทั่วไปกล้วยไม้ดินมีการเจริญเติบโตแบบ sympodial มีลำลูกกล้วยป้อมซึ่งมักนิยมเรียกกันว่าหัว ที่ห้วมีข้อถี่ๆ ลำหนึ่งหรือหัวหนึ่งมีใบอยู่ 2-4 ใบ กล้วยไม้ดินใบหมากมีลำต้นแบบ creeping rhizome อยู่ใต้ดินซึ่งเจริญแบบซิมโพเดียมลำลูกกล้วยเจริญจากลำต้นใต้ดินโผล่เหนือดินเป็นจุดกำเนิดใบ ใบยาวและมีเส้นใบที่เป็นรอยพับจีบตามยาวฐานใบมีกาบใบรอบๆ ลำต้นปลายกาบใบจะเชื่อมติดกันเมื่อเล็กใบจะตั้งตรงและมีร่องเมื่อแก่ปลายใบเรียวแหลมและโค้งปลายห้อยลง
ช่อดอกเกิดด้านข้างของหัว ดอดเกิดที่ปลายช่อ ช่อดอกแบบ racemose ดอกบานจากข้างขึ้นข้างบนจำนวน 10- 30 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีรูปร่างคล้ายกันและกางออกเกือบอยู่ในระนาบเดียวกันกลีบปากช่วงกลางมักคอด ช่วงปลายกว้างและปลายมักจะหยักเว้าส่วนโคนมีหูปากพับตั้งขึ้นทั้ง 2 ข้างบางชนิดไม่มีหูปาก ปลายปากผายออกกว้างแล้วแต่ชนิดบางครั้งเว้าที่ปลายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด เส้าเกสรที่โคนยาวโค้งเล็กน้อย กล่มเรณูมี 2 ชุด ชุดละ 4 กลุ่มแต่ละกลุ่มรูปคล้ายกระบอก

ชนิดของกล้วยไม้ดินใบหมาก
กล้วยไม้ดิน บางชนิด
1. Spa. affinis de Vriese (ชื่อพ้อง: Spa. lobbii Rchb. f; ชื่อไทย: เอื้องหัวข้าวเหนียว ) หัวมีลักษณะเล็ก ค่อนข้างแบนและทรงแป้น มีรูปร่างไม่แน่นอน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-3 เซนติเมตร ผิวเรียบมีเยื่อบางใสคลุม เป็นกล้วยไม้ชนิดที่ทิ้งใบหมด คงเหลือแต่หัวอยู่กับดินซึ่งพักตัวในฤดูแล้ง ใบกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ปลายแหลม ก้านช่อดกยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร และมีขนละเอียด แกนช่อยาวเรียวและตั้ง มีดอกหลายดอกออกโดยรอบและเรียงกันอย่างได้ระเบียบ ดอกมีขนาดค่อนข้างเล็ก ขนาดกลีบเลี้ยงด้านบน (dorsal sepal) กว้าง 0.8 เซนติเมตร และยาว 1.8 เซนติเมตร สีของดอกเป็นสีเหลือง โดยปกติกลีบเลี้ยงด้านบนและกลีบดอกมีขนาดเท่า ๆ กัน ส่วนกลีบเลี้ยงด้านข้างตอนใกล้ ๆ กับปากมีขนาดกว้างกว่าเล็กน้อย และมีเส้นสีม่วงประปรายในบริเวณส่วนที่กว้างของกลีบ ปลายปากผายกว้างและมีร่อง เป็นกล้วยไม้พื้นเมือง พบที่ พม่า ไทย ชวา และมาเลเซีย
2. Spa. aurea Lindl. บางทีเรียกว่า Spa. confura J.J.S. หรือ Spa. wrayi HK. ใบกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ส่วนต้นเหนือหัวขึ้นมา ก่อนถึงแผ่นใบยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร กาบใบหรือตัวใบมีจุดหรือแต้มสีม่วง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 60 เซนติเมตร หรืออาจสูงกว่านี้ และไม่มีขนดอกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-7 เซนติเมตร มีสีเหลืองทองสดใส กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีขนาดกว้างเท่า ๆ กัน หูปากทั้งสองข้างเหลือง หรือมีจุดสีแดงเลือดนก ที่โคนแผ่นปากตรงส่วนคอด รวมทั้งปุ่มทั้งสองปุ่มมีจุดสีแดง ลักษณะเป็นขีดเล็ก ๆ แผ่นปากค่อนข้างแคบ ปลายบานออกเล็กน้อย และมีลักษณะแหลม พบทางแถบมลายู
3. Spa. chrysantha ใบกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกว้างประมาณ 0.9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.4 เซนติเมตร กลีบดอกกว้างประมาณ 1.1 เซนติเมตร และยาว 2.2 เซนติเมตร หูปากทั้งสองข้างแคบมาก ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 0.2 เซนติเมตรเท่านั้น พบในประเทศฟิลิปปินส์
4. Spa. confusa ใบกว้างประมาณ 6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกสีเหลืองขนาดใกล้เคียงกับ Spa. kimballiana กลีบเลี้ยงกว้างประมาณ 1.7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.6 เซนติเมตร กลีบดอกกว้างประมาณ 2.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร หูปากทั้งสองข้างแคบกว่าหูปากของ Spa. kimballiana แผ่นปากยาวประมาณ 2 เซนติเมตร และส่วนปลายกว้างประมาณ 0.6 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิดบนเทือกเขาในบอร์เนียว
5. Spa. eburnea Gagnep. (ชื่อไทย บานดึก) หัวและใบคล้ายเอื้องหัวข้าวเหนียวและเอื้องดินลาว ช่อดอกสูง 20-30 เซนติเมตร จำนวนดอกในช่อน้อย ทยอยบานครั้งละ 1-2 ดอก ก้านดอกยาว 2-3 เซนติเมตร ขนาดดอกประมาณ 3 เซนติเมตร สีนวลอมเหลืองหรือเกือบขาว แผ่นปากมีส่วนคอดเว้าสั้นมาก กระจายพันธุ์ในอินโดจีน โดยเฉพาะประเทศไทย และกัมพูชา ประเทศไทยพบเป็นหย่อมกระจายตามทุ่งหญ้าภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้
6. Spa. elmeri ใบกว้างประมาณ 7 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลืองอ่อน ๆ ขนาดดอกค่อนข้างเล็ก หูปากทั้งสองข้างกว้างประมาณ 0.45 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองบนเขาของนีโกรส์ ประเทศฟิลิปปินส์
7. Spa. gracilis Rolfe มีสีเหลืองซีด กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร หูปากมีลักษณะคล้ายคลึงกับหูปากของ Spa. confusa แต่ปลายแผ่นปากผายกว้างออกคล้ายของ Spa. plicata และกว้างประมาณ 0.75 เซนติเมตร ยังไม่มีชนิดดอกใหญ่สีเหลืองชนิดใดที่มีลักษณะแผ่นปากลักษณะนี้ Spa. gracilis มีถิ่นกำเนิดในบอร์เนียว และยังพบบนเขาดูเลาทิโอมัน
8. Spa. kimballiana เป็นชนิดดอกใหญสีเหลือง สายเลือดใกล้เคียงกันกับ Spa. aurea แต่มีสีจางและสะอาดกว่า ด้านหลังของกลีบเลี้ยงยังมีสีม่วงอย่างเด่นชัด หูปากกว้างมากและปลายมน เป็นชนิดที่ไม่นิยมปลูกเลี้ยง แต่มีคุณค่าในการผสมพันธุ์ เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองในถิ่นบอร์เนียว
9. Spa. microchillina Krzl. ลักษณะคล้ายคลึงกับ Spa. aurea แต่ดอกสีเหลืองอ่อนกว่าใบไม่มีแต้มสีม่วง ดอกขณะบานไม่เปิดเต็มที่ ผสมเกสรตัวเองได้ กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบที่สูงปาดัง ในสุมาตรา ส่วนในมาเลเซียพบที่เทือกเหลัก และที่เนินไทปิง
10. Spa. pubescens Lindley หัวมีลักษณะแบน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีใบประมาณ 2-3 ใบ ใบยาวประมาณ 15-40 เซนติเมตร กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ช่อดอกสูงประมาณ 50 เซนติเมตร มีดอก 2-8 ดอก สีเหลืองเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 เซนติเมตร บริเวณด้านหลังกลีบเลี้ยงมีขน หูปากกลมยาว มีลักษณะโค้งคล้ายเคียว พบจากอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ หลายมณฑลในประเทศจีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม พบในป่าโปร่ง และบนทุ่งหญ้า
11. Spa.vanoverberghii เป็นดอกชนิดสีเหลืองมีถิ่นกำเนิดตามเทือกเขาในเขตลุซอนประเทศฟิลิฟินส์และทิ้งใบในฤดูแล้งขนาดดอกค่อนข้างเล็กกลีบเลี้ยงกว้างประมาณ 0.7-0.8 เซนติเมตรส่วนกลีบดอกกว้างกว่ากลีบเลี้ยงมาก โดยกว้างประมาณ1.2-1.3 เซนติเมตร
12. Spa. hardingana Par.& Rchb.f ลำลูกกล้วยหรืดหัวมีขนาดเล็ก ทรงกลม ใบยาวประมาณ15 เซนติเมตรก้านช่อมัลักษณะผอมเล็กยาวประมาณ 20 เซนติเมตรขนาดดอกกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตรสีดอกมีความหลากหลายจากสีแดงเลือดนกจนถึงแดงม่วงอ่อน
13. Spathoglottis plicata BI. ลักษณะของกล้วยไม้ชนิดนี้คือกลีบเลี้ยงทั้งสามกลีบคล้ายคลีงกันและกางทำมุมได้ระเบียบส่วนกลีบในทั้งคู่กว้างกว่ากลีบนอกเล็กน้อยมีปลายมากว่ากลีบนอกเล็กน้อยแต่มีสีคล้ายกัลกลีบนอกปากมีลักษณะจะค่อนข้างซับซ้อนโคนปากแคบต่อกับฐานของเส้าเกสร ตัวเส้าเกสรโค้งปลายลง หูปากทั้งสสองข้างแบนและโค่งตั้งขึ้นปลายดค้งเข้าหากันเล็กน้อย แผ่นปากแคบ ปลายกว้าง ส่วนดค้งด้านข้างมีเขี้ยวแหลมสั้นๆ ข้างละเขี้ยวด้านบนมีติ่งสองติ่งสีเหลือง และมีจุดเล็กๆ สีแดงประปลาย พบในประเทสไทย หมู่เกาะแปวิฟิก อินเดีย นิวกินี มาเลียเซียและจีน
14. Spa.tomentosa เป็นประเภทดอกสีม่วงใบแคบก้านช่อดอกตลอดจนดอกและปลอกและดอกตูมมีขนเป็นกำมะหยี่ละเอียดขนาดดอกค่อนข้างเล็กกว่า Spa. plicata เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.3 เซนติเมตร สีม่วงอมชมพู หูและแผ่นปากมีสีเหลืองเข้ม ปลายปากแยกออกเป็นสองแฉก ปุ่มและดคนแผ่นปากมีสีเหลือง ประจุดสีม่วงแดงประปราย เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองจากมินดาเนาในฟิลิฟินส์
15. Spa. paulinae F. Muell มีใบประมาณ 6-7 ใบใบในสุดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตรยาวประมาณ 45-60 เซนติเมตร ก้านช่อดอกผอม ช่อดอกยาวประมาณ 8-16 เซนติเมตรมี 8 ดอกหรือมากกว่า ดอกสีม่วงอ่อน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.3 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดดกยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดแกยาวประมาณ 1.1 เซนติเมตร เชื่อมต่อกับเส้าเกสร หูปากทั้งสองข้างด้านดคนแคบกว่าปลายและมีความยาวมากกว่าความกว้างโค้งเข้าด้านในเล็กน้อยระหว่างหูปากและแผ่นปาก มีปุ่ม 2-3 ปุ่ม ผ่นปากแคบที่โคน ส่วนปลายบานออกคล้ายพัด
16. Spa. portus-finschii Krzl. ใบสีเขียวอ่อนใบแคบมาก ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ก้านช่อดอกตั้งตรงและแข็งแรง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เป้นชนิดหนึ่งที่ม่ดอกขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกขนาดใกล้เคียงกัน สีของดดกหลากหลายตั้งแต่ม่วงชมพู จนถึงม่วงเข้มและขาว หุปากสีน้ำตาลแดงถึงแดงอ่อนและมีตุ่มสีเหลืองใกล้ฐานของปาก
17. Spa. unguiculata มีใบจีบขนาดใหญ่ 10 ใบ หรือมากกว่า ดอกสีองุ่นม่วงขนาด 1นิ้ว และมีกลิ่นหอมคล้ายน้ำองุ่น
การผลิตกล้วยไม้ดินใบหมาก
น้ำ
แหล่งน้ำส่วนใหญ่ที่เกษตรกรใช้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ดินใบหมากได้แก่คลองชลประทานและคลองธรรมชาติและมีส่วนน้อยที่ปรับสภาพน้ำโดยวิธีการพักน้ำ น้ำที่เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้มีค่าพีเอช 6.1-7 และมีค่าการนำไฟฟ้าน้อยอยู่ในระดับแสดงว่าเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี การให้น้ำนิยมให้ด้วยระบบพ่นฝอย
สภาพแวดล้อมในโรงเรือน
1. แสง สภาพแสงในโรงเรือนเฉลี่ยพลางแสงได้ร้อยละ 68.7 ซึ่งคุณสมบัติการพลางแสงจะแตกต่างจากคุณสมบัติที่ระบุจากโรงงาน
2. อุณหภูมิและความชื้น ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิและความชิ้นในโรงเรือนและนอกโรงเรือนส่วนมากความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนจะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 5 และอุณหภูมิภายในโรงเรือนจะลดลงน้อยกว่าร้อยละ 2.5 องศาเซลเซียส
สภาพการผลิต
1. ลักษณะการปลูก เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกกล้วยไม้ดินใบหมากในโรงเรือนตาข่ายพลางแสงร้อยละ 60
2. พันธุ์ เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์ลูกผสมมากกว่าพันธุ์พื้นเมืองและสีที่นิยมปลูกได้แก่ สีเหลือง แฟนซีม่วง ส่วนสีขาวและชมพูนิยมปลูกน้อยเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ต้นพันธุ์ที่มาจากการเพาะเมล็ดมากกว่าการเพาะเลี้ยงเนื้อเยี่อและการแยกกอ
3. ขั้นตอนการผลิต การปลูกต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดหรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะคล้ายกันเมื่อออกจากขวดเกษตรกรส่วนใหญ่จะย้ายลงกระบะพลาสติกหรือกระบะโฟมและปลูกเป็นเวลา 3.2 เดือนก่อนย้ายปลูกลงในกระถาง 3 นิ้ว และปลูกเป็นเวลา 3.6 เดือนจึงย้ายปลูกในกระถาง 6 นิ้ว และปลูกเป็นเวลา 5.8 เดือนก่อนจำหน่ายได้รวมระยะเวลาการผลิตทั้งสิ้น 12.6 เดือน
4. วัสดุปลูก วัสดุปลูกที่นิยมใช้ได้แก่กาบมะพร้าวสับ วัสดุปลูกส่วนใหญ่มีค่าพีเอชค่อนข้างสูงและมีค่าการนำไฟฟ้าอยู่ในระดับต่ำ
5. การให้ปุ๋ย เกษตรกรร้อยละ 83.3 นิยมใช้ปุ๋ยสลายตัวช้าโดยให้ทุก 3 เดือนนอกจากนี้ยังใช้ปุ๋ยเกร็ดละลายช้าทุก 1 สัปดาห์
6.ศัตรูพืช โรคที่เป็นปัญหาสำหรับเกษตรกรได้แก่โรคใบไหม้ โรคยอดเน่า และโรคราเม็ดผักกาด ศัตรูพืชที่เป็นปัญหาได้แก่เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยอ่อน ด้วงเต่า และเพลี้ยแป้ง
เรียบเรียงโดย นางสาวสุพรรณี ทองดี
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แหล่งอ้างอิง

//www.cpflower.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=297641&Ntype=3




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2551    
Last Update : 8 มิถุนายน 2551 11:54:26 น.
Counter : 16152 Pageviews.  

อั้วนวลจันทร์ Calanthe vestitta Ridl.




อั้วนวลจันทร์

อั้วนวลจันทร์ Calanthe vestitta Ridl.

ลักษณะ เป็นกล้วยไม้ดิน ลำต้นเจริญเติบโตทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยขนาดใหญ่ ใบพับจีบ ออกดอกแบบกระจะออกข้างลำลูกกล้วย มี 15-30 ดอก สีขาว โคนกลีบดอกสีเหลือง ขนาดดอกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ของทุกปี



การปลูก นิยมปลูกลงในกระถาง วัสดุปลูกกาบมะพร้าวแห้งหรือรากของกระเช้าสีดา ถ่านไม้ บำรุงปุ๋ยกล้วยไม้ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง



การเลี้ยง ควรให้อยู่ในที่โล่งลมพัดผ่านได้ดี ใช้ซาแลนพรางแสงประมาณ 50-60 %







 

Create Date : 05 มิถุนายน 2551    
Last Update : 5 มิถุนายน 2551 14:51:11 น.
Counter : 749 Pageviews.  

อั้วชมพูไพร




อั้วชมพูไพร
อั้วชมพูไพร เอื้องข้าวเหนียวลิง Calanthe rosea (Lindl.) Benth
ลักษณะ เป็นกล้วยไม้ดิน ลำต้นเจริญเติบโตทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปกรวย มีขนาดใหญ่ ใบพับจีบ ออกดอกแบบกระจะออกข้างลำลูกกล้วย มี 10-20 ดอก สีชมพูเข้ม ขนาดดอกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ของทุกปี



การปลูก นิยมปลูกลงในกระถาง วัสดุปลูกกาบมะพร้าวแห้งหรือรากของกระเช้าสีดา ถ่านไม้ บำรุงปุ๋ยกล้วยไม้ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง

การเลี้ยง ควรให้อยู่ในที่โล่งลมพัดผ่านได้ดี ใช้ซาแลนพรางแสงประมาณ 50-60 %




 

Create Date : 05 มิถุนายน 2551    
Last Update : 5 มิถุนายน 2551 14:46:01 น.
Counter : 1865 Pageviews.  

นางตายน้อย (Habenaria lindleyana)



เป็นกล้วยไม้ดินที่มีหัวอยู่ใต้ดิน เลี้ยงง่าย
จะออกดอกเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น ช่วงหน้าเเล้งจะพักตัวครับ

จะเป็นดอกช่วงกรกฎาคม - ตุลาคมครับ





 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2551 18:46:36 น.
Counter : 1437 Pageviews.  

ว่านจูงนาง (Geodorum attenuatum)



ดอกสีขาวๆ ช่อสั้นๆอยู่เหนือดินครับ
เป็นกล้วยไม้ดินที่เลี้ยงง่ายมากครับ
มีการพักตัวในฤดูแล้ง และจะเจริญเติบโตแตกใบออกดอกในหน้าฝนครับ

การปลูกเลี้ยงก็เพียงฝังหัวของเค้าให้อยู่ใต้ดินลงไปเล็กน้อยก็พอเเล้วครับ
และไม่ควรให้น้ำมากเกินไป เพราะอาจเน่าได้ครับ




 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2551 18:43:55 น.
Counter : 1587 Pageviews.  

1  2  3  

สมอดำ
Location :
สระแก้ว Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




muemg2007@hotmail.com

ส่วนตัว 08-1940-4710





Friends' blogs
[Add สมอดำ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.