veritas lux mea = Truth enlightens me
Group Blog
 
All blogs
 
life as a physics student

life as a physics student

เอกฟิสิกส์ ชีวิตและการเรียน ในคณะวิทยาศาสตร์ เอกฟิสิกส์

อืม รู้สึกว่าไม่ค่อยมีใครเขียนถึงเรื่องนี้เลยขอเขียนคร่าวๆหน่อยแล้วกัน บางอย่างก็อาจแต่งเติมเสริมให้ดูเป็นเด็กเรียนมากยิ่งขึ้น 555 เห็นมีหลายคนเขียนถึงว่าชีวิตนักศึกษาแพทย์เป็นอย่างไร เด็กเอกฟิสิกส์ไม่ยอมขอเขียนบ้างแล้วกัน

เข้ามาปีหนึ่งมีกิจกรรมรับน้องอาจจะหนักหน่อยเพราะกว่าจะถึงหอก็ค่ำแล้ว แล้วปีหนึ่งเทอมหนึ่งต้องเจออะไรใหม่ๆต้องปรับเปลี่ยนชีวิต ไม่ใช่เด็กมัธยมที่อาจจะอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน มาอยู่ที่หอมีอิสระมากยิ่งขึ้น ได้เจอเพื่อนใหม่ๆ อาจารย์ที่จบดอกเตอร์สาขาวิชาเฉพาะมีความรู้ลึก เข้มข้น เนือหาวิชาที่เรียนในปีหนึ่งจะหลากหลาย เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แลปฟิสิกส์เบื้องต้น แลปเคมีเบื้องต้น แลปชีวะเบื้องต้น แคลหนึ่ง ซึ่งวิชาแลปหน่วยกิจจะน้อยคือหนึ่งหน่วย แต่จะใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง ดังนั้นปีหนึ่งเทอมหนึ่งน่าจะเป็นเทอมที่จ่ายค่าเทอมหนักที่สุด และมีตารางเรียนมากที่สุดด้วย พอเทอมสองก็จะเป็นพวกแคลสอง ฟิสิกส์สอง เคมีสองเป็นต้น คือจะเป็นตัวต่อของวิชาที่เรียนมาในเทอมหนึ่งและวิชาอื่นๆที่ไม่ใช่ของคณะ เช่นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ข้อแนะนำคือตั้งใจเรียนไว้เพราะปีหนึ่งจะเป็นปีที่ถูกรีไทล์มากที่สุด ถ้าคิดว่าฟิสิกส์มิใช่ทางก็ควรจะออกไปตั้งแต่แรกจะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาทีหลัง คติพจน์คือ ถ้าคุณรักฟิสิกส์ แสดงว่าคุณยังไม่รู้จักมันดีพอ ให้แทนค่าในสูตรแบบมอปลายมันไม่ใช่ฟิสิกส์ที่แท้จริง คือมิใช่ประเด็นหลัก แต่พอให้รู้จักคร่าวๆเฉยๆ ดังนั้นก่อนจบปีหนึ่งขอให้ลองพิจารณาก่อนว่าเรียนเอกฟิสิกส์ไปทำไมและอยากจะเป็นอะไร ถ้าคำตอบยังไม่ชัดเจนก็อยากให้พิจารณาเสียก่อน ที่ให้พิจารณาตรงนี้เพราะคิดว่าการเลือกคณะตอนมอหกยังไม่เห็นอะไรเท่าไหร่แต่เมื่อได้เข้ามาเรียนหนึ่งปีแล้วน่าจะได้ทราบอะไรมากขึ้นและรู้ตัวว่าควรเดินหน้าต่อไปหรือหันหลังกลับ


ต่อมาปีสองก็เริ่มเรียนวิชาของภาคแล้วเช่น math for phy i, math for phy ii,thermo,wave,mechanics,e&m เป็นต้น แต่ก็ยังมีวิชานอกภาคอยู่บ้างเช่น ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา เป็นต้น ซึ่งบางคนอาจมีปัญหาเพราะยังไม่ผ่านวิชาในปีหนึ่งทำให้บางตัวอาจเรียนไม่ได้ ซึ่งทางแก้คือก่อนปีสองเทอมหนึ่งมีเรียนภาคฤดูร้อนให้ลงเรียนวิชาที่จำเป็นให้ผ่านเสียก่อน ปีสองนี้เริ่มเรียนวิชาภาคแล้ว วิชาที่เคยรวมๆอยู่ในฟิสิกส์หนึ่งและสองแต่ละบทแต่ละวิชาถูกแยกมาเป็นตัวๆ แต่ยังเป็น classical physics อยู่อ่านหนังสือทบทวนทำความเข้าใจได้ไม่ยากเท่าไหร่เพราะเหมือนวิชาฟิสิกส์หนึ่งและสองแต่รายละเอียดเพิ่มขึ้น ข้อสอบก็มักออกตามการบ้านและแบบทดสอบในห้องทำได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร


ต่อมาขึ้นปีสามแล้วทีนี้จะเริ่มเจอวิชาหนักๆเช่น qm ,em, electronics,modern physics โดยเฉพาะวิชาโมเดิน ซึ่งเป็นฟิสิกส์แผนใหม่ซึ่งบางอย่างก็พึ่งถูกค้นพบ ศึกษายังไม่ถึงร้อยปีเลย เราก็จะเจอแมวของชโรดิงเงอร์ ,double slit experiment แนวคิดที่อาจจะดูหลุดโลกขัดแย้งกับสามัญสำนึกใน qm สมการที่เยอะแยะ ได้เจอเทคบุคของ โกลสไตร์ กิฟฟิต เป็นต้น ซึ่งยากแน่นอนเพราะเป็น ตำราที่ใช้สอนกันในระดับบัณฑิตศึกษา ที่นี้เราจะรู้ตัวเราแล้วว่าชอบฟิสิกส์จริงหรือเปล่า ปีสามนี้ได้เริ่มทำแลปฟิสิกส์แบบจริงๆจังๆแล้ว อาจจะทำให้เราได้รู้อีกว่าเราชอบสายทฤษฎีหรือสายทดลอง ตอนเทอมสองเราจะได้เรียนเลือกคือไม่ใช่วิชาเอกบังคับเราสนใจตัวไหนก็ลงได้แต่เขาจะเปิดหรือเปล่าก็อีกเรื่องนึงนะจ๊ะ อย่างที่น่าสนใจก็เช่น relativity theory, mechanics ii,elementary particle physics

เรียนเร็วมากเลยแปปๆ มาปีสี่แระ ปีนี้วิชาก็จะน้อย มีเวลาว่างไปนั่งดริงค์เยอะ 55 มิใช่มีเวลาว่างไปนั่งอ่านหนังสือที่ห้องสมุดเยอะ ปีสี่ก็จะเรียนวิชาแลปฟิสิกส์ตัวสุดท้าย วิชาเอกบังคับก็มีพวก nuclear physics, solid state physics เป็นต้นแล้วก็มีเอกเลือกให้เรียนอีก ใครยังไม่ได้เรียนวิชาเอกเลือกเสรีคือวิชาอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่วิชาของเอกก็ไปเรียนให้ครบ ตามเพื่อน ตามความรัก ความชอบหรือเป็นวิชาช่วยดึงเกรดก็แล้วแต่เลย จะได้ไปส่องสาวคณะอื่นบ้างรู้บ้างว่าโลกภายนอกเขาเป็นเยี่ยงไร 555 กลับมาวิชาในภาคต่อ เทอมแรกก็จะมีวิชา seminar วิชานี้ก็ไปหาเปเปอร์มา ปีนี้เรากได้รู้จักเรื่องของวารสารวิชาการ รู้จักพวกคำว่า arxiv,amercan journal of physics, sciencedirect รู้จัก ค่า IF การค้นหาข้อมูล งานวิจัยโดยใช้อินเตอร์เนต ในวิชาseminar ยังไม่ยากเท่าไหร่คือให้ไปหางานวิจัยที่เราสนใจ มาดู ทำความเข้าใจและก็ทำจุดอิทธิฤทธิ์ หรือพาวเวอร์พ้อยนั่นเอง ถ้าอยากเก๋ก็ใช้ latex จะดูเป็นนักวิทย์มือโปร เพราะมันเขียนสมการได้สวยมากๆ แต่มันไม่ใช่แบบ wysiwyg นะต้องเขียนเป็นโค้ดอาจจะยากนิดนึงแล้วก็นำไปเสนอหน้าชั้นโดยอธิบายเรื่องราวต่างๆในเปเปอร์ให้คณะกรรมการฟังเสร็จแล้วก็จะมีกรรมการมาซักถามคำถามเราก็พยายามตอบ ถ้าเราเข้าใจเปเปอร์เราก็จะสามารถตอบคำถามต่างๆได้อย่างสบายใจ แต่ถ้าไม่เข้าใจเปเปอร์จริงๆหล่ะ ก็อาจถึงคราวเคราะห์

เขียนเป็นอีกย่อหน้าหนึ่งเลยดีกว่าต่อมาเทอมสองจะจบแล้วก็จะต้องมีมีชา project วิชานี้แหละ คิดว่ายากที่สุดของเอกแล้ว เป็นการประมวลว่าเราที่เรียนมามีความรู้อะไรในหัวบ้างหรือว่าไม่มีเลย 555 เราชอบอะไรอยากทำอะไร อยากโชว์เทพอะไรใส่ลงไปในวิชานี้ได้เลย มีดีต้องโชว์ ใช่ป่ะหล่ะ ก็ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำด้วย ทีนี้เรื่องที่เราทำนี่ส่วนใหญ่ก็มักเป็นเรื่องที่อาจารย์เลือกให้หรือเราอาจจะเลือกเองก็ได้ แต่ต้องถามอาจารย์ที่ปรึกษาด้วยว่าเขามีความเชี่ยวชาญด้านนี้หรือเปล่า ยากไปสำหรับระยะเวลาหรือเปล่าหรือง่ายไป ต้องหาจุดที่พอเหมาะ เสร็จลงมือทำค่อยๆทำ ตอนแรกก็หาเรื่องที่จะทำพอได้เรื่องแล้วก็อ่านเปเปอร์เก่าๆที่คล้ายๆกับเรื่องของเรา ศึกษา และก็ลงมือทำ พยายามค่อยๆทำไปเรื่อยๆไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาสัปดาห์ละครั้งหรือมากกว่า วางแผนดีๆ ทำเสร็จเรียบร้อยก็ทำรูปเล่ม แล้วก็ไปสอบแสดงผลงานอธิบายให้คณะกรรมการฟัง กรรมการซักถามคำถาม ตอบคำถาม เสร็จ จบ ได้มาแล้ว วทบ ฟิสิกส์ 555

แต่เดี๋ยวก่อน พอได้มาแล้วทำอะไรต่อดี ทำงาน เรียนต่อ พูดถึงทำงานก่อนก็มีทั้งตรงสายไม่ตรงสายส่วนมากที่จบกันไปก็ไม่เห็นมีใครทำงานตรงสายกันหรือเรียนต่อฟิสิกส์กันเท่าไหร่นัก แล้วคำถามที่ควรถามตั้งแต่แรกคือแล้วคุณจะมาเรียนทำไมฟิสิกส์ เรียนให้ยาก เรื่องที่เขียนมาถึงจะเขียนๆไม่ยาวนักแต่การเรียนจริงๆก็ใช้ความวิริยะและเวลาพอสมควร ดังนั้นจึงอยากให้คนที่จะเข้ามาเรียนฟังอีกครั้ง ถ้าอยากเป็นครูก็มีคณะครุศาสตร์ อยากทำสายสังคมก็มีคณะมนุษย์คณะสังคมให้เรียน

นี่ก็เป็นเรื่องราวคร่าวๆครับ



Create Date : 01 มกราคม 2556
Last Update : 1 มกราคม 2556 0:53:50 น. 0 comments
Counter : 2086 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Feynman
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Feynman's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.