พระพุทธศาสนา
Group Blog
 
All Blogs
 
ดี

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕
[๓๖] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต อนาคต ไม่เที่ยง จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน.
เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง จักกล่าวถึงวิญญาณที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน.
- พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ ข้อ ๓๖
ภิกษุ ท! ตัณหานี้ใด ทำให้มีการเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจแห่งความเพลิน มีปกติทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น
ตัณหาย่อมปกคลุมบุคคลผู้ประพฤติตนเป็นคนมัวเมาเหมือนเถามาลุวา (ใบดกขึ้นปกคลุมต้นไม้อยู่) ฉะนั้น
เขาผู้ถูกตัณหาปกคลุมแล้ว ย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ เหมือนวานรต้องการผลไม้ เรร่อนไปในป่า ฉะนั้น
ตัณหา ซึ่งเป็นของลามก สายซ่านไปได้ทั่วโลกนี้
ครอบงำผู้ใดเข้าแล้ว ความโศกทั้งหลาย ย่อมลุกลามแก่บุคคลผู้นั้น เหมือนหญ้าวีรณะ ซึ่งงอกงามแผ่กว้างออกไปโดยเร็ว ฉะนั้น
ต้นไม้ แม้ถูกตัดแล้ว แต่เมื่อรากยังมั่นคง ไม่มีอันตราย ย่อมงอกงามมาได้อีกฉันใด ความทุกข์นี้ก็ฉันนั้น เมื่อตัณหานุสัย (ซึ่งเป็นรากเง่าของมัน) ยังไม้ถูกถอนขึ้นแล้ว มันย่อมเกิดขึ้นร่ำไป
ตัณหา ซึ่งมีกระแสสามสิบหกสาย มีกำลังกล้าแข็งไหลไปตามใจชอบของบุคคลใดมีอยู่ ความดำริซึ่งอาศัยราคะมีกระแสอันใหญ่หลวงย่อมพัดพาไปซึ่งบุคคลนั้น อันมีทิฏฐิผิดเป็นธรรมดา
กระแส (ตัณหา) ย่อมหลังไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง เถาวัลย์ (คือตัณหา) แตกขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ท่านทั้งหลายเห็นเถาวัลย์นั้นเกิดขึ้นแล้ว จงตัดรากมันเสียด้วยปัญญา
โสมนัส ซึ่งซาบซ่าและมีเยื่อใยมีอยู่แก่สัตว์ สัตว์เหล่านั้น จึงแสวงสุข เพราะอาศัยความยินดี สัตว์เหล่านั้นแหละเป็นผู้เข้าถึงชาติและชรา
หมู่สัตว์เผชิญหน้าด้วยตัณหา (เครื่องทำให้เกิดความสะดุ้ง) ย่อมกระสับกระส่าย เหมือนกระต่ายที่ติดบ่วง เผชิญหน้านายพราน กระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น สัตว์ผู้ข้องแล้วด้วยสัญโญชน์ก็เข้าถึงความทุกข์อยู่ร่ำไป ตลอดกาลนาน แล.
- อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ๒ สมุทยอริยสัจ หน้า ๒๘๐


Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2564 17:21:19 น. 0 comments
Counter : 123 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 5378236
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ดี
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5378236's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.