Ride to Raid
Group Blog
 
All Blogs
 

เรียนภาษาไทใหญ่จากเพลง "ให้หายคาใจ" นางแสงหอม

มอื่อ สูง ค่า (สวัสดีครับ)
กลับมาศึกษาภาษาไทใหญ่กับจ๊ายก๊งเหลวกันต่อ


วันนี้เป็นคิวของนางแสงหอมในเพลง "ฮอื้อ ป๊อ ลื้มจอื๋อ" (ให้ พอ โล่งใจ)

ชื่อไทย ผมเลือกใช้ว่า "ให้หายคาใจ" หลังจากได้ฟังเนื้อหาทั้งหมดแล้ว จึงกลับมาแก้
ตอนแรกใช้ว่า "ให้พอวางใจ" กับ "ให้พอโล่งใจ" แต่ความหมายยังไม่เข้าถึง 100%



มาดูกันว่า จะได้ศัพท์ใหม่จากเพลงนี้อีกมากน้อยแค่ไหน


(อ่าน) ฮอื้อ ป๊อ ลื้มจอื๋อ
(เกลา) ให้ พอ โล่งใจ
(เกลา 2) ให้หายคาใจ

"ลื้ม" คำเดียว แปลว่า "ลืม" ตรงกับไทย
แต่ "ลื้มจอื๋อ" แปลว่า "วางใจ โล่งใจ สบายใจ" ก็คือหายคาใจนั่นเอง


(อ่าน) แต้ม-จ๊าย เจิ๊ง หาน
ฮ่อง-แสง หอม

(เกลา) แต่ง-นายเชิงหาญ
ร้อง-นางแสงหอม


(อ่าน) โผน เต๋ โต๊ก ฟ่ะ ยั้ง ม้อ ฮ่อง โส่ง ข่าว
(แกะ) ฝน จะ ตก ฟ้า ยัง ดัง ร้อง ส่ง ข่าว

"โผน" ประกอบด้วยตัว "พ่ะ" (หน้าตาคล้าย น หนู) ใส่สระโอ (IL) ใต้ตัว "พ่ะ"
สะกดด้วยตัว "น่ะ" (หน้าตาคล้ายผีเสื้อ) ใส่ตัว c บนตัว "น่ะ" เพื่อบอกความเป็นตัวสะกด
ฉนั้น ท่อนนี้จะมีสระโอ 3 ตัว คือ "โผน โต๊ก โส่ง"

"ฟ่ะ" ประกอบด้วยตัว "ฟ่ะ" (หน้าตาเหมือนตัว "พ่ะ" แต่มีหางข้างล่าง) ใส่สระอา (ๅ)
อ่านว่า "ฝา" แต่เติมจุด จะได้เสียงโทสั้น กลายเป็น "ฟ่ะ" แปลว่า "ฟ้า"
ตัว "พ่ะ" กับตัว "ฟ่ะ" ของไทใหญ่ มีความใกล้เคียงกันมาก หลายครั้งใช้แทนกันได้


(อ่าน) ปี้ เต๋ ผาด ก้อป สัง อั่ม ปั๋น เสง ม้า
(แกะ) พี่ จะ จาก เพราะ อะไร ไม่ ส่ง เสียง มา


(อ่าน) กึ้งก้าง ตื๊ต ต๊างฮั่ก
(แกะ) ฉับพลัน แยก ความรัก


(อ่าน) ป้าย กว่า ไก๋ ไก๋ ไน่ ย่อน เป้อ สัง
(แกะ) หนี ไป ไกล ไกล นี้ เพราะ เพราะ อะไร


(อ่าน) อยู่ ผ่าย เจ๊บ เฮ้ด เก้าะ เต๋ ลื้ม หยาบ หน่า
(แกะ) อยู่ ฝ่าย เจ็บ ทำ คน จะ ลืม ยาก หนัก
(เกลา) เป็นฝ่ายเจ็บ ทำให้การลืมนั้นยากยิ่งนัก


(อ่าน) น้าง ไล่ ผ่า ล่อง ไหม้ เหลิด กู้ แสน เจ๊อ
(แกะ) นาง ได้ ฝ่า เรื่อง ไหม้ เดือด ทุก แสน พวก

เกลาไม่ออกเลยครับ ท่อนนี้ยาก คงต้องไปถามชาวไทใหญ่แล้วหละ

(เกลา) นางได้เจอแต่เรื่องเดือดร้อนมาโดยตลอด

"กู้แสนเจ๊อ" คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง
ไปถามในกลุ่มเรียนรู้ภาษาไทใหญ่มาแล้วครับ


(อ่าน) หือ เต๋ มี้ วั้น เซ้อ ว้าย อั่ม หัน ปี้ ไน่ จ๊าย ปี้ เอ๊ญ
(แกะ) ยังไง จะ มี วัน สุข วาย ไม่ เห็น พี่ นี้ ชาย พี้ เอย
(เกลา) จะมีความสุขได้อย่างไร พี่หายไป ไม่เห็นพี่เลย


(อ่าน) สัง สู ลาต กว๊าม จั๊ง เย่า เส ผาต
(แกะ) ถ้า สู พูด ความ ชัง แล้ว เสีย จาก
(เกลา) ถ้าสูบอกว่าเกลียดกัน แล้วค่อยจาก


(อ่าน) เต๋ หยาจอื๋อ แค้นจอื๋อ อิ๊ตนึ่ง อยู่
(แกะ) จะ ปลอบใจ ค่อยยังชั่ว นิดหนึ่ง อยู่
(เกลา) จะช่วยให้พอสบายใจได้บ้าง

"หยาจอื๋อ" แปลว่า "ปลอบใจ" ได้คำนี้มาจากเพลง "รูปถ่ายเอ๋ย" ของนางแสงหอมนี่แหละ
"แค้น" แปลว่า "ดีขึ้น" (คนละอย่างกับ "แค้น" ของไทยนะครับ)
"แค้นจอื๋อ" แปลว่า "ค่อยยังชั่ว สบายใจขึ้น" ทำนองนี้ (คนละเรื่องกับ "แค้นใจ" ของไทยเลยครับ)
"อิ๊ต" คือ "นิด หน่อย" ตรงกับไทย
"อิ๊ตนึ่ง" ก็คือ "นิดหนึ่ง" ตรงกับไทยเช่นกัน

ตัวสะกด "แม่กด" ของไทใหญ่ จะใช้ตัว "ต้ะ" เนื่องจากในภาษาไทใหญ่ ไม่มีเสียง "ด" มีแต่ "ต"
ผมก็เลยถอดระหัสออกมาโดยใช้ ต.เต่า ไปด้วยเลย แล้วหน้าตามันคล้ายกันดีด้วย
ประโยคนี้มีตัว "ต้ะ" สองตัว "เต๋" กับ "อิ๊ต"


(อ่าน) เม่อเหลว เต๋ ฮอื้อ น้าง เฮ้ด เจิ้ง หือ
(แกะ) ตอนนี้ จะ ให้ นาง ทำ เช่น ไร


(อ่าน) เต๋ ฮอื้อ เป๋น โก๊น ม้องปอึ้ ท่า เหน่

ตัว "ป้ะ" ของไทใหญ่ หน้าตาคล้าย U ประโยคนี้มี "เป๋น" กับ "ปอึ้"
มาดูตรงคำว่า "ม้องปอึ้" แปลว่า "รอคอย" พบได้บ่อยมาก จากหลายเพลง
แต่ก่อนผมถอดรหัสว่า "ม้องปอื้อ" ต่างกันที่สระ อึ กับ อือ
ที่ปรับเป็น "ปอึ้" เพื่อให้มันใกล้เคียงเสียงโทสั้น ซึ่งเป็นวรรณยุกต์พิเศษของไทใหญ่ ที่ไทยไม่มี
วรรณยุกต์โทสั้นของไทใหญ่จะใช้จุดกำกับ ให้เสียงโท แต่ออกเสียงสั้นๆ

(แกะ) จะ ให้ เป็น คน รอคอย ท่า หรือ


(อ่าน) เต๋ ฮอื้อ ไป๋ เส้นต๊าง จั๊ง จ้าน หือ
(แกะ) จะ ให้ เดิน เส้นทาง ชัง เบื่อ หรือ

"เหน่" หรือ "แหน่" กับ "หือ" ให้ความหมายในเรื่องการสงสัย


(อ่าน) ปี้ ฮอต ถึง เมิ้ง ตี้ ลอื๋อ ก้อ
(แกะ) พี่ ถึง ถึง เมือง ที่ ไหน ก็
(เกลา) พี่ไปถึงไหน ก็


(อ่าน) คื้น ม้า ซ้างล้าง ต๊างฮั่ก ปั๋น น้าง อิ๊ตนึ่ง ลู้ ฮอื้อ ป๊อ ลื้มจอื๋อ
(แกะ) คืน มา สะสาง ความรัก ให้ นาง นิดหนึ่ง ดู ให้ พอ โล่งใจ

"ซ้างล้าง" ไม่มีในพจนานุกรม แต่ผมคาดว่า น่าจะแปลว่า "สะสาง ทำให้เสร็จ" ทำนองนี้
เพราะ "ซ้าง" แปลว่า "ทำให้สว่าง" และ "ล้าง" แปลว่า "ตัดออก ขุดลอก"
ก็ประมาณว่า กลับมาเคลียความรักกันหน่อย จะได้หายข้องใจ รัก ไม่รัก ยังไงก็ว่ามา

จบแล้วครับ สำหรับเนื้อหาทั้งหมด ได้ศัพท์ใหม่เยอะเลย ได้แก่
"ลื้มจอื๋อ" = วางใจ โล่งใจ สบายใจ (ไม่เกี่ยวกับ "ลืมใจ" ในภาษาไทย)
"โผน" = ฝน
"ข่าว" = ข่าว (ตรงกัน)
"กึ้งก้าง" = ฉับพลัน ทันทีทันใด
"ผ่า" = ฝ่า
"กู้แสนเจ๊อ" = ทุกสิ่งทุกอย่าง
"แค้นจอื๋อ" = ค่อยยังชั่ว (คนละเรื่องกับ "แค้นใจ" ของไทย)
"อิ๊ตนึ่ง" = นิดหนึ่ง
"เหน่" = หรือ อย่างนั้นหรือ
"จ้าน" = เบื่อ
"ซ้างล้าง" = สะสาง

สรุปเนื้อหา "ให้หายคาใจ"

ฝนจะตก ฟ้ายังร้องส่งข่าว พี่จะจาก ไยไม่บอกกล่าวบ้าง
แตกหักลงอย่างฉับพลัน ทิ้งกันไปไกล เป็นเพราะอะไร
เป็นฝ่ายเจ็บ ย่อมยากที่จะลืม นางได้เจอแต่เรื่องร้ายๆ มาตลอด
จะให้มีความสุขได้อย่างไร เมื่อพี่หายไป ไม่เห็นพี่เลย
ถ้าสูบอกว่าเกลียดกัน แล้วค่อยจากไป ยังพอทำใจได้ง่ายเสียกว่า
ตอนนี้จะให้นางทำเช่นไร จะให้ทนรอต่อไปอย่างนั้นหรือ
จะให้จบลงด้วยการเกลียดชังกันงั้นหรือ พี่ไปถึงไหนก็ตาม
กลับมาเคลียเรื่องรักของเรานิดหนึ่ง ให้หายคาใจ

บทกลอน "ให้หายคาใจ"

...ฝนจะตก ฟ้ายังต้อง ร้องส่งข่าว
พี่จะจาก ไยไม่กล่าว ไม่พร่ำเผย
อยากจะไป ก็ฉับพลัน ไปเฉยเลย
ไม่เคยเอ่ย ไม่เคยพูด เพราะเหตุใด

เป็นฝ่ายเจ็บ เป็นเรื่องยาก อยากลืมลบ
ได้ผ่านพบ เรื่องเลวร้าย ร้อนเดือดไหม้
จะให้ชื่น คืนความสุข ได้อย่างไร
เมื่อพี่ไป เมื่อพี่เมิน เดินจากลา

ถ้าบอกว่า ชังล้นเหลือ เบื่อหน่ายท้อ
ยังจะพอ ทำใจได้ ง่ายเสียกว่า
ปล่อยให้น้อง ต้องเคว้งคว้าง ห่างเอกา
ให้คอยท่า อดทนรอ ต่อไปฤๅ

จะให้เดิน บนเส้นทาง ขนานกัน
ไม่มีวัน หายข้องใจ อย่างนั้นหรือ
พี่อยู่ไหน ได้โปรดให้ ความร่วมมือ
อย่าดึงดื้อ จงมาเคลีย ความคาใจ...

คำแปล และบทกลอน โดยจ๊ายก๊งเหลว
จะเห็นว่า ถ้าใช้ชื่อเพลงว่า "ให้ได้วางใจ" "ให้พอโล่งใจ"
หรือแม้แต่ "อยากให้แน่ใจ" ตามชื่อคลิป ความหมายจะไม่เข้าถึงนัก
ผมจึงใช้ชื่อเพลงว่า "ให้หายคาใจ" อันนี่จะตรงประเด็นที่สุด
ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ




 

Create Date : 24 กันยายน 2556    
Last Update : 29 กันยายน 2556 16:53:18 น.
Counter : 1369 Pageviews.  

เรียนภาษาไทใหญ่จากเพลง "เป็นไปไม่ได้ก็ให้มันจบ" นางหมวยใส

มอื่อ สูง ค่า (สวัสดีครับ)
กลับมาพบกับจ๊ายก๊งเหลวอีกเช่นเคยครับ


จากบล็อกนี้ไป ผมว่าจะเอาโลโก้ตัวเองขึ้นเป็นรูปแรก เพื่อให้โชว์เป็นไอคอนของชื่อบล็อก
ส่วนเนื้อหาในบล็อกก็เหมือนเดิมครับ เป็นการเรียนภาษาไทใหญ่ ซึ่งผมเป็นคนเรียนเอง
เรียนจากเพลง ค่อยๆ แปลไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เรียนไปพร้อมกัน
เพราะเรื่องราวของชาวไทใหญ่ ไทลื้อ ไทดำ และไทอื่นๆ ที่อยู่นอกประเทศไทย
ไม่ค่อยได้รับความสนใจ ผมเชื่อว่า มันเป็นความเจ็บปวดของสยามในอดีต ที่ต้องเสียดินแดน
แต่นั่นเป็นเรื่องของรัฐ เรื่องของการเมืองระหว่างประเทศ เรื่องของฝ่ายปกครอง ใครดีใครได้
ถ้าพูดกันในระดับประชาชน คนทั่วไป หรือชาวบ้านธรรมดา
ไม่ว่า ไทย ลาว ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทดำ หรือไทอื่นๆ ก็คือชนเผ่าที่มีจุดกำเนิดเดียวกัน
โดยดูได้จากความคล้ายกันของภาษา และวัฒนธรรม
เท่าที่ผมศึกษามา ชาวไทใหญ่ จะเสียใจเสมอ เมื่อถูกเรียกว่าพม่า
เขาจะพอใจกับคำว่า "ไทใหญ่" มากกว่า และจะดีใจมาก ถ้าเรียกเขาว่า "คนไต" (โก๊นไต๊)
แต่จะโทษคนเรียกก็ไม่ได้ เพราะรัฐฉานก็อยู่ในสหภาพพม่าจริงๆ ประกอบกับคนไทยเอง
ไม่ได้รับการส่งเสริมให้เรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านเลย รอมาเรียนตอนเป็นอาเซียนทีเดียว



วันนี้กลับมาที่ผลงานของนางหมวยใสอีกครั้ง เพลงนี้เป็นผลงานในยุคแรกๆ ของนาง แผ่นเลยเก่าไปหน่อย

จะมีบักอยู่นิดเดียว ตรงนาทีที่ 1.47 แต่โดยภาพรวมของเพลงแล้ว ก็ถือว่าเพราะใช้ได้
ก็ลองมาแปลกันดูครับ ได้ศัพท์ใหม่อีกไม่น้อย แน่นอน


(อ่าน) อั่ม เป๋น ไล่ ก้อ ซุด เซ่ง เส
(แกะ) ไม่ เป็น ได้ ก็ สุด สิ้น เสีย
(เกลา) เป็นไปไม่ได้ก็ให้มันจบ


(อ่าน) ฮ่อง-น้าง โหมย สอื๋อ
แต้ม-หาน จื้น แล้ง

(เกลา) ร้อง-นางหมวยใส
แต่ง- นายหาญชื้นแลง


(อ่าน) โต๊ญ ออก สาย ต๋า จ๊าย นั่น เหมิน ไฟ้ ลุ่ก ไหม้

เนื่องจากตัว "ญ่ะ" ของไทใหญ่ หน้าตามันคล้าย ญ.หญิง ของไทย ผมว่า ต่อไป จะถอดระหัสให้ตรงกันแบบนี้เลย

(แกะ) ดู ออก สาย ตา ชาย นั้น เหมือน ไฟ ลุก ไหม้

ไทใหญ่พูด "ลุ่กไหม้" (โทโท) ไทยพูด "ลุกไหม้" (ตรีโท) ถือว่าเพี้ยนกันนิดเดียว สำหรับคำนี้


(อ่าน) หุบ เส แล่ ล้าม ไหม้ ถึง โอ๊ก น่อง
(แกะ) ลุก เสีย และ ลาม ไหม้ ถึง อก น้อง

"หุบ" ในความหมาย "ลุกลาม" ใช้กับเรื่องไฟเท่านั้น ใช้ในกรณีลุกขึ้นยืนแบบไทยไม่ได้


(อ่าน) นอื๋อ ค้าว ต๊าง อั๋น สู แล่ เฮ้า ฮั่ก กั๋น ม้า
(แกะ) ใน คราว ทาง อัน สู และ เรา รัก กัน มา


(อ่าน) สัง ว่า ว่น คื้น ก้อ เป้ะ แก่น เสหลาย
(แกะ) ถ้า ว่า คิด ทวน ก็ เต็ม แน่น เสียดาย


(อ่าน) น่อง คอื้อ ย้อน ถาม น่อง เฮ้ด พิด สัง
(แกะ) น้อง ใคร่ ขอ ถาม น้อง ทำ ผิด อะไร

ดีเลยครับ "สัง" มาให้เห็นทั้งสองกรณี
กรณีแรก แปลว่า "ถ้า หาก" กรณีหลัง แปลว่า "อะไร"


(อ่าน) ตอบ แหน ฮอื้อ ป๊อ ฮุ่ ลู้
(แกะ) ตอบ แนะ ให้ พอ รู้ ดู


(อ่าน) หมอก ว่า จั๊ง น่อง เส อยู่ อยู่ ก้อ ว่า พิด จอื๋อ ฮั้ง น่อง
(แกะ) บอก ว่า ชัง น้อง เสีย อยู่ อยู่ ก็ ว่า ผิด ใจ ในตัว น้อง

"ฮั้ง" เป็นศัพท์ใหม่ของผมอีกแล้ว ตามพจนานุกรม แปลว่า "รัง ในส่วนของ เอง ลำพัง"


(อ่าน) เม่อ จ๊าย หัน เปิ้น เก้าะ มอื่อ เข้า ม้า
(แกะ) เมื่อ ชาย เห็น คนอื่น คน ใหม่ เข้า มา

"เปิ้น" แปลว่า "คนอื่น" คนล้านนาก็พูดให้ได้ยินบ่อยๆ
ซึ่งก็ใกล้เคียงกับอีสานด้วย "เพิน" ก็หมายถึง คนอื่น เช่นกัน


(อ่าน) ป๊อ อั่ม เป๋น ไล่ เต้ะ ก้อ ฮอื้อ มั้น ซุด เซ่ง เส
(แกะ) เพราะ ไม่ เป็น ได้ แต่ ก็ ให้ มัน สุด สิ้น เสีย
(เกลา) ถ้าไปต่อไม่ได้ ก็ให้มันจบตรงนี้


(อ่าน) สัง สู เต๋ เฮ้ด ไล่ ฮั้ง น่อง ก้อ
(แกะ) ถ้า สู จะ ทำ ได้ กับ น้อง ก็

หมายถึงว่า สูกล้าทำร้ายจิตใจน้องขนาดนี้ ก็ (ไปต่อท่อนต่อไป)


(อ่าน) ต๊างฮั่ก เฮ้า สอง อย่า ฮอื้อ มั้น ค่อย กั๋น คื้น
(แกะ) ความรัก เรา สอง อย่า ให้ มัน พบ กัน คืน


(อ่าน) เป๋น ป้อก ลื้น ซุด น่อง ย้อน หมอก สู ไว่
(แกะ) เป็น กลับ ภายหลัง สุด น้อง ขอ บอก สู ไว้
(เกลา) ให้มันจบให้มันสิ้นสุด น้องขอบอกสูไว้


(อ่าน) น่อง เป้ะ ค้อ โขม น่อง เป้ะ กั้บจอื๋อ
(แกะ) น้อง เต็ม คอ ขม น้อง เต็ม คับใจ
(เกลา) น้องขื่นขมมาก น้องคับใจมาก


(อ่าน) หมองจอื๋อ หมองค้อ นั่มต๋า กิ้ง โล้ง
(แกะ) หมองใจ หมองคอ น้ำตา กลิ้ง ลง


(อ่าน) เป๋น ก้อบ ฮั่ก ล่น จอื๋อ อั่ม ถ่าง เส ไล่ ว้าย ป่อย จ๊าย เม้อ
(แกะ) เป็น เพราะ รัก ล้น ใจ ไม่ คิด เสีย ได้ วาย ปล่อย ชาย ไป
(เกลา) เป็นเพราะรักล้นใจ ไม่คิดเลยว่าจะต้องปล่อยชายไป

"ว่น" กับ "ถ่าง" ของไทใหญ่ แปลว่า "คิด"


(อ่าน) พอื๋อ เต๋ ม้า ฮุ่ ล่อง ต๊างหยาบจอื๋อ น่อง
(แกะ) ใคร จะ มา รู้ เรื่อง ความยากใจ น้อง


(อ่าน) แหน ฮ่าง-จ๊าย จ๊าย น้าง โหมย สอื๋อ
(เกลา) นำแสดง-นายชาย นางหมวยใส

จบแล้วครับ ได้ศัพท์ใหม่ ได้แก่
"หุบ" = ลุกลาม (ไฟ)
"ฮั้ง" =ในส่วนของ
"กั้บจอื๋อ" = คับใจ

สรุปเนื้อหา "เป็นไปไม่ได้ก็ให้มันจบ"

ดูออก สายตาชายเหมือนไฟลุกไหม้ ลุกลามไหม้ถึงอกน้อง
ในยามที่สู และเรารักกันมา ถ้าคิดทบทวนดูแล้วก็แสนเสียดาย
น้องอยากขอถาม น้องทำผิดอะไร ช่วยตอบให้ได้เข้าใจด้วย
บอกว่าชังน้อง อยู่ๆ ก็ว่าผิดใจกับน้อง เมื่อชายเห็นคนอื่นคนใหม่เข้ามา
ถ้าไปต่อไม่ได้ก็ให้มันจบตรงนี้ ถ้าสูจะทำกับน้องอย่างนี้ ความรักของเราก็อย่าได้มาพบกันอีก
ให้มันจบ ให้มันสิ้นสุด น้องขอบอกสูไว้
น้องขื่นขมมาก น้องคับใจมาก ใจคอหม่นหมอง น้ำตาไหลริน
เป็นเพราะรักล้นใจ ไม่คิดเลยว่าจะต้องปล่อยชายไป
ใครเล่าจะรู้ซึ้งถึงความลำบากใจของน้อง

บทกลอน "เป็นไปไม่ได้ก็ให้มันจบ"

...ดูรู้ซึ้ง ซึ่งสายตา อำมหิต
ลุกลามติด ไหม้มาถึง ซึ่งใจน้อง
ในเมื่อครั้ง ที่ยังรัก มักหมายปอง
คิดแล้วต้อง หมองใจแน่น แสนเสียดาย

น้องขอถาม ว่าน้องทำ ผิดแบบไหน
ตอบน้องให้ ได้รู้ซึ้ง ซึ่งความหมาย
บอกว่าชัง บอกว่าเบื่อ น้องจะตาย
คงเพราะชาย พบคนใหม่ ปันใจจร

ไปไม่ได้ ก็ให้จบ ลงตรงนี้
พอกันที กับความรัก อันผ่าวร้อน
อย่าได้พบ คบกันต่อ ขอวิงวอน
ให้เป็นตอน อวสาน สิ้นสุดทาง

น้องขื่นขม คับใจข้อง หมองใจไหม้
น้ำตาไหล ร้องไห้ให้ ความบาดหมาง
ไม่เคยคิด ว่าจะได้ ปล่อยชายวาง
มีใครบ้าง จะเข้าใจ ความตรอมตรม...

คำแปล และบทกลอน โดยจ๊ายก๊งเหลว
ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ




 

Create Date : 15 กันยายน 2556    
Last Update : 22 กันยายน 2556 20:27:15 น.
Counter : 1461 Pageviews.  

เรียนภาษาไทใหญ่จากเพลง "รูปถ่ายเอ๋ย" นางแสงหอม

มอื่อ สูง ค่า

สวัสดีครับ ผมจ๊ายก๊งเหลว กลับมานำเสนอเพลงไทใหญ่อีกเช่นเคย
พร้อมศึกษาภาษาไทใหญ่ไปด้วย เชื่อว่าจะได้ศัพท์ใหม่เพิ่มจากเพลงนี้อีกแน่นอน
อย่างนัอยชื่อเพลง ก็ทำให้รู้แล้วว่า รูปถ่ายนั้น ไทใหญ่เรียกว่า "แค้บฮ่าง"




ด้วยความน่ารัก เสียงใสของนางแสงหอม ผลงานของนางจึงได้รับการเลือกมาแปลอีกครั้ง
ครั้งนี้เป็นเพลงเร็ว แน่นอนว่าผมฟังรายละเอียดไม่ทัน ก็ต้องมาค่อยๆ แกะเอา


(อ่าน) แค้บ ฮ่าง อ่อน
(แปล) แผ่น แสดง เอ๋ย

"อ่อน" เป็นคำสร้อยของไทใหญ่ ที่เจอบ่อยมากๆ ผมไม่รู้ว่ามันจะตรงกับคำสร้อยไหน ของอีสาน ล้านนา หรืออยุธยา
ก็เลยใส่ "เอ๋ย" ไป เพราะมันก็เป็นคำสร้องประมาณเดียวกัน

"แค้บฮ่าง" รวมกันแปลว่า "รูปถ่าย" กระผมนึกถึง "แคบหมู" ขึ้นมาเลย ไม่รู้มันจะเกี่ยวกันไหม
"แค้บ" (เสียงตรี) ของไทใหญ่ แปลว่า แผ่นบาง ทำเป็นแผ่น
"แคบ" (เสียงโท) ของไทย คือ ไม่กว้าง บางเล็ก
จะว่าไปแล้วมันก็ทำนองเดียวกัน

(เกลา) รูปถ่ายเอ๋ย


(อ่าน) แต้ม-จ๊าย เจิ๊ง หาน
ฮ่อง-แสง หอม
(เกลา) แต่ง-นายเชิงหาญ
ร้อง-นางแสงหอม


(อ่าน) แหน ฮ่าง-จ๊าย สาม โย้ง-น้าง จั๋น คั้ม
(เกลา) นำแสดง-นายสามโยง-นางจันทน์คำ


(อ่าน) เม่อ วั้น จ๊าย เต๋ ผาดหยาน น้าง ปี้ มี้ แค้บฮ่าง อ่อน อั๋น นึ่ง
(แกะ) เมื่อ วัน ชาย จะ จรจาก นาง พี่ มี รูปถ่าย นั้น อัน หนึ่ง


(อ่าน) ผาก ต้อน ไว่ ปั๋น ฮอื้อ เป๋น ตี้ หยาจอื๋อ น่อง ว่า
(แกะ) ฝาก ฝาก ไว้ ให้ ให้ เป็น ที่ ปลอยใจ น้อง ว่า


(อ่าน) อั่ม หน่าน ป๊อ เยิ้งอ๊าน เย่า โต้ จื๋ง เต๋ ฮอด ม้า ถึง
(แกะ) ไม่ ? พอ สำเร็จ แล้ว เต็ม จึง จะ ถึง มา ถึง

"หน่าน" เขียนผิดครับ ผมเห็นประโยคถัดไปแล้ว ต้องเป็น "น้าน" ใส่ โคลอน ไม่ใช่ คอมม่า จะได้แปลว่า "นาน"


(อ่าน) หืง น้าน ก้อ จ๊าย อั่ม ป้อก ม้า หือ ซี้ ห้าม ไล่ ล่อง เหลิด ไหม้
(แกะ) นาน นาน ก็ ชาย ไม่ กลับ มา ยังไง ห้าม ห้าม ได้ เรื่อง เดือด ไหม้
(เกลา) นานแล้วชายก็ไม่กลับมา จะห้ามความร้อนใจได้อย่างไร


(อ่าน) เป๋น ก้อบ ย่อน สัง หลอม ถาม ถึง แค้บฮ่าง จ๊าย อยู่
(แกะ) เป็น เพราะ เพราะ อะไร ดู ถาม ถึง รูปถ่าย ชาย อยู่
(เกลา) เป็นเพราะอะไร หยิบรูปถ่ายชายขึ้นมาดู และถาม

"ย่อน" แปลว่า "เพราะ" ตรงกับอีสาน
ส่วนคำที่มีความหมายว่า "เพราะ" ของไทใหญ่มีเยอะเลยครับ "ย่อน ก้อบ เป้อ ป๊อ"
มีคำที่ใกล้เคียงกัน คือคำว่า "ย้อน" แปลว่า "ขอ"
"ย่อน" = "เพราะ"
"ย้อน" = "ขอ" ย้ำไว้ ณ ที่นี้เลย ผมเองก็จะได้จำไปด้วย


(อ่าน) ตอบ น้าง... ลาด น้าง ลู้ ไหน ก้อ ต้อ หือ ตั๊กเสง
(แกะ) ตอบ นาง... พูด นาง หน่อย นี้ ก็ ยาม ไหน ส่งเสียง
(เกลา) ตอบนางหน่อย พูดกับนางด้วย ยามใดก็ไม่เคยได้ยินเสียงตอบกลับ

คือร้อนใจ คิดถึงแฟน หยิบรูปถ่ายขึ้นมาดู แล้วถาม แต่รูปมันก็ตอบอะไรไม่ได้


(อ่าน) ล่อง ต๊าง ฮั่ก อ่อน น่อง น้าง เป๋น นั่มต๋า หยอด กิ้ง ม้า
(แกะ) เรื่อง ความ รัก ของ น้อง นาง เป็น น้ำตา หยอด กลิ้ง มา

"อ่อน" เหมือนเป็นตัวโจ๊กเกอร์เลยครับ ประโยคก่อนโน้น ผมแกะเป็น "นั้น" ประโยคนี้แกะเป็น "ของ"
เพราะมันเป็นคำสร้อยอยู่แล้ว เลยแทนด้วยคำอื่นได้


(อ่าน) เหมิน เมิ้ง โก๊น ไน่ มี้ ไว่ นอื๊อ ลับสิ่ง หือ หัน พอื๋อ ลอื๋อ เหนอเส จ๊าย
(แกะ) เหมือน เมือง คน นี้ มี ไว้ ใน มืด ยังไง เห็น ใคร ไหน นอกจาก ชาย
(เกลา) เหมือนทุกอย่างมืดมิด ไม่เห็นใครแล้ว นอกจากชาย


(อ่าน) ก้อบ แค้บฮ่าง อ่อน ปี้ แล่ เอ๋า น้าง ไล่ หย่อง ไหม้ จ๊อม หัน แค้บฮ่าง โก๊ย
(แกะ) เพราะ รูปถ่าย ของ พี่ แหละ ทำเอา นาง ได้ บ้า ไหม้ ตาม เห็น รูปถ่าย เท่านั้น


(อ่าน) น้าง โต๊ย ตื๊ง หือ อิ่ม หืง หลาย เหง ปี๋ จ๊าย ตื๊น ฮ่างหลี ไว่
(แกะ) นาง ดู บึง ยังไง อิ่ม นาน หลาย พัน ปี ชาย เหลือ งดงาม ไว้

"ตื๊ง" แปลว่า "บึง" ตามพจนานุกรม ผมว่ามันอาจจะเป็นคำเดียวกัน "โต๊ยตื๊ง" แต่ไม่มีในพจนานุกรม
ผมคาดว่า มันคงรวมกันแปลว่า "ดู" อาจจะเป็น "ดูอย่างจดจ่อ พิจารณา"

(เกลา) นางดูยังไงก็ไม่เต็มอิ่ม จะอีกเป็นพันปี รูปชายก็จะยังสวยงามตลอดไป

จบแล้วครับ ทบทวนศัพท์ใหม่ได้ดังนี้
"แค้บฮ่าง" = รูปถ่าย
"หยาจอื๋อ" = ยาใจ ปลอบใจ
"โต้" = เต็ม
"ตั๊กเสง" = ส่งเสียง
"กิ้ง" = กลิ้ง
"ลับสิ่ง" = มืด ("ลับ" คำเดียว ก็แปลว่า มืด ดับ ลับ)
"เหนอเส" = นอกจาก
"โต๊ยตื๊ง" = ดู
"อิ่ม" = อิ่ม (อิ่ม คงเป็นคำไทแท้ๆ เลยครับ เผ่าไท พูดเหมือนกันหมด)
"ตื๊น" = เหลือ ส่วนที่เหลือ แน่นอน

งิ้น โจ๊ม เย่า ค่า
ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ

สรุปเนื้อหา "รูปถ่ายเอ๋ย"

เมื่อวันที่ชายจะจากนาง พี่มีรูปถ่ายอันหนึ่ง ฝากให้ไว้ปลอบใจว่า ไม่นานพอเสร็จงานแล้วก็จะกลับมา
นานแล้วชายก็ไม่กลับมา จะห้ามความร้อนใจได้อย่างไร เป็นเพราะอะไร หยิบรูปถ่ายมาดู
ตอบนางหน่อย พูดกับนางด้วย แต่รูปถ่ายก็ไม่อาจพูดได้

ความรักของน้องนาง กลายเป็นน้ำตารินไหล
เหมือนทุกอย่างมืดมิด ไม่เห็นใครแล้วนอกจากชาย
เพียงแค่เห็นรูปถ่ายของพี่ นางก็ร้อนใจเจียนบ้า
ยิ่งดูยิ่งคิดถึง ไม่ว่าอีกนานแค่ไหน ภาพชายก็จะอยู่งดงามในความทรงจำตลอดไป

เต๋ กว่า เย่า ค่า
ลาแล้วครับ

บทกลอน "รูปถ่ายเอ๋ย"

...เมื่อวันชาย จะจรจาก ฝากรูปไว้
เพื่อเตือนใจ ไม่นานก็ กลับมาหา
เนิ่นนานแล้ว พี่ชายก็ ไม่กลับมา
ทำไมหนา จึงไม่กลับ ร้อนจับใจ

หยิบรูปถ่าย ขึ้นมาดู ขึ้นมาถาม
ในเมื่อยาม บัดเดียวนี้ พี่อยู่ไหน
ตอบนางด้วย ช่วยให้น้อง หายข้องใจ
แต่รูปไซร้ ไม่เคยเอ่ย เผยถ้อยคำ

ความรักน้อง ต้องกลายเป็น น้ำตาหยด
มืดมิดหมด เหลือเพียงพี่ ที่ใจย้ำ
แทบบ้าบอ พอได้ดู รูปถ่ายทำ
คงจดจำ ภาพชายไว้ ตรึงใจนาน...

คำแปล และบทกลอน โดยจ๊ายก๊งเหลว




 

Create Date : 10 กันยายน 2556    
Last Update : 17 กันยายน 2556 12:12:20 น.
Counter : 1392 Pageviews.  

เรียนภาษาไทใหญ่จากเพลง "วิถีไม่หาย ภาษาไม่ตาย" นางแสงหอม

มอื่อ สูง ค่า

สวัสดีครับ ผมจ๊ายก๊งเหลว ถึงชั่วโมงวิชาภาษาไทใหญ่อีกแล้วครับ
วันนี้จะได้หยิบผลงานของนางแสงหอม มาให้ได้ฟังกัน ในเพลง
"ฟิ่งทุ้งอั่มว้าย ลิ่กล้ายอั่มหาย" เพลงนี้มีจุดเด่นที่ท่วงทำนองอันโหยหวน
นางกลัวว่า วัฒนธรรม และภาษาของชนชาติไทใหญ่จะสูญหาย
วันนี้ผมก็จะช่วยนางสานต่ออุดมการณ์ โดยแปลลง bloggang ไว้ให้
ถ้า bloggang ยังอยู่ youtube ยังไม่หาย เพลงนี้ก็จะยังไม่หายเช่นกัน



จุดเด่นอีกอย่างของเพลงนี้ก็คือการฟ้อนรำสไตล์ไทใหญ่ ผมว่าสวยดี มีเอกลักษณ์
เริ่มแปลกันเลยครับ



(อ่าน) ฟิ่งทุ้ง อั่ม วัาย ลิ่กลาย อั่ม หาย
(แกะ) วัฒนธรรม ไม่ วาย ภาษา ไม่ หาย
(เกลา) วิถีไม่หาย ภาษาไม่ตาย


(อ่าน) แต้ม-จ๊าย หาน แล้ง
ฮ่อง-แสง หอม

(เกลา) แต่ง-นายหาญแลง
ร้อง-นางแสงหอม


(อ่าน) แหน ฮ่าง ก้า-น้าง จั๋น ยิ้ง/น้าง คั้ม ติ้บ/ น้าง แสง หอม
น้าง สี โน้น-ว่าน ปาก ย้าง/เว้ง ต้า ขี้ เล้ก

(เกลา) แสดงรำ-นางจันทน์หญิง/นางคำทิพย์/นางแสงหอม/นางศรีนวล-บ้านปากยาง/เวียงท่าขี้เหล็ก


(อ่าน) ม้อง ก๋อง ม้อ ปั๊น โอ๋น จ๊อม นอื๊อ แก้ โก๊น
(แกะ) ฆ้อง กลอง ดัง ดัง ดัง ด้วย ใน ท่ามกลาง คน
(เกลา) กลองฆ้องบรรเลงดังท่ามกลางผู้คน


(อ่าน) คอบ ขิ่ง แผว ฮอด ป๋าง ป๊อย เมิ้ง หลอย เฮ้า
(แกะ) ครบรอบ ยาม ถึง ถึง ปาง งานบุญ เมือง ดอย เรา
(เกลา) ครบรอบถึงยามงานบุญเมืองดอยเรา

"แผว" ประกอบด้วยตัว "พ่ะ" (หน้าตาคล้าย น.หนู) ใส่สระแอ ไว้บนหัว (เลขสามกลับด้าน)
แล้วสะกดด้วยตัว "ว่ะ" (o) ใส่ตัว c ข้างบนตัว "ว่ะ" เพื่อบอกความเป็นตัวสะกด
ผมฟังมาหลายเพลงแล้ว สำเนียงไทใหญ่จริงๆ ไม่ได้ออก "แผว" ตรงนัก
มันจะผสม "เผียว+แผว" หนักไปทาง "เผียว" เสียมากกว่า แต่โดยทฤษฎีแล้ว ไทใหญ่ ไม่มีสระ เอีย

พูดถึงตัว "ว่ะ" (o) ไทใหญ่ จะเรียกว่า "ว่ะ เว้ง" "เว้ง" คือ "เวียง เมือง"
จริงๆ อันนี้ ว.แหวน ของแท้เลย เพราะมันกลมเป็นวงแหวนจริงๆ สงสัยต้องขอเปลี่ยนกันแล้วหละ
เป็น "ว่ะ แหวน" กับ "ว.เวียง"

ส่วนคำไทใหญ่ ที่มีความหมายในเรื่องของ "คราว ยาม เมื่อ เวลา สมัย" มีเยอะมากครับ
ได้แก่ "ขิ่ง ค้าว ย้าม เม่อ ป๋าง ป๋าน พ้อง โจ้" ประมาณนี้ อาจจะมีอีก แต่ผมจำไม่ได้ หรือยังไม่เจอ


(อ่าน) เต๋ม โท่น เหลินเจ๋ง มอื่อ วั้น นึ่ง ฮอด ถึง
(แกะ) เต็ม ถ้วน เดือนอ้าย ใหม่ วัน หนึ่ง ถึง ถึง
(เกลา) เดือนอ้ายเต็มดวงรอบใหม่มาถึง

"เหลินเจ๋ง" จะเป็นช่วงปีใหม่ของชาวไทใหญ่ แต่เพลงนี้ใช่ปอยปีใหม่หรือไม่ ผมก็ไม่มั่นใจ
ไม่แน่ว่า ในเดือนอ้ายของชาวไทใหญ่ อาจจะมีหลายปอย ก็เป็นได้ ก็ต้องศึกษากันต่อไป

คำที่มีความหมายว่า "ถึง" ของไทใหญ่ มักพบใช่อยู่สามคำ คือ "แผว ฮอด ถึง"
ซึ่ง "ถึง" คำนี้ ตรงกันทั้งไทย และไทใหญ่


(อ่าน) หลี กย่อ โม่น โฮ่ม เซ้อ จ๊อม กั๋น
(แกะ) ดี สนุก ม่วน ร่วม สนุก ด้วย กัน

สะสมคำที่มีความหมายในเชิง "สุข สนุก สดชื่น เบิกบาน แจ่มใส ชื่นมื่น" ไว้ครับ ดังนี้
"หลี กย่อ โม่น เซ้อ โหม โจ๊ม งิ้น"

แต่ก่อน "โม่น" ผมถอดว่า "ม่น" มันก็สระโอ เสียงสั้นยาวแทบจะไม่ต่างกัน ผมว่าสื่อความหมายได้ทั้งคู่
แน่นอนว่า "โม่น" ของไทใหญ่ ตรงกับ "ม่วน" ของอีสาน และล้านนา
ซึ่งผมคิดว่า มันคงจะตรงกับคำว่า "มื่น" ของไทยนั่นเอง
อีสานพูดว่า "ม่วนซื่น หรือ มวนซืน" สำเนียงอาจแตกต่างในแต่ละพื้นที่
ไทใหญ่ ก็คงจะบอกว่า "โม่นเซ้อ" ไม่ก็ "เซ้อโม่น"

ไม่แน่ว่า "เซ้อโม่น" กลายเป็น "ซื่นม่วน" กลายเป็น "ชื่นมื่น" ในที่สุด

ทฤษฎีนี้ผมคิดเองนะครับ ถ้าผิดก็ขอน้อมรับแต่เพียงผู้เดียว
ไปๆ มาๆ ศึกษาภาษาไทใหญ่ ก็สนุกดีนะครับ เหมือนได้ค้นพบต้นตระกูลชนเผ่าไท

(เกลา) มาร่วมสนุกด้วยกัน


(อ่าน) ปื๊น สืบ ปื๊น ม้า ถึง เม้อ ก้าบ ป๋าน ลอื๋อ
(แกะ) ประวัติ สืบ ประวัติ มา ถึง ไป คาบ สมัย ไหน

ได้ศัพท์เกี่ยวกับช่วงเวลาเพิ่มอีกแล้วครับ "ก้าบ" = "คาบ ช่างเวลา"

(เกลา) ประวัติศาสตร์สิบทอดมายาวนาน ไม่ว่ายุคสมัยได


(อ่าน) ก้อ อย่า ปั๋น ฮอื้อ ฟิ่งทุ้ง เฮ้า หาย แล่
(แกะ) ก็ อย่า ให้ ให้ วัฒนธรรม เรา หาย แล


(อ่าน) โฮ่ม จอื๋อ กั๋น เส สืบ ค้าว ย้าว เม้อ หน้า
(แกะ) ร่วม ใจ กัน เสีย สืบ คราว ยาว ไป หน้า
(เกลา) รวมใจกันสืบทอดให้อยู่ชั่วลูกชั่วหลาน


(อ่าน) ฮุ่ ป่องจอื๋อ เสกั๊ม ต้ะ น้อ
(แกะ) รู้ เข้าใจ สักครั้ง ดีกว่า หนอ
(เกลา) รับรู้ และเข้าใจไว้นะ


(อ่าน) ต๊อง แล่ ต๊อง เอ๋า ลิ่กล้าย แล่ ฟิ่งทุ้ง
(แกะ) จำ สิ จำ เอา อักษร และ วัฒนธรรม
(เกลา) ตระหนักเอาไว้ ภาษา และวัฒนธรรม


(อ่าน) อ๋อนโห เส สืบ สอน เฮ้น ปั๋น
(แกะ) นำขบวน เสีย สืบ สอน เรียน ให้
(เกลา) นำร่องเผยแพร่จัดการเรียนการสอน


(อ่าน) เม้อ หน้า ม้า ไน่ โก๋ ว้าย หาย กว่า เอ้อ
(แกะ) ไป หน้า มา นี่ กลัว วาย หาย ไป เออ
(เกลา) วันข้างหน้า กลัวว่าจะสูญหาย


(อ่าน) ล่อง โล่ญ ก๋าน เหย่นแง่ ไต๊ เฮ้า
(แกะ) เนื่อง ด้วย งาน วัฒนธรรม ไท เรา

ได้ศัพท์เกี่ยวกับ "วัฒนธรรม" เพิ่ม คือ "เหย่น" เดิมผมรู้อยู่ 3 คำ คือ "ฟิ่ง ทุ้ง แง่"

(เกลา) ในเรื่องวัฒนธรรม และประเพณีของไทเรา


(อ่าน) ก้อบ ไน่ เฮ้า โหล่ พ่อม เป๊ง กั๋น
(แกะ) เพราะ นี้ เรา ควร พร้อม เพียง กัน


(อ่าน) ต่าปุ้น เจ้อะ เค้อ เฮ้า ไน่
(แกะ) เพื่อ เชื้อ เครือ เรา นี้
(เกลา) เพื่อเผ่าพันธุ์ของเรา

จบแล้วครับ

งิ้น โจ๊ม เย่า ค่า
ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ

สรุปเนื้อหา "วิถีไม่หาย ภาษาไม่ตาย"

กลองฆ้องบรรเลงดังท่ามกลางผู้คน ครบรอบถึงยามงานบุญเมืองดอยเรา
เดือนอ้ายเต็มดวงรอบใหม่มาถึง มาร่วมสนุกด้วยกัน
ประวัติศาสตร์สืบทอดมายาวนาน ไม่ว่ายุคสมัยไดก็อย่าให้วัฒนธรรมเราหายแล
รวมใจกันสืบทอดให้อยู่ชั่วลูกชั่วหลาน รับรู้ และเข้าใจไว้นะ
ตระหนักเอาไว้ ภาษา และวัฒนธรรม นำร่องเผยแพร่ จัดการเรียนการสอน
วันข้างหน้า กลัวว่าจะสูญหาย ในเรื่องประเพณี และวิถีของไทเรา
เพราะอย่างนี้ เราควรพร้อมเพรียงกัน เพื่อเผ่าพันธ์ุของเรา

ฟังเพลงนี้ก็รู้สึกเห็นใจชาวไทใหญ่อีกแล้ว
สมมติว่า รัฐฉานอยู่กับไทย แบบล้านนา ผมว่า "ฟิ่งทุ้ง" หายแน่ เพราะความใกล้เคียงกันของภาษา และวัฒนธรรม
รัฐฉานอยู่กับพม่า ซึ่งภาษา และวัฒนธรรมต่างกันจึงเกิดการต่อต้าน ตอนนี้วัฒนธรรมไทใหญ่ เลยยังเหลืออยู่

เต๋ กว่า เย่า ค่า
ลาไปก่อนครับ

บทกลอน "วิถีไม่หาย ภาษาไม่ตาย"

...กลองฆ้องเพลง บรรเลงก้อง กลางฝูงชน
ครบรอบวน ถึงงานปอย บนดอยเขา
ขึ้นเดือนอ้าย ให้ชื่นสุข เถิดพวกเรา
สืบประวัติ คำบอกเล่า มียาวมา

จะยังไง วิถีเรา อย่าให้หาย
อย่าให้วาย ให้คงอยู่ วันข้างหน้า
ตระหนักไว้ ไททุกคน ทุกเวลา
รู้คุณค่า วัฒน ภาษาตน

ถ้าไม่สอน ไม่เผยแพร่ คงไม่ได้
กลัวสูญหาย กลายกลับ ลับล่องหน
ประเพณี วิถีอัน น่าเชยยล
ไททุกคน จงพร้อมเพรียง เพื่อเผ่าเรา...

คำแปล และบทกลอน โดยจ๊ายก๊งเหลว




 

Create Date : 08 กันยายน 2556    
Last Update : 10 กันยายน 2556 8:28:58 น.
Counter : 1462 Pageviews.  

เรียนภาษาไทใหญ่จากเพลง "สาวไทใหญ่ในเมืองไทย" นายหลวงเครือ

มอื่อ สูง ค่า

สวัสดีครับ ผมจ๊ายก๊งเหลว กลับมาศึกษาภาษาไทใหญ่กันต่อ
วันนี้เป็นแนวเพลงสนุกสนาน ทำนองคุ้นหู น่าจะเป็นเพลงของดอน สอนระเบียบ ถ้าผมจำไม่ผิด
เนื้อหาเป็นการแซวผู้หญิงไทใหญ่ ที่มาอยู่เมืองไทย แล้วลืมความเป็นไทใหญ่
ก็ลองมาแปลกันดู ว่าเขาจะแซวยังไงบ้าง



เสียดายเพลงนี้มีบักหลายจุด แผ่นคงเป็นรอยเยอะ ผมหาอันที่สมบูรณ์ไม่มี
ตอนแรกว่าจะไม่เลือกมาแล้ว แต่เนื้อหามันน่าสนใจ ก็เลยขอซะหน่อย

ถือว่าเราเน้นศึกษาภาษาก็แล้วกัน ดนตรีสะดุดบ้างก็ไม่เป็นไร


(อ่าน) สาว ไต๊ นอื้อ เมิ้ง ไท้

มี "สาว" คำเดียวที่เป็นเสียงจัตวา ที่เหลือเป็นเสียงตรีหมด สังเกตวรรณยุกต์ตรีของไทใหญ่ คือ โคลอน

คนไทใหญ่ เรียกตัวเองว่า "ไต๊" (ต':) สระไอของไทใหญ่ ดูไม่ยากครับ คือตัวคอมม่า แต่เอาไปไว้บนพยัญชนะ
จะว่าเป็นตัว อะโพสโทรฟี ที่ผมเอามาใช้ก็ไม่ใช่ เพียงแต่มันใกล้เคียงที่สุด ก็เลยใช้ อะโพสโทรฟี ในการพิมพ์
คนไทใหญ่ เรียกคนไทยว่า "ไท้" ตัว "ท่ะ" ที่ใช้ หน้าตาคล้ายเลข 8 นอนลง
เติมคอมม่าข้างบน แล้วใส่โคลอนเหมือนกัน สรุปสองคำนี้ ใกล้เคียงกันมาก "ไต๊" กับ "ไท้"

(แกะ) สาว ไท ใน เมือง ไทย
(เกลา) สาวไทใหญ่ในเมืองไทย


(อ่าน) แต้ม-ยอด เมิ้ง เหนอ (ฮ่อง) จ๊าย โหลง เค้อ
(เกลา) แต่ง-ยอดเมืองเหนือ (ร้อง) นายหลวงเครือ


(อ่าน) จ๊าย เฮ้า หยาน เฮิ้น ม้า สืบ ค้าวต๊าง ม้า ไก๋
(แกะ) ชาย เรา จาก เรือน มา สืบ ระยะทาง มา ไกล


(อ่าน) ไล่ ม้า แผว แม่สาย เมิ้ง ไท้ น่อง อยู่
(แกะ) ได้ มา ถึง แม่สาย เมือง ไทย น้อง อยู่


(อ่าน) อั่ม ไล่ มืด กั๋น ม้า ส่างโถก ไล่ ม้า แผว เฮิ้น สู
(แกะ) ไม่ ได้ คุ้นเคย กัน มา พอดี ได้ มา ถึง เรือน สู


(อ่าน) เป๋น แขก นึ่ง คื้น เมิ้ง แล้ง ซั่ม คื้น หยาน
(แกะ) เป็น แขก หนึ่ง คืน เมือง แจ้ง ก็ คืน จาก


(อ่าน) ก๋างไหนเจ้า เฮ้า ไล่ นั่ง อูบ กั๋น อ่อมไพ้
(แกะ) ในตอนเช้า เรา ได้ นั่ง คุย กัน ผิงไฟ


(อ่าน) สู นั่ง อูบ ลาด ต่อ ปี้ กว๊ามไท้ นั่น
(แกะ) สู นั่ง คุย พูด ต่อ พี่ ภาษาไทย นั่น


(อ่าน) อั๋น ว่า สัน ฤั่ก เทอ เทอ ฤั่ก สัน หลือ ป่าว

ตรงนี้สนุกครับ พยัญชนะของไทใหญ่ ที่หน้าตาคล้ายไทย มีหลายตัวเหมือนกัน
เช่น ตัว "ก้ะ" หน้าตาคล้าย ก.ไก่
ตัว "ต้ะ" หน้าตาคล้าย ต.เต่า
ตัว "ล่ะ ล่ะเซ้" ก็คล้าย ฤ (ฤาษี) "ล่ะเซ้" แปลว่า "ฤาษี"
ตัว "ญ่ะ" ก็คล้าย ญ.หญิง

ในท่อนนี้ เขาจะเขียนภาษาไทย โดยใช้อักษรไทใหญ่ ว่า "ฉันรักเธอ เธอรักฉันหรือเปล่า"
แต่เสียง "ช ฉ" ไทใหญ่ไม่มีพยัญชนะที่ให้เสียงนี้โดยตรง ต้องใช้การควบอักษร ซึ่งผมจะยังไม่กล่าวในตอนนี้
เพราะยกตัวอย่างยาก ผมไม่สามารถพิมพ์อักษรไทใหญ่ได้
แต่สับไตเติลอันนี้ เลือกใช้ตัว "ซ่ะ" ผมเลยอ่านว่า "สัน" ไม่ใช่ "ฉัน"

เสียง "ร" แบบรัวลิ้น ของไทใหญ่ก็ไม่มี ผู้เขียนสับไตเติลเลือกใช้ตัว "ล่ะ ล่ะเซ้" มาเขียน
ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ได้รัวลิ้น แต่ก็ถือว่ายกเว้นเป็นที่เข้าใจ เพราะหาอักษรไม่ได้จริงๆ (ฤก์.)

คำว่า "เธอ" โอเค ตรงกัน ใส่วรรณยุกต์สามัญชัดเจน (ะ)

"หรือ" ตัวนี้ไม่ตรง เพราะอย่างที่บอก ว่าไทใหญ่ไม่มีรัวลิ้น เขาใช้ตัว "ล่ะ ลิ้ง" สะกด
ซึ่งตัว "ล่ะ ล่ะเซ้" กับตัว "ล่ะ ลิ้ง" มันให้เสียงเดียวกัน คือเสียง ล.ลิง แต่หน้าตาต่างกันเท่านั้น

"เปล่า" ก็ไม่ตรง จริงๆ พยัญชนะควบ ล ไทใหญ่ก็มี แต่ผู้เขียนสับไตเติลไม่เอามาใช้
เอามาแต่เสียง ป มันเลยกลายเป็น "ป่าว"

(เกลา) อัน ว่า ฉันรักเธอ เธอรักฉันหรือเปล่า


(อ่าน) อั๋น สู ลาด ม้า ไน่ จ๊าย หือ ป่องจอื๋อ
(แกะ) อัน สู พูด มา นี้ ชาย ยังไง เข้าใจ
(เกลา) ที่สูพูดมานี้ ชายจะเข้าใจได้ยังไง


(อ่าน) หมอก ลาด แหน กว๊ามไต๊ อ่อน แล่
(แกะ) บอก พูด แนะ ภาษาไทใหญ่ อ่อน เถิด
(เกลา) จงพูดภาษาไทใหญ่เถิด


(อ่าน) หนั่งหือ ปี้ เต๋ ฮุ่ ก้อบ เป้อ กว๊ามไท้ ไน่ จ๊าย อั่ม หมอ
(แกะ) เพื่อให้ พี่ จะ รู้ เพราะ เพราะ ภาษาไทย นี้ ชาย ไม่ เป็น
(เกลา) เพื่อให้พี่เข้าใจ เพราะว่าชายไม่รู้ภาษาไทย


(อ่าน) ป้อ แม่ น้่าง เก้าะ เป๋น ไต๊ จื๋ง น้าง ลื้ม เค้อ ไต๊
(แกะ) พ่อ แม่ นาง คน เป็น ไทใหญ่ จึง นาง ลืม เครือ ไทใหญ่

"เก้าะ" (เกๅ.) ที่แปลว่า "คน" ผมว่าผิดอีกแล้ว ต้องเป็น "ก้อ" (เกๅ;) ที่แปลว่า "ก็"
"จื๋ง" ในพจนานุกรม แปลว่า "จึง" แต่ผมคิดว่า มันน่าจะแปลว่า "ไย ไยจึง" ได้ด้วย จะทำให้ประโยคชัดเจนมากขึ้น

(เกลา) พ่อแม่นางก็เป็นไทใหญ่ ไยนางจึงลืมเผ่าไทใหญ่


(อ่าน) ก้อบ สัง หล่า สาว ไต๊ นอื๊อ เมิ้ง ไท้ เอ๊ญ
(แกะ) เพราะ อะไร หละ สาว ไทใหญ่ ใน เมือง ไทย เอย

"หล่า" ในพจนานุกรม แปลว่า "ด่า" ซึ่งผมก็แปลอย่างนี้มาก่อน ในเพลง "แม่น้ำมาว"
ตอนนั้นแปลว่าด่า แล้วงง ก็ตัดออกไป แต่ใจความก็ไม่เสีย
แต่พอเจออีกครั้ง ตอนนี้จับทางมันได้แล้วว่า มันเป็นคำสร้อยด้วย คล้าย "หละ เหรอ หรือ ฤา" ทำนองนี้
ให้อารมณ์ สงสัย สนใจ

"เอ๊ญ" อย่าลืมนะครับ บล๊อกก่อนก็เน้นไปแล้ว ต้องออกเสียง "โอ๊ย โย้ย เอ๊ย" ผสมกันคำเดียว


(อ่าน) สู หลี คื้น ว่น โต๊ย ลีกไต๊ อั๋น สู เฮ้น ม้า นั่น
(แกะ) สู ดี คืน คิด ดู อักษรไทใหญ่ อัน สู เรียน มา นั้น
(เกลา) สูคิดทบทวนดูให้ดี อักษรไทใหญ่ที่สูเรียนมานั้น


(อ่าน) อั่ม หลี ไล่ ลื้ม แป้ด มั้น หนา น่อง เอ๊ญ
(แกะ) ไม่ ดี ได้ ลืม ทิ้ง มัน นะ น้อง เอย
(เกลา) ลืมทิ้งมันไปไม่ดีนะน้องเอย

การเกลา เหมือนเล่นเรียงคำใหม่


(อ่าน) พอื๋อ คอื้อ เซ่แน้ ว่า ไต๊ โถ่เน่า ปั้น เข้าเหนว
(แกะ) ใคร ใคร่ นินทา ว่า ไทใหญ่ ถั่วเน่า ปั้น ข้าวเหนียว

"พอื๋อ" = "ใผ" = "ใคร"
"คอื้อ" = "ใคร่" = "อยาก"
"เซ่เน้" หรือ "เซ่แน้" คือ "ติฉิน นินทา ว่าร้าย"


(อ่าน) อย่า เป๋ อ๋าย กว่า แล่ ฟี่งทุ้ง เฮ้า
(แกะ) อย่า อย่า อาย ไป เลย วิถี เรา


(อ่าน) จ๋อม ปี๋ว จื้ง เมิ้ง เฮ้า หลี มี้ ไว่ ก้าขัน
(แกะ) ยอด ปลิว ประเทศ เมือง เรา ดี มี ไว้ คุณค่า

"จ๋อมปี๋ว" คือ "ยอดปลิว" ผมงงมาก ตอนนี้ได้รับคำตอบจากเพจ สายน้ำเตง ทุ่งสามรอ แล้วครับ
ขอบคุณไว้ ณ ที่นี้เลย มันคือ "ธงชาติ" ผมก็ว่า เออใช่เลย ยอดมันปลิวจริงๆ

(เกลา) ธงชาติประเทศเราทรงคุณค่า

ถึงท่อนนี้ รู้สึกเห็นใจชาวไทใหญ่ ที่ตอนนี้ไม่มีประเทศของตัวเอง เห็นใจจริงๆ แต่ไม่รู้จะช่วยยังไง
ตอนนี้ไทใหญ่ต้องอยู่ใต้การปกครองของพม่า ทางเลือกก็มีสองอย่าง ถูกพม่ากลืนชาติในที่สุด
ไม่ก็ สักวันจะได้สิทธิ์ในการปกครองตนเอง ซึ่งก็ยากจริงๆ


(อ่าน) เหลิง เขว แหลง เฮ้า หลี นั่บ ยั้ม กว่า เอ้อ
(แกะ) เหลือง เขียว แดง เรา ดี นับ ระยับ ไป เออ
(เกลา) เหลืองเขียวแดงสวยงามเปล่งประกาย


(อ่าน) ป่องจอื๋อ แล่ ยิ้ง ไต๊ อ่อน เอ๊ญ
(แกะ) เข้าใจ นะ หญิง ไทใหญ่ อ่อน เอย


(อ่าน) อย่า เป๋ ลาด เสียง ไท้ โก๋ ไล่ ต๊างเซ่แน้ เปิ้น เอ้อ
(แกะ) อย่า อย่า พูด สำเนียง ไทย กลัว ได้ การนินทา คนอื่น เออ

"เอ้อ" น่าจะตรงกับ "เน่อ" ของล้านนา และ "เด้อ" ของอีสาน
คำสร้อยลงท้ายของไทใหญ่ เท่าที่ผมแปลมา มีหลายคำเลยครับ
"เอ๋ญ เอ๊ญ เอ้อ อ่อน แล่ ลู้ หล่า น่า หนา ฮ้า" อาจจะมีอีก แต่นึกออกประมาณนี้

(เกลา) อย่าพูดสำเนียงไทย เดี๋ยวคนอื่นนินทาเอา

จบแล้วครับ สรุปคือ หนุ่มไทใหญ่ มาตามหาแฟนที่แม่สาย
ไม่ค่อยคุ้นทาง แต่บังเอิญมาเจอบ้านแฟน ก็เลยอาศัยด้วย
ฝ่ายหญิงก็บอกรัก แต่บอกเป็นภาษาไทย หนุ่มไทใหญ่ก็ไม่เข้าใจ
เลยเตือนว่า อย่าอายในวิถีความเป็นไทใหญ่ ยาวไปถึงธงชาติเลย (ซีเรียสมาก)


(อ่าน) สาม วั้น ป้น กว่า


(อ่าน) นึ่ง เหลิน ป้น กว่า

ตอนท้ายของมิวสิควิดีโอ มีคุยกันด้วย ผมฟังออกด้วย บังเอิญมันไม่ยาก
(นางเอก) เฮ้า ฮั่ก สู สู จ่อง ฮั่ก เฮ้า (เรารักเธอ เธอรักเราไหม)
(พระเอก) ฮั่ก (รัก)
"จ่อง" คือคำถาม ถ้ารู้คำนี้ก็จบ เพราะคำอื่นมันง่าย ตรงกับไทยอยู่แล้ว

งิ้น โจ๊ม เย่า ค่า
ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ

สรุปเนื้อหา "สาวไทใหญ่ในเมืองไทย"

ชายเราจากเรือนมาเป็นระยะทางไกล ได้มาถึงแม่สายเมืองไทยที่น้องอยู่
ไม่คุ้นไม่ชินอะไรเลย พอดีมาถึงเรือนสู เป็นแขกหนึ่งคืน เช้าก็จะกลับ
ในตอนเช้าเราได้นั่งผิงไฟคุยกัน สูพูดภาษาไทยกับพี่ ว่าฉันรักเธอเธอรักฉันหรือเปล่า
ที่สูพูดมาชายจะเข้าใจได้ยังไง จงพูดภาษาไทใหญ่เถิด เพื่อให้พี่เข้าใจ เพราะว่าชายไม่รู้ภาษาไทย

พ่อแม่นางก็เป็นไทใหญ่ ไยนางจึงลืมเผ่าไทใหญ่ เพราะอะไรหละ สาวไทใหญ่ในเมืองไทยเอย
สูคิดทบทวนดูให้ดี อักษรไทใหญ่ที่สูเรียนมานั้น ลืมทิ้งมันไปไม่ดีนะน้องเอย
ใครอยากนินทาว่าไทใหญ่กินถั่วเน่าปั้นข้าวเหนียว อย่าอายไปเลย วิถีเรา
ธงชาติประเทศเราทรงคุณค่า เหลืองเขียวแดงสวยงามเปล่งประกาย
เข้าใจนะหญิงไทใหญ่เอย อย่าพูดสำเนียงไทย เดี๋ยวคนอื่นนินทาเอา

เต๋ กว่า เย่า ค่า
จะ ไป แล้ว ครับ

บทกลอน "สาวไทใหญ่ในเมืองไทย"

...พี่ชายจาก พรากบ้านมา ไกลเหลือหลาย
ถึงแม่สาย ประเทศไทย ที่น้องอยู่
ไม่เคยมา ไม่คุ้นตา เคว้งน่าดู
บังเอิญมา ถึงเรือนสู โชคดีจริง

มาเป็นแขก เพียงหนึ่งคืน ก็จะจาก
ในตอนเช้า หนาวเย็นมาก ก่อไฟผิง
นั่งคุยกัน ตามประสา พาประวิง
แล้วน้องหญิง ก็เอ่ยทัก "ฉันรักเธอ"

"แล้วเธอหละ รักฉัน บ้างหรือเปล่า"
คำพูดยาว ภาษาไทย ชายงงเอ๋อ
ไม่เคยฟัง ไม่เข้าใจ ไม่เคยเจอ
นำเสนอ คำไทใหญ่ เถิดน้องนาง

พ่อแม่นาง ก็เป็นคน ชาวไทใหญ่
แล้วทำไม ลืมเผ่าพันธุ์ ดันเมินหมาง
สูคิดดู ให้จงดี ใจเป็นกลาง
ภาษาเรา อย่าทิ้งขว้าง ไม่ดีเลย

ใครนินทา เรื่องถั่วเน่า และข้าวเหนียว
อย่าอายเชียว วิถีเรา ต้องเปิดเผย
ธงชาติเรา เหลืองเขียวแดง น่าชมเชย
อย่าพูดเลย สำเนียงไทย ไม่ใช่เรา...

คำแปล และบทกลอน โดยจ๊ายก๊งเหลว

กลับมาเพิ่มวิดีโอที่เสียงสมบูรณ์ให้ครับ บังเอิญเจอ





 

Create Date : 04 กันยายน 2556    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2556 10:28:12 น.
Counter : 4344 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

RouteRaideR
Location :
อุบลราชธานี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




จักรยาน มีล้อเดียว มันเสียวล้ม
ต้องเพาะบ่ม หมั่นฝึกฝน จนคล่องแข็ง
จะได้ขี่ กระโดดเด้ง เร่งหลบแซง
แม้หลุมแอ่ง อุปสรรค กล้าเิผชิญ

ขี่เก่งแล้ว ก็ค่อยออก ไปเที่ยวเล่น
ปั่นแล้วเป็น เหมือนบินลิ่ว ปลิวลมเหิน
นั่งตัวตรง ไม่มีแฮนด์ เป็นส่วนเกิน
ชมวิวเพลิน ผจญภัย ไม่เบื่อเลย

by RouteRaideR
Friends' blogs
[Add RouteRaideR's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.