ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

มะเร็งปากมดลูก ตรวจง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง

มะเร็งปากมดลูก
       มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่มีความสำคัญในผู้หญิงไทย เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกนั้นพบมากเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย รองมาจากมะเร็งเต้านม แต่มะเร็งปากมดลูกยังคงเป็นสาเหตุการตายจากมะเร็งในผู้หญิงไทยมากที่สุด ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติ องค์การอนามัยโลกระบุว่า ในแต่ละปีจะมีผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกประมาณ 10,000 คน หรือวันละ 27 คน โดยร้อยละ 80 ของมะเร็งปากมดลูกพบในผู้หญิงช่วงอายุ 30-60 ปี ในแต่ละปีมีผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ 5,200 คน หรือเฉลี่ยวันละ 14 คน  ทั้งๆ ที่มะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นมะเร็งที่ป้องกันได้ 

มะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( HPV ) จากการมีเพศสัมพันธ์ ผู้หญิงกว่าร้อยละ 50-80 เคยติดเชื้อนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แต่ร้อยละ 90 ของการติดเชื้อนั้น ร่างกายสามารถกำจัดเองได้ด้วยระบบภูมิคุ้มกัน  มีเพียงส่วนน้อย คือ ประมาณร้อยละ 10 จะกลายเป็นการติดเชื้อแบบฝังแน่นต่อไป ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์บริเวณปากมดลูกไปเป็นมะเร็งในที่สุด   ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ HPV จนกระทั่งเป็นมะเร็งนั้นมักกินเวลานาน โดยจะมีช่วงเวลา 5-10 ปีที่เกิดเป็นความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งระยะนี้จะไม่มีอาการจนกว่าจะกลายเป็นมะเร็งลุกลาม  และ เราจะทราบว่าอยู่ในระยะที่มีความผิดปกติก่อนเป็นมะเร็งได้ก็ต่อเมื่อไปตรวจคัดกรองเท่านั้น ดังนั้นหากตรวจพบก่อน จะสามารถรักษาได้ง่าย มีโอกาสหายจากโรค และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเมื่อเป็นโรคแล้ว 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย วิธีแพปสเมียร์ (Pap smear) แม้จะเป็นที่ยอมรับและมีประสิทธิภาพ แต่มีข้อจำกัดคือ ผู้หญิงมักจะปฏิเสธการตรวจ เนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะเขินอาย กลัวหมอ กลัวเจ็บ ที่ต้องไปพบแพทย์และขึ้นขาหยั่ง และยังมีบางส่วนไม่ไปตรวจเพราะไม่มีเวลาอันเนื่องจากการประกอบอาชีพการงานที่เร่งรีบ โดยเฉพาะการใช้ชีวิตของคนในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพ จึงพลาดโอกาสในการตรวจคัดกรองอย่างน่าเสียดาย นั่นเป็นสาเหตุที่ผู้หญิงไทยยังถูกคุกคามจากมะเร็งปากมดลูกและเสียชีวิตในอัตราที่สูง

มะเร็งปากมดลูก

แนวทางใหม่ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คือ การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่เป็นตัวก่อการ โดยอาศัยหลักการว่า  “ถ้าไม่มีเชื้อไวรัสเอชพีวี จะไม่เป็นมะเร็งปากมดลูก” (no HPV, no cervical cancer) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและมีความไวสูง ถ้าตรวจไม่พบเชื้อ HPV จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกน้อยมาก และสามารถเว้นระยะห่างของการตรวจได้นาน 3-5 ปี นอกจากนั้นถ้ามีความผิดปกติในระยะก่อนมะเร็ง การตรวจมักจะให้ผลบวกเพราะการตรวจมีความไวในการตรวจหารอยโรคก่อนเป็นมะเร็งสูงถึงร้อยละ 95-100  

ปัจจุบัน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุด ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่เป็นตัวก่อการ โดยผู้หญิงจะใช้อุปกรณ์สำหรับเก็บตัวอย่างซึ่งมีหลายแบบ แบบที่เป็นที่มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับได้แก่ แปรงเก็บตัวอย่างที่ออกแบบมาพิเศษเก็บตัวอย่างเซลล์ในช่องคลอดด้วยตนเองที่บ้าน หรืออุปกรณ์สำหรับเก็บตัวอย่างที่อาศัยของเหลวร่วมด้วยในการเก็บตัวอย่าง แล้วส่งไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือศูนย์ตรวจทางการแพทย์ด้วยชุดตรวจหาดีเอ็นเอของไวรัสเอชพีวี และจะทราบผลตรวจภายใน  7-10 วัน

แปรงเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง มีลักษณะขนแปรงที่นุ่มเหมือนกับแปรงที่แพทย์ใช้ทั่วไป  แต่อุปกรณ์นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ผู้หญิงสามารถใช้เองที่บ้านเพื่อคงความเป็นส่วนตัวของผู้หญิง  เป็นมิตรกับช่องคลอด  ใช้ง่ายตามคำแนะนำในคู่มือ มีขนาดเล็กสอดใส่ได้ง่าย มีระยะการสอดใส่ที่แน่นอนเพื่อป้องกันการบาดเจ็บในช่องคลอด  ปราศจากการเจ็บปวดหรือสิ่งแปลกปลอมตกค้าง ผ่านการประเมินความพึงพอใจของผู้หญิงในระดับสูง   และคงไว้ซึ่งความถูกต้องและความน่าเชื่อถือทางการแพทย์เช่นเดียวกับที่แพทย์ใช้อุปกรณ์มาตรฐานเก็บให้เอง เป็นอุปกรณ์ที่ปลอดเชื้อ (sterile)  มีความปลอดภัยในการใช้สูง  เนื่องจากหัวใจของการพัฒนาอุปกรณ์ คือ “มาตรฐานทางการแพทย์  ความปลอดภัยและความพึงพอใจของผู้หญิง”

Ichecktest

ผู้หญิงกว่าร้อยละ 90 จะมีผลการตรวจเป็นลบ หรือตรวจไม่พบไวรัสเอชพีวีตัวก่อการ จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งน้อยมาก สามารถเว้นการตรวจได้ 3-5 ปี  มีเพียงส่วนน้อยคือประมาณร้อยละ 10 จะมีผลการตรวจเป็นบวก หรือตรวจพบไวรัสเอชพีวีตัวก่อการ  การมีผลบวกนี้ยังไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นมะเร็ง  แต่หมายความว่าคุณเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง และจะต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อขอรับการตรวจอย่างละเอียดเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกตามมาตรฐานทางการแพทย์ โดยการซักประวัติค้นหาความเสี่ยงต่างๆ  ตรวจร่างกายและตรวจภายใน การตรวจแพปสเมียร์ หาเซลล์ผิดปกติที่บ่งบอกว่าเป็นมะเร็ง หรือการส่องกล้องขยายเพื่อค้นหารอยโรคที่ปากมดลูกและตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกไปตรวจทางพยาธิวิทยา ตามดุลยพินิจของแพทย์  และอาจช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ เช่น มดลูก หรือรังไข่ได้ 

ดังนั้นผู้หญิงที่ตรวจด้วยวิธีนี้แล้วให้ผลเป็นบวก จึงควรไปพบสูตินรีแพทย์ หรือสูตินรีแพทย์มะเร็งนรีเวช  เพื่อตรวจภายในและค้นหามะเร็งปากมดลูกอย่างละเอียด  หากตรวจพบความผิดปกติหรือมะเร็งแรกเริ่ม แพทย์จะวางแผนการรักษา เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งลุกลามต่อไป การตรวจด้วยวิธีนี้มีการยอมรับและใช้ในต่างประเทศมาแล้ว  ดังนั้นวิธีดังกล่าวจึงเป็นทางเลือกให้กับผู้หญิงไทย อายุ 30 ปีขึ้นไปที่ไม่เคยตรวจคัดกรองมาก่อน หรือไม่สามารถไปตรวจได้อย่างสม่ำเสมอ วิธีนี้จะเป็นช่องทางที่ผู้หญิงเข้าถึงได้ง่าย มีค่าใช้จ่ายน้อย ช่วยให้ผู้หญิงไทยก้าวพ้นอุปสรรคความกลัวและความอายได้ เนื่องจากทำเองได้ที่บ้าน จึงยังรักษาความเป็นส่วนตัวไว้ได้ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง จะช่วยค้นหาผู้หญิงกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก ให้มาพบสูตินรีแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด เพื่อทำการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์ เพื่อหยุดยั้งก่อนเป็นมะเร็งรุกลามต่อไป หากพบความผิดปกติ

วิธีใช้ชุดทดสอบที่บ้าน

มะเร็งปากมดลูก1.ล้างมือให้สะอาด

มะเร็งปากมดลูก

2.นำแปรงออกมา ห้ามทิ้งกล่องเพราะจำเป็นต้องใช้ในการส่งแปรงไปยังห้องแลป

มะเร็งปากมดลูก

3.กดที่ด้านข้างของฝาครอบด้วย นิ้วโป้งและนิ้วชี้ เพื่อนำฝาครอบสีชมพูออกมา

มะเร็งปากมดลูก

4.ระวังอย่าให้มือสัมผัสขนแปรงสีขาว

มะเร็งปากมดลูก

5. ทำการเก็บตัวอย่างเซลล์ในท่ายืน ยืนในท่าที่ผ่อนคลาย (เช่นเดียวกับตอนที่คุณจะสอดผ้าอนามัยแบบสอด)

มะเร็งปากมดลูก

6. สอดแปรงเข้าไปในช่องคลอดจนส่วนปีกที่ยื่นออกมาของกระบอกชนกับริมนอกอวัยวะเพศของคุณ (ระยะสอดประมาณ 4 เซนติเมตร)

มะเร็งปากมดลูก

7.จับกระบอกหุ้มใสด้วยมือข้างหนึ่ง และใช้มืออีกข้างดันที่ปุ่มจับท้ายกระบอกผ่านกระบอกหุ้มใส คุณจะได้ยินเสียงและรู้สึกได้ถึงการคลิกลงล็อค เมื่อแปรงเข้าไปในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยปุ่มจับสีชมพูจะมาชนกับท้ายกระบอกหุ้มใส

มะเร็งปากมดลูก

8.หมุนที่ปุ่มจับท้ายกระบอกในทิศทางเดียวกัน 5 รอบ เมื่อหมุนจนครบในแต่ละรอบ คุณจะได้ยินเสียงคลิกลงล็อค ซึ่งจะช่วยคุณนับรอบได้ง่ายขึ้น หลังจากที่หมุนจับท้ายกระบอกจนครบ 5 รอบ แล้วนำแปรงออกมาอย่างระมัดระวังมะเร็งปากมดลูก

9. ใช้มือข้างหนึ่งจับยึดกระบอกหุ้มใสไว้ แล้วใช้มืออีกข้างดึงที่จับท้ายกระบอก จนกว่าส่วนแปรงสีขาวหายเข้าไปในกระบอกหุ้มใส ห้ามสัมผัสส่วนด้านบนเหนือปีกที่ยื่นออกมาของแปรง

มะเร็งปากมดลูก

10.ยึดปลายส่วนที่โปร่งใสไว้เพื่อให้แน่ใจว่าส่วนพู่แปรงสีขาวไม่ยื่นออกมาอีก นำฝาครอบมาครอบบนแปรง โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้ง คุณจะได้ยินเสียงลงล๊อคเมื่อฝาครอบอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

มะเร็งปากมดลูก

สุดท้าย นำแปรงกลับไปใส่ในบรรจุภัณฑ์ แล้วเขียนข้อมูลให้เรียบร้อยครบถ้วน นำแปรงที่เก็บตัวอย่างเซลล์แล้ว ใส่ลงในซองพลาสติกปิดผนึกซองพลาสติกให้แน่น ใส่ลงในกล่องพัสดุเพื่อเตรียมส่งที่ไปรษณีย์ใกล้บ้าน


//women.mthai.com/health/148864.html




Create Date : 04 กันยายน 2556
Last Update : 4 กันยายน 2556 22:57:50 น. 0 comments
Counter : 2054 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]