มะเร็งไม่ร้าย&สมุนไพรไทยช่วยได้
Group Blog
 
All Blogs
 

มะรุม


มะรุม ลดไขมันป้องกันมะเร็ง
"มะรุม" เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วนทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ
ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก "ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม" ภาคเหนือเรียก "มะค้อม- ก้อน" ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก "กาแน้งเดิง" ส่วนชาวฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก "ผักเนื้อไก่" เป็นต้น

มะรุมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย
มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง ๓-๔ เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบเป็นแบบขนนกคล้ายกับใบมะขามออกเรียงแบบสลับ ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็น ช่อสีขาว ดอกมี ๕ กลีบ
ฝักมีความยาว ๒๐-๕๐ เซนติเมตรลักษณะเหมือน ไม้ตีกลอง เป็นที่มาของชื่อต้นไม้ตีกลองในภาษาอังกฤษ (Drumstick Tree) เปลือกฝักอ่อนสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก เปลือกฝักแก่มีสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มลักษณะกลมมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร เมล็ดแก่สามารถบีบน้ำมันออกมากินได้

มะรุมเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน ๑-๕ ต้น เพื่อให้เป็น ผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา

คนไทยทุกภาคนิยมนำฝักมะรุมไปทำแกงส้ม ด้วยการปอกเปลือกหั่นฝักมะรุมเป็นชิ้นยาวพอคำ ถือว่าเป็นผักที่ทำแกงส้มคู่กับปลาช่อนอร่อยที่สุด จะต่างกันก็ในรายละเอียดของแกงตามแบบอย่างของแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น แม้แต่ทางใต้ก็นิยมนำมะรุมมาทำแกงส้มปลา-ช่อน โดยจะใส่ขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีสันของน้ำแกง ปรุงรสเปรี้ยวด้วยการใส่ส้มแขกแทนน้ำมะขาม และหั่นปลาช่อนเป็นแว่นใหญ่ไม่โขลกเนื้อปลากับเครื่องแกง

ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุม ไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบ อ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กิน กับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำ มาลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกินกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้

ส่วนอื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสาน จังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งป่นเข้าเครื่อง "ผงนัว" กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก
คุณค่าทางอาหารของมะรุม
มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค
ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด ๒ เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ ๓ เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ

วิตามินเอบำรุงสายตามีมากกว่าแครอต ๓ เท่า
วิตามินซีช่วยป้องกันหวัด ๗ เท่าของส้ม
แคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน ๓ เท่าของนมสด
โพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท ๓ เท่าของกล้วย
ใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย

น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมมีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศีรษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก

ประเทศอินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก แต่ที่ประเทศฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะกินแกงจืดใบมะรุม (ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก "มาลังเก") เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับนมแม่เหมือนกับคนไทย

ชะลอความแก่
กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้

คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และcaffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายได้

ฆ่าจุลินทรีย์
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์และเบนซิล-กลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ.๒๕๐๗ จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู ปัจจุบันหลังจากการค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษา สารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

การป้องกันมะเร็ง
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาหารเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมมีเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จากการทดลอง ๑๒๐ วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ ๒๐๐ กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน ๖ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก

ใบมะรุม ๑๐๐ กรัม (คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ.๒๕๓๗)

พลังงาน ๒๖ แคลอรี
โปรตีน ๖.๗ กรัม (๒ เท่าของนม)
ไขมัน ๐.๑ กรัม
ใยอาหาร ๔.๘ กรัม
คาร์โบไฮเดรต ๓.๗ กรัม
วิตามินเอ ๖,๗๘๐ ไมโครกรัม (๓ เท่าของแครอต)
วิตามินซี ๒๒๐ มิลลิกรัม (๗ เท่าของส้ม)
แคโรทีน ๑๑๐ ไมโครกรัม
แคลเซียม ๔๔๐ มิลลิกรัม (เกิน ๓ เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส ๑๑๐ มิลลิกรัม
เหล็ก ๐.๑๘ มิลลิกรัม
แมกนีเซียม ๒๘ มิลลิกรัม
โพแทสเซียม ๒๕๙ มิลลิกรัม (๓ เท่าของกล้วย)
พบว่าทั้งกลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอล ฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ปริมาณคอเลส-เทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index ต่ำลง ทั้ง ๒ กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ และท่อเลือดแดง (เอออร์ตา)

กลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด
กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระ เพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย


ที่ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคน ที่ มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอรอลใน เลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอก จากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง

สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทาง การแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง

ฤทธิ์ป้องกันตับ
งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหายโดยยาไรแฟม-ไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมี ผลกับระดับเอนไซม์แอสพาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรส อะลานีนอะมิโนทรานสเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส และบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลาย ของตับจากยาเหล่านี้

ผลิตภัณฑ์มะรุมของต่างประเทศจะอ้างฤทธิ์รักษาโรคมากมายทั้งที่ยังไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยา-ศาสตร์ แค่ฤทธิ์ที่พิสูจน์ได้นี้ก็คงเพียงพอแล้วที่คุณ จะเพิ่มใบหรือฝักมะรุมในรายการอาหารของคุณมื้อกลางวันนี้




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2553 10:33:54 น.
Counter : 551 Pageviews.  

ใบย่านาง


ย่านาง
วงศ์ MENISPERMACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tiliacora triandra (Colebr.) Diels
ชื่อพื้นเมือง
ภาคกลาง เถาย่านาง, เถาหญ้านาง, เถาวัลย์เขียว, หญ้าภคินี
เชียงใหม่ จ้อยนาง, จอยนาง, ผักจอยนาง
ภาคใต้ ย่านนาง, ยานนาง, ขันยอ
สุราษฎร์ธานี ยาดนาง, วันยอ
ภาคอีสาน ย่านาง
ไม่ระบุถิ่น เครือย่านาง, ปู่เจ้าเขาเขียว, เถาเขียว, เครือเขา
ระสบการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้ใบย่านางแก้ไขปัญหาสุขภาพ จนมีผลให้อาการเจ็บป่วยทุเลาเบาบางลง - เนื้องอกในมดลูก มดลูกโต ตกเลือด ตกขาว ปวดตามร่ายกาย

- มะเร็งปอด
- มะเร็งตับ
- มะเร็งมดลูก
- โรคหัวใจ โรคไต โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เนื้องอกในเต้านม
- เบาหวานและความดันโลหิตสูง
- ขับสารพิษ
- ภูมิแพ้ ไอ จาม
- เริ่ม งูสวัด
- ตุ่มผื่นคันที่แขน
- อาการปวดแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
- นอนกรน ไตอักเสบ

- อาการปวดขาที่แขน

- เล็บมือผุ
- เก๊าต์
-ใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิล คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล
-บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุล แบบร้อนเกิน
-มาเริ่มการทำกันดีกว่าครับ
-ก่อนอื่น ซื้อใบย่านางจากตลาดมาก่อน ถุงเบ้อเริ่ม ราคาแค่สิบบาท

วิธีใช้
ใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิล คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุล แบบร้อนเกินไป ดังนี้
1. เด็กใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว (200-600 ซีซี.)
2. ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
3. ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
4. ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วนถึงตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว โดยใช้ใบย่านางสดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น (แต่การปั่นในเครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำงายความเย็นของใบย่านาง) แล้วกรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ ½-1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง หรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำเปล่า ในอุณหภูมิห้องปกติ ควรดื่มภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากทำน้ำใบย่านาง เพราะถ้าเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม จะทำให้เกิด ภาวะร้อนเกินไป แต่ถ้าแช่ในน้ำแข็งหรือตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วัน โดยให้สังเกตที่กลิ่นเหม็นเปรี้ยวเป็นหลัก
5. การทำน้ำย่านางอาจผสมน้ำมะพร้าว หรือน้ำเล็กน้อย เพื่อผลทางยาหรือช่วยให้ดื่มง่ายขึ้น
6. บางคนเป็นโรคหรือมีอาการหนักมาก บางครั้งย่านางเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ทุเลาได้ ให้ใช้พืชฤทธิ์เย็นที่นำมาช่วยเสริม โดยนำมาขยี้ โขลกหรือปั่นรวมกับย่านาง พืชฤทธิ์เย็นที่นำมาเสริมฤทธิ์ย่านางที่มีประสิทธิภาพดีได้แก่ ใบอ่อมแซ่บ 1 กำมือ ใบเตย 1-3 ใบ ผักบุ้ง 5-10 ต้น บัวบก 1 กำมือ เสลดพังพอนตัวเมีย 5-10 ยอด (1 ยอด ยาว 1 คืบ) ใบตำลึงแก่ 1 กำมือ หญ้าปักกิ่ง 1-3 ต้น ว่านกาบหอย 3-5 ใบ เป็นต้น โดยนำมาเสริมเท่าที่จะหาได้ พืชชนิดใดที่หาไม่ได้ก็ไม่ต้องใช้ และถ้าพืชชนิดใดไม่ถูกกับผู้ที่จะดื่มก็ไม่ต้องมาผสม อาการของพืชที่ไม่ถูกกับร่างกาย คือ เมื่อรับประทานหรือสัมผัสพืชนั้นจะระคายคอ หรือมีอาการไม่สบายบางอย่าง พอผสมกันหลายอย่าง ก็รับประทานได้โดยไม่มีอาการผิดปกติ แต่บางคนแม้ผสมกันหลายอย่าง ก็ยังแสดงอาการผิดปกติอยู่ ก็ให้งดใช้พืชชนิดนั้นเสีย
7. บางคนไม่ชินกับการรับประทานสด ก็สามารถผ่านไฟอุ่นหรือเดือดได้ไม่เกิน 5 นาที โดยตรวจสอบร่างกายของตนเองว่า ระหว่างรับประทานสดกับผ่านไฟ อย่างไหนรู้สึกสดชื่น สบายหรืออาการทุเลาได้มากกว่าก็ใช้วิธีนั้น
8. คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ให้ดื่มน้ำย่านางหรือสมุนไพรรวมฤทธิ์เย็นกับกล้วยดิบและขมิ้น โดยใช้กล้วยดิบทั้งเปลือก 1 ลูก แบ่งเป็น 3 ส่วน เท่าๆ กัน นำกล้วยดิบและขมิ้นอย่างละ 1 ชิ้น (ต่อครั้ง) โขลกให้ละเอียด หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยวให้ละเอียดแล้วกลืน พร้อมดื่มน้ำย่านาง หรือสมุนไพรรวมฤทธิ์เย็น วันละ 3 เวลา ก่อนอาหาร หรือหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง แต่ถ้ามีอาการออกร้อนท้องร่วมด้วยให้งดขมิ้น สำหรับกล้วยดิบ หรือขมิ้นอาจใช้เป็นลูกกลอกหรือแคปซูลก็ได้ ใช้กล้วยดิบครั้งละ 3-5 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร ส่วนขมิ้นใช้ครั้งละ 1-3 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร
9. สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ให้ใช้ย่านางปริมาณที่เหมาะสมกับบุคคลดังที่นำเสนอข้างต้น ขยี้กับใบฝรั่งแก่ 3-5 ใบ หรือใบทับทิมครครึ่ง – 1 กำมือ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว ดื่มก่อนอาหาร ครั้งละครึ่ง – 1 แก้ว หรือดื่มบ่อยจนกว่าจะหายท้องเสีย ย่านางสามารถฆ่าเชื้อโรคที่เป็นเหตุให้เกิดอาการท้องเสีย อีกสูตรหนึ่งที่ได้ผลดีมากคือ ดื่มน้ำย่านาง หรือน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น ควบคู่กับสมุนไพรต้ม คือเอาเปลือกสะเดา (ส่วนที่มีรสฝาดขมกึ่งกลางระหว่างเปลือกแข็งนอกสุดและแก่น) ยาว 1 คืบของผู้ป่วย กว้าง 1-2 เซนติเมตร เปลือกมังคุดสดหรือตากแห้ง 1-3 ลูก ใบฝรั่งแก่ 3-5 ใบ ทั้งสามอย่าง รวมกัน ต้มใส่น้ำ 3-5 แก้ว เดือด 5-10 นาที แล้วผสมน้ำตาล 3-5 ช้อนโต๊ะ ดื่มครั้งละ 1 แก้ว 3 เวลา ก่อนอาหาร หรือจิบเรื่อยๆ จนกว่าอาการท้องเสียจะหาย
10. การใช้น้ำย่านางกับภายนอกร่างกาย
10.1 ใช้น้ำย่านางหรือน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นเจือจางกับน้ำเปล่าใช้เช็ดตัวลดไข้ได้อย่างดี หรือใช้ผ้าชุบวางบริเวณที่ปวดออกร้อน ช่วยลดความร้อนของร่างกายและผิวหนัง
10.2 ผสมน้ำยาสระผม ใช้สระผมได้อย่างดี ช่วยให้ศรีษะเย็น ผมดกดำหรือชะลอผมหงอก
10.3 ใช้ย่านางหรือน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น ผสมดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากให้เหลวพอประมาณ ทาสิว ฝ้า ตุ่ม ผื่น คัน พอกฝีหนัง จะช่วยถอนพิษและแก้อักเสบได้
11. การประเมินว่า ปริมาณหรือความเข้มข้นพอเหมาะที่จะดื่มหรือไม่
11.1 ขณะที่ดื่มเข้าไป จะกลืนง่ายไม่ฝืดฝืน ไม่ระคายคอ
11.2 อาการไม่สบายทุเลาลง ปากคอชุ่ม ร่างกายสดชื่น
11.3 ถ้าดื่มน้อยไป อาการก็ไม่ทุเลา ถ้าดื่มมากไปก็จะเกิดอาการไม่สบายบางอย่าง หรือในขณะดื่มจะรู้สึกได้ว่าร่างกายจะมีสภาพต้านบางอย่างเกิดขึ้น
12. สำหรับท่านที่ไม่ค่อยได้รับประทานผักสด ร่างกายก็จะขาดวิตามินและคลอโรฟิล ในใบย่านางมีวิตามิน คลอโรฟิลคุณภาพดี มีพลังสด พลังชีวิตประสิทธิภาพสูง ในการปกป้อง คุ้มครองและฟื้นฟูเซลล์ของร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม

ตัวอย่าง ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้ใบย่านางแก้ไขปัญหาสุขภาพ จนมีผลให้อาการเจ็บป่วยทุเลาเบาบางลง
1. นางครั่ง มีทรัพย์ อายุ 53 ปี 28 หมู่ 7 ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นเนื้องอกที่มดลูก มดลูกโต ตกเลือด มึนชา ปวดตามร่างกาย ดื่มน้ำย่านางพร้อมกับปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน อาการทุเลาตามลำดับ หลังจากปฏิบัติได้ 3 เดือน อาการดังกล่าวหายไป
2. นางสมนึก ห้องแซง อายุ 67 ปี 51/386 หมู่ 1 ตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เป็นมะเร็งปอด ดื่มน้ำย่านาง พร้อมปรับสมดุลร้อน-เย็น ภายใน 3 เดือนผ่านไป อาการทุเลาลงมาก ไปทำอัลตราซาวด์ พบว่าก้อนมะเร็งฝ่อลง
3. นางทองจีน ยิ้มใส่ อายุ 45 ปี 109 หมู่ 10 ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นมะเร็งตับ ดื่มน้ำย่านางพร้อมกับปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน 3 เดือนผ่านไป อาการทุเลาตามลำดับลงมาก ไปทำอัลตราซาวด์ พบว่าก้อนมะเร็งฝ่อลง
4. นางผัน ถนอมบุญ อายุ 45 ปี 109 หมู่ 10 ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นมะเร็งมดลูก ดื่มน้ำย่านาพร้อมกับปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกินได้ 2 สัปดาห์ อาการทุเลาลงมาก พอได้ 2 เดือน ไปตรวจที่โรงพยาบาลไม่พบเซลล์มะเร็ง
5. นางสาวสงัด สีน้ำเงิน อายุ 58 ปี 442 หมู่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นโรคหัวใจ โรคไต โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เนื้องอกที่เต้านม ดื่มน้ำย่านางพร้อมกับปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน 1 เดือน อาการทุเลาตามลำดับลงมาก เนื้องอกที่เต้านมยุบไป
6. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลอำนาจเจริญ จำนวน 40 คน มาเข้าค่ายสุขภาพที่ศูนย์ฝึกสวนส่างฝัน หลักสูตร 3 วัน มีการดื่มน้ำย่านาง กายบริหาร กินอาหารพืชผักผลไม้ไร้สารพิษโดยปรุงแต่งอาหารให้มีฤทธิ์เย็น มีการตรวจเลือดและตรวจร่างกายก่อนและหลังเข้าค่าย พบว่าผู้ป่วยมีค่าน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตลดลง สมรรถภาพร่างกายก็โปร่ง โล่ง สดชื่น
7. ท่านสมณะเด่นธรรม ธรรมรักขิตโต อายุ 62 ปี พุทธสถานสันติอโศก กรุงเทพฯ เป็นภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูกและเสมหะทุกวันเป็นมา 10 ปี หลังดื่มน้ำย่านางแลปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน 1 สัปดาห์ อาการไม่สบายทั้งหมดทุเลาลงมาก
8. นายเพื่อนพืช หมื่นยุทธ์ อายุ 28 ปี พุทธสถานสันติอโศก กรุงเทพฯ เหงือกอักเสบอย่างรุนแรง และเรื้อรังมา 4 ปี จนเคี้ยวอาหารปกติไม่ได้ ถึงขั้นต้องปั่นข้าวกิน หมอนัดผ่าตัด กำลังรอคิว กินน้ำย่านางและปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกินที่ศูนย์ฝึกสวนส่างฝันได้ 10 วัน อาการทุเลาลง 80% จึงทำให้ไม่ต้องผ่าตัด
9. นายบุญชู คงสมจิตร อายุ 78 ปี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2549 มีอาการอัมพฤกษ์ ลุกนั่งไม่ได้ พลิกตัวไม่ได้ กระดิกแขนขาได้เล็กน้อย แขนขาอ่อนแรง ก่อนหน้านั้นมีอาการร้อนใน ปัสสาวาน้อยและบ่อย สีเข้ม ปัสสาวะกลางคืน 8-9 ครั้ง ช่วงเที่ยงคืนถึงตีสามตาแดง ตาแห้ง ไข้ขึ้นบ่อย ท้องผูกบ่อย คอแห้ง ผิวตกกระเป็นจ้ำๆ เป็นเรื้อรังมา 5 ปี หลังจากที่กินน้ำย่านางผสมอ่อมแซบใบเตย หญ้าปักกิ่ง ว่านกาบหอย ผักบุ้ง เสลดพังพอน และบัวบก พร้อมปฏิบัติตัวแก้ภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน 1 สัปดาห์ ผ่านไป แขนขาเริ่มมีกำลัง ผ่านไป 3 สัปดาห์ ลุกนั่งเองได้ 4 สัปดาห์ สามารถลุกเดินได้ อาการไข้หายไป ไม่มีท้องผูก ปากคอชุ่ม ผิวจ้ำดำคล้ำหายไป
10. นางสาวหล่า โมงขุนทด อายุ 67 ปี พุทธสถานสีมาอโศก 254 หมู่ 5 ตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นเริมและงูสวัดมา 1 เดือน กินน้ำย่านางและปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน 1 สัปดาห์ อาการปวดแสบ ร้อนคันและตุ่มจากเริม งูสวัดหายไป
11. นักเรียนสัมมาสิกขาสังฆสถานหินผาฝ้าน้ำ จังหวัดชัยภูมิ ประมาณ 20 คน มีอาการท้องเสียพร้อมกันจากอาหารเป็นพิษ เมื่อขยี้ใบย่านางกับใบฝรั่งแก่ในน้ำสะอาดให้ดื่ม อาการก็ทุเลาและหายไป ภายใน 1-2 วัน
12. นายคนอง ดวงจิตต์ อายุ 15 ปี นักเรียนสัมมาสิกขาราชธานีอโศก เป็นตุ่มผื่นคันที่แขน ดื่มน้ำย่านาง และเอาน้ำย่านางผสมปูนเครี้ยวหมากทา อาการทุเลาลง วันรุ่งขึ้น ตุ่มคันยุบหายไป
13. นางสาวเศษฝัน ดวงมณี อายุ 28 ปี ปฏิบัติการศูนย์ฝึกสวนส่างฝัน เป็นไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว เมื่อดื่มน้ำย่านางอาการก็ทุเลาลง วันรุ่งขึ้นก็หายเป็นปกติ
14. ตัวผู้เขียนเองปวดท้องเฉียบพลัน เป็นประมาณ 1 ชั่วโมง พอดื่มน้ำย่านางอาการก็ทุเลาลง และหายภายใน 5 นาที
15. นางอัมพร ทองด้วง อายุประมาณ 40 ปี 149 หมุ่ 12 ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร มีอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ เป็นมา 1 ปีเศษ รักษาที่คลินิกและโรงพยาบาลหลายแห่งก็ไม่หาย เมื่อดื่มน้ำย่านางผสมใบเตยและผักบุ้ง อาการทุเลาอย่างมากภายใน 3 วัน ดื่มต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ ก็หายขาด
16. นางสมัย เนากำแพง อายุ 42 ปี 196 ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นไตอักเสบเรื้อรังมา 5 ปี เมื่อดื่มน้ำย่านางและปฏิบัติตัว แก้ภาวะร้อนเกินได้ 7 วัน อาการทุเลาจนเป็นปกติ
17. นายดาว เนากำแพง อายุ 45 ปี 196 ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ นอนกรนเป็นประจำ พอดื่มน้ำย่านางพร้อมกับรับประทานอาหารฤทธิ์เย็น อาการก็หายไปภายใน 1 สัปดาห์
18. ชาวไร่อ้อยคนหนึ่งที่จังหวัดนครราชสีมา หลังจากตัดอ้อยจำนวนหลายไร่ มีอาการปวดชาที่แขน กินยาแผนปัจจุบันติดต่อเป็นเดือนก็ไม่ทุเลา พอดื่มน้ำย่านางอาการก็ทุเลา จนหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์
19. คุณตู่ เจ้าของร้านอานนท์ประดับยนต์ 344/1 หมู่ 5 ถนนศรีษะเกศ-ขุขันธ์ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีษะเกษ เล็บมือผุ ถูกทำลายลุกลามไปครึ่งเล็บ ไปตรวจกับแพทย์แผนปัจจุบันพบว่าเป็นเชื้อรา ให้ยามารับประทานพร้อมยาทา เป็นเวลา 16 ปี อาการก็ไม่ทุเลา จึงหยุดยาแผนปัจจุบัน ทดลองดื่มน้ำย่านางได้ 15 วันอาการเริ่มทุเลา ดื่มได้ 1 เดือน อาการดีขึ้น จนเกือบเป็นปกติ
20. นางจำปา สุวะไกร อายุ 33 ปี 106 หมู่ 5 ตำบลคึมใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นโรคกะเพาะอาหาร-ลำไส้อักเสบ ไขมันพอกตับและตกขาวเรื้อรัง กินยาแผนปัจจุบัน อาการไม่ทุเลา เมื่อดื่มน้ำย่านาง กินหญ้าปักกิ่ง กล้วยดิบและขมิ้น และกินอาหารฤทธิ์เย็นสวนล้างลำไส้ใหญ่ อาการทุเลาภายใน 5 วัน เมื่อทำต่อเนื่องอาการต่าง ๆ ก็ดีขึ้น จนได้ 2 ปี ไปตรวจที่โรงพยาบาล ไม่พบไขมันพอกตับ
ยังมีกรณีตัวอย่างอีกมากมายที่ใช้ย่านางในการบำบัดรักษาสุขภาพ ซึ่งไม่สามารถนำเสนอได้หมดในที่นี้
ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านทดลองใช้ย่านาง พืชสมุนไพรมหัศจรรย์ไทย ด้วยตัวของท่านเอง หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้ จะพอเป็นประโยชน์ต่อญาติพี่น้อง ผองเพื่อนร่วมโลกทุกๆ ท่าน




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2553 10:29:28 น.
Counter : 715 Pageviews.  

แครอด(carrot)


แครอด(carrot)
แครอต เป็นผักที่เกิดในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง สีของหัวแครอตมีตั้งแต่สีเหลืองไปจนถึงสีม่วง

ส่วนแครอตสีส้มที่รับประทานกันทั่วไป ในทางยาพบว่าเป็นสมุนไพรพื้นบ้านของชาวอเมริกันใช้เป็นยาครอบจักรวาล รักษาได้หลายโรค เช่น แก้โรคประสาท โรคผิวหนัง หืดหอบ และช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอล

แครอตอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน และวิตามินเอ มีสรรพคุณในการช่วยรักษาโรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนังและสายตา แครอตเป็นผักที่ได้ชื่อว่าช่วยป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งในปอด เพราะเบต้าแคโรทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้แครอตยังช่วยรักษาโรคตับ และมีประโยชน์ต่อคนเป็นดีซ่าน ช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยปกป้องอันตรายจากรังสี อัลตราไวโอเลตได้อีกด้วย
ส่วนผสม

* แครอต 1 หัว

วิธีทำ นำแครอตมาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่เครื่องคั้นน้ำผลไม้แยกกาก แยกน้ำ เมื่อได้น้ำแครอตมาแล้ว ควรดื่มทันที เพื่อป้องกันการสูญเสียคุณค่าของวิตามิน หากต้องการดื่มน้ำแครอตเย็นๆ ให้นำแครอตไปแช่เย็นประมาณ 20 นาที จากนั้นจังนำมาหั่นใส่เครื่อคั้นน้ำผลไม้แยกกาก แยกน้ำ ก็จะได้น้ำแครอตเย็นชื่นในไว้ดื่ม โดยไม่เสียคุณค่าของวิตามิน

**น้ำแครอตแก้วนี้ มีสารเบต้าแคโรทีน ช่วยต่อต้านและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด

คุณค่าทางอาหารของแครอต

* วิตามินเอ ช่วยในการมองเห็น รักษาสุขภาพผิว รักษาสิว ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันโรคมะเร็ง ป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ

* วิตามินบี 1 ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ช่วยลดความอยากน้ำตาล บำรุงระบบประสาท

* วิตามินบี 2 ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงผิวพรรณ เส้มผม และเล็บป้องกันตะคริว

* เส้นใยอาหาร ส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย

* ฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

* แคลเซียม ช่วยดูดซึมวิตามินดีทำให้กระดูกแข็งแรง

* โปรตีน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต

* เหล็ก ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ป้องกันโรคโลหิตจาง ลดการปวดประจำเดือน บรรเทาอาการอ่อนเพลีย




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2553 10:22:58 น.
Counter : 658 Pageviews.  

กะเม็ง



เรื่องน่ารู้ของกะเม็ง : หมอรักษาตับ หมอโรคผิวหนัง หมอระบบประสาท
เรื่องราวของกะเม็ง...ฮ่อมเกี่ยว ยาดี ของหมอยาพื้นบ้าน


วามที่เป็นลูกชาวนาจึงรู้จักกะเม็งตั้งแต่เด็กๆ มันชอบขึ้นตามริมคันนา แต่น่าเสียดายว่าชาวนาจังหวัดนครนายกในแถบอำเภอเมืองไม่มีใครรู้จักชื่อของกะเม็ง

รู้แต่ว่ามันเป็นยาเพราะเขาเคยเห็นหมอยาสมัยก่อนเก็บไปใช้ แต่เมื่อได้ไปถามหมอยา คุณตาส่วน สีมะพริก ท่านเรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า ฮ่อมเกี่ยว และได้อ่านในตำรายา พบว่า ฮ่อมเกี่ยว ซึ่งบางครั้งก็เรียกเพี้ยนเป็นฮ่อมแก่วอยู่บ้างนั้น ใช้เข้ายาอยู่หลายตำรับ เรียกว่าเป็นสมุนไพรยอดฮิตตัวหนึ่งทีเดียว เรื่องน่าสนใจก็คือ หมอยาตระกูลไทย-ลาว ทั้งหมอยาล้านนา หมอยาอีสาน หมอยาไทยใหญ่ หมอยาไทยเลย หมอยาไทยพวน ต่างเรียกกะเม็งว่า ฮ่อมเกี่ยว เหมือนกันทั้งนั้น

กะเม็ง…ยาแก้เกี่ยว อาการทางประสาท อาการชัก ไข

หมอยาอีสาน หมอยาไทยใหญ่ หมอยาล้านนา มักจะเรียกกะเม็งว่า “ฮ่อมเกี่ยว” ใช้รักษาอาการ “เกี่ยว” อาการเกี่ยวนั้นน่าจะเป็นอาการทางประสาท เป็นลมวิงเวียน ชักเกร็ง มือเกร็งและเกี่ยวกัน ซึ่งอาการเช่นนี้คล้ายๆ กับโรค Hyperventilation ในแผนปัจจุบัน วิธีใช้นั้นจะใช้ฮ่อมเกี่ยวเป็นตัวหลักตำคั้นน้ำผสมกับสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมตัวอื่นๆ เช่น ขิง ว่านเปราะหอม เป็นต้น แล้วใช้น้ำคั้นที่ได้ให้ผู้ป่วยจิบ และใช้ผ้าชุบน้ำผสมน้ำคั้นสมุนไพรเหล่านั้นเช็ดหน้า คลุมหัวผู้ป่วยไว้การศึกษาวิจัยสมัยใหม่เกี่ยวกับกะเม็ง พบว่ามีฤทธิ์คลายเครียด ช่วยทำให้นอนหลับ โดยกะเม็งไปมีฤทธิ์เพิ่มระดับ Melatonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่หลั่งออกมาตอนกลางคืน ซึ่งสารนี้จะช่วยปรับสภาพร่างกายให้เหมาะแก่การนอนหลับ

กะเม็ง...รักษาตับ

กะเม็งเป็นสมุนไพรที่มีการกล่าวขวัญถึงในหมู่หมอยาสมัยก่อนทั้ง ไทย จีน พม่า อินเดีย โดยใช้เป็นยารักษาตับ หมอยาไทยมักจะบอกว่ากะเม็งรักษาอาการดีซ่านตัวเหลืองตาเหลือง

เคยมีหมอพม่าและหมออินเดียมาดูงานที่โรงพยาบาลต่างพูดตรงกันว่า กะเม็งเป็นสมุนไพรที่บ้านเขาใช้รักษาตับ มีทั้งใช้กะเม็งเดี่ยวๆ หรือบางครั้งก็ใช้เป็นตำรับร่วมกับต้นลูกใต้ใบ ผักหวานบ้าน มะขามป้อม เป็นต้น สอดคล้องกับการค้นคว้าทางเอกสาร พบว่าหมอยาพื้นบ้านในประเทศต่างๆ ก็มีการใช้กะเม็งรักษาโรคตับเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์จากทางบ้านคือ ใช้ต้นกะเม็งสดๆ ๓-๔ ต้น ล้างให้สะอาดนำไปต้มให้เดือดประมาณ ๑๐ นาที แล้วดื่มน้ำโดยผสมน้ำตาลทรายลงไปผสมพอมีรสหวาน ดื่มกินไม่เกิน ๒ วัน ช่วยแก้อักเสบ บวมช้ำ (พระจีรพันธ์ ธัมมกาโม วัดพบพระใต้ จ.ตาก)

ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมากถึงผลของกะเม็งต่อตับ คือกะเม็งสามารถป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษรวมทั้งจากแอลกอฮอล์ ป้องกันไม่ให้เซลล์ตับถูกทำลายจากไวรัส แถมยังช่วยในการฟื้นตัวของตับที่ถูกทำลายได้อีกด้วย

กะเม็ง…ยาอายุวัฒนะ

กะเม็งยังเข้ายาอายุวัฒนะหลายตำรับ มีทั้งใช้เดี่ยวๆ และใช้เข้ายาตำรับร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยทำเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอน เป็นยาชงกินแทนน้ำชาทุกวันก็ได้ และมีตำรับที่ใช้การตำคั้นกะเม็งผสมน้ำผึ้งกินทุกวันเดือนดับก็มี จากการศึกษาสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์เพิ่ม T-lymphocyte และมีการศึกษาตำรับยาจีนชนิดหนึ่งเรียกว่า AFE ซึ่งมีกะเม็งเป็นส่วนประกอบ พบว่าสูตรยาดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับ lymphocyte และ IgG

ซึ่งเป็นสารสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้กะเม็งยังทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงแข็งแรงขึ้น ซึ่งยืนยันการใช้เป็นยาอายุวัฒนะของคนสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี และอาจมีประโยชน์ต่อการใช้เป็นยาเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยเอดส์ นอกจากนี้แล้วยังพบว่า กะเม็งลดการกดภูมิคุ้มกันซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ใรักษาความเป็นปกติของร่างกายขณะได้รับเคมีบำบัด

นอกจากเป็นยาอายุวัฒนะแล้ว หมอยาพื้นบ้านยังบอกว่ากะเม็งเหมาะที่จะทำเป็นชาสมุนไพรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดยนำต้นกะเม็งตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปคั่วให้พอหอม ชงน้ำร้อนดื่มเป็นน้ำชารับประทานดียิ่งนัก

กะเม็ง...รักษาแผล โรคติดเชื้อทางผิวหนัง แก้อักเสบ

หมอยาทุกภาคต่างรู้ดีว่ากะเม็งเป็นสมุนไพรทำแผล ช่วยห้ามเลือดและป้องกันการติดเชื้อ มีเรื่องเล่าจากประสบการณ์ว่า สมัยสงครามเวียดนาม กะเม็งเป็นยาคู่สนามรบมีการนำมาใช้ทั้งสดและแห้งเพื่อห้ามเลือด นอกจากนำมาใช้รักษาแผลให้คนแล้ว กะเม็งยังเป็นยารักษาแผลในสุนัขตัวโปรดได้ด้วย



กะเม็งยังใช้ตำพอกแก้อักเสบเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ต้มอมบ้วนปากรักษาอาการปากและเหงือกเป็นแผล แก้ปวดฟันหรือจะใช้ต้นสดผิงไฟให้แห้งแล้วบดเป็นผงทาที่เหงือกแก้ปวดฟันก็ได้ และกะเม็งยังใช้รักษาอาการปากเปื่อย-ปากเจ็บเนื่องจากเชื้อราในเด็ก โดยใช้น้ำคั้นจากใบ ๒ หยดผสมน้ำผึ้ง ๘ หยด ทาบ่อยๆ

กะเม็งยังสามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อาการฟกช้ำ อาการแพ้ได้อย่างดี โดยบดตำเอามาพอกที่บาดแผล ลดอาการอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน อาการอักเสบจะดีขึ้น ให้พอกไปเรื่อยๆ และคอยเปลี่ยนยาบ่อย ๆ

กะเม็งยังช่วยรักษาอาการน้ำกัดเท้า

ชาวนาสมัยก่อนจะนำใบกะเม็งขยี้ทาเท้าทิ้งไว้ให้แห้งก่อนลงนา การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อทั้งราและแบคทีเรีย และเป็นสมุนไพรที่ขึ้นได้ดีในหน้าน้ำ เป็นเรื่องน่าแปลกเพราะดูเหมือนว่า ธรรมชาติจะได้ประทานสมุนไพรชนิดนี้มาให้กับชาวนาใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า ในหน้าลงนาได้พอดิบพอดี





 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2553 18:57:58 น.
Counter : 714 Pageviews.  

หญ้าปักกิ่ง(หญ้าเทวดา)

หญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งกับการรักษาโรคมะเร็ง


ดร. ผ่องพรรณ ศิริพงษ์
หัวหน้างานวิจัยสมุนไพร กลุ่มงานวิจัย
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ


ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับสองของประชากรไทยและมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกๆปี ยารักษา
โรคมะเร็งที่ใช้ในทางการแพทย์ ก็มีแต่ยาแผนปัจจุบันที่มีราคาแพง ซึ่งจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมดทั้งในรูป
ยาสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบ อีกทั้งยังพบว่ามีผลข้างเคียงสูง ทางเลือกอีกทางหนึ่งของผู้ป่วยโรคมะเร็ง จึงหันมานิยม
ใช้สมุนไพรพื้นบ้านเพื่อนำมารักษาโรคมะเร็งที่เป็นอยู่ สมุนไพรจากประเทศจีนชนิดหนึ่งซึ่งมีผู้นำมาเผยแพร่
ประมาณ 30 ปีมาแล้วและปัจจุบันก็ยังคงนิยมใช้อยู่อย่างแพร่หลาย คือหญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่ง หรือเรียกชื่อ
ภาษาจีนว่า เล่งจือเฉ้า
หญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งหรือเล่งจือเฉ้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Murdania loriformis (Hassk) Rolla Rao et
Kammathy อยู่ในวงศ์ Commelinaceae เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แต่ไม่ใช่พืชในวงศืหญ้าทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูง
ประมาณ 7-10 ซ.ม. และอาจสูงได้ถึง 20 ซ.ม. ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ความยาวไม่เกิน 10 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อที่
ปลายยอด รวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกมีสีฟ้าปนม่วง ใบประดับกลม ยาวประมาณ 4 ม.ม. ร่วงง่าย เป็นพืชที่
ชอบดินร่วนหรือดินปนทราย งอกงามในที่มีแดดรำไร ไม่ต้องการน้ำมาก เพาะปลูกโดยการเพาะชำหรือเพาะเมล็ด
ปลูกได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องมีเนื้อที่มาก
ตามสรรพคุณของตำรายาจีน จะใช้หญ้าปักกิ่งรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจและกำจัดพิษ โดยจะใช้ทั้ง
ต้นหรือส่วนเหนือดิน (ลำต้นหรือใบ) ที่มีอายุ 3-4 เดือน (ตั้งแต่เริ่มออกดอก)
ประวัติความเป็นมาของการใช้หญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งในประเทศไทย
หญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งหรือเล่งจือเฉ้า เป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนแถบสิบสองปันนา
มีการนำเข้ามาและปลูกแพร่หลายในประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2527 มีผู้ป่วยมะเร็งดื่มน้ำคั้นสดจากหญ้าปักกิ่งเพื่อ
รักาาและบรรเทาอาการจากโรคมะเร็ง พบว่าสามารถยืดชีวิตต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง บางรายใช้หญ้าปักกิ่งร่วมกับการ
รักษาแผนปัจจุบันเพื่อลดผงข้างเคียงเนื่องจากการใช้ยาเคมีบำบัด และเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วย
โรคมะเร็งรายหนึ่งที่แพทย์บอกว่าจะมีชีวิตอยู่อีก 3 เดือน ขอให้นำผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้าน แต่เมื่อผู้ป่วยกลับ
บ้านและดื่มน้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่ง หลังจากนั้น 1 ปี ผู้ป่วยดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่และกลับไปให้แพทย์คนเดิมตรวจ
ผลจากผู้ป่วยรายนี้จึงทำให้เกิดการศึกษาวิจัยคุณสมบัติของพืชชนิดนี้เกิดขึ้น
2
จุดประสงค์ของการใช้หญ้าปักกิ่ง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. การใช้หญ้าปักกิ่งในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยมีสรรพคุณว่า
- เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งดีขึ้น ลดความทุกข์ทรมาน บางรายมีอายุยืนยาวมากขึ้น
- เพื่อช่วยลดอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด
2. การใช้ในผู้ป่วยอื่นที่ไม่ใช่ผู้ป่วยมะเร็ง
- เมื่อผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวต่ำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เมื่อใช้หญ้าปักกิ่ง พบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- ผู้ป่วยเป็นแผลเรื้อรัง แผลอักเสบมีหนองหรือน้ำเหลืองไหล เมื่อใช้หญ้าปักกิ่ง พบว่าแผลแห้ง ไม่มี
หนองและน้ำเหลือง
ผลการวิจัยศึกษาหญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่ง
สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ :
น้ำคั้นสดจากหญ้าปักกิ่ง มีสารกลัยโคสฟิงโคไลปิดส์ (จี 1 บี) มีชื่อทางเคมีว่า 1-?-O-D-glycopyranosyl-2-
(2’-hydroxy-6’-ene-cosamide)-sphingosine (G1b) นอกจากนั้น ยังพบสารกลุ่มต่างๆได้แก่ คาร์โบไฮเดรต กรดอะ
มิโน กลัยโคไซด์ ฟลาโวนอยด์ และอะกลัยโคน(1-2)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา:
- สารกลัยโคสฟิงโกไลปิดส์ (จี 1 บี) แสดงฤทธิ์ยับยั้งปานกลางต่อเซลล์มะเร็งเต้านมและลำไส้ใหญ่
(SW 120) โดยมีค่า ED50?16 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร (1-3)
- สารจี 1 บี แสดงผลปรับระบบภูมิคุ้มกัน (1-3)
- สารสกัดแอลกอฮอล์ของหญ้าปักกิ่งไม่ได้ช่วยยืดอายุ แต่ผลทางพยาธิวิทยาพบว่าสามารถลดความ
รุนแรงของการแพร่กระจายของมะเร็งในหนูได้ จึงคาดว่าสารสกัดดังกล่าวอาจใช้ป้องกันการเกิด
มะเร็งได้ (1-3)
- สารสกัดหญ้าปักกิ่ง มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของยีนที่เกิดจากสารก่อกลายพันธุ์ชนิดต่างๆ เช่น
AFB1(4)
- สารสกัดหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์เหนี่ยวนำเอนไซม์ DT-diaphorase ซึ่งมีบทบาททำลายสารพิษที่
ก่อให้เกิดมะเร็ง(5-6)
ความเป็นพิษ
- ความเป็นพิษเฉียบพลัน น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่ง ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านการเจริญเติบโต
ชีวเคมีในเลือด และพยาธิสภาพของอวัยวะสำคัญในหนูขาว ค่า LD50 เมื่อให้โดยการป้อนในหนูขาว
มากกว่า 120 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ซึ่งเทียบเท่า 300 เท่าของขนาดที่ใช้รักษาในคน จัดว่า
ค่อนข้างจะปลอดภัย(7)
- ความเป็นพิษเรื้อรัง พบว่า น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งขนาดที่ใช้รักษาในคน มีความปลอดภัยเพียงพอ
หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน(8)
3
ขนาดและวิธีใช้แบบดั้งเดิม
- ดื่มน้ำคั้น 2 ช้อนโต๊ะ (30 มิลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็นก่อนอาหาร ขนาดที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่
น้ำหนักตัวเฉลี่ย 60 กิโลกรัม ถ้าเป็นเด็กควรลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง
- ถ้าใช้สำหรับการปรับระบบภูมิคุ้มกัน จะรับประทานยาไม่เกิน 4-6 สัปดาห์ และควรหยุดยาดังนี้
รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน หยุดยา 4-5 วันเช่นนี้จนกว่าครบกำหนด
วิธีเตรียม นำส่วนเหนือดินหรือทั้งต้น น้ำหนักประมาณ 100-120 กรัม หรือจำนวน 6 ต้น ล้างให้สะอาด
หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และโขลกในครกที่สะอาดให้แหลก เติมน้ำสะอาด 4 ช้อนโต๊ะ (60 มิลลิลิตร)
กรองผ่านผ้าขาวบาง
ผลข้างเคียง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น 0.5-1 องศาเซลเซียส
ข้อควรระวัง หากใช้เกินขนาด จะมีผลกดระบบภูมิคุ้มกัน
ข้อควรคำนึงในการดื่มน้ำคั้นหญ้าปักกิ่งสด
- หญ้าปักกิ่งเป็นสมุนไพรคลุมดิน ให้มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จากดินมาที่ต้นและใบของ
หญ้าปักกิ่ง การนำหญ้าปักกิ่งมารับประทานสดต้องแน่ใจว่า ได้ล้างหลายครั้งจนสะอาดปราศจาก
เชื้อจุลินทรีย์ เพราะถ้าล้างไม่สะอาดเพียงพอ เมื่อดื่มน้าคั้นสดจากหญ้าปักกิ่ง ก็จะเป็นการดื่มเชื้อ
จุลินทรีย์เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย ซึ่งย่อมมีภูมิต้านทานต่ำ จึงอาจจะเป็นอันตรายมากกว่าคนปกติ
- หญ้าปักกิ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายหญ้าอื่นๆหลายชนิด เช่น หญ้ามาเลเซีย ฯลฯ ซึ่งไม่มีประโยชน์
ทางยาเคยมีผู้บริโภคที่ซื้อหญ้าปักกิ่งตามท้องตลาดมาบริโภคด้วยราคาแพงแต่ไม่ใช่ชนิดที่ต้องการ
ดังนั้นก่อนจะซื้อมาบริโภคจะต้องมั่นใจว่าเป็นหญ้าปักกิ่งที่ต้องการจริง
- หญ้าปักกิ่งที่มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วย ต้องเป็นต้นที่มีอายุที่เหมาะสมดังนี้ คือ หญ้าปักกิ่งที่ปลูก
โดยการชำกิ่ง ต้องมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป ส่วนหญ้าปักกิ่งที่ปลุกด้วยการเพาะเมล็ด ต้องมีอายุ
มากกว่า 5 เดือนขึ้นไป จากการศึกษาพบว่าหญ้าปักกิ่งที่มีอายุไม่ครบเวลาดังกล่าว จะไม่มีการ
สร้างสาร G1b ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ทางยา
ดังนั้นการซื้อหญ้าปักกิ่งมาบริโภคนั้น ต้องมั่นใจว่าเป็นหญ้าปักกิ่งจริง เก็บเกี่ยวในขณะที่มีอายุครบเกณฑ์ที่
กำหนดตามวิธีการเพาะชำนั้นๆ จึงจะได้คุณประโยชน์สูงสุดดังประสงค์ มิฉะนั้นก็จะเป็นการบริโภคหญ้าดังกล่าว
ที่สูญเปล่า ไม่ได้คุณสมบัติตามต้องการและอาจจะได้รับพิษ ถ้าในกรณีเลือกสมุนไพรชนิดอื่นมาบริโภค
ภาวะปัจจุบันของการพัฒนาหญ้าปักกิ่งที่ใช้เป็นยา
ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรม ได้นำเอาหญ้าปักกิ่งมาพัฒนาเป็นยาเม็ด โดยยาทุก 2 เม็ด มีคุณค่าเท่ากับ
ต้นหญ้าปักกิ่ง จำนวน 3 ต้น โดยกำหนดขนาดรับประทาน ครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย
โดยมีระยะเวลาการรับประทานขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้ยาดังนี้ คือ
1. ใช้เพื่อลดผลข้างเคียงจากรังสีบำบัดหรือยาเคมีบำบัดผู้ป่วยมะเร็ง จะรับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน
2. ใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายและการกลับเป็นซ้ำอีก หลังจากการรักษาแล้ว โดยรับประทาน 7 วัน
หยุด 4 วัน เช่นนี้ติดต่อกันประมาณ 1 ปี และตรวจมะเร็งปีละ 2 ครั้ง
3. ใช้เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคมะเร็ง รับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน เช่นนี้ติดต่อกัน
เป็นเวลานานไม่เกิน 6-8 สัปดาห์ โดยใช้เแพาะช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเช่น ขณะติดเชื้อไวรัส
4
เอกสารอ้างอิง
1. วีณา จิรัจฉริยากูล สารต้านมะเร็งจากหญ้าปักกิ่ง จุลสารข้อมูลสมุนไพร 2542; 16(3): 10-13.
2. วีณา จิรัจฉริยากูล รายงานผลความก้าวหน้าของโครงการวิจัยหญ้าปักกิ่ง หนังสือรวบรวมผลงานการวิจัย
โครงการพัฒนาการใช้สมุนไพรและยาไทยทางคลินิก ปี 2526-2536 คณะกรรมการโครงการพัฒนาการใช้
สมุนไพรและยาไทยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล หน้า 185-195.
3. Weena Jiratchariyakul, Primchanien Moomgkarndi, Hikane Okabe, Frahm A.W. Investigation of
anticancer components from Murdania loriformis (Hassk) Rolla Rao et Kammathy. Phama Indochina
1997; 171-191.
4. Intiyot Y, Kinouchi T, Kataoka K, Arimochi H, Kuwahara T, Vinitketkumnuen U, Ohnishi Y.
Antimutagenicity of Murdanis loriformis in the Salmonella mutation assay and its inhibitory effects on
azoxymethane-induced DNA methylation and aberrant crypt focus formation in male F344 rats. J.
Med. Invest. 49(1): 5-14.
5. Vinitketkumnuen U, Chewonarin T, Dhumtanom P, Lertpraseartsuk N, Wild CP. Aflatoxin-albumin
adduct formation after single and multiple doses of aflatoxin B1 in rats treated with Thai medicinal
plants. Mutat. Res. 1999; 48(1): 345-351.
6. วิริยา เจริญคุณธรรม, ปรัชญา คงทวีเลิศ, อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ การเหนี่ยวนำเอ็นไซม์ดีที-ไดอะฟอเรส
โดยสารสกัดจากหญ้าปักกิ่ง ใบมะกรูด และตะไคร้ เชียงใหม่เวชสาร 2537; 33(2): 71-77.
7. พิมลวรรณ ตันยุทธพิจารณ์, วัลลา รามนัฐจินดา, พรรณี พิเดช การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของหญ้า
ปักกิ่งในหนูขาว สารศิริราช 2534; 48: 458-66.
8. พิมลวรรณ ตันยุทธพิจารณ์, เพียงจิต สัตตบุศย์, พรรณี พิเดช พิษกึ่งเรื้อรังของหญ้าปักกิ่งในหนูขาว
สารศิริราช 2534; 48(8): 529-533.




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2553 19:02:34 น.
Counter : 429 Pageviews.  


สมอดำ
Location :
สระแก้ว Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




muemg2007@hotmail.com

ส่วนตัว 08-1940-4710





Friends' blogs
[Add สมอดำ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.