อุปสรรคทุกอย่างมีทางแก้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกวิธีแก้อย่างไร
Group Blog
 
All Blogs
 
เลนส์ Leica แบบเกลียว หรือ M39 หรือ Screw Mount

เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการคัดลอกมาจากตำราหลากหลายเล่ม และหลาย Forum ใน Internet จุดประสงค์ คือ ต้องการรวบรวมเรื่องราวของกล้อง/เลนส์ Rangefinder ของ Zeiss และ Leica แบบภาษาไทย

หากต้องการรู้ว่ากล้อง Leica ของเราผลิตในปีใด รุ่นใด สามารถดูจาก Serial Number ได้ที่นี่
รุ่น Srew Mount (M39) //www.cameraquest.com/ltmnum.htm
รุ่น M Mount (Beyonet) //www.cameraquest.com/mtype.htm

(ขอเวลาในการรวบรวมข้อมูลเรื่อง Lens ปีที่ผลิต แล้วจะมาลำดับการผลิตอีกทีครับ)

แรกเริ่มกล้อง Leica จะใช้เลนส์แบบ Fix ติดตายตัวกับตัวกล้อง โดยไม่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ (กล้องจะเป็นรุ่น Leica Null (0-Series) และ Leica I (a) และ Leica I (b) ซึ่งมีเลนส์ 3 รุ่น ที่ผลิตออกมา คือ

1. Anastigmat 50/3.5 ผลิตออกมาในปี 1924 ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 5 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18

2. Elmax 50/3.5 ผลิตออกมาในปี 1925 ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 5 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18

3. Elmar 50/3.5 ผลิตออกมาในปี 1926 ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18 (ลดจำนวนชิ้นเลนส์ลง 1 ชิ้นเพื่อลดต้นทุนในการผลิต)
โดยตัว Elmar ที่ใช้บนกล้อง Leica I (b) จะมีชัตเตอร์แบบ Compur อยู่บนตัวเลนส์

ปี 1930
พอถึงปี 1930 Leica จึงเริ่มผลิตกล้องเป็นแบบเปลี่ยนเลนส์ได้รุ่นแรก คือ Leica I (c) เลนส์รุ่นแรกที่ใช้กับกล้อง คือ Elmar 50/3.5 ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18 ต่อมาได้มีการแก้ไขให้หน้ากล้องหรี่เล็กสุดได้ที่ F16 และรุ่นสุดท้ายได้ที่ F22 แทน (เลนส์ Elmar 50/3.5 มีการผลิตจนถึงปี 1962)
หมายเหตุ เนื่องจากเลนส์ Elmar 50/3.5 มีช่วงปีที่ผลิตยาวนาน ทำให้ตัวเลนส์จะมีข้อแตกต่างกันหลายแบบ ในรุ่นเดียวกัน เช่น จุดสังเกตุที่ F , จุดสังเกตุที่ก้านปรับโฟกัสที่มีต่างกันถึง 4 แบบ , จุดสังเกตุที่วัสดุทำตัวเลนส์ , จุดสังเกตุที่เมาท์ของเลนส์ เป็นต้น

ปี 1930 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 35/3.5 ออกมา เป็นเลนส์ตัวที่สองที่เป็นแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ และเป็นเลนส์ Wide Angle ตัวแรก ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 64 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18 (เลนส์ Elmar 35/3.5 มีการผลิตจนถึงปี 1950)

ปี 1931
ปี 1931 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Hektor 50/2.5 ออกมา (Hektor มาจากชื่อสุนัข ของ Prof. Max Berek) เพื่อที่จะได้เลนส์ที่มีความไวแสงกว่าเดิมขึ้น ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18 (เลนส์ Hektor 50/2.5 มีการผลิตจนถึงปี 1948)

ปี 1931 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 90/4 ออกมา ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 27 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F36 โดยรุ่นสุดท้ายเปิดหน้ากล้องได้ที่ F32 (เลนส์ Elmar 90/4 มีการผลิตจนถึงปี 1968)
หมายเหตุ เนื่องจากเลนส์ Elmar 90/4 มีช่วงปีที่ผลิตยาวนาน ทำให้ตัวเลนส์จะมีข้อแตกต่างกันหลายแบบ ในรุ่นเดียวกัน เช่น จุดสังเกตุที่ F , จุดสังเกตุที่วัสดุทำตัวเลนส์ , จุดสังเกตุที่เมาท์ของเลนส์ เป็นต้น

ปี 1931 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 135/4.5 ออกมา ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 18 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1.5 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F36 (เลนส์ Elmar 135/4.5 มีการผลิตจนถึงปี 1936)

ปี 1931 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Hektor 73/1.9 ออกมา โดยเป็นเลนส์ Tele ตัวแรกที่มีความไวแสงสูง ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 34 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1.5 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F25 (เลนส์ Hektor 73/1.9 มีการผลิตจนถึงปี 1942)

ปี 1932 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 105/6.3 ออกมา (คนส่วนใหญ่เรียกว่า Mountain Elmar) ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 23 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 3 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F36 (เลนส์ Elmar 105/6.3 มีการผลิตจนถึงปี 1937)

ปี 1933 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summar 50/2 ออกมา โดยออกแบบแก้ไขกลุ่ม Lens ให้สามารถเก็บ Detail ได้ดีขึ้นกว่ารุ่น Hektor 50/2.5 ที่เน้น Contrast และมีความไวแสงเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F12.5 (เลนส์ Summar 50/2 มีการผลิตจนถึงปี 1940)

ปี 1935 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 35/4.5 ออกมา เป็นเลนส์ Wide Angle ราคาประหยัดรุ่นแรกที่ผลิตออกมาจำนวนจำกัด ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 65 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 3 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F18 (เลนส์ Elmar 35/4.5 มีการผลิตจนถึงปี 1935)

ปี 1935 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Thambar 90/2.2 ออกมา เป็นเลนส์ Tele ความไวแสงสูงอีกตัวที่ออกแบบมาแล้วผิดพลาด ทำให้ต้องมี Filter ใส่อยู่ด้านหน้า เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องเรื่องความสว่างตรงกลางของเลนส์ที่สูงเกินไป ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 27 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F25 (เลนส์ Thambar 90/2.2 มีการผลิตจนถึงปี 1942)

ปี 1935 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Hektor 28/6.3 ออกมา เป็นเลนส์ Wide Angle ที่กว้างที่สุดตัวแรก ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 5 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 76 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F25 (เลนส์ Hektor 28/6.3 มีการผลิตจนถึงปี 1955)

ปี 1935 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 200/4.5 ออกมา เป็นเลนส์ Tele ระยะ 200mm ตัวแรกที่ผลิต ต้องใช้ร่วมกับ Adapter หรือ Visoflex I ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 5 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 12 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 3 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F36 (เลนส์ Telyt 200/4.5 มีการผลิตจนถึงปี 1960)

ปี 1936 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 400/5 Version I ออกมา เป็นเลนส์ Tele ระยะ 400mm ที่ผลิตออกมาเพื่อลองรับ Olympic ที่เบอร์ลิน เลนส์ต้องใช้ร่วมกับ Adapter หรือ Visoflex I ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 5 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 6 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 8 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F36 (เลนส์ Telyt 400/5 มีการผลิตจนถึงปี 1955)

ปี 1936 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Xenon 50/1.5 ซึ่งเป็นเลนส์ที่ให้ทาง Schneider ออกแบบให้เพื่อสามารถส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ได้ ภายใต้สิทธิบัตรที่เริ่มมีการบังคับใช้ โดย version ที่ส่งออกไปยังประเทศอื่น จะมีการแกะชื่อว่า "Taylor Hobson อยู่ที่หน้าเลนส์ด้วย ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 7 ชิ้น 5 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F9 (เลนส์ Xenon 50/1.5 มีการผลิตจนถึงปี 1950)

ปี 1939 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summitar 50/2 ออกมา (ผลิตก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2) เพื่อแก้ไขกลุ่ม Lens ให้สามารถเก็บ Detail ได้ดีกว่ารุ่น Summar 50/2 โดยมี 3 รุ่นย่อย รุ่นแรกเป็น Lens ไม่มี Coated และมีม่านหรี่แสงแบบวงกลม รุ่นสองเป็น Lens ที่มี Coated และมีม่านหรี่แสงแบบวงกลม (ปี 1946 เป็นปีแรกที่เริ่มมีการใช้ Coated ในเลนส์) ในรุ่นนี้มีรุ่นพิเศษที่ทำออกมาเพื่อใช้ในงานทางทหาร จะมีสัญญาลักษณ์ * อยู่ต่อท้ายชื่อ Lens ด้วย (โดย Summitar* 50/2 นั้นถือเป็น Summicron 50/2 Prototype) รุ่นสามเป็น Lens ที่มี Coated และมีม่านหรี่แสงแบบหกเหลี่ยม (Hexagonial)
ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 7 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F16 (เลนส์ Summitar 50/2 มีการผลิตจนถึงปี 1955)

ปี 1943 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summarex 85/1.5 ซึ่งเป็นเลนส์แบบใหม่ตัวแรกที่ผลิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (อันที่จริง ยังมีเลนส์รุ่นก่อนหน้าตามข้างต้นด้วยที่ผลิตช่วงสงคราม) เป็นเลนส์ Tele ที่ไวแสงที่สุดในยุคนั้น ซึ่งเป็นที่ต้องการของนักสะสมอย่างมาก ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 7 ชิ้น 5 กลุ่ม องศารับภาพ 28 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F16 (เลนส์ Summarex 85/1.5 มีการผลิตจนถึงปี 1960)

ปี 1946 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summaron 35/3.5 เพื่อเป็น Lens Wide Angle ราคาประหยัด ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 64 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Summaron 35/3.5 มีการผลิตจนถึงปี 1960)
หมายเหตุ เลนส์ Summaron 35/2.8 มีการผลิตออกมาในหลาย 2 รูปแบบ คือ แบบ Screw mount / แบบมี Goggle (แว่น) เพื่อใช้ร่วมกับ M3 ซึ่งไม่มี Frameline 35mm

ปี 1949 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summarit 50/1.5 โดยเป็นการพัฒนาต่อจากเลนส์ Xenon 50/1.5 ซึ่งเลนส์ที่ใช้ในการส่งออกไปประเทศอื่นจะมีการแกะสลักชื่อ "Taylor Hobson" อยู่ที่ด้านข้างของกระบอกเลนส์ด้วย ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 7 ชิ้น 5 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F16 (เลนส์ Summarit 50/1.5 มีการผลิตจนถึงปี 1960)

ปี 1953 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 50/2 ออกมา ช่วงกลางๆ ของการผลิตเลนส์รุ่นนี้ หลายโรงงานที่ผลิตเลนส์มีการคิดค้นในการที่จะใช้แร่รังสีมาเป็นส่วนประกอบในการ Coated Lens ซึ่งเป็นรุ่นที่นักสะสมต้องการมาก ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 7 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F16 (เลนส์ Summicron 50/2 มีการผลิตจนถึงปี 1968)

ปี 1954 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Hektor 125/2.5 เป็นเลนส์ที่ผลิตออกมาในงาน Photokina 1954 โดยใช้ร่วมกับ Visoflex I หรือ ต่อกับ Adapter เพื่อใช้ร่วมกับ Visoflex II / III ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 20 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1.2 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Hektor 125/2.5 มีการผลิตจนถึงปี 1963)

ปี 1955 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summaron 28/5.6 ออกมา เพื่อเป็น Lens Wide Angle ราคาประหยัด ที่ผลิตมาแทน Hektor 28/6.3 (จำนวนชิ้นเลนส์ และกลุ่มเลนส์ เป็นการพัฒนาบนพื้นฐานของ Summaron 35/3.5) ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 76 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Summaron 28/5.6 มีการผลิตจนถึงปี 1963)

ปี 1956 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 400/5 Version II เป็นการพัฒนาต่อจาก Version I โดยลดน้ำหนักของเลนส์ให้ลดลง ใช้ร่วมกับ Visoflex II/III ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 6 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 8 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F32 (เลนส์ Telyt 400/5 มีการผลิตจนถึงปี 1966)

ปี 1957 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 50/2.8 ออกมา เป็นการพัฒนาต่อจาก Elmar 50/3.5 ให้มีความไวแสงมาขึ้น อีกทั้งยังเป็นราคาประหยัดกว่า Summicron 50/2 เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ที่มีงบจำกัด ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 4 ชิ้น 3 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F16 (เลนส์ Elmar 50/2.8 มีการผลิตจนถึงปี 1974)

ปี 1958 (ปีทองของเลนส์ Leica)
ปี 1958 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 35/2 Version I โดยเป็นเลนส์ Wide Angle ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 8 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 64 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 0.7 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F16 (เลนส์ Summicron 35/2 V I มีการผลิตจนถึงปี 1969)
หมายเหตุ เลนส์รุ่น V I มีการผลิตออกมาในหลาย 3 รูปแบบ คือ แบบ Screw mount (มีการผลิตออกมาน้อยมาก) แบบมี Goggle (แว่น) เพื่อใช้ร่วมกับ M3 ซึ่งไม่มี Frameline 35mm แบบไม่มี Goggle (ไม่มีแว่น) เพื่อใช้กับ M2/M4

ปี 1958 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 90/2 Version I ออกมา โดยในตอนแรกที่ผลิต จะเป็นรุ่นที่ใช้กับ Screw Mount อย่างเดียว (ผลิตออกมาจำนวนน้อย) ซึ่งไม่สามารถถอดหัวได้ และฮูดเป็นแบบแยก ต่อมาได้พัฒนาให้สามารถถอดหัวได้ เพื่อไปใช้กับ Visoflex II/III ได้ และเป็นฮูดในตัว มีทั้งแบบ Screw Mount และ M Mount ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 27 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Summicron 90/2 V I มีการผลิตจนถึงปี 1980)

ปี 1958 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summaron 35/2.8 ออกมาด้วย เพื่อเป็นเลนส์ Wid Angle ราคาประหยัดสำหรับผู้ที่มีงบจำกัด ที่ไม่สามารถซื้อ Summicron 35/2 ได้ และเป็นการออกมาแทน Summaron 35/3.5 ที่กำลังจะเลิกผลิต ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 6 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 64 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 0.7 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Summaron 35/2.8 มีการผลิตจนถึงปี 1974)
หมายเหตุ เลนส์ Summaron 35/2.8 มีการผลิตออกมาในหลาย 3 รูปแบบ คือ แบบ Screw mount (มีการผลิตออกมาน้อยมาก) แบบมี Goggle (แว่น) เพื่อใช้ร่วมกับ M3 ซึ่งไม่มี Frameline 35mm แบบไม่มี Goggle (ไม่มีแว่น) เพื่อใช้กับ M2/M4

ปี 1958 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Super Angulon 21/4 เป็นเลนส์ Wide Angle ที่กว้างที่สุดที่ได้ผลิตมา โดยได้ให้ทาง Schneider ออกแบบ ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 9 ชิ้น 4 กลุ่ม องศารับภาพ 92 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 0.4 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Super Angulon 21/4 มีการผลิตจนถึงปี 1963)

ปี 1959 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summilux 50/1.4 Version I ออกมา เป็นเลนส์ที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก Xenon ในช่วงปีท้ายๆ ของการผลิตได้มีการเปลี่ยนคุณภาพของ Optic แต่อยู่ในบอดี้เดิมของ V I ด้วย ซึ่งเป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยเลนส์ 7 ชิ้น 5 กลุ่ม องศารับภาพ 45 องศา ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร เปิดหน้ากล้อง (f) หรี่เล็กสุดได้ที่ F22 (เลนส์ Summilux 50/1.4 V I มีการผลิตจนถึงปี 1965)

ปี 1959 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit 90/2.8
ปี 1959 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 200/4

ปี 1960 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 65/3.5
ปี 1960 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Hektor 135/4
ปี 1961 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summilux 35/1.4 Version I ออกมา
ปี 1961 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 280/4.8
ปี 1963 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Super Angulon 21/3.4
ปี 1963 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit 135/2.8

ปี 1964 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar 90/4
ปี 1964 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Tele Elmarit 90/2.8 Version I
ปี 1965 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit 28/2.8 Version I
ปี 1965 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Tele Elmar 135/4
ปี 1965 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Tele Elmarit 135/2.8

ปี 1966 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summilux 50/1.4 Version II
ปี 1966 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Noctilux 50/1.2
ปี 1966 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 400/5.6
ปี 1966 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 560/5.6

ปี 1969 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 35/2 Version II
ปี 1969 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 50/2 Version II
ปี 1970 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 400/6.8
ปี 1971 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt 560/6.8
ปี 1972 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Telyt-S 800/6.3
ปี 1972 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Hologon 15/8
ปี 1972 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit 28/2.8 Version II
ปี 1973 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit-C 40/2.8
ปี 1973 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron-C 40/2
ปี 1973 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmar-C 90/4
ปี 1974 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Tele Elmarit 90/2.8 Version II
ปี 1976 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Noctilux 50/1
ปี 1979 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit 28/2.8 Version III
ปี 1979 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 35/2 Version III
ปี 1979 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 50/2 Version III
ปี 1980 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Elmarit-C 21/2.8
ปี 1980 จึงได้ผลิต Lens รุ่น Summicron 90/2 Version II


Create Date : 11 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 7 มกราคม 2555 7:32:37 น. 1 comments
Counter : 4432 Pageviews.

 
ขอบคุณที่นำความรู้มาแบ่งบันนะคะ


โดย: seton วันที่: 11 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:07:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

rogthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add rogthai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.