ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

เอะอะก็ ‘นะครัช’ เขียนเอาฮาหรือภาษาวิบัติ

กลายเป็นกระแสสังคมออนไลน์มาสักพักแล้ว แต่พักหลังเริ่มมีความถี่ให้เห็นบ่อยมากขึ้น สำหรับคำว่า ‘นะครัช’ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า นะครับ โดยคำดังกล่าวมีเริ่มมาฮิตหลังจากที่เจ้าของแฟนเพจล้อเลียนวิรศากดิ์ นิลกาด ได้โพสต์คำนี้ขึ้นมาบ่อยๆ

ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งมาจากการพิมพ์ข้อความผิดในสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะแป้นพิมพ์ภาษาไทยในไอโฟน ซึ่งตัวอักษร บ อยู่ใกล้กับ ตัวอักษร ช ทำให้เกิดการพิมพ์ผิดได้บ่อยครั้งรวมถึงผู้พิมพ์ต้องการโพสต์ข้อความอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่ทันได้ตรวจสอบความถูกต้องของคำ

cats1-300x300

สุดท้ายแล้วจากการพิมพ์ผิดบ่อยๆและการโพสต์ของเพจสุดกวนวีรศากดิ์นี่เอง ทำให้ คำว่านะครัช โผล่ขึ้นอยู่บนสังคมออนไลน์จนกลายเป็นคำที่ฮิตต่อท้ายในสเตตัสตอนนี้ และมักพ่วงมาอีกคำเช่นคำว่า ‘นะครัช แหม่ หรือคำว่า นะครัส  นอกจากนี้ยังมีคำฮิตๆที่เพิ่งใช้กันอย่างเป็นประจำในปีนี้ เช่น จุงเบย กับ บ่องตง

วันนี้ Mthaiข่าวภาคซ่าส์จะมาพูดเรื่องเกี่ยวกับการใช้คำ ใช้ภาษาของวัยรุ่นไทยกัน

วัยรุ่น เป็นช่วงวัยที่มีการสื่อสารกันมากและมีรูปแบบการสื่อสารด้วยคำที่ทันสมัย มีความหมายเฉพาะสำหรับกลุ่มและช่วงวัย วัยรุ่นจึงขาดความคำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ให้เหมาะสม มีหลายสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นใช้ภาษาที่ผิดๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งการสื่อสาร วัยรุ่นในประเทศไทยยุคใหม่บางกลุ่มได้สร้างค่านิยมที่ผิดๆ มาใช้ คือ การใช้ภาษาไทยที่ผิดจากคำเดิม จึงทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนแปลงไป เยาวชนยุคหลังๆ จึงใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดทำการทดสอบวัดสมรรถภาพในการใช้ภาษาไทย หัวข้อทักษะการเขียนภาษาไทยเพื่อการประกอบอาชีพ โดยนำนิสิตจากจุฬาฯจำนวน 398 คน มาทำการทดสอบ ซึ่งพบข้อผิดพลาดอยู่หลายจุด และพบว่าไม่มีผู้ใดได้ผลในเกณฑ์ดีมาก ในระดับดีมีอยู่เพียง 28 คน ข้อผิดพลาดที่พบคือ เรื่องวรรคตอนผิด ใช้คำไม่หลากหลาย ซึ่งมีผู้ผ่านเกณฑ์การทดสอบ 250 คนที่บ่งบอกว่าเป็นผู้ใช้ปฏิบัติงานได้ สื่อความคิดได้ครบถ้วน แต่ยังคงต้องเพิ่มเรื่องการเชื่อมโยงความคิด การใช้คำเชื่อม การใช้คำให้ตรงความหมาย และการสะกดคำ ขณะที่มีผู้ทดสอบไม่ผ่าน 120 คน ปัญหาที่สรุปได้คือ ยังขาดความสามารถในการเขียนที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน ควรแก้ไขการสื่อความคิดที่ไม่ชัดเจนหรือวกวน ใช้คำผิด สะกดผิด ใช้ภาษาไม่เหมาะสมกับประเภทของงานเขียน

ทั้งนี้ยังพบว่าหลายคำที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยการทำคำให้สั้นลงหรือยาวขึ้น รวมไปถึงการแปลงสระ การเพิ่มควบกล้ำ การแทรกเสียง ยกตัวอย่างเช่น

-อะไร แปลงเป็น อาราย
-ได้ แปลงเป็น ด้าย
-ไม่ใช่ แปลงเป็น ม่ายช่าย
-ไป แปลงเป็น ปาย
-ใคร แปลงเป็น คราย
- ทําไม แปลงเป็น ทามมาย
-คิดถึง แปลงเป็น คิดถุง

-ไม่ แปลงเป็น มะ
-แล้ว แปลงเป็น แระ
- จะ แปลงเป็น จา,จิ
- เพื่อน แปลงเป็น เพิ่ล
- เปล่า แปลงเป็น ป่าว,ปะ
- ไป แปลงเป็น ปาย
- ทํา แปลงเป็น ทาม
- ขอบคุณ แปลงเป็น ขอบคุง
- จ้า แปลงเป็น จร้า
- ค่า แปลงเป็น คร่า
- มึง แปลงเป็น มรึง
- กู แปลงเป็น กรู
จ้า แปลงเป็น จร้า
ค่า แปลงเป็น คร่า

ไม่เพียงแต่คำพวกนี้ที่มีการเปลี่ยนไป แต่คำง่ายๆอย่างคำว่า คะ กับ ค่ะ ก็มักมีผู้ใช้ผิดเช่นกัน ทั้งที่มันควรจะเป็นคำพื้นฐานที่ใช้ได้อย่างถูกต้อง คำว่า “ค่ะ”  ใช้ลงท้ายประโยคบอกเล่าหรือการตอบรับ เช่น สนุกดีค่ะ, ใช่ค่ะ, คำว่า “คะ”  ใช้ลงท้ายประโยคคำถาม เช่น ไปไหนคะ, สนุกมั้ยคะ,ไปไหนคะ,จริงหรือเปล่าคะ ส่วน คำว่า “นะคะ” ใช้ลงท้ายประโยคบอกเล่า คล้ายกับ “ค่ะ” แต่ให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลกว่า เช่น ขอโทษนะคะ(ใช้ ขอโทษค่ะ แทนได้) ราคาเท่าไหร่คะ หรืออาจจะใช้ในประโยคบอกเล่าที่มีลักษณะเชิญชวนหรือขอร้อง ส่วนคำว่า “นะค่ะ” คำนี้บอกได้คำเดียวว่า ไม่มีใช้ในภาษาไทยค่ะ ที่ถูกต้อง คือ “นะคะ”

ทั้งนี้การใช้คำและภาษาควรใช้ให้ถูกต้อง ถูกกาลเทศะ รวมถึงการใช้คำไม่ว่าจะพูดเหรือเขียนอย่างถูกต้องเป็นเครื่องช่วยสะท้อนสติปัญญาแก่ผู้ใช้คำนั้นๆด้วย

MthaiNews





Create Date : 30 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2556 10:37:44 น. 0 comments
Counter : 1479 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]