เพื่อการศึกษาของเด็กไทย..by..ครูสุกุลปวีณ์..
Group Blog
 
All Blogs
 

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

แบบฝึกการอ่านคำที่มีตัวสะกดตามมาตราตัวสะกดภาษาไทย

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

และ

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน




จัดทำโดย

สุกุลปวีณ์ พูลทรัพย์

โรงเรียนเมืองพัทยา ๘ (พัทธยานุกูล)
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี





สารบัญ


ลำดับ เนื้อหา หน้า
1. คำแนะนำในการใช้แบบฝึก 3
2. แผนภูมิแสดงลำดับขั้นตอน 6
3. คำแนะนำสำหรับครู 7
4. คำแนะนำสำหรับนักเรียน 8
5. แบบฝึกชุดที่ 1 การอ่านคำที่ไม่มีตัวสะกด 9
6. แบบฝึกชุดที่ 2 การอ่านคำที่มี ก เป็นตัวสะกด 22
7. แบบฝึกชุดที่ 3 การอ่านคำที่มี ด เป็นตัวสะกด 36
8. แบบฝึกชุดที่ 4 การอ่านคำที่มี บ เป็นตัวสะกด 49
9. แบบฝึกชุดที่ 5 การอ่านคำที่มี ง เป็นตัวสะกด 62
10. แบบฝึกชุดที่ 6 การอ่านคำที่มี น เป็นตัวสะกด 75
11. แบบฝึกชุดที่ 7 การอ่านคำที่มี ม เป็นตัวสะกด 88
12. แบบฝึกชุดที่ 8 การอ่านคำที่มี ย เป็นตัวสะกด 101
13. แบบฝึกชุดที่ 9 การอ่านคำที่มี ว เป็นตัวสะกด 114
14. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
126



คำแนะนำในการใช้แบบฝึก
เรื่อง การอ่านคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

เนื้อหา ประกอบด้วยแบบฝึกการอ่านคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด ๙ ชุด ดังนี้

ชุดที่ ๑
การอ่านคำที่ไม่มีตัวสะกด แม่ ก กา
การอ่านแจกลูกคำ การอ่านเป็นคำ ความหมายของคำ

ชุดที่ ๒
การอ่านคำที่มี ก เป็นตัวสะกด
การอ่านแจกลูกคำ การอ่านเป็นคำ ความหมายของคำ

ชุดที่ ๓
การอ่านคำที่มี ด เป็นตัวสะกด
การอ่านแจกลูกคำ การอ่านเป็นคำ ความหมายของคำ

ชุดที่ ๔
การอ่านคำที่มี บ เป็นตัวสะกด
การอ่านแจกลูกคำ การอ่านเป็นคำ ความหมายของคำ

ชุดที่ ๕
การอ่านคำที่มี ง เป็นตัวสะกด
การอ่านแจกลูกคำ การอ่านเป็นคำ ความหมายของคำ

ชุดที่ ๖
การอ่านคำที่มี น เป็นตัวสะกด
การอ่านแจกลูกคำ การอ่านเป็นคำ ความหมายของคำ

ชุดที่ ๗
การอ่านคำที่มี ม เป็นตัวสะกด
การอ่านแจกลูกคำ การอ่านเป็นคำ ความหมายของคำ

ชุดที่ ๘
การอ่านคำที่มี ย เป็นตัวสะกด
การอ่านแจกลูกคำ การอ่านเป็นคำ ความหมายของคำ

ชุดที่ ๙
การอ่านคำที่มี ว เป็นตัวสะกด
การอ่านแจกลูกคำ การอ่านเป็นคำ ความหมายของคำ



ขั้นตอนแสดงลำดับขั้นตอน

การเรียนโดยใช้แบบฝึกการอ่านแจกลูกตามมาตราตัวสะกดภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒


1.ครูชี้แจงจุดประสงค์ของการเรียนโดยใช้แบบฝึก
2. นักเรียนไม่เข้าใจซักถามครู
3.ครูแจกแบบฝึกให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
4.นักเรียนฝึกและปฏิบัติกิจกรรม เสร็จแล้วรับบัตรเฉลย ตรวจเฉลยด้วยตนเอง
5.เมื่อฝึกครบในแต่ละชุดทำแบบทดสอบท้ายแบบฝึกจนครบ ๙ ชุด
6.ทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนด้วยแบบฝึกจนครบทุกชุด



คำแนะนำสำหรับครู

แบบฝึกสาระการเรียนรู้กลุ่มทักษะภาษาไทย
เรื่อง การอ่านคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๙ ชุด แต่ละชุดมีรายละเอียดดังนี้

๑. ความคิดรวบยอด
๒. จุดประสงค์การเรียนรู้
๓. เนื้อหา
๔. แบบฝึก
๕. แบบทดสอบท้ายแบบฝึก
๖. เนื้อหาในแบบฝึกแต่ละชุดเน้นให้นักเรียนได้ฝึกด้วยตนเอง ฝึกปฏบัติตามตัวอย่างและแบบทดสอบท้ายแบบฝึก



คำแนะนำสำหรับนักเรียน
การทำแบบฝึกสำหรับนักเรียนมีขั้นตอนดังนี้

เมื่อนักเรียนได้รับแบบฝึกแล้ว ให้อ่าน

 ชื่อแบบฝึก
 ความคิดรวบยอด
 จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา
 ระยะเวลาในการฝึก


 ศึกษาคำ ความหมายคำ สังเกตตัวสะกด
 แจกลูกคำและอ่านเป็นคำ ตามตัวอย่างด้วยตนเอง
 ฝึกปฏิบัติกิจกรรม

 เฉลยกิจกรรมด้วยความซื่อสัตย์
 ไม่เปิดดูคำตอบก่อนเฉลย หากไม่เข้าใจ ให้ปรึกษาครู

 เมื่อทำแบบฝึกแต่ละชุดจบ ให้ทำแบบทดสอบท้ายแบบฝึก
 ครูจะเป็นผู้ตรวจคำตอบ




แบบฝึกชุดที่ ๑
การอ่านคำที่ไม่มีตัวสะกด


แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๒
หน่วยที่ ๕ เรื่อง การอ่านคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด ภาคเรียนที่ ๑ โรงเรียนเมืองพัทยา ๘
แผนการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง การอ่านคำที่ไม่มีตัวสะกด ตามมาตรา แม่ ก กา จำนวน ๒ ชั่วโมง
สาระสำคัญ
คำในมาตราแม่ ก กา เป็นคำที่ไม่มีตัวสะกด เป็นคำพื้นฐานในการอ่านและการสะกดคำใน ภาษาไทย การอ่านคำที่ไม่มีตัวสะกดเป็นการฝึกความแม่นยำในการอ่านพยัญชนะ สระและ วรรณยุกต์ ในการอ่านคำที่ไม่มีตัวสะกดควรอ่านจากคำที่มีความหมาย แล้วจึงฝึกอ่าน แจกลูกคำต่อไป

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนสามารถอ่านแจกลูกคำในมาตราแม่ ก กาที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนสามารถจำแนกลักษณะของคำที่ไม่มีตัวสะกดจากกลุ่มคำที่กำหนดได้ถูกต้อง

สาระการเรียนรู้
การอ่านคำในมาตรา แม่ ก กา ที่มีความหมาย และสะกดแจกลูกคำในมาตรา แม่ ก กา โดยสะกดแจกลูกคำตามลำดับ ตามโครงสร้างดังนี้ พยัญชนะ+ สระ+วรรณยุกต์= คำ

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
๑. ครูให้นักเรียนฟังเพลงสระ อะ และ อา แล้วให้นักเรียนฝึกร้องเพลงสระ อะ และ อา นักเรียน
ช่วยกันคิดสระอื่นๆที่นักเรียนรู้จักพร้อมทั้งบอกลักษณะของ สระว่า มี เสียงสั้นหรือ ยาวและเขียนไว้ในตำแหน่งใดของพยัญชนะ ครูเขียนสระเหล่านั้นบนกระดานและให้นักเรียน อ่านสระที่เขียนไว้ว่ามีสระอะไร บ้าง

ขั้นสอน
๑. ครูใช้บัตรพยัญชนะ สระ บัตรคำ และรูปภาพยกตัวอย่างคำที่มีความหมายในมาตราแม่ ก กา ได้แก่ เรือ ชะนี มะลิ บิดา เสื้อ นักเรียนจำแนกพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และตำแหน่ง ของพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์นั้นๆ
๒.นักเรียนบอกคำที่มีลักษณะดังกล่าวเพิ่มเติมครูบันทึกไว้บนกระดาน นักเรียนอ่าน และสังเกตคำเหล่านั้น
๓.ครูแสดงบัตรคำ และบัตรโครงสร้างการอ่านแจกลูกคำในมาตราแม่ ก กา นักเรียนอ่านคำ และฝึกอ่านแจกลูกคำ ตามโครงสร้างดังนี้ พยัญชนะ+ สระ+วรรณยุกต์= คำ
๔. ครูแสดงบัตรคำ และบัตรโครงสร้างการอ่านแจกลูกคำในมาตราแม่ ก กาที่มีวรรณยุกต์ให้นักเรียนสังเกตและอ่านออกเสียง ฝึกอ่านคำที่มีวรรณยุกต์และฝึกแจกลูกคำเพิ่มเติม
๕. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น ๖ กลุ่ม แจกบัตรคำที่มีรูปภาพตรงกับความหมาย ๔ คำ ให้นักเรียนคิดคำ ฝึกอ่านและแจกลูกคำกับเพื่อนในกลุ่มให้ถูกต้อง
๖. ครูให้ตัวแทนแต่ในละกลุ่มอ่านคำและอ่านแจกลูกคำให้เพื่อนทั้งห้องฟัง เพื่อสังเกตว่า นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการอ่านแบบแจกลูกตามมาตราแม่ ก กา ได้ตาม โครงสร้างการอ่านแจก ลูกคำในมาตราแม่ ก กา
๗. นักเรียนช่วยกันสรุปลักษณะคำในมาตราแม่ ก กา ตามโครงสร้าง
พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ = คำ พร้อมทั้งเปรียบเทียบ กับคำ ที่มีตัวสะกด ตามโครงสร้าง พยัญชนะ+ สระ+ ตัวสะกด = คำ
๘. ครูอธิบายขั้นตอนและวิธีทำแบบฝึก
๙. นักเรียนทำแบบฝึกชุดที่ ๑
๑๐. นักเรียนตรวจคำตอบจากแบบเฉลย แบบฝึกชุดที่ ๑
๑๑. นักเรียนทำแบบทดสอบท้ายแบบฝึกชุดที่ ๑
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปโครงสร้างลักษณะคำในมาตราแม่ ก กา และการอ่านแจกลูกคำ ดังนี้ พยัญชนะ+ สระ+วรรณยุกต์= คำ

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
๑. บัตรพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ บัตรคำ และรูปภาพ
๒. กระเป๋าผนัง
๓. แผ่นซีดีเพลงสระ อะ อา เครื่องเล่นซีดี
๔. บัตรโครงสร้างการแจกลูกคำ
๕. แบบฝึกชุดที่ ๑
๖. แบบทดสอบท้ายแบบฝึกชุดที่ ๑
วิธีวัดผลประเมินผล
๑. ตรวจผลงานจากการทำแบบฝึกชุดที่ ๑
๒. ตรวจแบบทดสอบท้ายแบบฝึกชุดที่ ๑
๓. สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมระหว่างเรียน

เกณฑ์การวัดและประเมินผล
ทำได้ ๘-๑๐ คะแนน อยู่ในระดับ ดี
ทำได้ ๖-๗ คะแนน อยู่ในระดับ พอใช้
ทำได้ต่ำกว่า ๖ คะแนน อยู่ในระดับ ปรับปรุงแก้ไข



แบบฝึกชุดที่ ๑
การอ่านคำที่ไม่มีตัวสะกด

แบบฝึกการอ่านแจกลูกคำและอ่านเป็นคำในมาตราแม่ ก กา

ความคิดรวบยอด
คำในมาตราแม่ ก กา คือ คำที่ไม่มีตัวสะกด การอ่านคำที่ไม่มีตัวสะกดควรเริ่มจากการอ่านคำที่มีความหมาย แล้วจึงฝึกอ่านแจกลูก

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนสามารถอ่านแจกลูกคำและอ่านเป็นคำ จากคำที่กำหนดให้ ได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนสามารถจำแนกคำที่มีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกดจากคำที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง

เนื้อหา
คำที่ไม่มีตัวสะกด

เวลา ๒ ชั่วโมง

font
>




 

Create Date : 15 ตุลาคม 2553    
Last Update : 16 ตุลาคม 2553 0:06:08 น.
Counter : 505 Pageviews.  


@_nam_apm_@
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add @_nam_apm_@'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.