ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ไอเดีย นำ “กองไม้ กองฟืน” สร้างสรรค์เป็นสิ่งก่อสร้าง เป็นอะไรก็ได้ ตามแต่จินตนาการ



ไอเดียนำ “กองไม้ กองฟืน” สร้างสรรค์เป็นสิ่งก่อสร้างเป็นอะไรก็ได้ ตามแต่จินตนาการ 


วันนี้มีแต่ภาพไอเดียล้วนๆ ครับ ภาพจากต่างประเทศ ที่อ.ฉันทฤทธิ์ วิโรจน์ศิริ ทำเป็นอัลบั้มเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวนาไทยคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ลอมฟาง

ในภาพจะเป็น Firewood Piling น่าจะหมายถึง การนำไม้ เศษไม้กองฟืนขนาดต่างๆ มาเรียงกันเป็นรูปลักษณ์ ดีไซน์ต่างๆ อเนกประสงค์ตามการใช้งานครับไม่ว่าจะเป็นบ้าน เป็นสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เป็นของที่ระลึก ของตกแต่งบ้านสารพัดไอเดีย ดูตามภาพกันไปเรื่อยๆ ครับ

อ้างอิงลิ้งก์อัลบั้ม ของ อ.ฉันทฤทธ์ วิโรจน์ศิริ ขอขอบคุณ มาณ ที่นี้ครับ

//www.facebook.com/media/set/?set=a.347403152042041.80590.100003170779894&type=1


























ท่านที่สนใจข้อมูล บทความดีๆ มีสาระ สามารถเข้าไปกด like บน Facebookตามลิ้งก์ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านข้อมูลปัจจุบัน และย้อนหลังซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน ไม่มากก็น้อยครับ

//www.facebook.com/tourrattanakosin






 

Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2556    
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2556 0:09:27 น.
Counter : 1986 Pageviews.  

ฝากถึงช่าง หรืออาจารย์ นักศึกษา วิทยาเทคนิคต่างๆ ไอเดีย แปลงจักรยานเก่า เป็น นาฬิกา



Matching (จับคู่)win win ทุกฝ่าย

ถ้ามีการ Matching กันได้ก็จะดีมากเลยครับ

บางคนมีจักรยานเก่า แต่ไม่เป็นเรื่องช่าง

บางคนเป็นช่างประดิษฐ์ได้ แต่ไม่มีจักรยานเก่า

ถ้ามีการจับคู่กัน โดยการนำของเหลือใช้มา recycle ช่วยโลกได้อย่างมากมายครับ

รูปนี้บอกตามตรงเลยครับ คิดไม่ค่อยออก เพียงแต่มีคอนเซ็ปแล้วพยายามแปลงออกมาสื่อสาร เผยแพร่ แต่อาจจะสื่อสารยากกว่าภาพอื่นๆ ที่ทำมาครับอย่างไรก็แล้วแต่ครับ มันเป็นความคิดที่ผุดขึ้นมาเฉยๆ ก็เลยลองนำเสนอดูครับ (เพราะSocial Media ไม่มีต้นทุนอะไรมากมายครับ) เกี่ยวกับจักรยานเก่า ที่เรียกได้ว่าแทบจะชั่งกิโลขายก็ว่าได้ครับ(ตามรูปภาพจักรยานเก่า) เพราะหมดสภาพไม่สามารถปั่นได้แล้วแต่เผอิญผมเห็นไอเดียมากมายในอินเตอร์เน็ต ที่เค้าสามารถดัดแปลงเป็นของใช้เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน ตกแต่งสวนอย่างมากมาย วันนี้เลยมีความคิดว่าอะไหล่หรืออุปกรณ์ที่เราจะเรียกว่า ใช้ไม่ได้แล้วก็ว่าได้

แต่คราวนี้เอาภาพนาฬิกาที่แปลงจากจักรยานเก่า มาให้ชมครับถ้าบางชนิดไม่ยากมาก นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคต่างๆ ก็สามารถ recycle เป็นนาฬิกาต่างๆได้เช่นกัน

อย่างไรก็แล้วแต่ครับ อาจเป็นความฝัน เลื่อนลอยของผมก็ได้ครับผมคิดว่า ถ้าใช้วิธี Put the right man into the right job กล่าวคือ คนที่มีจักรยานเก่า ก็อาจไม่เก่งทางด้าน Recycle ส่วนบางคน(อาจเป็นนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคต่างๆ) อาจจะมีฝีมือ แต่ขาดจักรยานเก่า ถ้ามี”คนกลาง”จับ Matching กัน ก็อาจจะเกิดการ recycle นำมาทำนาฬิกาต่างๆอย่างกว้างขวาง ….เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลน่ะครับส่วนความคุ้มค่า หรือไม่คุ้มค่าอย่างไร ท่านที่เป็นช่าง น่าจะให้คำตอบได้ดีกว่าผมซึ่งเป็นผู้เผยแพร่ไอเดียอย่างเดียวครับ

ในความเห็นของผม ผมว่าผลที่ดีก็จะเกิดขึ้นหลายประการ เช่น

1.ลดขยะ ลดมลพิษ นำของเก่ามาใช้ใหม่ได้

2.ทางอ้อม ก็คืออาจสร้างกระแสเกี่ยวกับการสนับสนุนการปั่นจักรยานเพราะมีสินค้าให้เลือกซื้อไม่เหมือนใคร

3. เกิดสินค้าใหม่ ทำจากของเก่า ทุกฝ่ายน่าจะ winwin กันครับ

ดูภาพก่อนการแปรรูปกันก่อนครับภาพหลังๆ จะเป็นรูปนาฬิกา (อย่างเดียว) แปรรูปจากอะไหล่ต่างๆ ที่ไม่ใช้แล้วจากจักรยานเก่าครับ



จักรยานเก่า “อย่าทิ้ง” มีไอเดีย นำไป Recycle สร้างมูลค่าได้ครับแถมไม่เหมือนใครอีกต่างหากครับ




มีจักรยาน, มีช่าง (อาจเป็นนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคต่างๆในตัวจังหวัด ที่มีไอเดีย และมีเวลา น่าจะลองทำกันดูครับ ถ้าทำดีๆอาจมีรายได้อย่างมากมายครับ เพราะยังไม่ค่อยมีคนทำในเมืองไทยกันเลยครับ)

ถ้าสามารถ Matching กันได้ระหว่างเจ้าของจักรยานเก่า ไม่ใช้แล้ว กับช่าง หรือนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคครับ

ดูภาพหลังจากแปรรูปกันครับจะได้เหมือนตัวอย่างหรือไม่ ผมไม่ทราบได้ครับ แต่รับรองครับ น่าจะเท่ห์พอดูครับ


ล้อแบบนี้ ท่าจะเยอะครับ ดูตามสภาพครับ ว่าแบบไหนควรเป็นอย่างไร??



Recycled-Bike-Wheel-Clock

แปลงล้อจักรยาน เป็นนาฬิกาแขวน





recycled-bike-chain-ring-clock

ชิ้นส่วนจักรยาน แปลงเป็นนาฬิกาแขวน ดูแปลกตา






recycled-bike-chain-ring-clock



อะไรๆ ก็เป็นนาฬิกาได้ครับ ตามแต่จินตนาการ




แบบนี้แบบตั้ง หลากสีสันต์ ต่อยอดกันสะดวกสบายเลยครับ






recycled-bike-chain-ring-clock

จะเอาสีไหน ก็ประยุกต์กันได้เลยครับ






recycled-bike-chain-ring-clock


หมายเหตุ ผลิตภัณฑ์ ที่มาจากจักรยานเก่ายังสามารถทำได้มากมายกว่าตัวอย่างที่ยกมาครับ ตามลิ้งก์เดิม

//www.oknation.net/blog/thaitourismsociety/2013/01/29/entry-1

จักรยานเก่า “อย่าทิ้ง” ใช้ “ไอเดีย” แปลง จักรยานเก่า เป็น เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน



//www.oknation.net/blog/thaitourismsociety/2013/01/25/entry-2

ไอเดีย เท่ห์ๆทำอาคารให้น่ามอง “นำจักรยานเก่ามาตกแต่งบ้าน สร้างแรงบันดาลใจ”ทำก่อน “เท่ห์” ก่อนใคร



ส่วนที่ยกมาอาจจะหนักไปทางเกี่ยวกับนาฬิกา ซึ่งดูน่าจะไม่เกินความสามารถนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคต่างๆกันน่ะครับ....

ทำก่อน เท่ห์ ก่อนครับน่ะ!! จะบอกให้

ขอขอบคุณ ภาพประกอบมากมายจากอินเตอร์เน็ต ครับ



ท่านที่สนใจข้อมูลบทความดีๆ มีสาระ สามารถเข้าไปกด like บน Facebook ตามลิ้งก์ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านข้อมูลปัจจุบัน และย้อนหลังซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน ไม่มากก็น้อยครับ

//www.facebook.com/tourrattanakosin




 

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2556    
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2556 11:06:02 น.
Counter : 3142 Pageviews.  

วันนี้ มาดู “10 อันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวในออสเตรเลีย” กันครับ ว่าแต่ละที่มีดีอย่างไร


เมื่อวันก่อน ผมเผยแพร่บทความ เรื่อง “10 มหา’ลัย ในอังกฤษ ที่เป็นมิตรกับจักรยาน” ตามลิ้งก์เดิม //www.oknation.net/blog/thaitourismsociety/2013/01/19/entry-1

วันนี้มีบทความเพิ่มเติม คือ “10 อันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวในออสเตรเลีย” ซึ่งเป็นบทความในโพสต์สั้นๆในFacebook ของ อ.นิคม บุญญานุสิทธิ์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน)ผมเห็นว่าน่าสนใจครับ จึงขออนุญาต เผยแพร่ข้อมูล ผ่านการเขียนบล็อก และ socialmedia ต่างๆ ขอขอบพระคุณ อ.นิคม มา ณ ที่นี้ครับ

จากโพสต์สั้นๆ พร้อมลิ้งก์ เนื้อหา และรูปภาพ ผมคัดลอกมาอีกทีครับ

Copy//อ.นิคม บุญญานุสิทธิ์ บน Facebook ตามลิ้งก์//www.facebook.com/groups/231253026927115/permalink/492673307451751/

"มหาวิทยาลัยสีเขียว" เป็นเรื่องของการบริหารพื้นที่ด้วยการใช้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการจัดการศึกษาที่เน้นในด้านสิ่งแวดล้อมไม่ใช่วาทะกรรมที่เอาไว้ติดป้ายเล่นเท่ห์ๆ

//blog.eduzones.com/tonsungsook/86865

เข้าสู่บทความตามลิ้งก์ครับ.....

10อันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวในออสเตรเลีย

แปล/เรียบเรียง โดย : ต้นซุง Eduzones

Copy//สวัสดีชาว Eduzones ทุกคนครับมองการศึกษาโลก by ต้นซุง Eduzones วันนี้จะพามาศึกษาประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการอีกประเทศหนึ่งที่นักเรียนไทยนิยมไปศึกษาต่อกันได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ครับประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่ซึ่งถือได้ว่ายังคงสิ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์อยู่ค่อนข้างมากครับโดยเฉพาะรัฐบาลของประเทศที่มีนโยบายในการพัฒนามหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อการศึกษาไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ความร่มรื่น และการประหยัดพลังงานภายในมหาวิทยาลัยเราลองไปดูกันดีกว่าครับว่ามหาวิทยาลัยของออสเตรเลียที่ได้ชื่อว่ามีสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 10 อันดับ มีมหาวิทยาลัยใดบ้าง

1. Monash University


มหาวิทยาลัยโมนาช เป็นผู้นำประวัติศาสตร์และความยั่งยืนมหาวิทยาลัยมีความภูมิใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่มีกว่า 300หลักสูตร งานวิจัยที่เข้มข้นในสาขาที่หลากหลาย ในปี 2010มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลความยั่งยืน (the 2010 Premier's SustainabilityAward), รางวัลองค์กรการศึกษาจากสหประชาชาติ (the UNAssociation Education Award) และได้รับรางวัลสิ่งแวดล้อมในปี 2009(the 2009 Banksia Environmental Award) มหาวิทยาลัยยังมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอนและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในมหาวิทยาลัยอีกด้วย

2. AustralianNational University


มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย หรือ ANU เป็นมหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่สีเขียวจำนวนมากในปี 2009มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยเครือข่ายแห่งความยั่งยืนระดับนานาชาติ (the2009 International Sustainable Campus Network award) ในการมีส่วนร่วมกับชุมชนในโครงการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนหรือ “ANUgreen” และมหาวิทยาลัยยังได้รับรางวัลอีก16ตำแหน่งจากหน่วยงานท้องถิ่นและภูมิภาคเพื่อพิสูจน์จุดยืนในความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวของANU อีกทั้งสถาบันรายงานสภาพการเปลี่ยนแปลงของอากาศ (the Climate Change Institute) ของมหาวิทยาลัยยังมีนักคิดและนักวิจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดของประเทศอีกด้วย

3. Macquarie University


มหาวิทยาลัยแมคไควรีเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งมั่นเพื่อความยั่งยืนโดยในปี 2010มหาวิทยาลัยได้รับรางวัล NSW Green Globe Public Sector Award สำหรับแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยแบบองค์รวมเพื่อความยั่งยืนและเมื่อปีที่แล้วนี้เองมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลรองชนะเลิศในด้านมหาวิทยาลัยสวยงามในการอนุรักษ์น้ำและมหาวิทยาลัยยังมียุทธวิธีในการลดของเสียซึ่งมีประสิทธิภาพอีกด้วยมหาวิทยาลัยยังเคยได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว (Green Globe) ในปี2001 สำหรับการลดพลังงานจากพืช การลดการใช้ก๊าซเชื้อเพลิงและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 44 % เป้าหมายของมหาวิทยาลัยยังคงเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวของออสเตรเลียและยังคงยืนอยู่ในตำแหน่งสถาบันวิจัยของออสเตรเลียเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน(Australian Research Institute for Environment and Sustainability) อีกด้วย

4. University of Western Sydney


มหาวิทยาลัยซิดนีย์ตะวันตก หรือ UWS นับเป็นมหาวิทยาลัยที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในเรื่องการติดตามสภาพแวดล้อม การระดมทุนการรายงานแผนของความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบขนาดใหญ่ ได้แก่ การเรียนรู้ การสอน การวิจัยการมีส่วนร่วมกับชุมชนและแผนปฏิบัติการพัฒนามหาวิทยาลัยมีแผนที่จะสร้างสิ่งใหญ่คือ ห้องทดลองการใช้ชีวิต และสิ่งเล็กๆ เช่นพรมที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล 50 % อีกด้วย

5. University of Adelaide


มหาวิทยาลัยแอดิเลดไม่ได้แค่เพียงได้รับคะแนนด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่อาคารด้านวิศวกรรมศาสตร์คณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มีเงินลงทุน 100 ล้านดอลล่าร์ หรือเรียกว่าตึก “Innova21” ก็ได้รับการการันตีคุณภาพหกดาว “Australia’sfirst six-star Green Star Design, Education building” อีกทั้งในปี 2011 ยังได้รับรางวัลการออกแบบที่ยั่งยืนระดับชาติ (National Award forSustainable Architecture) จากสถาบันสถาปนิกออสเตรเลียอีกด้วยมหาวิทยาลัยยังได้รับรางวัลด้านความยั่งยืนจาก SA’s Environment ProtectionAuthority ในความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยและมีนโยบายลดการใช้น้ำและกากของเสียและการปรับปรุงรีไซเคิลนอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รายงานความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Centrefor Climate Change อีกด้วย

6. University of Melbourne


มหาวิทยาลัยแห่งเมลเบิร์น ยืนอยู่แถวหน้าของ 3สถาบันแห่งความยั่งยืน ในด้านการวิจัย หลักสูตรการศึกษาและการช่วยเหลือภายนอกแต่ก็มีเป้าหมายที่ทะเยอทะยานสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมพลังงาน น้ำเสีย การออกแบบอาคาร การคมนาคม และการจัดซื้อจัดจ้างโดยมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้ร้อยละ 50ในปี 2010 และเป็นคาร์บอนจากธรรมชาติในปี 2030

7. Charles Sturt University


มหาวิทยาลัยเชาร์ท สเทราท์ เป็นผู้ชนะรางวัลมหาวิทยาลัยสีเขียวในปี 2011 (Green Gown Award for Excellencefrom the Australian Campuses Towards Sustainability) มหาวิทยาลัยมีพื้นที่สีเขียวเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะวิทยาเขต Albury-Wodonga ที่ทอดยาวกว่า 87 ไร่ ซึ่งเป็นที่รวบรวมสมุนไพรนานาชนิดมหาวิทยาลัยมีนโยบายในการลดการใช้พลังงานน้ำร้อยละ 25และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพร้อยละ 20 อีกทั้งการลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นก๊าซธรรมชาติภายในปี 2015

8. University of the Sunshine Coast


มันยากที่จะผ่านมหาวิทยาลัยที่มีจิงโจ้วิ่งกระโดดผ่านสนามหญ้าไปมาอย่างมหาวิทยาลัยซันไชน์โคสซึ่งมีการรักษาสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืนมหาวิทยาลัยมีอาคารที่มีสถาปัตยกรรมที่ออกแบบเพื่อลดการใช้พลังงานและลดความจำเป็นจากการใช้เครื่องปรับอากาศในควีนส์แลนด์ ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมามหาวิทยาลัยกลายเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของออสเตรเลียที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเต็มรูปแบบจากสถาบันพัฒนาเมืองแห่งออสเตรเลียเพื่อความยั่งยืน(the Urban DevelopmentInstitute of Australia for sustainability) ครอบคลุมทั้ง 6 ประเภท ได้แก่ ระบบนิเวศ ของเสีย พลังงาน วัสดุก่อสร้าง น้ำ และชุมชนมหาวิทยาลัยยังเป็นส่วนหนึ่งในชื่อศูนย์วิจัยเพื่อความยั่งยืน (SustainabilityResearch Centre) อีกด้วย

9. James Cook University


มหาวิทยาลัยเจมส์ คุกเป็นผู้นำระดับโลกในการวิจัยปะการังและการวิจัยป่าฝนมหาวิทยาลัยมีโปรแกรมปริญญาตรีและปริญญาโทมากมายด้านชีววิทยาและสิ่งแวดล้อมและมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมในปี 2010 (Australian Business Award for environmentalsustainability 2010) และรางวัลนวัตกรรม (TEFMA InnovationAward) สำหรับการลดพลังงานในปี 2011ซึ่งรวมแม้กระทั่งการตรวจสอบสายพันธุ์พืชและสัตว์นานาชนิดของวิทยาเขต เป็นต้น

10. La Trobe University


มหาวิทยาลัยลาโทรบเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในปี 2011มีการเปลี่ยนแปลงโดยมหาวิทยาลัยจะปลูกฝังความยั่งยืนลงไปในทุกกิจกรรมของมหาวิทยาลัยและเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกที่เผยแพร่รายงานความยั่งยืนออกสู่สังคมภายนอกทั้งด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยโดยในปี 2009 และ 2010มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จในการลดการใช้พลังงานถึงร้อยละ 11และเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่มีการแต่งตั้งรองอธิการบดีด้านความยั่งยืนอีกด้วย

แปล/เรียบเรียง โดย : ต้นซุง Eduzones

ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ครับ

ท่านที่สนใจข้อมูล บทความดีๆ มีสาระ สามารถเข้าไปกด like บน Facebookตามลิ้งก์ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านข้อมูลปัจจุบัน และย้อนหลังซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน ไม่มากก็น้อยครับ

//www.facebook.com/tourrattanakosin




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2556    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2556 22:23:31 น.
Counter : 1587 Pageviews.  

วัดฝีมือด้วยนโยบาย Bike Lanes เรื่องเดียวก็พิสูจน์ฝีมือผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ ...บทความโดย กาแฟดำ


ผู้สมัครหลักสองท่านรับปากรับคำต่อหน้าสาธารณชนและลงทุนปั่นจักรยานให้ถ่ายภาพแล้วก็จะต้องพิสูจน์กันด้วยการทำตามที่สัญญาไว้ในประเด็นนี้เพราะเป็นนโยบายที่แตะต้องได้ วัดได้ และประเมินได้อย่างเป็นรูปธรรมไม่เหมือนการรับปากเรื่องอื่นๆ ที่อยู่เหนือความเป็นไปได้ และไม่มีชาว กทม.คนไหนถือเป็นเรื่องจริงจังอยู่แล้ว


ภาพอ้างอิง จากอินเตอร์เน็ต ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ครับ

อ้างอิง คอลัมส์ “กาแฟดำ” ตามลิ้งก์ //bit.ly/WcLdl1 ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ครับ

Copy//ผมเห็นรูปถีบจักรยานหาเสียงของสองผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จากพรรคใหญ่สองพรรคแล้วเกิดความรู้สึกทันทีว่า “ภาพที่สร้าง” กับการลงมือทำงานจริงนั้นเป็นคนละเรื่องกันจริงๆ

เพราะผมยังไม่เห็นผู้ว่าฯ กทม. คนไหนที่ผ่านมาเอาจริงเอาจังกับการส่งเสริมการปั่นจักรยานเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาจราจรและการลดมลภาวะกับการส่งเสริมให้คนกรุงออกกำลังกายอย่างจริงจัง

เห็นแต่ตอนหาเสียงจะมีภาพเอาอกเอาใจคนที่เรียกร้องให้กรุงเทพฯทำ “ช่องจักรยาน”หรือ bike lanes กันอย่างเป็นกิจจะลักษณะเท่านั้น

เอาเข้าจริงๆ แล้ว ยังไม่เห็นผู้ว่าฯ กทม.หรือผู้ว่าราชการจังหวัดไหนทำเรื่องนี้อย่างมีประสิทธิภาพเลย ทั้งๆที่การปั่นจักรยาน ควรจะเป็นวิธีการเดินทางและออกกำลังกาย ที่สมควรจะได้รับการสนับสนุนอย่างยิ่งในยุคนโยบาย“รถคันแรก”ที่เพิ่มจำนวนรถยนต์บนท้องถนนอย่างมากจนกลายเป็นการซ้ำเติมปัญหาจราจรให้ติดขัดหนักหน่วงขึ้นอีก

วันก่อน พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยเดินทางเข้ารับหนังสือตอบรับเข้าร่วมกิจกรรม “ปลุก ปั่น เปลี่ยน”จากชมรมปั่นจักรยานของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 17 ก.พ.

คุณพงศพัศให้สัมภาษณ์ฉับพลันว่าจะชูนโยบายรณรงค์ให้ประชาชนหันมาปั่นจักรยานมากขึ้นเพื่อลดมลพิษใน กทม. โดยจะทำทางเลียบริมแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 8 กิโลเมตรโดยไม่ต้องเวนคืนที่ดินเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับประชาชนริมแม่น้ำคาดว่าจะใช้งบประมาณ 300 ล้านบาท

และจะปรับปรุงฝาท่อระบายน้ำและสิ่งกีดขวางบนพื้นผิวจราจรให้เรียบร้อยเพื่อให้สะดวกต่อการสัญจร

จากนั้น คุณพงศพัศ ก็ร่วมปั่นจักรยานไปบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัยเพื่อร่วมเปิดโครงการกับนิสิตนักศึกษาด้วย

วันเดียวกันนั้น ผมก็เห็น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตรผู้สมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ลงพื้นที่หาเสียงที่งานจักรยานประเพณีธรรมศาสตร์ครั้งที่ 1ที่ท่าพระจันทร์ พร้อมรับมอบหนังสือข้อเสนอจากผู้ใช้จักรยาน ขอให้ประชาชนได้ใช้จักรยานในเมืองได้อย่างปลอดภัยควบคู่กับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่มีคุณภาพ เช่น การทำผิวทางให้เรียบเปลี่ยนฝาท่อให้เรียบร้อย ไม่มีสิ่งกีดขวาง เช่น รถจอด และ แผงลอยมีระบบยืมหรือเช่าจักรยานสาธารณะ และจัดให้มี “วันจักรยาน”และ “วันปลอดรถยนต์” เป็นต้น

คุณชายหมู อ้างว่าในช่วงที่อยู่ในตำแหน่งได้ทำทางสำหรับรถจักรยานมาแล้ว 28 เส้นทางยาว 200 กิโลเมตร เปลี่ยนตะแกรงฝาท่อระบายน้ำไปแล้ว 650 จุด จากประมาณ 1,600 จุด และบอกว่าจะทำต่อเนื่องด้วยการทำทางจักรยานอีก 30 เส้นทางทั่ว กทม.

การที่ผู้สมัครทั้งสองท่านกระโดดขึ้นจักรยานอย่างไม่ลังเลเพื่อให้มีการถ่ายภาพไปปรากฏในสื่อนั้น ไม่ได้แปลว่า นโยบาย bike lane จะเกิดขึ้นได้จริงดั่งที่รับปากกันเพราะที่ผ่านมาก็มีการรับปากรับคำทุกครั้งของการรณรงค์หาเสียง

แต่ลงท้ายแล้ว กรุงเทพฯก็ยังไม่ปลอดภัยสำหรับคนปั่นจักรยานอยู่ดี เพราะว่านโยบายเรื่องนี้อยู่ท้ายๆของความสำคัญเร่งด่วนสำหรับผู้บริหาร กทม. มาตลอด แม้ว่า “ปอด”กรุงเทพฯ จะกำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภาวะมลพิษและความสับสนอลหม่านของการจราจรมาตลอดก็ตาม

แต่ไหนๆ ผู้สมัครหลักสองท่านรับปากรับคำต่อหน้าสาธารณชนและลงทุนปั่นจักรยานให้ถ่ายภาพแล้วก็จะต้องพิสูจน์กันด้วยการทำตามที่สัญญาไว้ในประเด็นนี้เพราะเป็นนโยบายที่แตะต้องได้ วัดได้ และประเมินได้อย่างเป็นรูปธรรมไม่เหมือนการรับปากเรื่องอื่นๆ ที่อยู่เหนือความเป็นไปได้ และไม่มีชาว กทม.คนไหนถือเป็นเรื่องจริงจังอยู่แล้ว

ไม่ต้องถึงกับประกาศให้กรุงเทพฯ เป็น “เมืองจักรยาน”หรอก...เพียงให้มีการจัดระเบียบของ “ช่องจักรยาน”อย่างเป็นระบบ และใครก็ตามที่ชนะเลือกตั้งครั้งนี้ต้องรับปากว่าจะปั่นจักรยานไปทำงานอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เพื่อจะได้รู้ว่าการปั่นจักรยานในเมืองหลวงของประเทศไทยนั้น เสี่ยงกับอุบัติเหตุและมลพิษหนักหนาสาหัสเพียงใด!


ท่านที่สนใจข้อมูล บทความดีๆ มีสาระ สามารถเข้าไปกด like บน Facebookตามลิ้งก์ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านข้อมูลปัจจุบัน และย้อนหลังซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน ไม่มากก็น้อยครับ

//www.facebook.com/tourrattanakosin







 

Create Date : 31 มกราคม 2556    
Last Update : 31 มกราคม 2556 0:00:21 น.
Counter : 1398 Pageviews.  

“ไอเดีย” ล้วนๆ (ไม่ยาก) สร้างมูลค่าเพิ่มให้สถานที่ ได้อย่างมหาศาล ท่านใดสนใจลองพิจารณากันดู

วันนี้นำตัวอย่างภาพวาดภาพเดียว บนกำแพงแต่สร้างมูลค่าเพิ่มให้สถานที่อย่างมากมาย ลองชมกันเองครับ ว่ามันจะเป็นอย่างไร



ภาพวาด ภาพเดียว แต่สร้างความสุขให้นักท่องเที่ยวอย่างมากมาย


เครดิตอ้างอิง //www.inspire4design.com/interactive-street-art/


ศิลปะ Street Art แบบ Interactive ที่มาเลเซียลงทุนไม่มาก ใช้ “ไอเดีย” ล้วนๆ


Copy//ภาพ 3 มิติที่สร้างสรรค์บนกำแพงข้างถนน โดย Ernest Zacharevic ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของภาพวาดในPenang ประเทศมาเลเซียได้วาดและจัดวางองค์ประกอบให้ผู้พบเห็นอยากมีส่วนร่วมกับภาพ มีการใช้จักรยานเก้าอี้ มอเตอร์ไซค์ และอื่นๆ ที่เข้ากับรูปวาด จนทำให้ผู้คนต่างสนใจอย่างมากและพากันมาถ่ายรูปสนุกๆ ร่วมกันกับภาพที่ Zacharevic ได้วาดขึ้นบนกำแพง

ใช้หลักการเดียวกันกับ พิพิธภัณฑ์ภาพลวงตา ที่วาดเป็นภาพ 3 มิติดูเหมือนจริง และให้เข้าชมพร้อมถ่ายภาพ แต่งานนี้มาอยู่บนทางเท้าทำให้เข้าถึงได้ง่ายกว่า จึงมีผู้คนที่ผ่านไปมาให้ความสนใจต้องขอแวะมาถ่ายรูปสักนิดก็ยังดี

ชมวีดีโอท้ายบทความ(ศิลปินสร้างสรรค์งานบนกำแพงครับ)


















ชมวีดีโอ ครับ



เครดิตอ้างอิง //www.inspire4design.com/interactive-street-art/

ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้



ท่านที่สนใจข้อมูล บทความดีๆ มีสาระ สามารถเข้าไปกด like บน Facebookตามลิ้งก์ด้านล่างนี้ เพื่ออ่านข้อมูลปัจจุบัน และย้อนหลังซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน ไม่มากก็น้อยครับ

//www.facebook.com/tourrattanakosin








 

Create Date : 28 มกราคม 2556    
Last Update : 28 มกราคม 2556 7:58:49 น.
Counter : 2115 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.