Ride to Raid
Group Blog
 
All Blogs
 

การจับเคน



สวัสดีครับ ผมรุต เรเดอร์

หลังจากที่ทำความรู้จักกับเคนดามะ และได้เคนดามะมาตรฐานมาแล้ว
ขั้นตอนต่อไปก็จะต้องรู้วิธีการจับเคนที่ถูกต้องครับ จะได้เริ่มฝึกกัน

การจับเคนในเบื้องต้นจะมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน (สำหรับผู้ถนัดมือขวา)

1. การจับเคนแบบจับตะหลิว (Ken grip)



ใช้มือขวากำไปที่ด้ามของเคนแบบหลวมๆ โดยถ้วยใหญ่จะอยู่ด้านบน ถ้วยเล็กอยู่ด้านล่าง
เชือกจะเข้าด้านใน หรือออกมาทางซ้ายมือของผู้เล่น



จะจับให้มือชิดไปหาถ้วยใหญ่ถ้วยเล็ก หรือจะจับให้มือห่างออกมาหน่อย
ก็ไม่ผิดกติกาครับ ได้หมด แล้วแต่ถนัด แล้วแต่ความเหมาะสม
บางทีบางท่าที่เล่น อาจต้องมีการพลิกแพลงมือ หรือควงเคน
การจับไกล จับใกล้ก็จะให้ผลที่แตกต่างกัน ค่อยว่ากันในภายหลัง



การจับหลวมๆ จะทำให้เราพลิกมือง่าย ไม่ว่าจะตั้งเคนขึ้นเพื่อเล่นตำแหน่งหนาม



หรือพลิกก้นถ้วยขึ้นมาเล่น ก็สะดวก



ท่าในการเล่นเคนดามะ ส่วนใหญ่จะใช้การจับแบบจับตะหลิวเล่นครับ



การกำไปที่ด้ามเคนจนแน่น เป็นวิธีที่ผิด เพราะจะพลิกมือยาก
และขาดความนิ่มนวลในการรับบอล



จับหลวมๆ แบบจับตะหลิวผัดกับข้าว เป็นวิธีที่ถูกต้อง

ตัวอย่างท่าที่ใช้การจับแบบจับตะหลิว ได้แก่ท่า Around the world


ไม่ต้องตกใจนะครับ ว่าจะต้องเริ่มฝึกจากท่านี้ อันนี้เป็นเพียงตัวอย่าง ให้ดูลักษณะการจับเคน
แบบจับตะหลิว จับแล้วเล่นยังไง พลิกมือยังไง ส่วนการเริ่มฝึกค่อยว่ากันทีหลัง

2. การจับเคนแบบจับปากกา (Sara grip)

อันนี้ง่ายๆ ครับ จับเหมือนจับปากกาเลย



ถ้วยใหญ่อยู่ข้างบนเช่นกันครับ ปลายนิ้วชี้กับนิ้วโป้ง จะเข้าไปชิดตรงซอกข้างถ้วย
เชือกจะเข้าด้านใน

ท่าแรกเลยที่ผู้เล่นจะเจอ และได้ใช้การจับแบบจับปากกา ก็คือท่า Moshikame ครับ


การจับแบบจับปากกาก็จะให้ความรู้สึกในการเล่นที่แตกต่างออกไปจากการจับแบบตะหลิว
แต่ก็ควรจะฝึกไว้ทั้งสองแบบ เพราะมันก็มีความเหมาะสมกับแต่ละท่าที่แตกต่างกัน
แล้วจะอธิบายในภายหลัง

3. การจับเคนแบบคีบบุหรี่ (Revolver grip)

ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางคีบไปที่ด้ามของเคน ชิดไปหาถ้วย



ถ้วยเล็กจะอยู่ข้างบน ถ้วยใหญ่จะอยู่ข้างล่าง เชือกจะออกด้านนอก



นิ้วที่เหลือก็ประคองไปตามถ้วยแล้วแต่ถนัด ท่าจับแบบคีบบุหรี่นี้
จะเหมาะในการใช้ควงเคนแบบครึ่งรอบ เหมาะกับการเล่นตำแหน่งหนาม
ในลักษณะจิ้มลง หรือ down spike

ตัวอย่างท่วงท่าที่ใช้การจับแบบคีบบุหรี่ ได้แก่ท่า Gunslinger


นั่นก็เป็นตัวอย่างของการจับเคนทั้งหมด 3 แบบครับ
สำหรับคนถนัดซ้าย ก็ต้องเปลี่ยนฝั่งที่เชือกออกจากเคนด้วย
เพื่อเวลาถือมือซ้าย ถ้วยใหญ่จะได้อยู่ข้างบน และเชือกออกมาด้านขวา

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม แวะพูดคุยกันได้ในเพจ ตำบอลบริการครับ




 

Create Date : 07 มิถุนายน 2560    
Last Update : 7 มิถุนายน 2560 12:37:45 น.
Counter : 1104 Pageviews.  

เคนดามะขนาดมาตรฐาน



สวัสดีครับ ผมรุต เรเดอร์


สำหรับนักเล่นเคนดามะหน้าใหม่ การได้เคนดามะที่ได้มาตรฐานมาใช้ฝึก
เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะหากใช้ตัวที่ไม่ได้มาตรฐาน จะทำให้ฝึกยาก
และอาจจะท้อได้ เพราะไม่สามารถทำท่าต่างๆ ได้ตามต้องการ


ผมมีเคนดามะ 3 ตัวมาเทียบให้ดู จากซ้ายไปขวา

ตัวแรก เป็นเคนดามะทรงโบราณ แรกเริ่มเดิมทีที่เคนดามะถือกำเนิด
รูปทรงแบบนี้ก็ถือว่าเป็นรูปทรงที่ได้มาตรฐาน แต่เมื่อเวลาผ่านไป
เคนดามะก็มีรูปทรงที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา เพื่อให้มันเล่นสนุกขึ้น
เล่นท่าต่างๆ ได้มากขึ้นนั่นเอง

ตัวกลาง เป็นเคนดามะรูปทรงสมัยใหม่ แต่ว่าเป็นแบบลดต้นทุน
ทำราคาขายถูก ถ้าวางอยู่ตัวเดียว อาจจะดูยากว่าได้มาตรฐานหรือไม่
แต่เมื่อวางเทียบกันจะเห็นได้ชัดว่า มันมีขนาดที่เล็กกว่าตัวอื่นๆ ชัดเจน
จึงเป็นเคนดามะที่ไม่ได้มาตรฐาน มันก็พอจะใช้เล่นได้
แต่ถ้าจะเอาจริงๆ จังๆ หน่อย ไม่แนะนำครับ

วิดีโอนี้ ผมอธิบายถึงการเลือกเคนดามะ ตั้งแต่สมัยที่ผมเพิ่มเริ่มหัด
ผมก็ใช้ตัวที่ไม่ได้มาตรฐานในการฝึกครับ ผมก็คิดเสียว่า
วิกฤษเป็นโอกาส ได้ฝึกตัวที่ยาก เราจะได้เก่ง



ตัวขวาสุด เป็นเคนดามะที่ปัจจุบันยอมรับว่า แบบนี้ ได้มาตรฐาน


เทียบด้านข้างให้เห็น หันด้านถ้วยใหญ่


ตัวที่ได้มาตรฐาน ถ้วยใหญ่จะใหญ่ที่สุด บอลก็เช่นกันครับ ใหญ่กว่า


เคนดามะมาตรฐาน บอลจะกว้าง 6 cm พอดี


ความยาวของตัวเคน จากปลายหนามถึงสุดก้นถ้วย ไม่เกิน 17 cm


ความยาวเมื่อรวมบอลแล้ว อยู่ที่ประมาณ 18 cm ครับ


ความกว้างจากถ้วยใหญ่ ไปถ้วยเล็ก ก็ไม่เกิน 7 cm


ถ้วยใหญ่กว้าง 4 cm



ถ้วยอื่นๆ จะมีขนาดเล็กลดหลั่นลงไป โดยก้นถ้วยจะเล็กที่สุด

รูปทรงเคนดามะที่ได้มาตรฐานนี้ จะทำให้เล่นท่า Lunar lander ได้
เป็นท่าที่ถ้วยใหญ่วางอยู่บนบอล เคนทำมุมเอียงๆ ดังรูป


เคนดามะที่ไม่ได้มาตรฐาน จะไม่สามารถทำท่านี้ได้

วิดีโอนี้ ผมอธิบายถึงเคนดามะขนาดมาตรฐานครับ


สรุปการสังเกตุเคนดามะที่ได้มาตรฐานด้วยตาเปล่า มีดังนี้ครับ
เผื่อจะเลือกซื้อโดยที่ไม่ได้จับได้วัด

1 ตัวมาตรฐาน จะมีโลโก้ชัดเจน
2 ปลายหนามจะแหลมๆ คล้ายดินสอ
3 รูที่เชือกออกจากเคน จะเยื้องไปทางหนาม

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม แวะเยี่ยมชมได้ที่เพจ ตำบอลบริการครับ




 

Create Date : 02 มิถุนายน 2560    
Last Update : 2 มิถุนายน 2560 14:15:56 น.
Counter : 1847 Pageviews.  

เคนดามะคืออะไร



สวัสดีครับ ผมรุต เรเดอร์

หายไปนานจากวงการเขียนบล็อกเนื่องจากหมดมุก
วันนี้กลับมาอีกครั้งครับ กับของเล่นชิ้นใหม่ นั่นก็คือ เคนดามะ (Kendama)
เคนดามะเป็นของเล่นที่ส่วนใหญ่ทำจากไม้ กำเนิดในญี่ปุ่น ปัจจุบันได้รับความนิยมทั่วโลก
ส่วนประกอบของเคนดามะ มีดังนี้ครับ


ส่วนประกอบหลักจะมีบอล กับเคน


บอล กับเคน จะเชื่อมกันด้วยเชือก ที่บอลจะมีรูให้หนามเสียบ
ส่วนถ้วยใหญ่ ถ้วยเล็ก และก้นถ้วย ก็มีไว้ใช้ในการรับบอลครับ

ผู้เล่นที่ได้เคนดามะมาใหม่ๆ โดยไม่รู้วิธีเล่น จะไม่สนุกครับ เพราะมันเล่นยากอยู่
แต่ถ้ารู้วิธีการเล่น เทคนิคการฝึก ก็จะง่ายขึ้น และเล่นได้สนุกมากขึ้น
แล้วผมจะค่อยๆ เล่าให้ฟังในบล็อกต่อๆ ไปครับ

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม หรือเยี่ยมชมสินค้า แวะเยี่ยมกันได้ที่
เพจตำบอลบริการครับ




 

Create Date : 01 มิถุนายน 2560    
Last Update : 1 มิถุนายน 2560 9:36:45 น.
Counter : 1329 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

RouteRaideR
Location :
อุบลราชธานี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




จักรยาน มีล้อเดียว มันเสียวล้ม
ต้องเพาะบ่ม หมั่นฝึกฝน จนคล่องแข็ง
จะได้ขี่ กระโดดเด้ง เร่งหลบแซง
แม้หลุมแอ่ง อุปสรรค กล้าเิผชิญ

ขี่เก่งแล้ว ก็ค่อยออก ไปเที่ยวเล่น
ปั่นแล้วเป็น เหมือนบินลิ่ว ปลิวลมเหิน
นั่งตัวตรง ไม่มีแฮนด์ เป็นส่วนเกิน
ชมวิวเพลิน ผจญภัย ไม่เบื่อเลย

by RouteRaideR
Friends' blogs
[Add RouteRaideR's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.