ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

มาดูการละเล่นของเด็กไทย ในอดีตกันคะ

วันนี้ขอมาแนวมีสาระหน่อยนะคะ แหะๆ q*012

การเล่นกับเด็กเป็นของคู่กันมาตั้งแต่กาลครั้งไหน คงไม่มีใครทราบได้ แต่การเล่นก็เป็นเรื่องที่สืบ เนื่องแสดงถึงเอกลักษณ์ของชนชาติหรือท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ถ่ายทอดเข้าสู่กระแสชีวิตและตกทอดกันมาตั้งแต่ รุ่นปู่ย่าตายายของปู่ย่าตายายโน่น เอาตั้งแต่เมื่อเราเกิดมาลืมตาดูโลกก็คงจะได้เห็นปลาตะเพียนที่ผู้ใหญ่แขวน ไว้เหนือเปลให้เด็กดู “เล่น” เป็นการบริหารลูกตา แหวกว่ายอยู่ในอากาศแล้ว พอโตขึ้นมาสัก 3-4 เดือน ผู้ใหญ่ก็จะสอนให้เล่น “จับปูดำ ขยำปูนา” “แกว่งแขนอ่อน เดินไว ๆ ลูกร้องไห้ วิ่งไปวิ่งมา” โดยที่จะคิดถึงจุดประสงค์อื่นใดหรือไม่สุดรู้ แต่ผลที่ตามมานั้นเป็นการหัดให้เด็กใช้กล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อแขนประสานกับสายตา 



การละเล่นเป็นการส่งเสริมให้เด็ก ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเป็นกิจกรรมที่แฝงไว้ ด้วยสัญลักษณ์ หากศึกษาการเล่นของเด็กในสังคม เท่ากับได้ศึกษาวัฒนธรรมของสังคมนั้นด้วย การละเล่นของเด็กไทย มีความหลากหลาย เช่น หมากเก็บ ว่าว โพงพาง รีรีข้าวสาร เป็นต้น 



การละเล่นของเด็กแบบไทย ๆ มีมาตั้งแต่เมื่อไร 
ชนชาติไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไร การละเล่นแบบไทย ๆ ก็น่าจะมีมาแต่เมื่อนั้นแหละ ถ้าจะเค้นให้เห็นกันเป็นลายลักษณ์อักษร ก็คงต้องขุดศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

มาดูว่ามีอะไรกันบ้าง แล้วคุณๆเคยเล่นกันรึยังคะ
เริ่มจาก

หมากเก็บ 
วิธีเล่น 
ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมากทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย 
หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด 
หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด 
หมากที่ 4 ใช้โปะ ไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้นแล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้ 
"ขี้นร้าน" ได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือรับไม่ได้ ถือว่า "ตาย" ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อไป ถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้น ส่วนมากกำหนดแต้ม 50-100 แต้ม เมื่อแต้มใกล้จะครบ เวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่กำหนด ถ้าเกินไปเท่าไร หมายถึงว่าต้องเริ่มต้นใหม่โดยได้แต้มที่เกินไปนั้น วิธีเล่นหมากเก็บนี้มีพลิกแพลงหลายอย่าง เช่น โยนลูกนำขึ้นเก็บทีละเม็ด เมื่อเก็บได้เม็ดหนึ่งก็โยนขึ้นพร้อมกับลูกนำ 2 - 3 - 4 เม็ด ตามลำดับ หมาก 2 - 3 -4 ก็เล่นเหมือนกัน  โยนขึ้นทั้งหมด   เรียกว่า "หมากพวง" ถ้าโยนลูกนำขึ้นเล่นหมาก 1- 2 -3 -4 แต่พลิกข้างมือขึ้นรับลูกนำให้เข้าในมือระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ โดยทำเป็นรูปวงกลมเตรียมไว้เรียก "หมากจุ๊บ" ถ้าใช้มือซ้ายป้อง    และเขี่ยหมากให้เข้าในมือนั้นทีละลูกในหมาก 1 -2 -3 และ 4 ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าจะตาย ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือยันพื้น นิ้วอื่นปล่อยทำเป็นรูปซุ้มประตู เขี่ยหมากออกเรียกว่า "อีกาออกรัง"   ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือ ขดเป็นวงกลม นิ้วชี้ชั้ตรงนิ้ว นอกนั้นยันพื้นเป็นรูปรูปู เรียกว่า "รูปู"  เมื่อจบเกมการเล่นแล้วจะมีการกำทาย ผู้ชนะจะทายผู้แพ้ ว่ามีกี่เม็ด ถ้าทายผิดจะต้องถูกเขกเข่า กี่ทีตามที่ตนเองทายจนเหลือเม็ดสุดท้าย คนทายจะถือเม็ดไว้ในมือ แล้ววนพร้อมกับร้องเพลงประกอบ "ตะลึงตึงตัง ข้างล่างห้า ข้างบนสิบ"   เมื่อร้องจบเอามือหนึ่งกำไว้ งอข้อศอกขึ้นต้องบนมือที่กำอีกข้างหนึ่ง 

งูฏินหาง 
วิธีเล่น 
เป็นการละเล่นของเด็กไทยสมัยโบราณ ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น โดยกำหนดให้คนหนึ่งเป็นพ่องู อีกคนหนึ่งเป็น***ู พ่องูยืนหันหน้าเข้าหา***ู นอกนั้นเป็นลูกงูจับเอวกันเป็นแถวยาว ความยาวของลูกงูนั้นขึ้นอยู่กับจำนวน ของผู้เล่น ในการเล่นมีบทพูดโต้ตอบกัน ดังนี้ 
พ่องู : ***ูเอ๋ย 
***ู : เอ๋ย (ลูกงูช่วยตอบ) 
พ่องู : กินน้ำบ่อไหน 
***ู : กินน้ำบ่อโศก 
ลูกงู : โยกไปก็โยกมา (***ูและลูกงูโยกตัว ขยายแถวทั้งแถว) 
พ่องู : ***ูเอ๋ย 
***ู : เอ๋ย 
พ่องู : กินน้ำบ่อไหน 
***ู : กินน้ำบ่อทราย 
ลูกงู : ย้ายไปก็ย้ายมา (วิ่งทางซ้ายทีขวาที) 
พ่องู : กินน้ำบ่อไหน 
***ู : กินน้ำบ่อหิน 
ลูกงู : บินไปก็บินมา (ทำท่าบินแล้วจับเอวต่อ) 
พ่องู : หุงข้าวกี่หม้อ 
***ู : ..... หม้อ (เท่ากับจำนวนลูกงูกับ***ู) 
พ่องู : ขอกินหม้อได้ไหม 
ลูกงู : ไม่ได้ 
พ่องู : ตำน้ำพริกกี่ครก 
***ู : ..... ครก 
พ่องู : ขอกินครกได้ไหม 
ลูกงู : ไม่ได้ 
พ่องู : ทอดปลาทูกี่ตัว 
***ู : …….. ตัว 
พ่องู : ขอกินตัวได้ไหม 
ลูกงู : ไม่ได้ 
พ่องู : กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว 
***ู : กินหางตลอดหัว 
พ่องูจะไล่จับลูกงูจากปลายแถวขึ้นมาหัวแถว ***ูต้องพยายามป้องกันไม่ให้พ่องูเอาลูกงูไปได้โดยการกางมือกั้น แล้วลูกงูต้องคอยวิ่งหนีแต่ต้องระวังไม่ให้ แตกแถว เมื่อจับลูกงูได้พ่องูจะถามลูกงูว่า 
พ่องู : อยู่กับพ่อหรืออยู่กับแม่ 
ลูกงู : อยู่กับแม่ 
พ่องู : ลอยแพไป 
พ่องู : หักคนจิ้มน้ำพริก 
พ่องูก็จะจับลูกงูให้ออกจากการเล่นไปอยู่เช่นนี้จนจับได้หมด ถ้าตอบว่า "กินกลางตลอดตัว"พ่องูจะจับลูกงูตัวแรกในบริเวณกลางลำตัว ต่อ ๆ ไปก็เลือกจับตามใจชอบลูกงูต้องหลบหลีกให้ดี 

ถ้า***ูตอบว่า กินหัวตลอดหาง พ่องูต้องพยายามปล้ำกับ***ูให้แพ้ชนะให้ได้ แล้วจับลูกตั้งแต่หัวแถงลงไปจนหมดเป็นอันจบเกม 

การเล่นชนิดนี้นอกจากให้ความสนุกสนานแล้วยังเป็นการฝึกภาษาถ้าเป็นการเล่นของเด็กจะมีเพียงบทโต้ตอบดังกล่าวเพื่อเป็นการเรียนรู้ในการสื่อสารในเรื่องความหมายของกริยาต่าง ๆ แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่จะใช้บทร้องพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่องอิเหนาตอนเสี่ยงเทียนให้เด็กร้องที่หน้าวิหารเพียง ๒ บทต่อไปนั้นผู้เล่นก็จะใช้ปฏิภาณในการโต้ตอบจนพอใจจึงจะวิ่งไล่จับกัน 
"***ูเอ๋ยเจ้าไปอยู่ที่ไหนมา 
ไปกินน้ำหนากลับมาเมื่อตะกี้ 
กินน้ำบ่อไหนบอกไปให้ถ้วนถี่ 
จะบอกประเดี๋ยวนี้ 
บอกมาซีอย่าเนิ่นช้า 
ไปกินน้ำเอย ไปกินน้ำบ่อหิน (ซ้ำ) 
บินไปก็บินมา ฉันรักเจ้ากินรา 
บินมาบินไปเอย" 
พ่องูจะถามซ้ำ ***ูจะตอบว่าไปกินน้ำบ่ออื่นๆ ร้องให้รับกัน การเล่นในภาคเหนือเรียกว่า "งูสิงสาง" วิธีเล่นคล้ายกัน แต่ไม่มีพ่องู ***ูคนหนึ่งจะขุดดินคนที่เหลือจับเอวกันเป็นงู ฝ่ายที่เป็นงูเดินไปรอบ ๆ แล้วมีการโต้ตอบกันระหว่างคนขุดดินกับงูเป็นภาษาเหนือล้อเลียนกันตอนแรกงูถามว่าขุดอะไร ขอบ้าง (อ้างชื่อของในดิน เช่น แห้ว มัน) ต่อมาคนขุดดินของงูบ้างงูไม่ให้ บอกให้ไล่จับเอา 

ขี่ม้ากานกล้วย 
วิธีเล่น 
ไม่จำกัดจำนวน ผู้เล่นนำก้านกล้วยมาตัดเป็นรูปม้า ตอนโคนเป็นหัว ตอนปลายเป็นหาง ใช้สายจากก้านกล้วยโยง 
เป็นบังเ...ยน นำขึ้นขี่เล่น แล้ววิ่งไปรอบๆ ทำท่าเหมือนขี่ม้า ทุกคนจะแข่งกันว่าใครจะวิ่งได้เร็วกว่ากัน 

ยิงปืนก้านกล้วย 
วิธีเล่น 
นำก้านกล้วยมาบากเป็นระยะๆ ตั้งแต่โคนถึงปลาย จ้างรอยบากไม่ให้ขาดจากกัน ผู้เล่นตั้งแถว 
เอาก้านกล้วยแทน ปืนตั้งท่าเหมือนยิงปืน เอามือปาดส่วนของก้านกล้วยที่ตั้งขึ้นซึ่งเกิดจากการบากโดย 
ปาดแรงและเร็วให้พับไปข้างหน้า และเกิดเสียงดังเหมือนยิงปืน 

ขาโถกเถก 
ภาคอีสานเรียกว่า "ขาโถกเถก" ภาคใต้เรียกว่า "ทองสูง" ภาคเหนือเรียก "สิกไม้ย่างกางเกง" ทำด้วยไม้ไผ่ท่อน โตยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ คู่ ยกไม้ไผ่ท่อนเล็กขึ้น คะเนดูสูงตามต้องการ แล้วทำเครื่องหมายไว้ เจาะรูตรงเครื่องหมายให้ทะลุไปอีกข้างหนึ่งหาไม้เหนียวๆ หรือเหล็กสอดนำไปในรูทำสลัก เอาไม้ท่อนโตมาบากรูสวมลงทางปลายของไม้ไผ่ท่อนเล็กให้เลื่อนลงมาอยู่ตรงสลัก แล้วหาผ้ามาพันเพื่อจะได้ไม่เจ็บง่ามเท้า 
วิธีเล่น 
ขึ้นเหยียบบนท่อนไม้โต มือจับไม้ท่อนเล็กให้ตั้งฉากกับพื้น ใช้งามเท้าคีบไม้ท่อนเล็ก ก้าวเดินคล้ายกับเดินธรรมดา เด็กต้องทรงตัวบนไม้กางเกง ยิ่งสูงยิ่งสนุกแล้วเดินแข่งกัน การเล่นประเภทนี้เป็นการใช้วัสดุตามธรรมชาติในพื้นที่แถบนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่อง เป็นการฝึกให้เด็กได้ใช้มือและมีความคิดสร้างสรรค์ในการหัดเล่นเด็กจะได้ฝึกการทรงตัว ฝึกความอดทน ความมานะพยายาม และในขณะเล่นเด็กจะได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน

 หมากขุม 
อุปกรณ์ 
๑. รางหมากขุม นิยมทำด้วยไม้นุ่น ไม้ทองหลาง ไม้ขนุน ทำเป็นรูปคล้ายเรือ ยาวประมาณ ๙๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑๐ - ๑๓ เซนติเมตร ด้านบนขุดเป็นหลุมขนาดเท่ากันเรียงเป็น ๒ แถว เป็นหลุมกลมคล้ายหลุมขนมครก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๘ - ๙ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๔ - ๕ เซนติเมตร ในแต่ละแถวนิยมมี ๗ หลุม ตรงส่วนปลายของรางหมากขุมทั้ง ๒ ข้าง มีหลุมขนาดใหญ่พิเศษข้างละหลุม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐ - ๑๓ เซนติเมตร อาจทำเป็นหลุมกลมหรือหลุมรูปสามเหลี่ยม เรียกหลุมใหญ่ทั้ง ๒ ข้างนี้ ว่า แม่เริน (แม่เรือน) หัวแม่เรินหรือหัวเมือง 
๒. หมาก หรือลูกหมากขุม นิยมใช้เมล็ดสวาด หรือเมล็ดสวด ซึ่งมีลักษณะกลมรีเปลือกแข็งเป็นสีเทาอ่อน มีขนาดพองาม เบา ทน และดูสะอาดตา หรืออาจใช้เมล็ดพืชอย่างอื่นที่มีขนาดและลักษณะใกล้เคียงกันก็ได้ เช่น เมล็ดมะขามสุก บางทีใช้ดินเหนียวปั้นเป็นลูกธนูแล้วตากแห้ง แต่ไม่นิยมเพราะไม่ทนและเปื้อนมือง่าย ปัจจุบันนิยมใช้ลูกแก้วแทน 
วิธีเล่น 
๑. ผู้เล่น ๒ คน นั่งอยู่คนละข้างของรางหมากขุมหันหน้าเข้าหากัน นำหมากมาใส่หลุมในแดนของตนทุกหลุมละ ๗ เม็ด (ไม่ใส่หลุมแม่เริน) 
๒. การเริ่มเล่นจะให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเดินก่อน หรือเดินพร้อมกันก็ได้ ฝ่ายใดเดินตายก่อนก็หยุด ให้อีกฝ่ายหนึ่งเดินต่อจนตาย แล้วผลัดให้ฝ่ายที่ตายก่อนเดินต่อไป 
๓. การเดินหมากจะเริ่มจากหยิบหมากทั้งหมดในหลุมใดหลุมหนึ่งทางแดนหรือเมืองของตน (หลุมทางด้านตนเอง) เดินหรือวางหมากลงหลุมทีละเม็ดจากขวาไปซ้าย เมื่อผ่านหลุมแม่เรินของตน(อยู่ทางซ้ายมือ) เอาหมากขึ้นเริน (ลงหลุมแม่เรือน)ทุกครั้ง แล้วเดินเลยไปในแดนของฝ่ายตรงกันข้าม เดินไปเรื่อย ๆ เมื่อถึงหลุมสุดท้ายของแดนตรงข้าม ก็เดินต่อในหลุมแรกของแดนตน (ไม่เดินหรือใส่ในหลุมแม่เรินของฝ่ายลงข้าม ซึ่งอยู่ทางขวามือของตน) เดินไปเรื่อย ๆ จนกว่าหมากจะหมด โดยมีกติกา ดังนี้ 
๓.๑ ถ้าหมากเม็ดสุดท้ายตกลงหลุมที่มีหมากอยู่เดิม ให้เอาหมากทั้งหมดในหลุมนั้นเดินต่อไปได้ 
๓.๒ ถ้าหมากเม็ดสุดท้ายตกตรงหลุมที่ไม่มีหมากเหลืออยู่เลย ถือว่าการเดิน "ตาย" ต้องหยุดทันที เปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเดินต่อไป 
๓.๓ เมื่อผู้เดินหมากแต่ละฝ่ายเดินหมากจน "ตาย" ต้องตรวจดูว่าตายภายในแดนของตัวเองหรือไม่ ถ้าตายในแดนของตนเองตรงหลุมที่มีหมากอยู่ของฝ่ายตรงข้าม ผู้ตายจะได้ "กิน" หรือ "กินแทน" หมากในหลุมนั้นทั้งหมดของฝ่ายตรงข้ามทันที โดยนำหมากทั้งหมดนั้นไปใส่ในแม่เรินของฝ่ายตน แล้วจึงเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเดินต่อไป 
๓.๔ ถ้าหมากเม็ดสุดท้ายมาตกตรงแม่เรินของฝ่ายตนพอดี ผู้นั้นยัง "ไม่ตาย" มีสิทธิ์ได้เดินต่อโดยเลือกหยิบหมากในหลุมใดหลุมหนึ่งในแดนของตนเองเพื่อเดินต่อไป (ห้ามหยิบหมากของแดนฝ่ายตรงกันข้าม) 
๔. เมื่อผลัดกันเดินหมากไปเรื่อย ๆ จนหมากในแดนของทั้งสองฝ่ายหมด ไม่มีหมากให้เดินการแข่งขันรอบนั้นก็ยุติลง แต่ละฝ่ายนำหมากจากแม่เรินของตนเรียงใส่หลุมในแดนของตนใหม่ ฝ่ายที่เสียหมากไปมากหมากจะไม่ครบทุกหลุม (หลุมละ ๗ เม็ด) ถ้าขาดไปกี่หลุมถือว่าเป็นหม้ายไปเท่านั้นหลุม หลุมที่เป็นหม้ายจะต้องเริ่มจากหลุมแรกทางขวามือ (เริ่มหลุมที่ ๗ จากหลุมซ้ายมือ) หลุมที่เป็นหม้ายจะยกเลิกไม่ใช้เล่นในรอบใหม่ ถ้าฝ่ายใดมีหลุมที่เป็นหม้ายจำนวนมากจะเสียเปรียบคู่ต่อสู้ เพราะโอกาสที่จะกินหมากหรือกินแทนของฝ่ายตรงข้ามจะลดลง เมื่อเล่นไปเรื่อย ๆ จนฝ่ายหนึ่งมีหลุมเป็นหม้ายเกือบหมด หรือจนหมดทุกหลุม ถือว่าเป็นการแพ้โดยสิ้นเชิง 
โอกาสหรือเวลาที่เล่น 
หมากขุมเป็นกีฬาพื้นเมือง ประเภทกีฬาในร่ม นิยมเล่นเมื่อมีเวลาว่าง 

ปิดตาตีหม้อ 
วิธีเล่น 
จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน วางหม้อดิน เรียงเป็นแถวห่างกันพอสมควรตามจำนวนผู้เล่น จัดผู้เล่นเรียงตามแถวงหม้อ 
เดินถอยออกมาให้ห่างหม้อพอสมควร แล้วผูกตาผู้เล่น หมุนผู้เล่น 1 รอบ แล้วจัดผู้เล่นให้หันไปทางหม้อ ให้ผู้เล่นเดินไปข้างหน้าเพื่อตีหม้อของตนให้ถูก ถ้าตีไม่ถูกก็เป็นฝ่ายแพ้ 

ตีลูกล้อ 
อุปกรณ์การเล่น 
ยางรถจักรยานหรือวงล้อไม้เป็น ซี่ ๆ ขนาดเหมาะมือ หรือขอบของกระด้งที่ไม่ใช้แล้ว 
วิธีเล่น 
ผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน กำหนดจุดเริ่มต้นและเส้นชัยไว้แต่ละคนนำลูกล้อของตนเองมาที่จุดเริ่มต้น และวิ่งเอาไม้ตีลูกล้อให้กลิ้งไป แข่งกันว่าใครจะถึงเส้นชัยก่อนกัน ผู้ที่ใช้วงล้อจะได้เปรียบเพราะวงล้อมีร่องสำหรับใส่ยาง เอาไม้ดันได้สะดวกและตรงกว่า ไม่แกว่งไปแกว่งมา ใครถึงเส้นชัยก่อนคนนั้นก็ชนะ 

การละเล่น ซ่อนหา หรือ โป้งแปะ เป็นการละเล่นประเภทหนึ่งของเด็กไทย ซึ่งมีมาช้านาน แต่ในปัจจุบันเราก็ยังเห็นเด็กๆ รวมกลุ่มกันเล่นซ่อนหา หรือโป้งแปะตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น หลังเลิกเรียน วันหยุดในบริเวณบานเป็นต้น

ซ่อนหาหรือโป้งแปะ   มีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องที่ เช่น แอสไพ เป็นต้น ในกรุงเทพฯ และชานเมืองส่วนใหญ่จะเรียกว่า ซ่อนหา หรือ โป้งแปะไม่มีอุปกรณ์การเล่น มีกติกา และวิธีการเล่นดังนี้

กติกา
1.  ผู้ที่เป็นคนหาสามารถ โป้ง คนที่ตนเห็นในระยะไกลได้ 
2.  ผู้ที่ถูกพบคนแรกต้องเป็นผู้หาแทน 
3.  ผู้หาจะต้องหาผู้ซ่อนให้ได้ครบทุกคน 
4.  หากผู้ซ่อนคนใดที่ผู้หายังหาไม่พบ เข้ามาแตะตัวผู้หาพร้อมกับร้องว่า แปะ ผู้หาต้องเป็นต่ออีกรอบหนึ่ง 
5.  ต้องกำหนดเขตการซ่อนเพื่อจะหาได้ง่าย 

วิธีการเล่น
       หากมีพื้นที่กว้างมากก่อนการเล่นผู้เล่นทั้งหมดอาจตกลงกันก่อนว่าห้ามซ่อนเกินเขตที่กำหนด ผู้ใดออกไปซ่อนนอกเขตถือว่าผิดกติกาจะต้องเป็นผู้หาแทน เมื่อตกลงได้แล้วถึงดำเนินการเลือกผู้ที่จะเป็นผู้หาคนหนึ่ง ตามวิธีการแบ่งกลุ่มและจัดลำดับการเล่น แล้วจึงเริ่มเล่น ผู้หาต้องปิดตา โดยใช้มือปิดหรือหันหน้าเข้าหาเสา ต้นไม้ ฯลฯ บางครั้งผู้หาอาจนับเลขไปด้วยเพื่อเป็นการให้เวลาแก่ผู้ซ่อน และผู้ที่ไปซ่อนอาจร้องว่า “ปิดตาไม่มิด สาระพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนาได้ข้าวเม็ดเดียว” เมื่อคะเนว่าผู้ซ่อนหาที่ซ่อนได้หมดแล้ว จึงถามว่า เอาหรือยังผู้ซ่อนจะตอบว่า เอาละ ผู้หาจึงเปิดตาแล้วออกหาผู้ซ่อนตามจุดต่าง ๆ ที่คาดว่าต้องมีผู้ไปซ่อน เมื่อพบผู้ซ่อนคนใดจะต้องพูดว่า โป้ง... (ชื่อผู้ที่พบ)... ผู้นั้นจะออกมาจากที่ซ่อน ผู้หาต้องหาผู้ซ่อนต่อไปจนครบหมดทุกคนขณะหาถ้ามีผู้ซ่อนคนใดวิ่งเข้ามาแตะตัวผู้หาแล้วร้องว่า แปะผู้หา ต้องเป็นอีกรอบหนึ่ง แต่ถ้าหาผู้ซ่อนได้ครบทุกคน ผู้ถูกพบคนแรกต้องเป็นผู้หาแทน พฤติกรรมเชิงวิเคราะห์

        เล่นได้ทุกวัย ในการเล่นโป้งแปะถึงแม้ว่าผู้หาต้องแข่งขันกับคนอื่นจำนวนหลายคน แต่กติกาในการเล่นอนุญาตให้ผู้หา “โป้ง” ผู้เล่นอื่นได้ในระยะไกล แต่เล่นคนผู้อื่นต้องวิ่งมาถึงตัวผู้หาก่อนจึงจะ “แปะ” ได้ เด็กจะได้รับประโยชน์จากการเล่น เช่น

1.  ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต หูไว ตาไว สามารถจับทิศทางของเสียง ที่ได้ยินได้อย่างแม่นยำ 
2.  มีความรอบคอบและระมัดระวังตัว มีกลยุทธในการซ่อนตัว 
3.  รู้จักการประเมินสภาพแวดล้อม และคาดเดาสถานที่ซ่อนตัวของผู้ซ่อน 
4.  เป็นการฝึกบังคับการเคลื่อนไหวให้เบาที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้หาได้ยินหรือหาพบ 
5.  พัฒนาจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน 

รีรีข้าวสาร

เล่นกี่คนก็ได้ ผู้เล่น ๒ คนยืนหันหน้าเข้าหากันโน้มตัวประสานมือกันเป็นรูปซุ้ม ส่วนผู้อื่นเกาะเอวต่อ ๆ กันตามลำดับ หัวแถวจะพาลอดใต้ซุ้มมือพร้อมกับร้อง บทร้อง ประกอบการเล่นว่า 

รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก 
เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน 
คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว 
        เมื่อร้องถึงประโยคที่ว่า คอยพานคนข้างหลังไว้ ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันคนสุดท้ายไว้ ซึ่งคนสุดท้ายจะถูกคัดออกไปจากแถว แล้วจึงเริ่มต้นเล่นใหม่ทำเช่นนั้นจนหมดคน



คุณค่า/แนวคิด/สาระ
      เป็นการเล่นของเด็กอายุระหว่าง 4 – 6 ปี เล่นรวมกันทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย เด็กจะได้รับประโยชน์ การเล่น เช่น

1. เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น 

2. ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง 

3. หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้ 

4. หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้ 

มอญซ่อนผ้า
จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น :
              มีผ้า 1 ผืน เป็นอุปกรณ์การเล่น จับไม้สั้นไม้ยาว เลือกคนที่เป็นมอญ คนอื่นๆ นั่งล้อมวง คนที่เป็นมอญถือผ้าไว้ในมือ เดินวนอยู่นอกวง คนที่นั่งล้อมวงอยู่จะร้องเพลง ระหว่างนั้นคนที่เป็นมอญ จะทิ้งผ้าไว้หลังใครก็ได้ แต่ต้องพรางไว้เป็นว่ายังถือผ้าอยู่ เมื่อเดินกลับมา ผ้ายังที่อยู่เดิม ก็หยิบผ้าไล่ตี ผู้อื่น ผู้เล่นนั้นต้องวิ่งหนีไปรอบๆ วง แล้วจึงนั่งได้ ผู้เป็นมอญจะเดินวนต่อไปหาทางวางผ้าให้ผู้อื่นใหม่ ถ้าใครรู้สึกตัวคลำพบผ้าจะวิ่งไล่ตีมอญไปรอบวง 1 รอบ มอญต้องรีบวิ่งหนีมานั่งแทนที่ คนไล่ก็ต้อง เป็นมอญแทน               บทร้องประกอบ :     มอญซ่อนผ้า      ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง      ไว้โน่นไว้นี่      ฉันจะตีก้นเธอ 

วิ่งวัวหรือวิ่งเปรี้ยว
จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น :
              แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆ กัน โดยปักหลัก 2 ข้าง หรือใช้คนนั่งเป็นหลักข้างละหลัก ระยะห่าง ประมาณ 50 เมตร มีกรรมการตัดสิน 1 คน เริ่มต้นพร้อมกันทั้งสองข้าง ต้องวิ่งล้อมหลักไล่ให้ทันกัน มือถือผ้าคนละผืน เมื่อถึงฝ่ายของตน ส่งผ้าให้คนต่อไป เป็นเช่นนี้จนวิ่งทันกัน ฝ่ายไล่ทันต้องใช้ผ้าที่ถือ อยู่ตีอีกฝ่ายหนึ่ง ถือว่าฝ่ายนั้นชนะ 

อีกาฟักไข่
จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น :
              ใช้ผลไม้หรืออะไรก็ได้ สมมุติว่าเป็นไข่ และเขียนวงกลมลงบนพื้นเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 4 ฟุต 1 วง และอีกขาอยู่ในวงแรกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุต วางไข่กำหนดไว้ในวงกลมเล็ก ให้คนใดคนหนึ่ง เป็นกายืนในวงกลมใหญ่ หรือนั่งคร่อมวงกลมเล็ก นอกนั้นทุกคนยืนรอบนอกวงกลมใหญ่ คอยแย่งไข่ คนเป็นกามีหน้าที่ ป้องกันไข่ โดยมีกติกาการเล่น ดังนี้
         1. ผู้มีหน้าที่หยิบ (แย่ง) ไข่ เข้าไปในวงกลมไม่ได้
         2. ผู้มีหน้าที่หยิบไข่ต้องระวังมิให้อีกาตีถูกมือ หรือแขนของตน ซึ่งล่วงล้ำเข้าไปในวงกลมได้
         3. ถ้าแย่งไข่ไปจากอีกาได้หมด ให้ปิดตาอีกา แล้วเอาไข่ไปซ่อนให้อีกาตามหาไข่ ถ้าพบไข่ที่ผู้เล่นคนใด เป็นคนซ่อนผู้นั้นต้องเปลี่ยนเป็นกาแทน 

การเล่น ว่าว
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
ว่าวโดยทั่วไปมีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก นำมาผ่าแล้วเหลา ให้ได้ตามที่ต้องการแล้วนำมาประกอบกันให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ผูกติดกันด้วยเชือกโยงยึดกัน เป็นโครงสร้างและปิดด้วยกระดาษชนิดบางเหนียว เช่น กระดาษสาและตกแต่งลวดลายด้วยจุด หรือดอกดวงเพื่อปิดยึดกระดาษกับเชือกให้แน่นว่าวที่นิยมกันคือ
ว่าวจุฬา ซึ่งมีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก ๕ ชิ้น มีจำปา ๕ ดอก ทำด้วยไม้ไผ่ยาว ๘ นิ้ว เหลากลมโตประมาณ ๓ มิลลิเมตร จำปา ๑ ดอกมีจำนวนไม้ ๘ อัน มัดแน่นกับสายป่านที่ชักว่าวจุฬาอันเป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับปักเป้า
ว่าวปักเป้า มีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกเหลากลม ๒ ชิ้น มีเหนียงเป็นเชือกยาว ๘ เมตร ผูกปลายทั้ง ๒ ข้าง ให้หย่อนเป็นสายรูปครึ่งวงกลมเพื่อคล้องตัวว่าวจุฬาให้เสียสมดุลจนตกลงพื้นดิน
ว่าวหง่าว ทำด้วยโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษสา ลำตัวตอนบนมีรูปคล้ายอกว่าวจุฬามีเอวคอดและท่อนล่างกว่าท่อนบน ตอนส่วนหัวมีไม้ไผ่เหลาและขึงเชือกเหมือนคันธนู ส่วนขึงเชือกนี้จะเกิดเสียงเมื่อต้องลม เสียงนี้ช่วยกำจัดความชั่วร้ายได้
ปัจจุบันว่าวที่มีการเล่นกันโดยทั่วไปได้มีการพัฒนารูปแบบการเล่นเพื่อความสวยงาม โดยทำว่าวให้เป็นรูปแบบที่แปลกแตกต่างกันออกไปเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ ฯลฯ

วิธีการเล่น มีอยู่ ๓ วิธี คือ
๑. ชักว่าวให้ลอยลมปักอยู่กับที่ เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปต่าง ๆ
๒. บังคับสายชักให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการ นิยมกันที่ความสวยงาม ความสูง และบางทีก็คำนึงถึงความไพเราะของเสียงว่าวอีกด้วย
๓. การต่อสู้ทำสงครามกันบนอากาศ คือ การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าคว้ากันบนอากาศ จะจัดให้มีการแข่งขันกันที่บริเวณท้องสนามหลวงกำหนดแดนขณะทำการแข่งขัน ว่าวปักเป้าจะขึ้นอยู่ในแดนของตน ล่อหลอกให้ว่าวจุฬามาโฉบเพื่อจะลากพามายังดินแดนของตน โดยให้ว่าวปักเป้าติดตรงดอกจำปาที่ติดไว้ เมื่อติดแน่นดีแล้วว่าวจุฬาจะรีบลากรอกพามายังดินแดนของตน ขณะเดียวกันว่าวปักเป้าก็จะพยายามใช้เหนียงที่เป็นเชือกป่านคล้องตัวว่าวจุฬาให้เสียสมดุลและชักลากดึงให้ตกลงมายังดินแดนของตน ในการเล่นว่าวจุฬาลากพาว่าวปักเป้าเข้ามาทีละตัวหรือหลายตัวก็ได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างนำคู่แข่งขันมาตกยังดินแดนของตนเองได้ ก็ถือว่าเป็นฝ่ายชนะแต่ถ้าขณะชักลากพามา ว่าวปักเป้าขาดลอยไปได้ถือว่าไม่มีฝ่ายใดได้คะแนน

โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นว่าวต้องอาศัยกระแสลมเป็นสำคัญ กระแสลมที่แน่นอนจะช่วยให้เล่นว่าวได้สนุก จึงมักจะเล่นกันในราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ซึ่งถึงว่าเป็นช่วงที่ลมพัดแรงกระแสลมสม่ำเสมอที่เราเรียกกันว่า "ลมว่าว"



คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การแข่งขันว่าวเป็นกีฬาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความสามารถของผู้ทำว่าวและผู้ชักว่าวเป็นอย่างมากต้องใช้ความประณีต ความแข็งแรง ความมีไหวพริบ และข้อสำคัญต้องอาศัยความพร้อมเพรียงด้วย
นอกจากนั้น ได้มีการนำลักษณะของว่าวมาใช้พูดเป็นสำนวนเพื่อเปรียบเทียบกับคน เช่น "ว่าวขาดลอย" หมายถึง การเคว้งคว้างไร้ที่ยึดเหนี่ยว "ว่าวติดลม" หมายถึง ว่าวที่ลอยกินลมอยู่กลางอากาศ (สำนวน) เพลินจนลืมตัว 

ที่มา//webboard.sanook.com/forum/index.php?topic=3492671




Create Date : 09 มิถุนายน 2555
Last Update : 9 มิถุนายน 2555 19:54:17 น. 0 comments
Counter : 3792 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]