พระพุทธศาสนา
Group Blog
 
All Blogs
 
ดี

๑๔ อริยบุคคลจะเจตนางดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๑/๒๗๔.
ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นธรรมนำหน้า {๑}๑. ธรรมนำหน้า = ธรรมที่เริ่มมีมาก่อน (ปุทงฺคม) ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นธรรมนำหน้าเป็นอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาอาชีวะว่ามิจฉาอาชีวะ รู้จักสัมมาอาชีวะว่าสัมมาอาชีวะ ความรู้ของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็มิจฉาอาชีวะเป็นอย่างไร คือ การโกง การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ นี้มิจฉาอาชีวะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สัมมาอาชีวะเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ {๒} ๒. สาสวะ = ประกอบด้วยอาสวะ, ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์อย่างหนึ่ง สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่างหนึ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ {๑} ๑. อนาสวะ = ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความงด ความเว้น เจตนางดเว้นจากมิจฉาอาชีวะของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค.
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ.
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นธรรมนำหน้า ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นธรรมนำหน้าอย่างไร คือ
เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐.
ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นธรรมนำหน้า ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นธรรมนำหน้าอย่างไร คือ
ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฏฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฏฐิสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย...
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้ ทั้งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาสังกัปปะสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย...
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้ ทั้งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวาจาเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวาจาสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย...
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้ ทั้งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมากัมมันตะสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย...
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้ ทั้งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาอาชีวะสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย...
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้ ทั้งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวายามะเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวายามะสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาวายามะเป็นปัจจัย...
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้ ทั้งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาสติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาสติสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาสติเป็นปัจจัย...
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้ ทั้งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาสมาธิสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย...
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้ ทั้งอกุศลธรรมอันเป็นบาปเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาญาณะเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาญาณะสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาญาณะเป็นปัจจัย...
ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมเป็นบาปเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย.
ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ {๑}๑. มหาจัตตารีสกะ ธัมมะปริยายะ (มหาจตฺตารีสก ธมฺมปริยาย) อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก จะให้เป็นไปไม่ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญที่จะติเตียนคัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว.
ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฏฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ
ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ
ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาวาจา
ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉากัมมันตะ
ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาอาชีวะ
ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาวายามะ
ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาสติ
ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาสมาธิ
ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาญาณะ
ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีมิจฉาวิมุตติ.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว.
ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ {๑} ๑. อเหตุกวาทะ = ผู้มีวาทะว่า เหตุไม่มี, อกิริยวาทะ = ผู้มีวาทะว่า การกระทำไม่มี, นัตถิกวาทะ = ผู้มีวาทะว่า ขาดสูญ ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ.
พุทธวจน หมวดธรรม เปิดธรรมที่ถูกปิด
เดรัจฉานวิชา เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๔๖-๕๑
by ท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล


Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2564 12:07:54 น. 0 comments
Counter : 118 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 5378236
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ดี
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5378236's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.