ดี
ลักษณะของสัมมาทิฎฐิ อีกปริยายหนึ่ง ระดับสูงสุด "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คำที่กล่าวกันว่า 'สัมมาทิฎฐิ สัมมาทิฎฐิ' ดังนี้., สัมมาทิฎฐิ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า ?" กัจจานะ ! สัตว์โลกนี้ อาศัยแล้วซึ่งส่วนสุดทั้งสองโดยมาก คือ ส่วนสุดว่าสิ่งทั้งปวงมี(อัตถิตา) และส่วนสุดว่าสิ่งทั้งปวงไม่มี(นัตถิตา). กัจจานะ ! เมื่อบุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นแดนเกิดขึ้นแห่งโลก(โลกสมุทย) อยู่, ทิฎฐิที่ว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีในโลกย่อมไม่มี. กัจจานะ ! เมื่อบุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งโลก(โลกนิโรธ) อยู่, ทิฎฐิที่ว่าสิ่งทั้งปวงมีในโลกย่อมไม่มี. กัจจานะ ! สัตว์โลกนี้โดยมาก มี อุปายะ(คือตัณหาเครื่องนำเข้าไป) อุปาทานะ(คืออุปาทานเครื่องยึดมั่น) และอภินิเวส(คืออนุสัยเป็นเครื่องนอนตาม)เป็นเครื่องผูกพัน., ส่วนสัมมาทิฎฐินี้ ย่อมไม่เข้าไปหา ย่อมไม่ยึดมั่น ย่อมไม่ตั้งทับ ซึ่งอุปายะและอุปทานทั้งสองนั้น ในฐานะเป็นที่ตั้งทับเป็นที่ตามนอนแห่งอภินิเวส ของจิตว่า " อัตตาของเรา" ดังนี้. "ทุกข์นั่นแหละ เมื่อเกิดย่อมเกิด ทุกข์นั่นแหละ เมื่อดับย่อมดับ" ดังนี้. เป็นสัจจะที่ผู้มีสัมมาทิฎฐิ ไม่สงสัย ไม่ลังเล. ญาณดังนี้นั้น ย่อมมีแก่เขา ในกรณีนี้ โดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัยเพื่อความเชื่อ. กัจจานะ ! สัมมาทิฎฐิ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
(สัมมาทิฏฐิ ชนิดนี้ เป็น สัมมาทิฏฐิระดับโลกุตตระ คือเป็นไปเพื่อ โลกุตตระ ไม่เป็นไปเพื่ออาสวะ ไม่มีส่วนแห่งบุญ - นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐-๒๑/๔๒-๔๓. ๑. คำนี้เป็นบาลีว่า อุปายุปาทานาภินิเวสวินิพนฺโธ : อุปาย คือตัณหาเครื่องนำเข้าไป, อุปาทาน คืออุปาทาน เครื่องยึดมั่น, อภินิเวส คืออนุสัยเป็นเครื่องนอนตาม. -นิทาน.สํ.๑๖/๒๐-๒๑/๔๒-๔๓. พุทธวจนชุดห้าเล่มจากพระโอษฐ์ อริยสัจจากพระโอษฐ์๒ ภาคปลาย เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๘๗๕-๘๗๖
Create Date : 24 ตุลาคม 2563 |
Last Update : 24 ตุลาคม 2563 12:35:17 น. |
|
0 comments
|
Counter : 21 Pageviews. |
 |
|
|
| |