ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

22 เมษายน วันคุ้มครองโลก (Earth Day)

วันคุ้มครองโลก Earth Day 22 เมษายน 2555






เรียบเรียงข้อมูลโดยปุกดอทคอม


   ใครเข้า Google วันนี้ (22 เมษายน) คงจะสะดุดตาเข้าให้กับภาพการ์ตูนธรรมชาติสีสันสดใส ที่กลายมาเป็น Doodle ในกูเกิ้ลวันนี้ เรียกว่าทำให้กูเกิ้ลน่าใช้และน่าสนใจขึ้นอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

           สำหรับ Doodle ของกูเกิ้ลวันนี้ เชื่อว่ามีหลายคนไม่ต้องคลิกเข้าไปดูก็คงร้องอ๋อ เพราะหากมองปฏิทินบอกวันนี้แล้ว ก็คงจะรู้กันดีว่าวันนี้เป็นวัน Earth Day หรือวันคุ้มครองโลก ที่เป็นโอกาสอันดีที่คนทั่วโลกจะพร้อมใจกันทำประโยชน์ เพื่อรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกัน และให้โลกของเราคงอยู่ด้วยอากาศที่บริสุทธิ์และสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไป เพราะระยะหลังมานี้ โลกของเราเริ่มประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และนับวันจะมนุษย์จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากขึ้น เห็นได้จากการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ มลพิษ โดยเฉพาะปัญหาการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก หรือ Green House Effect ที่ทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในหลาย ๆ ด้าน และ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงจะพาไปรู้จัก วันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day กันให้มากขึ้นค่ะ


ประวัติความเป็นมา วันคุ้มครองโลก (Earth Day)

           โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations Environment Program หรือ "UNEP") ได้กำหนดให้ทุกวันที่ 22 เมษายนของทุกปีเป็น วันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day (เอิร์ธเดย์)  โดยผู้ที่ริเริ่มแนวคิด วันคุ้มครองโลก เป็นคนแรกก็คือ เกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson) สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา

           โดยเมื่อปี พ.ศ.2505 เกย์ลอร์ด เนลสัน ได้ขอให้ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ หยิบยกเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ก็เห็นด้วยและได้ออกทัวร์ทั่วประเทศ เป็นเวลา 5 วัน 11 รัฐ ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2506 ซึ่งการทัวร์ครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่ม วันคุ้มครองโลก

           ต่อมาในปี พ.ศ.2512 วุฒิสมาชิกเนลสัน ได้ผลักดันให้มีการชุมนุม แสดงความคิดเห็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในระดับประชาชนรากหญ้าทั่วประเทศ ทำให้เกิดเป็นกระแสตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปทั่วสหรัฐอเมริกา

   จนเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2513 ประชาชนอเมริกันที่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม กว่า 20 ล้านคน ได้พร้อมใจกันมาชุมนุม เพื่อประท้วงการเพิ่มขึ้นของมลภาวะ และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นโลก ผลจากการชุมนุมก่อให้เกิดการออกพระราชบัญญัติแก้ไขมลพิษในอากาศของสหรัฐอเมริกา และมีการจัดตั้งสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น จนในที่สุดก็มีการกำหนดให้วันที่ 22 เมษายน ของทุกปีเป็นวันคุ้มครองโลก หรือ "Earth Day" โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2513 เป็นต้นมา

           ทั้งนี้ นิตยสาร อเมริกัน เฮริเทจ (American Heritage Magazine) ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 ได้หวนรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า "เป็นเหตุการณ์ที่โดดเด่นที่สุดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตย"

ประเทศไทยกับวันคุ้มครองโลก


และเมื่อทั่วโลกต่างจัดกิจกรรมร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ประเทศไทยเองก็ไม่ได้น้อยหน้า ได้เริ่มจัดให้มีการรณรงค์ วันคุ้มครองโลก ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2533  โดยโรงเรียนสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ.2533 นี้ ถือเป็นยุคเริ่มต้นของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังจาก สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งกระทำอัตวินิบาตกรรม และตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาก็ได้มีการรณรงค์อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ ป่าไม้ และผลกระทบอันร้ายแรงจากการตัดไม้ทำลายป่า  นอกจากนี้ก็ยังมีการจัดกิจกรรมรักษ์ธรรมชาติ เพื่อหารายได้เข้ามูลนิธิ สืบ นาคะเสถียร ผู้บุกเบิกด้านการอนุรักษ์ป่าไม้คนสำคัญของประเทศไทยอีกด้วย

วันคุ้มครองโลก : Earth Day


เป้าหมายของวันคุ้มครองโลก

           1. เพื่อลดอัตราการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่อย่างหนาแน่นในบรรยากาศ

           2. เพื่อกำจัดคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งเป็นตัวทำลายสภาพโอโซนและก่อให้เกิดการสะสมความร้อนให้หมดสิ้นไป

           3. เพื่ออนุรักษ์สภาพป่าที่เหลืออยู่ ทั้งที่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ

           4. เพื่อห้ามการซื้อ-ขายสิ่งมีชีวิต ที่อาจทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดลงหรือหมดสิ้นไป

           5. เพื่อคงสภาพระดับประชากรไว้ ให้อยู่ในสภาพที่สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่

           6. เพื่อสร้างพลังอำนาจจากองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกให้ร่วมกันปกป้องบรรยากาศ น้ำ และสภาพอื่น ๆ ให้พ้นจากการกระทำที่มิชอบของมนุษย์

           7. เพื่อสร้างสำนึกที่จะรักษาโลกไว้ทั้งบุคคล ชุมชน และชาติ

กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันคุ้มครองโลก

  ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานทั่วโลกที่เห็นความสำคัญของ วันคุ้มครองโลก มากขึ้น จึงได้ร่วมกันรณรงค์ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ทุกคนตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น

           1. ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ทั่วทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะแถบแอฟริกา เคนยา ไนจีเรีย และนามิเบีย เป็นต้น

           2. อนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ที่เหลืออยู่ในเมือง หมู่บ้าน และภูเขา

           3. รณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่ อาศัยของสัตว์ป่า

           4. เน้นการคุมกำเนิด เพื่อให้จำนวนประชากรได้คงอยู่ในระดับคงเดิม

           5. ให้การศึกษาแก่เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

           6. ร่วมกันรักษาความสะอาดตามถนนหนทาง ชายหาด อุทยาน และสถานที่สาธารณะต่าง ๆ

           7.รณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะในแต่ละครัวเรือน เพื่อนำไปรีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ เป็นการลดปริมาณขยะ

    เนื่องจากวันนี้ 22 เมษายน วันคุ้มครองโลก (Earth Day) กระปุกดอทคอม จึงขอเชิญชวนทุกท่านที่ยังไม่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้ใช้โอกาสนี้เป็นวันเริ่มต้นในการทำกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน ช่วยกันรักษาความสะอาดตามที่ต่าง ๆ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำลายชั้นบรรยากาศ และลดการใช้พลังงานต่าง ๆ เท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนที่กำลังเข้าขั้นวิกฤตอยู่ในขณะนี้ ซึ่งถ้าหากเราทุกคนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมกันตั้งแต่วันนี้ แน่นอนว่าคนที่ได้รับผลประโยชน์จากการรักษาธรรมชาติก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือมนุษย์ทุกคนนั่นเอง



อ่านรายละเอียดทั้งหมดจาก
, มหาวิทยาลัยรามคำแหง



Create Date : 22 เมษายน 2555
Last Update : 22 เมษายน 2555 14:41:16 น. 0 comments
Counter : 1199 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]