ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คน ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป ขอมีกำลังใจที่เต็มเปี่ยมและเข้มแข็ง มีสติที่ตั้งมั่น ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม, ทุกสิ่งเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา, การนำข้อมูลไปใช้ต้องใช้หลักกาลามสูตร. Group Blog จำนวน 215 Group Blog : รวมข้อมูลทั้งหมด 525 เรื่อง (Click (คลิ๊ก) ตรงกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีฟ้า หรือเครื่องหมายสามเหลี่ยมของกล่องสี่เหลี่ยม (ทางด้านขวามือ) (มีข้อมูลอยู่ในนั้นครับ) "ขอขอบคุณเจ้าของผลงานต่างๆ และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อการศึกษา เรียนรู้ และการวิจัยเท่านั้น"
Group Blog
 
All Blogs
 
แนวทางในการดูแลผู้ป่วยเมื่อถึงวาระสุดท้าย (นายแพทย์อนุพันธ์ ตันติวงศ์ และคณะ)

อนุพันธุ์ ตันติวงศ์, นายแพทย์ และคณะ (2550 : 14-33) กล่าวว่า

นายแพทย์ Ned H. Casem* แห่งโรงพยาบาล Massachusettes General Hospital ได้อธิบายถึงหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 9 ประการ สำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้


1. Competence คือ ผู้ดูแลต้องมีความรู้ ความสามารถในการดูแลเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ มีประสบการณ์เพียงพอในการจัดการกับอาการปวด และอาการอื่น ๆ ที่มักพบบ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อาการทางจิตใจต่าง ๆ เป็นต้น และต้องอธิบายให้ญาติและผู้ป่วยเข้าถึงแนวทางการรักษาดูแล โดยร่วมกันตัดสินใจ เช่น การตายควรจะเป็นที่บ้านหรือโรงพยาบาล, การตัดสินใจให้ผู้ป่วยไปอย่างสงบโดยไม่มีการใช้เครื่องช่วยชีวิตต่อไป


2. Concern หมายถึง มีความห่วงใย ผูกพัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา เปรียบเสมือนมีความรู้สึกหรือมีอารมณ์ร่วมในความทุกข์ทรมานที่ผู้ป่วยมี ซึ่งอาจไม่ได้แสดงออกด้วยคำพูดเพียงอย่างเดียว แต่แววตาและการแสดงออกหรือการดูแลต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเอาใจใส่ในตัวผู้ป่วยจนผู้ป่วยรับรู้ได้

ในบางช่วงของชีวิตย่อมมีคนใกล้ตัวของเราที่เจ็บหนักและอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่รักษาตัวที่โรงพยาบาล การดูแลรักษาตกเป็นหน้าที่ของแพทย์และพยาบาล ลูกหลานหรือญาติมิตรเป็นเพียงผู้มาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ อย่างไรก็ตามพึงตระหนักว่าในฐานะลูกหลานหรือญาติมิตร เราแต่ละคนมีความสำคัญมากต่อผู้ป่วย สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมิใช่แค่การเยียวยารักษาทางกายเท่านั้น หากยังปรารถนาความช่วยเหลือทางจิตใจอีกด้วยโดยเฉพาะในช่วงวาระสุดท้ายใกล้จะมาถึงผู้ป่วยเหล่านี้แม้แพทย์หมดหวังที่จะรักษาให้หายหรือรอดตายได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าแต่ละวินาทีที่เขามีลมหายใจอยู่นั้นเป็นเพียงการนอนรอความตาย เราสามารถทำสิ่งดี ๆ มีคุณค่าต่อชีวิตของเขาได้ และในเวลาเดียวกันเขาก็สามารถประสบพบสิ่งดีงามหรือทำสิ่งที่มีคุณค่าแก่ตนเองอย่างที่ไม่เคยนึกว่าจะทำได้มาก่อน






ผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่เพียงถูกความเจ็บปวดทางกายรุมเร้าเท่านั้น หากยังถูกรบกวนด้วยความกลัว เช่น ความกลัวตาย กลัวที่จะถูกทอดทิ้ง กลัวที่จะตายอย่างโดดเดี่ยวอ้างว้าง กลัวสิ่งที่รออยู่ข้างหน้าหลังจากสิ้นลม ตลอดจนกลัวความเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้น ความกลัวดังกล่าวอาจสร้างความทุกข์ให้แก่เขายิ่งกว่าความเจ็บปวดทางกายด้วยซ้ำ ความรักและกำลังใจจากลูกหลานญาติมิตรเป็นสิ่งสำคัญในยามนี้ เพราะสามารถลดทอนความกลัวและช่วยให้เขาเกิดความมั่นคงในจิตใจได้ พึงระลึกว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นมีสภาพจิตที่เปราะบางอ่อนแออย่างมาก เขาต้องการใครสักคนที่พร้อมจะให้ความรักแก่เขาได้อย่างเต็มเปี่ยมหรืออย่างไม่มีเงื่อนไข เขาจะมีกำลังเผชิญกับความทุกข์นานาประการที่โหมกระหน่ำเข้ามา

ความอดทนอดกลั้น เห็นอกเห็นใจ อ่อนโยนและให้อภัย เป็นอาการแสดงออกของความรัก ความทุกข์ทางกายและสภาพจิตที่เปราะบางมักทำให้ผู้ป่วยแสดงความหงุดหงิด กราดเกรี้ยว ออกมาได้ง่าย เราสามารถช่วยเขาได้ด้วยการอดทนอดกลั้น ไม่แสดงความขุ่นเคือง ฉุนเฉียวตอบโต้กลับไป พยายามให้อภัยและเห็นอกเห็นใจเขา ความสงบและความอ่อนโยนของเราจะช่วยให้ผู้ป่วยสงบนิ่งลงได้เร็วขึ้น การเตือนสติเขาอาจเป็นสิ่งจำเป็นในบางครั้ง แต่พึงทำด้วยความนุ่มนวลอย่างมีเมตตาจิตจะทำเช่นนั้นได้สิ่งหนึ่งที่ญาติมิตรขาดไม่ได้คือ มีสติอยู่เสมอ สติช่วยให้ไม่ลืมตัว และประคองใจให้มีเมตตา ความรัก และความอดกลั้นอย่างเต็มเปี่ยม ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ดีที่สุดจึงเป็นเรื่องของครอบครัว ไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือแพทย์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อบุคคลใดเครียดจากการดูแล ญาติคนอื่นก็ต้องให้กำลังใจกันและกัน เป็นช่วงเวลาที่สำคัญช่วงหนึ่งของชีวิตครอบครัว

แม้ไม่รู้ว่าจะพูดให้กำลังใจแก่เขาอย่างไรดี เพียงแค่การใช้มือสัมผัสผู้ป่วยด้วยความอ่อนโยน ก็ช่วยให้เขารับรู้ถึงความรักจากเราได้ เราอาจจับมือจับแขนผู้ป่วย บีบเบา ๆ กอดเขาไว้ หรือใช้มือทั้งสองสัมผัสบริเวณหน้าผากและหน้าท้องพร้อมกับแผ่ความปรารถนาดีไปให้ สำหรับผู้ที่เคยทำสมาธิภาวนา ขณะที่สัมผัสตัวเขาให้น้อมจิตอยู่ในความสงบ เมตตาจากจิตที่สงบและเป็นสมาธิจะมีพลังจนผู้ป่วยสามารถสัมผัสได้

การแผ่เมตตาอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธทิเบตนิยมใช้ ก็คือ การน้อมใจนึกหรืออัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ป่วย (หรือเรา) เคารพนับถือ เช่น พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ หรือเจ้าแม่กวนอิม ให้มีความรู้สึกว่าท่านเหล่านั้นได้เปล่งเปล่งรังสีแห่งความกรุณาและการเยียวยาเป็นลำแสงอันนุ่มนวลอาบรดทั่วร่างของผู้ป่วย จนร่างของผู้ป่วย จนร่างของผู้ป่วยผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลำแสงนั้น ขณะที่น้อมใจนึกภาพดังกล่าว เราอาจสัมผัสมือของผู้ป่วยไปด้วย หรือนั่งสงบอยู่ข้าง ๆ เตียงผู้ป่วยก็ได้


3. Comfort หมายถึง ให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบายทั้งทางร่างกาย สังคม จิตใจ โดยเฉพาะเรื่องความปวด ผู้ดูแลต้องจัดการให้ผู้ป่วยมีความปวดน้อยที่สุดโดยให้ยาแก้ปวดน้อยที่สุด ให้ยาแก้ปวดที่เพียงพอให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีภาวะของ “การตายดี (good death)" ซึ่งสถาบันการแพทย์ของอเมริกาได้นิยามไว้ว่า คือการตายที่ปลอดจากความทุกข์ทรมานที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของคนป่วย ญาติ และผู้ให้การรักษา และโดยทั่วไปควรเป็นไปตามความประสงค์ของผู้ป่วยและญาติบนพื้นฐานของการรักษาทางการแพทย์ วัฒนธรรม และจริยธรรมที่ได้มาตรฐานและดีงาม


4. Communication เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดคุย เน้นการสื่อสารสองทาง ผู้ดูแลควรเป็นผู้รับฟังที่ดี (active listening) มีการพูดคุยกับผู้ป่วยอย่างเปิดเผยถึงขั้นตอนและวิธีการต่าง ๆ ในชีวิตที่ผู้ป่วยยังไม่ได้ทำ เราอาจเป็นผู้ประสานให้ผู้ป่วยทั้งในเรื่องครอบครัว การงาน






เมื่อผู้ป่วยรู้ว่าวาระสุดท้ายของชีวิตใกล้มาแล้ว สิ่งหนึ่งซึ่งจะทำความทุกข์แก่จิตใจ และทำให้ไม่อาจตายอย่างสงบ (หรือ “ตายตาหลับ”) ได้ ก็คือ ความรู้สึกค้างคาใจในบางสิ่งบางอย่าง สิ่งนั้นอาจได้แก่ภารกิจการงานที่ยังคั่งค้าง ทรัพย์สินที่ยังแบ่งสรรไม่แล้วเสร็จ ความน้อยเนื้อต่ำใจในคนใกล้ชิด ความโกรธแค้นใครบางคน หรือความรู้สึกผิดบางอย่างที่เกาะกุมจิตใจมานาน ความปรารถนาที่จะพบคนบางคนเป็นครั้งสุดท้าย โดยเฉพาะคนที่ตนรัก หรือคนที่ตนปรารถนาจะขออโหสิกรรม เป็นต้น ความห่วงกังวลหรือความรู้สึกไม่ดีที่ค้างคาใจเป็นสิ่งสมควรจะได้รับการปลดเปลื้องอย่างเร่งด่วน หาไม่แล้วจะทำให้ผู้ป่วยทุรนทุราย หนักอกหนักใจ พยายามปฏิเสธผลักไสความตาย และตายอย่างไม่สงบ ซึ่งนอกจากจะหมายถึงความทุกข์อย่างมากแล้ว ในทางพุทธศาสนาเชื่อว่าจะส่งผลให้ผู้ตายไปสู่ทุคติด้วยแทนที่จะเป็นสุคติ

ลูกหลานญาติมิตร ควรใส่ใจและฉับไวกับเรื่องดังกล่าว บางครั้งผู้ป่วยไม่พูดตรง ๆ ผู้อยู่รอบข้างควรมีความละเอียดอ่อน และสอบถามด้วยความใส่ใจและมีเมตตา ไม่รู้สึกรำคาญ ในกรณีซึ่งเป็นภารกิจที่ยังคั่งค้าง ควรหาทางช่วยเหลือให้ภารกิจนั้นเสร็จสิ้น หากเขาปรารถนาพบใครควรรีบตามหาพามาพบ หากฝังใจโกรธแค้นใครบางคน ควรแนะนำให้เขาให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธเคืองอีกต่อไป ในกรณีที่เป็นความรู้สึกผิดซึ่งค้างคาใจเนื่องจากทำสิ่งที่ไม่สมควร ในยามนี้ไม่ใช่เวลาที่จะประณามหรือตัดสินเขา หากควรช่วยเขาปลดเปลื้องความรู้สึกผิดออกไป อาทิเช่น ช่วยให้เขาเปิดใจและรู้สึกปลอดภัยที่จะขอโทษหรือขออโหสิกรรมกับใครบางคน ขณะเดียวกันการแนะนำให้ฝ่ายหลังยอมรับคำขอโทษและให้อภัยผู้ป่วย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่คนรอบข้างสามารถช่วยได้

อย่างไรก็ตามการขอโทษหรือขออภัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะกับผู้น้อยหรือผู้อยู่ในสถานะต่ำกว่า เช่น ลูกน้อง ลูก หรือ ภรรยา วิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือการแนะนำให้ผู้ป่วยเขียนคำขอโทษหรือความในใจลงในกระดาษ เขียนทุกอย่างที่อยากจะบอกแก่บุคคลผู้นั้น ก่อนเขียนอาจอาจให้ผู้ป่วยลองทำใจให้สงบ และจินตนาการว่าบุคคลผู้นั้นมานั่งอยู่ข้างหน้า จากนั้นให้นึกถึงสิ่งที่อยากจะบอกถ่ายทอดลงไปในกระดาษ เมื่อเขียนเสร็จแล้วผู้ป่วยจะขอให้ญาติมิตรนำไปให้แก่บุคคลผู้นั้น หรือเก็บไว้กับตัว ก็สุดแท้แต่ สิ่งสำคัญก็คือการเปิดใจได้เริ่มขึ้นแล้ว แม้จะยังไม่มีการสื่อสารให้บุคคลผู้นั้นได้รับรู้ แต่ก็ได้มีการปลดเปลื้องความรู้สึกในระดับหนึ่ง หากผู้ป่วยมีความพร้อมมากขึ้นก็อาจตัดสินใจพูดกับบุคคลผู้นั้นโดยตรงในโอกาสต่อไป


5. Children and relative หมายถึง การนำญาติมิตร และบุตรหลานของผู้ป่วยมาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ โดยหาช่วงเวลาที่เหมาะสมช่วยให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ การปฏิเสธความตาย ขัดขืนไม่ยอมรับความจริงที่อยู่เบื้องหน้า เป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย และเหตุที่เขาขัดขืนดิ้นรนก็เพราะยังติดกับบางสิ่งบางอย่าง ไม่สามารถพรากจากสิ่งนั้นได้ อาจจะได้แก่ ลูกหลาน คนรัก พ่อแม่ ทรัพย์สมบัติ งานการ หรือโลกทั้งโลกที่ตนคุ้นเคย ความรู้สึกติดยึดอย่างแน่นหนานี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้กับคนที่มิได้มีความรู้สึกผิดค้างคาใจ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมทำให้เกิดความกังวล ควบคู่กับความกลัวที่ต้องพลัดพรากสิ่งอันเป็นที่รักเหล่านั้น ญาติมิตร ตลอดจนแพทย์และพยาบาลควรช่วยให้เขาปล่อยวางให้มากที่สุด เช่น ให้ความมั่นใจแก่เขาว่า ลูกหลานสามารถดูแลตนเองได้ หรือพ่อแม่ของเขาจะได้รับการดูแลด้วยดี หรือเตือนสติแก่เขาว่า ทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของเราเพียงชั่วคราว เมื่อถึงเวลาก็ต้องให้คนอื่นดูแลต่อไป

ในการช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ใกล้ตาย พระพุทธองค์ทรงแนะนำว่า นอกจากการน้อมจิตผู้ใกล้ตายให้ระลึกและศรัทธาในพระรัตนตรัย ตลอดจนการบำเพ็ญตนอยู่ในคุณงามความดีแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการแนะนำให้ผู้ใกล้ตายละความห่วงใยในสิ่งต่าง ๆ อาทิ พ่อแม่ บุตร ภรรยา รวมทั้งทรัพย์สมบัติและรูปธรรมนามธรรมที่น่าพอใจทั้งหลาย ปล่อยวางแม้กระทั่งความหมายมั่นในสวรรค์ทั้งปวง สิ่งเหล่านี้หากยังยึดติดอยู่ จะเหนี่ยวรั้งจิตใจ ทำให้ขัดขืนฝืนความตาย ทุรนทุรายจนวาระสุดท้าย ดังนั้นเมื่อความตายมาถึง ไม่มีอะไรดีกว่าการปล่อยวางทุกสิ่งแม้กระทั่งตัวตน






6. Cohesion เป็นการเชื่อมสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว ให้บุคคลเหล่านี้ได้มาช่วยประคับประคองจิตใจลดความกังวล และยังช่วยให้ญาติปรับตัวกับความรู้สึกที่จะต้องสูญเสียบุคคลที่รักไป

ลูกหลานญาติมิตรจึงไม่ควรท้อแท้หมดหวังเมื่อพบว่าผู้ป่วยได้เข้าสู่ภาวะโคม่าแล้ว ยังมีหลายอย่างที่เราสามารถทำได้ เช่น อ่านหนังสือธรรมะให้เขาฟัง พูดเชิญชวนให้เขาระลึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ หรือนึกถึงสิ่งที่เป็นบุญกุศล รวมทั้งระลึกถึงความดีที่เคยบำเพ็ญ การพูดให้เขาหายกังวลกับลูกหลานหรือสิ่งที่ตนผูกพัน หรือแนะนำให้ปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ก็มีประโยชน์เช่นกัน ที่สำคัญก็คือการสร้างบรรยากาศแห่งความสงบ ลูกหลานญาติมิตรควรระมัดระวังคำพูดและการกระทำขณะที่อยู่ข้างเคียงผู้ป่วย ไม่ควรร้องไห้ฟูมฟาย ทะเลาะเบาะแว้ง หรือพูดเรื่องที่อาจกระทบ กระเทือนใจผู้ป่วย พึงระลึกว่า อะไรที่ควรทำกับผู้ป่วยในยามที่เขายังรู้สึกสิ่งต่าง ๆ ได้ ก็ควรทำอย่างเดียวกันนั้นเมื่อเขาหมดสติ หากเคยชักชวนเขาทำวัตรสวดมนต์ หรือเปิดเทปบรรยายธรรมให้เขาฟัง ก็ขอให้ทำต่อไป

สำหรับผู้ที่อยากเปิดเผยความในใจให้ผู้ป่วยรับรู้ เช่น ขอโทษ หรือกล่าวคำอำลา ยังไม่สายเกินไปที่จะบอกกล่าวกับเขา มีหญิงชราผู้หนึ่งนั่งอยู่ข้างเตียงสามีด้วยความรู้สึกโศกเศร้าเสียใจมากเพราะไม่เคยบอกสามีว่าเธอรักเขาเพียงใด มาบัดนี้สามีของเธอเข้าขั้นโคม่าและใกล้ตาย เธอรู้สึกว่าสายเกินไปแล้วที่เธอจะทำอะไรได้ แต่พยาบาลให้กำลังใจเธอว่าเขายังอาจได้ยินเธอพูดแม้จะไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองใด ๆ เลยก็ตาม ดังนั้นเธอจึงขออยู่กับเขาอย่างเงียบ ๆ แล้วบอกสามีว่าเธอรักเขาอย่างสุดซึ้ง และมีความสุขที่ได้อยู่กับเขา หลังจากนั้นเธอก็กล่าวคำอำลาว่า “ยากมากที่ฉันจะอยู่โดยไม่มีเธอ แต่ฉันไม่อยากเห็นเธอทุกข์ทรมานอีกต่อไป ฉะนั้นหากเธอจะจากไป ก็จากไปเถิด” ทันทีที่เธอกล่าวจบ สามีของเธอก็ถอนหายใจยาวแล้วสิ้นชีวิตไปอย่างสงบ

อีกเรื่องหนึ่งในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผู้มีอำนาจซึ่งเป็นเพื่อนกันแย่งกันจะเป็นผู้บริหาร มีการใส่ร้ายป้ายสีกันมากมาย ต่อมาฝ่ายหนึ่งได้เป็นผู้บริหาร อีกฝ่ายก็พ่ายไป จากนั้นอีกไม่นานผู้ที่ได้เป็นผู้บริหารล้มป่วยลงเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก ต้องได้รับการผ่าตัดอยู่ใน ICU นอนไม่รู้ตัวเป็นเวลานาน หมดสภาพเป็นเจ้าชายนิทราอาการไม่ดีขึ้น ญาติผู้ป่วยได้ไปหาซินแสดูว่าทำไมไม่ดีขึ้น และผู้ป่วยนอนทรมานอยู่นี้มีปัญหาขัดข้องใจอะไรหรือไม่ ซินแสดูแล้วก็บอกว่าให้ตามเพื่อนคนดังกล่าวมากล่าวคำว่าให้อภัย หรืออโหสิกรรมก็พอ ดังนั้น หลังจากเพื่อนคนดังกล่าวมาที่ ICU และเข้าไปหาผู้ป่วยและกล่าวคำให้อภัย คืนนั้นผู้ป่วยก็ลาจากโลกนี้ไปอย่างสงบ หลังจากทนทุกข์ทรมานใน ICU เป็นเวลานาน ซึ่งสรุปได้ว่าผู้ป่วยรอคำให้อภัยหรืออโหสิกรรมจากเพื่อนคนดังกล่าวนั่นเอง

ขณะที่ผู้ป่วยกำลังจะจากไป และสัญญาณชีพจรอ่อนลงเป็นลำดับ หากลูกหลานญาติมิตรปรารถนาจะกล่าวคำอำลา ขอให้ตั้งสติระงับความโศกเศร้า จากนั้นให้กระซิบที่ข้างหู พูดถึงความรู้สึกดี ๆ ที่มีต่อเขา ชื่นชมและขอบคุณในคุณงามความดีของเขาที่ได้กระทำ พร้อมทั้งขอขมาในกรรมใด ๆ ที่ล่วงเกิน จากนั้นก็น้อมนำจิตผู้ป่วยให้เป็นกุศลยิ่งขึ้น โดยแนะนำให้เขาปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายลงเสีย อย่าได้มีความเป็นห่วงกังวลใด ๆ อีกเลย แล้วให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขานับถือ หากผู้ป่วยมีพื้นฐานทางด้านธรรมะ ก็ขอให้เขาปล่อยวางความสำคัญมั่นหมายในตัวตนและสังขารทั้งปวง น้อมจิตไปสู่ “ความดับไม่เหลือ” ตั้งจิตจดจ่อมุ่งตรงต่อพระนิพพาน จากนั้นก็กล่าวคำอำลา






แม้ว่าจะได้กล่าวคำอำลาผู้ป่วยไปแล้วในขณะที่เขายังมีสติรู้ตัวอยู่ แต่การกล่าวคำอำลาอีกครั้งก่อนที่เขาจะสิ้นลมก็ยังมีประโยชน์ ข้อที่พึงตระหนักก็คือการกล่าวคำอำลา และน้อมจิตผู้ป่วยให้มุ่งต่อสิ่งดีงามนั้นจะเป็นไปได้ดีก็ต่อเมื่อบรรยากาศรอบตัวของผู้ป่วยอยู่ในความสงบ ไม่มีการพยายามเข้าแทรกแซงใด ๆ กับร่างกายของผู้ป่วย ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ หากผู้ป่วยอยู่ในห้องไอซียูและมีสัญญาณชีพอ่อนลงเจียนตาย หมอและพยาบาลมักจะพยายามช่วยชีวิตทุกวิถีทาง เช่น กระตุ้นหัวใจ หรือใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เท่าที่มี บรรยากาศจะเต็มไปด้วยความวุ่นวาย และยากที่ลูกหลานญาติมิตรจะกล่าวถ้อยคำใด ๆ กับผู้ป่วย เว้นแต่ว่าผู้ป่วยและญาติจะแจ้งความจำนงล่วงหน้าว่าขอให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบโดยปราศจากการแทรกแซงใด ๆ

โดยทั่วไปญาติผู้ป่วยมักจะคิดแต่การช่วยเหลือทางกาย โดยลืมคิดถึงการช่วยเหลือทางจิตใจ จึงมักสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีการแพทย์ทุกอย่างเท่าที่มีเพื่อช่วยต่อลมหายใจผู้ป่วย ทั้ง ๆ ที่ในภาวะใกล้ตาย สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุดได้แก่ การช่วยเหลือทางจิตใจ ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการหนักจนหมดหวังจะรักษาชีวิตไว้ได้แล้ว น่าจะคำนึงถึงคุณภาพหรือสภาวะจิตของผู้ป่วยมากกว่า ซึ่งหมายความว่า อาจต้องขอให้ระงับการกลุ้มรุมผู้ป่วย ปล่อยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบท่ามกลางลูกหลาน ญาติมิตรที่ร่วมกันสร้างบรรยากาศอันเป็นกุศลสำหรับผู้ป่วยเพื่อไปสู่สุคติ จะว่าไปแล้วสถานที่ที่เอื้อให้เกิดบรรยากาศดังกล่าวอย่างดีที่สุดมักจะได้แก่บ้านของผู้ป่วยเอง ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยหลายคนจึงปรารถนาที่จะตายที่บ้านมากกว่าที่โรงพยาบาลหรือห้องไอซียู

หากลูกหลานญาติมิตรมีความพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยในทางจิตใจ การที่ผู้ป่วยจะตัดสินใจใช้ชิวิตช่วงสุดท้ายที่บ้านก็เป็นไปได้ง่ายขึ้น


7. Cheerfulness หมายถึง การมีอารมณ์ขันที่เหมาะสมกับสถานการณ์ อาจช่วยให้ผู้ป่วยยิ้มแย้มแจ่มใส มีจิตใจที่สบายขึ้น สีหน้าท่าทางของผู้ดูแลไม่ควรแสดงความวิตกกังวลเกินเหตุ หรือแสดงความเบื่อหน่าย ท้อแท้ เพราะยิ่งจะทำให้ผู้ป่วยหดหู่มากขึ้น


8. Consistency การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องมีความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง คงเส้นคงวาเพราะผู้ป่วยเหล่านี้มีความกลัวที่จะถูกทอดทิ้ง การที่แพทย์หรือผู้ดูแลมาตรวจเยี่ยมสม่ำเสมอจะช่วยทำให้ผู้ป่วยลดความกลัว ความวิตกกังวลได้มาก

ในการเยี่ยมเยียนผู้ป่วยและช่วยเหลือผู้ใกล้ตายนั้น บุคคลหนึ่งที่จะได้รับอานิสงส์อย่างยิ่งก็คือตัวเราเอง เพราะเป็นโอกาสดีที่เราจะได้เตรียมตัวเตรียมใจเมื่อสถานการณ์เช่นนั้นบังเกิดขึ้นกับเราไม่วันใดก็วันหนึ่ง เมื่อเราไปเยี่ยมผู้ป่วย เราไม่ควรคิดแค่ว่าเราไปช่วยเขาเท่านั้น หากควรระลึกว่าเขาก็สามารถช่วยเราได้เช่นกัน นั่นคือเขาสามารถเป็นครูให้แก่เราได้ ไม่ว่าเขาจะเผชิญกับความเจ็บป่วยและความตายอย่างไรก็ล้วนเป็นประโยชน์ต่อเราทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อไปเยียมผู้ป่วยจึงขอให้ถือว่าเราไปเรียนจากเขาด้วย นอกเหนือจากการไปช่วยเขาแล้ว

อย่างแรกที่เราเรียนจากผู้ป่วยได้ก็คือ สัจธรรมความจริงที่ว่าสักวันหนึ่งเราก็จะเป็นอย่างเขา เราจะต้องล้มป่วยและนอนอยู่บนเตียง เช่นเดียวกัน และในที่สุดเราก็ต้องเดินหน้าเข้าหาความตายเช่นเดียวกับเขา ต่างกันก็แต่ว่าสถานที่ เวลา และวิธีการเท่านั้น

สัจธรรมดังกล่าวจะกระจ่างชัดในใจเรายิ่งขึ้น หากลองนึกว่าเรากำลังอยู่ในสถานการณ์เดียวกับเขา หรือเอาตัวเราเข้าไปแทนที่ จินตนาการว่าเรากำลังนอนอยู่บนเตียงข้างหน้าด้วยโรคเดียวกัน เจ็บปวด อ่อนเพลีย สิ้นเรี่ยวแรง และกำลังเผชิญกับความตายเช่นเดียวกัน สำรวจดูความรู้สึกของเราว่าเป็นอย่างไร เราคิดว่าเราพร้อมที่จะรับมือกับสภาพการณ์ดังกล่าวเพียงใด หากยังไม่พร้อมพิจารณาดูว่าอะไรที่จะช่วยให้เราพร้อม และจะทำใจอย่างไรเพื่อให้มีความพร้อม จากนั้นให้ถามต่อไปว่าจะทำใจในขณะที่เจ็บป่วยอยู่บนเตียงได้หรือไม่ หากคิดว่าทำไม่ได้หรือทำได้ยาก ก็ให้พิจารณาว่ามีอะไรบ้างที่ควรเตรียมตัวเตรียมใจล่วงหน้าก่อนที่จะล้มป่วย

คำตอบบางอย่างอาจหาได้จากผู้ป่วยที่นอนอยู่ต่อหน้าเรานี่เอง ผู้ป่วยบางคนแม้จะประสบความสำเร็จในชีวิต กล้าตัดสินใจ ฉลาดหลักแหลม เด็ดขาดจนลูกน้องกลัว พอล้มป่วยด้วยโรคร้ายกลับทำใจไม่ได้ ทุรนทุราย ยอมรับความตายไม่ได้ แต่ผู้ป่วยบางคนทำงานไม่เก่ง มีชีวิตเรียบ ๆ ธรรมดา ๆ เขากลับควบคุมตนเองได้ และเผชิญความตายด้วยความสงบ ทั้งนี้เพราะเขาเป็นคนที่ปล่อยวางง่าย ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ขณะเดียวกันก็มีมิตรสหายที่คอยให้กำลังใจและช่วยเหลืออย่างเต็มที่






ผู้ป่วยบางคนแม้จะมีทุกขเวทนาแรงกล้า แต่ก็ไม่กระสับกระส่ายเพราะมีสติและรู้จักทำใจให้สงบ พูดคุยกับผู้มาเยี่ยมด้วยใบหน้าที่แย้มยิ้ม แถมยังเตือนญาติมิตรมิให้เศร้าโศกเสียใจ

ผู้ป่วยที่เราไปเยี่ยมล้วนเป็นครูที่สอนเราว่า อะไรที่ควรทำและอะไรที่ไม่ควรทำ แม้กระทั่งผู้ป่วยที่ถูกยืดชีวิตด้วยสายระโยงระยางโดยไม่รู้สึกตัวเลยก็สามารถสอนเราว่า หากเราให้หมอทำกับเราอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าไม่ เราอยากให้หมอทำกับเราอย่างไร คำถามนี้สามารถหาได้จากผู้ป่วยบางคนด้วยเช่นกัน

ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมเมื่อวันนั้นมาถึง แต่การเตรียมตัวเตรียมใจ ก็เหมือนกับการเตรียมตัวสอบ การเตรียมตัวสอบกับการลงสนามสอบจริง ๆ นั้นย่อมต่างกัน ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อถึงคราวล้มเจ็บและความตายใกล้เข้ามา สิ่งที่เราเตรียมตัวไว้แม้จะมีประโยชน์ แต่ก็ยังไม่สำคัญเท่ากับการทำจิตทำใจให้ถูกต้องท่ามกลางทุกขเวทนาและโรคภัยไข้เจ็บที่รุมล้อม กล่าวโดยสรุป เราควรช่วยเหลือผู้ใกล้ตายอย่างไร ก็ควรทำกับตนเองอย่างนั้น


9. Calmness of mind แพทย์หรือพยาบาลผู้ดูแลมีจิตใจที่สงบสามารถเผชิญกับผู้ป่วยใกล้ตายได้อย่างเหมาะสมไม่รู้สึกหวาดหวั่นเกิดเหตุ หรือแสดงอาการเฉยเมยต่อผู้ป่วยและญาติ

ความสงบใจและการปล่อยวางสิ่งค้างคาติดยึดในใจผู้ป่วยนั้น จะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องจำต้องมีบรรยากาศรอบตัวเอื้ออำนวยด้วย ในห้องที่พลุกพล่านด้วยผู้คนเข้าออก มีเสียงพูดคุยตลอดเวลา หรือมีเสียงเปิดปิดประตูทั้งวัน ผู้ป่วยย่อมยากที่จะประคองจิตให้เป็นกุศลและเกิดความสงบได้ กล่าวในแง่จิตใจของผู้ป่วยแล้ว สิ่งที่ญาติมิตร รวมทั้งแพทย์และพยาบาลสามารถช่วยได้เป็นอย่างน้อยก็คือ ช่วยสร้างบรรยากาศแห่งความสงบ งดเว้นการพูดคุยที่รบกวนผู้ป่วย เพียงแค่ญาติมิตรพยายามรักษาจิตใจของตนให้ดี ไม่เศร้าหมอง สลดหดหู่ ก็สามารถช่วยผู้ป่วยได้มาก เพราะสภาวะจิตของคนรอบตัวนั้นสามารถส่งผลต่อบรรยากาศและต่อจิตใจของผู้ป่วยได้ จิตของคนเรานั้นละเอียดอ่อน สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้ แม้จะไม่พูดออกมาก็ตาม ความละเอียดอ่อนดังกล่าวมิได้เกิดขึ้น เฉพาะในยามปกติ หรือยามรู้ตัวเท่านั้น แม้กระทั่งผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่าก็อาจสัมผัสกับกระแสจิตของผู้คนรอบข้างได้

นอกจากนั้นลูกหลานญาติมิตร ยังสามารถสร้างบรรยากาศแห่งความสงบได้ด้วยการชักชวนผู้ป่วยร่วมกันทำสมาธิภาวนา อาทิ ทำอานาปานสติ หรือการเจริญสติด้วยการกำหนดลมหายใจ หายใจเข้า นึกในใจว่า “พุท” หายใจออก นึกในใจว่า “โธ” หรือนับทุกครั้งที่หายใจออกจาก 1 ไปถึง 10 แล้วเริ่มต้นใหม่

หากกำหนดลมหายใจไม่สะดวก ก็ให้จิตจดจ่อกับการขึ้นลงของหน้าท้องขณะที่หายใจเข้าออก โดยเอามือทั้งสองข้างวางบนหน้าท้อง เมื่อหายใจเข้า ท้องป่องขึ้น ก็นึกในใจว่า “พอง” หายใจออก ท้องยุบ ก็นึกในใจว่า “ยุบ” มีผู้ป่วยมะเร็งบางคนเผชิญกับความเจ็บปวดด้วยการทำสมาธิ ให้จิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออกหรือการพองยุบของท้อง ปรากฎว่าแทบไม่ต้องใช้ยาแก้ปวดเลย อีกทั้งจิตยังแจ่มใส ตื่นตัวกว่าผู้ป่วยที่ใช้ยาดังกล่าวอีกด้วย การชักชวนผู้ป่วยทำวัตรสวดมนต์ร่วมกัน โดยมีการจัดห้องให้สงบและดูศักดิ์สิทธิ์ (เช่น มีพระพุทธรูปหรือสิ่งที่น่าเคารพสักการะติดอยู่ในห้อง) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสร้างบรรยากาศแห่งความสงบ และน้อมจิตของผู้ป่วยในทางที่เป็นกุศลได้ แม้แต่การเปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ ก็มีประโยชน์ในทางจิตใจต่อผู้ป่วยด้วยเช่นกัน หรือบ่อยครั้งก็มีการนิมนต์พระมารับสังฆทาน ในทางคริสต์ก็มีบาทหลวงมาโปรด โดยให้ศีล เจิมคนไข้ การส่งศีลมหาสนิท การโปรดศีลกลับคืนดี เป็นต้น

การยอมรับความตายที่จะมาถึง ความตายนั้นเป็นธรรมดาของชีวิต ไม่มีใครที่จะหลีกหนีพ้น การมีอายุยืนยาวเป็นพรที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา แต่ไม่ว่าจะมีอายุยืนยาวเพียงใด สักวันหนึ่งก็ต้องตายเมื่อคนเราต้องตายไม่ช้าก็เร็ว โดยที่ไม่มีใครกำหนดได้ เราจึงควรเตรียมใจพร้อมรับความตายอยู่ทุกเวลา และจะมีเวลาใดเล่าที่การทำใจพร้อมรับความตายจะเป็นเรื่องเร่งด่วนเท่ากับเวลานี้ เมื่อเราพร้อมรับความตาย ความตายก็มิใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป ตรงกันข้ามการไม่ยอมรับความตายทั้ง ๆ ที่วาระสุดท้ายใกล้เข้ามาทุกขณะมีแต่จะซ้ำเติมตัวเองให้เป็นทุกข์มากขึ้น ยิ่งไม่ยอมรับความตาย ก็ยิ่งกลัวความตาย และยิ่งกลัวความตายมากเท่าไร ใจก็ยิ่งเป็นทุกข์มากเท่านั้น พึงระลึกว่า ไม่มีอะไรน่ากลัวเท่ากับความกลัว แม้แต่ความตายก็ไม่น่ากลัวเท่ากับความกลัวตาย

ใช่แต่เท่านั้น การไม่ยอมรับความตายทำให้เราเสียเวลาและพลังไปกับการต่อสู้ขัดขืนความตาย แทนที่จะเอาเวลาและพลังไปใช้ในการเตรียมตัวให้พร้อมรับความตายอย่างสงบ ยิ่งเวลาเราเหลือน้อยก็ยิ่งต้องเร่งเตรียมใจให้พร้อมมากที่สุดสำหรับนาทีวิกฤต

ถึงที่สุดแล้วเราไม่ควรมองความตายเป็นศตรู เมื่อความตายจะต้องมาถึงแน่นอนก็ควรมองความตายในฐานะมิตรที่มาช่วยกระตุ้นเตือน และกวดขันให้เราเร่งทำในสิ่งที่ควรทำ ได้แก่การน้อมจิตระลึกถึงสิ่งดีงาม การสร้างบุญกุศล และการปล่อยวางละความห่วงใยในสิ่งทั้งปวง ยิ่งทำได้มากเท่าไร ก็ยิ่งไม่กลัวความตาย และหากประคองจิตไว้ได้ถูกต้องในขณะสิ้นลม จิตก็จะไปสู่สุคติ หรือถึงขั้นหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้ ความตายจึงมิใช่เป็นวิกฤตเท่านั้น หากยังเป็นโอกาสสำหรับการยกระดับทางจิตใจให้สู่สภาวะที่สูงขึ้นได้

หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ ได้กล่าวว่า หลวงพ่อเบธ ซึ่งเป็นญาติอย่างใกล้ชิดของหลวงปู่ อยู่ที่วัดโคกหม่อน แม้ท่านจะบวชเมื่อวัยชรา แต่ก็เคร่งครัดต่อการปฏิบัติธุดงค์กัมมัฏฐานอย่างยิ่ง หลวงปู่เคยยกย่องว่าปฏิบัติได้ผลดี วันหนึ่งท่านอาพาธหนักใกล้จะมรณภาพแล้ว ท่านปรารภว่า อยากเห็นหลวงปู่เป็นครั้งสุดท้ายเพื่อลาตาย เมื่อหลวงปู่ไปถึงแล้ว หลวงพ่อเบธลุกกราบ แล้วล้มตัวนอนตามเดิมโดยไม่ได้พูดอะไร แต่มีอาการยิ้ม และสดชื่นเห็นได้ชัด ฯ

ขณะนั้น สุรเสียงอันชัดเจนและนุ่มนวลของหลวงปู่ก็มีออกมาว่า
“การปฏิบัติทั้งหลายที่เราพยายามปฏิบัติมา ก็เพื่อจะใช้ในเวลานี้เท่านั้น เมื่อถึงเวลาที่จะตาย ให้ทำจิตให้เป็นหนึ่ง แล้วหยุดเพ่งปล่อยวางทั้งหมด”

-----------------------------
* Cassem NH, Brendel RW. End of life Issue: Principle of Care and Ethics. In Stern TA, et al. Massachusetts General Handbook of General Hospital Psychiatry 5 th edition, Mosby. 2004.


เอกสารอ้างอิง : อนุพันธ์ ตันติวงศ์ และคณะ. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร : เอช.ที.พี. เพรส จำกัด, 2550.





---------------------------------------------------------




Link ที่น่าสนใจ :


ธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ธรรมะของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ธรรมะของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ธรรมะของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

วัดญาณเวศกวัน

การรักษาศีล 5

พระคาถาโพชฌังคปริตร

พระคาถาสักกัตตะวา : คาถาปัองกันและรักษาโรคมะเร็ง

ธรรมะสำหรับผู้รักษาคนเจ็บไข้

ธรรมะสำหรับคนเจ็บไข้และญาติ

ธรรมะสำหรับรับมือกับความพลัดพราก

ธรรมะสำหรับรับมือกับมะเร็ง



---------------------------------------------------------




ดาวน์โหลดหนังสือ (Download E-Book) :



Download หนังสือวิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน คลิ๊ก Download หนังสือธรรมะทะลุโลก โดยท่านพ่อลี ธมฺมธโร คลิ๊ก Download หนังสือชีวิตนี้น้อยนัก โดยสมเด็จพระญาณสังวร คลิ๊ก Download หนังสือเปิดใจรับความสุข โดยพระไพศาล  วิสาโล คลิ๊ก
Download หนังสือนึกถึงความตายสบายนัก โดยพระไพศาล  วิสาโล คลิ๊ก Download E-Book ว.วชิรเมธี คลิ๊ก Download หนังสือโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) คลิ๊ก Download หนังสือภูมิธรรมชาวพุทธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) คลิ๊ก Download หนังสือธรรมสำหรับผู้ป่วย โดยพระไพศาล  วิสาโล คลิ๊ก



Download หนังสือรักษาใจยามป่วยไข้ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

Download หนังสือกายหายไข้ ใจหายทุกข์ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

Download หนังสือภูมิธรรมชาวพุทธ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) (PDF)

Download หนังสือหลักชีวิต หลักชาวพุทธ (พระไพศาล วิสาโล) (PDF)

Download หนังสือความฉลาดในการรับมือกับเหตุการณ์แย่ ๆ (พระไพศาล วิสาโล) (PDF)

Download หนังสือก่อนวันผลัดใบ หนังสือแสดงเจตนาการจากไปในวาระสุดท้าย (พระไพศาล วิสาโล แสดงธรรมเทศนา เรื่อง การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ) (PDF)

Download หนังสือเปิดใจรับความสุข (พระไพศาล วิสาโล) (PDF)



---------------------------------------------------------




Download : เอกสารเกี่ยวกับมะเร็ง และมะเร็งปอด






Download เอกสารเกี่ยวกับมะเร็ง ข้อมูลจาก : (1) สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

หรือ Download ที่นี่ : Download เอกสารความรู้โรคมะเร็ง








Download เอกสารเกี่ยวกับมะเร็ง ข้อมูลจาก : (2) ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

หรือ Download ที่นี่ : คู่มือวิชาการโรคมะเร็ง








Download เอกสารเกี่ยวกับมะเร็ง ข้อมูลจาก : (3) โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

หรือ Download ที่นี่ : คู่มือ/ความรู้สำหรับประชาชน








Download เอกสารมะเร็งปอด ข้อมูลจาก : (4) สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

หรือ Download ที่นี่ : มะเร็งปอด








Download เอกสารคู่มือมะเร็งปอด ฉบับประชาชน ข้อมูลจาก : (5) ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

หรือ Download ที่นี่ : คู่มือมะเร็งปอด ฉบับประชาชน








Download เอกสารคู่มือประชาชน มะเร็งปอด ข้อมูลจาก : (6) โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

หรือ Download ที่นี่ : คู่มือประชาชน มะเร็งปอด








Download เอกสารแนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด ปี 2547-2548 ข้อมูลจาก : (7) ศูนย์มะเร็ง ลำปาง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

หรือ Download ที่นี่ : แนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด ปี 2547-2548








Download เอกสารแนวทางการรักษาพยาบาลโรคมะเร็งปอด ชนิด Non-Small Cell Lung Cancer (NSCLC) ข้อมูลจาก : (8) ศูนย์มะเร็ง ลำปาง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

หรือ Download ที่นี่ : แนวทางการรักษาพยาบาลโรคมะเร็งปอด ชนิด Non-Small Cell Lung Cancer (NSCLC)








Download เอกสารแนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปอด ข้อมูลจาก : (9) สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

หรือ Download ที่นี่ : แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปอด








Download เอกสารแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด ข้อมูลจาก : (10) สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

หรือ Download ที่นี่ : แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด


(1) เอกสารอ้างอิง : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (2554). Download เอกสารความรู้โรคมะเร็ง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : //www.nci.go.th/Knowledge/filedownload.html. วันที่สืบค้น 3 พฤษภาคม 2554

(2) เอกสารอ้างอิง : ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(2554). คู่มือวิชาการโรคมะเร็ง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : //www.lopburicancer.in.th/3knowledge/bookandcd.htm. วันที่สืบค้น 3 พฤษภาคม 2554

(3) เอกสารอ้างอิง : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (2554). คู่มือ/ความรู้สำหรับประชาชน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : //www.cccthai.org/th_/index.php/2009-06-13-08-54-04. วันที่สืบค้น 3 พฤษภาคม 2554

(4) เอกสารอ้างอิง : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (2554). มะเร็งปอด. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : //www.nci.go.th/Knowledge/downloads/new07.pdf. วันที่สืบค้น 17 กรกฎาคม 2554

(5) เอกสารอ้างอิง : ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (2554). คู่มือมะเร็งปอด ฉบับประชาชน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : //www.lopburicancer.in.th/booklbrcc/3pok.pdf. วันที่สืบค้น 17 กรกฎาคม 2554

(6) เอกสารอ้างอิง : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (2554). คู่มือประชาชน มะเร็งปอด. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : //www.cccthai.org/th_/images/stories/knowledge/book11-Lung.pdf. วันที่สืบค้น 17 กรกฎาคม 2554

(7) เอกสารอ้างอิง : ศูนย์มะเร็ง ลำปาง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (2554). แนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด ปี 2547-2548. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : //www.lampangcancer.com/lpccWebnew/index.php?option=com_content&task=view&id=196&Itemid=67. วันที่สืบค้น 17 กรกฎาคม 2554

(8) เอกสารอ้างอิง : ศูนย์มะเร็ง ลำปาง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (2554). แนวทางการรักษาพยาบาลโรคมะเร็งปอด ชนิด Non-Small Cell Lung Cancer (NSCLC). (ออนไลน์). แหล่งที่มา : //www.lampangcancer.com/lpccWebnew/images/pdf/upWEB/CpgLung/P2.pdf. วันที่สืบค้น 17 กรกฎาคม 2554

(9) เอกสารอ้างอิง : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (2554). แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปอด. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : //www.nci.go.th/cpg/cpg5.html. วันที่สืบค้น 17 กรกฎาคม 2554

(10) เอกสารอ้างอิง : สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์ (2554). แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด (ออนไลน์). แหล่งที่มา //www.thaichest.org/atat3/pdf/guideline/bca.pdf. วันที่สืบค้น 19 กรกฎาคม 2554





---------------------------------------------------------







บทสวดพระคาถาชินบัญชร








บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก







บทสวดโพชฌังคปริตร







หลวงพ่อชา สมาทานศีล 5







หลวงพ่อชา สอนการทำสมาธิ







หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 1/9







หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 2/9







หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 3/9







หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 4/9







หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 1








หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 1







หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 2







หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 3







หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 4







หลวงพ่อพุธ ฐานิโย สอนกรรมฐาน







พระธรรมเทศนาของพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร







ชีวประวัติและปฏิปทาของพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร







ชีวประวัติและปฏิปทาของหลวงปู่หล้า เขมปัตโต







ชีวประวัติและปฏิปทาของหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท



Create Date : 21 สิงหาคม 2554
Last Update : 21 สิงหาคม 2554 17:14:43 น. 1 comments
Counter : 5276 Pageviews.

 
สวัสดีครับ แวะมาทักทายครับผม
อิอิ


โดย: konseo วันที่: 21 สิงหาคม 2554 เวลา:13:08:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

muansuk
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 84 คน [?]




blog counter
blog counterDiseño Web
Share on Facebook



 Follow Me on Twitter
 คลิ๊ก


 ลงนามสมุดเยี่ยม muansuk blog ครับ คลิ๊ก




“ทาน ศีล ภาวนา ธรรมทั้ง 3 นี้
เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์
และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา”

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต




“ถ้าเรารู้เรื่องธรรมดาของโลก และรู้จักความเป็นจริงของธรรมแล้ว
เราก็จะไม่ต้องมีความยุ่งยากในการเป็นอยู่
เรื่องภายนอกนั้น ถึงเราจะศึกษาให้มีความรู้สักเท่าไรๆ
ก็ไม่ทำให้เราพ้นจากทุกข์ได้
สู้การเรียนรู้จิตใจของตนอยู่ภายในวงแคบๆ นี้ไม่ได้”

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร




“… อย่าไปอยากรู้เรื่องของคนอื่นมันเป็นทุกข์
ให้สนใจเรื่องของตัวเอง
คือเรื่องของกายกับใจ
ดูให้มันชัด …”

หลวงปู่เพียร วิริโย




“… สิ่งใดมันล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นมันก็ล่วงไปแล้ว หมดไปแล้ว
ไม่ควรเอามาคิด มาติดอยู่ในใจ ละทิ้งให้หมด
ส่วนว่าอารมณ์อันเป็นอนาคตกาล
ดีร้ายประการใด ทั้งทางโลก และทางธรรม
สิ่งนั้นก็ยังอยู่ข้างหน้า คือยังไม่มาถึง
เวลาปัจจุบัน คือ เป็นเวลาเรานั่งภาวนา ฟังธรรม
สงบกาย สงบวาจา สงบจิต สงบใจ อยู่นี้แหละ
เป็นธรรมะปัจจุบัน ให้ระลึกภาวนาทุกลมหายใจเข้าออก...”

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร




“... ให้รักษาศีล
ให้รู้จักพิจารณา เกิด แก่ เจ็บ ตาย
รู้จักแก้ไขจิตของตน ... ”

หลวงปู่จาม มหาปุณฺโญ





หลวงพ่อชา สุภทฺโท : ปล่อยวาง 1





พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร : ธรรมสู่ใจ





หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ : ไม่ยอมละ





ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download): หนังสือมุตโตทัย-อาจาโรวาท โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร (PDF) (9.25 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ฝากไว้ บันทึกคติธรรมและธรรมเทศนาของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล (โดย พระโพธินันทมุนี) (PDF) (625 KB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมธาตุ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (13.38) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือชาติสุดท้าย (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (6.97) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพ่อแม่ครูอาจารย์ ชีวประวัติ คติธรรม และปฏิปทา พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว  ญาณสัมปันโน (PDF) (12.82 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (14.68 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือไม่มาเกิดมาตายเรียกว่าชาติสุดท้าย (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (4.72 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงตา พระผู้สืบสานอริยวงศ์  รวบรวมโดยคณะศิษยานุศิษย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (50.51 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือกายคตาสติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (10.8 MB) คลิ๊ก
 ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมปกครองใจ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และหลวงปู่จันทร์ศรี  จันททีโป (PDF) (11.47 MB) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือปัญญาอบรมสมาธิ โดยท่านอาจารย์พระมหาบัว  ญาณสัมปันโน (PDF) (1.29 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงตานิพพาน (พิธีพระราชทานเพลิงถวายสรีระสังขารหลวงตามหาบัวญาณสมฺปนฺโน) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมะทะลุโลก โดยท่านพ่อลี ธมฺมธโร (PDF) (3.18 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือท่านพ่อลี ธมฺมธโร พระอริยเจ้าผู้มีพลังแก่กล้า (PDF) (30.21 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่เล่าเรื่อง (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรม...ย้ำเตือน  โดยหลวงปู่เพียร  วิริโย (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมพระเพียร  วิริโย เป็นเพชรน้ำหนึ่งเพราะความพากเพียร (หลวงตาพระมหาบัว  ญาณสัมปันโน) (PDF) (8.68 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมพเนจร (หลวงปู่จันทา  ถาวโร) (PDF) (30.39 MB) คลิ๊ก Download หนังสือหลวงปู่เจี๊ยะ  จุนฺโท  พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง (PDF) (13.58 MB) คลิ๊ก
Download หนังสือพระธรรมเทศนา หลวงพ่อชา สุภัทโท (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือสุภัททานุสรณ์ ชุด..จาริกสู่ประเทศอังกฤษ (PDF) (21.06 MB) คลิ๊ก Download หนังสือธรรมะหลวงปู่หล้า เขมปัตโต (PDF) (8.5MB) คลิ๊ก Download หนังสือสันติธมฺโมบูชา โดยหลวงปู่ฟัก สันติธมฺโม (PDF) (37.97 MB) คลิ๊ก Download หนังสือหนีนรก โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (PDF) คลิ๊ก
Download หนังสือสังโยชน์ 10 โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือวัดป่าบ้านตาด (PDF) (10.72 MB) ( คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือเศรษฐีธรรม (หลวงปู่ลี กุสลธโร) (PDF) (6.83 MB) ( คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือชีวิตนี้น้อยนัก โดยสมเด็จพระญาณสังวร (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือภูมิธรรมชาวพุทธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระหลวงตา (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (7.98 MB)  คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือจิตตวิชา หลักความรู้แจ้งทางจิตต์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) (PDF) (3.97 MB) คลิ๊ก Download หนังสือเปิดใจรับความสุข โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก Download E-Book ว.วชิรเมธี คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ โครงการบูรพาจารย์ (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ประวัติ ข้อวัตร และปฏิปทา (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 1) (PDF) (12.5 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):   หนังสือหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ในยุคปัจจุบัน (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 2)  (PDF) (15.77 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือหลวงปู่แหวน สุจิณโณ (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 3) (PDF) (19.12 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ขาว อนาลโย (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 4) (PDF) (12.53 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระครูวิเวกพุทธกิจ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 5) (PDF) (12.13 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระกรรมฐานสู่ล้านนา (ตอน 1) (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 6) (PDF) (24.41 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระกรรมฐานสู่ล้านนา (ตอน 2) (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 7) (PDF) (43.49 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 8) (PDF) (70.26 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ชอบ ฐานสโม (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 9) (PDF) (10.17 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 10) (PDF) (10.17 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ฝั้น อาจาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 11).pdf (PDF) (14.3 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 12).pdf (PDF) (13.41 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือวิธีปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนากัมมัฏฐาน (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download): หนังสือวิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (1.05 MB)คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): แนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน 2 (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)  (PDF) (5.75 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): เรื่องของลม (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) (PDF) (271.99 KB) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือวิธีเดินจงกรมภาวนา-นั่งสมาธิภาวนา โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (9.18 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ สำหรับผู้ป่วย, ญาติ และผู้รักษา (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือธรรมะสำหรับผู้ป่วย โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือกายหายไข้ ใจหายทุกข์ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก
Download หนังสือรักษาใจยามป่วยไข้ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือนึกถึงความตายสบายนัก โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือพระไตรปิฎก :

Download หนังสืออริยวินัย (PDF) (9.27 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะทั่วไป (Download E-Book) :

Download หนังสืออริยวินัย (PDF) (9.27 MB) คลิ๊ก








Google

 ศีลและกรรมบถ คลิ๊ก
 พระธรรมเทศนาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี คลิ๊ก  ธรรมบรรยาย และธรรมนิพนธ์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน คลิ๊ก
 รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล วิสาโล คลิ๊ก  วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี (หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก



 กำลังใจสู้มะเร็ง คลิ๊ก  การดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วยมะเร็ง คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): วารสาร นิตยสาร และสถิติ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง:

ดาวน์โหลด (Download) : วารสารมะเร็งวิวัฒน์ ปีที่ 18, ฉบับที่ 1 ปี 2555 (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : วารสารมะเร็งวิวัฒน์ ปีที่ 17, ฉบับที่ 1 ปี 2554 (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ Cancer in Thailand Volume.5, 2001-2003 (PDF) คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): เอกสาร, คู่มือมะเร็ง และที่เกี่ยวข้อง:

ดาวน์โหลด (Download) :  หนังสือ, เอกสาร และคู่มือ เกี่ยวกับมะเร็ง ที่น่าสนใจ (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือเกี่ยวกับเคมีบำบัด (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือเกี่ยวกับรังสีรักษา, การดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา และอื่น ๆ (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือควบคุมอาการปวดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและครอบครัว, อาการปวดจากโรคมะเร็ง (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสาร และคู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง, การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่บ้าน (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งปอด (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งเต้านม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งเต้าตับ (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) :  แนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  สมาธิบำบัดกับการรักษาโรคมะเร็ง (วัดคำประมง  จังหวัดสกลนคร) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download):  แนวทางการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน (PDF) คลิ๊ก




ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสารแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด (2547) (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสารแนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอด (2549) (ศ.พญ.สุมิตรา  ทองประเสริฐ และคณะ) (PDF) คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็ง

ลิงค์ (Link): การตรวจวินิจฉัยวิธีใหม่ด้วย PET-CT สแกน โดย รศ.นพ.สุภัทรพร เทพมงคล คลิ๊ก ลิงค์ (Link): Bone Scan: การตรวจสแกนกระดูก (พญ.ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม; คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (PDF)  คลิ๊ก ลิงค์ (Link) : การผ่าตัดมะเร็งทำให้โรคแพร่กระจายจริงหรือ (รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ : ภาควิชาศัลยศาสตร์  สาขาวิชาศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ และเต้านม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) คลิ๊ก ลิงค์ (Link): ความรู้เกี่ยวกับรังสีรักษา การฉายรังสีและเครื่องมือทางรังสีรักษา (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): สูตรอาหารต้านมะเร็ง (เอื้อเฟื้อโดย น.พ.สำราญ อาบสุวรรณ; ผู้หายจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย) : ข้อมูลจาก วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร  คลิ๊ก


 ลิงค์ (Link): การตรวจ MRI คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): การแพทย์ทางเลือก, การแพทย์แผนไทย และธรรมชาติบำบัด

ลิงค์ (Link): วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร (หลวงตาปพนพัชร์  จิรธัมโม) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก  ลิงค์ (Link): การแพทย์ทางเลือก บีเมสส คลินิก จังหวัดนครราชสีมา (นพ.สำราญ  อาบสุวรรณ : ผู้หายจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย) คลิ๊ก  ลิงค์ (Link): วิถีไทยคลินิกการแพทย์แผนไทย กรุงเทพมหานคร (อาจารย์เภสัชกร มงคลศิลป์  บุญเย็น) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): Gerson Institute
 (รักษาตามแนวธรรมชาติบำบัด) คลิ๊ก





Link: ลิงค์ หน่วยงาน, สถาบัน, องค์กร และที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง

ลิงค์ (Link) :  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คลิ๊ก ลิงค์ (Link) :  สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลิ๊ก
ลิงค์ (Link) : สถานวิทยามะเร็งศิริราช คลิ๊ก ลิงค์ (Link) : โครงการโรคมะเร็ง คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คลิ๊ก
ลิงค์ (Link) :  วัดคำประมง จ.สกลนคร (หลวงตาปพนพัชร์  จิรธัมโม) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก



 http://www.cancer.gov: National Cancer Institute คลิ๊ก  http://www.eortc.be: European Organisation for Research and Treatment of Cancer คลิ๊ก  http://www.oncolink.org: OncoLink (University of Pennsylvania) มีข้อมูลข่าวสารมากมาย และได้ผ่านการคัดเลือกและตรวจสอบโดย editorial board ของ OncoLink แล้ว, มีข่าวใหม่ประจำสัปดาห์เกี่ยวกับโรคมะเร็ง, บทคัดย่อใหม่ของการวิจัยโรคมะเร็งที่ตีพิมพ์, การประชุมทางวิชาการต่าง ๆ ฯลฯ  คลิ๊ก
 http://www.iarc.fr/: The International Agency for Research on Cancer (IARC) คลิ๊ก  http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed: Pubmed เป็นเครื่องมือค้นหาฐานข้อมูล เรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล MEDLINE ซึ่งประกอบด้วยแหล่งอ้างอิง, บทคัดย่อ และบทความตัวเต็มทางวิทยาศาสตร์และชีวเวชศาสตร์ คลิ๊ก






Link: ลิงค์ หน่วยงาน, สถาบัน, องค์กรด้านการสาธารณสุข และที่เกี่ยวข้อง

 กระทรวงสาธารณสุข คลิ๊ก





 องค์การเภสัชกรรม คลิ๊ก
 กรมสุขภาพจิต คลิ๊ก

 สภากาชาดไทย คลิ๊ก



แพทยสภา คลิ๊ก ทันตแพทยสภา คลิ๊ก  สภาเทคนิคการแพทย์ คลิ๊ก  สภากายภาพบำบัด คลิ๊ก  สภาเภสัชกรรม คลิ๊ก  สภาการพยาบาล คลิ๊ก



 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คลิ๊ก  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) คลิ๊ก



 สำนักงานประกันสังคม คลิ๊ก






ดาวน์โหลด (Download): กฎหมาย, ประกาศ, ระเบียบ, ข้อบังคับ, คำสั่ง

ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 คลิ๊ก

ดาวน์โหลด (Download) : ข้อบังคับแพทยสภา คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : ข้อบังคับ, ประกาศ และระเบียบ ทันตแพทยสภา คลิ๊ก



ลิงค์ (Link) : ค้นหาราชกิจจานุเบกษา : ค้นหาพระบรมราชโองการ, พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด, พระราชกฤษฎีกา, กฎกระทรวง, ประกาศ, ระเบียบ, ข้อบังคับ และคำสั่ง คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): เอกสารข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญ

ดาวน์โหลด (Download) : สิทธิผู้ป่วย คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : ใบรับรองแพทย์ คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): การเดินทาง, แผนที่, ตารางเวลา และการส่งกลับทางอากาศ :

 การบินไทย (Thai Airways) คลิ๊ก นกแอร์ (Nok Air) คลิ๊ก  แอร์เอเชีย (Air Aisa) คลิ๊ก  บางกอกแอร์เวย์ (Bangkok Airways) คลิ๊ก  รถไฟฟ้า BTS คลิ๊ก  รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : (รถไฟฟ้าใต้ดิน)
คลิ๊ก การรถไฟแห่งประเทศไทย : จำหน่ายตั๋วล่วงหน้า, ตารางเวลาเดินรถและราคาค่าโดยสาร, ระบบติดตามขบวนรถ  คลิ๊ก  เรียกแท็กซี่ (Taxi) คลิ๊ก


 ตรวจสอบ, คำนวณ ระยะทาง และพิมพ์แผนที่ คลิ๊ก  ตรวจสอบ, หาพิกัดดาวเทียม
 GPS คลิ๊ก  ตรวจสอบสภาพการจราจร   Near Real Time คลิ๊ก
 ตรวจสอบสถานการณ์น้ำกับ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คลิ๊ก  ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วมทางหลวง โดยกรมทางหลวง คลิ๊ก  ตรวจสอบเวลาการเดินรถไฟ คลิ๊ก
 ค้นหารถประจำทาง คลิ๊ก  เส้นทางการเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT คลิ๊ก  เส้นทางการเดินรถไฟฟ้า BTS คลิ๊ก
 ท่าขึ้นรถตู้ กรุงเทพ ฯ (และที่ใกล้เคียง) – ต่างจังหวัด คลิ๊ก  ค้นหาสายรถตู้ คลิ๊ก  เรือด่วนเจ้าพระยา คลิ๊ก






ลิงค์ (Link): หมายเลขโทรศัพท์, การติดต่อสื่อสาร และการขนส่ง

 YellowPages (เยลโล่เพจเจส) : ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ และอื่น ๆ คลิ๊ก

 หอพัก สกสค. (หอพักคุรุสภา) คลิ๊ก



 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
 คลิ๊ก  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) คลิ๊ก  AIS คลิ๊ก  DTAC คลิ๊ก  Truemove คลิ๊ก  ไปรษณีย์ไทย : บริการด้วยใจ เชื่อมไทย เชื่อมโลก คลิ๊ก







ลิงค์ (Link): ค้นหาแผนที่


 Google Map: กูเกิ้ล แม็ฟส์ คลิ๊ก  Maps.com: แม็ฟส์ ดอท คอม คลิ๊ก



 ค้นหาค้นหาแผนที่โรงพยาบาล คลิ๊ก  ค้นหาค้นหาแผนที่โรงพยาบาล คลิ๊ก
 ค้นหาสถานีบริการ LPG คลิ๊ก  ค้นหาสถานีบริการ NGV คลิ๊ก







Facebook: เฟสบุ๊ค – เข้าระบบ, ลงทะเบียน หรือเรียนรู้เพิ่มเติม คลิ๊ก Twitter: ทวิตเตอร์ – ลงชื่อเข้าใช้งาน คลิ๊ก YouTube: ยูทูป  – เข้าใช้งาน คลิ๊ก Wikipedia: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คลิ๊ก ดาว์นโหลด (Download) :  Adobe Reader คลิ๊ก  Google Map: กูเกิ้ล แม็ฟส์ คลิ๊ก ดาว์นโหลด (Download) Adobe Flash Player คลิ๊ก





สมาทานศีล 5



หลวงพ่อชา สมาทานศีล 5



พุทธมนต์, พุทธคุณ ๑๐๘ นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเช้า นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเย็น นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเย็น นำสวดโดย หลวงพ่ออุทัย สิริธโร



พาหุงมหากา นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



บทสวดพระคาถาชินบัญชร



บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก



บทสวดโพชฌังคปริตร



พระคาถาสักกัตวา



หลวงพ่อชา สอนการทำสมาธิ



หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 3/9



หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 4/9



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 1



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 2



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 3



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 4



หลวงพ่อพุธ ฐานิโย สอนกรรมฐาน









ลิงค์ (Link): ข่าวสาร, ข้อมูล, บทความเกี่ยวกับน้ำท่วม



 แจ้งขอความช่วยเหลือ (Thaiflood.com) คลิ๊ก




Thaiflood

 18 วิธีรับมือน้ำท่วม คลิ๊ก  การเตรียมการก่อนน้ำท่วม คลิ๊ก  การรับมือระหว่างน้ำท่วม คลิ๊ก
 การเตรียมการอพยพ คลิ๊ก  ข้อมูลดาวเทียมแสดงอุทกภัยประเทศไทย (ข้อมูลจาก GISTDA) คลิ๊ก  ภาพแสดงระดับความสูงต่ำของพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของมวลน้ำ คลิ๊ก
 วิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทย 2554 (Crisis Map) คลิ๊ก  ตรวจสอบแผนที่น้ำท่วมกับ esri Thailand คลิ๊ก  สถานการณ์น้ำในเขื่อน คลิ๊ก
 ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วมทางหลวง โดยกรมทางหลวง คลิ๊ก  แผนที่เส้นทางหนีน้ำท่วมจาก กทม.ไป ภาคเหนือ, อีสาน คลิ๊ก  รวมข้อมูล ที่จอดรถหนีน้ำท่วม สำหรับผู้ประสบอุทกภัย คลิ๊ก
 เทคนิควาง “กระสอบทราย” สู้น้ำท่วม คลิ๊ก
 การป้องกันน้ำเข้าบ้าน และวิธีอุดปิดช่องทางน้ำเข้าบ้าน คลิ๊ก  เมื่อต้องขับรถลุยน้ำ น้ำท่วม!!! และเมื่อรถตกน้ำควรปฏิบัติอย่างไร คลิ๊ก  การทำเรืออย่างง่าย ๆ คลิ๊ก
 “ตะคริว” กับการเรียนรู้สู้ภัยน้ำท่วม คลิ๊ก  การปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Cardio Life Support : BCLS) (กรมแพทย์ทหารเรือ) คลิ๊ก  จะช่วยคนจมน้ำได้อย่างไร (ศ.พญ.วันดี วราวิทย์) คลิ๊ก


ดาวน์โหลด (Download): เอกสาร คู่มือเกี่ยวกับน้ำท่วม

ดาวน์โหลด (Download): Flood Fighting Methods (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): British Columbia Flood Plan (BC Flood Plan) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): Fact Sheet Floods (FEMA) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม (จัดทำโดย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): คู่มือรับมือน้ำท่วมไม่ยาก (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): โรคที่มากับน้ำท่วม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): อีกทางเลือกหนึ่งของชูชีพอย่างง่าย (สามารถทำเองได้) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): การใช้ถุงทรายเพื่อป้องกันน้ำท่วม (รศ.ดร.อมร  พิมานมาศ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): 6 แนวทางกันนํ้าท่วมเข้าบ้าน (รศ.ดร.อมร  พิมานมาศ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): รวมวิธีป้องกันรถจากภัยน้ำท่วม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): “ผนึกกำลัง ร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม” การเตรียมตัวเตรียมใจก่อนภัยน้ำท่วม ฉบับประชาชน (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (PDF) คลิ๊ก




หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ :




 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์คมชัดลึก คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์ข่าวสด คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คลิ๊ก

 TV 3 คลิ๊ก  TV 5 คลิ๊ก  TV 7 คลิ๊ก  ModerNine TV คลิ๊ก  Thai PBS คลิ๊ก



Ayutthaya Thai Flood 2011



น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485 (Bangkok floods in 1942)



Nuidears Flood Control



mobile flood barrier



ถุงคลุมรถ



ข้อควรปฏิบัติขับรถช่วงน้ำท่วม



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 1/5 (23 ต.ค.54



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 2/5 (23 ต.ค.54



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 3/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 4/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 5/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม - พบหมอบ้าน 1/6 (22 ต.ค.54)



เพลง ประสบทุกข์ ประสบภัย ฝ่าไปด้วยกัน (ขับร้องโดย พนักงานไทยพีบีเอส



เพลงน้ำใจไทย (ขับร้องโดย แอ๊ด คาราบาว)



Friends' blogs
[Add muansuk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.