ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

แฟชั่นเปรี้ยวจี๊ด สุดฮอตบนรันเวย์ “ เบอร์เบอรี่ สปริง-ซัมเมอร์ 2013”

แฟชั่นเสื้อผ้า เบอร์เบอรี่

เบอร์เบอรี่ (BURBERRY)  แบรนด์แฟชั่นระดับโลกจากอังกฤษ แนะนำ “คอลเลคชั่นสปริง-ซัมเมอร์ 2013”   กับจินตนาการที่สมบูรณ์แบบของแฟชั่นให้กับสาวๆ

เพราะผู้หญิงคือสีสันแห่งแฟชั่นบนโลกนี้… แฟชั่นฤดูร้อนสุดฮอต เบอร์เบอรี่ นำ “คอลเลคชั่นสปริง-ซัมเมอร์  2013” มาอวดโฉมสร้างความเฉิดฉายบนรันเวย์  ด้วยแรงบันดาลใจที่สร้างสรรค์จากเสน่ห์ความสวยเซ็กซี่ของคอร์เซ็ต และความเท่ของเสื้อเคป ผสานกับความเนี้ยบของแพทเทิร์น ดูหรูหราในสไตล์วินเทจ ด้วยสีสันที่สดใส และยังโชว์พลังของสีสันเมทัลลิกที่กำลังมาแรงในปีนี้ สร้างความเปรี้ยวจี๊ดให้กับสาวๆได้ไม่น้อย “ลุคของสาวเบอร์เบอรี่ในฤดูร้อนนี้ ต้องเต็มไปด้วยรสนิยม และความสุขุมอย่างมีระดับ”

แฟชั่นเสื้อผ้าเบอร์เบอรี่ มีวางจำหน่าย ที่ช็อปเบอร์เบอรี่ ชั้น M  สยามพารากอน




 

Create Date : 05 มีนาคม 2556   
Last Update : 5 มีนาคม 2556 23:11:40 น.   
Counter : 1770 Pageviews.  

แสงสีฟ้า ฆ่าเชื้อสิว

สิว

            ปัจจัยที่ทำให้เกิด สิว มีหลายปัจจัย ทั้งการใช้ชีวิตในปัจจุบันที่พบเจอกับฝุ่นควัน มลพิษ และอาจเกิดจากเราเองที่หน้ามัน ใช้เครื่องสำอาง แล้วล้างหน้าไม่สะอาด  อีกเทคโนโลยีหนึ่ง ทางการแพทย์ ที่ช่วยในการรักษา สิว โดยไม่เจ็บเลยแม้แต่น้อย คือเทคโนโลยีของแสงสีฟ้า

แสงสีต่างๆ จะมีค่าพลังงานที่แตกต่างกันออกไป สำหรับแสงสีฟ้า ที่ช่วยในการรักษาสิวได้ เพราะพลังงานของแสง  จะช่วยลดการอักเสบ และช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวหนึ่งในผิวหนังที่เรียกว่า Propionibacterium ซึ่งเป็นตัวก่อสิว เมื่อฉายแสงสีฟ้า บนผิวในบริเวณที่เกิดสิวในระยะหนึ่ง จะช่วยทำให้ สิว หายเร็วขึ้น

ปกติการรักษา สิว โดยทั่วไป จะมีการใช้ยาทา และยารับประทาน ซึ่งการรับประทานยาจะมี 2 แบบคือ ยาแก้อักเสบ และการรับประทานวิตามินเอ โด๊สสูง ซึ่งมีผลให้ผิวแห้ง แต่ช่วยให้สิวหายไวขึ้น แต่สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องทานยาไม่ได้ หรือเป็นสิวที่ไม่มากนัก หรือไม่อยากทานยา สามารถใช้แสงสีฟ้าช่วยได้ จากการวิจัยทางการแพทย์พบว่า การใช้แสงสีฟ้าในการรักษาสิว จะช่วยให้สิวหายเร็วกว่าการรับประทานยาแก้อักเสบ แม้ไม่เท่าการได้รับวิตามินเอ โด๊สสูง แต่จะไม่มีผลข้างเคียงในระยะยาว การรักษาสิวด้วยแสงสีฟ้า มีหลายประเภท ราคาแตกต่างกันออกไป ตามคุณภาพของเครื่องฉาย เครื่องฉายแสงสีฟ้าที่มีประสิทธิภาพ อาจมีต้นทุนสูงด้านหลอดไฟที่ใช้ โดยมีราคาจะอยู่ประมาณ 500-800 บาทต่อครั้ง ใช้ระยะเวลาในการทำต่อครั้ง เพียง 15 – 20 นาที ไม่รู้สึกเจ็บหรือมีผลข้างเคียงแต่อย่างใด ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการรักษาสิวทุกประเภทในปัจจุบัน

นอกจากจะทราบถึงวิธีการรักษาสิวแล้ว ยังควรดูแลการผิวให้ถูกวิธี หลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหน้า หากมีการใช้เครื่องสำอาง ก็ควรล้างหน้าให้สะอาด เพื่อป้องกันการอุดตันของรูขุมขน ต้นเหตุหลักของการเกิด สิว เพราะเมื่อเราสามารถป้องกันได้ตั้งแต่ต้นเหตุแล้ว เรื่องสิวก็จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป.

 www.apexprofoundbeauty.com




 

Create Date : 05 มีนาคม 2556   
Last Update : 5 มีนาคม 2556 23:11:04 น.   
Counter : 1660 Pageviews.  

ทรงผมเจ้าสาว ไอเดีย สวย วันสำคัญของลูกผู้หญิง

ทรงผมเจ้าสาว
หากคุณกำลังเตรียมตัวเป็นเจ้าสาวแล้วยังไม่รู้ว่าจะเลือก ทรงผมเจ้าสาว ทรงไหน ที่จะทำในวันพิธีแต่งงาน วันสำคัญในชีวิตของลูกผู้หญิง Women.MThai เรารวบรวมบางส่วนมาให้คุณสาวๆ ลองเก็บไปเป็นตัวเลือกเล่นๆ หรือจะเอาไปประยุกต์ต่อยอดเป็นทรงอื่นๆ สำหรับตัวเองดู งานนี้ลองเอาแบบไปปรึกษาเพื่อนฝูงคอแฟชั่น  รวมไปถึงช่างผมที่เราติดต่อไว้ ให้ลองทำให้เราดูก่อนถึงวันงานจริง อาจจะได้ไอเดียสวยที่เหมาะกับเรามากขึ้นนะคะ

ทรงผมเจ้าสาว

เรียบเรียงเนื้อหาโดย Women.MThai Team

ชมภาพ ทรงผมเจ้าสาว เพิ่มเติมที่นี่




 

Create Date : 04 มีนาคม 2556   
Last Update : 4 มีนาคม 2556 23:04:26 น.   
Counter : 1583 Pageviews.  

แฟชั่น สวยเซ็กซี่ สไตล์ นุ่น รมิดา ประภาสโนบล

ภาพแฟชั่น จาก นิตยสาร HUG

แฟชั่น นุ่น รมิดา


รูป แฟชั่น สวยเซ็กซี่ สไตล์ นุ่น รมิดา ประภาสโนบล (1/4)


รูป แฟชั่น สวยเซ็กซี่ สไตล์ นุ่น รมิดา ประภาสโนบล (2/4)


รูป แฟชั่น สวยเซ็กซี่ สไตล์ นุ่น รมิดา ประภาสโนบล (3/4)




 

Create Date : 04 มีนาคม 2556   
Last Update : 4 มีนาคม 2556 23:03:29 น.   
Counter : 1848 Pageviews.  

โรคกรดไหลย้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร
(Gastroesophageal reflux disease)
Gastroesophageal reflux barium X-ray.jpg
ภาพเอกซเรย์ของช่องท้องและช่องอกในผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดทำรูเปิดกระเพาะ ภายหลังการฉีดสารทึบรังสีเข้าในกระเพาะอาหาร จะเห็นสารทึบรังสีเคลื่อนผ่านขึ้นไปยังหลอดอาหารที่อยู่ด้านบนในผู้ป่วยโรคนี้ ผู้ป่วยรายนี้มีอาการหลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อน
การจำแนก และแหล่งข้อมูลอื่น
ICD-10 K21
ICD-9 530.81
OMIM 109350
DiseasesDB 23596
eMedicine med/857 ped/1177 radio/300
MeSH D005764

โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร หรือที่นิยมเรียกว่า โรคกรดไหลย้อน (อังกฤษ: Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD) คือภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติ หลอดอาหารจะมีการบีบตัวไล่อาหารลงด้านล่างและหูรูด ทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร แต่ในปัจจุบัน หูรูดส่วนนี้ทำงานได้น้อยลงในบางคน ซึ่งจะตรวจพบได้ประมาณ 1 ใน 5 คน พบในคนทั่วไป ทุกกล่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่ และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้

แผนภาพแสดงโรคกรดไหลย้อน

ภาวะของโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

  • ระดับแรก ผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนบ้างในบางครั้ง เป็นบ้างไม่เป็นบ้าง แล้วก็หายไป ไม่มีผลต่อสุขภาพมากมาย (Gastro-Esophageal Reflux : GER)
  • ระดับสอง ผู้ป่วยจะมีอาการกรดไหลย้อนขึ้นมาเฉพาะที่บริเวณหลอดอาหาร (Gastro-Esophageal Reflux Disease : GERD)
  • ระดับสาม ผู้ป่วยมีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาก จนไหลขึ้นไปถึงกล่องเสียง หรือหลอดลม (Laryngo-Pharyngeal Reflux : LPR)

เนื้อหา

  • 1 สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
  • 2 อาการของโรค
    • 2.1 อาการในหลอดอาหาร
    • 2.2 อาการนอกหลอดอาหาร บริเวณกล่องเสียงและหลอดลม
  • 3 การรักษา
    • 3.1 การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    • 3.2 การรักษาโดยใช้ยา
    • 3.3 การผ่าตัด
  • 4 อ้างอิง

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน นอกจากจะเกิดจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหาร หรือความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารในตัวผู้ป่วยเองแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นเสริมอีกด้วย เช่น

  • กินเสร็จอิ่มๆ หรือกินอาหารเสร็จยังไม่ถึง 4 ชั่วโมงแล้วนอน
  • Hiatus hernia คือ โรคที่เกิดจาก กระเพาะอาหารส่วนต้น ยื่นเข้าไปกะบังลม
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์, น้ำอัดลม
  • รับประทานอาหารประเภท ของทอด ของมัน หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด

อาการของโรค

อาการในหลอดอาหาร

ผู้ป่วยจะมีอาการ

  • เสียงแหบกว่าปกติโดยไม่ได้เป็นโรคอื่นใดที่เกี่ยวกับกล่องเสียง
  • ปวดแสบปวดร้อนในหน้าอก หรือที่เรียกว่า Heart Burn เนื่องจากกรดไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ
  • มีอาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก เหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ หายใจไม่ออกเวลานอน
  • กลืนอาหารลำบาก ถ้าเป็นมากจะเจ็บคอมากจนอาจจะกลืนอาหารแทบจะไม่ได้
  • คลื่นไส้
  • มีอาการเรอเปรี้ยว หรือรู้สึกถึงรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในปากหรือลำคอ

อาการนอกหลอดอาหาร บริเวณกล่องเสียงและหลอดลม

ผู้ป่วยจะมีอาการ

  • ไอเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง
  • เสียงแหบ โดยเฉพาะในตอนเช้า เนื่องจากเวลานอน กรดจะไหลย้อนขึ้นมาได้มาก
  • เป็นโรคปอดอักเสบ เจ็บหน้าอก

การรักษา

การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • งดการสูบบหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ
  • ลดอาหารมัน ของทอด ของหวาน
  • รับประทานอาหารให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง
  • ลดน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี

แนะนำการรักษากรดไหลย้อน

1. ปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน การรักษาวิธีนี้มีความสำคัญมากโดยจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ส่วนบนมากขึ้น ที่สำคัญการรักษาด้วยวิธีนี้ควรทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหรือหายดีแล้วโดยไม่ต้องรับประทานยาแล้วก็ตาม


นิสัยส่วนตัว

ถ้าเป็นไปได้ ควรพยายามลดน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักเกิน เนื่องจากภาวะน้ำหนักเกินจะทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น ทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้เครียด และถ้าสูบบุหรี่อยู่ ควรเลิก เพราะความเครียดและการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดมากขึ้น ถ้าไม่เคยสูบบุหรี่ ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือควันบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับเกินไป โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว


นิสัยในการรับประทาน

หลังจากรับประทานอาหารทันที พยายามหลีกเลี่ยงการนอนราบ การออกกำลัง ยกของหนัก เอี้ยวหรือก้มตัว


หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึก และไม่ควรรับประทานอาหารใด ๆ อย่างน้อยภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงก่อนนอน


พยายามรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด อาหารมัน พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ฟาสต์ฟูด ช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม สะระแหน่ เนย ไข่ นม หรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด เป็นต้น

รับประทานอาหารปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป ควรรับประทานอาหารปริมาณทีละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง


หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ (แม้จะเป็นกาแฟที่ไม่มีกาเฟอีนก็ตาม) ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ วิสกี้ ไวน์ โดยเฉพาะในตอนเย็น


นิสัยในการนอน

ถ้าจะนอนหลังรับประทานอาหาร ควรรอประมาณ 3-4 ชั่วโมง เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6 - 10 นิ้วจากพื้นราบ โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ อย่ายกศีรษะให้สูงขึ้นโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น


พบว่าประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนสามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร หรือเพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารในการกำจัดกรด ปัจจุบันยาลดกรดกลุ่ม proton pump inhibitor เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี สามารถเห็นผลการรักษาเร็ว ควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดขนาดยา หรือ หยุดยาเอง นอกจากแพทย์แนะนำ และควรมาพบแพทย์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1 - 3 เดือน กว่าที่อาการต่าง ๆ จะดีขึ้น

อาการต่างๆ อาจไม่ดีขึ้นเร็ว ต้องใช้เวลาในการหาย เมื่ออาการต่าง ๆ ดีขึ้น และผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันข้างต้นดังกล่าว ได้ และได้รับประทานยาต่อเนื่อง แพทย์จะปรับลดขนาดยาลงเรื่อยๆ ทีละน้อย ที่สำคัญไม่ควรซื้อยารับประทานเองเวลาป่วย เนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น

การรักษาโดยใช้ยา

จะได้ผลดีที่สุดเมื่อมีการอักเสบของหลอดอาหาร ตัวยาลดกรด (Antacids) ใช้สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง และยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคกรดไหลย้อนที่แพทย์นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ ยาลดกรดในกลุ่มโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ (Proton pump inhibitors) โดยการใช้ยา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ถ้าไม่มีดีขึ้น อาจพิจารณาให้มีการตรวจเพิ่มเติม เช่น

  • การกลืนแป้งตรวจกระเพาะ
  • การส่องกล้องตรวจกระเพาะ (ไม่นิยมใช้เนื่องจากวินิจฉัยได้ยาก)

การผ่าตัด

หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง รักษาด้วยยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น จึงจะทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ผูกหูรูดกระเพาะอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นมาอีก




 

Create Date : 03 มีนาคม 2556   
Last Update : 3 มีนาคม 2556 22:41:14 น.   
Counter : 1498 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]