I am romantic man
Group Blog
 
All blogs
 

AHA กับ BHA ต่างกันอย่างไร ?


เป็นวิธีการเบื้องต้นในการผลัดเซลล์ผิวจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็น alpha hydroxy acid (AHA) หรือ beta hydroxy acid (BHA) ซึ่งตัวหลังนี้มีอยู่ชนิดเดียวเท่านั้นคือ Salicylic acid ในขณะที่ AHA มีค่อนข้างหลากหลายตัวเลือก ไม่ว่าจะเป็น Glycolic, Lactic, Malic, Citric, Mandelic และ Tartaric


สิ่งที่ AHA และ BHA ทำหน้าที่เหมือนกันก็คือ ทำให้เซลล์ผิวเก่าที่อยู่ชั้นนอกสุดของผิวแยกออกจากการเกาะตัวกันแล้วหลุดออกไป เพื่อให้ผิวใหม่ที่มีสุขภาพดีกว่าได้ขึ้นมาอยู่ที่ชั้นบนสุดแทน การขจัดเซลล์ผิวเก่าออกไปได้นั้นจะทำให้สภาพผิวแลดูดีขึ้นทั้งโครงสร้างและสีผิว ไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน ช่วยให้ครีมบำรุงผิวซึมลงผิวได้ดียิ่งขึ้น ทั้ง AHA และ BHA นั้นก็ทำงานโดยให้ผลกับผิวชั้นนอกสุด ในคนที่ผิวถูกแสงแดดทำลายจะทำให้ผิวชั้นนอกสุดหนามากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการปกป้องผิวจากแสงแดดตามธรรมชาติ ทำให้ผิวแลดูหมองคล้ำ หยาบกร้าน ไม่เรียบ


เนื่องจาก AHA และ BHA ทำงานโดยกระบวนการทางเคมี ดังนั้นจึงทำให้การซึมลงผิวและผลที่ได้ดีกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางขัดผิว ที่เพียงแค่เปิดผิวและรูขุมขนเท่านั้น และการใช้ AHA หรือ BHA ก็ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงใด ๆ กับผิว โดยเทคนิคแล้วการทำงานของ AHA และ BHA จะลงไปที่ผิวจนถึงจุดหนึ่งของระยะเวลาที่เพียงแค่ลอกเอาเซลล์ผิวที่ตายแล้ว หรือเซลล์ผิวที่ถูกทำลายให้หลุดออกไป เพื่อให้ผิวใหม่ได้เผยออกมาได้แทน ดังนั้นจึงจะเห็นว่าการผลัดเซลล์ผิวด้วยวิธีนี้จะต้องมีเรื่องระยะเวลาที่เหมาะสมในการทิ้งให้ออกฤทธิ์บนผิวหน้า ผลที่ได้จากกการใช้วิธีนี้ในครั้งแรก ๆ (เมื่อผิวเก่าที่เคยสะสมไว้ ผิวหยาบกร้าน สีผิวไม่สม่ำเสมอ ได้ถูกลอกออกไป) จะรู้สึกว่าผิวดีขึ้นชัดเจนกว่าการใช้อย่างต่อเนื่อง (เพราะการใช้ต่อเนื่องต้องใช้ในความเข้มข้นต่ำ  ค่อย ๆ ผลัดทุกวัน จึงไม่เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนเท่ากับการใช้ความเข้มข้นสูง แล้วนาน ๆ ทำครั้ง) และหลังจากการลอกเซลล์เก่าออกไปแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ AHA หรือ BHA เพื่อคงความสดใส เนียนเรียบของผิวให้ยาวนานขึ้นไปเรื่อย ๆเป็นประจำทุกวัน


ข้อแตกต่างที่สำคัญมากระหว่าง AHA และ BHA คือ AHA ละลายในน้ำ ส่วน BHA นั้นละลายในน้ำมัน คุณสมบัติที่โดดเด่นเช่นนี้ของ BHA จึงทำให้สามารถซึมเข้าไปได้ในรูขุมขนซึ่งมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ จึงสามารถผลัดลอกเซลล์ผิวเก่าที่สะสมอยู่ในรูขุมขนที่อาจทำให้อุดตันหลุดออกไปได้ BHA จะให้ผลดีเมื่อใช้ในบริเวณที่มีสิวอุดตันแบบหัวดำหรือผิวสีหมองคล้ำ ส่วน AHA ก็จะเหมาะสำหรับผิวที่ถูกแสงแดดทำลาย, ผิวหยาบกร้านหนา, ผิวแห้ง และต้องไม่เป็นสิว


credit  acnethai






Free TextEditor




 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 18:20:46 น.
Counter : 452 Pageviews.  

การเลือกครีมกันแดด


            ในผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด ซึ่งจะมีการเขียนอธิบายอยู่ข้างหลอดของครีมกันแดด UV-A UV-B ซึ่ง 2 ประเภทนี้ คือ ชนิด AและB ก็มาจากแสงของดวงอาทิตย์ ส่องมายังพื้นโลก จะเป็น UV-A 95 % UV-B 5 % ซึ่งทำให้เกิดปัญหาของผิวพรรณตามมา และมี UV-C ซึ่งจะไม่ลงมาบนพื้นผิวโลก เนื่องจากชั้นโอโซนช่วยกรองเอาไว้ ซึ่ง UV-C เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนัง


รังสีจาก UV-A จะทำให้ผิวแก่ก่อนวัย หน้าคล้ำได้ ฉะนั้นเวลาไปทะเล แล้วผิวคล้ำเกิดจาก UV-A


รังสีจาก UV-B Burning คือผิวไหม้แดด เกรียมแดด อย่างกรณีไปอาบแดด แล้วผิวไหม้ ผิวเกรียม เกิดจาก UV-B ฉะนั้นจึงต้องมีครีมกันแดดป้องกันทั้ง 2 อย่าง ทั้ง UV-A และ UV-B


SPF หมายถึงประสิทธิภาพในป้องผิวจากแสงแดดการการไหม้ ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าผิวของคุณทนต่อแสงแดด ได้เป็นเวลา 15 นาทีเกิดการอาการไหม้ การทาครีมป้องกันแสงแดด SPF 30 นั้นจะช่วยให้ผิวจะทดได้ 450 นาที ก่อนที่ผิวจะไหม้ จึงสรุปได้ว่า ค่า SPF เป็นค่าจำนวนเท่าของเวลาในการทนต่อแสงแดด ก่อนที่ผิวจะไหม้ (ป้องกันรังสี UV-B) ดังนั้นครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องป้องกันรังสี UV-A ได้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF ที่สูง ไม่จำเป็นที่จะป้องกันรังสี UV ได้ดีเสมอไป.


PA หมายถึง Protection Grade of UVA หรือระดับการป้องกันแสง UV-A นั้นเอง ซึ่งมีอยู่ 3 ระดับ คือ PA+ , PA++ และ PA+++ โดยที่ PA+++ มีค่าการป้องกันสูงที่สุด PA+ นั้นเหมาะกับการป้องกันทั่วๆไป ส่วนผู้ที่ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรใช้ครีมกันแดดที่มี ระดับการป้องกัน PA++ ขึ้นไป.


Physical กับ Chemical Sun-screen Physical Sun-screen หรือครีมกันแดดชนิดกายภาพ คือเป็นสารที่ช่วยสะท้อนแสงออกไป ซึ่งอาจจะทำให้ดูขาววอก ส่วน Chemical Sun-screen จะทำการดูดซับรังสี UV แทนผิว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสารควบคุมให้ใช้ในปริมาณที่จำกัด ตามกฏหมายเครื่องสำอางควบคุม.


ครีมกันแดดที่อ้างว่ากันน้ำ หรือกันเหงื่อ ไม่ได้หมายความว่ามันจะกันได้ตลอด  เมื่อเหงื่ออก ลงน้ำ หรืออะไรก็ตาม สารเคมีที่เป็นตัวกันแดดจะเสื่อมลง  หลายๆ ครั้ง มันก็ยังเหนียวหนึบติดผิวเราอยู่  คือ พอถูกน้ำ ประสิทธิภาพในการกันแดดจะลดลง  โดยส่วนมากแล้ว คำว่า Waterproof หรือ Water Resistant จะทนน้ำได้ไม่เกิน 60 นาที ก็เสื่อมแล้ว  ส่วน Very Water Resistant เนี่ย ก็จะอยู่ได้ไม่เกิน 80 นาทีแค่นี้เอง






Free TextEditor

Credit นพ.ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและผิวพรรณ




 

Create Date : 06 มิถุนายน 2553    
Last Update : 7 มิถุนายน 2553 0:09:14 น.
Counter : 303 Pageviews.  


Sushi_Buffet
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Sushi_Buffet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.