Rational Investment
Group Blog
 
All Blogs
 

ความเห็นของผมเกี่ยวกับ Beta (β)

Beta (β) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความผันผวนของผลตอบแทนของหลักทรัพย์เทียบกับผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ ดังหากหลักทรัพย์ยิ่งมาความผันผวนมาก ก็จะยิ่งมาค่า Beta มาก ซึ่งความถึงหลักทรัพย์ตัวนี้มีความเสี่ยงมาก
และเนื่องจากการคำนวณ Beta นั้นจะใช้ความแปรปรวนที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ทั้งขึ้นและลง ซึ่งในการลงทุนนั้น นักลงทุนจะกังวลว่าราคาหลักทรัพย์จะลงมากกว่า จึงมีนักการเงินบางกลุ่มเห็นว่า ความใช้เพียงการผันผวนของราคาที่ลดลงเท่านั้นในการคำนวณ Beta ซึ่งเรียกทฤษฎีนี้ว่า Semi Variance
หากเรามองเพียงผิวเผินอาจคิดว่าวิธีนี้ดูมีเหตุผล แต่จากความเห็นของผมแล้วการคำนวณความเสี่ยงวิธีนี้ เป็นวิธีที่ไม่มีเหตุผลเลย “ทำไมผมจึงคิดเช่นนั้น”
เรามาลองคิดดูว่า การซื้อหลักทรัพย์ A ที่ราคา 10 บาท กับการซื้อที่ราคา 5 บาท อันไหนมีความเสี่ยงมากกว่ากัน โดยมีสมมติฐานว่า ปัจจัยอื่นๆเหมือนเดิม แน่นนอน คำตอบของผมคือ “ที่ราคา 10 บาทมีความเสี่ยงสูงกว่า”แต่ถ้ากรณีนี้ ราคาตอนแรกของหลักทรัพย์ A ค่อนข้างคงที่ ที่ราคา 10 มาโดยตลอด จากนั้นราคาตกลงมาที่ 5 บาท ถ้าเราใช้ Beta ในการคำนวณความเสี่ยงจะพบว่า หลักทรัพย์ A ที่ 5 บาท มีความเสี่ยงมากกว่าที่ 10 บาท
ลองคิดดูสิว่า หากเราใช้ทฤษฎี Beta ในการตัดสินใจลงทุนละก็ เราอาจซื้อหลักทรัพย์ A ที่ราคา 10 บาท เนื่องจากมันมีความเสี่ยงต่ำ และเราจะขายมันออกไปในราคา 5 บาท เนื่องจากมันมีความเสี่ยงที่สูงขึ้น ผลก็คือ การขาดทุน 50%
หากเราลองพิจารณาดูดีๆแล้ว จะพบว่า การที่ราคาหลักทรัพย์สูงขึ้น หลักทรัพย์นั้นจะมีความเสี่ยงที่สูงขึ้น และการที่หลักทรัพย์มีราคาลดลง จะทำความเสี่ยงลดลงไปด้วย
ซึ่งผมคิดว่าการที่มุมมองเรื่องความเสี่ยงของผมกับทฤษฎี Beta แตกต่างกัน น่าจะมาจากมุมมองของความเสี่ยงที่แตกต่างกัน โดยทางทฤษฎี Beta มองว่าเสี่ยงเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงราคาในปัจจุบัน (กรณี Semi Varian เป็นผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน) แต่ในมุมมองของผมนั้น ความเสี่ยงคือโอกาสที่เราจะกำไรลดลงหรือขาดทุนในอนาคต
ดังนั้นหากให้ปัจจัยอื่นคงที่แล้ว ความเสี่ยงน่าจะมาจาก ความผันผวนในด้านที่ราคาหลักทรัพย์สูงขึ้นเท่านั้น เนื่องจากหากราคายิ่งขึ้นไปสูงมากเท่าไหร่ โดยปัจจัยพื้นฐานบริษัทเหมือนเดิม โอกาสที่ราคาหลักทรัพย์จะลงยิ่งสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับคำพูดของ Buffet ที่ว่า”จงกลัวในเวลาที่คนอื่นกำลังโลภ และจงโลภในขณะที่คนอื่นกำลังกลัว” แต่หากจะนำทฤษฎีนี้ไปใช้จริงละก็ ควรพิจารณาผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปด้วย




 

Create Date : 01 มีนาคม 2553    
Last Update : 1 มีนาคม 2553 14:23:21 น.
Counter : 907 Pageviews.  

ซื้อถัวฉลี่ย VS Cut Loss

หากลองศึกษากลยุท์การลงทุนในหุ้น จะพบว่ามีกลยุทธ์อยู่มากมาย ซึ่งบางครั้งกลยุทธ์เหล่านั้นก็เกิดการขัดแย้งกันเอง เช่น กลยุทธ์การซื้อถัวเฉลี่ย กับ กลยุทธ์การ Cut Loss
โดยกลยุทธ์การซื้อถัวเฉลี่ย เป็นการซื้อหุ้นเพิ่ม เมื่อหุ้นที่เราถือมีราคาถูกลง ส่วนกลยุทธ์การ Cut Loss เป็นการขายหุ้นเมื่อหุ้นมีราคาถูกลง แล้วเราจะเลือกใช้วิธีไหนดี เราลองมาใช้ตรรกะและเหตุผลตอบคำถามเหล่านี้ดูนะครับ
สมมติ หุ้น ก จ่ายผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ ที่ 1 บาทต่อปีทุกปี และเราต้องการผลตอบแทนที่ 10% ต่อปี จึงตัดสินใจซื้อหุ้นที่ราคา 10 บาท ต่อมาราคาหุ้นได้ลดลงไปที่ 8 บาท โดยปัจจัยพื้นฐานบริษัทแลปันผลยังคงเดิมที่ 1 บาทต่อปี เราควรทำอย่างไรที่ราคาหุ้น 8 บาท ซื้อถัวเฉลี่ย หรือ Cut Loss
หากเราใช้กลยุทธ์การซื้อถัวเฉลี่ย เราจะซื้อหุ้นเพิ่มที่ราคา 8 บาท โดยยังคงได้ปันผลที่ 1 บาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นผลตอบแทน 12.5% เนื่องจาก เราต้องการผลตอบแทนที่ 10% แต่ตอนนี้หุ้นตัวนี้ให้ผลตอบแทนที่ 12.5% หุ้นตัวนี้จึงน่าซื้อมากขึ้น
แต่ถ้าเราใช้กลยุทธ Cut Loss เราจะขายหุ้นทิ้งที่ราคา 8 บาท ทั้งๆที่ครั้งแรกเราซื้อโดยหวังผลตอบแทนที่ 10% แต่ตอนนี้หุ้น ก ให้ผลตอบแทน 12.5% เรากลับไม่ซื้อ ซ้ำยังขายหุ้นที่ให้ผลตอบแทน 12.5% ซะเอง
จะเห็นได้ว่าหากเราวิเคราะห์ด้วยตรรกะและเหตุผลแล้ว จะพบว่า กลยุทธการ Cut Loss นั้น ดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลนัก แต่กลยุทธ์ก็เกิดขึ้นจากความโลภของคนที่คาดหวังว่าตนเองจะสามารถซื้อหุ้นได้ที่ราคาต่ำสุด ซึ่งหากเราลองวิเคราะห์ดูจะรู้ว่าไม่มีใครที่จะรู้ได้ว่าหุ้นจะลงไปต่ำสุดที่เท่าไหร่
ดังนั้นการซื้อถัวเฉลี่ยจึงเป็นวิธีการที่ดูมีเหตุผลมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามคำถามข้างต้นนั้นมีสมมติฐานที่สำคัญที่ว่า ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจต้องไม่เปลี่ยนแปลง หรืออาจเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงชั่วคราวเท่านั้น
กล่าวโดยสรุป โดยปกติแล้วเราควรเลือกใช้กลยุท์การซื้อถัวเฉลี่ย เนื่องจากเราไม่มีทางรู้ว่าหุ้นจะต่ำสุดที่เท่าไหร่ แต่ในกรณีที่หุ้นลงและเราวิเคราะห์แล้วว่าปัจจัยพื้นฐานบริษัทเปลี่ยนแปลงไปถาวร เช่น การที่คนหมดความนิยมสินค้าของบริษัทแล้ว เราก็ควรใช้วิธี Cut Loss




 

Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 1 มีนาคม 2553 13:38:58 น.
Counter : 923 Pageviews.  

อย่าถาม “หุ้นจะลงอีกกี่จุด”

“หุ้นจะลงอีกกี่จุด” คำถามที่ได้ยินบ่อยๆโดยเฉพาะหุ้นขาลง ซึ่งผู้ตอบคำถามนี้มักจะเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ โดยส่วนใหญ่ก็ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการตอบคำถาม
หากลองวิเคราะห์ดีๆแล้วคำถามนี้เป็นคำถามที่ควรหรือไม่? ซึ่งสามารถทดสอบ โดยตอบคำถามเหล่านี้
1. ใครที่รู้บ้างว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น หรือรู้ว่าหุ้นจะลงอีกกี่จุดถึงจะต่ำสุด
2. ถ้ามีคนรู้ว่าหุ้นจะลงไปต่ำสุดที่เท่าไหร่ คนๆนั้น จะมาเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ คอยบอกคนอื่นว่าหุ้นจะลงไปต่ำสุดที่เท่าไหร่โดยที่ตนเองซื้อหุ้นไม่ได้ (เนื่องจากมีช่วงเวลากำหนดนักวิเคราะห์ห้ามซื้อหุ้นที่ตนเองวิเคราะห์ก่อนและหลังออกบทวิเคราะห์ รวมทั้งต้องเปิดเผยการซื้อขายหุ้นของตนเองกับ กลต.) หรือ มานั่งเล่นหุ้นเองอย่างสบายใจไม่ต้องยุ่งกับกฎต่างๆมากมาย
สำหรับผมแล้ว คำตอบของทั้งสองข้อคือ ไม่มีใครรู้ว่าหุ้นจะต่ำสุดที่เท่าไหร่ หรือถ้ารู้คนๆนั้นคงไม่มีทางมาทำงานเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์แน่
หากผู้อ่านเห็นกับผมว่าเราไม่รู้ว่าหุ้นจะลงไปต่ำสุดที่เท่าไหร่ และก็คิดว่าคงไม่มีใครที่จะรู้คำตอบนี้ ผมมีคำถามที่ควรถามมากกว่าสำหรับเราในตอนนี้ นั่นคือ “เราจะทำอย่างไรเมื่อเราไม่รู้ว่าหุ้นจะลงไปอีกกี่จุด”
คำตอบก็คือ เราควรมีการกระจายความเสี่ยง โดยการแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ เช่น ถ้าเราคิดจะซื้อหุ้น PTT ที่ 250 บาท โดยวางแผนที่จะซื้อเป็นเงิน 1,000,000 บาท เราอาจแบ่งเงินเป็น 2 ก้อนเท่าๆกัน โดยก้อนแรกซื้อที่ 250 บาท และก้อนที่สองซื้อ ที่ 220 บาท เป็นต้น จริงๆแล้วจำนวนเงินแต่ละก้อนที่จะแบ่ง จำนวนก้อนที่จะแบ่ง และราคาที่จะซื้อเพิ่ม ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ โดยหากรับความเสี่ยงได้น้อย ควรแบ่งเงินก้อนหลังให้มากกว่าก้อนก่อนหน้า เป็นหลายๆ ก้อน หรือใช้ช่วงห่างของราคาหุ้นที่สูง ซึ่งจะทำให้เราได้ต้นทุนถัวเฉลี่ยที่ต่ำ
ข้อควรระวัง นักลงทุนหลายคนใช้วิธีถัวเฉลี่ยโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า โดยตอนซื้อหุ้นไม่ได้วางแผนแบ่งเงินเอาไว้ แต่ซื้อหุ้นเพิ่มเนื่องจากหุ้นที่ถือมีราคาลดลง ซึ่งคนกลุ่มนี้มักจะซื้อเพิ่มในจำนวนเงินที่น้อยกว่าการซื้อครั้งแรก เนื่องจากไม่ได้มีการเผื่อเงินส่วนนี้ไว้ ทำให้ต้นทุนลดลงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
จากข้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่าไม่มีประโยชน์เลยที่เราจะถามว่า “หุ้นจะลงไปอีกกี่จุด” เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้ แต่หากเราตั้งคำถามว่า “เราจะทำอย่างไรเมื่อไม่รู้ว่าหุ้นจะลงไปอีกเท่าไหร่” ผมคิดว่าคำตอบของคำถามนี้จะนำเราไปสู่ความสำเร็จของการลงทุน




 

Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2553 12:59:37 น.
Counter : 550 Pageviews.  

”การลงทุนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์” ??

”การลงทุนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์” คำพูดที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
ศาสตร์ หมายถึง วิชาความรู้ที่มีแบบแผนที่แน่นอน เช่น การวิเคราะห์งบการเงิน การใช้เครื่องมือทางเทคนิคต่างๆ ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้
ศิลป์ ผมขอแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ การจินตนาการ และถ่ายทอด ซึ่งอาจออกมาในรูปของการพูด การวาด การแกะสลัก หรืออื่นๆ สิ่งอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่เฉพาะบุคคล อาจเป็นพรสวรรค์ และยากที่จะลอกเลียนแบบ และเข้าใจ ดังนั้นศิลป์จึงเป็นสิ่งที่ใช่ว่าทุกคนจะเรียนรู้ได้
จากนิยามข้างต้นแสดงว่า แม้ว่าเราทุ่มเทเรียนรู้วิธีการลงทุนมากมายแค่ไหน ถ้าเราเป็นคนที่ไม่มีศิลป์เราก็จะไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุน?
ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยล้มเหลวในการลงทุนในหุ้น แม้จะอ่านหนังสือมากหลายสิบเล่มแล้วก็ตาม และเริ่มที่จะยอมรับว่าผมคงจะไม่มีศิลป์ทางด้านนี้ จนผมได้พบกับคนๆหนึ่งที่ทำกำไรได้อย่างมากจากการลงทุนในหุ้น และผมก็ได้มีโอกาสศึกษาวิธีการลงทุนนี้ ทำให้ได้ข้อสรุปว่า แท้จริงแล้ว”การลงทุนเป็นเรื่องของศาสตร์และเหตุผล” เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นผมจึงยกตัวอย่างดังนี้
การที่หุ้นขึ้นไปสูงมาก ทั้งที่ธุรกิจของบริษัทขาดทุนทุกปีและไม่มีแนวโน้มว่าอนาคตจะดีขึ้น แต่ก็มีคนจำนวนมากเข้าไปซื้อ ทั้งๆที่ตามเหตุผลแล้วไม่ควรซื้อ หุ้นอย่างเช่น LIVE ซึ่งขึ้นไปที่ราคา 5.05 บาท และปัจจุบัน (9/11/52) อยู่ที่ 0.13 บาท ทำให้คุณรอดพ้นการขาดทุนครั้งใหญ่
ราคาหุ้นลงมาต่ำมาก ทั้งๆที่ผลประกอบการของบริษัทแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่คนส่วนใหญ่กลับขาย เหตุผลนี้ทำให้ไม่พลาดที่จะซื้อ LPN ที่ขึ้นจากราคา 1.59 บาท ไป 7.50 บาท ในเวลาไม่ถึง 10 เดือน
โอกาสที่หุ้นจะขึ้นใน 1 ปี ย่อมมีมากกว่าโอกาสที่หุ้นจะขึ้นใน 1 วัน ตรรกะง่ายๆนี้ ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในระยะยาวย่อมมีโอกาสที่จะกำไรมากกว่าการซื้อขายรายวัน ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีการวิจัยแล้วว่า ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนระยะสั้น
ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีที่ผ่านมา ผมได้ยินนักเคราะห์ รวมถึงมาร์เก็ตติ้งรายคนแนะนำว่า “ช่วงนี้ต้องถือเงินสด” นั่นเพราะความกลัว ที่ราคาหุ้นตก และความโลภที่คิดว่าตัวเองจะสามารถซื้อหุ้นที่ราคาต่ำสุดได้
แน่นนอนนักลงทุนทุกคนอยากซื้อหุ้นตอนที่ราคาต่ำสุด แต่ในความเป็นจริงนักลงทุนส่วนใหญ่กลับซื้อหุ้นในช่วงเศรษฐกิจดีและราคาหุ้นขึ้นสูง หลักฐานคือ วอร์ลุ่มการซื้อขายในช่วง 3/9/52-13/10/52 ซึ่งวอร์ลุ่มการซื้อขายถัวเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ประมาณ 26 พันล้านบาท และวอร์ลุ่มช่วง 24/2/52-1/4/52 วอร์ลุ่มการซื้อขายถัวเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 7.6 พันล้านบาท
นักลงทุนที่มีเหตุผล อย่าง วอร์เรน บัฟเฟ็ตต์ เข้าซื้อหุ้นทั้งๆที่เป็นช่วงที่เศรษฐกิจแย่มาก และยังกล่าวว่า “นี่เป็นโอกาสที่ผมรอมากว่า 10 ปี” ซึ่งที่ผมรู้ยังมีนักลงทุนบางกลุ่มถึงกับเปิดบัญชีมาร์จิ้น เพื่อซื้อหุ้นเลยทีเดียว เหตุผลที่ตัดสินใจนั้นง่ายมาก “ไม่มีทางที่เศรษฐกิจจะแย่ไปตลอด”
เหตุผลข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างการใช้เหตุผลในการตัดสินใจลงทุนในหุ้น ซึ่งถ้าเราฝึกที่จะใช้เหตุผลในการลงทุน จะทำให้เรารอดพ้นกับการขาดทุนในหลายๆสถานการณ์ รวมทั้งยังเห็นโอกาสในการเข้าลงทุน จากตลาดที่เต็มไปด้วยความรู้สึกและอารมณ์ ซึ่งหากพิจารณาเหตุต่างๆเหล่านี้แล้ว จะพบเป็นเพียงตรรกะและเหตุผลง่ายๆทั้งนั้น
การฝึกที่จะใช้เหตุนั้นอาจยากสำหรับบางคน เพราะคนเรามักจะขาดสติและตัดสินใจโดยใช้อารมณ์และความรู้สึก แต่แน่นอนทุกคนสามารถฝึกฝนที่จะใช้เหตุผลในการลงทุนได้ และเมื่อเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ คำว่าการลงทุนในหุ้นนั้นจะไม่ใช่เรื่องของศาสตร์และศิลป์อีกต่อไป แต่ ”การลงทุนเป็นเรื่องของศาสตร์และเหตุผล”




 

Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2553 22:35:15 น.
Counter : 816 Pageviews.  

1  2  3  

yagle
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




http://th-th.facebook.com/Finance.Delivery
Friends' blogs
[Add yagle's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.